จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
กรกฎาคม 12, 2025, 12:56:48 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 85 86 [87] 88 89 ... 101
1291  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ช่วยโหวดให้ครูเผ (สะเทื้อน นาคเมือง)ลิเกคลองขลุงบำรุงศิลป์ ในรายการบัลลังก์คนดี เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:59:20 am
หลังจากที่รายการบัลลังก์คนดีได้ออกอากาศครบ 1 ปี ได้รับกระแสตอบรับดีมากจากผู้ชมรายการทางบ้าน ?โอ๋-ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์? พิธีกรรายการเผยถึงโครงการประกาศรางวัลเพื่อสนับสนุนคนดีในสังคมไทย
 
     ?ตลอด 1 ปีทางรายการได้นำเรื่องราวชีวิตคนดีผ่านทางสารคดีแนวจำลองชีวิตจริง มันทำให้เราเห็นว่าในสังคมไทยมีคนดีมากมายที่อุทิศตนทำประโยชน์โดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูคนเหล่านั้นและเพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นแรงบันดาลใจแก่คนในสังคม ทางรายการจึงจัดโครงการ บัลลังก์คนดีแห่งปี โดยคัดเลือกจากคนดีที่ได้ออกอากาศผ่านทางรายการไปแล้วในรอบปี  นำมาผ่านการพิจารณาอีกครั้ง จากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ ผู้ที่ทำงานเพื่อสังคม รวมทั้งสื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นผู้ตัดสิน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านได้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกคนดีในรางวัล บัลลังก์คนดีมหาชนแห่งปี โดยการส่ง SMS มายังหมายเลข 4221885 กดให้กับคนดีที่ท่านชื่นชอบและประทับใจ ผู้ที่ได้รับการโหวตสูงสุดจะได้รับรางวัล เริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 13 มกราคม 2554 ผู้ร่วมโหวตรับเสื้อที่ระลึกจากทางรายการวันละ 3 รางวัล รายได้จากการโหวตในส่วนของรายการจะมอบให้กับคนดีเจ้าของรางวัลเพื่อนำไปทำกิจกรรมสาธารณกุศลต่อไป
 
          D1 ครูศุภกร โนจา พ่อพระข้างถนน
 
          D2 คุณเพทาย ปทุมจันทรัตน์ แม่พระกองขยะ
 
          D3 ท่าน ว.วชิรเมธี พระธรรมส่องใจ
 
          D4 คุณธานินทร์ พันธ์ประภากิจ ทาสแผ่นดิน
 
          D5 พระครูอลงกต รักระยะสุดท้าย
 
          D6 คุณเกษร วงศ์มณี เส้นทางนางฟ้า
 
          D7 พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา วีรบุรุษแห่งบันนังสตา
 
          D8 คุณคริสโตเฟอร์ แจ๊ค เบญจกุล ฮีโร่ผู้เคราะห์ร้าย
 
          D9 คุณเทวา พงศ์สุวรรณ ผู้ทำดีด้วยรัก ผู้พิทักษ์เพื่อแม่
 
          D10 ครูสะเทื้อน นาคเมือง กตัญญูแผ่นดิน
          D11 ครูสงัด ใจพรหม ครูช่างหัวใจไทย
 
          D12 ครูยอดธง เสนานันท์ วีรบุรุษครูหมัดมวย
 
     สามารถติดตามรายละเอียดประวัติคนดี 12 ท่านนี้ได้ที่ www.kantana.com และ www.facebook.com/bunlungkondee หรือที่ youtube รายการบัลลังก์คนดี และในรายการบัลลังก์คนดี ทุกวันจันทร์-พฤหัส เวลา 18.30-19.00 น. ทาง ททบ.5

1292  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / สระมนพระราชวังโบราณ ของเมืองกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 02:24:21 pm
สระมน พระราชวังโบราณ เมืองกำแพงเพชร

เมืองโบราณทุกเมืองต่างมีพระราชวัง  ราชวัง หรือวัง แล้วแต่ ฐานะของเมืองนั้นๆ ที่เมืองกำแพงเพชร มีพระราชวังโบราณ อยู่ติดกับวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดหลวงประจำเมือง และหลักเมือง  มีกำแพงดินขนาดสูงประมาณสามเมตร ติดอยู่ทางด้านประตูสะพานโคม หรือทางออกไปอำเภอพรานกระต่าย  มีขนาดพระราชวังใหญ่ กว่า ๒๐ไร่ ซึ่งบางส่วนของสระมนอยู่ในบริเวณโรงเรียนกำแพงเพชรในปัจจุบัน
ถัดจากกำแพงพระราชวังเข้ามา มีคูน้ำล้อมรอบ คูน้ำนี้เอง เป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดมุมให้มนทั้งสี่มุม เราจึงเรียกกันทั่วไปว่าสระมน  บริเวณศูนย์กลางของสระมนเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ที่มีน้ำขังทั้งปี อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ในพระราชวัง บริเวณในสระมนไม่มีหลักฐานสิ่งก่อสร้างให้เห็นเหลืออยู่เลย เพราะสิ่งก่อสร้างที่ทำพระราชวัง คงก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหมด เมื่อเมืองเก่ากำแพงเพชรเป็นเมืองร้าง คงพังและสลายไปกับกาลเวลาไม่มีอะไรให้เห็นเป็นหลักฐานอีก
การขุดค้นหาหลักฐานของกรมศิลปากร ได้พบแต่กระเบื้องหลังคา และเศษภาชนะถ้วยชามซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญว่าเป็นที่อยู่อาศัยของกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร หรือเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ละยุคสมัย ตามฐานะและความสำคัญของเมืองกำแพงเพชร ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่ก็ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชรเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยโบราณอย่างแน่นอน
ถัดมาในเขตสระมน มีฐานศิลาแลง ขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นฐานอาคาร แต่ไม่เห็นเสาใดๆอาจเป็นอาคารไม้ ที่มีฐานก่อเป็นศิลาแลง ลักษณะมีทางเดินมาจากวัดพระแก้ว แวะมาสถานที่แห่งนี้ก่อนเข้าไปยังบริเวณอาคารพระราชวัง บริเวณแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ว่าราชการของกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองกำแพงเพชร อย่างแน่นอน
สระมนเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชรที่มิใคร่มีใครสนใจเท่าใดนัก เพราะ หานักท่องเที่ยวเข้าไปชมก็ยากยิ่งและไม่มีใครเขียนถึงไว้ อย่างเป็นหลักฐานชัดเจน ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพบ ร่องรอยถนนเชื่อมต่อ ระหว่างวัดพระแก้วกับพระราชวังโบราณแห่งนี้ จึงเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เป็นพระราชวังโบราณอย่างแน่นอน
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ได้เสด็จเข้าพักในพลับพลาบริเวณสระมนแห่งนี้ ซึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่า บริเวณแห่งนี้คือพระราชวังโบราณ ดังที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงบันทึกไว้ว่า
ออกจากวัดไปที่หลักเมือง  แล้วไปที่วัง   วังนี้มีแนวเชิงเทินต่ำรอบ ไม่เห็นมีกำแพงเหลือเลยเห็นจะใช้ระเนียดไม้เช่นเมืองพม่าเขาก็ยังใช้อยู่ ยาว๖เส้นไว้ชานในกว้าง๕เส้น ระหว่างระเนียดชั้นนอกพอสมควร พอการพิทักษ์รักษาและบริษัทบริวารจะอยู่ชั้นใน ขุดคูรอบจะมีระเนียดไม้ปากคูข้างในอีกชั้นหนึ่ง มีถนนเข้าสามด้าน เว้นด้านหนึ่ง ดูภูมิคล้ายสระแก้วเมืองพิษณุโลก ในกลางวังมีสระใหญ่รูปรีสระหนึ่ง ไม่มีรอยก่อสร้างเลย เห็นจะเป็นเรือนไม้ทั้งนั้น  เขาปลูกพลับพลาและปะรำที่พักในที่นี้ มีราษฎรมาประชุมเป็นอันมาก..................

                  สันติ อภัยราช
1293  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติแม่ถุงเงิน ศุภดิษฐ์ ตระกูลเก่าแก่ของเมืองกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 02:20:07 pm
ตำนานแม่ถุงเงิน ศุภดิษฐ์

แม่ถุงเงิน เกิดที่ข้างวัดเสด็จ ลักษณะบ้านเป็นบ้านอยู่อาศัย เป็นเรือนหลังใหญ่ เป็นบ้านของขุนทวี จีนบำรุง และแม่ซุ  ก่อนที่ขุนทวี มาปลูกบ้านหลังใหม่ เหนือขึ้นมา ราว พ.ศ. ๒๔๕๐ ปลูกบ้าน บ้านชั้นเดียวสูงจากพื้น ราว หนึ่งเมตร ตรงกันข้ามเป็นห้องแถวของพ่อปู่(ปู่ชื่น ศุภดิษฐ์) มี อยู่ ห้าห้อง มีโกตวง ๒  คูหา    น้าทอง ปัจจุบันหลานสาวทำอาหารขาย ริมถนนราชดำเนิน ติดบ้านยายหาด ขายขนม ยายประดับ ลูกสาวชื่อแม่ยี่
ยายชะแลง ขายทอง ร้านแม่ชะแลง ๒คูหา รวม ๕คูหา หลังห้องเช่าติดแม่น้ำปิง ภายหลังไฟไหม้ กำแพงเพชรครั้งใหญ่ในปี ๒๕๐๕ ทำให้ไฟไหม้หมดทั้งตลาด ตามคำบอกเล่า ของแม่ถุงเงิน
ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิง   เริ่มจากร้านยายยูง ขายก๋วยเตี๋ยว  บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์  (ลูกแม่นางจำนง  ชูพินิจ
ร้าน เจ็กหงัง ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง  มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนาย บุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน  บ้านครูศรีสวัสดิ์  ม่วงผล  ร้านเจ๊กฮ้อ ขายมะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่
ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วยห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยา เจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่า กับยายเชย สกุลสุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนำของ เป็นปีบ บ้านยายแก่ ขายกล้วยไข่สุกหน้าบ้านยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง  อมละ  ๑๐สตางค์ขาย กล้วยมัน  ( ประมาณปี ๒๔๙๐ ) ถัดไป บ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาล้วน) ขายห้องแถว เป็นโรงแรม ของอาโต้ เจ๊กพง
   บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชี โรงสี พรานกระต่าย  เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง   บ้านพี่ยีวิรัตน์  บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน   บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า  ถัดไปเป็นบ้านตารอด ยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน ขี่จักรยาน  ต่อไปบ้านยายช่วย ๒ ชั้น เมียมหา ขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ  และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง ๒ ชั้น ขาย ของจิปาถะ บ้ายยายพลอด ตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้
        ทางฝั่งเสด็จ เริ่มจากบ้านยายแม่รอด (แม่สส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้าน ยายเงินขายผัก ขายเมี่ยง  บ้านเจ็กท้ง ขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเสม ยายดำสกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น ( บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถวสองชั้น  บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล   (  ครูสุพรรณลูกเขย  ลูกสาว ครูเพ๊ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ   (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็ นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้   ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่  ลูกหลวงภักดี  บ้านแถวไม้  บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ) ร้านแป๊ะพง  ยายโต้   (โรงแรมชากังราวในปัจจุบัน)  ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ  ร้านโกวั้น บ้านเจ็กสึ่ง   ตัดเสื้อผ้า  โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง  โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงหล้ากำแพงเพชร


แม่ถุงเงิน ศุภดิษฐ์  เกิดวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๖๗ ที่บ้าน ขุนทวีจีนบำรุง ซึ่งภรรยาชื่อแม่ซุมีศักดิ์เป็นป้า บิดาชื่อนายแขก ศุภดิษฐ์  ( ลูกนายชื่น  ภูมิลำเนาเดิม อยู่กำแพงเพชร นางทาภูมิลำเนาอยู่จังหวัดตาก) แม่ชื่อนางลิ้นจี่ เดิมชื่อส่วยจี่ (ลูกหม่องเซ็งเพ่ ชาวพม่า มาทำไม้ที่กำแพงเพชร กับนางบุญทัน สกุลเดิมสุรเดช ซึ่งมีพี่น้อง ชื่อนางบุญแพง นางบุญทัน บุญทิน บุญทวน และนายย้อย (นายชื่นเป็นลูกนายเชื่อม กับนางพัน)
นางบุญแพง แต่งกับ กับ นายพิน ชูพินิจ  มีลูกชื่อนางประเจียด แต่งงานนายอำเภอสุโขทัย ชื่ออะไรจำไม่ได้  มีลูก .....นายกุ่ม  แต่งงานนางสังวาลย์ มีลูกชื่อ นางเสริมสุข,  นายกู่ไม่ได้แต่งงาน    นางบุญทิน แต่งงานกับนายใย มุสิกะปาน มีลูกชื่อครูวันเชิด  มุสิกะปาน เมียชื่อนางชั้น  น้องชื่อ นายโพเทิน เมียชื่อ นางบุญทวน แต่งงานกับ คนจีน นามสกุลสุรเดช มีลูกชื่อนางบุญมา เมียนายวงค์    สัทธานนท์   มีลูก ๒คน คิอ นายทวี และนายทวีป ( เดิมเป็นนายทหาร ) นายย้อย แต่งงานกับนางทองคำ  ใช้นามสกุลสุรเดช มีลูกทำสวนชมพู่ อยูท่าพุทรา จำชื่อไม่ได้
นายแขก ศุภดิษฐ์  พี่สาวชื่อ  ยายมุจรินทร์(ละมุด)   แต่งงานกับรื่น จันทราภัย (คนตาก) ตำแหน่งผู้ช่วยคลัง   น้องคนถัดมานายสาหรี่ แต่งกับ นางกิมเฮียง ลูกชื่อนายพล    น้องถัดมาชื่อนางปรุง แต่งงานกับนายสวาท มีลูกชื่อนายแสวง  นางตุ๊กตา และ นางแอ๊ด     นาง เฟื้อ(ศุภรัตน์)  เมียช่างช่วย นางเกาะ เมียนายทหาร ย้ายไปอยู่นครสวรรค์ นางพิศ เมียนายตง มีอาชีพค้าขาย  คนสุดท้องชื่อนายฝรั่น แต่งงานกับนางจวน อาชีพทำขนมขาย มีลูกชื่อวารีรับราชการครู  แต่งงานนายไท ทำงานไปรษณีย์
 นายแขก(พ่อตา)  เรียนบัญชี ทำงานเป็นสมุห์บัญชี ของห้างล่ำซำ และมาเป็นสมุห์บัญชี ของที่ทำการป่าไม้กำแพงเพชร ตายเมื่ออายุ ๗๒ ส่วนนางลิ้นจี่ (แม่อ้วน)เป็นแม่บ้าน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๖๗ปี
นางถุงเงิน  ศุภดิษฐ์  มีพี่น้องทั้งหมด ทั้งหมด ๑๑ คน คือ
๑.นางถุงเงิน ศุภดิษฐ์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เครือมาศ แต่งงานกับนายเจริญ จารุวัฒน์ (โกสินทร์ จารุวัฒน์)
๒.นายไพทูรย์ เปลี่ยนชื่อเป็นนายเถลิงศักดิ์ แต่งงานกับนางฉายา รามสูต รับราชการเป็นปลัดอำเภอที่กำแพงเพชร มีลูกชื่อ ต่อม  ติ่ง โต้ง  ต๋อง แต๋ง
๓.นายไพโรจน์ รับราชการป่าไม้อำเภอ เกษียณที่อำเภอสวรรคโลก แต่งงานกับ นาง มะเอติ่น ชาวพม่า มีลูกชื่อ นางน้อย นางไก่ นายหนุ่ย
๔.นางสมพร แต่งงานกับนายบรรจบ ครองแก้ว รับราชการป่าไม้อำเภอ  มีลูก ๘ คน คือนายจุ้ย
๕.นายขยาย อาชีพขับรถกำแพงนครสวรรค์ แต่งงานกับนางจำนง มีลูกชื่อนางตุ้มทอง
๖.นางพุ่มพวง แต่งงานกับดาบเกษม นาคน้อย รับราชการตำรวจ มีลูก ๕ คน จ๋อม จิบ น้อย แจ็ค จุ่น
๗. นายชนัย(น้าออด)  อาชีพค้าขาย แต่งงานกับนางประเทือง มีลูก  ๔ คน อ้อม อ้อ  มาน
๘. นางพริ้มเพรา แต่งงานกับนายอ๊อด พันธุสังวร อาชีพ เลขาเรืองวิทย์ ลิกซ์  มีลูก ๑ คน ชื่อ เอ๋
๙.นายขจร อาชีพทำงานบริษัทจาวาแมนนู แต่งงานกับนางนงนุช  และนางแอ๊ด  มีลูก ๔คน
๑๐. นางเพทาย รับราชการครู แต่งงานกับนายวราห์ มุสิกะปาน สามัญศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
 มีลูก ๒ คน คือนายระวิเทพ มุสิกะปาน
๑๑. นางระพีพรรณ อาชีพรับราชการครู แต่งงานกับ นายวิสูตร จิตบรรเทา  หัวหน้ากศน.อำเภอ
มีลูก ๓คน คือ ตุ๊กติ๊ก กลองแต็ก ตุ๊กตา
แม่ถุงเงิน ศุภดิษฐ์  เมื่อสมัยเด็กๆ อยู่กับป้า ละมุด ทำขนมครกขาย เมี่ยงคำ กล้วยปิ้ง ขายที่วิกลิเกของป้าละมุด อยู่หลังบ้าน บริเวณบ้านหน้าพรปัจจุบัน วิกลิเกแม่ละมุด มีตั้งแต่แม่ถุงเงินเกิด เลิกวิกไปเมื่ออายุ  ๑๐ ขวบ
มีลิเกจาก แสดงทุกคืน ส่วนใหญ่เล่นเรื่องในวรรณคดี มีการแสดงพม่ารำขวานก่อนเล่นทุกวัน เก็บค่าชม ราคาประมาณ จำไม่ได้ ยังไม่เข้าโรงเรียน บริเวณหน้าวิกลิเก มีเมี่ยง ขนมหวาน ขนมยายเฉลิม สมัยเป็นเด็กช่วยป้าทำครัว ทำอาหาร อยู่กับครอบครัวใหญ่ 
   เรียนประถมศึกษาที่โรงเรียนนารีวิทยา บริเวณใกล้ประปากำแพงเพชรปัจจุบัน อาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีชั้นประถมหนึ่ง ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีครูประจำชั้นชื่อนางชุด เกิดเทพ  มีสามีชื่อชาญชัย เป็นเสมียนศึกษา ครูใหญ่ชื่อนางสมสนิท รามสูต   ครูเสมอ   ครูสมศักดิ์ ศิริไพบูลย์  มีเรียนวิชาเหมือนปัจจุบัน  โรงเรียนอยู่ติดกับวัดชีนางเกา ตอนเช้าเดินมาโรงเรียนกับ  อัมพร ทองอยู่   จง  มุสิกะพงศ์   ระเบียบ ลูกนายไปรษณีย์  สมจิต ขณะไปโรงเรียนมีถุงผ้า ใส่กระดานชนวน ปิ่นโตข้าว นุ่งผ้าถุงสีน้ำเงิน เสื้อคอซองสีขาว รองเท้าผ้าใบขาว  มีนักเรียนประมาณ ๗๕ คน ชั้น ม. ๓ มี ๗คน  รวมเรียนที่โรงเรียนนารี ๗ ปี โรงเรียนเลิก๓โมงเย็น โรงเรียนหยุดวันพระ
เรียนพอปานกลาง
   ปี ๒๔๘๓ ไปเรียน พิษณุโลก ที่กำแพงเพชรไม่มีการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ๑๖ ปี ป้าละมุดส่งไปเรียนจังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูด้วย ไปเรียน ๒ปี ได้ครูว .(ครูประกาศนียบัตรจังหวัด) การเดินทางไปเรือลาว( หางแมงปล่อง) กับ ปทุม ทองคุ้ม คนท่อเรือชื่อนายมี ป้าละมุดไปส่ง ใช้เวลาเดินทาง ๓ วัน๓คืน ถึงจังหวัดตาก  ขึ้นรถไปสวรรคโลก ต่อรถไป ไปพิษณุโลก รวม ๗ วัน ขี่สามล้อไปโรงเรียนเฉลิมขวัญ อยู่หอพัก ๒ปี ไม่ได้กลับบ้าน ขากลับจบการศึกษา พ่อแขก ไปรับกลับทั้ง๒ คน  หนึ่งเดือน ใช้เงินประมาณ ๕ บาท
ปากกาเชพเฟอร์ ด้ามละ ๙ บาท สั่งซื้อจากแม่สอด  มีนักเรียนครูประมาณ ๗๕ คน ครูใหญ่ชื่อนางสาวสังวาล สุขโรจน์  ครูประจำชั้นชื่อนางแสวง เรียนวิชาสามัญทั้งหมด เพิ่มวิชาครู ครูชื่อสาขา เป็นคนสอน  ชีวิตประจำวัน ทำความสะอาดห้องนอน จังหวัดกำแพงเพชรอ่อนภาษาอังกฤษ   คณิตศาสตร์ มี  พิจิตร   ตาก  สุโขทัย   นครไทย พิษณุโลก กำแพง  ครูแม่บ้านดุมาก ไม่ได้ไปเที่ยวไหน 
   จบการศึกษาปี ๒๔๘๕ กับมากำแพงเพชร กลับ ทางรถไฟ  ไปลงนครสวรรค์ กลับรถยนต์ถึงกำแพงเพชร ตอนนั้นอายุ ๑๗ปี  อายุรับราชการไม่ได้ ไปสอนที่โรงเรียนวัดราชพฤกษ์ศรัทธาราม เดินออกจากบ้านหกโมงเช้า ถึงโรงเรียน ๓โมงเช้า  สอนทุกวิชา มีนักเรียนหลายคน  มีครูสาหรี่ ชาญเชี่ยว เป็นครูใหญ่   และครูเจริญ จารุวัฒน์
ไปอยู่สามเดือน  ขอย้ายมาอยู่เทศบาล ๑ วัดบาง เทศมนตรีชื่อนายเอื้อ มุสิกะพงศ์  (บิดาศึกษาชะอุ้ม มุสิกพงศ์)
   ย้ายมาสอนที่โรงเรียนเทศบาล๑ วัดบาง  ครูใหญ่ชื่อครูบุญช่วย  สอนเทศบาล ๑ อยู่  หลายปี
จนมาก่อตั้งโรงเรียนวัดคูยาง แล้วจึงย้ายมาอยู่โรงเรียนวัดคูยาง ต่อมาโอนมาอยู่โรงเรียนเทศบาล๑ ในปัจจุบัน
เพราะกลัวถูกย้าย ไปเป็นครูประชาบาลที่อื่น  สอนอยู่หลายปี   ปี๒๔๒๓ จึงไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนเทศบาล ๒
จนเกษียณอายุราชการ


   
ชีวิตคู่ ของแม่ถุงเงิน ศุภดิษฐ์
      พบกับครูเจริญ จารุวัฒน์ ครั้งแรก ที่โรงเรียนวัดราชพฤกษ์ศรัทธาราม  ตำบลหนองปลิง  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ค่อยได้พูดกัน ไม่คุ้นเคยกัน  ครูเจริญมาพบป้าละมุด ที่บ้านตอนกลางคืน แวะมาคุยกับป้าละมุด ไม่ออกมามาคุยเขา อายเขาที่มีผู้ชายมาชอบและมีอายุมากกว่า ๗ ปี  เมื่อมาอยู่วัดบาง มาชอบกันกับครูเจริญ มาฟังวิทยุที่ต้นโพเวลา ๑๘.๐๐ น.  ฟังการเมือง แต่ครูถุงเงิน ไม่ได้สนใจ ไปเป็นเพื่อนยายละมุด มีคนประมาณ ๕๐ คน  ประมาณ พ.ศ ๒๔๘๖ ชอบกับครูเจริญอยู่ประมาณ ๒ปี โดยมีป้าละมุด และแม่ดำ (ภรรยานายท้ายเกษม) โดยมีแม่กิมไล้ (มารดาครูเจริญ)  มาสู่ขอ แต่งงานปีพ.ศ. ๒๔๘๗ ตอนนั้นครูเจริญ สอนอยู่โรงเรียนกำแพงเพชรวัชรราษฎร์วิทยาลัย ที่บ้านป้าละมุด
   แต่งงานสองแบบ ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง ไปอยู่บ้านแม่ถุงเงิน
      ลูกคนที่ ๑ ชื่อ วัชระ ชื่อเล่นอู๊ด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นายชัยวัฒน์  จารุวัฒน์   รับราชครู เริ่มสอนที่ปากอ่าง ตามาโอนไปเป็นเจ้าที่การเงิน การประถมศึกษา จนเกษียณอายุราชการ แต่งงานกับนางจรุงศรี  อินทรเกษม มีลูก สองคนคือ นายภูชิต  จารุวัฒน์ ทำงานเป็นพัศดี ที่จังหวัดเชียงใหม่ คนที่สอง ชื่อนายจักรพรรดิ  จารุวัฒน์ ทำหน้าที่วิศวกรกรมชลประทาน จังหวัดเชียงใหม่
      ลูกคนที่ ๒ ไม่ทันตั้งชื่อ เป็นหญิง (ฉอทิวา)  ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุได้ ๖วัน
      ลูกคนที่ ๓ ชื่อวัชรี ชื่อเล่นอ๊อด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จันทินี จารุวัฒน์

      ลูกคนที่ ๔ ชื่อ นพทิวาเป็นหญิง ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ ๙ วัน
      ลูกคนที่ ๕ ชื่อ วัชรินทร์ ชื่อเล่น แอ๊ว ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จุไรลักษณ์ จารุวัฒน์ รับราชการครู โรงเรียน   
กำแพงเพชรพิทยาคม แต่งกับ นายสุพล อัตภานันท์ มีลูกสาวชื่อพอใจ อัตภานันท์  ทำงานกระทรวงพานิชย์ กรุงเทพ
   ลูกคนที่ ๖ ชื่อจินตนา  ชื่อเล่น จุ๋มจิ๋ม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จิราภารับราชการครูที่มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร แต่งงานกับ นายวิน คำพวงวิจิตรมีลูกชายชื่อวัจน์ คำพวงวิจิตร
   ลูกคนที่๗ ชื่อจิตนาฎ ชื่อเล่นชื่อโด่ง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สุพจน์ รับราชการครูโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม แต่งกับ ลออศรี  สุบิน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข กำแพงเพชร  มีลูกชาย ๒ คน ชื่อ กิตติพงศ์ กับ ศรันย์  จารุวัฒน์
   ลูกคนที่ ๘ ชื่อสุพรรณี ชื่อเล่นชื่อปุ้ย แต่งงานกับ นายวันชัย มาดเมฆ ทำงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำแพงเพชร มีลูกชื่อธวัชชัย   ญิง วันธพร มาดเมฆ
   ลูกคนที่ ๙ ชื่อสุรีย์มาศ ชื่อเล่นชื่อปุ๋ม รับราชการครูโรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม แต่งกับ นายทองคำ ดิษสละ รับราชการครูโรงเรียนวัชรวิทยา มีลูกชื่อสัณหทัย ดิษสละ (ถึงแก่กรรม)
ครูเจริญ ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น โกศินทร์  จารุวัฒน์ รับการครู และเป็นศึกษาธิการอำเภอเมือง ๑๗ ปี   เภอคลองขลุง๑๕ ปี จนเกษียณอายุราชการที่อำเภอคลองขลุง 
ถึง  มื่อพ.ศ ๒๕๓๘ อายุรวม ๗๖ ปี   


1294  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) โอรสพระยาจักรี (ร.๑) แม่เป็นคนกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:44:04 pm
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

   เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของ
มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ   และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด นางสาวคนนั้นจึงวิ่งด่วนเข้าไปในห้อง หยิบได้ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วจ้วงตักน้ำในหม้อกลัน แล้วล้วงไปหักดอกบัวในหนองน้อยข้างโรงนั้นสองสามดอก แล้วฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกษรบัวโรยลงไปในขันน้ำจนเต็ม แล้วนำไปส่งให้บนหลังม้า เจ้าคุณแม่ทัพรับเอามา เป่าเกษรเพื่อแหวกหาช่องน้ำ
ต้องเอาริมฝีปากเบื้องบนเม้มเกสรไว้  แล้วดูดดื่มน้ำจนหมดขันด้วยกำลังอยากกระหายน้ำ ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางสาวคนนั้นว่า เรากระหายน้ำอุตส่าห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน เหตุไฉนจึงแกล้งเรา เอาเกสรบัวโรยสงส่งให้ เรากินน้ำของเจ้าลำบากนัก เจ้าแกล้งทำเล่นแก่เราหรือ
   นางสาวคนนั้นตอบว่า ดิฉันจะได้คิดแกล้งท่านนั้นก็หาไม่ ที่ดิฉันเอาเอษรบัวโรยในขันให้เต็มนั้น เพราะดิฉันเห็นว่าผากแดดแผดลมเหนื่อยมา และกระหายน้ำด้วย ก็เพื่อจะป้องกันเสียซึ่งอันตรายแห่งท่าน เพื่อจะกันสำลักน้ำและสะอึกน้ำและกันจุกแน่นแห่งท่านผู้ดื่มน้ำของดิฉัน ถ้าท่านไม่มีอันตรายในการดื่มน้ำแล้ว น้ำจะได้ทำประโยชน์แก้กระหายแห่งท่าน  ดิฉันจะพลอยได้ประโยชน์เพราะให้น้ำแก่ท่าน  ท่านสมปรารถนาแล้วก็จะเป็นบุญแก่ดิฉัน เหตุนี้ดิฉันจึงโรยเกษร....เจ้าคุณแม่ทัพฟังคำนางสาวตอบอย่างไพเราะอ่อนหวาน ถ้อยคำที่ให้การมานั้นก็พอฟัง จึงลงจากหลังม้าแล้วถามว่า ตัวของเจ้าเป็นสาวเต็มเนื้อแล้ว มีใครๆมาหมั้นหมายผูกสมัครรักใคร่เจ้าบ้างหรือยัง นางสาวบอกว่ายังไม่เห็นมีใครๆมารักใคร่ หมั้นหมายดิฉัน และดิฉันก็ยังไม่ได้ไปเที่ยวบอกใครว่าเป็นสาว มัวแต่หลบหัวซ่อนตัวอยู่ ด้วยบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงถุงมานานจนกาลบัดนี้  จึงมิใคร่มีใครเห็นว่าดิฉันเป็นสาว  เจ้าคุณแม่ทัพว่า ถ้ากระนั้นเราเองเป็นผู้ได้มาเห็นเจ้าเป็นสาวก่อนใคร เจ้าต้องยอมตกลงเป็นคู่รักของเรา เราจะต้องเป็นคู่ร่วมรักของเจ้าสืบไป  เจ้าจะยินยอมเป็นคู่รัก ของเราโดยสุจริตหรือว่าประการใด
   นางสาวตอบว่า การที่ท่านจะมาเป็นคู่รักของดิฉันนั้น ก็เป็นพระเดชพระคุณยิ่งอยู่แล้ว แต่ทว่าการจะมีผัวมีเมียกันตามประเพณีนั้น ดิฉันไม่ทราบเรื่อง จะว่าประการใดแก่ท่าน ก็ไม่มีอะไรจะว่า เร่องการผัวการเมียนั้นท่านต้องเจราจากับผู้ใหญ่ จึงจะทราบการ  เจ้าคุณแม่ทัพถามว่า  ผู้ใหญ่ของเจ้าไปไหน นางสาวตอบว่าไปรดน้ำถั่วจวนจะกลับแล้ว  เจ้าคุณแม่ทัพขยับเดินเข้าให้ใกล้ นางสาวไพล่วิ่งปรู๋ออกไปแอบที่หลังโรงเลยไม่เข้าหา  เจ้าคุณแม่ทัพ ก็ต้องนั่งเฝ้าโรงคอยท่าบิดามารดาของนางสาวต่อไป จนเกือบตะวันตกดินจวนค่ำ
   ฝ่ายตาผล ยายลา กลับมาถึงโรงแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพได้เห็นแล้วจึงยกมือขึ้นไหว้ ตายายก็น้อมตัวก้มลงไหว้ตอบ  ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ก้มลงไหว้ให้ต่ำลงไปอีก ตายายก็หมอบลงไปไหว้อีก ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็หมอบไหว้อยู่นั้น ต่างคนต่างหมอบแต้วกันอยู่นั่นทั้งสองฝ่าย   ฝ่ายยายแกเป็นคนปากเร็ว แกนึกขันและประหลาดใจแกจึงเปิดปากถามออกไปก่อนว่า นี่ท่านเป็นขุนนางมาแต่บางน้ำบางกอก เหตุไฉนมาหมอบกราบไหว้ข้าเจ้า  เป็นชาวบ้านนอกเป็นชาวทุ่งชาวป่า เป็นคนยากจน ท่านจะมาหมอบไหว้ข้าพเจ้าทำไม... เจ้าคุณแม่ทัพบอกว่า ฉันจะสมัครเข้ามาเป็นลูกเขยท่านทั้งสองจ้ะข้ะ
   ยายถามว่าท่านเห็นดีเห็นงามอย่างไร  เห็นลูกสาวฉันเป็นอย่างไร ท่านจึงจะมายอมตัวเป็นลูกเขยเล่า เจ้าคุณแม่ทัพว่า ฉันเห็นบุตรสาวท่านดีแล้วพอใจแล้วจึงเข้ามาอ่อนน้อมยอมตัวเป็นลูกเขยท่าน แล้วเจ้าคุณแม่ทัพ เล่าถึงกาลแรกมาขอน้ำและนางเอาเกสรบัวโรยลงและได้ต่อว่า นางได้โต้ตอบถ้อยคำน่าฟังน่านับถือจึงทำให้เกิดความรักความปราณีขึ้น และตั้งใจจะเลี้ยงดูจริงๆ จึงต้องทนอยู่คอยท่า
เพื่อจะแสดงความเคารพและขอเป็นเขย ขอให้แม่พ่อมีเมตตา กรุณาเห็นแก่ไมตรีที่ได้มาอ่อนน้อมพูดจาโดยเต็มใจจริง ๆ ไม่ได้มีแยบยลอะไร ตั้งใจจะช่วยทะนุบำรุงนางสาวกับพ่อแม่ให้บริบูรณ์พูลเถิด ไม่เริดร้างจริงๆ ตามวาจาที่ว่ามานี้ทุกอย่าง  ขอพ่อแม่ได้โปรดอนุญาตยกนางสาวลูกนั้นให้เป็นสิทธิแก่ฉันในวันนี้  ยาย ตาแกร้องขึ้นด้วยความตกใจว่า....โอตายจริงข้าเจ้าเป็นคนยากจนข่นแค้นและต่ำศักดิ์ ทั้งผ้าผ่อนที่นอนก็เหม็นตืดเหม็นสาบ ทั้งเครื่องเย่ามาเรือนก็ขัดขวาง   ทั้งถ้วยชามรามไห ที่ดีงามฏ้ไม่มีฉิบหายป่นปี้แต่ครั้นบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงนัง หลายครั้งหลายครามา แลตัวนางหนูเล่าก็ยังไม่เป็นภาษา  ทั้งจริตกิริยาก็ยังป่าเถื่อน ไม่เหมือนชาวใต้ จะใฝ่สูงเกินศักดิ์เกินสมควรไปละกระมังพ่อคุณ
   เจ้าคุณแม่ทัพว่า ข้อนั้นพ่ออย่าแม่มีความวิตกหวาดกลัวอะไรเลย ข้อสำคัญก็คือแม่พ่อยกให้แม่พ่อยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ฉันเด็ดขาดแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของฉันฝ่ายเดียวตามที่พ่อแม่ยกขึ้นเป็นทางปรารมภ์นั้น เป็นธุระของฉันหมดทุกอย่างขอแต่วาอย่าเกี่ยงงอขัดขวางดิฉันเลย
   ยายลา  ตาผล  ขอทุเลาถามเจ้าตัวว่า มันอยากมีผัวหรืออยางไรไม่ทราบ แล้วก็ออกไปตามหาที่หลังโรง ตายายพูดจากับลูกสาว ลูกสาวพุดกับพ่อแม่ ได้ยินแต่กระจู๋กระจี๋กระเส่าๆ กระซิบกระซาบอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็กลับมา แล้วนั่งลงถามว่า ในเวลานี้ท่านก็มาแต่ตัวกับม้าตัวหนึ่ง  ถ้าหากว่าดิฉันทั้งสองจะพร้อมใจยกอีงุดลูกสาวให้เป็นเมียท่านท่านจะจัดการประการใดแก่ดิเป็นเพื่อให้เป็นมงคล จงว่าให้ดิฉันฟังเถิดเจ้าข้ะ
   เจ้าคุณแม่ทัพ ถอดแหวนออกจากนิ้วแล้วบอกว่า แหวนวงนี้มีราคาสูงถ้าว่าท่านบิดามารดายินยอมพร้อมใจกัน ยกแม่งุดให้เป็นเมียเป็นสิทธิ์แก่ฉันแล้ว ฉันจะยกแหวนวงนี้  ตีราคาทำสัญญาให้ไว้เป็นสินถ่ายยี่สิบช่าง คิดเป็นทุนเป็นค่าทองหมั้น ขันหมากผ้าไหว้อยู่ในยี่สิบชั่ง ทั้งค่าเครื่องเย่าเครื่องเรือนเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงดู ค่าเครื่องเส้นวักตั๊กแตนเสร็จในราคา 20ช่าง ด้วยแหวนงนี้ สองตายายได้ฟังดีใจเต็มใจพร้อมใจ  ตกลงยกลูกสาวให้ตามปรารถนา เจ้าคุณแม่ทัพก็จัดแจงยืมพานปากกระจับทองเหลืองมาแล้วเขียนสัญญาถ่ายแหวนแล้วเอาใบตองรองก้นพาน แล้ววางแหวนที่ว่านั้นลงบนใบตองรองในพาน เชิญเข้าไปคุกเข่าส่งให้ตายาย ๆก็ให้ศีลให้พร เป็นต้นว่าขอให้พ่อมีความเจริญด้วยลาภและยศ
ให้เป็นเจ้าคนนายคนเถิด แล้วจัดแจงหุงข้าต้มแกง พล่ายำตำน้ำพริก ต้มผักเผาปลาเทียบสำรับตามป่าๆ แล้วเชิญให้อาบน้ำทาดินสีพอง  ยายตาก็อาบน้ำ ลูกสาวก็อาบน้ำ ตาตักน้ำให้ม้ากิน พาไปเลี้ยงให้กินหญ้า ครั้นเจ้าคุณอาบน้ำทาดินสีพองแล้ว ลูกสาวทาขมิ้นแล้วยายก็ยกสำรับปูเสื่อลำแพน แล้วเอาผ้าขาวม้าปูบนเสื่อลำแพน  ยายเชิญเจ้าคุณแม่ทัพให้รับประทาน 
   ยายตาก็รับประทานพร้อมกัน นางงุดนั้นให้กินภายหลัง ครั้นรับประทานอาหารแล้วต่างคนนั่งสนทนากัน ครั้นเวลาสี่ทุ่มจึงพาลูกสาวออกมารดน้ำรดท่าเสร็จแล้วก็ส่งตัวมอบหมายฝากฝังตามธรรมเนียมของชาวเมืองกำแพงเพชร อันเคยทำพิธีมาแต่ก่อน
   ส่วนเจ้าคุณแม่ทัพรับตัวแล้ว  ก็หลับนอนด้วยนางงุดในกระท่อมโรงนา จนรุ่งสางสว่างฟ้าแล้ว  ตื่นขึ้นอาบน้ำ รับประทานอาหารแล้วก็ลาตายาย ขึ้นม้ามาบัญชาการที่กองทัพ พอเวลาค่ำสั่งการเสร็จสรรพแล้ว ห่อเงิน 20 ชั่งมาสู่ โรงบ้านปลายนา ถ่ายแหวนคืนสัญญาแล้วก็หลับนอน  เช้ากลับค่ำไปหา เป็นนิยมมาดังนี้   แม่ทัพนายกองทั้งปวงจะได้ล่วงรู้และร่ำลือให้อื้อฉาวก็เป็นอันว่าหามิได้ แต่บุตรชายของเจ้าคุณแม่ทัพ ซึ่งนอนอยู่ในค่ายมีอายุแปดขวบโดยปี จะรู้ก็เข้าใจว่าไปดูแลตรวจตราบัญชาการ แต่เป็นอยู่ดังนี้นานประมาณเดือนเศษ ตามสังเกตรู้ว่านางงุดตั้งครรภ์ ต่อแต่นั้นก็เพียงแต่ไปมาถามข่าว
   ครั้นมีท้องตราหากองทัพกลับ เจ้าคุณแม่ทัพก็ไปร่ำลา และสั่งสอนกำชับกำชาโดยนานัปการจนนางเข้าใจราชการตลอดรับคำทุกประการ แล้วท่านก็คุมกองทัพกลับกรุงธนบุรี
     ทั้งหมดนี้เป็นคำทุกตัวอักษรจากหนังสือชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน  โลหะนันท์)
 เมื่อเจ้าคุณแม่ทัพกลับไปแล้ว  ตาผล ยายลา แม่งุด ก็คิดค้าขายขึ้นล่อง ไปธนบุรีและเมืองเหนือ ล่องมาถึงธนบุรี (อาจมาหาเจ้าคุณแม่ทัพ)  ข้ามมาจอดเรือที่บางขุนพรหม  สมเด็จพุฒาจารย์โตเกิดที่นั่น เมื่อเติบใหญ่ได้ศึกษาหลายสำนัก โดยบวชเป็นเณรศึกษาทั้งวิชาโลกวิชาธรรมและอาถรรพณ์เวทย์จนชำนาญในทุกสาขา เป็นที่เลื่องลือมาก ต่อมาตายาย ย้ายไปอยู่เมืองพิจิตร  พออายุ 18 ปี ก็ไปฝากอาจารย์แก้ว วัดบางลำพูบน แล้วได้ไปเรียนกับพระโหราธิบดี  พระวิเชียรกรมราชบัณฑิต เข้าถวายตัวกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ต่อมาได้ไปอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช(มี) เมื่อหลวงพ่อโตอายุได้ 54 ปี โยมงุด ถึงแก่กรรม จึงเอาทรัพย์ทั้งหมดมาสร้างพระนอน ที่วัดขุนอินทรประมูล จังหวัดอ่างทอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพุฒาจารย์(โต)  ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 84 ปี       เมื่อพุทธศักราช 2415    รวมเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม  21 ปี   คุณงามความดีต่อแผ่นดินของท่าน ได้รับยกย่องอย่างสูง ในทุกวงการ
สมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต เสด็จมาเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร หลายเพลา ได้ประทับพักแรมที่วัดเสด็จ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อวัดเสด็จก็เป็นได้
จากเอกสารประวัติเจ้าเมืองกำแพงเพชรครั้งรัชกาลที่ 1-5  ซึ่งทายาทเจ้าเมืองกำแพงเพชร
 คุณปฐมพร นุชนิยม  นำเสนอไว้ว่า เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 พระยากำแพงเพชรได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ท่านเป็นธิดาของพระยารณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี  นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา  ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นป้า หลวงพ่อโต   ได้รับพระราชทานหีบศีลหน้าเพลิง(ไฟพระราชทาน)และจัดการศพที่หาดทราย หรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม
   ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผุ้หญิงแพง เป็นป้า    สมเด็จพุฒาจารย์  ได้เสด็จไปประพาสในที่ต่างๆ ถึงวัดเสด็จ เดิมชื่อวัดไชยพฤกษ์ สังเกตเห็นปลวกอยู่แห่งหนึ่ง คือที่มณฑปพระพุทธบาทสวมไว้นั้น จึงเสด็จเข้าไปยืนหลับพระเนตรอยู่ประมาณ 10 นาที แล้วลืมพระเนตรตรัสกับพระยากำแพงเพชรผู้เป็นหลานว่าให้ขุดปลวกเดี๋ยวนี้ มีใบเสมาจารึก เมื่อขุดปลวกก็พบใบเสมานั้นจริง เมื่อล้างน้ำทำความสะอาดแล้ว ทรงอ่านและแปลศิลาจารึก พร้อมเสวยเพลในวัดนั้น เมื่อแปลจารึกแล้วก็มีรับสั่งว่า มีพระธาตุอยู่ฝั่งโน้น ฝั่งตะวันตกด้านวังแปบ ให้รีบหาคนไปถากถาง พระยากำแพงทำตามรับสั่งก็พบพระธาตุ ปัจจุบันคือวัดพระบรมธาตุ  มีพระธาตุครบถ้วน จึงได้ย้ายเชลย ชาวลาว 100 ครอบครัวที่อยู่เกาะยายจัน วัดป่าหมู เป็นเลกเฝ้าพระธาตุไปอยู่ตำบลนครชุม.จนปัจจุบัน ส่วนวัดชัยพฤกษ์กลายเป็นวัดเสด็จ เพราะสมเด็จพุฒาจารย์โตเสด็จมาประพาสวัดนี้.....
   ภายในวิหารสมเด็จพุฒาจารย์โต นอกจากพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานแล้ว ยังมีรูปหล่อของ สมเด็จพุฒาจารย์โต ประจำอยู่
   วัดเสด็จจึงเป็นวัดที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีพระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ ในเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งปรักหักพังไปตามกาล ส่วนยอดพระเจดีย์ยังจึงให้เห็นประจักษ์มีผู้คนมากราบไหว้มิได้ขาด ปัจจุบันพระบรมธาตุที่หายไปนั้นอาจบรรจุไว้ที่ พระเจดีย์หลังพระประธานในอุโบสถ แต่ยังหาหลักฐานมิได้ นับได้ว่า วัดเสด็จเป็นวัดที่น่าศึกษาอีกวัดหนึ่ง...ที่ผู้คนมองข้ามไป....






1295  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 10:12:11 am
ประเพณีการแต่งงาน จังหวัดกำแพงเพชร
   ประเพณีการแต่งงาน ในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบันทึกการสืบทอดจากการปฏิบัติมากกว่าการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาประเพณีการแต่งงาน จากนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ระหว่าง ทิด รื่น หนุ่มวังแขม กับสุดใจสาวปากคลองสวนหมาก ทำให้เราทราบว่าการแต่งงานระหว่างอดีตกับปัจจุบันยังไม่แตกต่างกันมากนัก แม้ระยะเวลาจะห่างกันกว่าหนึ่งร้อยปี ซึ่งประเพณีการแต่งงานของกำแพงเพชร แบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ
   การสู่ขอ  ฝ่ายหญิงจะพิจารณา ว่าผู้ชายเป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นคนทำมาหากิน ฝ่ายชายจะพิจารณาว่าฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีกิริยามารยาทดี  ไถ่ถามกันถึงสินสอดทองหมั้น ตกลงกันและฝ่ายชายจะยกขันหมากมาสู่ขอและหมั้นกันในที่สุด
   พิธีหมั้น เมื่อได้ฤกษ์แล้วฝ่ายชายจะให้เฒ่าแก่คนเดิม หรือผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ ซึ่งต้องเป็นคู่สามีภรรยา ที่อยู่กินกันอย่างปกติสุข อยู่ในศีลธรรมปฏิบัติแต่คุณงามความดี เป็นผู้นำของหมั้นไปโดยมีขันโตกสองใบใส่ของหมั้นและสิ่งที่เป็นสิริมงคล ตามความเชื่อ ได้แก่  ใบพลู หมาก ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง  ใช้ผ้าคลุมสีสวยคลุมขันหมาก ห่อแล้วห้ามเปิดอีก จนกว่าจะถึงพิธี เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชาย นำขันหมากไปถึง ฝ่ายหญิงต้อง ต้องหาเฒ่าแก่มารับขันหมากหมั้น ประกาศการหมั้นโดยเฒ่าแก่ฝ่ายชายอาจจะกล่าวว่า
   วันนี้เป็นวันดี  ขอหมั้นนางสาว.... กับนาย.... เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะรับหมั้นและจะนำของหมั้นลงไปตรวจนับ โดยละเอียด  และมอบสินสอดทองหมั้นทั้งหมดให้กับ ให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นผู้เก็บแล้วคืนขันให้ฝ่ายชาย อาจหมั้นตอนเช้า แต่งงานตอนกลางวัน หรือในตอนเย็นในวันเดียวกันก็ได้
   ตอนเช้ามีพิธีสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์แล้ว ฝ่ายชายจะต้องแห่ขันหมากมาบ้านฝ่ายหญิง ขันหมาก มีผ้าคลุม ทั้งหมดแปดคู่ คู่แรกถือสินสอดทองหมั้น คู่ต่อมาถือโตกใส่เป็ดไก่ ซึ่งอาจใช้เป็ดไก่จริงหรือใช้แป้งปั้นเป็นเป็ดไก่แทนก็ได้ จากนั้นมีขนมต้มขาว ขนมต้มแดง  หัวหมูต้ม  ขนมจีน ทุกอย่างต้องจัดเป็นคู่ ผ้าไหว้คือผ้าขาวและผ้าแดง อย่างละผืน ให้ญาติฝ่ายชายถือมา อาจเป็นเด็กผู้หญิง พรหมจารี
   การยกขันหมากจะแห่กันมาอย่างสนุกสนาน นำขบวนด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย  อย่างละคู่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการเริ่มครอบครัวใหม่ ให้มีกล้วยมีอ้อยปลูกไว้ประจำบ้านใหม่ หรือเรือนหอใหม่ ปิดท้ายขบวนด้วยถาดใส่ผลไม้ และขนมต่างๆ  เช่นขนมกง ขนมโก๋ ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู  มะพร้าวอ่อนเป็นลูก
กล้วยดิบ เป็นหวี อ้อยเป็นท่อน  ทุกอย่างต้องเป็นคู่ ก่อนเคลื่อนขบวนต้องโห่สามครั้ง เมื่อถึงบ้ายฝ่ายหญิง ต้องโห่อีกครั้ง  เพื่อบอกให้ทราบว่ามาถึงแล้ว  เมื่อเจ้าบ่าวจะขึ้นบ้าน จะต้องก้าวข้าม หญ้าแพรกที่วางอยู่บนก้อนหิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความหนักแน่น และความเจริญงอกงาม จะต้องผ่านประตูเงินประตูทอง ที่สมมุติขึ้นโดยใช้เด็กหรือผู้ใหญ่ 2 คน ถือสร้อยหรือเข็มขัดกั้นไว้  การผ่านประตูต้องเสียเงินและสุรา ปัจจุบันฝ่ายชายจะเตรียมเงินไว้จ่าย โดยเฉพาะประตูทอง ผู้กั้นจะเรียกเงินค่าผ่านประตูทองสูงกว่าประตูเงิน จึงจะเข้าไปในบ้านได้
   ฝ่ายชาย จะเปิดขันหมากต่อหน้าพ่อแม่ฝ่ายหญิง จะนำเงินและทองมานับ และอวยพรให้คู่บ่าวสาว ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข  หลังจากนั้นทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือน บอกเล่าแก่ ผีปู่ย่าตายาย ว่าบ่าวสาวขออนุญาต แต่งงานและอยู่กินกัน โดยการจุดเทียน 6 คู่  ของไหว้ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่า ตายายได้แก่ ขนมจีน น้ำยา หัวหมู น้ำพริกดำ อาจเรียกว่า กินสี่ถ้วย  เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ขนมนมเนยจะแบ่งกัน โดยแบ่งกันระหว่างบ้านเจ้าบ่าวและเจ้าสาวคนละครึ่ง
   ส่วนการหลั่งน้ำพระพุทธมนตร์ ประเพณีดั้งเดิมนั้น คู่บ่าวสาวจะแต่งตัวอย่างงดงาม จะรดน้ำทั้งตัว โดยทั้งหนุ่มสาวจะเปียกโชก ตั้งแต่ศีรษะ ถึงปลายเท้า ต่อมารดน้ำแค่ศีรษะ และพัฒนามารดน้ำเพียงแต่มืออย่างเดียว เดิมต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะหนุ่มสาวไม่รู้จักกันดีพอ ภายหลังไม่ต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาว เพราะทั้งคู่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
   ส่วนการปูที่นอนหรือเรียงหมอน  ผู้ปูต้องเลือกคู่สามีภรรยา ที่อยู่กันอย่างมีความสุข มีศีลธรรมและมีบุตร เมื่อไหว้เจ้าที่เจ้าทางแล้ว ผู้ใหญ่ที่ปูที่นอน  อาจลงนอนเป็นพิธี  เมื่ออวยพรเสร็จแล้ว ผุ้ใหญ่จะกลับกันหมด แล้วห้ามคู่สมรส ออกมาจากห้องหออีก ส่วนการกล่อมหอด้วยมโหรี ปัจจุบันไม่มีแล้ว
   การแต่งงานของชาวกำแพงเพชร  มีบางส่วนที่เหมือนเดิม บางส่วนที่แตกต่าง แต่ละท้องถิ่นจะมีประเพณีการแต่งงานที่แตกต่างกันไป แต่การแต่งงานที่กำแพงเพชรยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ ของกำแพงเพชรไว้ได้ เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน
ขอบคุณ คุณอริษา ท่อนแก้ว และคุณนิพันธ์ ท้าวแดนคำ ที่เป็นแม่แบบในการแต่งงาน โดยใช้ประเพณีของกำแพงเพชร โดยละเอียด รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ขอบคุณที่ทุกท่านให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของกำแพงเพชรสู่ลูกหลานอย่างดีที่สุด
                     สันติ อภัยราช


   
1296  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ศิลปวัฒนธรรมกับการเขียนหลักสูตรการเรียนการสอนท้องถิ่น โดยอ.สันติ อภัยราช เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 10:01:45 am
เอกสารประกอบการบรรยาย
เรื่อง
ศิลปวัฒนธรรมกับการเขียนหลักสูตรการเรียนการสอนท้องถิ่น
โครงการ  สัมมนาเสริมความรู้ความเข้าใจด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ สู่ครูสังคมศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร
ณ ห้องลิไท โรงแรมเพชร วันที่ 7 กรกฏาคม    2546   เวลา 13.00 น. ? 14.30 น.

 โดย  สันติ  อภัยราช ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา)
            อาจารย์ 3 ระดับ 9  ครูต้นแบบแห่งชาติ
           ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
สภาพปัญหา
   ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษาในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนอย่างมากมาย  สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมบริโภคนิยม ส่งผลให้เกิด ค่านิยม ในเรื่องยกย่องนับถือคนมีเงิน มีอำนาจ มีตำแหน่ง มีวัตถุมากกว่าสิ่งอื่นๆ  สังคมจึงไขว่ คว้าหาสิ่งเหล่านั้น โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม จึงนำไปสู่การทุจริต  ประพฤติมิชอบ
การพนัน  การบกพร่องทางวินัย  ค่านิยมทางเพศที่ผิด จึงไม่สามารถดำรงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไว้ได้   
   1.สภาพทางเศรษฐกิจ ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ช่องว่างระหว่าง คนรวยและคนจน ห่างกันมากขึ้น  นำไปสู่ปัญหาความรุนแรง ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิ์ของสตรี เด็ก และผู้สูงอายุ
   2. สภาพทางสังคม  ความรุนแรงในครอบครัว และสังคม รวมทั้งสื่อต่างๆ  กลายเป็นตัวอย่างและค่านิยมที่ผิดๆ ชินชาต่อการกระทำที่เป็นข่าว จนกลายเป็นปกติธรรมดา ไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแต่อย่างใด นำไปสู่ปัญหายาเสพติด  โรคเอดส์ อาชญากรรม
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร  รวมทั้งการมั่วสุม ในทางอบายมุข
   3. ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา จารีต ประเพณีและภาษา ทำให้เกิดปัญหา ชนกลุ่มน้อย เช่นชาวเขา ปัญหาทางภาคใต้ ปัญหาทางศาสนา

เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินการด้านวัฒนธรรม
   กฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
      มาตราที่ 46 บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะอนุรักษ์ รื้อฟื้นฟู จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
      มาตราที่ 69 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม
พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      มาตราที่ 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ.2545 ? 2549 ) กำหนดให้สังคมเข้มแข็งในสามด้านคือ
1.   สังคมคุณภาพ
2.   สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3.   สังคมแห่งการสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน


การแก้ไขปัญหา
   ยุทธศาสตร์การดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม
      แนวทางที่ 1 รวบรวม องค์ความรู้
1.1   ศึกษา ค้นคว้าวิจัย   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.2   อนุรักษ์ องค์ความรู้    มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.3   พัฒนาสร้างสรรค์ องค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.4   บริหารจัดการองค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.5   สงวนรักษา   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม  ด้วยเทคโนโลยี
1.6   นำมาจัดการศึกษา สู่ หลักสูตรท้องถิ่น
แนวทางที่ 2 ฟื้นฟู ส่งเสริมการสืบทอด วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์
      1.2 ศึกษา วิจัย เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูล และจัดทำทำเนียบชุมชนวัฒนธรรมถิ่น
      1.2 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ รักษา และพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
      1.3 เสริมสร้าง เครือข่าย ชุมชน เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
      1.4 ตั้งกองทุนทางวัฒนธรรมชุมชน
1.5 นำมาจัดการศึกษา สู่ หลักสูตรท้องถิ่น
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมวิถีชีวิตไทย
      3.1 รักษา ฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ภาษาไทย มารยาทไทย อาหารไทย การแต่งกายแบบไทย
      3.2 การถ่ายทอดและสืบสานวิถีชีวิตแบบไทย
3.3 นำมาจัดการศึกษา สู่ หลักสูตรท้องถิ่น
      แนวทางที่ 4 ฟื้นฟู รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.1 เก็บรวมรวม ภูมิปัญญาไทย สืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.2 วิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
            4.3 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกระดับ
            4.4 เสริมสร้างภูมิปัญญาไปสู่สังคม
4.5 นำมาจัดการศึกษา สู่ หลักสูตรท้องถิ่น

เมื่อนำมาศึกษา ในระบบโรงเรียน  จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ  มีครูที่เข้าใจในเรื่องของท้องถิ่น จะสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ในเบื้องต้น ในระยะ 10 ปี ในอนาคต จะทำให้คนรักบ้านเมือง รักท้องถิ่น ภูมิใจ ในความเป็นไทย  ไม่ดูถูกภูมิปัญญาไทยอีกต่อไป  เลิกการยกย่องและเชิดชู ชาวตะวันตก เหมือนญาติผู้ใหญ่ ยกย่องเชิดชู คนดี มีศีลธรรม แทน คนร่ำรวยจะสามารถแก้ปัญหาของชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคนิยม  ได้ อย่างแน่นอน




วิธีการดำเนินการ

แผนงานการสร้างความภูมิใจในท้องถิ่น
   เป้าหมาย  ให้คนรักและภูมิใจในท้องถิ่น
1.   ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน
2.   ศึกษาสถานที่สำคัญ วัด โรงเรียน ลำคลอง หนอง บึง ทำประวัติ
3.   ศึกษาบุคคลสำคัญ ผู้นำ  ผู้อาวุโส หมอพื้นบ้าน ช่างพื้นบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน  ปราชญ์ท้องถิ่น
4.   ศึกษา ชื่อหมู่บ้าน ชื่อวัด ชื่อคลอง ชื่อถนน ทาง
5.   ความรู้ท้องถิ่น  ศึกษา ตำรายา อาหาร เครื่องมือ  เครื่องใช้ทุกชนิด
6.   ศึกษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ท้องถิ่น  พิธีกรรมต่างๆ
7.   นิทาน  เพลง ดนตรี พื้นบ้าน คติสอนใจ
วิธีการศึกษา
1.   เก็บข้อมูล โดยครู นักเรียน นักศึกษา  อย่างรวดเร็ว อย่าผัดวัน จะเสียใจทีหลัง
2.   ตรวจสอบความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญ
3.   นำผลมารวบรวม ทำการสัมมนา
4.   นำผลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์
5.   จัดทำนิทรรศการ
6.   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน นำเข้าสู่หลักสูตรท้องถิ่น หรือให้นักเรียนไปศึกษาจากผู้รู้ในท้องถิ่น

การดำเนินการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ในวิชาสังคมศึกษา จึงบรรลุ วัตถุ ประสงค์ และแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ในที่สุด


ฮืมฮืมฮืม??.












1297  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ทำอย่างได้ชื่อว่า รักชาติ รักถิ่น รักแผ่นดินของเรา บรรยายโดย อ.สันติ อภัยราช เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:58:28 am
เอกสารประกอบการบรรยาย   เรื่อง
 รักชาติ  - รักถิ่น

โดย  สันติ  อภัยราช ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา)
            อาจารย์ 3 ระดับ  9  ,ครูต้นแบบแห่งชาติ
           ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  ครูภูมิปัญญาไทย
สภาพปัญหา
   ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษาในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนอย่างมากมาย  สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมบริโภคนิยม ส่งผลให้เกิด ค่านิยม ในเรื่องยกย่องนับถือคนมีเงิน มีอำนาจ มีตำแหน่ง มีวัตถุมากกว่าสิ่งอื่นๆ  สังคมจึงไขว่ คว้าหาสิ่งเหล่านั้น โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม จึงนำไปสู่การทุจริต  ประพฤติมิชอบ การพนัน  การบกพร่องทางวินัย  ค่านิยมทางเพศที่ผิด จึงไม่สามารถดำรงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไว้ได้  
   1.สภาพทางเศรษฐกิจ ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ช่องว่างระหว่าง คนรวยและคนจน ห่างกันมากขึ้น  นำไปสู่ปัญหาความรุนแรง ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิ์ของสตรี เด็ก และผู้สูงอายุ
   2. สภาพทางสังคม  ความรุนแรงในครอบครัว และสังคม รวมทั้งสื่อต่างๆ  กลายเป็นตัวอย่างและค่านิยมที่ผิดๆ ชินชาต่อการกระทำที่เป็นข่าว จนกลายเป็นปกติธรรมดา ไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแต่อย่างใด นำไปสู่ปัญหายาเสพติด  โรคเอดส์ อาชญากรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร  รวมทั้งการมั่วสุม ในทางอบายมุข
   3. ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา จารีต ประเพณีและภาษา ทำให้เกิดปัญหา ชนกลุ่มน้อย เช่นชาวเขา ปัญหาทางภาคใต้ ปัญหาทางศาสนา

เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินการด้านวัฒนธรรม
   กฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
      มาตราที่ 46 บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะอนุรักษ์ รื้อฟื้นฟู จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
      มาตราที่ 69 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      มาตราที่ 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ.2545 ? 2549 ) กำหนดให้สังคมเข้มแข็งในสามด้านคือ
1.   สังคมคุณภาพ
2.   สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3.   สังคมแห่งการสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
การแก้ไขปัญหา
   ยุทธศาสตร์การดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม
      แนวทางที่ 1 รวบรวม องค์ความรู้
1.1   ศึกษา ค้นคว้าวิจัย   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.2   อนุรักษ์ องค์ความรู้    มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.3   พัฒนาสร้างสรรค์ องค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.4   บริหารจัดการองค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.5   สงวนรักษา   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม  ด้วยเทคโนโลยี
แนวทางที่ 2 ฟื้นฟู ส่งเสริมการสืบทอด วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์
            1.2 ศึกษา วิจัย เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูล และจัดทำทำเนียบชุมชนวัฒนธรรมถิ่น
      1.2 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ รักษา และพัฒนาแหล่งมรดกทาง
      วัฒนธรรม
      1.3 เสริมสร้าง เครือข่าย ชุมชน เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
      1.4 ตั้งกองทุนทางวัฒนธรรมชุมชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมวิถีชีวิตไทย
3.1 รักษา ฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ภาษาไทย มารยาทไทย อาหารไทย การแต่งกายแบบไทย
      3.2 การถ่ายทอดและสืบสานวิถีชีวิตแบบไทย
      แนวทางที่ 4 ฟื้นฟู รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.1 เก็บรวมรวม ภูมิปัญญาไทย สืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.2 วิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
            4.3 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกระดับ
            4.4 เสริมสร้างภูมิปัญญาไปสู่สังคม
เมื่อนำมาศึกษา ในระบบโรงเรียน  จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ  มีครูที่เข้าใจในเรื่องของท้องถิ่น จะสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ในเบื้องต้น ในระยะ 10 ปี ในอนาคต จะทำให้คนรักบ้านเมือง รักท้องถิ่น ภูมิใจ ในความเป็นไทย  ไม่ดูถูกภูมิปัญญาไทยอีกต่อไป  เลิกการยกย่องและเชิดชู ชาวตะวันตก เหมือนญาติผู้ใหญ่ ยกย่องเชิดชู คนดี มีศีลธรรม แทน คนร่ำรวยจะสามารถแก้ปัญหาของชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคนิยม  ได้ อย่างแน่นอน



วิธีการดำเนินการ

แผนงานการสร้างความภูมิใจในท้องถิ่น
   เป้าหมาย  ให้คนรักและภูมิใจในท้องถิ่น
1.   ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน
2.   ศึกษาสถานที่สำคัญ วัด โรงเรียน ลำคลอง หนอง บึง ทำประวัติ
3.   ศึกษาบุคคลสำคัญ ผู้นำ  ผู้อาวุโส หมอพื้นบ้าน ช่างพื้นบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน  ปราชญ์ท้องถิ่น
4.   ศึกษา ชื่อหมู่บ้าน ชื่อวัด ชื่อคลอง ชื่อถนน ทาง
5.   ความรู้ท้องถิ่น  ศึกษา ตำรายา อาหาร เครื่องมือ  เครื่องใช้ทุกชนิด
6.   ศึกษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ท้องถิ่น  พิธีกรรมต่างๆ
7.   นิทาน  เพลง ดนตรี พื้นบ้าน คติสอนใจ
วิธีการศึกษา
1.   เก็บข้อมูล โดยครู นักเรียน นักศึกษา  อย่างรวดเร็ว อย่าผัดวัน จะเสียใจทีหลัง
2.   ตรวจสอบความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญ
3.   นำผลมารวบรวม ทำการสัมมนา
4.   นำผลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์
5.   จัดทำนิทรรศการ
6.   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน นำเข้าสู่หลักสูตรท้องถิ่น หรือให้นักเรียนไปศึกษาจากผู้รู้ในท้องถิ่น ได้ในที่สุด
รักถิ่น  ทำอย่างไร เรียกว่ารักถิ่น
1.   ศึกษาค้นคว้าความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
   ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น ให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความ
      เป็นคนท้องถิ่น        
   ศึกษาทำความเข้าใจในภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น โดยตระหนักในคุณค่าของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น และภูมิใจที่ได้ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน
   ศึกษาทำความเข้าใจ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น โดยประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพรีของท้องถิ่นอย่างถูกต้องและเข้าใจในสาระคุณค่าแห่งขนบประเพณี
   ศึกษาทำความเข้าใจดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โดยเกิดความรู้สึกรักและ
    หวงแหน ซาบซึ้ง  แสวงหาความสุขจากการฟัง การเล่นดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน
   ศึกษาอาหารพื้นเมือง สืบทอดภูมิปัญญาการทำอาหาร โดยบริโภค และประกอบอาหาร
        พื้นเมืองได้   อย่างมีความสุข
   ศึกษา ในเรื่องผ้าพื้นเมือง  การแต่งกายพื้นเมือง อย่างเป็นชีวิตประจำวัน ไม่รู้สึกว่า
อับอาย หรือเป็นปมด้อย ตรงกันข้ามรู้สึกภูมิใจข้ามเป็นคนท้องถิ่น
   ศึกษาและเล่นกีฬาพื้นบ้านได้ โดยการออกกำลังและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยการเล่นกีฬา
พื้นบ้าน
         
รักชาติ  ทำอย่างไร เรียกว่า รักชาติ            
    1. ประพฤติปฏิบัติ ตามลักษณะของคนไทย คือ
       1.1 ยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจเบิกบาน
                     1.2 ซื่อสัตย์ สุจริต ประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจาและใจ
                     1.3 รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์
                      1.4 มีน้ำใจไมตรี โดยโอบอ้อมอารี และเอื้ออาทรกับทุกคน
2.   ประพฤติปฎิบัติตน ความเป็น ชาติไทย
   สนใจและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
   มีกิริยามารยาทแบบไทย
   เข้าใจขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย ในคุณค่าและสาระ
   สนใจศึกษา ดนตรีไทย มีความสุขที่ได้เล่นและได้ฟัง
   สนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยมีความสุขจากการและการแสดงนาฏศิลป์ไทย
   รับประทานอาหารไทยและประกอบอาหารไทยได้
   แต่งกายแบบไทย ด้วยผ้าไทย
   ศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย มีความสุขในการชมศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย
   ศึกษามวยไทย สามารถใช้แม่ไม้มวยไทยในการออกกำลังและป้องกันตัว

ฮืมฮืมฮืม??.


1298  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ตำนานท้าวแสนปม โดยอาจารย์สันติ อภัยราช เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:52:30 am
ตำนานท้าวแสนปม

   บริเวณวัดวังพระธาตุ  ด้านหน้าวัดมีศาลของท้าวแสนปมและในบริเวณวัด มีรูปปั้น
ท้าวแสนปม ที่คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ ในฐานะเป็นตำนานของท้าวแสนปม ผู้สร้างเมือง
เทพนคร ฝั่งตรงกันข้ามกับนครไตรตรึงษ์ มีตำนานเล่าขานกันมาช้านาน
   นอกจากคำเล่าขานของชาวบ้านแล้วท้าวแสนปมตามตำนานในต้นพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่าในจุลศักราช 681 พ.ศ. 1862 ท้าวแสนปม ได้ไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองเทพนครและขึ้นครองราชย์สมบัติในเมืองเทพนคร ทรงพระนามว่าพระเจ้าสิริชัยเชียงแสนครองราชย์สมบัติ 25 ปี สวรรคตเมื่อจุลศักราช 706 พ.ศ. 1887 ทรงมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่ทองได้ชื่อเช่นนี้เพราะ  เพราะพระราชบิดานำทองคำมาทำเป็นอู่ให้นอน จึงขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้าอู่ทอง ภายหลังพระเจ้าอู่ทองเป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงและทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่1
   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องท้าวแสนปมไว้ในหนังสือบทละครเรื่องท้าวแสนปม ที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ว่า ตำนานเรื่องท้าวแสนปมนี้จะต้องมีมูลความจริง เพราะอย่างน้อยศักราชที่ทรงทิวงคต เป็นของแน่นอน แต่มีผู้เล่าต่อๆกันมาภายหลัง เล่าไปในทางปาฏิหาริย์จนเหลือเชื่อ
   จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน และพระราชนิพนธ์เรื่องท้าวแสนปมของรัชกาลที่ 6 ล้วนมีแนวทางใกล้เคียงกันว่าท้าวแสนปมคือพระชินเสน โอรสของท้าวศรีวิชัย ได้ข่าวว่านางอุษาธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์งดงาม จึงคิดลองพระทัยจึง ปลอมเป็นชายเข็ญใจ ชื่อแสนปม เพราะทำปุ่มปมเต็มตัวเพื่อลองใจนาง แล้วแฝงเข้าไปอยู่กับคนทำสวนหลวง จนได้พบนาง แล้วถวายมะเขือท้าวแสนปม จารึกคารมรักบนผลมะเขือ เป็นปริศนาว่า  (ฉายรมณีย์แห่งอารยธรรมมรดกดลกกำแพงเพชร ตอนที่ 1ประกอบ)
   ในลักษณ์นั้นว่านิจจาเอ๋ย        กระไรเลยหัวอกหมกไหม้
อกผ่าว ราวสุมรุมไฟ         ทำไฉนจะพ้นไฟราญ
เสียแรงเกิดมาเป็นนักรบ         เผ่าพงศ์ทรงภพมหาศาล
สู้กรำลำบากยากนาน         ยอมเป็นปมเป็นปานเปรอะไป
ได้เห็นแก้วประเสริฐเลิศชม      จะนิยมก้อนกรวดกระไรได้
เคยพบสาวฟ้าสุราลัย         หรือจะใฝ่ในชาวปัถพิน
โอ้แก้วแวววับช่างจับจิต         จะใคร่ปลิดปลดมาดังถวิล
โอ้เอื้อมสุดหล้าดังฟ้าดิน         จะได้สมดังจินต์ฉันใด
นางอุษาตอบ สาส์นรัก   ตอบลงในใบพลูเป็นปริศนาเช่นกันว่า
   ในลักษณ์นั้นหนาน่าประหลาด      เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า
เหตุไฉนย่อท้อรอรา            หรือจะกล้าแต่เพียงวาที
เห็นแก้วแวววับที่จับจิต            ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้เต็มที่
เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี         อันมณีหรือจะโลดไปถึงมือ
อันของสูงแม้ปองต้องจิต            ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
ไม่ใช่ของตลาดที่อาจซื้อ            ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม
ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง         คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม
ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินตอม            จึงได้ออมอบกลิ่นสุมาลี
   ในที่ ทั้งสองกษัตริย์ได้ลักลอบพบกัน จนนางอุษาตั้งพระครรภ์ ชาวบ้านไม่เข้าใจจึงคิดว่านางอุษาเสวยมะเขือแล้วตั้งท้อง จึงเกิดตำนานท้าวแสนปม ว่า  (ใช้ภาพวาดประกอบการเล่าเรื่อง)
   นานมาแล้วมีชายผู้หนี่ง ถูกลอยแพมาติดที่เกาะขี้เหล็ก ซึ่งอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร
ชายผู้นั้นมีรูปร่างน่าเกลียดมีปุ่มปมขึ้นเต็มตัว ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่า  แสนปม และเรียกเกาะขี้เหล็กว่า
เกาะตาปม ตามชื่อแสนปม    นายแสนปมทำไร่ ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่เกาะปมนี้ และมีมะเขือต้นหนึ่ง อยู่หน้ากระท่อมมีผลใหญ่มาก เพราะแสนปม ปัสสวะ  รดทุกวัน
   วันหนึ่งพระราชธิดาของเจ้าเมืองกำแพงเพชร เสด็จประพาสที่เกาะปม ทอดพระเนตรเห็นผลมะเขือ ก็นึกอยากเสวย จึงรับสั่งให้นางสนมไปขอเจ้าของมะเขือ  แสนปมจึงเก็บผลมะเขือ ที่อยู่หน้ากระท่อม ให้นางสนมไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยผลมะเขือไปไม่นานก็ทรงครรภ์  เจ้าเมืองกำแพงเพชร ทรงพิโรธมาก เพราะพระราชธิดาไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นพ่อ นอกจากเสวยผลมะเขือ ของแสนปมเท่านั้น
   ต่อมาพระราชธิดา ทรงมีพระประสูติกาล เป็นพระราชโอรส เจริญวัยหน้ารัก เจ้าเมืองผู้เป็นพ่อ
จึงรับสั่งให้เสนา ป่าวประกาศให้ผู้ชายทุกคน มาเสี่ยงทายเป็นพระบิดาของพระราชโอรส ว่า ถ้าผู้ใดเป็นบิดาขอให้โอรสคลานเข้าไปหา บรรดาผู้ชายทุกคน ไม่ว่าหนุ่มแก่ชรา ยาจก เข็ญใจ เศรษฐี เจ้าต่างเมือง ต่างพากันมาเสี่ยงทาย เป็นบิดาของพระราชโอรส แต่พระราชโอรสไม่ได้คลานไปหาใครเลย แม้จะใช้ของล่อใจอย่างไรก็ตาม
   เจ้าเมืองแปลกพระทัย จึงให้เสนาไปตามแสนปม ซึ่งยังไม่ได้มาเสี่ยงทายในครั้งนี้ ให้มาเข้าเฝ้า
เพื่อลองเสี่ยงทายเป็นบิดา  เพราะเหลือแสนปมเพียงคนเดียว
   แสนปมจึงมาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งถือก้อนข้าวเย็นมาหนึ่งก้อน เมื่อมาถึงจึงอธิษฐานแล้วก้อนข้าวเย็นให้ พระราชโอรสก็คลานเข้ามาหา เจ้าเมืองจึงยกพระราชะธิดาให้ แก่แสนปม และให้กลับไปอยู่ที่เกาะปม
   วันหนึ่งท้าวแสนปมไปทอดแหที่คลองขมิ้น แต่ทอดแหครั้งใดก็ได้แต่ขมิ้นจนเต็มลำเรือ แสนปมแปลกใจมาก เมื่อกลับไปบ้านขมิ้นกลับกลายเป้นทองคำ แสนปมจึงนำทองคำไปทำเปลให้ลูก และตั้งชื่อลูกว่าอู่ทอง
   ทุกวันแสนปมจะไปถางไร่ จนกระทั่งวันหนึ่งแสนปมไปถึงไร่ก็พบว่าต้นไม้ที่ถางไว้กับขึ้นงดงามตามเดิม  แสนปมจึงถากถางใหม่ แต่วันรุ่งขึ้นก็ปรากฏเหตุการณ์ เหมือนเดิม แสนปมถึงแอบดู ก็เห็นลิงตัวหนึ่งเดินตีกลอง ออกมาจากป่า ต้นไม้ก็กลับขึ้นงอกงามเหมือนเดิม
   แสนปมจึงเข้าไปจับลิงไว้ และจะฆ่าลิง ลิงจึงร้องขอชีวิตไว้ และให้กลองวิเศษแก่แสนปม
โดยบอกว่าถ้าอยากได้อะไร ให้ตีกลองจะสมความปรารถนา  แสนปมจึงปล่อยลิงไป และตีกลองให้ตนหายจากปุ่มปม
   เมื่อกลับมาบ้าน พระราชธิดาไม่เชื่อว่าเป็นแสนปม แสนปมจึงเล่าเรื่องให้ฟัง และทดลองตีกลองให้ดู พระราชธิดาจึงเชื่อ จากนั้นท้าวแสนปม จึงตีกลองเพื่อเนรมิต เมืองใหม่ ให้ชื่อว่าเทพนคร
และตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง  ผู้คนจึงเรียกขานว่าท้าวแสนปม
   ตำนานท้าวแสนปม เกือบจะเป็นสากล คือมีตำนานกันอยู่หลายเมืองทั่วประเทศ แต่ที่เมืองไตรตรึงษ์ มีหลักฐานชัดเจน จึงอาจสรุปได้ว่า ท้าวแสนปมอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรอย่างแน่นอน
            
                        สันติ     อภัยราช



   
   
1299  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การพูดในโอกาสพิเศษ บรรยาย ให้ นศ ราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:27:12 am
การพูดในโอกาสพิเศษ
      
     จุดมุ่งหมาย
            โอกาสที่จะต้องกล่าวคำปราศรัย  หรือพูดต่อที่ชุมนุมชน มีมากมายเหลือเกิน  ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ   ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการพูด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง  ตราบใดที่ยังอยู่กับสังคม
            ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้หลักทั่วไปของการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ  แล้วเลือกเตรียมสุนทรพจน์สักแบบหนึ่งมากล่าวในที่ประชุม  โดยสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่าจะกล่าวในโอกาสอะไร  ผู้ฟังในห้องประชุมเป็นใคร  และตนเองกล่าวในฐานะอะไร   จะเป็นเรื่องจริงหรือเลียนแบบ      โดยสมมุติสถานการณ์แปลก ๆ ขึ้นก็ได้  แต่ต้องสมเหตุสมผล  ถ้าเป็นเรื่องทีเล่นทีจริงต้องระวัง   อย่าให้ผู้ใดเสียหายโดยไม่จำเป็น
            ในการกล่าวรายงานหรือแถลงเป็นทางการ  อาจมีต้นร่างมาอ่านเพื่อไม่ให้ผิดพลาดตกหล่น  แต่ผู้พูดจะต้องรักษาบุคลิกภาพในการพูดให้เหมาะสม  ไม่ก้มหน้าดูบทตลอดเวลา  ต้องใช้สายตาดูบทเพียง ๑ ใน ๓ อีก ๒ ใน ๓ มองผู้ฟัง
 
 
     ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่าง ๆ
            
เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พูดในโอกาสใดก็ตาม  ที่มิใช่เป็นงานประจำหรือมิใช่งานปาฐกถาธรรมดาทั่ว ๆไป  ผู้พูดควรสำรวจวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้ก่อน
๑.      จุดมุ่งหมายของการประชุม
-           การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร
-           ผู้ฟังเป็นใคร  มาประชุมในฐานะอะไร
-           สาระสำคัญของการประชุมอยู่ตรงไหน
๒.      ลำดับรายการ
-           มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร
-           ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร  กล่าวในนามใคร
-           เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด  หรือควรจะนานเท่าใด
-           ก่อนหรือหลังรายการพูดมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจพิเศษอย่างใดหรือไม่
๓.      สถานการณ์
-           ผู้ฟังกำลังใจจดใจจ่อ  อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่
-           ผู้ฟังมาด้วยใจสมัคร  หรือถูกขอร้อง  ถูกบังคับให้มาฟัง
-           ผู้ฟังรู้จักผู้พูดหรือไม่  เลื่อมใสอยู่แล้วหรือไม่ชอบหน้า
 
     เมื่อใดควรอ่านจากร่าง
            โดยทั่วไปการพูดที่จืดชืดน่าเบื่อหน่ายที่สุด   คือ  การอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้   เพราะเป็นการพูดที่ไม่ได้ออกมาจากความรู้สึกอย่างจริงใจของผู้พูด   ผู้อ่านไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่ากับการพูดปากเปล่า    ดั้งนั้น การอ่านจึงเหมาะสำหรับกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
๑.      ในโอกาสพระราชพิธี
๒.      ในการเปิดประชุม  หรือเปิดงานต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
๓.      การรายงานทางวิชาการ  หรือสรุปการประชุม
๔.     การอ่านข่าวหรือบทความทางวิทยุ  โทรทัศน์  ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว
๕.     โอกาสสำคัญอื่น ๆ  ซึ่งไม่ต้องการให้มีการพูดขาดหรือเกิน
 
นอกจากการอ่านทุกคำจากต้นฉบับที่สมบูรณ์แล้ว  ยังมีการอ่านอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งอาศัย  หลักเดียวกัน แต่ไม่ได้อ่านทั้งหมด  อ่านแต่เพียงข้อความบางตอนที่ยกมาประกอบ   เช่น  ตัวเลข สถิติ  วันเดือนปี  จดหมายเหตุในประวัติศาสตร์  ข้อความในอัญญประกาศ  คำประพันธ์  สุภาษิต  คำสอนทางศาสนา  เป็นต้น
    
ข้อควรระวังในการอ่าน
๑.      ควรซ้อมอ่านต้นฉบับให้คุ้นกับจังหวะ วรรคตอนเสียก่อน
๒.      ต้นฉบับต้องเขียนหรือพิมพ์ให้อ่านง่าย
๓.      ไม่ควรเย็บติดกัน  ควรวางซ้อนกันไว้  เรียงลำดับเลขหน้าให้เรียบร้อย                        เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาพลิกหน้าต่อไป
๔.     ในเมื่อจะต้องอ่าน ควรวางต้นฉบับไว้บนแท่น                           หรือถือด้วยมือทั้งสองข้าง   ถ้าไม่มีแท่นให้วาง
๕.     อย่าก้มหน้าก้มตาอ่านตลอดเวลา  ถ้าได้ซักซ้อมกันมาแล้ว  เพียงแต่เหลือบสายตา           ก็อาจอ่านได้ตลอดบรรทัดหรือทั้งประโยค
๖.      ใช้สายตามองต้นฉบับเพียง  ๑ ใน ๓  ที่เหลือมองที่ประชุม
๗.     ระวังอย่าให้ขาดตอนเมื่อจะขึ้นหน้าใหม่
๘.     รักษาท่วงทำนองการพูดใหม่  อย่าให้เป็นสำเนียงอ่าน
 
 
โอกาสต่าง ๆ ในการพูด  
            การพูดในโอกาสพิเศษ  อาจแบ่งออกได้เป็น  ๗  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
๑.      กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ
๒.      กล่าวไว้อาลัย
๓.      กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ
๔.     กล่าวสดุดี
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ
๖.      กล่าวต้อนรับ
๗.     กล่าวแนะนำผู้พูด องค์ปาฐก
 
หลักทั่วไป
๑.   พยายามคิดค้นหาลักษณะเฉพาะของโอกาสหรือบุคคลที่กล่าวถึง
                   อย่าพูดเหมือนกันทุกงาน
๒.       อย่าลืมการขึ้นต้น  เรียบเรียงเรื่องกระชับ และการลงท้ายที่ดี
๓.       อย่าพูดนานเกินไป  ควรรวบรัดที่สุด
๔.      ใช้อารมณ์ขันบ้าง  ถ้าเหมาะสม  (ถ้าเป็นงานพิธีการไม่ควรพูดเล่น)
 
ตัวอย่างสถานการณ์และหัวข้อการพูด
 
๑.      กล่าวแสดงความยินดี
ก.      แสดงความยินดีในโอกาสรับตำแหน่งใหม่
-           ผู้กล่าว  กล่าวในนามของใคร
-           ยกย่องในความวิริยะอุตสาหะและคุณความดี
-           อวยพรหรือมอบของที่ระลึก
-           อย่าชักชวนผู้ฟัง ปรบมือ  ควรปล่อยให้ผู้ฟังตัดสินใจเอง หรือปรบมือนำ
ข.      กล่าวตอบ
-           ขอบคุณ  
-           ปวารณาตัวรับใช้ ยืนยันในความเป็นกันเองเหมือนเดิม
-           อวรพรตอบ

๒.     กล่าวไว้อาลัย
ก.      กล่าวให้เกียรติผู้ตาย
-           ยกย่องคุณความดีของผู้ตาย
-           ให้เกียรติและให้ความอบอุ่นแก่ญาติมิตรผู้ตาย
-           ชักชวนให้ยืนไว้อาลัย
ข.      กล่าวแสดงความอาลัยในการย้ายงาน
-           ชมเชยในผลงานที่ปฏิบัติ
-           กล่าวถึงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน
-           หวังว่าจะก้าวหน้าและทำประโยชน์ต่อไป
-           อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและประสบความสำเร็จ
๓.      กล่าวอวยพร
ก.      อวยพรขึ้นบ้านใหม่
-           ความสำเร็จในครอบครัวอยู่ที่การมีบ้านช่องเป็นหลักฐาน
-           ความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน
-           อวยพรให้ประสบความสุข(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

ข.      อวยพรวันเกิด
-           ความสำคัญของวันนี้
-           คุณความดีของเจ้าภาพ
-           ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า  หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
-           อวยพรให้อายุยืนนาน (ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ค.      อวยพรคู่สมรส
-           ความสัมพันธ์ของตนต่อคู่สมรส  หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
-           ความยินดีที่ทั้งสองครองชีวิตคู่
-           อวยพร(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ง.       กล่าวตอบรับพระ(ทุกอย่าง)
-           ขอบคุณในเกียรติที่ได้รับ
-           ยืนยันจะรักษาคุณงามความดี และปฏิบัติตามคำแนะนำ
-           อวยพรตอบ(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)


๔.     กล่าวสดุดี
ก.      กล่าวมอบประกาศนียบัตรสดุดี
-           ความหมายและความสำคัญของประกาศนียบัตร
-           ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร
-           มอบ  สัมผัสมือ และปรบมือให้เกียรติ
ข.      กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญที่ล่วงลับไปแล้ว
-           ความสำคัญที่มีต่อสถาบัน
-           ผลงานและมรดกตกทอด
-           ยืนยันจะสืบต่อมรดกนี้อย่างเต็มความสามารถ
-           แสดงคารวะ/ปฏิญาณร่วมกัน
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง
ก.      มอบตำแหน่ง
-           ชมเชยความสามารถและความดีเด่นของผู้ที่ได้รับตำแหน่ง
-           ความหมายและเกียรตินิยมของตำแหน่งนี้
-           ฝากความหวังไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่
-           มอบของที่ระลึกหรือเข็มสัญญลักษณ์
-           สัมผัสมือและปรบมือให้เกียรติ
ข.      รับมอบตำแหน่ง
-           ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติ
-           ชมเชยกรรมการชุดเก่า(ส่วนดีเด่น)ที่กำลังจะพ้นไป
-           แถลงนโยบายโดยย่อ
-           ให้คำสัญญาจะรักษาเกียรติและปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่ง
-           ขอความร่วมมือจากกรรมการและสมาชิกทุกคน
 
๖.      กล่าวต้อนรับ
ก.      ต้อนรับสมาชิกใหม่
-           ความสำคัญและความหมายของสถาบัน
-           หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกจะพึงได้รับ
-           กล่าวยินดีต้อนรับ
-           มอบเข็มสัญญลักษณ์(ถ้ามี) สัมผัสมือ

ข.      ต้อนรับผู้มาเยือน
-           เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ
-           ความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับ
-           มอบหนังสือหรือของที่ระลึก
-           แนะนำให้ที่ประชุมรู้จัก และเชิญกล่าวตอบ
๗.    กล่าวแนะนำผู้พูด- องค์ปาฐก
-           เหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้
-           ความรู้ ประสบการณ์ และความสำคัญของผู้พูด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้
-           สร้างบรรยากาศเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทำให้ผู้พูดอยากพูดและ
ผู้ฟังอยากฟัง
-           อย่าแนะนำยาวเกินไป และอย่ายกยอจนเกินความจริง
      -        แนะนำชื่อผู้พูด หลังสุด ด้วยน้ำเสียงน่าฟัง
                                                        ------------------------------
1300  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / พูดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร ในแบบผู้นำ โดยอาจารย์สันติ อภัยราช เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:04:22 am
พูดอย่างไร
         ปฏิบัติอย่างไร
                ในแบบผู้นำ

วิทยากร
อาจารย์สันติ อภัยราช  ๐๘๑ ๔๗๕ ๕๕๕๗
 อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ผู้เชี่ยวชาญการพูดในที่ชุมชน
การศึกษาบัณฑิต    นิติศาสตรบัณฑิต    ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  ประธานชมรมผู้รักษ์เมืองกำแพงเพชร รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ   ครูต้นแบบแห่งชาติ    ครูภูมิปัญญาไทย
ผู้วิจารณ์ทั่วไปสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร          คนดีศรีกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมกำแพงเพชร    บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม
 ๑๙   ธันวาคม   ๒๕๕๓   เวลา  ๙.๐๐ น. ? ๑๐.๓๐ น.
ห้องประชุมชั้นล่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ความสำคัญของการพูด

คำพูด   แห่งมนุษย์   คือยุทธศาสตร์
อาจสร้างสรรค์   หรือพิฆาต  ได้ทุกที่
สุดแต่ถ้อย  คำที่ใช้   ร้ายหรือดี
สร้างไมตรี หรือก่อภัย ให้แก่กัน
   มนุษยชาติ ใช้คำพูด เป็นทูตโยง
แต่ละโค้ง  ฟ้าไกล  ได้ชิดมั่น
ต่างชาติเชื้อ วุฒิวัย  ได้สัมพันธ์
และร่วมกัน จรรโลงโลก ไร้โศกทราม
   การพูดเป็นทั้งศิลป์  และทั้งศาสตร์
ด้วยการฝึก ย่อมกาจ สามารถข้าม
ดุจอาวุธ ยิ่งฝึกปรือ ยิ่งลือนาม
ใครอาจห้าม ปราชญ์ฉาย ประกายชาญ
   การฟัง การคิด และการพูด
นี้คือบท พิสูจน์ อย่ามองผ่าน
เป็นกลไก ประจำวัน อันยืนนาน
ผู้ใช้การ ได้ดี ย่อมมีชัย

                   เฉลิมศักดิ์   รงคผลิน








พูดอย่างไร  ปฏิบัติอย่างไร  ในแบบผู้นำ
------------------
นายอานันท์   ปันยารชุน
   ผู้นำ    ไม่ใช่ผู้ที่จะนำคนอื่น  แต่ผู้นำที่ดี  คือผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม

พระธรรมปิฎก
   ผู้นำ     มีหน้าที่มาประสาน  และไม่ใช่ประสานเฉยๆ  แต่มาประสานให้พากันไป โดยเดินหน้า หรือมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายให้ได้

นายแพทย์ประเวศ วะสี
   ผู้นำ   อาจไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง  แต่สามารถก่อให้คนในองค์กร หรือในสังคมเกิดความบันดาลใจ จนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันและรวมพลังกันปฏิบัติ

ดร.สิปปนนท์    เกตุทัต
   ผู้นำ   จะต้องมีวิสัยทัศน์ จะต้องวิเคราะห์ ตัดสินใจ  โดยมองอย่างนำ มองภาพรวมทั้งหมด และปฏิบัติตนอย่างหนอน  เอากายใจและสมอง เข้าสัมผัส

นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์
   ในภาวะวิกฤตของระบบราชการ ที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  ต้องการภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง  มีความตั้งใจที่จะแก้ไข อย่างกล้าหาญ อดทน และต่อเนื่องสามารถสร้างความมั่นใจ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
   สิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิด สร้างให้เกิดหรือควรฝึกฝนไว้  คือฝึกให้คนในองค์กร พยายามช่วยเหลือตนเอง  ฝึกคนให้พร้อมเป็นผู้นำได้ เมื่อสถานการณ์ มาเป็นผู้นำแล้ว อาจเปลี่ยนให้ผู้อื่นเป็นบ้าง

นายโสภณ สุภาพงษ์
   ไม่ว่าท่านผู้นำเหล่านั้น  จะร่ำรวย มียศ มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่สักเท่าใดก็ตาม เขาไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง และยิ่งใหญ่หรอก ถ้าเขาได้เกิดมา แต่ไม่เคยให้โอกาสและช่วยเหลือผู้ใดให้พ้นทุกข์เลย






ผู้นำ  ต้องเป็นนักสื่อสาร
1.   พูดแจ่มแจ้ง
2.   พูดจูงใจ
3.   พูดเร้าใจ
4.   พูดร่าเริง
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่
   มองกว้าง
   คิดไกล
   ใฝ่สูง
ผู้นำสังคมใหม่  เป็นผู้นำตามธรรมชาติ  ตามความต้องการของชุมชน มีคุณลักษณะดังนี้
   1.ฉลาด  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
   2. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
   3. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4. เป็นที่ยอมรับของสมาชิก โดยอัตโนมัติ
   5. มีสภาพจิตใจที่มั่นคงกล้าหาญ
   6. มีคุณธรรม เมตตา กรุณา และเสียสละ
   7. ตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
   8. บริหารจัดการเป็น
ผู้นำที่สังคมคาดหวัง
1.   ผู้นำที่ยึดหลักการ
2.   ผู้นำที่ทำงานเป็นทีมเป็น มีการเรียนรู้ร่วมกัน
3.   ผู้นำเป็นนักปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม
4.   ผู้นำสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าสู้ปัญหา
มุ่งมั่นในผลสำเร็จ สร้างสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของคนในองค์กรเอื้อต่อการทำงาน




ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีของผู้นำในองค์กร
                     เรื่อง   มากที่สุด   มาก   ปานกลาง   น้อย
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์            
2. เป้าหมายแน่นอน มั่นคง            
3. ปรับบุคลิกให้น่าเชื่อถือได้            
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง            
5. อย่าเกรงสิ่งใด เมื่อถูกต้องจงลงมือทำ            
6. ทำงานเพื่อคุณภาพ มิใช่ปริมาณ            
7. ประพฤติตน ในศีลธรรม อันดีงามเสมอ            
8.ไม่เป็นคนบาป ชอบแก้ตัว            
9. ชนะทุกข์ได้แม้ทุกข์ยากเพียงใด            
10. กล้าหาญ ทนลำบาก เพื่อคนอื่น            

บุคลิกภาพ ทางกาย  ทางอารมณ์  ทางสังคม และทางสติปัญญา   ต้องดีทุกด้านจึงเรียกว่าผู้มีบุคลิกดี
1.   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
   ต้องเชื่อว่า สิ่งที่ริเริ่มเป็นผลดี และทำให้สำเร็จอย่างแน่นอน
   ตัดคำว่าเป็นไปไม่ได้   ไม่มีประโยชน์ ป่วยการทำ   ออกไปเสีย
   หาทางออก หรือทางแก้ไข จุดบอด เตรียมไว้เมื่อถึงเวลาต้องแก้ไข
   ยอมรับความคิดใหม่  อย่าลืมของเก่า ทดลองสิ่งใหม่ คบเพื่อนใหม่ แต่งตัวใหม่
ทรงผมใหม่ จัดโต๊ะทำงานใหม่ ทำตัวใหม่ ศึกษาต่อ
   ทำอย่างไร ชนะใจเพื่อนร่วมงาน
   ทำอย่างไรให้ คนอยู่สูงกว่าและต่ำกว่าพอใจ
   วิธีที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับ  แสดงฝีมือ ทำงานหนักทั้งกายใจ ทำดีที่สุดทุกวัน ทุกกรณี
กระตุ้นให้ผู้อื่นคิด นำความคิดของเขามาปฏิบัติเขาจะทำงานอย่างสุดฝีมือ
   หาวิธีคิดใหม่  ประชุมกับคนต่างอาชีพ  คบเพื่อนต่างอาชีพ  อ่านหนังสือดี
ดูภาพยนตร์ดี  ทบทวนความคิด
    2.เป้าหมายแน่นอนมั่นคง
   2.1   เริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ทุกวัน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกต้องและดีงาม
   2.2   สร้างนิสัยที่ดี  ทำงานเพื่องาน  มิใช่เพื่อเงินอย่างเดียว  ทำงานหนักขึ้น มากขึ้น
      เริ่มต้นทำงานอย่างกระตือรือร้น  อย่างหวงงาน  คบเพื่อนดี  หนักแน่น ไม่ตามใจ
ตนเอง
2.3   ปรับปรุงตนเอง เรื่อง  นอนตื่นสาย  ซุบซิบนินทา  พูดหยาบคาย กินเหล้า
เมายา  ติดการพนัน  โกหกหลอกลวง
2.4   สร้างนิสัยที่ดี ไปทำงานตามกำหนดเวลา ทำหน้าที่พลเมืองดี ถ้ามีโอกาส
วางแผนการทำงาน สำหรับวันรุ่งขึ้น เคร่งครัดศีลห้า พูดจาไพเราะทุกโอกาส
พูดจริงทำจริง
2.5   ทบทวนงานที่ทำไปแล้ว เสมอ  ยกย่องชมเชยผู้อื่น แก้ไขข้อผิดพลาด ปรับ
ระบบงาน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
2.6   สิ่งที่ทำลายบุคลิกตัวเอง ดูถูกตนเอง ไม่เก่ง โง่ ไม่ฉลาด  ใจไม่สู้  มักน้อย
พ่อแม่ครอบครัวบัญชา  คิดว่าสายเกินไป
   2.7    แต่งกายดี  สุภาพ  การแสดงออกดี  เดินดี ยืนดี นั่งดี นอนดี พูดดี วางตัวเหมาะสม
ดี สะอาด สุขภาพดี  ดูแลตนเองดี
3. ท่าทางต้องดี  เป็นเรื่องสำคัญ
   3.1   ท่าทางกระตือรือร้น ศึกษาเรื่องที่รับผิดชอบ ทำงานอย่างตั้งใจ และเต็มใจ
      พูดแต่ข่าวดี
3.2   ยกย่องให้ความสำคัญผู้อื่น   ให้คนอื่นสำคัญกว่าเราเสมอ  ยกย่องชมเชยทั้งต่อหน้าและลับหลัง  อย่าเอาหน้าคนเดียว  จำชื่อคนแม่น
3.3   ทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน   แข่งกันทำความดี  ทำงานเป็นระบบ  ยิ่งยากยิ่งชอบ ประเมินผลงาน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
4. มีความเชื่อมั่น จะทำให้บุคลิกดี
4.1    อย่าหวาดระแวงกันเอง  ขี้หึง ไร้เหตุผล อย่าเอาชนะด้วยวิชามาร  หาทางออกที่ดี
   เมื่อว้าเหว่   ไม่มั่นคง จะเสียบุคลิกทันที
4.2   อย่าติฉิน นินทา  ให้ร้ายป้ายสี  จะเสียบุคลิก ไม่น่าเชื่อถือ  เกียจคร้านเบื่อหน่าย
4.3   การสร้างบุคลิกที่ดี ด้วยวิธีง่ายๆ  หัดนั่งแถวหน้า  ถามตอบ อภิปรายได้ดี  สบสายตาผู้พูด ยิ้มๆๆ  ศึกษาแต่ละเรื่อง  เพื่อรู้ข้อเท็จจริงอย่างละเอียด คบคนดี คนฉลาด คนมีความคิดสร้างสรรค์  พบคนนอกวงการ ฝึกการพูดในที่ชุมชน
5. อย่าเกรงสิ่งใด เมื่อถูกต้อง จงลงมือทำ
      ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น สร้างศรัทธาให้ได้   ไม่รอราชรถมาเกย ไม่คอยบุญหล่นทับ
      ไม่คอยโอกาส ไม่ฉวยโอกาส   อะไรแก้ไขไม่ได้ ลืมเสีย เริ่มต้นใหม่  เป็นนักบุกเบิก
      ลงมือทำก่อน
6.ทำงานเพื่อคุณภาพ มิใช่ปริมาณ  
      พัฒนาตนเอง  รู้จักปฏิเสธตัวเอง  ทำสิ่งใหญ่ขึ้นและดีขึ้นเสมอ  งานนอกเวลาเป็น
                           ประสบการณ์ที่ล้ำค่า  สังเกต  จดจำ  ประเมินผล  สรุปบทเรียนหาทางแก้ไข

7. ประพฤติตนในศีลธรรมอันดีเสมอ
        ทำตนเป็นตัวอย่าง สุขภาพจิตดี   มีอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ
8. อย่าเป็นคนบาปชอบแก้ตัว
   อย่าอ้างว่า   สุขภาพไม่ดี  อายุยังน้อย สมองไม่ดี  โชคไม่ดี ไม่มีเส้น  ลืมไป  ไม่มีเวลา
   ควรสะสางงานทุกวัน ขอคำแนะนำจากผู้รู้   ตื่นแต่เช้า เพิ่มเวลาทำงาน พึงตนเองเป็น หลัก
9. ชนะทุกข์ให้ได้แม้ยากเพียงใด
   เมื่อผิดพลาด ศึกษา หาทางแห้ไข   ต้องเชื่อว่าเราทำได้     ทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก  มีอุปสรรค  
              หยุดวิเคราะห์  แล้วเริ่มทำต่อ    ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง  ยิ่งทำงานต่อเนื่องยิ่งมีพลัง
               สุดยอดของความอดทนได้  จึงได้ชื่อว่ายอดคน   ความสำเร็จมิใช่อยู่ข้ามคืน
10. กล้าหาญ ทนลำบากเพื่อผู้อื่น
   กล้าพูด  กล้าคิดกล้าทำ ไม่หวาดกลัว   มีความเชื่อมั่นในตนเอง ควบคมตนเองได้

ผู้นำ  ต้องเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  
   1. อยากมีคนรักมากๆ    ต้องรู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่  ต้องรักคนอื่นสนใจคนอื่น ต้องให้เกียรติ
                   สุภาพสตรี  เคารพหน้าที่ตนเอง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ผู้อื่น
   2. อยากมีเพื่อนมากๆ  ต้องเอื้อเฟื้อ เสียสละ เมื่อถึงคราวเสียสละ   พูดจาน่าฟัง น่าเชื่อถือ
                  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
   3. อยากมีเพื่อนที่ดีนานๆ อย่าห่างกันเกินไป   อย่าใกล้ชิดกันเกินไป  อย่าขอความช่วยเหลือ
                  พร่ำเพรื่อ
   4. อยากมีเพื่อนแท้  ต้องรู้จักอุปการะกัน  รู้จักสงเคราะห์กัน  รู้จักเคารพในสิทธิ์และ
                   เสรีภาพของกันและกัน
   5. คนที่ลืมกันไม่ลง   ซื่อตรงต่อกัน  รู้คุณกัน และตอบแทนคุณกัน  จงรักภักดีต่อกัน
   6. ความสามัคคีเกิดจาก เอื้อเฟื้อกัน พูดจาอ่อนหวานต่อกัน ช่วยเหลือกันยามยาก วางตน
                  เสมอกัน ไม่ถือความขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญ  ไม่เอาแพ้ชนะกัน  ถือประโยชน์ส่วนรวม
   7. สิ่งที่ทำลายความสัมพันธ์และบุคลิกในการปฏิบัติงาน   อิจฉาริษยา   แก่งแย่งแข่งดี
                  ไม่รู้จักพฮ เอาเปรียบ  หลอกลวง  ประหัตประหารกัน หลงในรูปรสกลิ่น เสียง ลืมตัว
ผู้นำ   ถ้าปรารถนาความสำเร็จ  เขาควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.   มีต้องการความสำเร็จในชีวิต
2.   เรียนรู้สู่ความสำเร็จ
3.   มีความพยายาม อดทน สูงสุด
คุณลักษณะของผู้นำ
   ฝึกนั่งแถวหน้า   สบตาเข้าไว้  เดินไวกว่าเดิม  ฝึกเพิ่มการพูด    ครบสูตรยิ้มกว้าง


พลังการพูดของผู้นำ   10 ประการ
1.   กล้าพูด
2.   มั่นใจในสิ่งที่พูด
3.   พูดในสิ่งที่ควรพูด
4.   พยายามพูดให้เป็นบวก
                                   ยึดมองโลกในแง่ดีอย่างท่านพุทธทาส

   เขาจะมี  ส่วนเลวบ้าง   ช่างหัวเขา     จงรับเอา  สิ่งที่ดี   เขามีอยู่
   เป็นประโยชน์  ต่อโลกบ้าง ช่างน่าดู    สิ่งที่ชั่ว  อย่าไปรู้   ของเขาเลย
   ธรรมดา คนจะดี แต่สิ่งเดียว      เหมือนเที่ยวค้นหาสหายเอย
   เหมือนค้นหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย   อย่าละเลย มองแต่ดีจะมีคุณ
5.   พูดอย่างมีไหวพริบ ปฏิภาณ
6.   การพูดที่ดีที่สุดคือการฟัง
7.   พูดให้ถูกต้อง  พูดความจริง
8.   พูดให้ถูกใจ ผู้ฟัง
9.   พูดให้น่าเชื่อถือ
10.พูดให้น่าปฏิบัติตาม   
นักพูดที่ดี ต้องปฏิบัติ
เตรียมให้พร้อม  
ซ้อมให้ดี  
ท่าทีต้องสง่า
 กิริยาต้องสุขุม  
ทักที่ประชุมอย่าวกวน
เริ่มต้นให้โน้มน้าว
 เก็บเรื่องราวให้กระชับ
 ตาจับที่ผู้ฟัง
 เสียงดังให้พอดี
 อย่าให้มีเอ้ออ้า
 ดูเวลาให้พอครบ
สรุปจบให้จับใจ
1301  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติเมืองกำแพงเพชร ออกอากาศ ทางสวท.กำแพงเพชร อังคารที่ ๑๔ ธค. ๔โมงเช้า เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 01:04:58 pm
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อยู่ใต้ร่มพระมหาบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย
พระบารมีคุ้มภัยประชาราษฎร  อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วงจากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน...ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์  .... แม้เป็นตำนานเล่าขาน แต่ชาวกำแพงเพชรก็ภูมิใจในความ ยิ่งใหญ่ของกำแพงเพชร มาตั้งแต่อดีตกาล....
   จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต  วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอนอาทิ....พระเจ้าพรหม  เป็นวีรบุรุษ เป็นศูนย์กลางของพวกเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในตระกูลไทย-ลาว เป็นผู้นำขับไล่พวกขอมดำสำเร็จ ในตำนานสิงหนวัติกุมาร บอกว่าพรหมกุมารกำจัดพญาขอมดำและพวกขอมบริวารทั้งหลาย หนีลงไปทางทิศใต้ พรหมกุมารตามพิฆาตเข่นฆ่า จนร้อนถึงพระอินทร์ต้องเนรมิตกำแพงหินกั้นกางขวางหน้าไว้ เพื่อช่วยชีวิตพวกขอมดำมิให้สูญเผ่าพันธุ์ กำแพงขวางกั้นกลายเป็นกำแพงเพชร ในกาลต่อมา  พระเจ้าชัยสิริ โอรสพระเจ้าพรหม หนีพระยาสุธรรมวดี มาเดือนหนึ่งถึงแนวกำแพงที่พระอินทร์เนรมิต จึงประกาศสร้างเมืองกำแพงเพชร ณที่นั้น....
   หลักฐานมาปรากฏชัดเจน ว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งสุโขทัยเสด็จมาเมืองนครชุม โดยมีหลักฐานจากจารึกนครชุม (จารึกหลักที่ 3) ว่า?ฮืม?
พระยาลือไทยราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยได้ราชาภิเษก อันฝูงเท้าพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหาย อันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวเป็นพระยาจึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช...หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดาย เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล........
   ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นได้เสด็จมากำแพงเพชรหลายครั้งดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร
ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2088  สมเด็จพระชัยราชาธิราช ยกกองทัพไปเชียงใหม่ ประทับพักทัพหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร ถึงหนึ่งเดือน ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปทัพเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้าและยกพลตั้งทัพชัยตำบลบางพาน (เมืองเก่าในอำเภอพรานกระต่าย) ทัพหลวงประทับแรมที่เมืองกำแพงเพชร 1 เดือน
ครั้งที่ 2  ในปีพ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชร ได้ช้าง 40 เชือก
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบกับพระเจ้ากรุงอังวะจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า   ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๗) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่ในวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย และโหรทำนายว่าห้ามยาตรา และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว จึงเสด็จพยุหยาตราไป ครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชรในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จเมืองกำแพงเพชร และประทับที่เมืองกำแพงเพชร 15 วัน
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการ (พระเจ้ากรุงธนบุรี) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่มิทันได้มาครองเมือง ไปช่วยราชการที่กรุงศรีอยุธยาก่อน
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ ยกกองทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร
ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2318  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งเป็นพระยาจักรี ยกกองทัพมาตั้งที่เมืองกำแพงเพชร  เกิดตำนานสมเด็จพุฒาจารย์(โต)
ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2448  ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 2 ราตรี
ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2449  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2449  ทรงนำความเจริญและความสงบสุขมาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ทรงถ่ายภาพเมืองกำแพงเพชร ไว้จำนวนมาก และบันทึกการเดินทางประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้อย่างละเอียด

 



   ครั้งที่ 10 พ.ศ.2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในวันที่ 15 มกราคม 2450 ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 1 ราตรี พระบรมโอรสามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเมืองกำแพงเพชรสองคราว มีการจารึกเล่าเรื่องราวการเสด็จประพาสไว้ในศิลาแผ่นหนึ่ง ความว่า... ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ 2448 พรรษา จุลศักราช 1267 ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก 124 เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม7ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 16 มกราคม เสด็จประพาสทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก ประทับแรมอยู่สองราตรี ตั้งพลับพลานอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร ที่วัดชีนางเการิมน้ำปิงฝั่งเหนือ ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ 2450 พรรษาจุลศักราช 1269 ศกมะแม รัตนโกสินทรศก 126 เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาพระองค์นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันพุธเดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 15 มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 ประทับแรมอยู่ 3 ราตรี ที่พลับพลาเดิม

ทั้งหมดคือในอดีตที่พระมหากษัตริย์เสด็จเมืองกำแพงเพชร ประวัติศาสตร์และพระราชพงศาวดารได้บันทึกเรื่องราวไว้
 แม้ในกาลปัจจุบัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยทั้งชาติ เสด็จไปเยี่ยมพสกนิกร ทั่วทั้งประเทศไม่มีสถานที่ใดในประเทศไทยที่พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จไปเยี่ยม นำความผาสุกร่มเย็นมาสู่คนไทยทั้งชาติทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ล้ำเลิศด้วยทศพิธราชธรรม เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยประชาราษฏรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าท้องถิ่นนั้นจะทุรกันดารเพียงใด เสด็จไปทุกหนแห่ง ทำให้เกิดโครงการพระราชดำรินับร้อยนับพันโครงการ ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ใดในโลกเสมอเหมือน
   ตลอดระยะเวลา หกสิบปีที่เถลิงถวัลยราชสมบัติ   ระยะแปดสิบปีที่ปกครองดูแลพระบารมีแผ่ไพศาลทรง  ทรงมีพระราชอุตสาหะอันแรงกล้าที่จะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎรของพระองค์ที่อยู่ใต้ร่มฟ้าพระบารมีทั้งทางตรงและทางอ้อม พระบารมีที่ปกเกล้าปกกระหม่อมประจักษ์จิตชัดเจนทุกก้าวย่างจารจารึกในจิตใจประชนของพระองค์ไม่รู้ลืม
   โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดกำแพงเพชรของเรา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จมาเยือนถึงสามครั้ง แต่ละครั้งนำความปลื้มปิติ และสิ่งที่ดีมีมงคลมามอบให้ชาวกำแพงเพชรเสมอ
ทุกรอยละอองธุลีพระบาทที่ทรงยาตรย่ำลง ณ สถานที่ใด ชาวกำแพงเพชรยังจดจำอยู่มิรู้คลาย
ภาพต่างๆ ได้ประทับในดวงจิตชาวประชากำแพงเพชรมิลืมเลือน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชรครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ . 2510  ถึงกำแพงเพชรเวลา 10.30 น. เพื่อบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อพ.ศ. 2126 ทรงกรีธาทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร ประทับที่วัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันคือวัดกะโลทัย วันรุ่งขึ้นพักทัพชัยที่ตำบลหนองปลิงสามเพลา)วันที่ 25 มกราคม ด้วยเหตุผลที่ว่า วันนี้เมื่อ พ.ศ.2135 ตรงกับวันจันทร์ แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำการยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถ ความกล้าหาญเด็ดขาด และการเป็นผู้นำทัพที่อัจฉริยะ จนเป็นที่ยำเกรงแก่หมู่ปัจจมิตร เป็นผลให้ประเทศไทยคงคืนความเป็นเอกราชสืบมาจนทุกวันนี้(วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
นายร้อยตำรวจโทปิ่น  สหัสโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เข้าเฝ้าถวายบังคมทูลอัญเชิญล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จกระทำบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร และเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ บรรดาราษฎรพากันตั้งโต๊ะหมู่บูชาสองข้างทาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงรับศีลก่อนทำพิธีบวงสรวง เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ จึงทรงบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร แล้วเสด็จทอดพระเนตรผังเมืองเก่าและโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรจัดให้ทอดพระเนตร จากนั้นเสด็จมายังศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.30  น. จึงเสด็จออกมาปลูกต้นสัก ณ บริเวณ หน้าศาลากลางจังหวัด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นด้านขวา และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงปลูกต้นด้านซ้าย ของศาลากลาง แล้วจึงเสด็จเยี่ยมราษฎรของพระองค์ เสด็จกลับด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
เพื่อเสด็จสู่จังหวัดพิษณุโลกและประทับเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จนิวัติพระนคร
ปัจจุบันต้นสักที่ทรงปลูก  จังหวัดกำแพงเพชร ได้นำภาพถ่ายที่ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกมาขยายใหญ่ มาตั้งไว้  ณ ที่ นั้น นับว่าเป็นการทำที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่ง และการได้ขยายพันธุ์สักพระราชทาน ไปปลูกทั่วทั้งจังหวัดกำแพงเพชร แสดงถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สมควรได้รับการยกย่อง

   ครั้งที่สอง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) เป็นเจ้าอาวาส
ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถซึ่งกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เป็นเงินหก
หมื่นบาท ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ   ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ  ส. ก.มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ. 2523    และพระราชทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย  หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 9 นิ้ว ว่าพระพุทธวชิรปราการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527    มีราษฎรมาเข้าเฝ้ารับเสด็จจำนวนมาก  ทั้งสามพระองค์ ทรงเกษมสำราญพระราชหฤทัย ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรอย่างใกล้ชิดนำความสุขมาสู่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า พระองค์ เสด็จนิวัติพระนครในวันเดียวกัน
 

 


 

1302  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การประกวดสุนทรพจน์ เรื่องพ่อของแผ่นดิน (บทโทรทัศน์วัฒนธรรม) เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 01:30:44 pm
สโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชรร่วมกับสถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร( ๑๐๐.๒๕)   สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เชิญร่วมประกวดสุนทรพจน์เรื่อง ?พ่อของแผ่นดิน? เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ เพื่อให้เยาวชน ได้ระลึกถึง พระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกคน โดยแบ่งผู้เข้าประกวดเป็น
๒ ระดับคือ
      ๑.  ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่  ๑-๒    (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ) มีผู้ประกวด จำนวน ๓๔ คน จากเกือบ๒๐ สถาบันการศึกษา
      ๒. ระดับมัธยมศึกษา   ช่วงชั้นที่ ๓-๔      (มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ รวมทั้ง ระดับป.วช.) มีผู้เข้าประกวด ๕๐ คน จากสามจังหวัดคือ กำแพงเพชร พิจิตร ตาก จากยี่สิบกว่าสถาบันการศึกษา
         ที่น่ามหัศจรรย์ คือตัวเลขของผู้สมัคร เข้าประกวดนั้น มีตัวเลขอยู่ที่ ๘๔ พอดี ตรงกับวันที่พระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุย่างเข้า ๘๔ พรรษาพอดี ทำให้บรรดาผู้จัดประกวดรู้สึกประหลาดใจในความพอดี ของจำนวนผู้เข้าประกวด
         ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ  สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ทั้งครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้สนใจ มีการถ่ายทอดสด ไปยังบ้านของประชาชน ทำให้มีผู้ฟัง อีกหลายพันคน นับว่าประความสำเร็จ ในระดับความต้องการ ของผู้จัดอย่างเต็มเปี่ยม
              ผลการประกวด มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้ระดับประถมศึกษา มีผู้ประกวด  ๓๔ คน มีผลดังนี้
รางวัลที่ ๑  เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล เด็กชายจักรณรงค์ อินพหล  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   คะแนน ๔๗๗
รางวัลที่ ๒  เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงนภิสรา   ศรีศักดา  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   ตะแนน ๔๗๖
รางวัลที่ ๓  เงินสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงจิตติมา  วงศ์เอี๊ยด โรงเรียนบ้านนาบ่อคำ           คะแนน ๔๗๑
รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๑ เด็กหญิงสิริรัตน์       เจริญศรี         โรงเรียนวรนาถวิทยา   ตะแนน
๒ เด็กหญิงชญานิตย์   สถิตย์อยู่         โรงเรียนสาธิต
๓ เด็กหญิงเพ็ญศรี      คงแสน           โรงเรียนเพชรศึกษา
๔ เด็กหญิงกัลติชา     บุตตวัน           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๕ เด็กหญิงพรวิลัย      สุขแสง           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๖ เด้กหญิงนิรมล        กงจีน             โรงเรียนอนุบาลนครชุม
๗ เด็กหญิงเบญจมาศ  ผิวขาว              โรงเรียนเทศบาล ๓
๘ เด็กหญิงณภัทร       กาญจนจันทร์     โรงเรียนจงสวัสดิ์เจริญวิทยา
๙ เด็กหญิงนิภาพร       จงกลรัตน์         โรงเรียนวัดคูยาง
๑๐ เด็กหญิงสิริกุล      คำมีสว่าง          โรงเรียนวรนาถวิทยา

ระดับมัธยมศึกษา มีผู้เข้าประกวดจำนวน ๕๐คน  จากกำแพงเพชร ตาก พิจิตร มีผลการประกวดดังนี้

รางวัลทึ ๑ เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวสุพัตรา  ยิ้มบุญเกิด โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม               ๔๙๔ คะแนน
รางวัลที่ ๒ เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวชญาภัทร ศรีไพร    โรงเรียนภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี ๔๙๐ คะแนน
รางวัลที่ ๓ เงิรสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  นายนิรันดร์  เกษมี           โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม            ๔๘๕ คะแนน

รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๑นางสาวนิสา นวลจันทร์  โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
๒ นางสาวศศิมล หิงไธสง   โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
๓. นายนิรันดร์ เกษมี          โรงเรียนพิไกรวิทยา
๔ นางสาวเจนจิรา แจ่มแจ้ง  โรงเรียนพิไกรวิทยา
๕ นางสาวหนึ่งฤดี  ชื่นชอบ   ภักดีพณิชยการ
๖ เด็กหญิงธันวารัตน์  ปั้นทอง โรงเรียนเทศบาล ๑
๗ นางสาวจันจิรา แซ่กือ       ภักดีพณิชยการ
๘ นางสาวพรชุดา แซ่โช้ง       ภักดีพณิชยการ
๙ นางสาวกัลยาณี พรมเอี้ยง   โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
๑๐นางสาวอุมาพร  สุทธิธรรม  โรงเรียนวัชรวิทยา
ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสำคัญนี้ทุกท่าน ทั้งผู้ให้ทุนดำเนินการ คณะกรรมการ สถาบันการศึกษา และผู้ปกครองทุกคน เราได้มีโอกาส ตอบแทนพระคุณของพระเจ้าอยู่หัวร่วมกัน
1303  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการเรื่อง พระธาตุขามแก่น เจิดหล้า คู่ฟ้าแผ่นดินอิ เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 10:38:45 am
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
          บทโดย อาจารย์สันติ อภัยราช  ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรม) ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
บทนำ

๑นาที

   ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน .(.หน่วยงาน.).......................ขอเชิญทุกท่านได้เข้าสู่จินตนาการ แห่งการแสดง แสงเสียง เรื่อง พระธาตุขามแก่น เจิดหล้า คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน อันเป็นตำนานในการสร้าง พระธาตุขามแก่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น และเป็นที่มาของ ชื่อเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน  เพื่อแสดงความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริยาธิราช ของแผ่นดินไทย ขอให้ทุกท่านได้โปรดยืนขึ้นเพื่อแสดงจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยมาตราบนานเท่านาน
(เพลงสรรเสริญบารมี)   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น จรัสหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


๑๐นาที



   พระธาตุจรัสหล้า แสวงหาทุกบ้านเมือง
ฃภายหลังจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่กรุงกุสินารา
พระมหากัสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยราชบริวาร ได้มานมัสการถวายพระเพลิงแล้ว
ยังมิทันจะดำเนินการอย่างไร กษัตริย์ทั้ง ๗ อันได้แก่
พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
กษัตริย์ลิจฉวี แห่ง เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลีแห่งเมือง อัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะแห่งเมือง รามคาม
กษัตริย์มัลละ แห่งเมืองปาวา
กษัตริย์แห่งเมืองเวฎฐทีปกะ
ได้มาด้วยพระองค์เอง และได้ส่งราชทูต ไปเจรจา ขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพวกมัลละแห่งเมืองกุสินารา เพื่อนำไปสักการบูชา ในแว่นแคว้นของตน
พระเจ้ากุสินารา  ธรรมดาว่ารัตนะทั้งหลาย ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวะโลก ก็พระรัตนตรัยนั้นเกิดในเขตคามของพวกเราเราจักไม่ยอมให้ส่วนแบ่งแห่ง พระบรมสารีริกธาตุนั้นแก่ผู้ใด
กษัตริย์ทั้ง ๗ นคร
ถ้าท่านไม่ให้พระบรมธาตุแก่เราเราจะยกกองทัพมาทำลายนครกุสินาราเสีย   

โทณพราหมณ์
พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
กษัตริย์ลิจฉวี แห่ง เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลีแห่งเมือง อัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะแห่งเมือง รามคาม
กษัตริย์มัลละ แห่งเมืองปาวา
กษัตริย์แห่งเมืองเวฎฐทีปกะ
กษัตริย์มัลละ แห่งกุสินารา
และราชทูต ทั้งแปด
   
                                                                                                                                       การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น จรัสหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                  
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

   โทณพราหมณ์  สดับถึงเรื่องราว การวิวาทของกษัตริย์เหล่านั้น ดำริว่า พวกเจ้าเหล่านี้ก่อวิวาทกันในสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพานเป็นการ
ไม่ควร จำเราจักระงับการวิวาทนั้นเสีย
โทณพราหมณ์   (ขึ้นไปยืนที่สูง)ดูก่อนท่านผู้เจริญขอพวกท่านจงฟังคำของ
ข้าพเจ้า พระศาสดาของเราทั้งหลายเป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การที่พวกท่านจะประหัตถประหารกัน ด้วยเหตุแห่งพระบรมสารีริกธาตุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งอันควรแก่การสักการะอย่างสูงเช่นนี้ ไม่ดีเลย
พวกท่านทั้งหมด จงเกื้อกูลซึ่งกันและกันเถิด
คำกล่าวครั้งแรก ของโทณพราหมณ์ ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเพราะต่างกำลังถกเถียงกันว่า จะทำประการใด อาศัยที่
โทณพราหมณ์ เป็นอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ และพราหมณ์ในภาคพื้นชมพูทวีปไม่มีผู้ใดไม่รู้จักท่าน
โทณพราหมณ์   (ประกาศด้วยเสียงอันดังมากขึ้นว่า)
พวกท่านจำเสียงของอาจารย์ท่านไม่ได้หรือ หากจำได้ ขอทุกท่านจงพากันเงียบเสียง แล้วฟังวาจาของข้าพเจ้า จักกล่าวให้จงดี
กษัตริย์ทั้งปวง เมื่อได้ยินเสียงก็จำได้ว่าเป็นเสียงของอาจารย์ตน พากันสงบเงียบลงราวกับไม่มีผู้คน   


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โทณพราหมณ์    ขอท่านทั้งหลายทั้งปวง ขอท่านจงยินยอมพร้อมใจกัน เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เราจงมีไมตรีต่อกันเถิด เรายินดีจะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเป็น ๘ ส่วน เท่าๆกัน เพื่อให้ทุกท่านนำกลับไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ยังแว่นแคว้นบ้านเมืองของท่านเถิด เพื่อพระบรมสารีริกธาตุ ได้เสด็จไปทุกทิศานุทิศ ให้ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้นำไปบูชาต่อไป
บรรดากษัตริย์ ทั้ง ๗ พระองค์
   ข้าแต่ท่านโทณพราหมณ์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ยินยอมทำตามคำแนะนำของท่านขอท่านผู้เจริญ โปรดได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ออกเป็นแปดส่วนให้เท่าๆกันด้วยเถิด

ส่วนโทณพราหมณ์ ได้ขอทะนานที่ตวงพระบรมสารีธาตุ กับบรรดากษัตริย์เพื่อนำไปสร้างสถูปที่เมืองของตนเช่นกัน
 ประชาชนทุกเมืองต่างพากัน เฉลิมฉลอง ทั่วทั้งแผ่นดินชมพูทวีป ด้วยบารมีแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   













       
     
บทสวด   

จุดพลุ ประกอบ
   


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
๒.

๑๕นาที


   ฟูเฟื่องพระบรมสารีริกธาตุสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ
ในท้องพระโรงโมริย์กษัตริย์ แห่งสุวรรณภูมิ ข้าราชการเข้าเฝ้าเต็มท้องพระโรง
โมริยกษัตริย์
  ท่านทั้งหลาย ขณะนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เราใคร่ได้ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ มาประดิษฐานไว้ยังสถูป ที่สุวรรณภูมิของเรา เพื่อสักการบูชา แทนพระพุทธองค์ต่อไป ใครเห็นเป็นประการใด
ข้าราชบริพาร (กล่าวขึ้นพร้อมกัน)
    ข้าแต่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งในในสุวรรณภูมิ ข้าพระพุทธเจ้า มีความเห็นพร้อมกันว่า สมควรที่จะ เสด็จไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้ในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เพื่อให้ประชาราษฎร ได้ระลึกพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไป พระพุทธเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์ ( หันมาทางพระมเหสี)  พระน้องนางมีความเห็นประการใด โปรดได้ตรัสเพื่อเป็นกำลังใจแก่แผ่นดินสุวรรณภูมิของเราเถิดท่านผู้เลอโฉมแห่งปฐพี  สุวรรณภูมิ
พระมเหสี   ข้าแต่พระสวามี บรมกษัตริยาธิราชแห่งแผ่นดินสุวรรณภูมิ หม่อมฉันเห็นว่า สมเด็จพี่ สมควรได้เสด็จไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ชมพูทวีปด้วยพระองค์เอง และท่ามกลางแสนยานุภาพแห่งสุวรรณภูมิ เพื่อป้องกันการถูกแย่งชิงระหว่างทาง เพราะ พระบรมสารีริกธาตุ ย่อมเป็นที่ต้องการแห่งทุกเมืองในปฐพีแห่งนี้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระพุทธเจ้าข้า   พระมหากัสสปะ
โมริยกษัตริย์
พระมเหสี
ข้าราชบริพาร  ๖ คน
นางสนมกำนัล ๔ คน
ขุนวัง




การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โมริย์กษัตริย์   ท่านมหาอำมาตย์  ให้ท่านจัดกองทัพธรรม ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ณ ชมพูทวีป โดยล่วงหน้าไป เราจะจัดช้างม้าพลไกร ไปอัญเชิญพระบรมธาตุ ด้วยตัวเราเอง
มหาอำมาตย์  พระพุทธเจ้าข้า  ข้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จเป็นกองทัพหน้า นำมหาราชสู่ดินแดนชมพูทวีปอย่างรวดเร็วพระพุทธเจ้าข้า

การเดินทางอันแสนทุรกันดารลำบากเหลือแสน ผ่านป่าเขา แนวพนม ดั้นด้นเดินทางอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ไม่นานนักก็ถึงง ชมพูทวีป ใช้เวลาเดินทางราวครึ่งปีกองทัพหน้า ของโมริย์กษัตริย์ เสด็จถึง นครกุสินารา แคว้นมัลละและถัดจากนั้นอีกวันเดียว กองทัพธรรมของโมริย์กษัตริย์ เสด็จนครกุสินารา   พระเจ้ามัลละเสด็จ มารับทัพหลวงด้วยพระองค์เอง

พระเจ้ามัลละ  ข้าแต่มหาราชแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ เหตุใดท่านจึงดั้นด้นมาเยี่ยมเราถึงชมพูทวีป แผ่นดินอันไกลโพ้นแห่งนี้ ท่านปรารถนาสิ่งใดฤา โปรดบัญชา เราชาวมัลละ ยินดีที่จะตอบสนองความต้องการของท่านทันที พระเจ้าข้า

   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โมริย์กษัตริย์   สมเด็จพี่แห่งชมพูทวีป เราได้ข่าวถึงกาลปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา แห่งศาสนาพุทธ เราใคร่ขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ไปบูชา ที่สุวรรณภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้กระทำบูชา แสดงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระเจ้าข้า
มัลละกษัตริย์  ข้าแต่มหาจักรพรรดิ์ แห่งสุวรรณภูมิ  อันพระบรมสารีริกธาตุนั้น เราได้แบ่งไปหมด และสร้างสถูปเจดีย์บรรจุไว้แล้ว ไม่สามารถแบ่งปันให้มหาราชได้ แต่เราได้รวบรวมพระอังคารธาตุ ของพระพุทธองค์ บูชาไว้ยังมิได้บรรจุในสถูปเจดีย์เรายินดีถวายพระอังคารธาตุแก่มหาราช ตามที่มหาราชต้องการพระเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์  ขอบพระทัย สมเด็จพี่ ที่ทรงพระบารมีแผ่ไพศาล ไปถึง สุวรรณภูมิ หม่อมฉันจะ นำพระอังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้าไปบรรจุไว้  ณ พระธาตุแห่งสุวรรณภูมิ   ประชาชนทั้งสุวรรณภูมิจะได้กระทำบูชาพระพุทธเจ้ากันได้ทั้งสุวรรณภูมิ พระพุทธเจ้าข้า

มัลละกษัตริย์  แห่งนครกุสินารา ได้นำพระอังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้า ใส่ใน   กระอูบทองคำ ถวายแด่ โมริย์กษัตริย์ แลในการนั้น  กองทัพธรรมได้เสด็จกลับมายังสุวรรณภูมิ  โดยสวัสดิภาพ เพื่อกระทำบูชา พระอังคารธาตุนั้น   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
   ประชาชนและทหารในกองต่างพากันแห่แหน พระอังคาร ธาตุ สู่โมริย์นครแห่งสุวรรณภูมิ
 บรรดาประชาชนพากันมา ถวายการต้อนรับ โมริย์กษัตริย์ และกระทำบูชาต่อพระอังคารธาตุ กันอย่างสนุกสนาน ถ้วนหน้ากัน
( การแสดง รื่นเริง ๑ ชุด  ไม่เกิน ๕ นาที )     

 การแสดง แคน อีสาน ๑ ชุด
๒๐ คน ไม่เกินห้านาที


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


๒๐ นาที

   เมืองพระธาตุขามแก่น ดินแดนแห่งศรัทธา
  กาลผ่านมา ๓ ปี พระมหากัสสปะเถระพระภิกษุผู้ใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือของทุกผู้คนในสุวรรณภูมิ  พระมหาเถระโปรดให้นำพระอุรังคธาตุคือพระธาตุบริเวณพระอุระของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า  จึงได้สร้างพระธาตุพนมขึ้นเพื่อกระทำการบูชา แด่ประชาชน ชาวสุวรรณภูมิ
โมริย์กษัตริย์  ข้าแต่พระอรหันต์แห่งสุวรรณภูมิ  เราจะนำพระอังคารธาตุไปประดิษฐาน ณ พระธาตุพนมร่ามกับพระอุรังคธาตุ ท่านมีความเห็นเป็นประการใด
หมู่พระอรหันต์   ข้าแต่มหาบพิตร ผู้เจริญ เหล่าพระอรหันต์ต่างเห็นด้วย ในการดำเนินการประดิษฐาน พระอังคารธาตุรวมกับ พระอุรังคธาตุ ณ พระธาตุพนมพระเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์   เราจะจัดขบวน อัญเชิญพระอังคารธาตุ ไปประดิษฐาน ณ พระธาตุพนม ณ บัดนี้  ท่านมหาเสนา ท่านจงจัดขบวน พยุหยาตรา ยกขบวนแห่งธรรมา ไปสู่พระธาตุพนม ณ บัดนี้
   ขบวนแห่แหนพระอังคารธาตุ ประกอบด้วย เหล่านักมวย ร่ายรำท่ามวยโบราณ
นำหน้าขบวน ตามด้วย  ขบวนโคมไฟงดงามระยิบระยับตา  ขบวน พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้   ขบวนฟ้อนแคน  ต่อด้วยขบวนพระอังคารธาตุ อันงดงามอลังการ  ประชาชน ตามเสด็จพระอังคารธาตุ   ปิดท้ายด้วทหารถืออาวุธ อย่างน่าเกรงขาม เสียงพยุหยาตรา ดังสนั่นไปทั้งป่า   
พระมหากัสสปะ
โมริย์กษัตริย์
หมู่ พระอรหันต์
พระมเหสี
สนมกำนัล
ข้าราชบริพาร
ประชาชน

นักมวยโบราณ
ขบวนโคมไฟ
ขบวนพนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนฟ้อนแคน
ขบวนพระอังคารธาตุ
ทหารถืออาวุธ              
   
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
๓   การเดินทางขึ้นมาทางทิศเหนือ แต่พอมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง เป็นเวลาค่ำพอดีประกอบกับภูมิประเทศที่งดงามเป็นลานกว้างใหญ่เหมาะสำหรับพักขบวนอัญเชิญพระอังคารธาตุ  สบกับลำน้ำสามสายมาบรรจบกันไหลผ่านดอนมะขามแห่งนี้
โมริย์กษัตริย์  ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขณะนี้ เราได้ถึงชัยภูมิอันเหมาะสม ที่จะพักขบวนพยุหยาตรา อัญเชิญพระอังคารธาตุแล้ว บริเวณกลางดอน มีมะขามใหญ่ ล้มต้นตายอยู่หรือแต่แก่น เหมาะสำหรับอัญเชิญพระอังคารธาตุประดิษฐาน ในราตรีนี้
( วางพระอังคารธาตุไว้บนแก่นมะขาม บรรดาผู้ติดตามในขบวนเสด็จพากันหลับสิ้น)
     
ทันใดเกิด แสงว่างวาบขึ้น ที่พระอังคารธาตุ ที่ประดิษฐาน ณ แก่นมะขาม พระเจ้าโมริย์กษัตริย์ พากันก้มลงกราบพระอังคารธาตุ แล้วแยกกันไปพักผ่อน ใบบริเวณใกล้เคียง
เมื่อขบวนเสด็จพระอังคาร ธาตุถึงภูกำพร้า  ปรากฏว่า ได้ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ เสร็จเรียบร้อยแล้วใน พระธาตุพนม ไม่สามารถ ประดิษฐาน พระอังคารธาตุได้อีก 
โมริย์กษัตริย์  พระพุทธองค์คงมีพระประสงค์ให้เราสร้างพระธาตุแห่งใหม่ขึ้น ณ ที่เหมาะสม มิใช่ที่พระธาตุพนม แห่งนี้ ขอพวกเราได้ ค้นหาสถานที่เหมาะสม ในการสร้างพระธาตุ เพื่อประดิษฐาน พระอังคารธาตุแห่งนี้เถิด
   






การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

   พระมเหสี  เมื่อพระองค์ประทับแรมที่ดอนมะขาม นั้น พระพุทธองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์ ให้เห็นว่า เป็นแสงสว่าง ที่ดอนมะขามอยู่ช้านาน ขอพระองค์ท่านโปรดได้เสด็จไป ที่ดอนมะขามเถิด เพื่อดูความมหัศจรรย์เกิดขึ้น
โมริยกษัตริย์  เราจะเสด็จกลับไปที่ดอนมะขามแห่งนั้น ถ้ามีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นจริง เราจะสร้างพระธาตุขามแก่นณ ที่แห่งนั้น  เพื่อประดิษฐานพระอังคารธาตุแห่งพระพุทธเจ้า ทุกท่านคิดเห็นประการใด

บรรดาเหล่ามหาอำมาตย์  ข้าพระพุทธเจ้าเห็นสมควรตามที่ พระองค์ทรงวินิจฉัย พระพุทธเจ้าข้า

เมื่อขบวนอัญเชิญพระอังคารธาตุ เสด็จมาถึงยัง ดอนมะขามสถานที่ พักพระอังคารธาตุ ทุกคนตลึงในความมหัศจรรย์ เมื่อต้นมะขามที่ประดิษฐานพระอังคารธาตุ เมื่อเดือนก่อน ที่มีเฉพาะแก่นและล้มตายไปแล้วนั้น กลับลุกขึ้นยืนต้นอย่างสง่างามและผลิดดกออกผล แตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชอุ่มตระการตายิ่งนัก  มีลำธารไหลอุดมสมบูรณ์สิงสาราสัตว์ นกร้องระงม แสดงถึง ความอุดมแห่งแผ่นดินแห่งนี้   








การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
   บางตำนานของพระธาตุขามแก่น บันทึกไว้ว่า  พระยาหลังเขียว เป็นอีกนามหนึ่งของโมริย์กษัตริย์ ได้ สร้างพระธาตุขึ้น  ดังความว่า
             พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ และ พระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้

(ประชาชนพากันเฉลิมฉลอง ด้วยการแสดงประจำจังหวัดขอนแก่น ๑ชุด)

ปาฏิหาริย์แห่งพระอังคาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ฟื้นชีวิตแก่นมะขามสู่พระธาตุ อันเป็นศูนย์รวมความศรัทธาแห่งประชาชนชาวขอนแก่น และชาวอีสาน ที่ช่วยดลบันดาลให้ประชาชน สมหวังในทุกประการ   


 การแสดง ประจำจังหวัดขอนแก่น ๑ชุด
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
องก์ที่  ๔
พระบารมีปกเกล้า

๕นาที   
ด้วยบารมีแห่ง
พระธาตุขามแก่น  ณวัดเจติยภูมิ  ต.บ้านขาม         อ.เมือง              จ. ขอนแก่น 
ชาวขอนแก่นให้ความเคารพนับถือพระธาตุขามแก่นอย่างสูงโดยเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุว่าได้ปกปักรักษาให้ชาวขอนแก่นมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง  และหากมาสักการะขอพระพระธาตุขามแก่นจะมีความสำเร็จดังปรารถนา ทุกประการ           



ด้วยบารมี แห่งพระธาตุขามแก่น ขอดลบันดาลให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระชนมายุนาน ทรงบารมีคุ้มเกล้าประชาชนชาวไทยต่อไปตราบนิรันดร์กาลเทอญ

จบด้วย จินตลีลาชุด
             เพลง คิงออฟคิง   













       
       
      
   


การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

จบ








   ฟินาเร่

เพลงมาร์ช  จังหวัดขอนแก่น   













       
       
      
   


1304  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / งานแถลงข่าวพิธีเททองหล่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วงไปจากบ้านโคน เมื่อ: ธันวาคม 09, 2010, 09:33:39 pm
 วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตำบลคณฑื
เปิดแถลงข่าว กำหนดการเททองหล่อ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ร่วมกับ
นายสันติ อภัยราช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
นายสมัย เชื้อทอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร
และนายรุ่งเรือง สอนชู ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านเทพนคร


ผู้ค้นคว้าเรื่องพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มาจากบ้านโคนกำแพงเพชร มีผู้สื่อข่าวเข้ารับฟังจำนวนมาก ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี

 เนื่องจากมีการค้นคว้า เรื่องพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สอบความได้ว่า ท่านเสด็จไปจากบ้านโคน เมืองกำแพงเพชร เพื่อระลึกถีง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงได้หล่อรูปพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้น เพื่อสักการะบูชา ที่วัดปราสาท  ตำบลคณฑี

โดยกำหนดเททอง ณวัดปราสาท ต.คณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

   วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
      เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
             ๑๘.๐๙ พิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์
             ๑๙.๐๙ พิธีเททองหล่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์









1305  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการอบรมนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 07, 2010, 09:42:41 pm
กำหนดการอบรมนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร                                          
เรื่อง  ฝึกหัดการพูดอย่างผู้นำ ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย                                                            
 วันเสาร์ที่ ๑๘ วันอาทิตย์ที่ ๑๙  ธันวาคม ๒๕๕๓  เวลา ๙.๐๐ น-๑๖.๐๐ น.                                                        
  ณ ห้องประชุมชั้น ๑ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร                        [/color]      
                                         -----------------------------------
วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
๙.๐๐ น ? ๑๐.๐๐ น.       พิธีเปิดและ บรรยายพิเศษ โดย  พระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
๑๐.๐๐ น. ? ๑๐.๒๐ น.       แนะนำสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร โดยคุณสุทัศน์ ทัศนะแจ่มสุข
                                                        ผู้ก่อตั้งสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
๑๐.๒๐ ? ๑๐.๔๐ น.      พัก อาหารว่าง
๑๐.๔๐ ? ๑๒. ๐๐ น.      เทคนิคการพูดในระบบโทสมาสเตอร์  โดยคุณปรีชา แก้วสุข  
                                                       นายกสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
                                                       สาธิตการพูดบทที่ ๑ เล่าประวัติตนเอง โดย นางสาวชญาภัทร ศรีไพร
                               สาธิตการพูดบทที่ ๒ เล่าเรื่องประทับใจ โดยคุณชูสุดา  เข็มทิศ
                      สาธิตการพูดบทที่ ๓ การสร้างโครงเรื่อง โดย เด็กหญิงนภิสรา ศรีศักดา
            สาธิตการพูดบทที่ ๔ เรื่องการใช้ภาษากาย โดยคุณสุเทพ ปานพรหม
            สาธิตการพูดบทที่ ๕ เรื่องการใช้น้ำเสียง โดยคุณเทพฤทธิ์  โสภาเพีย
            าธิตการพูดบทที่ ๖ สุนทรพจน์สมบูรณ์แบบ โดยอาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
            สาธิตการพูดบทที่ ๗ เรื่องการพูดโน้มน้าวใจ โดย อาจารย์รัชนีย์ ศรีศักดา
๑๒.๐๐ น. ? ๑๓.๐๐ น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น      ฝึกพูด โดย ให้เตรียมตัว ๑ ชั่วโมง ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน
ให้นักศึกษาเลือก คนละ ๑บทพูด (บทที่ ๑- ๓) ตามความสมัครใจ จับฉลากพูด ตามเวลาที่กำหนด คนละไม่เกิน ๕ นาที (ได้ประมาณ ๒๔ คน)
ผู้วิจารณ์เฉพาะบุคคล
            พตอ. กวีรัช กตัญญู     คุณสายรุ้ง  วงศ์สมบูรณ์    คุณอมร ถาวรศักดิ์
คุณอธิคม สือพัทธิมา  คุณชนก เชียงมูล  คุณสมนึก ประวัติศรีชัย
ผู้วิจารณ์ทั่วไป  อาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
 
พิธีกร ประจำวัน  คุณปราณี หมั้นเขตวิทย์    คุณสายรุ้ง วงศ์สมบูรณ์
วันอาทิตย์ที่  ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
             ๙.๐๐ น. ?  ๑๐.๓๐ น       พูดอย่างผู้นำ ทำอย่างไร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
   ๑๐.๓๐ น.- ๑๑.๐๐ น.      พัก   อาหารว่าง
   ๑๑.๐๐ น. ? ๑๒.๐๐น      การพูดในโอกาสพิเศษในบริบทสังคมไทย
                                                                  โดยอาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
          ๑๒.๐๐ น.- ๑๓.๐๐ น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน
          ๑๓.๐๐ น ? ๑๕.๐๐ น.      ฝึกการพูดในโอกาสพิเศษ คนละ ๓ นาที โดยสถานการณ์สมมุติ
                    (ได้ประมาณ ๔๐คน) ทุกคนเตรียมตัวจับฉลากพูด
ผู้วิจารณ์เฉพาะบุคคล  พตอ. กวีรัช กตัญญู     คุณสายรุ้ง  วงศ์สมบูรณ์    คุณอมร ถาวรศักดิ์  คุณอธิคม สือพัทธิมา  คุณชนก เชียงมูล  คุณสมนึก ประวัติศรีชัย คุณสุเทพ ปานพรหม  คุณรัชนีย์ ศรีศักดา            คุณเทพฤทธิ์ โสพาเพีย  คุณรัชนีย์ ศรีศักดา คุณชูสุดา เข็มทิศ   คุณปราณี หมั้นเขตวิทย์                                                  

วิจารณ์ทั่วไป โดยอาจารย์สันติ อภัยราช
๑๖.๐๐ น.          ปิดการอบรม โดย คุณปรีชาแก้ว สุข นายกสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร

พิธีกรประจำวัน   คุณชญาภัทร์  ศรีไพร     คุณนภิสรา  ศรีศักดา  
หน้า: 1 ... 85 86 [87] 88 89 ... 101
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!