จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 15, 2024, 11:24:56 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 95
46  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติ ครูมาลัย ชูพินิจ เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2023, 06:15:56 am
                                                                                  ครูมาลัย ชูพินิจ
    
          ครูมาลัย ชูพินิจ เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 ที่บ้านริมแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของ นายสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ ในวัยเด็ก ครูมาลัย ชูพินิจ เข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จนจบชั้นประโยคประถมศึกษา เมื่ออายุประมาณ ๑๐ ปี จึงเข้าไปศึกษาต่อใน ระดับสูงจนจบประโยคมัธยมศึกษา  เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๗
 และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ อยู่ในกรุงเทพฯ ครูมาลัย ชูพินิจ เริ่มประกอบอาชีพครั้งแรกโดยรับราชการครู ที่โรงเรียนวัดสระเกศ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๗ สองปีต่อมาก็ลาออกจาก อาชีพครูเนื่องจากพอใจกับงานหนังสือพิมพ์มากกว่า และได้ยึดอาชีพนักหนังสือพิมพ์ และนักประพันธ์มาโดยตลอด ๓๗ ปี จนถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งที่ปอดเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๖ เวลา ๑๗.๔๕ น. ณ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ในช่วงเวลาที่ ครูมาลัย ชูพินิจ ประกอบอาชีพนักหนังสือพิมพ์ และนักประพันธ์ ได้สร้างผลงานไว้มากมาย ทั้งด้านสารคดี บทความ กีฬา ปรัชญา นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร มีผู้กล่าวคาดประมาณกันว่าผลงานของมาลัย ชูพินิจ มีประมาณ ๓๐๐๐ เรื่อง นับว่ามาลัย ชูพินิจ เป็นนักประพันธ์ที่มีผลงานมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นตัวอย่างของ ความอุตสาหะ ในการประกอบอาชีพที่ดียิ่ง นามปากกาของ มาลัย ชูพินิจ ได้แก่ ก.ก.ก. จิตรลดา ฐ.ฐ.ฐ. ต่อแตน น.น.น. น้อย อินทนนท์ นายไข่ขาว นายฉันทนา นายดอกไม้ นายม้าลาย แบ๊ตตลิ่งกรอบ ผุสดี ผู้นำ พลับพลึง ม.ชูพินิจ มะกะโท แม่อนงค์ เรไร เรียมเอง ลูกป่า วิชนี ส.ส.ส. สมิง กะหร่องหนอนหนังสือ อะแลดดิน อาละดิน Aladdin อาตมา อินทนนท์น้อย อุมา ฮ.ฮ.ฮ. ฉ.ฉ.ฉ. ดุสิต ลดารักษ์
          นวนิยายที่ดีเด่น แสดงถึงความผูกพันทางความรู้สึกระหว่างครูมาลัย ชูพินิจ กับกำแพงเพชร คือ นวนิยาย เรื่อง ทุ่งมหาราช ใช้นามปากกาว่า เรียมเอง ซึ่งมาลัย ชูพินิจ กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือว่า "ความมุ่งหมายของข้าพเจ้าในการเขียนทุ่งมหาราช ก็มิได้ ปรารถนาจะให้เป็นประวัติของตำบลคลองสวนหมาก ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนนามกันมา เป็นนครชุมหรือประวัติศาสตร์ของชาวบ้านนั้น โดยแท้จริงมากไปกว่าเสมือนบันทึกของเหตุการณ์ประจำยุค ประจำสมัย" นวนิยายเล่มนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของข้อมูลการค้นหาตนเองของอนุชนกำแพงเพชรในปัจจุบัน
          ครูมาลัย ชูพินิจ เป็นผู้มีผลงานสร้างสรรค์ต่อวงการหนังสือพิมพ์และวงการ ประพันธ์เป็นอเนกอนันต์ นอกจากงานหนังสือพิมพ์ และการประพันธ์แล้ว มาลัย ชูพินิจ ยังได้ปฏิบัติงานรับใช้สังคมอีกเป็นอันมาก ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการในองค์การทางสังคม หลายองค์การ ในทางการเมืองได้รับแต่งตั้ง เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในทางวิชาการเป็นอาจารย์พิเศษ วิชาการบริหาร ฝ่ายบรรณาธิการของวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          ผลงานทุกประเภทของมาลัย ชูพินิจ ได้รับการยอมรับนับถือจากทุกวงการ เกียรติยศก่อนเสียชีวิต คือการได้รับพระราชทานปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕


ชีวประวัติ
         มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๙ บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น
         มาลัย ชูพินิจ มีน้องชายร่วมมารคา 1 คน หากเสียชีวิตแต่เยาว์วัย ด้วยไข้ทรพิษ ต่อมาเมื่อมาลัย  ชูพินิจ มีอายุประมาณ 10 ขวบเศษมารดาได้เสียชีวิตลง หลังมรณกรรมของมารดา บิดาของเขาได้แต่งงานใหม่ และมีบุตรชาย หญิงซึ่งนับเป็นน้องต่างมารดาของมาลัย ชูพินิจ อีก ๔ คน คือ
         ๑. เด็กชาย... ชูพินิจ (ถึงแก่กรรม)
         ๒. นางสาวสำเนียง ชูพินิจ (ถึงแก่กรรม)
         ๓. นายประสาน ชูพินิจ  (ถึงแก่กรรม)
         ๔. นางสาวมาลี ชูพินิจ (ถึงแก่กรรม)
         มาลัย ชูพินิจ ใช้ชีวิตวัยเด็กที่ตำบลคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร อยู่จนอายุประมาณ ๑๐ ขวบเศษ จึงได้เดินทางไปพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อ โดยในชั้นแรกได้พักอาศัยอยู่กับญาติผู้หนึ่ง จนย่างเข้าวัยรุ่น จึงได้เข้าไปอาศัยอยู่กับพระยามหาอำมาตยาธิบดี ที่ตำบลยศเสจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
ด้านการศึกษา
         มาลัย ชูพินิจ ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่วัดบรมธาตุ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้านที่ตำบลคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร จนจบประถมศึกษา
         เริ่มเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มาลัย  ชูพินิจ ได้ย้ายไปเรียนวิชาครูโดยเฉพาะที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
         เมื่อจบการศึกษาวิชาครูจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ มาลัย ชูพินิจได้กลับเข้าเรียนวิชาสามัญในมัธยมศึกษาปีที่ ๗  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
         ในขณะที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มาลัย ชูพินิจ ได้ใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เขาจึงได้ ชื่อว่าเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ด้วยผู้หนึ่ง

ด้านการทำงาน
         พ.ศ.๒๔๖๙ ทำหนังสือไทยใต้ ที่จังหวัดสงขลา ตามคำชักชวนของ นายบุญทอง เลขะกุล ซึ่งเป็นเพื่อนคนหนึ่ง
         พ.ศ.๒๔๗๐ เดินทางกลับกรุงเทพฯ ตามคำชักชวนของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์รายวัน บางกอกการเมือง รับผิดชอบงานในแผนกสารคดี
         พ.ศ. ๒๔๗๑ ร่วมก่อตั้ง หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ นับเป็นงานที่ประสบผลสำเร็จ มียอดขายถึง ๔,๐๐๐ ฉบับ
         พ.ศ.๒๔๗๓ ร่วมกันทำหนังสือพิมพ์ใหม่รายวัน  มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกสารคดี และบันเทิง ได้รับเงินเดือนชั้นหลังสุดที่ได้รับก่อนลาออกจากครู ทำได้ ๑ ปี คณะผู้จัดทำลาออกทั้งคณะ เพราะถูกบีบบังคับจากนายทุนผู้ดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
         พ.ศ ๒๔๗๕ รวมดำเนินงานจัดทำหนังสือพิมพ์ประชาชาติ มีตำแห่งเป็นหัวหน้าแผนกสารคดีและบันเทิงคดีต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการและบรรณาธิการ การทำงานด้านหนังสือพิมพ์นี้ครูมาลัย ชูพินิจ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยในการทำหนังสือพิมพ์ทีเดียว ทำงานอยู่ ๗ ปี จึงลาออกด้วยเหตุผลทางการเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐
         พ.ศ.๒๔๘๐ ไปทำไร่ถั่วเหลือง ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
         พ.ศ.๒๔๘๑ รวบรวมพรรคพวกตั้งบริษัทจำกัด ไทยวิวัฒน์ (ต่อมาเป็นบริษัท อักษรนิติ) ออกหนังสือพิมพ์ฉบับบ่าย ประชามิตร รายวัน ตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการ และหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ฉบับเช้า ตำแหน่งบรรณาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี และขณะนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม
         พ.ศ.๒๔๘๖ ไปทำสวนมะพร้าวที่อ่าวพนังตัก จังหวัดชุมพร เป็นเวลา ๑ ปี
         พ.ศ.๒๔๘๘ ร่วมกับคุณอารีย์ ลีวีระ ก่อตั้งบริษัท ไทยพาณิชยการ จำกัด จัดทำหนังสือพิมพ์รายวันสยามนิกร พิมพ์ไทย สยามสมัย ตำแหน่งที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์ไทย และเป็นนักเขียนประจำของบริษัทไทยพาณิชยการ จำกัด ทำงานอยู่นานถึง ๑๗ ปี

ครอบครัว
         มาลัย ชูพินิจ สมรสกับนางสาวสงวน จันทร์สิงห์ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ทั้งสองได้พบและรู้จักกันเมื่อครั้งมาลัย ชูพินิจเป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนรวมการสอนและนางสาวสงวน จันทร์สิงห์ไปเรียนพิเศษอยู่ที่นั่น มาลัย ชูพินิจ มีบุตรและธิดา รวม ๕ คน คือ
         1. นายสุคต ชูพินิจ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
         2. นายกิตติ ชูพินิจ รัฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         3. นางขนิษฐา ณ บางช้าง ศิลปะบัณฑิต (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร
         4. นางสาวโสมนัส ชูพินิจ อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         5. นางสาวสมาพร ชูพินิจ นิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
         ชีวิตครอบครัวของมาลัย ชูพินิจเป็นชีวิตที่สงบ ราบรื่นและมีความสุข แม้จะมีงานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ เป็นอันมาก แต่มาลัย ชูพินิจ ก็สามารถแบ่งเวลาสำหรับครอบครัวได้เสมอ เขาเป็นพ่อที่ลูกจะเข้าไปหาเพื่อปรึกษาและขอคำแนะนำได้ทุกเวลาและทุกกรณี

ถึงแก่กรรม
         มาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิต โดยมิได้คำนึงถึงสุขภาพของตนเอง แม้กระนั้นเขาก็ยังคงเป็นผู้มีสุขภาพดีและแข็งแรงอยู่เสมอ จนกระทั่งประมาณต้นปี ๒๕๐๖ สุขภาพเขาเริ่มทรุดโทรมลง มีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ แต่ก็ยังคงทำงานในหน้าที่ของเขาต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๖ ก่อนหน้าที่จะเดินทางไปสำรวจความขาดแคลนของนักเรียนในภาคเหนือ ตามโครงการของมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งเขาเป็นกรรมการอยู่ เขาก็ล้มเจ็บลง แต่ยังไม่ทันที่จะหายเขาก็ได้เดินทางไปภาคเหนือตามโครงการนั้นๆ จนเสร็จสิ้นภาระ จึงเดินทางกลับกรุงเทพฯและล้มเจ็บอีกครั้งหนึ่ง จนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากการตรวจรักษาของแพทย์ปรากฏว่า เขาเป็นมะเร็งที่ปอดขั้นร้ายแรง มาลัย ชูพินิจถึงแก่กรรม ณ ห้อง ๒๒ ตึกปัญจราชินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๐๖ เวลา 17๑๗.๔๕ น.     

ความชำนาญ
         จากการศึกษาชีวิตและงานของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของไทยหลายคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้พบว่า ก่อนหน้าที่จะก้าวเข้าสู่วงการหนังสือ เขาเหล่านั้นล้วนมีสิ่งผลักดันหรือได้รับความบันดาลใจให้เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นคนเขียนหนังสือมาแล้วทั้งสิ้น
         สำหรับมาลัย ชูพินิจ ความเป็นนักประพันธ์และนักหนังสือพิมพ์ของเขามีที่มาจากภาวการณ์และแรงดลใจหลายประการ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
         ประการแรก มาลัย ชูพินิจ มีนิสัยรักการอ่านเป็นคุณสมบัติประจำตัวมาตั้งแต่เด็ก จากการเป็นนักอ่านหนังสือนี่เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้มาลัย ชูพินิจ เป็นนักเขียนในเวลาต่อมา
         ประการที่สอง มาลัย ชูพินิจ เคยเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งล้วนเป็นสถานศึกษาที่ผลิตนักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงของไทยมาหลายยุค หลายสมัย
         ประการที่สาม ซึ่งอาจจะเป็นประการสำคัญที่สุด คือ ความรัก นักประพันธ์ชายเป็นจำนวนมากได้รับแรงบันดาลใจให้เป็นนักเขียนจากความรัก มาลัย ชูพินิจ ไม่ยอมรับว่า แรงดลใจให้เป็นนักประพันธ์ของเขามาจากความรักอย่างเดียว หากแต่ถือว่ามันเป็นเพียงโซ่วงหนึ่งของสายโซ่เท่านั้น และโซ่วงนี้เขาเรียกมันว่าความบังเอิญ
         ประการที่สี่ เช่นเดียวกับที่หลวงวิจิตรวาทการ เคยสรุปสาเหตุที่ทำให้คนเป็นนักประพันธ์ไว้ข้อหนึ่งว่า คนบางคนเป็นนักประพันธ์เพื่อกระทำให้ความปรารถนาของตนบริบูรณ์ มาลัย ชูพินิจ ต้องสูญเสียความหวังและความฝันที่จะเป็นเจ้าของไร่หรือพ่อค้าไม้ไปกับภาวะตลาดไม้ตกต่ำใน พ.ศ.2463 แต่เขาก็ได้ความฝันนี้กลับคืนมาเมื่อเขาเขียน “ทุ่งมหาราช” "แผ่นดินของเรา" และเรื่องสั้นอีกหลายเรื่อง สมกับความปรารถนาของเขาเองที่ต้องการเป็นนักประพันธ์เพื่อฝันถึงสิ่งที่ตนต้องการแต่ไม่มี ฝันถึงความสำเร็จที่ตนปรารถนาแต่ไม่ได้ (สุธิรา สุขนิยม, 2532, ออนไลน์)

ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
         - ทุ่งมหาราช มหาราช เป็นประวัติของตำบลคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร สะท้อนภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านในตำบลนั้น แสดงการต่อสู้ของมนุษย์กับโรคระบาดและไฟป่า
         - แผ่นดินของเรา แสดงการต่อสู้ของภัคคินีกับเคราะห์กรรมที่บังเกิดขึ้นภายหลังจากที่หล่อนหนีสามีไปอยู่กับชู้รัก จนถูกชู้รักทอดทิ้งไปมีภรรยาใหม่ บ้านถูกไฟไหม้และตนเองต้องไปประกอบอาชีพเป็นโสเภณี เพื่อหาเงินมารักษาโรคให้ชู้รัก จนในที่สุดก็ล้มเจ็บอยู่อย่างโดดเดี่ยวและกลับมาตายในบ้านของสามีเก่า
         - บันทึกจอมพลเป็นสารคดีทางการเมืองเล่มสำคัญเมหนึ่ง ซึ่งสะท้อนบรรยากาศของการเมือง ความเป็นอยู่และจิตใจของบุคคลหลายกลุ่มของไทยในช่วงเวลาระหว่างพ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2488 ได้อย่างแจ่มชัด แม้การลำดับเหตุการณ์บางตอนจะยังไม่ดีพอทางด้านรายละเอียด แต่การเปิดเผยเรื่องบางเรื่องซึ่งยังไม่เคยถูกนำมาเปิดเผยและเป็นเรื่องที่ออกมาจากต้นตอของข่าวโดยตรง ทำให้หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าทางการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งของไทยมิใช่น้อย
         - เสือฝ้ายสิบทิศเป็นสารคดีที่เปิดเผยชีวิตของเสื้อฝ้ายตั้งแต่ต้นจนได้ชื่อว่าเป็นขุมโจร 10 จังหวัด ผู้อ่านจะได้ทราบสาเหตุที่เขาเปลี่ยนชีวิตจากผู้ใหญ่บ้านมาเป็นโจร ความลับในเรื่องกำลังคนและอาวุธ รายละเอียดของการปล้นสะดมครั้งสำคัญนับแต่ปล้นคหบดี โรงสี โรงเลื่อย ตลอดจนเรือโยงของญี่ปุ่น กลวิธีที่ใช้ในการปล้นละวินัยของโจรในการใช้ศาลเตี้ยในการชำระความ และสาเหตุที่ทำให้เขากลับตัวเป็นคนดี (วรินทร์ธรา  ธราณิชอิศม์เดช, 2560, ออนไลน์)
         ในบั้นปลายของชีวิตครูมาลัย ชูพินิจ ประสบความสำเร็จในชีวิตที่เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นอย่างมากประมวลได้ดังนี้
             - พ.ศ.2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
             - พ.ศ.๒๕๐๕ รับพระราชทานปริญญาบัตร วารสารดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
         ผลงานสำคัญต่างประเทศ ได้รับเชิญไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหลายครั้ง คือ
             - ได้รับเชิญจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตกไปสังเกตสถานการณ์ ในนครเบอร์ลินและเยอรมันตะวันตก พ.ศ.๒๕๐๒
             - ได้รับเชิญไปประชุองค์การต่อต้านคอมมิวนิสต์ (APACL) ครั้งที่ ๕ ที่นครเซอูล ประเทศเกาหลีประเทศเกาหลีใต้ และครั้งที่ ๖  ณ กรุงไทเป และดูงานที่ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓
             - ได้รับเชิญจากรัฐบาลไต้หวัน ให้ไปสังเกตการณ์ ณ เกาะคีมอย (QUEMOR)
             - ได้รับการแต่งตั้งร่วมคณะผู้แทนไทยไปร่วมสัมมนาขององค์การซีโต้  ณ เมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน
             - ได้รับเชิญจากบริษัทการบินแอร์ฟรานซ์ (AIR FRANCE) เดินทางไปรอบโลก
             - ได้รับเชิญจากรัฐบาลเยอรมันไปสังเกตสถานการณ์เบอร์ลิน เยอรมันตะวันตก พร้อมทั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
             - ได้รับเชิญจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อสังเกตการณ์การเศรษฐกิจ ศึกษาวัฒนธรรม และเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๔
             - ได้รับเชิญจากสมาคมการประพันธ์ฟิลิปปินส์ ให้ไปประชุมที่บาเกียว
             - ได้รับเชิญจากบริษัทการบิน SWISS AIR และรัฐบาลสวิสให้ไปเยือนประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัลอื่นๆ
         มาลัย ชูพินิจ เป็นนักเขียนคนหนึ่งในจำนวนน้อยคนของนักเขียนไทยที่สามารถเปลี่ยนแนวการเขียนไปต่างๆ แนว และเขียนได้ดีทุกประเภท
         เนื่องจากมาลัย ชูพินิจ เป็นทั้งนักหนังสือพิมพ์และนักประพันธ์ ในขณะเดียวกัน งานเขียนของเขาจงมีทั้งประเภทบันเทิงคดีและสารคดี ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๖ ประเภท คือ
         ๑. นวนิยาย
         นวนิยายของมาลัย ชูพินิจ มีทั้งประเภทเพ้อฝันและสมจริง นวนิยายที่เขียนในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๙ -๒๔๘๐ ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายเพ้อฝัน และที่เขียนในระหว่างพ.ศ.๒๔๘๐-๒๕๐๒ ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายสมจริง
         นวนิยายเพ้อฝันของมาลัย ชูพินิจ จำแนกออกเป็นประเภทย่อยได้ดังนี้
             ๑. นวนิยายประเภทรักโศก เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรักระหว่างหนุ่มสาว จบลงด้วยความเศร้า เช่น ธาตุรัก, เกิดเป็นหญิง เป็นต้น
             ๒. นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เป็นนวนิยายที่นำโครงเรื่องมาจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือพงศาวดาร เป็นผลงานประเภทแรกที่สุดของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งเขียนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้แก่ สงครามชิงนางและศึกอนงค์ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๘๒ ได้เขียนเรื่อง ยอดทหารหาญ และหลังจากที่หันไปสนใจเขียนนวนิยายสมจริงเป็นเวลาหลายปี เขาได้กลับมาเขียนนวนิยายประเภทนี้อีกครั้งหนึ่งคือเรื่องล่าฟ้า
             ๓. นวนิยายอิงวรรณคดี คือน วนิยายที่เขียนโดยนำโครงเรื่องมาจากวรรณคดี มีเพียงเรื่องเดียวคือ ชายชาตรี
             ๔. นวนิยายสมจริงของมาลัย ชูพินิจ จำแนกออกเป็นประเภทย่อยได้ดังนี้
                 ๔.๑ นวนิยายแสดงแนวคิด คือนวนิยายที่สร้างเนื้อเรื่องจากแนวความคิด เพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดนั้น ๆ เด่นชัดขึ้น เช่นเรื่อง ความรักลอยมา แสดงแนวคิดว่า ผู้ที่สามารถดำรงชีวิตให้เป็นสุขได้ จะต้องรู้จักตนเองและความต้องการของตนเองให้แน่นอน เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตนไปตามแนวทางที่ตนต้องการ และต้องไม่เรียกร้องทุกสิ่งทุกอย่างจากชีวิต เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
                 ๔.๒ นวนิยายแสดงปัญหา คือนวนิยายที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น ความเลวร้ายทางการเมือง, ความเหลวแหลกของสังคม, การปฏิรูปที่คุมขัง, การหย่าร้างและปัญหาเยาวชน เป็นต้น นวนิยายประเภทนี้ มาลัย ชูพินิจเขียนไว้หลายเล่ม เช่นเรื่อง ลมแดง แสดงปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายทุนและกรรมกร เป็นต้น
                 ๔.๓ นวนิยายสังคม คือนวนิยายที่หยิบยกส่วนหนึ่งของสังคมมาเป็นเนื้อเรื่อง เช่น ทุ่งมหาราช เป็นประวัติของตำบลคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร สะท้อนภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านในตำบลนั้น
                 ๔.๔ นวนิยายผจญภัย คือนวนิยายที่เกี่ยวกับการเสี่ยงโชคและงานที่เต็มไปด้วยอันตรายและการเสี่ยงภัย นวนิยายประเภทนี้ได้แก่ ล่องไพร และลูกไพร
                 ๔,๕ นวนิยายนักสืบ คือนวนิยายที่เกี่ยวกับการสอบสวนสืบสวนเรื่องลึกลับต่างๆจากร่องรอยหรือการไขปัญหา นวนิยายประเภทนี้มีน้อยมาก ได้แก่เรื่อง เสือจำศีล และชายสามหน้า
         ๒. เรื่องสั้น
         มาลัย ชูพินิจ เริ่มเขียนเรื่องสั้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยเรื่องสั้นแรกสุดของเขาเท่าที่ค้นพบคือ หล่อนผู้ก่อกรรม ใช้นามปากกา ม.ชูพินิจ พิมพ์ในนิตยสารศัพท์ไทย ต่อจากนั้นเขาก็มีผลงานประเภทนี้ลงพิมพ์ติดต่อกันเรื่อยมา โดยไม่ขาดระยะในนิตยสารและหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
         เรื่องสั้นของมาลัย ชูพินิจ แบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ
             ๒.๑ เรื่องสั้นประเภทไม่มีโครงเรื่อง คือเรื่องสั้นประเภทเหตุการณ์ที่มีความหมาย เป็นเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ของตัวละคร ซึ่งในสายตาของผู้อื่นแล้วไม่แลเห็นความสำคัญอะไร แต่ผู้เขียนทำให้สำคัญ เช่นเรื่อง แก้เผ็ด เป็นเรื่องของหญิงชายคู่หนึ่งซึ่งต่างคนต่างถูกคนรักทรยศต่อความรัก ทั้งสองได้พบกันโดยบังเอิญและเมื่อได้รู้ว่า แต่ละคนผิดหวังมาจากความรักแล้วก็ตัดสินใจร่วมชีวิตใหม่กันต่อไป
             ๒.๒ เรื่องสั้นประเภทแสดงโครงเรื่อง คือเรื่องสั้นที่ต้องการแสดงโครงเรื่องเป็นสำคัญ มาลัย ชูพินิจ เขียนเรื่องสั้นประเภทนี้มากที่สุด และส่วนใหญ่มีตอนจบเป็นแบบหักมุมหรือพลิกความคาดหมายของผู้อ่าน เช่นเรื่อง อวสานของฤดูร้อน
             ๒.๓ เรื่องสั้นประเภทแสดงแนวคิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและการแต่งงาน เช่น เรื่องวันแต่งงาน แสดงแนวคิดว่า การแต่งงานเป็นสิ่งที่สวยงามเมื่อยังใหม่หรือเมื่อยังมีความรักอยู่เท่านั้น แต่เมื่อความรักเสื่อมคลายลง ถ้าปราศจากความซื่อตรงจงรักและการให้อภัยแล้ว ชีวิตแต่งงานก็ไม่ยั่งยืน
             ๒.๔ เรื่องสั้นประเภทแสดงความสำคัญของฉาก ให้ฉากเป็นสิ่งสำคัญของเรื่อง เป็นการแสดงถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อชีวิตมนุษย์ มาลัย ชูพินิจ เขียนเรื่องประเภทนี้ได้ดี โดยมักกำหนดให้ฉากหรือสิ่งแวดล้อมเป็นผู้แก้ปัญหาชีวิตของมนุษย์หรือเปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์ เช่นเรื่อง น้ำเหนือ
         ๓. บทละคร
         งานเขียนประเภทบทละครของมาลัย ชูพินิจ มี 2 ประเภท คือ
             ๓.๑ บทละครพูด บทละครพูดของมาลัย ชูพินิจ มีจุดมุ่งหมายคือเขียนให้อ่านเพื่อความบันเทิง มิใช่เขียนเพื่อการแสดงบนเวที ซึ่งเขาได้ประพันธ์ไว้มากมายได้แก่ นักเลงดี, ละครพูด, วันว่าง, แม่เลี้ยง, เพลงลา, รังรัก, การทดลองของแพรว, ฎีกา 5 บาท, เมืองใหม่, ทายาทรัก, เลขานุการินี, สามชาย, ลิปสติก, ตามใจท่าน, ช.ต.พ., ไข้รายแรก, นักย่องเบา, ยามพักฟื้น, วันดีวันร้าย, แขกนอกบัญชี, ลึกลับตลอดกาล, บ้านของเรา, สองสมัย, ไล่เบี้ย, แม่ปลาช่อน, ครูมวย, รสนิยม, นักเรียนใหม่, ชีวิตเช่า, สองสมัย ฯลฯ
             ๓.๒ บทละครวิทยุและโทรทัศน์ บทละครวิทยุของมาลัย ชูพินิจ มีเพียงเรื่องเดียวและมีชื่อเสียงมาก คือเรื่อง ล่องไพร ส่วนบทละครโทรทัศน์นั้น มาลัย ชูพินิจ เริ่มเขียนเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒  ด้วยเรื่อง สกุณาจากรัง แสดงโดยคณะกัญชลิกา ออกอากาศ ณ สถานีวิทยุไทยโทรทัศน์ และหลังจากนั้นได้เขียนบทละครให้เป็นประจำเฉลี่ยประมาณเดือนละ ๑ เรื่อง
              บทละครที่เขียนให้แก่คณะกัญชลิกาใช้ชื่อว่า ละครชีวิตครอบครัว เนื้อเรื่องเกี่ยวกับปัญหาชีวิตครอบครัว จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงคติสอนใจและเพื่อแนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิต ส่วนใหญ่เป็นบทละครที่เขียนขึ้นใหม่เพื่อการแสดงโดยเฉพาะ มีเพียงบางเรื่องที่ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของตนเอง เช่นเรื่อง ตายทั้งเป็นและธาตุดิน เป็นต้น
              มาลัย ชูพินิจ เขียนบทละครโทรทัศน์ให้กับคณะกัญชลิกาติดต่อกันมาเป็นเวลาประมาณ ๓ ปี จึงหยุดเขียน เนื่องจากมีงานด้านอื่นเพิ่มขึ้น บทละครที่เขียนให้แก่คณะกัญชลิกาส่วนหนึ่ง ได้แก่เรื่อง นามหล่อนคือหญิง , สามชีวิต,  แกะในหนังราชสีห์, โคกตะแบก, ล็อตเตอรี่ที่หนึ่ง และเลขานุการใหม่
               นอกจากคณะกัญชลิกาแล้ว มาลัย ชูพินิจ ยังเขียนให้แก่คณะพงษ์ลดา พิมลพรรณ และแก่สถาบันต่างๆ ซึ่งแสดงเพื่อการกุศล เช่น มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่นเรื่อง ฝันร้าย เขียนจากเค้าโครงเรื่องของคุณหญิงอุศนา ปราโมช แสดงเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๒
         ๕. งานเขียนคอลัมน์ประเภทต่างๆ
         งานเขียนคอลัมน์ของมาลัย ชูพินิจ มีดังนี้
             - คอลัมน์ ระหว่างบรรทัด เป็นคอลัมน์ที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา กีฬา และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรา
             - คอลัมน์ ระหว่างยก เป็นบทนำที่เขียนเป็นประจำในหนังสือพิมพ์สังเวียนซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เกี่ยวกับวงการกีฬาและเน้นหนักในเรื่องมวยเป็นสำคัญ โดยใช้นามปากกาว่า สมิงกะหร่อง เป็นบทนำประเภทที่มีชื่อเรื่อง
             - คอลัมน์ น้อย อินทนนท์ เขียน...  เป็นคอลัมน์ประจำในสยามสมัยรายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ฉบับครบรอบปีที่ ๑๕ เป็นต้นมา เป็นคอลัมน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาธารณกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยเน้นหนักไปในเรื่องการเมืองภายในประเทศ วิธีเขียนจึงมีลักษณะเป็นแบบวิเคราะห์ประกอบกับแบบพรรณนา
             - คอลัมน์ หมายเหตุ เป็นคอลัมน์ที่เปิดขึ้นในสยามสมัยรายสัปดาห์ โดยมาลัย ชูพินิจ เขียนแทน ธนาลัย ซึ่งหยุดพักการเขียนเพื่อการอุปสมบท ใช้นามปากกาว่า น้อย อินทนนท์ ใช้วิธีเขียนแบบบทความประเภทวิเคราะห์ผสมกับพรรณนา เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง
             - คอลัมน์ พูดกันฉันเพื่อน ใช้นามปากกา ผู้นำ ในไทยใหม่ (รายวัน) บางฉบับ เช่น ฉบับที่ ๓ มกราคม ๒๔๗๓ แสดงข้อคิดเห็นว่าผู้ที่ก้าวไปสู่ความมีชื่อเสียงด้วยการโป้ปดมดเท็จตลบตะแลงย่อมจะทานอานุภาพความจริงไปไม่ได้ และจะต้องตกลงมาอย่างไม่เป็นท่าในวันหนึ่ง
             - คอลัมน์ของนักคิด ใช้นามปากกา นายดอกไม้, ม.ชูพินิจ แสดงทัศนะและปรัชญาชีวิตอย่างสั้นๆ ในหนังสือพิมพ์ผู้นำ
             - คอลัมน์ ประชาชน เป็นคอลัมน์แสดงแง่คิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและสวัสดิภาพของประชาชน
             - คอลัมน์ ป.ล. เป็นคอลัมน์ที่มีลักษณะเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่ผู้เขียนเป็นอย่างมาก
             - คอลัมน์ แว่นใจ ในพิมพ์ไทยรายเดือน ใช้นามปากกาต่างๆกัน เช่น จิตรลดา, ฮ.ฮ.ฮ, ก.ก.ก, ฐ.ฐ.ฐ แสดงข้อคิดและปรัชญาชีวิต
             - คอลัมน์ ชีวิตในเดือนนี้ ในปิยมิตรรายเดือน ใช้นามปากกา นายฉันทนา แสดงทัศนะและปรัชญาชีวิต
             - คอลัมน์ บทเรียนจากชีวิต ในพิมพ์ไทยรายเดือน ใช้นามปากกาต่างๆกัน เช่น น.น.น, ส.ส.ส แสดงทัศนะและปรัชญาชีวิต
             - คอลัมน์ อาณาจักรของข้าพเจ้า ในแสนสุข ใช้นามปากกา ม.ชูพินิจ แสดงทัศนะและปรัชญาชีวิต
             - คอลัมน์ เพื่อผู้หญิง ใช้นามปากกา เรไร เนื้อหาของคอลัมน์มีขอบเขตกว้างขวางมาก นับตั้งแต่การเย็บปักษ์ถักร้อย การบริหารร่างกาย แบบบ้านและแบบเครื่องเรือนเครื่องใช้สำหรับสตรีไปจนถึงแฟชั่นเครื่องแต่งกายของสตรีด้วย
             - คอลัมน์ ปัญหาชีวิต โดยผุสดี เป็นคอลัมน์สำหรับผู้หญิงอีกแบบหนึ่งในประชามิตรรายสัปดาห์ มาลัย ชูพินิจใช้วิธีเขียนแบบเป็นจดหมายจากพี่ถึงน้อง แนะนำแนวทางที่ควรประพฤติและปฏิบัติตนของหญิงวัยรุ่น ซึ่งนอกจากจะเกี่ยวกับความรัก การคบเพื่อนต่างเพศแล้ว ยังแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยอีกด้วย
            - คอลัมน์ เพื่อผู้ชาย โดยเรียมเอง ที่ประชาชาติรายสัปดาห์ เป็นข้อเขียนเกี่ยวกับทัศนะและเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้ชายควรรู้ รวมทั้งสอนกีฬาประเภทต่างๆ
            - คอลัมน์ บ้านและโรงเรียน โดยผุสดี ซึ่งลักษณะการเขียนแต่ละบทแต่ละตอนแสดงออกถึงความเข้าใจในจิตวิทยาของเด็กและความเอาใจใส่ของผู้เขียนที่มีต่อเยาวชนได้เป็นอย่างดีจนไม่น่าเชื่อว่าผู้เขียนเป็นผู้ชาย
            - คอลัมน์ ความในใจ โดยอุมา ในประชามิตร-สุภาพบุรุษ เป็นคอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต ซึ่งส่วนมากเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาว (สุธิรา สุขนิยม, 2532, ออนไลน์)
         ๕. สารคดี
         มาลัย ชูพินิจ มักเขียนสารคดีประเภทชีวประวัติบุคคลสำคัญของต่างประเทศ เช่น เรื่องโซเครตีส เจ้าลัทธิและมหาปราชญ์คนแรกแห่งกรีก ใช้นามปากกา ม.ชูพินิจ, เดวิด ทิฟวิงสโตน วีรบุรุษเอกของแอฟริกา ใช้นามปากกา นายดอกไม้, ความรักของจินตกวีเอกอิตาลี ใช้นามปากกา ผู้นำ เป็นต้น
         ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เขาเริ่มเขียนสารคดีเชิงข่าว มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น โดยเขียนแบบข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์คือใช้การพาดหัวแทนชื่อเรื่อง เช่น ญี่ปุ่นว่าจะรบอเมริกาแน่ในขั้นต้นจะยึดเกาะฮาวาย ซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่แปลจากภาษาญี่ปุ่น เขียนโดย นายพลโท กิโอ คัตสุชาโต
         ในปีเดียวกัน เขาเขียนสารคดีท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกใน ผู้นำ คือเรื่องชีวิตของการท่องเที่ยวภาคเหนือ ซึ่งเป็นเรื่องการท่องเที่ยวครั้งใหญ่ของเขา
         สารคดีอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเขาทำขึ้นในระยะแรกคือ สารคดีภาพข่าว ซึ่งเป็นการรวบรวมภาพในเรื่องต่างๆกัน เช่น ชีวิตของพีระ, สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนีย และจีนรบญี่ปุ่น เป็นต้น
         สารคดีที่นำชื่อเสียงมาสู่มาลัย  ชูพินิจ อย่างแท้จริงคือ สารคดีเบื้องหลังข่าว เรื่อง บันทึกจอมพลและเสือฝ้ายสิบทิศ
         ๖. งานแปล
         มาลัย ชูพินิจ เริ่มงานแปลตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ ผลงานแปลในระยะแรกเริ่มนี้ได้แก่ เรื่องสั้นชื่อ สามวันจากนารี ซึ่งตีพิมพ์ในศัพท์ไทย ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๔๖๙ และสิเหน่ห์นางละคร ในสมานมิตรบันเทิง
         หลังจากนั้นเขาก็เริ่มสนใจในงานเขียนของมาเรีย คอเรลลี่(Marie Corelli) นักเขียนชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง โดยทดลองแปลเรื่องสั้นก่อน เช่นเรื่อง ผู้คงแก่เรียน (The Stepping Stone) , ธาตุหญิง (The Withering of a Rose) และไปสวรรค์  (The Distance voice) เป็นต้น เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงเริ่มแปลและเรียบเรียงเรื่องเถ้าสวาท (Wormwood) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2471 แปลจบในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน แล้วมอบให้สำนักพิมพ์นายเทพปรีชาจัดพิมพ์จำหน่าย
         ผลงานชิ้นสำคัญต่อมาคือเรื่อง เต็ลมา  (Thelma) ของคอเรลลี่ เช่นเดียวกันในพ.ศ. ๒๔๗๙ ส่งพิมพ์เป็นตอนๆในสยามนิกร แต่หลังจากแปลได้เพียงภาคแรก สยามนิกรก็หยุดกิจการไปชั่วคราว ทำให้มาลัย  ชูพินิจ ชะงักการแปลไปด้วย จนกระทั่งสำนักพิมพ์พิพัฒน์พานิชมาติดต่อขอนำไปพิมพ์เป็นเล่ม เขาจึงแปลต่อให้จนจบในพ.ศ.๒๔๘๕
         นอกจากผลงานด้านการประพันธ์แล้ว ครูมาลัย  ชูพินิจ ยังมีผลงานที่อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่สังคม โดยให้ความสนใจงานด้านการศึกษา และงานเกี่ยงกับเยาวชนการปฏิบัติเพื่อสังคม ดังนี้
             - กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายการสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
             - กรรมการบริหารมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์
             - กรรมการมูลนิธิราชประชาสมาสัย
             - กรรมการสภาสังคมสงเคราะห์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
             - ที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
             - กรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
             - อุปนายกสมาคมภาษาและหนังสือ
             - อุปนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สันติ อภัยราช, 2562, ออนไลน์)
ผลงานชิ้นเอกของครูมาลัย ชูพินิจ
ผลงานชิ้นเอกของ ครูมาลัย ชูพินิจ นักประพันธ์ ชาวกำแพงเพชร ที่ฉายภาพบ้านเมืองคลองสวนหมากหรือนครชุมในอดีต ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๓-๒๔๙๓ ครูมาลัยเขียนเรื่องนี้จากความทรงจำรำลึก ความสำนึกในบุญคุณ และความรักในมาตุภูมิ ดังที่กล่าวไว้ในคำนำหนังสือว่าเรื่องทุ่งมหาราชเป็น “เสมือนบันทึกของเหตุการณ์ประจำยุคประจำสมัย ซึ่งผ่านมาในชีวิตของข้าพเจ้าและก่อนหน้าข้าพเจ้าขึ้นไป...” เนื่องจาก “ทุ่งมหาราช” เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนปากคลองสวนหมาก การต่อสู้กับภัยธรรมชาติและภัยพิบัตินานา ด้วยความทรหดอดทนด้วยหัวใจของนักสู้ผู้มีความรักอันยิ่งใหญ่ต่อบ้านเกิดเมืองนอน โดยครูมาลัยได้ผูกโครงเรื่องและดำเนินเรื่องผ่านการต่อสู่ของตัวละครเอกในเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพินิจพิจารณาบรรยายฉากด้วยภาษาที่งดงามของนักประพันธ์แล้ว 
จะมองเห็นภาพวิถีชีวิตของคนปากคลองสวนหมาก วัฒนธรรม การละเล่น การทำมาหากินของชาวบ้าน บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่าง “...นั่นดงเศรษฐี ไม่มีใครรู้ว่าสร้างมาเมื่อไหร่ ร้างมาแต่เมื่อไหร่ แต่มันเป็นเครื่องหมายของปู่ย่าตายายก่อนๆ เราขึ้นไปก่อนปู่ยาทวดของเราขึ้นไป เป็นมรดกที่ทิ้งไว้ให้พวกคนไทยรุ่นหลังได้ระลึก...” “...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ชาวกำแพงเพชรโดยทั่วไปและคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้งมาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุ...” เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเรื่อง “ทุ่งมหาราช” เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นของชาวกำแพงเพชรโดยแท้ ผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพท้องถิ่นของชาวคลองสวนหมากหรือนครชุมในอดีต ซึ่งสะท้อนภาพประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของกำแพงเพชรไว้ได้อย่างดี นอกจากเรื่อง “ทุ่งมหาราช” จะเป็นวรรณกรรมของท้องถิ่นแล้วยังได้รับยกย่องให้เป็นหนังสือดีหนึ่งใน ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน
ครูมาลัย ชุพินิจ คือบุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร อีกท่านหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
http://www.sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_05.pdf
http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1007.0.html
47  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติ นายสันติ อภัยราช เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2023, 12:05:10 pm
                                                                          นายสันติ อภัยราช
 

ชีวประวัติ/ความเป็นมา
         ชีวิตวัยเด็ก
นายสันติ อภัยราช เป็นบุตรของนายเสรี อภัยราช  และ นางเสงี่ยม อภัยราช เกิดวันที่ ๔ ตุลาคม -๒๔๙๐  เป็นชาวกำแพงเพชร โดยกำเนิด   ในวัยเด็กมีความสนใจและชอบศึกษา ด้านภาษาและวรรณกรรม จากการอ่านวรรณคดี และวรรณกรรมตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือออก และเรียนรู้จากการฟังการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ประเภท  มุขปาฐะ จากปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่ พระภิกษุ และชอบท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ร่วมศึกษาจารึกที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ภาษาถิ่นของทุกอำเภอในเมืองกำแพงเพชร ขณะเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร อำเภอคลองชลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีนายอั๋น ทิมาสาร เป็นครูใหญ่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ท่านมอบหมายให้ทำงานในโรงเรียนดูแลเอกสารหนังสือ จัดห้อง จัดหนังสือ แจกหนังสือ ดูแลกระดานชนวน ที่เด็ก ๆ ส่งมาตรวจสอบและเป็นผู้ ตรวจสอบว่ามีใครส่งบ้าง ใครเขียนถูกเขียนผิดอย่างไร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๕ บิดาได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นกำแพงเพชรมี ๔ อำเภอ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอพรานกระต่าย อำเภอขาณุวรลักษบุรี มารดาเป็นแม่ค้าขายขนมหวาน ในตลาดคลองขลุง ตอนเช้าต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน เพื่อช่วยทำขนมหวาน เช่น วุ้น ตะโก้ ขนมฟักทอง ถั่วแปบ เป็นต้น ออกไปขายด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เมื่อได้เวลาแปดนาฬิกาจะต้องเดินไปโรงเรียน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นผู้ตั้งใจเรียนรู้ ได้รับความเมตตาจากครูทุกคน ให้เป็นหัวหน้าห้องมาโดยตลอด ในเวลาเย็นเมื่อกลับจากโรงเรียน ก็จะมาขายขนมที่มารดาทำในตอนกลางวันไปขายในตลาดและตามบ้านผู้คน ในตอนค่ำคุณย่าลำไย ซึ่งในอดีตเป็นนางเอกละคร ของพระยาสุจริตรักษา(ทองคำ) เจ้าเมืองตาก มีความสนใจในวรรณคดีไทย แต่ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจึงจ้างให้อ่านให้ฟังทุกวัน จึงส่งผลให้นายสันติ อภัยราช สามารถจำวรรณคดีไทยได้หลาย ๆ เรื่อง และก่อให้เกิดความสนใจวรรณคดีไทยและวรรณกรรมไทยทุกเรื่องตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ
         เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ คุณพ่อได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร ทั้งครอบครัวได้ย้ายตามมาอยู่เมืองกำแพงเพชร คุณพ่อได้มอบหมายให้มีหน้าที่ซ่อมสามล้อรับจ้าง ซึ่งพ่อมีสามล้อให้เช่าจำนวนหลายสิบคัน ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน เป็นเวลา ๖ ปี ทำให้ชำนาญ  คนปั่นสามล้อนั้น มีหลายคนที่มีความรู้มาก มีทั้งนักขุดพระ นักเลงเก่า นักมวย ทำให้ได้พบผู้คนอย่างหลากหลาย และด้วยมีบ้านติดกับ ลุงหอม รามสูต ลูกชายหลวงพิพิธอภัย (หวน) หลวงพิพิธอภัยเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ท่านให้ความเมตตามาก พาไปเที่ยวชมไร่ในเมืองเก่าด้วย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เล่าเรื่องในอดีตให้ฟังตลอดการเดินทาง ทำให้มีโอกาสทราบเรื่องเมืองกำแพงเพชรในอดีตอย่างละเอียด
         ด้านการศึกษา
             ระดับประถมศึกษา เริ่มเรียนก่อนประถมศึกษา ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และระดับชั้นประถมปีที่ ๑ ถึงประถมปีที่ ๔
             ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
             ระดับอนุปริญญา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
             ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
             ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
         ด้านชีวิตครอบครัว
             สมรสกับนางจันทินี อภัยราช (จารุวัฒน์) อดีตอาจารย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม มีบุตร 1 คน ชื่อนายอรรถ อภัยราช อดีตพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดกำแพงเพชร (ถึงแก่กรรม)
         ด้านการทำงาน
             เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครูตรี โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘ และดำรงตำแหน่งวิทยฐานะที่สำคัญดังนี้
             ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๐  อาจารย์ ๑ โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี
             ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕    อาจารย์ ๒ โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
             ๒๔ กันยายน ๒๕๔๓    อาจารย์ ๓ โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
             ๑ เมษายน ๒๕๔๖       ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
             และได้รับเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่ปี ๒๕๔๑จนถึง ๒๕๕๔
ความชำนาญ/ความสนใจ
         ด้านการวิจัยส่งเสริมวรรณกรรม มีการสำรวจศึกษา สังเคราะห์  วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ถ่ายทอด ส่งเสริม เอตทัคคะ แลกเปลี่ยน ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรและรวบรวมสร้างเป็นองค์ความรู้ ตีพิมพ์เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษา       
         การอนุรักษ์วรรณกรรม มีการนำวรรณกรรมมาศึกษาไว้ในระบบออนไลน์ ให้คนมีความรัก ความหวงแหน และความเข้าใจ และภูมิใจในความเป็นคนไทย มีกิจกรรมศึกษาอย่างมีหลักการทำให้เกิดการอนุรักษ์ อย่างยั่งยืน
         ด้านงานฟื้นฟูวรรณกรรม มีการเลือกสรรวรรณกรรม ที่สูญหาย หรือกำลังเสื่อมสลาย ให้ความหมายและให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิต ของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์ต่อสังคม
         นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา  ภาษาวรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร  ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย  ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง
ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
         นายสันติ  อภัยราช ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ภาษาและวรรณกรรม ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชร และจัดสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือผลงานที่มีคุณภาพ สามารถนำไปเผยแพร่ในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติอย่างมากมายผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตและและทางวิทยุ โทรทัศน์ และการเป็นวิทยากร
         นายสันติ  อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากการศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เกิดชิ้นงาน นวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์และตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม โดยมีการเผยแพร่ให้รับรู้รับทราบได้ในหลายช่องทางทั้งด้วยตนเอง เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเปิดอ่านเพื่อการเรียนรู้ได้ทั่วโลก ผลงานสำคัญมีดังนี้
         ๑) การวิจัยและพัฒนา ตีพิมพ์เผยแพร่ การบรรยายในด้านภาษาและวรรณกรรม กว่า 30 เรื่อง
         ๒) จัดการแสดง แสง สี เสียง ในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง   งานแข่งเรือ  และงานประเพณีลอยกระทง นำวรรณกรรมท้องถิ่นมาเสนอในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง โดยเฉพาะงานนบพระเล่นเพลง มากกว่า ๑๐ ปี ในตำแหน่งผู้เขียนบท และผู้กำกับการแสดงทุกปี
         ๓) การเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นในทุกระดับการศึกษาต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔๐ ปี
         ๔) การดำเนินรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางเคเบิลท้องถิ่น ต่อเนื่องมากว่า ๑๐ปี จำนวนหลายร้อยเรื่อง
         ๕) การดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งระบบ เรื่อง ภาพ และวิดีโอ เพื่อเผยแพร่ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นหลายร้อยเรื่อง  
         ๖) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
         ๗) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ ๑๑ อำเภอ
         ๘) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมตำบล ๒๘ ตำบล
         ๙) การสร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย จังหวัดกำแพงเพชร
         ๑๐) การสร้างเครือข่ายสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร ในรอบ ๔๔ปี มากกว่าหมื่นคน
         ๑๑) การสร้างเครือข่ายชมรมนักกลอนนครชากังราว
         ๑๒) การสร้างเครือข่ายองค์การอาสาประชาธิปไตยกำแพงเพชร
          ๑๓) จัดตั้งชมรมสตรองจิตพอเพียงต้านทุจริต ของ ป.ป.ช.จังหวัดกำแพงเพชร ทุกอำเภอ
         ๑๔) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาการพูด ผลงานทางวิชาการระดับ 8
         ๑๕) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น ผลงานทางวิชาการระดับ 9
         ๑๖) เอกสารและตำราทางวิชาการ จำนวน 107 เล่ม ซึ่งทุกเล่มสามารถเปิดอ่านได้  จากเว็บไซต์
         ๑๗) จดหมายเหตุทางวัฒนธรรมกำแพงเพชร ซึ่งรวบรวมเรื่องราวของจังหวัดกำแพงเพชรและเรื่องทั่วไปที่มีประโยชน์ต่อสังคม
         ๑๘) โทรทัศน์วัฒนธรรม เป็นการบันทึกวิดีทัศน์เรื่องราวสำคัญต่าง ๆ จำนวน 708 เรื่อง ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชรการแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชรวัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชรพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรบุคคลดีเด่นเมืองกำแพงเพชร การแสดงแสงสีเสียง การแสดงของนักเรียน เพลงกับเมืองกำแพงเพชร มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นต้น
ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัล อื่น ๆ
         ผลงาน (ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญาด้านภาษา วรรณกรรม และ วัฒนธรรม ประเพณี) เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
             - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ ๒ ครั้ง จำนวน ๓๕๑ หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัย ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น จากหลายสถาบัน
             - ผลงานเรื่อง งานวิจัยและถ่ายถอด เอกสารจดหมายเหตุเรื่องเมืองกำแพงเพชร ใบบอกในสมัยรัชกาลที่ ๕ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
             เล่มที่ ๑ จำนวน ๘๕ หน้า พิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม
             เล่มที่ ๒ จำนวน  ๖๘ หน้า พิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม
             - ผลงานเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกำแพงเพชร ( ทำหน้าที่บรรณาธิการ) จำนวน ๓๐๗ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารอ้างอิง โดยทั่วไป
             - งานศึกษาวิจัย เรื่อง ประวัติความเป็นมาของศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จวางศิลาฤกษ์ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ จำนวน ๕๗ หน้า พิมพ์จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม
             - งานศึกษา วิเคราะห์วิจัย ถ่ายถอด จารึกที่พบในเมืองกำแพงเพชร ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ จำนวน ๑๐๔ หน้า จำนวนพิมพ์ ๕๐๐ เล่ม จำหน่ายจ่ายแจกไปทั่วประเทศ
             - งานศึกษาวิจัย เรื่องเดินเท้าสำรวจถนนพระร่วง ด้วยระบบ GPS. สำรวจด้วยดาวเทียม จำนวน ๑๓๓ หน้า จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม เผยแพร่ ไปทุกชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร และผู้สนใจทั่วไป
             - ประมวลภาพ ฝีพระหัตถ์ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อครบร้อยปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร ๑๒๐ หน้า พิมพ์จำนวน ๕๐๐ ฉบับ เผยแพร่ไปทั่วประเทศ
             - งานวิจัย ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร จำนวน ๑๔๙ หน้า พิมพ์จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นแบบเรียน รายวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน ๙๗ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องคณที พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณที จำนวน ๘๕ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน ๘๕หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน ๑๐๓ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน ๑๒๐ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอพรานกระต่าย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอพรานกระต่าย จำนวน ๑๔๐ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
             - งานศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอำเภอลานกระบือ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอลานกระบือ จำนวน ๑๗๐ หน้า จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
            
            
             - ผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ นำภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอทางรูปแบบ วิดีโอ และ อินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้สนใจทั่วโลกได้ชมเรื่องราวของความเป็นไทย
         ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม (ระดับชุมชน/ท้องถิ่น/อำเภอ/ประเทศ)
        ระดับประเทศ
             - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชรโดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ ๒ ครั้ง จำนวน ๓๕๑ หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัย ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น จากหลายสถาบัน
             - งานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่ เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่น ทั่วประเทศ และทั่วโลก ความยาว ประมาณ ๑๕ – ๓๐ นาที ในเรื่องของ
             - พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน ๑๑ ตอน
             - แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
             - วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๒ ตอน
             - คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๔๑ ตอน
             - การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 ตอน
             - วัฒนธรรม ประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร ๒๑ ตอน
   และอื่นๆอีกจำนวนมาก
             - งานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง

         เครื่องราชอิสริยาภรณ์/ เกียรติคุณ / รางวัลที่เคยได้รับ
         เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ
             - ป.ม. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
             - ป.ช. ประถมาภรณ์ช้างเผือก
         เกียรติคุณ ดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่ง
             - อาจารย์ 3 ระดับ 9 กรมสามัญศึกษา (สพท.กำแพงเพชร)
             - ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการศึกษากำแพงเพชร เขต 1
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร                        
ผู้ทรงคุณวุฒิของการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร
ผุ้ทรงคุณวุฒิของการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผุ้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ผู้ทรงตุณวุฒิผังเมืองจังหวัดกำแพงเพชร
ผุ้ทรงคุณวุฒิของป.ป.ช.กำแพงเพชร
            - รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ครูต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
         รางวัลที่เคยได้รับ
             - ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ครูแม่แบบภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศ
             - คนดีศรีกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
             - บุคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
             - บุคคลดีเด่นแห่งปี 2543 จากหนังสือพิมพ์ไท สยาม
             - บุคคลเกียรติยศ จากหนังสือพิมพ์ประชาไทย
                ศิษย์เก่าเกียรติยศ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
            ศิษย์เก่าเกียรติยศ ขุนพลพิบูลสงคราม
   ครูเจ้าฟ้ามหาจักรี (ครูขวัญศิษย์)
             รางวัลวชิราชากังราว จากสมาคม นักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร
   รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น ศรืสุวรรณภิงคาร สาขาวรรณศิลป์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
             - ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา)จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
             - ได้รับรางวัลไปศึกษา ดูงานด้านวัฒนธรรม ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
การดำเนินชีวิต
          เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ บิดาได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร อีกครั้ง ได้กลับมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่โรงเรียน กำแพงเพชร “วัชราษฎร์วิทยาลัย” โรงเรียนชายประจำจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเมื่อมาอยู่กำแพงเพชร เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่า ในวันหยุดทุกสัปดาห์ ได้ตามผู้ใหญ่ไปศึกษาเมืองโบราณอย่างเข้าใจ โดยละเอียด ได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆจากเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเนื่องจากไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอย่างละเอียด ทุกเรื่องจนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในระหว่างเรียนเนื่องจากเป็นคนพูดน้อย แต่ชอบเล่านิทาน ในระหว่างพักเที่ยงจึงมีเพื่อนมานั่งล้อมวงฟังนิทานกันทุกวัน จนครูประจำชั้นให้ทำหน้าที่สอนแทน เมื่อครูติดธุระเป็นเหตุให้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้นทุกปี
          เมื่ออายุได้ราว ๑๔– ๑๕ ปี ได้ศึกษาดนตรีสากล ดนตรีไทย และมวยไทย อย่างละเอียด จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จัดว่าเป็นคนเรียนหนังสือเก่งมากคนหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อจบการศึกษาโรงเรียนและจังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครู และเรียนเก่งที่สุด ไปเรียนครู ที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เรียนอยู่ ๔ ปี โดยเลือกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวิชาเอก ระยะเรียนได้ออกค่ายชนบท บ่อยมาก ไปฝึกสอนโรงเรียนที่ไกลที่สุด เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกสอน ทั้งประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ผลการเรียนอยู่ระดับค่อนข้างดี
          เมื่อจบระดับ ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงจากวิทยาลัยครูพิบูลสงครามแล้ว บิดาซึ่งปลัดอำเภอเสียชีวิต จึงไปหางานทำในกรุงเทพตามแบบฉบับของ เด็กบ้านนอก และไปสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในภาคค่ำ ในสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทยเหมือนเดิม ตอนเช้าไปสอนหนังสือโรงเรียนเอกชน
ที่โรงเรียนศึกษาวิทยา สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตอนเย็นไปเรียน ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร  ขณะเรียนได้อะไรมากมายทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ เปลี่ยนโรงเรียนมาสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา คลองตัน กรุงเทพ ให้ใกล้วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรมากขึ้น เพื่อสะดวกในการเดินทาง โดยเดินทางโดยเรือในคลองแสนแสบ เมื่อจบการศึกษาได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิตสาขาภาษาและวรรณคดีไทย
          ไปสอนที่โรงเรียนพณิชยการมักกะสัน ดินแดง กรุงเทพ ๓ ปี ไปสอนโรงเรียนช่างกลสยาม ท่าพระ กรุงเทพอีก ๓ ปี จึงสอบบรรจุเข้ารับราชการในปีการศึกษา ๒๕๑๘ ที่โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพ ได้ปีเศษ เกิดเหตุการณ์ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ถูกย้ายมาอยู่ชานเมืองนนทบุรี โรงเรียนเล็กๆในขณะนั้น คือโรงเรียนรัตนาธิเบศร นนทบุรี ทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนรัตนาธิเบศรจนกระทั่งพุทธศักราช ๒๕๓๕ ขณะทำงานได้ศึกษาด้วยตนเองที่หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุเกือบทุกวัน ในระหว่างนั้นได้ศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชเป็นรุ่นแรก๓ปีจบได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิตอย่างภาคภูมิใจ
          ได้ตั้งใจไว้ว่าเมื่อมีประสบการณ์ พอสมควรแล้วจะกลับมาพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง เมื่อถึงเวลาจึงขอย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๒ ระดับ ๖ ที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่ ทำงานด้านภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมอย่างจริงจังและเต็มความสามารถ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ ของผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร
          ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ทำงานได้รับผลดีมากมาย จึงได้รับคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ณ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
          ได้เลื่อนระดับเป็นอาจารย์ ๓ ระดับ ๘ ในปีการศึกษา ๒๕๔๓ และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ในวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ และได้รับเกียรติคุณอย่างมากมายในที่สุดหลังจากการทำงานอย่างหนัก
        หลังเกษียณอายุราชการ อาจารย์สันติ อภัยราช  ยังเป็นวิทยากร อีกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อบรมคุณธรรมวัดหนองปลิง  โรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง เทศบาล   องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยงานราชการเกือบทุกแห่ง และทำหน้าที่โค้ช ชมรมสตรองจิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดกำแพงเพชร และจัดรายการวิทยุ ณสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกำแพงเพชร วิทยากรสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร จนถึงปัจจุบัน และตั้งใจว่าจะทำงานให้ความรู้แก่ผู้สนใจ ตลอดไป จนไม่สามารถทำได้
        
48  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / สาวคนเก่งคนดี ในทุกหน นางฟ้าทันตกรรมของทุกคน ทำฟันจนงดงามด้วยจริงใจ ทุกทุกคนรักใ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2023, 10:23:29 am
สาวคนเก่งคนดี ในทุกหน
นางฟ้าทันตกรรมของทุกคน
ทำฟันจนงดงามด้วยจริงใจ
ทุกทุกคนรักใคร่ไมตรีจิต
เธอคือมิตรของทุกคนอย่างสดใส
สอนรุ่นน้องดูแลน้องไม่เลือกใคร
เกษียณไปใครเล่าจะดูแล


 ผ่อง สีม่วงนางฟ้าโอพีดี
เป็นศักดิ์ศรี รับผิดชอบตามกระแส
ทำสะอาดพื้นงามจับดวงแด
เอกสารตามดูแลทุกผู้คน
ประสานงานอย่างรวดเร็วเป็นที่รัก
หมอ พยาบาล ประจักษ์ทุกแห่งหน
คนดีสีดอกปีปรางวัลตน
คนทุกคนรักเธอเสมอไป


 นางฟ้าชุดขาวที่พราวพักตร์
อรอนงค์จงรักองค์กรได้
หัวหน้าใหญ่พยาบาลสำราญใจ
มีวินัยเสน่ห์นักภักดิ์แต่เธอ
ดอกเตอร์ อรอนงค์.กลางนภา
มีศรัทธาดีงามสม่ำเสมอ
จิตใจดี อารมณ์ดีใครพบเจอ
ต้องรักเธอแนบสนิทใน     จิตใจ
มนุษยสัมพันธ์กลั่นจากจิต
มีชีวิตเพื่อทุกคนไม่สงสัย
ประสานงานยอดเยี่ยมด้วยฤทัย
อร คือดวงใจของทุกคน
เสียดายเธอไม่ได้มาในงานนี้
เพราะรับหน้าที่ยิ่งใหญ่ในทุกหน
ฝากดวงจิตคิดถึงเธอละเมอดล
อร จงล้นแต่สิ่งดีที่งดงาม

ขออำนวยอวยพรให้สี่สาว
นางฟ้าชุดขาวไร้ขวากหนาม
ประสบสุขหลังเกษียณทุกโมงยาม
สู่สนามประชาชนคนสำคัญ
จงเกษมสุขสันต์แสนหรรษา
มีเวลาดูแลตนอย่างสร้างสรรค์
อร ผ่อง จู๋จี๋ จัน สุขนิรันดร์
มาสร้างสรรค์สังคมใหม่ วิไลเอย
49  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / สานรัก สานฝัน สานสัมพันธ์ มุทิตาจิต ปี ๖๖ ชมรมลูกหลวงพ่ออู่ทอง โรงพยาบาลกำแพงเพช เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2023, 10:14:57 am
สานรัก สานฝัน สานสัมพันธ์ มุทิตาจิต ปี ๖๖ ชมรมลูกหลวงพ่ออู่ทอง โรงพยาบาลกำแพงเพชร ๒ ถึง ๕ มิถุนายน ๒๕๖๖

ถึงเวลาเกษียณ เพียรรับใช้
ดัวยหัวใจดูแลร่วม
รังสรรค์
นางฟ้าชุดขาวพราวอนันต์
ทุกคีนวัน อุทิศตน คนพ้นภัย
หลายสิบปี ดูแล ชุบชึวิต
มีดวงจิตเพื่อสังคม อย่างสดใส
เป็นนางฟ้างดงามทั้งกายใจ
ดวงฤทัยเพื่อมวลชน คือคนดี
ชมรมลูกหลวงพ่ออู่ทอง ไม่หมองหมาง
สร้างหนทางสร้างรัก สมศักดิ์ศรี
ทุกท่านคือนางฟ้า ในปฐพี
มีชีวีอุทิศให้ ใจนิยม
โรงพยาบาลกำแพงเพชร ก่อเกร็ดแก้ว
คึอเพชรแพรว แสนงาม อย่างสวยสม
ทุกท่านคือสี่นางฟ้า น่าชื่นชม
ร่วมนิยมยินดีวิถีนาง

 ๑ จันทนา ศรีสวรรค์ จันคนงาม
เลิศสนาม แอร์โรบิกไม่ขัดขวาง
เด่นดังดี มีอารมณ์ เยือกเย็นพลาง
รับผิดชอบทุกทุกอย่างการได้ยิน
เกษียณแล้วยังห่วงหา อาทรยิ่ง
ทุกทุกสิ่งสร้างด้วยเธอ เสมอศิลป์
จะคิดถึง คำนึงหา เป็นอาจิณ
ทุกชึวิน ต้องตระหนักด้วยรักเธอ
๒ สุรีรัตน์ วงศ์มูล.คือจู๋จี๋
50  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ....สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนแรกของจังหวัดกำแพงเพชร ภูมิเดิมนครปฐมทำคุณงามความดี ก เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2023, 06:03:43 am
....สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนแรกของจังหวัดกำแพงเพชร ภูมิเดิมนครปฐมทำคุณงามความดี กุศลสาธารณประโยชน์ ให้กับจังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ไว้ใจแก่ประชาราษฎร กลายเป็น ส.ส. คนแรกจังหวัดกำแพงเพชร ๒ วาระ มีประวัติโดยสังเขป ความว่า
....นายกำแพง (ฮั้ว) ตามไท  เกิดเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ จังหวัดนครปฐม อำเภอปฐมเจดีย์  ตำบลห้วยจรเข้ จบชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๔ อายุ ๘ ปี  เข้ารับราชการเป็นเสมียน กรมศุลกากร อายุ ๑๔ ปี มีภรรยา คือ นางมะลิ อัมพัฒน์ ช่วงอายุ ๑๗-๑๘  อุปสมบทอายุ ๒๑ ปี พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว เป็นศิษย์ยานุศิษย์พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว  อายุ ๓๑ ปี ได้รับตำแหน่งข้าราชพลเรือน ชั้น รองอำมาตย์ตรี   ในปี ๒๔๗๒ ลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพค่าไม้ที่จังหวัดกำแพงเพชรตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหน้าวัดบาง หลังโรงแรมชากังราว ทำความดีความชอบกับสังคมเสมอมา เป็นที่เคารพนับถือของคหบดีพ่อค้า ประชาชน ขณะมีอายุ ๓๗ ปี
- ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๖ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๑ ประเภทที่ ๑ จังหวัดกำแพงเพชร สิ้นสุดวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ยังได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒ ประเภทที่ ๑ จังหวัดกำแพงเพชร สิ้นสุดวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เพราะรัฐบาลพ่ายแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เกิดการยุบสภา
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ลงเลือกตั้งครั้งที่ ๓ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๓ ประเภทที่ ๑ จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ได้รับเลือก การ ผู้ที่ได้คือ นายบุญช่วย ชูทรัพย์ ส.ส.คนที่ ๒ จังหวัดกำแพงเพชร  หลักจากไม่ได้รับให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ารับราชการใน สำนักเลขานุการสำนักพระราชวัง ตำแหน่งหัวหน้าแผนก แผนกคลัง  ได้รับเลื่อนตำแหน่งมาโดยตลอด จนกระทั่ง ปี ๒๔๙๑ ออกจากราชการ หันมาเปิดบริษัท
ในวาระสุดท้าย วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๐๐ ก็ได้อำลาจากโลกนี้ไป ด้วยโรคเบาหวาน สิริอายุ ๖๑ ปี
....รูปภาพ นายกำแพง(ฮั้ว) ตามไท ได้มอบให้กับหลายคนๆ เป็นที่ระลึกจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับนายกำแพง (ฮั้ว) ตามไท  โดยเฉพาะคนพรานกระต่ายที่ยังมีรูปอยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน แถมในรูปยังเขียนว่ามอบให้กับใคร อาทิรูปหนึ่งที่มี คำอธิบายใต้รูป ว่า "... กราบเท้า หลวงพ่อท่านพระครูวินิจวชิรคุณ ที่เคารพอย่างสูง....๑๐ สิงหาคม ๘๐..." จาก facebook คุณ :  เต้ย เมืองพราน แสดงให้เห็นว่า นายกำแพง(ฮั้ว)ตามไท เป็นที่รู้จักของพระครูกัน หรืออาจจะเป็นที่คุ้นเคยก็ว่าได้  ที่สำคัญคงเป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดกำแพงเพชร ตลอดมา
51  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม วีรบุรุษแห่งเมืองคณฑี เมื่อ: มีนาคม 20, 2023, 04:50:38 pm
นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม
ศิษย์เก่าดีเดน รร.ปราสาทอนุสรณ์ ขึ้นเวที 29 ธค 65

ประวัติการศึกษา
- ป.1.-ป.4 ที่ วัดปราสาท
-ป.5. - ป.7 ที่ รร.วิสุทธิศึกษา
-มศ 1. มศ.3 ที่ รร.โชติรวี นว
-มศ. 4- มศ.5 ที่ รร.กำแพงเพชรพิทยาคม
ระดับ ป.ตรี ที่ม.ราชภัฏ กพ คณะวิทยาการการจัดการ.

ประวัติการทำงาน
-ธ.กรุงไทย จก  25 ปี 6 เดือน
-นายก อบต.คณฑี 3 สมัย
-ประธานสหกรณ์คณฑีพัฒนา จก. 3 สมัย
-คณะกรรมการ CEO จวกพ
-คณะกรรมการท่องเที่ยวจว.กพ
-เหรัญญิกสมาคมกีฬา จว.กพ 3 สมัย
- ที่ปรึกษาที่ดินจว.กพ 2 สมัย
-คณะกรรมการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่
-อนุกรรมการพัฒนา ม.ราชภัฏ กพ.
-ที่ปรึกษาคณะวิทยาการ
 การจัดการ ม.ราชภัฏ กพ.
-เป็นวิทยาอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ใน รร.ตำรวจตะเวนชายแดน
-เป็นวิทยากรโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร
-อนุกรรมการพิจารณาเงินกู้สหกรณ์ จว.กพ
-คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิต
-ประธานชมรมชากังราวออฟโรด

รางวัลที่ได้รับ
-ผู้นำท้องถิ่นดีเด่น
-รางวัล เพชรของแผ่นดิน
-๑ รางวัลล้านความดี เทิดไท้องค์ราชันย์
-ตามรอยพระราชปณิธาน สร้างสรรค์งานเพื่อแผ่นดิน
-ศิษย์เก่า ม.ราชภัฏดีเดิน
-บุคคลดีเด่นแห่งปี สาขาการปกครองท้องถิ่น
52  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วีรบุรุษ แห่ง เมืองคณฑี คุณอดุลย์ โพธิ์อ่วม เมื่อ: มีนาคม 20, 2023, 04:47:51 pm
นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม
ศิษย์เก่าดีเดน รร.ปราสาทอนุสรณ์ ขึ้นเวที 29 ธค 65

ประวัติการศึกษา
- ป.1.-ป.4 ที่ วัดปราสาท
-ป.5. - ป.7 ที่ รร.วิสุทธิศึกษา
-มศ 1. มศ.3 ที่ รร.โชติรวี นว
-มศ. 4- มศ.5 ที่ รร.กำแพงเพชรพิทยาคม
ระดับ ป.ตรี ที่ม.ราชภัฏ กพ คณะวิทยาการการจัดการ.

ประวัติการทำงาน
-ธ.กรุงไทย จก  25 ปี 6 เดือน
-นายก อบต.คณฑี 3 สมัย
-ประธานสหกรณ์คณฑีพัฒนา จก. 3 สมัย
-คณะกรรมการ CEO จวกพ
-คณะกรรมการท่องเที่ยวจว.กพ
-เหรัญญิกสมาคมกีฬา จว.กพ 3 สมัย
- ที่ปรึกษาที่ดินจว.กพ 2 สมัย
-คณะกรรมการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่
-อนุกรรมการพัฒนา ม.ราชภัฏ กพ.
-ที่ปรึกษาคณะวิทยาการ
 การจัดการ ม.ราชภัฏ กพ.
-เป็นวิทยาอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ใน รร.ตำรวจตะเวนชายแดน
-เป็นวิทยากรโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร
-อนุกรรมการพิจารณาเงินกู้สหกรณ์ จว.กพ
-คณะกรรมการพิจารณาเงินกู้โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิต
-ประธานชมรมชากังราวออฟโรด

รางวัลที่ได้รับ
-ผู้นำท้องถิ่นดีเด่น
-รางวัล เพชรของแผ่นดิน
-๑ รางวัลล้านความดี เทิดไท้องค์ราชันย์
-ตามรอยพระราชปณิธาน สร้างสรรค์งานเพื่อแผ่นดิน
-ศิษย์เก่า ม.ราชภัฏดีเดิน
-บุคคลดีเด่นแห่งปี สาขาการปกครองท้องถิ่น
53  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วีรบุรุษ แห่ง เมืองคณฑี คุณอดุลย์ โพธิ์อ่วม เมื่อ: มีนาคม 18, 2023, 04:53:44 pm
วีรบุรุษ แห่ง เมืองคณฑี  คุณอดุลย์ โพธิ์อ่วม
54  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / รำโคมประทีป งามเอยงามประทีป ระยิบยับ ส่องสว่างแสงประดับ เจดีย์ใหญ่ พระบรมธาตุ ศู เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2023, 12:44:00 pm
รำโคมประทีป
งามเอยงามประทีป ระยิบยับ
ส่องสว่างแสงประดับ เจดีย์ใหญ่
พระบรมธาตุ ศูนย์รวมแห่งจิตใจ
งามวิไลนางรำ นำศรัทธา

หลักฐานเก่าที่สุดคือหลักฐาน จาก ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สมัยสุโขทัย กล่าวถึงประทีปโคมไฟ ในการนำทางเสด็จ ของพระร่วงเจ้า ที่บรรดาสาวงาม ถือ  ประทึปโคมไฟ เพื่อส่องสว่างทางแห่งธรรม นำมรรคา บูชาพระ
บรมธาตุ
สันนิษฐานว่า ในระหว่างขบวนเสด็จหยุด เมื่อถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นางผู้ถือประทีปโคมไฟ จะร่ายรำ
ถวาย พระบรมสารีริกธาตุ แสงไฟจากโคมประทีป จะส่องสว่างงดงามตามท่วงท่ารำ    การรำโคมประทีป นิยมรำในเวลากลางคืน ..ช่วงย่ำสนธยา เป็นต้นไปงดงามราวกับการเคลื่อนคล้อยของดวงดาวประดับนภา เป็นที่เพลินตาและเพลินใจต่อพระร่วงเจ้าและชาวประชาที่ถวายสักการะ พระบรมสารีรืกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ตราบนิรันดร์สมัยกระทั่ง ในกาลปัจจุบัน
รำลึกองค์ พุทธะ ผู้ยิ่งใหญ่
กว่าโพธิ์ไทร ศรัทธา มหาศาล
รำประทีป โคมไฟ อยู่เหนือกาล
ขอสว่างทุกวันวาร ในใจเทอญ
55  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / เพลง พิษฐาน บันทึกเพลงพื้นบ้านที่จะกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ คือ บันทึกเรื่อง รำพ เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:05:33 am
เพลง พิษฐาน
บันทึกเพลงพื้นบ้านที่จะกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ คือ บันทึกเรื่อง รำพิษฐาน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า การเก็บดอกไม้เข้าโบสถ์                                                                                                         
   ลุงเหรียญเล่าว่าในช่วงของวันตรุษสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านของตำบลวังแขม จะพากันไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดวังแขม หรือวัดจันทารามในปัจจุบันครั้นพอทำบุญเสร็จแล้ว บรรดาหนุ่มๆสาวๆ ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้สวยที่ปลูกอยู่ตามบ้าน แล้วนำมาบรรจงเรียงใส่พานให้สวยงาม                                           เมื่อนำดอกไม้ใส่พานได้อย่างสวยงามแล้ว ก็พากันนำมาถวายพระประธานในโบสถ์คือหลวงพ่อศรีมงคล          ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์เก่า  ซึ่งสร้างกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า “พิษฐาน” ในโบสถ์กัน                     การนำดอกไม้มาพิษฐานในโบสถ์ หญิงและชายจะนั่งคนละข้างกัน แล้วต่างคนต่างนำพานดอกไม้ กราบพระกันตามประเพณี เมื่อเสร็จจากกราบหลวงพ่อศรีมงคลแล้ว ฝ่ายชายจะหันมาทางฝ่ายหญิง แล้วเริ่มร้องเพลงเกี้ยวสาวที่นั่งในโบสถ์ ในทำนองเพลงพิษฐาน บทร้องจะร้อง เป็นการโต้ตอบกับระหว่างชายหญิง ฝ่ายหญิงจะร้องก่อนว่า
“ ตั้งใจหมายจิตยอดพิษฐานเอย  สองมือถือพานทองเอาดอกพุด  เกิดมาชาติหน้าแสนใดก็ขอให้ได้บริสุทธิ์  พิษฐานบรรเลงขอให้เกรงอย่างพิษฐานเอย”                                                                                                    ฝ่ายชายจะร้องต่อ โดยจะเปลี่ยนกลอนตรงท้ายบทตรงชื่อดอกไม้ให้ลงกับชื่อฝ่ายหญิงที่ตนเองร้องแซวว่า    “ตั้งใจหมายจิตยอดเจ้าพิษฐานเอย  สองมือถือพานเอาดอกกระดังงา   เกิดชาติหน้าแสดใดก็ขอให้ได้กับแม่วรรณา  พิษฐานบรรเลงขอให้เกรงอย่างพิษบานเอย”                                                                               เมื่อฝ่ายชายร้องจบ ฝ่ายหญิงก็จะโต้ตอบว่า “ตั้งใจหมายจิตเจ้าพิษฐานเอย  สองมือถือพานเอาดอกกระดังงาให้พี่ทำบุญเสียให้เกือบตาย  ก็ยังไม่ได้กับแม่วรรณา  พิษฐานบรรเลงขออย่าให้เกรงพิษฐานเอย”  ทั้งพ่อเพลงและแม่เพลง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะร้องโต้ตอบกันเป็นลักษณะของกลอนสดเป็นการใช้ปฏิภาณไหวพริบมาร้องซึ่งกันและกัน  แต่จะลงท้ายบทกลอนด้วยคำว่า “เอย” เสมอ หลังจากร้องโต้ตองเพลงพิษฐานในโบสถ์แล้วก็พากันกราบพระ และออกมาร้องรำทำเพลงกันต่อที่หน้าโบสถ์ เป็นเพลงโต้ตอบกันในลักษณะแนะนำหมู่บ้าน โดยร้องเป็นเพลงคล้ายเพลงพวกมาลัยจนเวลาใกล้เที่ยง                                  เมื่อถึงเวลาเที่ยง ฝ่ายหญิงก็จะชวนฝ่ายชายไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่บ้านเพื่อแสดงออกถึงความสนิทสนมและคุ้นเคยกันในกลุ่ม                                                                                                                  ครั้นตะวันเริ่มบ่าย  พระอาทิตย์อ่อนแสงลง ก็จะพากันไปเล่นรำวงที่ริมหาดทรายหน้าวัด โดยร้องเป็นเพลงรำวงง่ายๆเช่น “จำปีลอยมา  จำปาลอยวน  จะรำก็รำ  อย่ามาทำเดินวน” แล้วก็ร้องเพลงอื่นๆเป็นเพลงรำวงตามถนัด นอกจากการเล่นรำวงกันริมท่า บางพวกก็จะมีกิจกรรมอื่นๆเช่นการเล่นลูกโยน และขนทรายเข้าวัดไปร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายในวัดซึ่งเป็นรูปเจดีย์ใหญ่องค์เดียวที่ทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันก่อขึ้นมาปรากฏเห็นเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ อยู่ในวัดจันทารามมาตราบเท่าทุกวันนี้


56  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติหลวงพ่อทวีปวัดจันทาราม พระสิทธิธรรมเวที นามเดิม ทวีป นามสกุล สมพงษ์ เป็ เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:03:20 am
ประวัติหลวงพ่อทวีปวัดจันทาราม

พระสิทธิธรรมเวที นามเดิม ทวีป  นามสกุล สมพงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง ๔คน                         ของคุณพ่อเฟื่อง คุณแม่บุญเกิด สมพงษ์  เกิดเมื่อวันที่อังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ หมู่ที่ ๕ ต. แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
บรรพาชา
เมื่อวันที่  ๒๖ กรกฎาคม  ๒๔๙๓  ณ  วัดโมลี ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ. นนทบุรี                                   โดยมี พระราชปรีชามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์                                                                                                                          อุปสมบท
เมื่อวันที่  ๔ พฤษภาคม  ๒๔๙๗ ณ วัดโมลี ต.บางรัก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี โดยมี พระราชปรีชามุนีเป็นพระอุปัชฌาย์  พระปรีชานนทโมลีเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระมหาเยื้อน สิรินฺโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์                วิทยฐานะ
พ.ศ.  ๒๔๘๙   สำเร็จชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านท่ามะขาม ต.แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
พ.ศ.   ๒๔๙๗     สอบได้ น.ธ. เอก  สำนักเรียนวัดโมลี  จ.นนทบุรี
พ.ศ.    ๒๕๐๒    สอบได้  ป.ธ.  ๕   สำนักเรียนวัดโมลี  จ. นนทบุรี
การศึกษาพิเศษสอบได้ วิชาพิเศษมูล (พ)                                                                                                                    งานปกครอง
พ.ศ.   ๒๕๐๘   เป็นเจ้าอาวาสวัดจันทาราม
พ.ศ.    ๒๕๑๑    เป็นเจ้าคณะตำบลวังแขม – วังยาง
พ.ศ.    ๒๕๑๒   เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.     ๒๕๑๙   เป็นเจ้าคณะอำเภอคลองขลุง
พ.ศ.      ๒๕๓๖  เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร

งานศึกษา
พ.ศ.    ๒๕๐๑     เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดโมลี
พ.ศ.     ๒๕๐๘    เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศาสนศึกษาวัดจันทาราม
พ.ศ.     ๒๕๑๕    เป็นครูใหญ่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่   วัดจันทาราม
พ.ศ.      ๒๕๑๙  - ๒๕๓๙  เป็นประธานในการสอบธรรมสนามหลวงประจำ  อ.คลองขลุง กิ่ง อ.ทรายทองวัฒนา และกิ่ง อ.ปางศิลาทอง
งายเผยแพร่
พ.ศ.    ๒๕๑๒   เป็นพระธรรมทูตสายที่  ๓  ประจำอำเภอคลองขลุง
พ.ศ.     ๒๕๑๒  เป็นวิทยากรประจำโรงเรียนมิตรอารี  โรงเรียนบ้านท่ามะขาม โรงเรียนบ้านวังแขม  โรงเรียนวังแขมวิทยาคม 
งานสาธารณูปการ
พ.ศ.  ๒๕๐๗  ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์  วัดจันทารามใหม่เกือบทั้งหมด ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้
สมณศักดิ์
พ.ศ.    ๒๕๑๖    เป็นพระครูสัญญาบัตร  ที่พระครูโสภณพัชรญาณ เจ้าคณะตำบลชั้นโท
พ.ศ.   ๒๕๒๐      ได้เลื่อนสมณศักดิ์   เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นโท
พ.ศ.    ๒๕๒๔      ได้เลื่อนสมณศักดิ์  เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ.    ๒๕๓๙       ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เปรียญที่ พระสิทธิธรรมเวที เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกครองราช ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



57  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติหลวงพ่อศรีมงคล และประวัติ รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดจันทาราม ตำบลวังแขม อำ เมื่อ: กันยายน 04, 2022, 10:00:13 am
ประวัติหลวงพ่อศรีมงคล  และประวัติ รอยพระพุทธบาทจำลอง
วัดจันทาราม  ตำบลวังแขม  อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
      
      ตามที่ นายร่อน  มีชัย  อายุ 81  ปี ได้ เล่า  ว่า วิหารที่หลวงพ่อศรีมงคล ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ว่าจะเป็นชาวพม่า เป็นผู้สร้าง ขึ้นนั้นเพราะว่าวิหารหลวงพ่อศรีมงคลได้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  และเป็นทิศที่ประเทศของพม่าไม่ทราบว่าในปีใดและพ.ศ.ใด   ได้แต่ทราบว่าเป็นวิหารที่เก่าแก่มาก ตามที่คนเก่าแก่เล่ามา  เป็นเวลานับ มาหลายร้อยปี
      ส่วนรอยพระพุทธบาท จำลองที่เป็นเนื้อโลหะ ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อศรีมงคลก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครทราบที่แน่ชัดว่าได้มาอย่างไร และตั้งแต่เมื่อปีใด และ พ.ศ.ใด เช่นกัน ก็ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ เช่น ลุงร่อน    มีชัยและลุงเหรียญ   นาคนาม  ที่เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงกับวัด มาโดยตลอดได้   สอบถามแล้วได้รับคำตอบว่าตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน อยู่โรงเรียนวัดก็ได้เห็นรอยพระพุทธบาทมีอยู่ในวิหารหลวงพ่อศรีมงคลแล้ว  ต่อจากนั้นลุงเหรียญยังบอกอีกว่ามีตัวอักษรอยู่ที่ใบสีมาวิหารหลวงพ่อศรีมงคล  และเป็นตัวเลข ว่า   ร.ศ.120   ไม่ทราบว่า จะตรงกับ พ.ศ.ใด  และหมายความว่าอะไร ตามที่สอบถามคนเก่าๆ  แล้วก็ได้ข้อมูลมา  เพียงเท่านี้เอง  ก่อนนั้น เมื่อทางวัดมีงานเทศกาล ใดๆ เช่นงานประจำปีปิดทองไหว้พระ ก็จะยกรอยพระพุทธบาทจำลองออกมาให้ชาวบ้านได้ปิดทองรอยพระพุทธบาทกันเป็นประจำ  ต่อมาทางคณะกรรมการวัด ก็จะนำออกมาให้ชาวบ้านได้ปิดทองกันในวันงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้  แต่ในตอนนี้ฝาที่สำหรับปิด-เปิดไว้ใส่ปัจจัย  ได้ถูกพวกมิจฉาชีพลักไปเสียแล้ว   ทางวัดก็ไม่ทราบว่าถูกลักไปตั้งแต่เมื่อไรเช่นกัน    สำหรับในตอนนี้พระที่วัดได้ช่วยกันเอาไปเก็บไว้ที่อุโบสถหลังใหม่แล้ว  เพื่อป้องกันพวกมิจฉาชีพและเพื่อความปลอดภัย

นายฟุ้ง     ปานสุด
กำนันตำบลวังแขม
ผู้ให้ข้อมูล เพิ่มเติม

58  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / รู้ทัน และป้องกัน การทุจริต ประพฤติมิชอบ ในวงราชการ (ฉบับย่อ) ๑, การติดสินบน ในป เมื่อ: สิงหาคม 15, 2022, 04:12:41 pm
รู้ทัน และป้องกัน การทุจริต ประพฤติมิชอบ ในวงราชการ (ฉบับย่อ)
๑, การติดสินบน ในประวัติศาสตร์
   ๑.๑ พระยาจักรี รับสินบนเป็นไส้ศึก ให้อยุธยา
   ๑.๒ นายแสนตำนาน บ่อสามแสน กำแพงเพชร
        ๑.๓ พระยากำแพง ถูกฟ้อง เรื่องการทุจริต ต่อหน้าที่
๒. การทุจริต ประพฤติมิชอบ เดิมเรียกว่า ฉ้อราษฎร์ บังหลวง
๓. การพัฒนาการทุจริต และประพฤติมิชอบ
   ๓.๑ การรับสินบน การให้สินบท
        ๓.๒ การรวมมือกัน ทุจริต ระหว่างข้าราชการ พ่อค้า ผู้รับเหมา ประชาชน
       ๓.๓  การทุจริต เชิงนโยบาย ร้ายแรงมาก
๔. รูปแบบการทุจริต
   ๔.๑ ทุจริตสีดำ    คน รับไม่ได้
       ๔.๒   ทุจริตสีเทา   รับได้บางคน
       ๔.๓   ทุจริตสีขาว   การใช้อภิสิทธิ์
๕. เราเคยชินกับการทุจริต หรือ
        ๕.๑ ส่วนใหญ่เคยรับว่าเยเกี่ยวข้อง
        ๕.๒  ร้อยละ ๙๐ ยอมรับว่าเคยลัดคิว
         ๕.๓ ร้อยละ ๘๐ เคยรับสินบน
            ๕.๔ ร้อยละ๘๑ ยอมรับว่า เคยใช้ของหลวง ในเรื่องส่วนตัว
             ๕.๕ ร้อยละ ๘๐ ยอมรับว่า เคยรับทรัพย์สิน ในหน้าที่
              ๕.๖ ร้อยละ ๙๓ ยอมรับว่า เคยลอกการบ้าน
              ๕.๗ ร้อยละ ๖๐ ยอมรับว่า เคยทำผิดกฎจราจร
              ๕.๘ ร้อยละ ๓๔ ยอมรับว่าเคยถูกรีดไถ จากข้าราชการ
              ๕.๙ ร้อยละ ๒๔ ยอมรับว่า ว่าเคยรับเงิน นักการเมือง เลือกตั้ง
     ๕.๑๐ ร้อยละ ๒๐ ยอมรับว่า เคยให้สิทธิ์พืเศษ  แก่พี่น้อง
๖. ทำมไมคนต้องคอร์รัปชั่น
     ๖.๑ ต้องการสำเร็จสูงสุด ในชีวิต
     ๖.๒ ต้องการการยกย่องและยอมรับ
     ๖.๓ ต้องการเป็นเจ้าของ
     ๖.๔ ต้องการ ปลอดภัย และมั่นคง
๗. ทำไมสามารถทุจริต ได้
    ๗.๑ ไม่พอเพียง ไม่ซื่อสัตย์
    ๗.๒  มีโอกาส
   ๗.๓ มีปัญหาการเงิน
๘. สาเหตุที่ทุจริต
    ๘.๑ มีความโลภ 
๘.๒ มีโอกาส 
๘.๓ ขาดจริยธรรม
๘.๔ รู้ว่าเสี่ยง แต่คุ้ม
๙. รูปแบบคอร์รัปชั้น
   ๙.๑ เรียกเงินใต้โต๊ะ
        ๙.๒ ค่าตอมมิชชั่น
   ๙.๓ สินบน ผูกขาดโครงการ
   ๙.๔ การเล่นพวก
   ๙.๕ การใช้อำนาจช่วยพี่น้อง
๑๐.  การแก้ไขการทุจริต
   ๑๐.๑ เริ่มจากตัวเอง
   ๑๐.๒ ปลุกใจ คนรุ่นใหม่
   ๑๐.๓ ปลูกฝังความถูกต้อง
         ๑๐.๔ จัดตั้งชมรมสตรอง จิตพอเพียง ต้านทุจริต ทั้งประเทศ
๑๑. ทำตัวเป็นแบบอย่าง
   ๑๑.๑ ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม
   ๑๑.๒ ไม่ทนต่อการทุจริต
   ๑๑.๓ เป็นแบบอย่าง
๑๒ ปราบปราม เป็นหน้าที่ ของ ป.ป.ช.

           
   


59  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / === โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 08:01:04 am
=== โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ===

วันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การนำของรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปิน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
ในการนี้ นางสาวนุชรินทร์ภัทร์ ธีระบุญยะ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมด้วย นางสาวพชรพรรณ ชุ่มเปี่ยม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และนางสาวกนกวรรณ สมบุญโสด นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เข้าร่วมโครงการ โดยนายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง “รางวัลศรีสุวรรณภิงคาร” สาขาวรรณศิลป์ พร้อมทั้งประสานชุมชนคุณธรรมบ้านวังพระธาตุร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไตรตรึงษ์ นำการแสดง “ระบำ ก.ไก่” ไปแสดงในงานดังกล่าวด้วย ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร

ขอเชิญกดถูกใจและกดติดตามแฟนเพจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรได้ที่
https://www.facebook.com/KPPProvincialCulturalOffice
60  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / === โครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 07:58:40 am
=== โครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ===

วันเสาร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) การบรรยายพิเศษข้อมูลพื้นฐานระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทำงานฯ และการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเพื่อรับฟังความคิดเห็น จำนวน ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง และกลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน
ในการนี้ นางสาวนุชรินทร์ภัทร์ ธีระบุญยะ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้ นางสาวปฐมาภรณ์ จริยวิทยานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ เข้าร่วมโครงการ พร้อมกันนี้ ผู้จัดโครงการได้เชิญนายสันติ อภัยราช ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา และนางชนิกา ศรีวรรธนศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมระดมความคิดในแต่ละกลุ่มด้วย ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
#สาสน์ศิลป์วัฒนธรรมกำแพงเพชร

ขอเชิญกดถูกใจและกดติดตามแฟนเพจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรได้ที่
https://www.facebook.com/KPPProvincialCulturalOffice
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!