จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 25, 2024, 10:30:59 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 95
16  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:59:45 pm
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 
เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัด เนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงน้า ซึ่งเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือให้กับนายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียน
วัดท่าหมัน ก็ยังคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
(ม.1) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่
 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้เข้ารับราชการครู ในตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมูล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัดในปีพุทธศักราช 2497
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้สมรสกับนางสาวประเทือง ชาญเชี่ยว ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการครูเช่นเดียวกัน และมีบุตรด้วยกัน 5 คน หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนวัดราษฎร์เจริญพร และดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยาคมและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ จังหวัดกำแพงเพชร นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้ใช้ช่วงเวลาของชีวิตในวัยทำงานเดินทางสำรวจค้นคว้าทำความเข้าใจเรื่องราวของเมืองกำแพงเพชร และเมืองนครชุม ซึ่งเป็นบ้านเกิดอย่างต่อเนื่อง จนเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรอย่างแตกฉาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยต่อการศึกษาในระบบ โดยสมัครเข้า ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2515
ดังนั้น นายประเสริฐจึงเป็นบุคคลในกลุ่มแรก ๆ ที่ทำการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่เรื่องราวของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม โบราณคดี โดยเฉพาะเรื่องราวของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรและวัดต่างๆ ในประวัติศาสตร์ นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เกษียณอายุราชการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปีพุทธศักราช 2530 และเคยได้รับเกียรติปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร และได้รับเชิญจาก สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระดับท้องถิ่น เขียนสารานุกรมวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
จากประวัติและผลงานดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้อาจารย์ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขามนุษยศาสตร์
17  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นายชัชวาลย์ ธรรมสอน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:58:33 pm
นายชัชวาลย์  ธรรมสอน
นายชัชวาลย์ ธรรมสอน เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ที่ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีพี่น้องร่วมกัน ๖ คน เป็นบุตรคนโตของนายสุนทร และนางบุญธันว์ ธรรมสอน
ในวัยเด็กได้เข้าเรียน โรงเรียนอนุกูลศึกษา โรงเรียนวัดบาง และโรงเรียนบ้านท่าไม้ และเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” และได้ไปศึกษาที่จังหวัดตาก โดยเข้าโรงเรียนตากพิทยาคมจนจบ ม.ศ.๓ และเข้ามาศึกษาต่อที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร วิทยาลัยเทคนิคตาก วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ
 จนจบปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๗ และจบการศึกษาระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (อุตสาหกรรมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๙
ชีวิตสมรสและครอบครัว นายชัชวาล ธรรมสอน สมรสกับนางธารทิพย์ ธรรมสอน มีบุตรธิดา รวม ๓ คน
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นายชัชวาล ธรรมสอน ได้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
นายชัชวาลย์ ธรรมสอน มีประสบการณ์ด้านการบริหารภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในปีพ.ศ. พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๖ ได้รับดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายศึกษาค้นคว้าและวิจัยวัฒนธรรมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในปีพ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖ ได้รับดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน(๒๕๕๒) ได้รับดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๒ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
18  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นายบิน รักษ์ชน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:57:56 pm
นายบิน รักษ์ชน
 นายบิน รักษ์ชน เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2456 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชรเป็นบุตรของนายติ นางจอก รักษ์ชน และมีพี่น้องร่วมกัน ๔ คน โดยนายบินเป็นบุตรคนสุดท้อง
 นายบิน รักษ์ชน ได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ต่อมาสอบไล่ได้ประโยคครูมูล โรงเรียนฝึกหัดครูมูลจังหวัดพิษณุโลก และสอบได้วาดเขียนโท
 นายบินเข้าทำงานในตำแหน่งครู ที่โรงเรียนเทศบาล 1 วัดบาง เมื่อปี พ.ศ. 2478 และเป็นครูสอนวิชาวาดเขียน โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย" และโรงเรียนสตรีกำแพงเพชร“นารีวิทยา”
เมื่อปี พ.ศ. 2๔79 "  หลังจากนั้นนายบิน ได้เป็นครูอีกหลายโรงเรียน อาทิ โรงเรียนบ้านวังยาง โรงเรียนบ้าน
ขโมงหัก และเป็นครูใหญ่ โรงเรียนบ้านมะเดื่อชุมพร โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ โรงเรียนวัดปราสาท (บ้านโคนใต้) และโรงเรียนเทศบาลวัดบาง ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้ย้ายกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” และในปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ย้ายมาเป็นครูโรงเรียนวัดคูยาง จนเกษียณอายุราขการ
นายบิน รักษ์ชน ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็น "ปราชญ์ชาวบ้านเมืองกำแพงเพชร" ในโครงการสื่อวัฒนธรรมสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากสำนักศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อปี
พ.ศ. 2531
19  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / นางเสนอ สิทธิ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 03:56:58 pm
นางเสนอ สิทธิ
 นางเสนอ สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ที่หมู่บ้านวังพระธาตุ ตำบลเกาะขี้เหล็ก (ปัจจุบันเป็นตำบลไตรตรึงษ์ หมู่ที่ ๔ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) เป็นบุตรนายแดง นางโปรด ใยยวง เป็นบุตรสาวคนโต และมีพี่น้องร่วมกัน ๕ คน
นางเสนอ ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวัดเกาะขี้เหล็ก (วัดท้ายเกาะ ในปัจจุบันชื่อวัดศรีปุณณาวาส) ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกในตำบลนี้ นางเสนอเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (ป.๔) มีอาชีพตักน้ำมันยาง ทำไต้
ค้าน้ำมันยาง ค้าไต้ และทำนา ต่อจากนั้นได้มาเป็นครูสอนคนชรา ในสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งในสมัยนั้นมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป ได้เรียนหนังสือและเลิก
กินหมาก พออายุได้ ๒๕ ปี ได้แต่งงานกับนายจินดา สิทธิ
จนมีบุตรด้วยกัน ๖ คน โดยมีนางสาวสุขศรี สิทธิ บุตรสาวคนโตเป็นผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน
นางเสนอ เป็นบุคคลที่ประพฤติตนตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ยึดถือประเพณีต่าง ๆ ตลอดมา นอกจากนี้นางเสนอ ยังเป็นผู้สืบทอด และถ่ายทอดประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จนเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ทั้งในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง เป็นที่รวมน้ำใจของชาวบ้านคอยอบรมสั่งสอนตักเตือนทุกคนให้เป็นคนดี มีความรักความสามัคคี และชี้ให้เห็นความสำคัญในการดำรงชีวิต ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน และได้รวมกลุ่มผู้อนุรักษ์ ประเพณีและวัฒนธรรม
พื้นบ้านทั้งบทเพลง ระบำ ก.ไก่ เพลงคล้องช้าง เพลงกล่อมเด็ก การละเล่น และบทร้องเล่นต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วไป และได้รับเชิญเป็นวิทยากร ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ
นางเสนอสิทธิ เคยได้รับรางวัล โล่เกียรติยศแม่ดีเด่น “แม่ดีศรีเมืองกำแพง” ในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (ในระดับหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด) โล่เกียรติยศบุคคลดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อปีพ.ศ. 2552 และเป็นผู้นำในการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองไตรตรึงษ์
20  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการ อบจ. เมื่อ: มกราคม 26, 2024, 06:26:20 pm
กำหนดการ
โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวคนกำแพงเที่ยวเมืองกำแพง
โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
--------------------------------------------

วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2567    ณ ลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   
         หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
17.30 - 18.30 น.            การแสดงพื้นถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร
18.30 - 19.00 น   พิธีเปิดโครงการ โดย นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
๑๙.๐๐ – ๒๐.0๐ น.           กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “วัฒนธรรมอาหารกับวิถีชุมชนเมืองกำแพงเพชร” โดย
1. นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
2. นางอัจฉรา แสงจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิรางวัลวัฒนคุณาธร โดยกระทรวงวัฒนธรรม
     3. นายกฤษณะพงศ์ บุญสำราญ ผู้ดำเนินรายการ
๒๐.0๐ – ๒1.๐๐ น.           การแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภาค
21.00 น.           ปิดโครงการ
วันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567    ณ ตลาดย้อนยุคนครชุม
17.30 - 18.30 น.            การแสดงพื้นถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร
18.30 - 19.00 น        พิธีเปิดโครงการ โดย นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
๑๙.๐๐ – ๒๐.0๐ น.           กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “วัฒนธรรมอาหารกับวิถีชุมชนเมืองกำแพงเพชร” โดย
      1. นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
     2. นางอัจฉรา แสงจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิรางวัลวัฒนคุณาธร โดยกระทรวงวัฒนธรรม
     3. นายกฤษณะพงศ์ บุญสำราญ ผู้ดำเนินรายการ
๒๐.0๐ – ๒1.๐๐ น.           การแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภ
าค
21.00 น.           ปิดโครงการ


หมายเหตุ การแต่งกายชุดผ้าไทยพื้นเมือง



21  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ผู้ทรงคุณวุฒิผังเมืองกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 13, 2023, 08:48:26 am
ผังเมือง
22  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กรรมการคัดเลือกเพลงประจำจังหวัด เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 07:01:13 pm
คณะกรรมการ
23  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / บรรณาธิการหนังสือประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:56:44 pm
คณะบรรณาธิการ
24  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วืทยากรป.ป.ช. เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:16:02 pm
วิทยากร.ป.ป.ช.
25  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วิทยากร วธ. เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 06:11:14 pm
วิทยากร.สองวัน
26  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ตำบลวังบัวแต่เดิมเป็นเขตการปกครองของตำบล ท่าพุทรา อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร ต่อมา เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2023, 09:52:57 pm
ตำบลวังบัวแต่เดิมเป็นเขตการปกครองของตำบล ท่าพุทรา อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้แยกการปกครอง ออกมาโดยตั้งชื่อตำบลใหม่ชื่อว่า ตำบลวังบัว ที่มีหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน ที่มาของชื่อตำบลนั้น มีชื่อคล้องกับบ้านวังบัวที่เป็นคลองเก่าและมีบัว ขึ้นมาก ดอกบัวเกิดขึ้นมาในริมคลอง ซึ่งเรียกภาษาในหมู่บ้านว่า "วัง" (คลองน้ำลึกเป็นลักษณะเหมือนวัง) และดอกบัว จึงเรียกขานกันมาว่า "วังบัว" บึงน้ำขนาดใหญ่เป็นแหล่งสัตว์น้ำและพืชน้ำชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะบัวประเภทต่าง ๆ มากมายมีความสวยงามเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน และยังเป็น แหล่งน้ำที่ให้ประโยชน์แก่ชาวบ้านในการประกอบอาชีพ เมื่อมีการแยกตำบลชาวบ้านจึงเห็นสมควรใช้ชื่อวังบัวเพื่อเป็นสัญลักษณ์แก่บึงน้ำแห่งนั้น ในปี พ.ศ. 2539 สภาตำบลวังบัวได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539
 
      

องค์การบริหารส่วนตำบลวังบัว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีสถานที่ตั้งของที่ทำการอยู่ที่ หมู่ที่ 10 บ้านระหารทราย และอยู่ห่างจากอำเภอคลองขลุงประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 51 กิโลเมตร   
      

   ทิศเหนือ   ติดต่อกับ   ต.คณฑี อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร   
    ทิศใต้   ติดต่อกับ   ต.ท่ามะเขือ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร   
   ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   ต.ทุ่งทราย อ.ทรายทองวัฒนา จ.กำแพงเพชร   
    ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ   ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแเพงเพชร
27  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเมืองกำแพงเพชร (ปาฐกถา เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2023, 09:40:20 pm
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเมืองกำแพงเพชร (ปาฐกถาพิเศษอังคาร ๑๘ มิย. ๖๒ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร)
                                                                                                                                 สันติ อภัยราช
เมื่อข้าพเจ้าไปเมืองกำแพงเพชรครั้งแรก คือแวะเมื่อล่องกลับจากเชียงใหม่ ร.ศ. ๑๒๔ นั้น ได้พักอยู่ ๓ คืน ๒ วัน ได้เที่ยวดูในเมืองเก่าและตามวัดที่นอกเมืองบ้าง แต่ในเวลานั้นต้องนับว่ายังอ่อนอยู่มากในทางโบราณคดี คือยังไม่ใคร่ได้มีโอกาสตรวจค้นมาก ทั้งเวลาที่อยู่ก็น้อย และเป็นคนแรกที่ได้ไปดู จะอาศัยฟังความคิดความเห็นผู้ใดๆก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความเห็นในเวลานั้นจึงยังไม่กล้าแสดงให้แพร่หลายมากนัก เป็นแต่ได้ทำรายงานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามที่ได้สังเกตเห็นด้วยตา และแสดงความเห็นส่วนตัวบ้างเล็กน้อย ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประพาสเมืองกำแพงเพชร ทอดพระเนตรสถานต่างๆแล้ว พระราชทานพระบรมราโชวาทเป็นอันมาก ครั้นเมื่อได้ทราบกระแสพระราชดำริแล้ว เมื่อปลาย ร.ศ. ๑๒๖ ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปตรวจดูสถานที่ในเมืองกำแพงเพชรซ้ำอีก จึงเห็นทางแจ่มแจ้งดีกว่าครั้งแรกเป็นอันมาก
 
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ข้อความข้างต้นเป็นข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พิชัยและพิษณุโลกเพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุระหว่างวันที่ ๔ มกราคม - ๖ มีนาคม รศ. ๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐) และโปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งทรงบันทึกเรื่องราวระยะทางเสด็จประพาสในคราวนั้นพร้อมพระราชวิจารณ์ในแง่ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทยในเวลานั้นอย่างมาก
ในส่วนของเมืองกำแพงเพชร   พระองค์ ทรงเสด็จมากำแพงเพชร สองครั้ง หลักฐานจากจารึกวงเวียนต้นโพ หลักที่ ๒๓๙    สร้างจาก หินปูนสีเทา กว้าง ๗๘ เซนติเมตร สูง ๑๒๖ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร เป็นรูปใบเสมา   จารึกด้านเดียว มี ๑๙ บรรทัด นายประสาร บุญประคอง ได้อ่านจารึกหลักนี้

 
ภาพจารึกในวงเวียน ต้นโพ หน้าเมืองกำแพงเพชร เป็นจารึกของรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งเป็นมกุฎราชกุมาร

ความว่า

๑. ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๒๔๔๘ พรรษา
๒. จุลศักราช ๑๒๖๗ ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก ๑๒๔
๓. เป็นปีที่ ๓๘ ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
๔. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
๕. มกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ
๖. มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ
๗. สุริยคติกาลกำหนด วันที่ ๑๖ เดือนมกราคม เสด็จประพาส
๘. ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก
๙. ประทับแรมอยู่ ๒ ราตรีตั้งพลับพลานอกกำแพง
๑๐. เมืองกำแพงเพชร ที่วัดชีนางเกา   ริมลำน้ำปิงฝั่งเหนือฯ
๑๑. ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ ๒๔๕๐ พรรษา
๑๒. จุลศักราช ๑๒๖๙ ศกมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖
๑๓. เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
๑๔. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้น
๑๕. ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้
๑๖. วันพุธเดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด
๑๗. วันที่ ๑๕ มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร
๑๘. โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ ประทับแรมอยู่
๑๙. ๓ ราตรีที่พลับพลาเดิมฯ
 
                    นำจารึกในใบเสมาของรัชกาลที่ ๖ มาประดิษฐาน แก้เคล็ด ลักษณะฮวงจุ้ย

มีใจความสำคัญ สรุปได้ว่า 
พ.ศ. ๒๔๔๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพมาถึงเมืองกำแพงเพชร ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่ง โดยประทับแรมที่พลับพลาบริเวณวัดชีนางเการิมลำน้ำปิงฝั่งเหนือ นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นเวลา ๒ คืน ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จมาทอดพระเนตรโบราณสถานอีกครั้งหนึ่ง และทรงตั้งพลับพลาประทับแรม ๓ คืน ในที่เดิม
ในโอกาสที่ เสด็จเมืองกำแพงเพชรครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ขณะนั้น ที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร หลังแรก สร้างเสร็จพอดี (บริเวณที่ทำการเหล่ากาชาดกำแพงเพชร ในปัจจุบัน) พระองค์ทรงปลูกต้นสักไว้ที่หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ระลึก ปัจจุบันต้นสักทรงปลูก ยังสูงใหญ่และงดงามมาก
 
พลับพลาที่ประทับ ที่ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร บริเวณวัดชีนางเกานั้น เป็นทั้งที่ประทับแรมของพระพุทธเจ้าหลวงเมื่อคราประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ด้วย
ต่อมาจังหวัดกำแพงเพชร ได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น และได้ใช้พลับพลารับเสด็จและประทับแรม เป็นที่ทำการของโรงเรียน มีนามเป็นสิริมงคลว่า โรงเรียนสตรีพลับพลา ต่อมาได้ กลายเป็นโรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” ในที่สุด ได้รวมกันกับโรงเรียนชาย กำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทบาลัย” เปลี่ยนนามเป็นโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ในปัจจุบัน 
        โรงเรียนสตรีพลับพลา สร้างอาคารเรียนใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา”
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ จังหวัดกำแพงเพชร ได้สร้างที่ทำการเมืองหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชร และสร้างสะพานคอนกรีตข้ามลำน้ำปิง ตรงมายังที่ว่าการเมืองเลยทีเดียว ซึ่งผู้รู้ทั้งหลายทักกันว่า ผิดหลักฮวงจุ้ย จะไม่เป็นมงคลกับเมืองกำแพงเพชร ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง ทั้งที่ว่าการเมือง(ศาลากลาง)และสะพานกำแพงเพชรได้ ที่ประชุมกรรมการเมืองกำแพงเพชร และท่านผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร ได้แก้เคล็ด ฮวงจุ้ย ดังกล่าว โดยอัญเชิญ ใบเสมาศิลาจารึก ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร ที่ประดิษฐานบริเวณต้นโพ ขึ้นมาประดิษฐานกลางวงเวียน ขวางกันไว้ มิให้สิ่งที่ไม่เป็นมงคลเข้าสู่เมืองกำแพงเพชร ที่ตั้งใบเสมาจารึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราชกุมาร จึงตั้งตระหง่าน เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองกำแพงเพชรมาจนถึงปัจจุบัน แม้ได้เปลี่ยน ฐานรองรับมาหลายรูปแบบ จนมาถึงปัจจุบัน
 
                           สะพานกำแพงเพชร ที่ตัดตรงไปยังศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร

นับว่าการเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร สองครา คือพุทธศักราช ๒๔๔๘ และ ๒๔๕๐ ทรงพระราชทานสิ่งที่เป็นมงคลให้ชาวกำแพงเพชร มาจนถึงปัจจุบัน คือ
๑.ต้นสัก ทรงปลูก เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐
๒.จารึกวงเวียนต้นโพ กลางเมืองกำแพงเพชร
๓.หนังสือพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง
๔.พลับพลารับเสด็จวัดชีนางเกา กลายเป็นโรงเรียนสตรีพลับพลา  โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” และ เป็นกำแพงเพชรพิทยาคม เมื่อรวมกับ กำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย”
นับ เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเมืองกำแพงเพชร ที่ชาวกำแพงเพชร ประทับใจอยู่มิรู้คลาย

‘’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’’
28  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม บ้านทุ่งสนุ่น ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร เป็นวัดราษ เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2023, 08:09:46 pm
วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม
บ้านทุ่งสนุ่น ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร

เป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๓๖ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งสนุ่น หมู่ที่ ๔ ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยชาวบ้านซึ่งมีเชื้อสายลาวครั่ง และลาวเวียง ได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดนครปฐม และ จังหวัดราชบุรี มาจับจองที่ดินเพื่อทำมาหากินที่บริเวณอำเภอขาณุวรลักษบุรี (บริเวณ อ.บึงสามัคคีในปัจจุบัน) ซึ่งในขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ป่า อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ และมีต้นสนุ่น (ใคร้นุ่น) เกิดอยู่เต็มท้องทุ่งนา ชาวบ้านจึงเรียกขานบ้านตนเองว่า บ้านทุ่งสนุ่น และหลังจากนั้นไม่นานชาวอีสาน จากจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่นก็อพยพมาสมทบกันอยู่เพิ่มเติมอีก จากนั้นจึงมีคนไทยเชื้อสายจีนเดินทางมาค้าขายทีหลัง

เมื่อมีประชาชนอพยพเข้ามาอยู่เรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนใหญ่พอสมควรแล้ว ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นบนพื้นที่โรงเรียนอนุบาลบึงสามัคคีในปัจจุบัน และได้ไปนิมนต์ หลวงปู่เบี้ยว ถาวริโก จาก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มาเป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์ แต่ด้วยทำเลที่ตั้งวัดนั้นไม่เหมาะเพราะอยู่ติดทางโค้งหลวงปู่และชาวบ้านจึงได้แลกที่ดินกันกับโรงเรียน ทำให้วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามได้มาตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกบ้านทุ่งสนุ่นตราบเท่าปัจจุบัน ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๓ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม''' ซึ่งแปลว่า วัดที่เปรียบเหมือนแก้วอันล้ำค่าของชาวบ้านทุ่งสนุ่น เปิดทำการเรียนการสอนนักธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ เป๋นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

๑.หลวงปู่เบี้ยว ถาวริโก (น.ธ.โท) หัวหน้าที่พักสงฆ์ จากนั้นก็กลับมาจำพรรษาที่ บ้านโป่ง ราชบุรี
๒.พระอธิการเหรียญ ปภสฺสโร (น.ธ.เอก) เจ้าอาวาสรูปแรก จากนั้นได้ลาออกไปจำพรรษาที่จังหวัดนครปฐม
๓.พระครูแกะ สิริสาโร (น.ธ.โท) ลาออกจากตำแหน่ง
๔.เจ้าอธิการเหรียญ ปภส์สโร (สมัยที่ ๒) ญาติโยมไปนิมนต์กลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งและเป็นเจ้าคณะตำบลระหาน ภายหลังได้ลาสิกขา
๕.พระอธิการเบี้ยว ถาวริโก (น.ธ.โท) ญาติโยมไปนิมตน์หลวงปู่กลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้ง จนกระทั่งมรณภาพ
๖.พระครูสุนทรวชิโรภาส (เดือน สมิงฺคิโก น.ธ.โท) มรณภาพ
๗.พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู (น.ธ.เอก ป.ธ.๗ พธ.บ. ป.วค. ศศ.ม.) ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน เจ้าคณะตำบลระหาน-เทพนิมิต เขต ๑

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ
๑.หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดีเด่น ระดับอำเภอ กิตติคุณัปปกาสินี พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๓
๓.สุดยอดส้วมแห่งปีระดับจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๓
๔.วัดส่งเสริมสุขภาพทันตกรรมดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๔
๕.รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภท รัชตะเกียรติคุณ จากสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๓
๖.รางวัลเสาเสมาธรรมจักรพระราชทาน สาขา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕
๗. พัดเชิดชูเกียรติ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดีเด่น ระดับอำเภอ จากเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ พ.ศ. ๒๕๕๖
๘.พัดเชิดชูเกียรติ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดีเด่นระดับประเทศ จาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พ.ศ. ๒๕๕๗
๙.รางวัลเสาเสมาธรรมจักร พระราชทาน สาขา องค์กร สมาคม มูลนิธิ หน่วยงานที่ส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา ๒๕๕๗ (สถานีวิทยุคนมีบุญ)
ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของวัด
๑.บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ตั้งแต่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ - แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
๒.ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ - แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
๓.ประเพณีบวชเณรภาคฤดูร้อน ๑-๑๕ เมษายน ของทุกปี
๔.ประเพณียกอ้อ ยอครู พระสัพพัญญูเจ้า วันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี (วันพญาวัน)
๕.ประเพณีแห่เทียน เปลี่ยนชีวิต ก่อนเข้าพรรษา ๒ วันของทุกปี
๖.งานพุทธคุณูปการ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ระหว่างพรรษากาลของทุกปี)
๗.ประเพณีตักบาตรเทโว แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
๘.บุญกฐินสามัคคีประเพณีลอยกระทง วันขึ้น ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี
๙.สวดมนต์ข้ามปี โชคดีตลอดไป วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี ฯลฯ

ความสำคัญของวัด
๑.เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหาลาโภ พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขุดพบที่อำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี
๒.สถานีวิทยุชุมชนคนมีบุญ FM ๑๐๕.๒๕MHz. สถานีวิทยุที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
๓.พิพิธภัณฑศาลา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจากกรุงเวียงจันทน์ และแสดงศิลปวัตถุโบราณ
๔.หลวงพ่อพระเจ้าบุญล้าน พระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนา+เวียงจันทน์

สรุป
วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม นับตั้งแต่ พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู เป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ท่านได้พัฒนาวัดและพัฒนาคนไปพร้อมๆกัน ถึงพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และทัศนคติที่อาจจะเห็นต่างกันบ้าง แต่ท่านก็ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาเป็นตัวสื่อกลางเชื่อมความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยจะเห็นได้จากเวลาที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามจัดงานประเพณีบุญต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณีไทยหรือประเพณีอีสาน ต่างก็ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีบุญผะเหวด ซึ่งทางวัดได้จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ นั้น มีประชาชนเข้าร่วมงานหลายหมื่นคน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นงานบุญผะเหวดแห่งเดียวของภาคเหนือตอนล่างที่มีประชาชนเข้าร่วมงานมากที่สุด และจัดยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีของชาวลุ่มแม่น้ำโขง (ลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวอีสาน) ที่อพยพมาอยู่ที่นี่ให้คงอยู่ไม่สูญหายไปตามกาลเวลาและระยะห่างจากรากเหง้าบรรพบุรุษของตนสืบไป
29  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการ สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ร่ว เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2023, 12:30:12 pm
                                              กำหนดการ
สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ร่วมกับ  ชมรมธุรกิจการถ่ายภาพจังหวัดกำแพงเพชร
จัดการเสวนาชมรมธุรกิจการถ่ายภาพทั่วประเทศ ณ จังหวัดกำแพงเพชร
  ๒๖ - ๒๘ มกราคม ๒๕๖๗   โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
                              (จำนวนประมาณ ๒๐๐ท่าน)
๒๖  มกราคม ๒๕๖๗  
    ๘.๓๐น.               สมาชิกพร้อมที่วัดพระบรมธาตุ รับประธานอาหารร่วมกัน
                     นั่งรถไฟฟ้าชมเมืองจำนวน ๖ คัน จาก อุทยานประวัติศาสตร์  
                                    กำแพงเพชร ๒ คัน  อบจ.กำแพงเพชร ๒ คัน เทศบาลเมือง  
                                     กำแพงเพชร ๒ คัน
      
.               กล่าวต้อนรับโดย คุณอมร  ถาวรศักดิ์  นายกชมรมธุรกิจการ    
                                       ถ่ายภาพจังหวัดกำแพงเพชร
          ๙.๓๐น                นมัสการพระบรมธาตุ และนำชม วัดพระบรมธาตุ โดย  
                                     อาจารย์ สันติ อภัยราช
           ๑๐.๐๐น.               ชมกำแพงเมืองกำแพงเพชรและ อุทยานประวัติศาสตร์  
                                      กำแพงเพชร  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์
             ๑๑.๐๐น.             สักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ชมวัดพระแก้
             ๑๑.๓๐ น.            ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
            ๑๒.๓๐ น.            รับประทานอาหารกลางวัน ที่พิพิธภัณฑ์เรือนไทย
                                     ชมพิพิธภัณฑ์เรือนไทย
   ๑๓.๓๐น.          เข้าที่พัก โรงแรมชากังราว  พักผ่อนตามอัธยาศัย
๒๗ มกราคม ๒๕๖๗
                              ห้องประขุม ชั้น ๗ โรงแรมชากังราว
   ซื้อสินค้า  อุปกรณ์ถ่ายรูป  กระดาษ  หมึก   กรอบรูป  จากบริษัท
               ชั้นนำของประเทศ พร้อมโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษ
       ๑๐.๐๐น. เปิดการเสวนา เรื่อง การปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ของ   AI  2024
                      โดยดร.วิชา จันทร์เชื้อ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัด  
                       กำแพงเพชร  กล่าวรายงานโดย คุณอมร  ถาวรศักดิ์  นายกชมรมธุรกิจ
                        การถ่ายภาพจังหวัดกำแพงเพชร  “เริ่มการเสวนา”
   ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
         ๑๓.๐๐ น. เสวนาต่อ เรื่อง การปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ของ   AI  2024
         ๑๖.๓๐น. ปิดการเสวนา
๑๘.๓๐ น.รับประทานอาหารร่วมกัน เปิดงานสังสรรค์สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ร่วมกับชมรมธุรกิจการถ่าย-ภาพจังหวัดกำแพงเพชร จัดการเสวนาชมรมธุรกิจการถ่ายภาพทั่วประเทศ ณ จังหวัดกำแพงเพชร
๑๙.๓๐น. การแสดงของชาวกำแพงเพชร ต้อนรับ สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพและชมรมธุรกิจการถ่ายภาพทั่วประเทศ พร้อมมอบธงให้จังหวัดเจ้าภาพในปีต่อไป
๒๒.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

๒๘ มกราคม ๒๕๖๗
   รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน  สังสรรค์ กัน ตามอัธยาศัย
          กลับภูมิลำเนา โดยสวัสดิภาพ

                              ........................................................
หมายเหตุ กำหนดการ อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม แ
30  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ชราอย่างมีคุณภาพ บรรยายพิเศษ โรงเรียนผู้สูอายุ เทสบาลเมืองกำแพงเพชร เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2023, 09:29:13 am
เราจะสร้างคุณภาพชีวิตในวัยชราได้อย่างไร
๑.สร้างบุคลิกภาพให้ดูดี เช่นการปรากฏที่ดี อารมณ์ดี  แต่งตัวดูดี
๒.ควบคุมอารมณ์ของคุณให้ดี อย่าใช้อารมณ์มากเกินไป
๓.รู้จักปฏิเสธ และต้องมีพื้นที่ส่วนตัว จัดลำดับความสำคัญของงานได้
๔.ให้คำชมเชยยกย่องคนให้เป็น (ไม่ใช่ยอ) ชื่นชมคนใกล้ตัวด้วย เมื่อทำดี
๕.พูดให้น้อยลง ให้โอกาส แก่คู่สนทนาได้พูดบ้าง ฝึกการฟังอย่างกระตือรือร้น
๖.ทำตัวให้ผ่อนคลาย เคลื่อนไหวให้ช้าลง และมั่นคง ควบคุมตนเองได้ทุกสถานการณ์  อดทนรอให้เป็น อย่ารน อย่าเฉื่อยชา
๗. พูดให้ช้าลง เคลื่อนไหวให้น้อยลง  ฟังก่อน  คิดก่อน  แล้วค่อยพูด          พูด อย่างมีเป้าหมาย  ไม่แย่งกันพูด
๘. กำหนดขอบเขตของตนเอง ชีวิตต้องมีกรอบ ให้เกียรติผู้อื่นเสมอ มั่นคง สม่ำเสมอ ฝึกฝนที่จะดูแลตนเอง ออกกำลัง  อาหารการกิน
๙.ไม่ต้องทำตัวเราให้ใครๆประทับใจ เป็นตัวของตัวเอง  ไม่ต้องตามใจใครทุกคน อยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ปฏิเสธอย่างนิ่มนวล ตัวเองมีคุณค่า ไม่จำเป็นต้องคนอื่นเห็นคุณค่าเรา (ถ่อมตัวให้เป็น)
๑๐.สบตาคนอื่นเสมอ เมื่อสนทนาพูดคุย สนใจเรื่องที่เขาพูดความสัมพันธภาพจะแน่นและมั่นคง คุณจะมีเสน่ห์
ทั้งหมดคือคุณภาพชีวิต ในวัยชราที่เราสร้างได้ด้วยตนเอง









หน้า: 1 [2] 3 4 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!