จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 19, 2024, 05:42:54 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 80 81 [82] 83 84 ... 95
1216  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การพูดในโอกาสพิเศษ บรรยาย ให้ นศ ราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:27:12 am
การพูดในโอกาสพิเศษ
      
     จุดมุ่งหมาย
            โอกาสที่จะต้องกล่าวคำปราศรัย  หรือพูดต่อที่ชุมนุมชน มีมากมายเหลือเกิน  ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ   ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการพูด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง  ตราบใดที่ยังอยู่กับสังคม
            ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้หลักทั่วไปของการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ  แล้วเลือกเตรียมสุนทรพจน์สักแบบหนึ่งมากล่าวในที่ประชุม  โดยสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่าจะกล่าวในโอกาสอะไร  ผู้ฟังในห้องประชุมเป็นใคร  และตนเองกล่าวในฐานะอะไร   จะเป็นเรื่องจริงหรือเลียนแบบ      โดยสมมุติสถานการณ์แปลก ๆ ขึ้นก็ได้  แต่ต้องสมเหตุสมผล  ถ้าเป็นเรื่องทีเล่นทีจริงต้องระวัง   อย่าให้ผู้ใดเสียหายโดยไม่จำเป็น
            ในการกล่าวรายงานหรือแถลงเป็นทางการ  อาจมีต้นร่างมาอ่านเพื่อไม่ให้ผิดพลาดตกหล่น  แต่ผู้พูดจะต้องรักษาบุคลิกภาพในการพูดให้เหมาะสม  ไม่ก้มหน้าดูบทตลอดเวลา  ต้องใช้สายตาดูบทเพียง ๑ ใน ๓ อีก ๒ ใน ๓ มองผู้ฟัง
 
 
     ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่าง ๆ
            
เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พูดในโอกาสใดก็ตาม  ที่มิใช่เป็นงานประจำหรือมิใช่งานปาฐกถาธรรมดาทั่ว ๆไป  ผู้พูดควรสำรวจวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้ก่อน
๑.      จุดมุ่งหมายของการประชุม
-           การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร
-           ผู้ฟังเป็นใคร  มาประชุมในฐานะอะไร
-           สาระสำคัญของการประชุมอยู่ตรงไหน
๒.      ลำดับรายการ
-           มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร
-           ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร  กล่าวในนามใคร
-           เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด  หรือควรจะนานเท่าใด
-           ก่อนหรือหลังรายการพูดมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจพิเศษอย่างใดหรือไม่
๓.      สถานการณ์
-           ผู้ฟังกำลังใจจดใจจ่อ  อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่
-           ผู้ฟังมาด้วยใจสมัคร  หรือถูกขอร้อง  ถูกบังคับให้มาฟัง
-           ผู้ฟังรู้จักผู้พูดหรือไม่  เลื่อมใสอยู่แล้วหรือไม่ชอบหน้า
 
     เมื่อใดควรอ่านจากร่าง
            โดยทั่วไปการพูดที่จืดชืดน่าเบื่อหน่ายที่สุด   คือ  การอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้   เพราะเป็นการพูดที่ไม่ได้ออกมาจากความรู้สึกอย่างจริงใจของผู้พูด   ผู้อ่านไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่ากับการพูดปากเปล่า    ดั้งนั้น การอ่านจึงเหมาะสำหรับกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
๑.      ในโอกาสพระราชพิธี
๒.      ในการเปิดประชุม  หรือเปิดงานต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ
๓.      การรายงานทางวิชาการ  หรือสรุปการประชุม
๔.     การอ่านข่าวหรือบทความทางวิทยุ  โทรทัศน์  ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว
๕.     โอกาสสำคัญอื่น ๆ  ซึ่งไม่ต้องการให้มีการพูดขาดหรือเกิน
 
นอกจากการอ่านทุกคำจากต้นฉบับที่สมบูรณ์แล้ว  ยังมีการอ่านอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งอาศัย  หลักเดียวกัน แต่ไม่ได้อ่านทั้งหมด  อ่านแต่เพียงข้อความบางตอนที่ยกมาประกอบ   เช่น  ตัวเลข สถิติ  วันเดือนปี  จดหมายเหตุในประวัติศาสตร์  ข้อความในอัญญประกาศ  คำประพันธ์  สุภาษิต  คำสอนทางศาสนา  เป็นต้น
    
ข้อควรระวังในการอ่าน
๑.      ควรซ้อมอ่านต้นฉบับให้คุ้นกับจังหวะ วรรคตอนเสียก่อน
๒.      ต้นฉบับต้องเขียนหรือพิมพ์ให้อ่านง่าย
๓.      ไม่ควรเย็บติดกัน  ควรวางซ้อนกันไว้  เรียงลำดับเลขหน้าให้เรียบร้อย                        เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาพลิกหน้าต่อไป
๔.     ในเมื่อจะต้องอ่าน ควรวางต้นฉบับไว้บนแท่น                           หรือถือด้วยมือทั้งสองข้าง   ถ้าไม่มีแท่นให้วาง
๕.     อย่าก้มหน้าก้มตาอ่านตลอดเวลา  ถ้าได้ซักซ้อมกันมาแล้ว  เพียงแต่เหลือบสายตา           ก็อาจอ่านได้ตลอดบรรทัดหรือทั้งประโยค
๖.      ใช้สายตามองต้นฉบับเพียง  ๑ ใน ๓  ที่เหลือมองที่ประชุม
๗.     ระวังอย่าให้ขาดตอนเมื่อจะขึ้นหน้าใหม่
๘.     รักษาท่วงทำนองการพูดใหม่  อย่าให้เป็นสำเนียงอ่าน
 
 
โอกาสต่าง ๆ ในการพูด  
            การพูดในโอกาสพิเศษ  อาจแบ่งออกได้เป็น  ๗  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ
๑.      กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ
๒.      กล่าวไว้อาลัย
๓.      กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ
๔.     กล่าวสดุดี
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ
๖.      กล่าวต้อนรับ
๗.     กล่าวแนะนำผู้พูด องค์ปาฐก
 
หลักทั่วไป
๑.   พยายามคิดค้นหาลักษณะเฉพาะของโอกาสหรือบุคคลที่กล่าวถึง
                   อย่าพูดเหมือนกันทุกงาน
๒.       อย่าลืมการขึ้นต้น  เรียบเรียงเรื่องกระชับ และการลงท้ายที่ดี
๓.       อย่าพูดนานเกินไป  ควรรวบรัดที่สุด
๔.      ใช้อารมณ์ขันบ้าง  ถ้าเหมาะสม  (ถ้าเป็นงานพิธีการไม่ควรพูดเล่น)
 
ตัวอย่างสถานการณ์และหัวข้อการพูด
 
๑.      กล่าวแสดงความยินดี
ก.      แสดงความยินดีในโอกาสรับตำแหน่งใหม่
-           ผู้กล่าว  กล่าวในนามของใคร
-           ยกย่องในความวิริยะอุตสาหะและคุณความดี
-           อวยพรหรือมอบของที่ระลึก
-           อย่าชักชวนผู้ฟัง ปรบมือ  ควรปล่อยให้ผู้ฟังตัดสินใจเอง หรือปรบมือนำ
ข.      กล่าวตอบ
-           ขอบคุณ  
-           ปวารณาตัวรับใช้ ยืนยันในความเป็นกันเองเหมือนเดิม
-           อวรพรตอบ

๒.     กล่าวไว้อาลัย
ก.      กล่าวให้เกียรติผู้ตาย
-           ยกย่องคุณความดีของผู้ตาย
-           ให้เกียรติและให้ความอบอุ่นแก่ญาติมิตรผู้ตาย
-           ชักชวนให้ยืนไว้อาลัย
ข.      กล่าวแสดงความอาลัยในการย้ายงาน
-           ชมเชยในผลงานที่ปฏิบัติ
-           กล่าวถึงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน
-           หวังว่าจะก้าวหน้าและทำประโยชน์ต่อไป
-           อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและประสบความสำเร็จ
๓.      กล่าวอวยพร
ก.      อวยพรขึ้นบ้านใหม่
-           ความสำเร็จในครอบครัวอยู่ที่การมีบ้านช่องเป็นหลักฐาน
-           ความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน
-           อวยพรให้ประสบความสุข(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

ข.      อวยพรวันเกิด
-           ความสำคัญของวันนี้
-           คุณความดีของเจ้าภาพ
-           ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า  หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน
-           อวยพรให้อายุยืนนาน (ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ค.      อวยพรคู่สมรส
-           ความสัมพันธ์ของตนต่อคู่สมรส  หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
-           ความยินดีที่ทั้งสองครองชีวิตคู่
-           อวยพร(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)
ง.       กล่าวตอบรับพระ(ทุกอย่าง)
-           ขอบคุณในเกียรติที่ได้รับ
-           ยืนยันจะรักษาคุณงามความดี และปฏิบัติตามคำแนะนำ
-           อวยพรตอบ(ควรอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์)


๔.     กล่าวสดุดี
ก.      กล่าวมอบประกาศนียบัตรสดุดี
-           ความหมายและความสำคัญของประกาศนียบัตร
-           ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร
-           มอบ  สัมผัสมือ และปรบมือให้เกียรติ
ข.      กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญที่ล่วงลับไปแล้ว
-           ความสำคัญที่มีต่อสถาบัน
-           ผลงานและมรดกตกทอด
-           ยืนยันจะสืบต่อมรดกนี้อย่างเต็มความสามารถ
-           แสดงคารวะ/ปฏิญาณร่วมกัน
๕.     กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง
ก.      มอบตำแหน่ง
-           ชมเชยความสามารถและความดีเด่นของผู้ที่ได้รับตำแหน่ง
-           ความหมายและเกียรตินิยมของตำแหน่งนี้
-           ฝากความหวังไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่
-           มอบของที่ระลึกหรือเข็มสัญญลักษณ์
-           สัมผัสมือและปรบมือให้เกียรติ
ข.      รับมอบตำแหน่ง
-           ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติ
-           ชมเชยกรรมการชุดเก่า(ส่วนดีเด่น)ที่กำลังจะพ้นไป
-           แถลงนโยบายโดยย่อ
-           ให้คำสัญญาจะรักษาเกียรติและปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่ง
-           ขอความร่วมมือจากกรรมการและสมาชิกทุกคน
 
๖.      กล่าวต้อนรับ
ก.      ต้อนรับสมาชิกใหม่
-           ความสำคัญและความหมายของสถาบัน
-           หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกจะพึงได้รับ
-           กล่าวยินดีต้อนรับ
-           มอบเข็มสัญญลักษณ์(ถ้ามี) สัมผัสมือ

ข.      ต้อนรับผู้มาเยือน
-           เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ
-           ความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับ
-           มอบหนังสือหรือของที่ระลึก
-           แนะนำให้ที่ประชุมรู้จัก และเชิญกล่าวตอบ
๗.    กล่าวแนะนำผู้พูด- องค์ปาฐก
-           เหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้
-           ความรู้ ประสบการณ์ และความสำคัญของผู้พูด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้
-           สร้างบรรยากาศเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทำให้ผู้พูดอยากพูดและ
ผู้ฟังอยากฟัง
-           อย่าแนะนำยาวเกินไป และอย่ายกยอจนเกินความจริง
      -        แนะนำชื่อผู้พูด หลังสุด ด้วยน้ำเสียงน่าฟัง
                                                        ------------------------------
1217  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / พูดอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร ในแบบผู้นำ โดยอาจารย์สันติ อภัยราช เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:04:22 am
พูดอย่างไร
         ปฏิบัติอย่างไร
                ในแบบผู้นำ

วิทยากร
อาจารย์สันติ อภัยราช  ๐๘๑ ๔๗๕ ๕๕๕๗
 อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ผู้เชี่ยวชาญการพูดในที่ชุมชน
การศึกษาบัณฑิต    นิติศาสตรบัณฑิต    ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  ประธานชมรมผู้รักษ์เมืองกำแพงเพชร รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ   ครูต้นแบบแห่งชาติ    ครูภูมิปัญญาไทย
ผู้วิจารณ์ทั่วไปสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร          คนดีศรีกำแพงเพชร
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมกำแพงเพชร    บุคคลดีเด่นด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม
 ๑๙   ธันวาคม   ๒๕๕๓   เวลา  ๙.๐๐ น. ? ๑๐.๓๐ น.
ห้องประชุมชั้นล่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ความสำคัญของการพูด

คำพูด   แห่งมนุษย์   คือยุทธศาสตร์
อาจสร้างสรรค์   หรือพิฆาต  ได้ทุกที่
สุดแต่ถ้อย  คำที่ใช้   ร้ายหรือดี
สร้างไมตรี หรือก่อภัย ให้แก่กัน
   มนุษยชาติ ใช้คำพูด เป็นทูตโยง
แต่ละโค้ง  ฟ้าไกล  ได้ชิดมั่น
ต่างชาติเชื้อ วุฒิวัย  ได้สัมพันธ์
และร่วมกัน จรรโลงโลก ไร้โศกทราม
   การพูดเป็นทั้งศิลป์  และทั้งศาสตร์
ด้วยการฝึก ย่อมกาจ สามารถข้าม
ดุจอาวุธ ยิ่งฝึกปรือ ยิ่งลือนาม
ใครอาจห้าม ปราชญ์ฉาย ประกายชาญ
   การฟัง การคิด และการพูด
นี้คือบท พิสูจน์ อย่ามองผ่าน
เป็นกลไก ประจำวัน อันยืนนาน
ผู้ใช้การ ได้ดี ย่อมมีชัย

                   เฉลิมศักดิ์   รงคผลิน








พูดอย่างไร  ปฏิบัติอย่างไร  ในแบบผู้นำ
------------------
นายอานันท์   ปันยารชุน
   ผู้นำ    ไม่ใช่ผู้ที่จะนำคนอื่น  แต่ผู้นำที่ดี  คือผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม

พระธรรมปิฎก
   ผู้นำ     มีหน้าที่มาประสาน  และไม่ใช่ประสานเฉยๆ  แต่มาประสานให้พากันไป โดยเดินหน้า หรือมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายให้ได้

นายแพทย์ประเวศ วะสี
   ผู้นำ   อาจไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่ง  แต่สามารถก่อให้คนในองค์กร หรือในสังคมเกิดความบันดาลใจ จนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันและรวมพลังกันปฏิบัติ

ดร.สิปปนนท์    เกตุทัต
   ผู้นำ   จะต้องมีวิสัยทัศน์ จะต้องวิเคราะห์ ตัดสินใจ  โดยมองอย่างนำ มองภาพรวมทั้งหมด และปฏิบัติตนอย่างหนอน  เอากายใจและสมอง เข้าสัมผัส

นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์
   ในภาวะวิกฤตของระบบราชการ ที่ต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  ต้องการภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง  มีความตั้งใจที่จะแก้ไข อย่างกล้าหาญ อดทน และต่อเนื่องสามารถสร้างความมั่นใจ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
   สิ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิด สร้างให้เกิดหรือควรฝึกฝนไว้  คือฝึกให้คนในองค์กร พยายามช่วยเหลือตนเอง  ฝึกคนให้พร้อมเป็นผู้นำได้ เมื่อสถานการณ์ มาเป็นผู้นำแล้ว อาจเปลี่ยนให้ผู้อื่นเป็นบ้าง

นายโสภณ สุภาพงษ์
   ไม่ว่าท่านผู้นำเหล่านั้น  จะร่ำรวย มียศ มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่สักเท่าใดก็ตาม เขาไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง และยิ่งใหญ่หรอก ถ้าเขาได้เกิดมา แต่ไม่เคยให้โอกาสและช่วยเหลือผู้ใดให้พ้นทุกข์เลย






ผู้นำ  ต้องเป็นนักสื่อสาร
1.   พูดแจ่มแจ้ง
2.   พูดจูงใจ
3.   พูดเร้าใจ
4.   พูดร่าเริง
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่
   มองกว้าง
   คิดไกล
   ใฝ่สูง
ผู้นำสังคมใหม่  เป็นผู้นำตามธรรมชาติ  ตามความต้องการของชุมชน มีคุณลักษณะดังนี้
   1.ฉลาด  มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
   2. มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
   3. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4. เป็นที่ยอมรับของสมาชิก โดยอัตโนมัติ
   5. มีสภาพจิตใจที่มั่นคงกล้าหาญ
   6. มีคุณธรรม เมตตา กรุณา และเสียสละ
   7. ตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ
   8. บริหารจัดการเป็น
ผู้นำที่สังคมคาดหวัง
1.   ผู้นำที่ยึดหลักการ
2.   ผู้นำที่ทำงานเป็นทีมเป็น มีการเรียนรู้ร่วมกัน
3.   ผู้นำเป็นนักปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม
4.   ผู้นำสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าสู้ปัญหา
มุ่งมั่นในผลสำเร็จ สร้างสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของคนในองค์กรเอื้อต่อการทำงาน




ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีของผู้นำในองค์กร
                     เรื่อง   มากที่สุด   มาก   ปานกลาง   น้อย
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์            
2. เป้าหมายแน่นอน มั่นคง            
3. ปรับบุคลิกให้น่าเชื่อถือได้            
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง            
5. อย่าเกรงสิ่งใด เมื่อถูกต้องจงลงมือทำ            
6. ทำงานเพื่อคุณภาพ มิใช่ปริมาณ            
7. ประพฤติตน ในศีลธรรม อันดีงามเสมอ            
8.ไม่เป็นคนบาป ชอบแก้ตัว            
9. ชนะทุกข์ได้แม้ทุกข์ยากเพียงใด            
10. กล้าหาญ ทนลำบาก เพื่อคนอื่น            

บุคลิกภาพ ทางกาย  ทางอารมณ์  ทางสังคม และทางสติปัญญา   ต้องดีทุกด้านจึงเรียกว่าผู้มีบุคลิกดี
1.   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
   ต้องเชื่อว่า สิ่งที่ริเริ่มเป็นผลดี และทำให้สำเร็จอย่างแน่นอน
   ตัดคำว่าเป็นไปไม่ได้   ไม่มีประโยชน์ ป่วยการทำ   ออกไปเสีย
   หาทางออก หรือทางแก้ไข จุดบอด เตรียมไว้เมื่อถึงเวลาต้องแก้ไข
   ยอมรับความคิดใหม่  อย่าลืมของเก่า ทดลองสิ่งใหม่ คบเพื่อนใหม่ แต่งตัวใหม่
ทรงผมใหม่ จัดโต๊ะทำงานใหม่ ทำตัวใหม่ ศึกษาต่อ
   ทำอย่างไร ชนะใจเพื่อนร่วมงาน
   ทำอย่างไรให้ คนอยู่สูงกว่าและต่ำกว่าพอใจ
   วิธีที่ทำให้ผู้อื่นยอมรับ  แสดงฝีมือ ทำงานหนักทั้งกายใจ ทำดีที่สุดทุกวัน ทุกกรณี
กระตุ้นให้ผู้อื่นคิด นำความคิดของเขามาปฏิบัติเขาจะทำงานอย่างสุดฝีมือ
   หาวิธีคิดใหม่  ประชุมกับคนต่างอาชีพ  คบเพื่อนต่างอาชีพ  อ่านหนังสือดี
ดูภาพยนตร์ดี  ทบทวนความคิด
    2.เป้าหมายแน่นอนมั่นคง
   2.1   เริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ทุกวัน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกต้องและดีงาม
   2.2   สร้างนิสัยที่ดี  ทำงานเพื่องาน  มิใช่เพื่อเงินอย่างเดียว  ทำงานหนักขึ้น มากขึ้น
      เริ่มต้นทำงานอย่างกระตือรือร้น  อย่างหวงงาน  คบเพื่อนดี  หนักแน่น ไม่ตามใจ
ตนเอง
2.3   ปรับปรุงตนเอง เรื่อง  นอนตื่นสาย  ซุบซิบนินทา  พูดหยาบคาย กินเหล้า
เมายา  ติดการพนัน  โกหกหลอกลวง
2.4   สร้างนิสัยที่ดี ไปทำงานตามกำหนดเวลา ทำหน้าที่พลเมืองดี ถ้ามีโอกาส
วางแผนการทำงาน สำหรับวันรุ่งขึ้น เคร่งครัดศีลห้า พูดจาไพเราะทุกโอกาส
พูดจริงทำจริง
2.5   ทบทวนงานที่ทำไปแล้ว เสมอ  ยกย่องชมเชยผู้อื่น แก้ไขข้อผิดพลาด ปรับ
ระบบงาน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
2.6   สิ่งที่ทำลายบุคลิกตัวเอง ดูถูกตนเอง ไม่เก่ง โง่ ไม่ฉลาด  ใจไม่สู้  มักน้อย
พ่อแม่ครอบครัวบัญชา  คิดว่าสายเกินไป
   2.7    แต่งกายดี  สุภาพ  การแสดงออกดี  เดินดี ยืนดี นั่งดี นอนดี พูดดี วางตัวเหมาะสม
ดี สะอาด สุขภาพดี  ดูแลตนเองดี
3. ท่าทางต้องดี  เป็นเรื่องสำคัญ
   3.1   ท่าทางกระตือรือร้น ศึกษาเรื่องที่รับผิดชอบ ทำงานอย่างตั้งใจ และเต็มใจ
      พูดแต่ข่าวดี
3.2   ยกย่องให้ความสำคัญผู้อื่น   ให้คนอื่นสำคัญกว่าเราเสมอ  ยกย่องชมเชยทั้งต่อหน้าและลับหลัง  อย่าเอาหน้าคนเดียว  จำชื่อคนแม่น
3.3   ทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน   แข่งกันทำความดี  ทำงานเป็นระบบ  ยิ่งยากยิ่งชอบ ประเมินผลงาน ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
4. มีความเชื่อมั่น จะทำให้บุคลิกดี
4.1    อย่าหวาดระแวงกันเอง  ขี้หึง ไร้เหตุผล อย่าเอาชนะด้วยวิชามาร  หาทางออกที่ดี
   เมื่อว้าเหว่   ไม่มั่นคง จะเสียบุคลิกทันที
4.2   อย่าติฉิน นินทา  ให้ร้ายป้ายสี  จะเสียบุคลิก ไม่น่าเชื่อถือ  เกียจคร้านเบื่อหน่าย
4.3   การสร้างบุคลิกที่ดี ด้วยวิธีง่ายๆ  หัดนั่งแถวหน้า  ถามตอบ อภิปรายได้ดี  สบสายตาผู้พูด ยิ้มๆๆ  ศึกษาแต่ละเรื่อง  เพื่อรู้ข้อเท็จจริงอย่างละเอียด คบคนดี คนฉลาด คนมีความคิดสร้างสรรค์  พบคนนอกวงการ ฝึกการพูดในที่ชุมชน
5. อย่าเกรงสิ่งใด เมื่อถูกต้อง จงลงมือทำ
      ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น สร้างศรัทธาให้ได้   ไม่รอราชรถมาเกย ไม่คอยบุญหล่นทับ
      ไม่คอยโอกาส ไม่ฉวยโอกาส   อะไรแก้ไขไม่ได้ ลืมเสีย เริ่มต้นใหม่  เป็นนักบุกเบิก
      ลงมือทำก่อน
6.ทำงานเพื่อคุณภาพ มิใช่ปริมาณ  
      พัฒนาตนเอง  รู้จักปฏิเสธตัวเอง  ทำสิ่งใหญ่ขึ้นและดีขึ้นเสมอ  งานนอกเวลาเป็น
                           ประสบการณ์ที่ล้ำค่า  สังเกต  จดจำ  ประเมินผล  สรุปบทเรียนหาทางแก้ไข

7. ประพฤติตนในศีลธรรมอันดีเสมอ
        ทำตนเป็นตัวอย่าง สุขภาพจิตดี   มีอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ
8. อย่าเป็นคนบาปชอบแก้ตัว
   อย่าอ้างว่า   สุขภาพไม่ดี  อายุยังน้อย สมองไม่ดี  โชคไม่ดี ไม่มีเส้น  ลืมไป  ไม่มีเวลา
   ควรสะสางงานทุกวัน ขอคำแนะนำจากผู้รู้   ตื่นแต่เช้า เพิ่มเวลาทำงาน พึงตนเองเป็น หลัก
9. ชนะทุกข์ให้ได้แม้ยากเพียงใด
   เมื่อผิดพลาด ศึกษา หาทางแห้ไข   ต้องเชื่อว่าเราทำได้     ทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก  มีอุปสรรค  
              หยุดวิเคราะห์  แล้วเริ่มทำต่อ    ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง  ยิ่งทำงานต่อเนื่องยิ่งมีพลัง
               สุดยอดของความอดทนได้  จึงได้ชื่อว่ายอดคน   ความสำเร็จมิใช่อยู่ข้ามคืน
10. กล้าหาญ ทนลำบากเพื่อผู้อื่น
   กล้าพูด  กล้าคิดกล้าทำ ไม่หวาดกลัว   มีความเชื่อมั่นในตนเอง ควบคมตนเองได้

ผู้นำ  ต้องเป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  
   1. อยากมีคนรักมากๆ    ต้องรู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่  ต้องรักคนอื่นสนใจคนอื่น ต้องให้เกียรติ
                   สุภาพสตรี  เคารพหน้าที่ตนเอง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ผู้อื่น
   2. อยากมีเพื่อนมากๆ  ต้องเอื้อเฟื้อ เสียสละ เมื่อถึงคราวเสียสละ   พูดจาน่าฟัง น่าเชื่อถือ
                  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น  วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
   3. อยากมีเพื่อนที่ดีนานๆ อย่าห่างกันเกินไป   อย่าใกล้ชิดกันเกินไป  อย่าขอความช่วยเหลือ
                  พร่ำเพรื่อ
   4. อยากมีเพื่อนแท้  ต้องรู้จักอุปการะกัน  รู้จักสงเคราะห์กัน  รู้จักเคารพในสิทธิ์และ
                   เสรีภาพของกันและกัน
   5. คนที่ลืมกันไม่ลง   ซื่อตรงต่อกัน  รู้คุณกัน และตอบแทนคุณกัน  จงรักภักดีต่อกัน
   6. ความสามัคคีเกิดจาก เอื้อเฟื้อกัน พูดจาอ่อนหวานต่อกัน ช่วยเหลือกันยามยาก วางตน
                  เสมอกัน ไม่ถือความขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญ  ไม่เอาแพ้ชนะกัน  ถือประโยชน์ส่วนรวม
   7. สิ่งที่ทำลายความสัมพันธ์และบุคลิกในการปฏิบัติงาน   อิจฉาริษยา   แก่งแย่งแข่งดี
                  ไม่รู้จักพฮ เอาเปรียบ  หลอกลวง  ประหัตประหารกัน หลงในรูปรสกลิ่น เสียง ลืมตัว
ผู้นำ   ถ้าปรารถนาความสำเร็จ  เขาควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.   มีต้องการความสำเร็จในชีวิต
2.   เรียนรู้สู่ความสำเร็จ
3.   มีความพยายาม อดทน สูงสุด
คุณลักษณะของผู้นำ
   ฝึกนั่งแถวหน้า   สบตาเข้าไว้  เดินไวกว่าเดิม  ฝึกเพิ่มการพูด    ครบสูตรยิ้มกว้าง


พลังการพูดของผู้นำ   10 ประการ
1.   กล้าพูด
2.   มั่นใจในสิ่งที่พูด
3.   พูดในสิ่งที่ควรพูด
4.   พยายามพูดให้เป็นบวก
                                   ยึดมองโลกในแง่ดีอย่างท่านพุทธทาส

   เขาจะมี  ส่วนเลวบ้าง   ช่างหัวเขา     จงรับเอา  สิ่งที่ดี   เขามีอยู่
   เป็นประโยชน์  ต่อโลกบ้าง ช่างน่าดู    สิ่งที่ชั่ว  อย่าไปรู้   ของเขาเลย
   ธรรมดา คนจะดี แต่สิ่งเดียว      เหมือนเที่ยวค้นหาสหายเอย
   เหมือนค้นหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย   อย่าละเลย มองแต่ดีจะมีคุณ
5.   พูดอย่างมีไหวพริบ ปฏิภาณ
6.   การพูดที่ดีที่สุดคือการฟัง
7.   พูดให้ถูกต้อง  พูดความจริง
8.   พูดให้ถูกใจ ผู้ฟัง
9.   พูดให้น่าเชื่อถือ
10.พูดให้น่าปฏิบัติตาม   
นักพูดที่ดี ต้องปฏิบัติ
เตรียมให้พร้อม  
ซ้อมให้ดี  
ท่าทีต้องสง่า
 กิริยาต้องสุขุม  
ทักที่ประชุมอย่าวกวน
เริ่มต้นให้โน้มน้าว
 เก็บเรื่องราวให้กระชับ
 ตาจับที่ผู้ฟัง
 เสียงดังให้พอดี
 อย่าให้มีเอ้ออ้า
 ดูเวลาให้พอครบ
สรุปจบให้จับใจ
1218  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติเมืองกำแพงเพชร ออกอากาศ ทางสวท.กำแพงเพชร อังคารที่ ๑๔ ธค. ๔โมงเช้า เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 01:04:58 pm
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อยู่ใต้ร่มพระมหาบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย
พระบารมีคุ้มภัยประชาราษฎร  อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วงจากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน...ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์  .... แม้เป็นตำนานเล่าขาน แต่ชาวกำแพงเพชรก็ภูมิใจในความ ยิ่งใหญ่ของกำแพงเพชร มาตั้งแต่อดีตกาล....
   จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต  วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอนอาทิ....พระเจ้าพรหม  เป็นวีรบุรุษ เป็นศูนย์กลางของพวกเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในตระกูลไทย-ลาว เป็นผู้นำขับไล่พวกขอมดำสำเร็จ ในตำนานสิงหนวัติกุมาร บอกว่าพรหมกุมารกำจัดพญาขอมดำและพวกขอมบริวารทั้งหลาย หนีลงไปทางทิศใต้ พรหมกุมารตามพิฆาตเข่นฆ่า จนร้อนถึงพระอินทร์ต้องเนรมิตกำแพงหินกั้นกางขวางหน้าไว้ เพื่อช่วยชีวิตพวกขอมดำมิให้สูญเผ่าพันธุ์ กำแพงขวางกั้นกลายเป็นกำแพงเพชร ในกาลต่อมา  พระเจ้าชัยสิริ โอรสพระเจ้าพรหม หนีพระยาสุธรรมวดี มาเดือนหนึ่งถึงแนวกำแพงที่พระอินทร์เนรมิต จึงประกาศสร้างเมืองกำแพงเพชร ณที่นั้น....
   หลักฐานมาปรากฏชัดเจน ว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งสุโขทัยเสด็จมาเมืองนครชุม โดยมีหลักฐานจากจารึกนครชุม (จารึกหลักที่ 3) ว่า?ฮืม?
พระยาลือไทยราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยได้ราชาภิเษก อันฝูงเท้าพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหาย อันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวเป็นพระยาจึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช...หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดาย เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล........
   ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นได้เสด็จมากำแพงเพชรหลายครั้งดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร
ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2088  สมเด็จพระชัยราชาธิราช ยกกองทัพไปเชียงใหม่ ประทับพักทัพหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร ถึงหนึ่งเดือน ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปทัพเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพหน้าและยกพลตั้งทัพชัยตำบลบางพาน (เมืองเก่าในอำเภอพรานกระต่าย) ทัพหลวงประทับแรมที่เมืองกำแพงเพชร 1 เดือน
ครั้งที่ 2  ในปีพ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชร ได้ช้าง 40 เชือก
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบกับพระเจ้ากรุงอังวะจากพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้ว่า   ศักราช ๙๔๖ วอกศก (พ.ศ. ๒๑๒๗) ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่ในวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕ ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างซ้าย และโหรทำนายว่าห้ามยาตรา และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว จึงเสด็จพยุหยาตราไป ครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชรในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแครง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จเมืองกำแพงเพชร และประทับที่เมืองกำแพงเพชร 15 วัน
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการ (พระเจ้ากรุงธนบุรี) ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่มิทันได้มาครองเมือง ไปช่วยราชการที่กรุงศรีอยุธยาก่อน
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ ยกกองทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร
ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2318  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งเป็นพระยาจักรี ยกกองทัพมาตั้งที่เมืองกำแพงเพชร  เกิดตำนานสมเด็จพุฒาจารย์(โต)
ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2448  ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 2 ราตรี
ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2449  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม ถึงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2449  ทรงนำความเจริญและความสงบสุขมาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ทรงถ่ายภาพเมืองกำแพงเพชร ไว้จำนวนมาก และบันทึกการเดินทางประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้อย่างละเอียด

 



   ครั้งที่ 10 พ.ศ.2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิศริยยศที่พระบรมโอรสาธิราช เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในวันที่ 15 มกราคม 2450 ประทับแรมที่พลับพลา หน้าวัดชีนางเกา 1 ราตรี พระบรมโอรสามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเมืองกำแพงเพชรสองคราว มีการจารึกเล่าเรื่องราวการเสด็จประพาสไว้ในศิลาแผ่นหนึ่ง ความว่า... ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ 2448 พรรษา จุลศักราช 1267 ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก 124 เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม7ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 16 มกราคม เสด็จประพาสทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก ประทับแรมอยู่สองราตรี ตั้งพลับพลานอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร ที่วัดชีนางเการิมน้ำปิงฝั่งเหนือ ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ 2450 พรรษาจุลศักราช 1269 ศกมะแม รัตนโกสินทรศก 126 เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาพระองค์นั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันพุธเดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 15 มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 ประทับแรมอยู่ 3 ราตรี ที่พลับพลาเดิม

ทั้งหมดคือในอดีตที่พระมหากษัตริย์เสด็จเมืองกำแพงเพชร ประวัติศาสตร์และพระราชพงศาวดารได้บันทึกเรื่องราวไว้
 แม้ในกาลปัจจุบัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยทั้งชาติ เสด็จไปเยี่ยมพสกนิกร ทั่วทั้งประเทศไม่มีสถานที่ใดในประเทศไทยที่พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จไปเยี่ยม นำความผาสุกร่มเย็นมาสู่คนไทยทั้งชาติทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ล้ำเลิศด้วยทศพิธราชธรรม เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยประชาราษฏรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าท้องถิ่นนั้นจะทุรกันดารเพียงใด เสด็จไปทุกหนแห่ง ทำให้เกิดโครงการพระราชดำรินับร้อยนับพันโครงการ ซึ่งไม่มีพระมหากษัตริย์ใดในโลกเสมอเหมือน
   ตลอดระยะเวลา หกสิบปีที่เถลิงถวัลยราชสมบัติ   ระยะแปดสิบปีที่ปกครองดูแลพระบารมีแผ่ไพศาลทรง  ทรงมีพระราชอุตสาหะอันแรงกล้าที่จะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎรของพระองค์ที่อยู่ใต้ร่มฟ้าพระบารมีทั้งทางตรงและทางอ้อม พระบารมีที่ปกเกล้าปกกระหม่อมประจักษ์จิตชัดเจนทุกก้าวย่างจารจารึกในจิตใจประชนของพระองค์ไม่รู้ลืม
   โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดกำแพงเพชรของเรา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จมาเยือนถึงสามครั้ง แต่ละครั้งนำความปลื้มปิติ และสิ่งที่ดีมีมงคลมามอบให้ชาวกำแพงเพชรเสมอ
ทุกรอยละอองธุลีพระบาทที่ทรงยาตรย่ำลง ณ สถานที่ใด ชาวกำแพงเพชรยังจดจำอยู่มิรู้คลาย
ภาพต่างๆ ได้ประทับในดวงจิตชาวประชากำแพงเพชรมิลืมเลือน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชรครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ . 2510  ถึงกำแพงเพชรเวลา 10.30 น. เพื่อบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อพ.ศ. 2126 ทรงกรีธาทัพผ่านเมืองกำแพงเพชร ประทับที่วัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันคือวัดกะโลทัย วันรุ่งขึ้นพักทัพชัยที่ตำบลหนองปลิงสามเพลา)วันที่ 25 มกราคม ด้วยเหตุผลที่ว่า วันนี้เมื่อ พ.ศ.2135 ตรงกับวันจันทร์ แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำการยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่ แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถ ความกล้าหาญเด็ดขาด และการเป็นผู้นำทัพที่อัจฉริยะ จนเป็นที่ยำเกรงแก่หมู่ปัจจมิตร เป็นผลให้ประเทศไทยคงคืนความเป็นเอกราชสืบมาจนทุกวันนี้(วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
นายร้อยตำรวจโทปิ่น  สหัสโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เข้าเฝ้าถวายบังคมทูลอัญเชิญล้นเกล้าทั้งสองพระองค์เสด็จกระทำบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร และเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ บรรดาราษฎรพากันตั้งโต๊ะหมู่บูชาสองข้างทาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงรับศีลก่อนทำพิธีบวงสรวง เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ จึงทรงบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร แล้วเสด็จทอดพระเนตรผังเมืองเก่าและโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรจัดให้ทอดพระเนตร จากนั้นเสด็จมายังศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.30  น. จึงเสด็จออกมาปลูกต้นสัก ณ บริเวณ หน้าศาลากลางจังหวัด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นด้านขวา และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงปลูกต้นด้านซ้าย ของศาลากลาง แล้วจึงเสด็จเยี่ยมราษฎรของพระองค์ เสด็จกลับด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
เพื่อเสด็จสู่จังหวัดพิษณุโลกและประทับเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จนิวัติพระนคร
ปัจจุบันต้นสักที่ทรงปลูก  จังหวัดกำแพงเพชร ได้นำภาพถ่ายที่ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกมาขยายใหญ่ มาตั้งไว้  ณ ที่ นั้น นับว่าเป็นการทำที่ถูกต้องเหมาะสมยิ่ง และการได้ขยายพันธุ์สักพระราชทาน ไปปลูกทั่วทั้งจังหวัดกำแพงเพชร แสดงถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล สมควรได้รับการยกย่อง

   ครั้งที่สอง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธร เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) เป็นเจ้าอาวาส
ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถซึ่งกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เป็นเงินหก
หมื่นบาท ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ   ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ  ส. ก.มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ. 2523    และพระราชทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย  หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 9 นิ้ว ว่าพระพุทธวชิรปราการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527    มีราษฎรมาเข้าเฝ้ารับเสด็จจำนวนมาก  ทั้งสามพระองค์ ทรงเกษมสำราญพระราชหฤทัย ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรอย่างใกล้ชิดนำความสุขมาสู่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า พระองค์ เสด็จนิวัติพระนครในวันเดียวกัน
 

 


 

1219  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การประกวดสุนทรพจน์ เรื่องพ่อของแผ่นดิน (บทโทรทัศน์วัฒนธรรม) เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 01:30:44 pm
สโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชรร่วมกับสถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร( ๑๐๐.๒๕)   สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เชิญร่วมประกวดสุนทรพจน์เรื่อง ?พ่อของแผ่นดิน? เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ เพื่อให้เยาวชน ได้ระลึกถึง พระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกคน โดยแบ่งผู้เข้าประกวดเป็น
๒ ระดับคือ
      ๑.  ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่  ๑-๒    (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ) มีผู้ประกวด จำนวน ๓๔ คน จากเกือบ๒๐ สถาบันการศึกษา
      ๒. ระดับมัธยมศึกษา   ช่วงชั้นที่ ๓-๔      (มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ รวมทั้ง ระดับป.วช.) มีผู้เข้าประกวด ๕๐ คน จากสามจังหวัดคือ กำแพงเพชร พิจิตร ตาก จากยี่สิบกว่าสถาบันการศึกษา
         ที่น่ามหัศจรรย์ คือตัวเลขของผู้สมัคร เข้าประกวดนั้น มีตัวเลขอยู่ที่ ๘๔ พอดี ตรงกับวันที่พระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุย่างเข้า ๘๔ พรรษาพอดี ทำให้บรรดาผู้จัดประกวดรู้สึกประหลาดใจในความพอดี ของจำนวนผู้เข้าประกวด
         ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ  สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร โรงเรียนอนุบาลวาริน มีผู้เข้าชมจำนวนมาก ทั้งครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้สนใจ มีการถ่ายทอดสด ไปยังบ้านของประชาชน ทำให้มีผู้ฟัง อีกหลายพันคน นับว่าประความสำเร็จ ในระดับความต้องการ ของผู้จัดอย่างเต็มเปี่ยม
              ผลการประกวด มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้ระดับประถมศึกษา มีผู้ประกวด  ๓๔ คน มีผลดังนี้
รางวัลที่ ๑  เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล เด็กชายจักรณรงค์ อินพหล  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   คะแนน ๔๗๗
รางวัลที่ ๒  เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงนภิสรา   ศรีศักดา  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   ตะแนน ๔๗๖
รางวัลที่ ๓  เงินสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงจิตติมา  วงศ์เอี๊ยด โรงเรียนบ้านนาบ่อคำ           คะแนน ๔๗๑
รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๑ เด็กหญิงสิริรัตน์       เจริญศรี         โรงเรียนวรนาถวิทยา   ตะแนน
๒ เด็กหญิงชญานิตย์   สถิตย์อยู่         โรงเรียนสาธิต
๓ เด็กหญิงเพ็ญศรี      คงแสน           โรงเรียนเพชรศึกษา
๔ เด็กหญิงกัลติชา     บุตตวัน           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๕ เด็กหญิงพรวิลัย      สุขแสง           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๖ เด้กหญิงนิรมล        กงจีน             โรงเรียนอนุบาลนครชุม
๗ เด็กหญิงเบญจมาศ  ผิวขาว              โรงเรียนเทศบาล ๓
๘ เด็กหญิงณภัทร       กาญจนจันทร์     โรงเรียนจงสวัสดิ์เจริญวิทยา
๙ เด็กหญิงนิภาพร       จงกลรัตน์         โรงเรียนวัดคูยาง
๑๐ เด็กหญิงสิริกุล      คำมีสว่าง          โรงเรียนวรนาถวิทยา

ระดับมัธยมศึกษา มีผู้เข้าประกวดจำนวน ๕๐คน  จากกำแพงเพชร ตาก พิจิตร มีผลการประกวดดังนี้

รางวัลทึ ๑ เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวสุพัตรา  ยิ้มบุญเกิด โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม               ๔๙๔ คะแนน
รางวัลที่ ๒ เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวชญาภัทร ศรีไพร    โรงเรียนภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี ๔๙๐ คะแนน
รางวัลที่ ๓ เงิรสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  นายนิรันดร์  เกษมี           โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม            ๔๘๕ คะแนน

รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๑นางสาวนิสา นวลจันทร์  โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
๒ นางสาวศศิมล หิงไธสง   โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
๓. นายนิรันดร์ เกษมี          โรงเรียนพิไกรวิทยา
๔ นางสาวเจนจิรา แจ่มแจ้ง  โรงเรียนพิไกรวิทยา
๕ นางสาวหนึ่งฤดี  ชื่นชอบ   ภักดีพณิชยการ
๖ เด็กหญิงธันวารัตน์  ปั้นทอง โรงเรียนเทศบาล ๑
๗ นางสาวจันจิรา แซ่กือ       ภักดีพณิชยการ
๘ นางสาวพรชุดา แซ่โช้ง       ภักดีพณิชยการ
๙ นางสาวกัลยาณี พรมเอี้ยง   โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
๑๐นางสาวอุมาพร  สุทธิธรรม  โรงเรียนวัชรวิทยา
ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสำคัญนี้ทุกท่าน ทั้งผู้ให้ทุนดำเนินการ คณะกรรมการ สถาบันการศึกษา และผู้ปกครองทุกคน เราได้มีโอกาส ตอบแทนพระคุณของพระเจ้าอยู่หัวร่วมกัน
1220  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการเรื่อง พระธาตุขามแก่น เจิดหล้า คู่ฟ้าแผ่นดินอิ เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 10:38:45 am
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
          บทโดย อาจารย์สันติ อภัยราช  ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรม) ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
บทนำ

๑นาที

   ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน .(.หน่วยงาน.).......................ขอเชิญทุกท่านได้เข้าสู่จินตนาการ แห่งการแสดง แสงเสียง เรื่อง พระธาตุขามแก่น เจิดหล้า คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน อันเป็นตำนานในการสร้าง พระธาตุขามแก่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น และเป็นที่มาของ ชื่อเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน  เพื่อแสดงความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริยาธิราช ของแผ่นดินไทย ขอให้ทุกท่านได้โปรดยืนขึ้นเพื่อแสดงจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยมาตราบนานเท่านาน
(เพลงสรรเสริญบารมี)   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น จรัสหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


๑๐นาที



   พระธาตุจรัสหล้า แสวงหาทุกบ้านเมือง
ฃภายหลังจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่กรุงกุสินารา
พระมหากัสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยราชบริวาร ได้มานมัสการถวายพระเพลิงแล้ว
ยังมิทันจะดำเนินการอย่างไร กษัตริย์ทั้ง ๗ อันได้แก่
พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
กษัตริย์ลิจฉวี แห่ง เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลีแห่งเมือง อัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะแห่งเมือง รามคาม
กษัตริย์มัลละ แห่งเมืองปาวา
กษัตริย์แห่งเมืองเวฎฐทีปกะ
ได้มาด้วยพระองค์เอง และได้ส่งราชทูต ไปเจรจา ขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพวกมัลละแห่งเมืองกุสินารา เพื่อนำไปสักการบูชา ในแว่นแคว้นของตน
พระเจ้ากุสินารา  ธรรมดาว่ารัตนะทั้งหลาย ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวะโลก ก็พระรัตนตรัยนั้นเกิดในเขตคามของพวกเราเราจักไม่ยอมให้ส่วนแบ่งแห่ง พระบรมสารีริกธาตุนั้นแก่ผู้ใด
กษัตริย์ทั้ง ๗ นคร
ถ้าท่านไม่ให้พระบรมธาตุแก่เราเราจะยกกองทัพมาทำลายนครกุสินาราเสีย   

โทณพราหมณ์
พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
กษัตริย์ลิจฉวี แห่ง เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลีแห่งเมือง อัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะแห่งเมือง รามคาม
กษัตริย์มัลละ แห่งเมืองปาวา
กษัตริย์แห่งเมืองเวฎฐทีปกะ
กษัตริย์มัลละ แห่งกุสินารา
และราชทูต ทั้งแปด
   
                                                                                                                                       การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น จรัสหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                  
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

   โทณพราหมณ์  สดับถึงเรื่องราว การวิวาทของกษัตริย์เหล่านั้น ดำริว่า พวกเจ้าเหล่านี้ก่อวิวาทกันในสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพานเป็นการ
ไม่ควร จำเราจักระงับการวิวาทนั้นเสีย
โทณพราหมณ์   (ขึ้นไปยืนที่สูง)ดูก่อนท่านผู้เจริญขอพวกท่านจงฟังคำของ
ข้าพเจ้า พระศาสดาของเราทั้งหลายเป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การที่พวกท่านจะประหัตถประหารกัน ด้วยเหตุแห่งพระบรมสารีริกธาตุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งอันควรแก่การสักการะอย่างสูงเช่นนี้ ไม่ดีเลย
พวกท่านทั้งหมด จงเกื้อกูลซึ่งกันและกันเถิด
คำกล่าวครั้งแรก ของโทณพราหมณ์ ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเพราะต่างกำลังถกเถียงกันว่า จะทำประการใด อาศัยที่
โทณพราหมณ์ เป็นอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ และพราหมณ์ในภาคพื้นชมพูทวีปไม่มีผู้ใดไม่รู้จักท่าน
โทณพราหมณ์   (ประกาศด้วยเสียงอันดังมากขึ้นว่า)
พวกท่านจำเสียงของอาจารย์ท่านไม่ได้หรือ หากจำได้ ขอทุกท่านจงพากันเงียบเสียง แล้วฟังวาจาของข้าพเจ้า จักกล่าวให้จงดี
กษัตริย์ทั้งปวง เมื่อได้ยินเสียงก็จำได้ว่าเป็นเสียงของอาจารย์ตน พากันสงบเงียบลงราวกับไม่มีผู้คน   


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โทณพราหมณ์    ขอท่านทั้งหลายทั้งปวง ขอท่านจงยินยอมพร้อมใจกัน เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เราจงมีไมตรีต่อกันเถิด เรายินดีจะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเป็น ๘ ส่วน เท่าๆกัน เพื่อให้ทุกท่านนำกลับไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ยังแว่นแคว้นบ้านเมืองของท่านเถิด เพื่อพระบรมสารีริกธาตุ ได้เสด็จไปทุกทิศานุทิศ ให้ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้นำไปบูชาต่อไป
บรรดากษัตริย์ ทั้ง ๗ พระองค์
   ข้าแต่ท่านโทณพราหมณ์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ยินยอมทำตามคำแนะนำของท่านขอท่านผู้เจริญ โปรดได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ออกเป็นแปดส่วนให้เท่าๆกันด้วยเถิด

ส่วนโทณพราหมณ์ ได้ขอทะนานที่ตวงพระบรมสารีธาตุ กับบรรดากษัตริย์เพื่อนำไปสร้างสถูปที่เมืองของตนเช่นกัน
 ประชาชนทุกเมืองต่างพากัน เฉลิมฉลอง ทั่วทั้งแผ่นดินชมพูทวีป ด้วยบารมีแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   













       
     
บทสวด   

จุดพลุ ประกอบ
   


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
๒.

๑๕นาที


   ฟูเฟื่องพระบรมสารีริกธาตุสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ
ในท้องพระโรงโมริย์กษัตริย์ แห่งสุวรรณภูมิ ข้าราชการเข้าเฝ้าเต็มท้องพระโรง
โมริยกษัตริย์
  ท่านทั้งหลาย ขณะนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เราใคร่ได้ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ มาประดิษฐานไว้ยังสถูป ที่สุวรรณภูมิของเรา เพื่อสักการบูชา แทนพระพุทธองค์ต่อไป ใครเห็นเป็นประการใด
ข้าราชบริพาร (กล่าวขึ้นพร้อมกัน)
    ข้าแต่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งในในสุวรรณภูมิ ข้าพระพุทธเจ้า มีความเห็นพร้อมกันว่า สมควรที่จะ เสด็จไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้ในแผ่นดินสุวรรณภูมิ เพื่อให้ประชาราษฎร ได้ระลึกพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไป พระพุทธเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์ ( หันมาทางพระมเหสี)  พระน้องนางมีความเห็นประการใด โปรดได้ตรัสเพื่อเป็นกำลังใจแก่แผ่นดินสุวรรณภูมิของเราเถิดท่านผู้เลอโฉมแห่งปฐพี  สุวรรณภูมิ
พระมเหสี   ข้าแต่พระสวามี บรมกษัตริยาธิราชแห่งแผ่นดินสุวรรณภูมิ หม่อมฉันเห็นว่า สมเด็จพี่ สมควรได้เสด็จไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ชมพูทวีปด้วยพระองค์เอง และท่ามกลางแสนยานุภาพแห่งสุวรรณภูมิ เพื่อป้องกันการถูกแย่งชิงระหว่างทาง เพราะ พระบรมสารีริกธาตุ ย่อมเป็นที่ต้องการแห่งทุกเมืองในปฐพีแห่งนี้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระพุทธเจ้าข้า   พระมหากัสสปะ
โมริยกษัตริย์
พระมเหสี
ข้าราชบริพาร  ๖ คน
นางสนมกำนัล ๔ คน
ขุนวัง




การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โมริย์กษัตริย์   ท่านมหาอำมาตย์  ให้ท่านจัดกองทัพธรรม ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ณ ชมพูทวีป โดยล่วงหน้าไป เราจะจัดช้างม้าพลไกร ไปอัญเชิญพระบรมธาตุ ด้วยตัวเราเอง
มหาอำมาตย์  พระพุทธเจ้าข้า  ข้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จเป็นกองทัพหน้า นำมหาราชสู่ดินแดนชมพูทวีปอย่างรวดเร็วพระพุทธเจ้าข้า

การเดินทางอันแสนทุรกันดารลำบากเหลือแสน ผ่านป่าเขา แนวพนม ดั้นด้นเดินทางอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ไม่นานนักก็ถึงง ชมพูทวีป ใช้เวลาเดินทางราวครึ่งปีกองทัพหน้า ของโมริย์กษัตริย์ เสด็จถึง นครกุสินารา แคว้นมัลละและถัดจากนั้นอีกวันเดียว กองทัพธรรมของโมริย์กษัตริย์ เสด็จนครกุสินารา   พระเจ้ามัลละเสด็จ มารับทัพหลวงด้วยพระองค์เอง

พระเจ้ามัลละ  ข้าแต่มหาราชแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ เหตุใดท่านจึงดั้นด้นมาเยี่ยมเราถึงชมพูทวีป แผ่นดินอันไกลโพ้นแห่งนี้ ท่านปรารถนาสิ่งใดฤา โปรดบัญชา เราชาวมัลละ ยินดีที่จะตอบสนองความต้องการของท่านทันที พระเจ้าข้า

   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


   โมริย์กษัตริย์   สมเด็จพี่แห่งชมพูทวีป เราได้ข่าวถึงกาลปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา แห่งศาสนาพุทธ เราใคร่ขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ไปบูชา ที่สุวรรณภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้กระทำบูชา แสดงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระเจ้าข้า
มัลละกษัตริย์  ข้าแต่มหาจักรพรรดิ์ แห่งสุวรรณภูมิ  อันพระบรมสารีริกธาตุนั้น เราได้แบ่งไปหมด และสร้างสถูปเจดีย์บรรจุไว้แล้ว ไม่สามารถแบ่งปันให้มหาราชได้ แต่เราได้รวบรวมพระอังคารธาตุ ของพระพุทธองค์ บูชาไว้ยังมิได้บรรจุในสถูปเจดีย์เรายินดีถวายพระอังคารธาตุแก่มหาราช ตามที่มหาราชต้องการพระเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์  ขอบพระทัย สมเด็จพี่ ที่ทรงพระบารมีแผ่ไพศาล ไปถึง สุวรรณภูมิ หม่อมฉันจะ นำพระอังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้าไปบรรจุไว้  ณ พระธาตุแห่งสุวรรณภูมิ   ประชาชนทั้งสุวรรณภูมิจะได้กระทำบูชาพระพุทธเจ้ากันได้ทั้งสุวรรณภูมิ พระพุทธเจ้าข้า

มัลละกษัตริย์  แห่งนครกุสินารา ได้นำพระอังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้า ใส่ใน   กระอูบทองคำ ถวายแด่ โมริย์กษัตริย์ แลในการนั้น  กองทัพธรรมได้เสด็จกลับมายังสุวรรณภูมิ  โดยสวัสดิภาพ เพื่อกระทำบูชา พระอังคารธาตุนั้น   

การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
   ประชาชนและทหารในกองต่างพากันแห่แหน พระอังคาร ธาตุ สู่โมริย์นครแห่งสุวรรณภูมิ
 บรรดาประชาชนพากันมา ถวายการต้อนรับ โมริย์กษัตริย์ และกระทำบูชาต่อพระอังคารธาตุ กันอย่างสนุกสนาน ถ้วนหน้ากัน
( การแสดง รื่นเริง ๑ ชุด  ไม่เกิน ๕ นาที )     

 การแสดง แคน อีสาน ๑ ชุด
๒๐ คน ไม่เกินห้านาที


   การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง


๒๐ นาที

   เมืองพระธาตุขามแก่น ดินแดนแห่งศรัทธา
  กาลผ่านมา ๓ ปี พระมหากัสสปะเถระพระภิกษุผู้ใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือของทุกผู้คนในสุวรรณภูมิ  พระมหาเถระโปรดให้นำพระอุรังคธาตุคือพระธาตุบริเวณพระอุระของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า  จึงได้สร้างพระธาตุพนมขึ้นเพื่อกระทำการบูชา แด่ประชาชน ชาวสุวรรณภูมิ
โมริย์กษัตริย์  ข้าแต่พระอรหันต์แห่งสุวรรณภูมิ  เราจะนำพระอังคารธาตุไปประดิษฐาน ณ พระธาตุพนมร่ามกับพระอุรังคธาตุ ท่านมีความเห็นเป็นประการใด
หมู่พระอรหันต์   ข้าแต่มหาบพิตร ผู้เจริญ เหล่าพระอรหันต์ต่างเห็นด้วย ในการดำเนินการประดิษฐาน พระอังคารธาตุรวมกับ พระอุรังคธาตุ ณ พระธาตุพนมพระเจ้าข้า
โมริย์กษัตริย์   เราจะจัดขบวน อัญเชิญพระอังคารธาตุ ไปประดิษฐาน ณ พระธาตุพนม ณ บัดนี้  ท่านมหาเสนา ท่านจงจัดขบวน พยุหยาตรา ยกขบวนแห่งธรรมา ไปสู่พระธาตุพนม ณ บัดนี้
   ขบวนแห่แหนพระอังคารธาตุ ประกอบด้วย เหล่านักมวย ร่ายรำท่ามวยโบราณ
นำหน้าขบวน ตามด้วย  ขบวนโคมไฟงดงามระยิบระยับตา  ขบวน พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้   ขบวนฟ้อนแคน  ต่อด้วยขบวนพระอังคารธาตุ อันงดงามอลังการ  ประชาชน ตามเสด็จพระอังคารธาตุ   ปิดท้ายด้วทหารถืออาวุธ อย่างน่าเกรงขาม เสียงพยุหยาตรา ดังสนั่นไปทั้งป่า   
พระมหากัสสปะ
โมริย์กษัตริย์
หมู่ พระอรหันต์
พระมเหสี
สนมกำนัล
ข้าราชบริพาร
ประชาชน

นักมวยโบราณ
ขบวนโคมไฟ
ขบวนพนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้ ขบวนฟ้อนแคน
ขบวนพระอังคารธาตุ
ทหารถืออาวุธ              
   
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
๓   การเดินทางขึ้นมาทางทิศเหนือ แต่พอมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง เป็นเวลาค่ำพอดีประกอบกับภูมิประเทศที่งดงามเป็นลานกว้างใหญ่เหมาะสำหรับพักขบวนอัญเชิญพระอังคารธาตุ  สบกับลำน้ำสามสายมาบรรจบกันไหลผ่านดอนมะขามแห่งนี้
โมริย์กษัตริย์  ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขณะนี้ เราได้ถึงชัยภูมิอันเหมาะสม ที่จะพักขบวนพยุหยาตรา อัญเชิญพระอังคารธาตุแล้ว บริเวณกลางดอน มีมะขามใหญ่ ล้มต้นตายอยู่หรือแต่แก่น เหมาะสำหรับอัญเชิญพระอังคารธาตุประดิษฐาน ในราตรีนี้
( วางพระอังคารธาตุไว้บนแก่นมะขาม บรรดาผู้ติดตามในขบวนเสด็จพากันหลับสิ้น)
     
ทันใดเกิด แสงว่างวาบขึ้น ที่พระอังคารธาตุ ที่ประดิษฐาน ณ แก่นมะขาม พระเจ้าโมริย์กษัตริย์ พากันก้มลงกราบพระอังคารธาตุ แล้วแยกกันไปพักผ่อน ใบบริเวณใกล้เคียง
เมื่อขบวนเสด็จพระอังคาร ธาตุถึงภูกำพร้า  ปรากฏว่า ได้ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ เสร็จเรียบร้อยแล้วใน พระธาตุพนม ไม่สามารถ ประดิษฐาน พระอังคารธาตุได้อีก 
โมริย์กษัตริย์  พระพุทธองค์คงมีพระประสงค์ให้เราสร้างพระธาตุแห่งใหม่ขึ้น ณ ที่เหมาะสม มิใช่ที่พระธาตุพนม แห่งนี้ ขอพวกเราได้ ค้นหาสถานที่เหมาะสม ในการสร้างพระธาตุ เพื่อประดิษฐาน พระอังคารธาตุแห่งนี้เถิด
   






การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

   พระมเหสี  เมื่อพระองค์ประทับแรมที่ดอนมะขาม นั้น พระพุทธองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์ ให้เห็นว่า เป็นแสงสว่าง ที่ดอนมะขามอยู่ช้านาน ขอพระองค์ท่านโปรดได้เสด็จไป ที่ดอนมะขามเถิด เพื่อดูความมหัศจรรย์เกิดขึ้น
โมริยกษัตริย์  เราจะเสด็จกลับไปที่ดอนมะขามแห่งนั้น ถ้ามีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นจริง เราจะสร้างพระธาตุขามแก่นณ ที่แห่งนั้น  เพื่อประดิษฐานพระอังคารธาตุแห่งพระพุทธเจ้า ทุกท่านคิดเห็นประการใด

บรรดาเหล่ามหาอำมาตย์  ข้าพระพุทธเจ้าเห็นสมควรตามที่ พระองค์ทรงวินิจฉัย พระพุทธเจ้าข้า

เมื่อขบวนอัญเชิญพระอังคารธาตุ เสด็จมาถึงยัง ดอนมะขามสถานที่ พักพระอังคารธาตุ ทุกคนตลึงในความมหัศจรรย์ เมื่อต้นมะขามที่ประดิษฐานพระอังคารธาตุ เมื่อเดือนก่อน ที่มีเฉพาะแก่นและล้มตายไปแล้วนั้น กลับลุกขึ้นยืนต้นอย่างสง่างามและผลิดดกออกผล แตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชอุ่มตระการตายิ่งนัก  มีลำธารไหลอุดมสมบูรณ์สิงสาราสัตว์ นกร้องระงม แสดงถึง ความอุดมแห่งแผ่นดินแห่งนี้   








การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
   บางตำนานของพระธาตุขามแก่น บันทึกไว้ว่า  พระยาหลังเขียว เป็นอีกนามหนึ่งของโมริย์กษัตริย์ ได้ สร้างพระธาตุขึ้น  ดังความว่า
             พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ และ พระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้

(ประชาชนพากันเฉลิมฉลอง ด้วยการแสดงประจำจังหวัดขอนแก่น ๑ชุด)

ปาฏิหาริย์แห่งพระอังคาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ฟื้นชีวิตแก่นมะขามสู่พระธาตุ อันเป็นศูนย์รวมความศรัทธาแห่งประชาชนชาวขอนแก่น และชาวอีสาน ที่ช่วยดลบันดาลให้ประชาชน สมหวังในทุกประการ   


 การแสดง ประจำจังหวัดขอนแก่น ๑ชุด
การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง
องก์ที่  ๔
พระบารมีปกเกล้า

๕นาที   
ด้วยบารมีแห่ง
พระธาตุขามแก่น  ณวัดเจติยภูมิ  ต.บ้านขาม         อ.เมือง              จ. ขอนแก่น 
ชาวขอนแก่นให้ความเคารพนับถือพระธาตุขามแก่นอย่างสูงโดยเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุว่าได้ปกปักรักษาให้ชาวขอนแก่นมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง  และหากมาสักการะขอพระพระธาตุขามแก่นจะมีความสำเร็จดังปรารถนา ทุกประการ           



ด้วยบารมี แห่งพระธาตุขามแก่น ขอดลบันดาลให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระชนมายุนาน ทรงบารมีคุ้มเกล้าประชาชนชาวไทยต่อไปตราบนิรันดร์กาลเทอญ

จบด้วย จินตลีลาชุด
             เพลง คิงออฟคิง   













       
       
      
   


การแสดง แสงเสียง ประกอบจินตนาการ
เรื่อง พระธาตุขามแก่น  เจิดหล้า  คู่ฟ้าแผ่นดินอิสาน
                     
องก์ที่                                        คำบรรยาย                  ตัวละคร      เพลงประกอบ        แสง -เสียง

จบ








   ฟินาเร่

เพลงมาร์ช  จังหวัดขอนแก่น   













       
       
      
   


1221  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / งานแถลงข่าวพิธีเททองหล่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วงไปจากบ้านโคน เมื่อ: ธันวาคม 09, 2010, 09:33:39 pm
 วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอดุลย์ โพธิ์อ่วม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตำบลคณฑื
เปิดแถลงข่าว กำหนดการเททองหล่อ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ร่วมกับ
นายสันติ อภัยราช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
นายสมัย เชื้อทอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร
และนายรุ่งเรือง สอนชู ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านเทพนคร


ผู้ค้นคว้าเรื่องพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มาจากบ้านโคนกำแพงเพชร มีผู้สื่อข่าวเข้ารับฟังจำนวนมาก ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี

 เนื่องจากมีการค้นคว้า เรื่องพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สอบความได้ว่า ท่านเสด็จไปจากบ้านโคน เมืองกำแพงเพชร เพื่อระลึกถีง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงได้หล่อรูปพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้น เพื่อสักการะบูชา ที่วัดปราสาท  ตำบลคณฑี

โดยกำหนดเททอง ณวัดปราสาท ต.คณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

   วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
      เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
             ๑๘.๐๙ พิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์
             ๑๙.๐๙ พิธีเททองหล่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์









1222  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / กำหนดการอบรมนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เมื่อ: ธันวาคม 07, 2010, 09:42:41 pm
กำหนดการอบรมนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร                                          
เรื่อง  ฝึกหัดการพูดอย่างผู้นำ ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย                                                            
 วันเสาร์ที่ ๑๘ วันอาทิตย์ที่ ๑๙  ธันวาคม ๒๕๕๓  เวลา ๙.๐๐ น-๑๖.๐๐ น.                                                        
  ณ ห้องประชุมชั้น ๑ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร                        [/color]      
                                         -----------------------------------
วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
๙.๐๐ น ? ๑๐.๐๐ น.       พิธีเปิดและ บรรยายพิเศษ โดย  พระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร
๑๐.๐๐ น. ? ๑๐.๒๐ น.       แนะนำสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร โดยคุณสุทัศน์ ทัศนะแจ่มสุข
                                                        ผู้ก่อตั้งสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
๑๐.๒๐ ? ๑๐.๔๐ น.      พัก อาหารว่าง
๑๐.๔๐ ? ๑๒. ๐๐ น.      เทคนิคการพูดในระบบโทสมาสเตอร์  โดยคุณปรีชา แก้วสุข  
                                                       นายกสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
                                                       สาธิตการพูดบทที่ ๑ เล่าประวัติตนเอง โดย นางสาวชญาภัทร ศรีไพร
                               สาธิตการพูดบทที่ ๒ เล่าเรื่องประทับใจ โดยคุณชูสุดา  เข็มทิศ
                      สาธิตการพูดบทที่ ๓ การสร้างโครงเรื่อง โดย เด็กหญิงนภิสรา ศรีศักดา
            สาธิตการพูดบทที่ ๔ เรื่องการใช้ภาษากาย โดยคุณสุเทพ ปานพรหม
            สาธิตการพูดบทที่ ๕ เรื่องการใช้น้ำเสียง โดยคุณเทพฤทธิ์  โสภาเพีย
            าธิตการพูดบทที่ ๖ สุนทรพจน์สมบูรณ์แบบ โดยอาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
            สาธิตการพูดบทที่ ๗ เรื่องการพูดโน้มน้าวใจ โดย อาจารย์รัชนีย์ ศรีศักดา
๑๒.๐๐ น. ? ๑๓.๐๐ น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น. ? ๑๖.๐๐ น      ฝึกพูด โดย ให้เตรียมตัว ๑ ชั่วโมง ระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน
ให้นักศึกษาเลือก คนละ ๑บทพูด (บทที่ ๑- ๓) ตามความสมัครใจ จับฉลากพูด ตามเวลาที่กำหนด คนละไม่เกิน ๕ นาที (ได้ประมาณ ๒๔ คน)
ผู้วิจารณ์เฉพาะบุคคล
            พตอ. กวีรัช กตัญญู     คุณสายรุ้ง  วงศ์สมบูรณ์    คุณอมร ถาวรศักดิ์
คุณอธิคม สือพัทธิมา  คุณชนก เชียงมูล  คุณสมนึก ประวัติศรีชัย
ผู้วิจารณ์ทั่วไป  อาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
 
พิธีกร ประจำวัน  คุณปราณี หมั้นเขตวิทย์    คุณสายรุ้ง วงศ์สมบูรณ์
วันอาทิตย์ที่  ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
             ๙.๐๐ น. ?  ๑๐.๓๐ น       พูดอย่างผู้นำ ทำอย่างไร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
   ๑๐.๓๐ น.- ๑๑.๐๐ น.      พัก   อาหารว่าง
   ๑๑.๐๐ น. ? ๑๒.๐๐น      การพูดในโอกาสพิเศษในบริบทสังคมไทย
                                                                  โดยอาจารย์มงคล มั่นเขตวิทย์
          ๑๒.๐๐ น.- ๑๓.๐๐ น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน
          ๑๓.๐๐ น ? ๑๕.๐๐ น.      ฝึกการพูดในโอกาสพิเศษ คนละ ๓ นาที โดยสถานการณ์สมมุติ
                    (ได้ประมาณ ๔๐คน) ทุกคนเตรียมตัวจับฉลากพูด
ผู้วิจารณ์เฉพาะบุคคล  พตอ. กวีรัช กตัญญู     คุณสายรุ้ง  วงศ์สมบูรณ์    คุณอมร ถาวรศักดิ์  คุณอธิคม สือพัทธิมา  คุณชนก เชียงมูล  คุณสมนึก ประวัติศรีชัย คุณสุเทพ ปานพรหม  คุณรัชนีย์ ศรีศักดา            คุณเทพฤทธิ์ โสพาเพีย  คุณรัชนีย์ ศรีศักดา คุณชูสุดา เข็มทิศ   คุณปราณี หมั้นเขตวิทย์                                                  

วิจารณ์ทั่วไป โดยอาจารย์สันติ อภัยราช
๑๖.๐๐ น.          ปิดการอบรม โดย คุณปรีชาแก้ว สุข นายกสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร

พิธีกรประจำวัน   คุณชญาภัทร์  ศรีไพร     คุณนภิสรา  ศรีศักดา  
1223  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ผลการประกวดสุนทรพจน์วันพ่อแห่งชาติ เรื่องพ่อของแผ่นดิน ๒๕๕๓ สโมสรฝึกการพูดกำแ เมื่อ: ธันวาคม 07, 2010, 09:17:50 am
ระดับประถมศึกษา มีผู้ประกวด  ๓๔ คน
        มีผลดังนี้
รางวัลที่ ๑  เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล เด็กชายจักรณรงค์ อินพหล  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   คะแนน ๔๗๗
รางวัลที่ ๒  เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงนภิสรา   ศรีศักดา  โรงเรียนอนุบาลกำแพงเพชร   ตะแนน ๔๗๖
รางวัลที่ ๓  เงินสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล  เด็กหญิงจิตติมา  วงศ์เอี๊ยด โรงเรียนบ้านนาบ่อคำ           คะแนน ๔๗๑

รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

๑ เด็กหญิงสิริรัตน์       เจริญศรี         โรงเรียนวรนาถวิทยา   ตะแนน
๒ เด็กหญิงชญานิตย์   สถิตย์อยู่         โรงเรียนสาธิต
๓ เด็กหญิงเพ็ญศรี      คงแสน           โรงเรียนเพชรศึกษา
๔ เด็กหญิงกัลติชา     บุตตวัน           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๕ เด็กหญิงพรวิลัย      สุขแสง           โรงเรียนบ้านบ่อแก้ว
๖ เด้กหญิงนิรมล        กงจีน             โรงเรียนอนุบาลนครชุม
๗ เด็กหญิงเบญจมาศ  ผิวขาว              โรงเรียนเทศบาล ๓
๘ เด็กหญิงณภัทร       กาญจนจันทร์     โรงเรียนจงสวัสดิ์เจริญวิทยา
๙ เด็กหญิงนิภาพร       จงกลรัตน์         โรงเรียนวัดคูยาง
๑๐ เด็กหญิงสิริกุล      คำมีสว่าง          โรงเรียนวรนาถวิทยา



ระดับมัธยมศึกษา มีผู้เข้าประกวดจำนวน ๕๐คน  จากกำแพงเพชร ตาก พิจิตร มีผลการประกวดดังนี้

รางวัลทึ ๑ เงินสด ๕๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวสุพัตรา  ยิ้มบุญเกิด โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม               ๔๙๔ คะแนน
รางวัลที่ ๒ เงินสด ๓๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ นางสาวชญาภัทร ศรีไพร    โรงเรียนภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี ๔๙๐ คะแนน
รางวัลที่ ๓ เงิรสด ๑๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ  นายนิรันดร์  เกษมี           โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม               ๔๘๕ คะแนน

รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัลๆละ ๕๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

๑นางสาวนิสา นวลจันทร์  โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
๒ นางสาวศศิมล หิงไธสง   โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
๓. นายนิรันดร์ เกษมี          โรงเรียนพิไกรวิทยา
๔ นางสาวเจนจิรา แจ่มแจ้ง  โรงเรียนพิไกรวิทยา
๕ นางสาวหนึ่งฤดี  ชื่นชอบ   ภักดีพณิชยการ
๖ เด็กหญิงธันวารัตน์  ปั้นทอง โรงเรียนเทศบาล ๑
๗ นางสาวจันจิรา แซ่กือ       ภักดีพณิชยการ
๘ นางสาวพรชุดา แซ่โช้ง       ภักดีพณิชยการ
๙ นางสาวกัลยาณี พรมเอี้ยง   โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
๑๐นางสาวอุมาพร  สุทธิธรรม  โรงเรียนวัชรวิทยา

1224  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประชุมสภาวัฒนธรรมภาคเหนือที่แม่ฮ่องสอน ๒๖-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ประทับใจ เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 07:25:33 pm


แม่น้ำปาย ถ่ายจากสะพานประวัติศาสตร์อำเภอปาย งดงามและมีเสน่ห์มาก




คุณศรีสมร เทพสุวรรณ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  เพื่อนเดินทางที่แสนอบอุ่น



 เพื่อนร่วมดินทาง น้องๆทุกคนน่ารัก และดูแลผู้เฒ่าอย่างดี



 สาวๆมีความสุขมากกับการเดินทางระหว่างพักผ่อนหน้าเมืองปาย



หน้าวัดน้ำฮู สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองปาย

[/img]

ศูนย์วัฒนธรรมไทย จีน ที่อำเภอปาย จัดทำได้น่าสนใจมาก



 
    บนยอดเขา ท่งดงามราวสวรรค์ สาวๆตื่นเต้นกันมาก ที่สัมผัสกับอากาศหนาวสุดๆ



 บ่อโคลน อันซีน ปาย คนมากราวกับมีงาน ไม่น่าเชื่อ ประชาสัมพันธ์ได้เยี่ยม




 ประชุมประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด กำแพงเพชร สันติ อภัยราช แม่ฮ่องสอน สุรศักดิ์ ป้อมภา เชียงใหม่ เจ้าดวงเดือน ณเชียงใหม่ พะเยา วิมล ปิงเมืองเหล็ก



เลี้ยงขันโตก ที่แม่ฮ่องสอน  ประธานสภาวัฒนธรรม น่าน   เชียงราย   กำแพงเพชร  แม่ฮ่อนสอน



กับกะเหรี่ยงคอยาว หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว แม่ฮ่องสอน




                                    กะเหรี่ยงสาวสวยในหมู่บ้านกับยาย



                                    ยอดเขาดอกบัวตอง กับคุณศิลป์ พนักงานขับรถ




                                  กับเจ้าแม่ดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ที่พิพิธภัณฑ์ ไทย ญี่ปุ่น
1225  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ประวัติพระยาลิไท ออกอากาศสวท.กำแพงเพชร เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:28:14 am
พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 พระโอรสพญาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พญาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ พ.ศ. 1935 หลักที่ 8 ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2499 ได้กล่าวว่า เมื่อพระยาเลอไทสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พระยาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1
พญาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกา เข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่นพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร พระพุทธชินราช
พญาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"
นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก
ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง
ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
รัชสมัยก่อนหน้า:
พระยางั่วนำถุม
ราชวงศ์พระร่วง
พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง ๑๘๙๗ ? ๑๙๑๙
รัชสมัยถัดไป:
พระมหาธรรมราชาที่ ๒
(ลือไท)
ราชวงศ์พระร่วง

พระยาลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยลำดับที่ 6 ครองราชย์สืบต่อจากพระยาลิไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1942)
พระยาลือไทย ขึ้นครองราชย์เมื่ออาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอเสื่อมอำนาจ อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นคือ แคว้นชากังราวประกอบด้วยเมืองตาก ชากังราว (กำแพงเพชร) และนครสวรรค์ กับแคว้นสุโขทัย ประกอบด้วยเมืองสุโขทัย อุตรดิตถ์ สองแคว (พิษณุโลก) พิจิตร นอกจากนี้เมืองขึ้นสำคัญ เช่น เมืองหงสาวดีและเมืองอู่ทองต่างแข็งข้อ ลุถึง พ.ศ. 1921 สุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พระยาลือไทยจึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย
อย่างไรก็ดี พระยาลือไทยยังทรงครองเมืองต่อไปที่ราชธานีพิษณุโลกในฐานะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1931 และมีรัชทายาทครองเมืองสืบต่ออีก 2 พระองค์ จนถึงวาระที่เมืองพิษณุโลกถูกรวมไว้ในอาณาจักรอยุธยาโดยเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. 1981 โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ส่งพระโอรสคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกแทน มีผลให้อาณาจักรสุโขทัยสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง
รัชสมัยก่อนหน้า:
พระมหาธรรมราชาที่ ๑
(ลิไท)
ราชวงศ์พระร่วง
พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง ๑๙๑๙ ? ๑๙๒๐
รัชสมัยถัดไป:
พระมหาธรรมราชาที่ ๓
(ไสลือไท)
ราชวงศ์พระร่วง





1226  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ราชวงศ์พระร่วง แห่งสุโขทัย มาจากกำแพงเพชรและพ่อขุนรามคำแหงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2010, 01:57:34 pm
 ราชวงศ์พระร่วง แห่งสุโขทัย มาจากกำแพงเพชรและพ่อขุนรามคำแหงกับศิลาจารึกหลักที่ ๑  

จากชินกาลมาลีปกรณ์ ในหน้า 112-113 ตอนหนึ่งมีข้อความถึงการประสูติ
                    ? ได้ยินว่า  ที่ตำบลที่บ้านโค  ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง  เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย  จึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น  จึงเกิดบุตรชายหนึ่ง
และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า
โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง?

[แก้] รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัย

บุคคลตามจารึกในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนามเดิม บางกลางหาว
นางเสือง
พ่อขุนบาลเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พญาเลอไท
พญางั่วนำถุม (ผสมวงศ์นำถุมทางราชินิกุล)
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
พระมหาเทวี (พระพี่นางในพญาลิไท)
พระศรีเทพาหูราช พระโอรสในพระมหาเทวี และขุนหลวงพะงั่ว (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
พระยาราม (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองศรีสัชนาลัย)
พระยายุทธิษฐิระ (พระโอรสในพระยาราม เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3อีกต่อหนึ่ง)
สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
พระนางสาขะ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง
พระสุริโยทัย
ขุนพิเรนทรเทพ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
พระสุพรรณกัลยา (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเอกาทศรถ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
หม่อมเจ้าเจิดอุภัย
พระยาโกษาธิบดี (ปาน)
พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
สมเด็จพระปฐมบรมราชชนก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ในนามราชวงศ์จักรี)
และ เชื้อพระวงศ์จักรีทุกพระองค์

ประวัติพ่อขุนรามคำแหง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3   แห่งราชวงศ์พระร่วงสมัยกรุงสุโขทัย       เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง  มีพระเชษฐา 2 พระองค์    องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์    องค์กลางทรงพระนามว่า" บานเมือง "   และมีพระขนิษฐาอีก 2 พระองค์   เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนม์ได้ 19 พรรษา ได้เสด็จไปในกองทัพกับพระะชนกและได้ทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ชัยชนะ   พระชนกจึงพระราชทานพระนามว่า      "พระรามคำแหง "  เมื่อพระชนกสวรรคต      พ่อขุนบานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาได้ขึ้นครองราชย์และแต่งตั้งให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง     และเมื่อพ่อขุนบานเมืองสวรรคต      พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัย   เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง

                    พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์    ทรงเป็นนักรบ   นักปกครอง  และนักอักษรศาสตร์   พระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงแต่งตั้งราชทูตไปสานสัมพันธไมตรีกับจีน และได้นำช่างปั้นจากจีนมาปั้นเครื่องชามสังคโลกในกรุงสุโขทัย  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  ได้เป็นไมตรีกับเมืองลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองลังกาโดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกทอดหนึ่งในรัชสมัยนี้

ศิลาจารึกหลักที่๑รูปคำปัจจุบัน

         พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือตั้งแต่ยังเล็ก

        เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจะแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพราะกูพุ่งช้างขุนสามชน

           เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดอันกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้ง(ก)ลม

            เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า

ไพร่ฟ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียเข้า ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น

          ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล จึ่งแล่งความแก่เขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักนักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงินบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก่ดี บ่ข้าบ่ตี

            ในปากประตูมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม

            สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน

            กลางเมืองสุโขทััยนี้ มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี?ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา

           คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีงฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกถินโอยทานแล้ปีแล้ญิบล้าน ไปสูตญัติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงแต่อรัญญิกพู้น เท่าหัวลานดํบงคํด้วยเสียงพาดเสียงพิณเสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเหล้นเหล้น ใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน

         เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถรเบื้องตะวันตก

         เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่งงมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันหนึ่งลุกยืน เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้มีพิหารมีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนามีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดั่งแกล้ (งแต่)ง

           เบื้องตีนนอนเมืองสุโขไทนี้มีตลาดปสาน มีพระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่มีนา มีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฎีพิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส(ศรีตระพังสระ???) มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วงป่าขาม มีน้ำโคกมีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยงเมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอันบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย

          ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า จึ่งให้ช่างฟันขดารหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนออกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูตธรรมแก่อูบาสกฝูงท่วยจำสีล ผิใช่วันสูตรธรรมพ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงลูกเจ้าขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยางเที้ยนย่อมทองงา...ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหงขึ้นขี่ไปนบพระ....(เถิง)อรัญญิกแล้วเข้ามา,

         จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียงสถาบกไว้ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำชื่อถ้ำพระราม อยู่ฝั่งน้ำสํพาย จารึกอันหนึ่งมีในถ้ำรัตนธารในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันหนึ่งชื่อศาลาพระมาส อันณึ่งชื่อพุทธศาลา ขดารหินนี้ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้หนี้(จึ่ง)ทังหลายเห็น

           พ่อขุนรามคำแหงลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองสรีสัชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากาวลาวแลเมืองไทเมืองใต้หล้าฟ้าฏ?ไทชาวอูชาวของมาออก

         ๑๒๐๗ สก ปีกุน ให้ขุด(เอา)พระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองสรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึ่งแล้ว

           เมื่อก่อนลายสือนี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสืไทนี้ลายสือนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหาเป็นท้าวเป็นพระญาแก่ไททังหลาย หาเป็นครูอาจารยสั่งสอนไททังหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้แต่คนอันมีในเมืองไทด้วยรู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้

              อาจปราบฝูงข้าเศิก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอดสรลวง สองแคว ลมบาจาย สคาเท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรณณภูมิ ราชบูรี เพช(บู)รี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตกรอดเมืองฉอด เมือง?น หงษาวดี สมุทรหาเป็นแดน, เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน?เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวาเป็นที่แล้ว , ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน

 
1227  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / ผู้มีส่วนสำคัญ ในการจัดการแสดง เปิดงานประเพณีลอยกระทง ธารประทีปกำแพงเพชร ๕๓ เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 10:47:34 am
การแสดงแสงเสียงชุด
 ผ้าป่าแถว  ประทีปแก้ว  ธาราขวัญ สวรรค์แห่งชากังราว
ในพิธีเปิดงานลอยกระทงธารประทีปกำแพงเพชรประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
ณ เวทีหน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย วันอาทิตย์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๒๐ .๓๐ น
แสดงถึงประวัติและตำนาน การลอยกระทงในเมืองกำแพงเพชร การทอดผ้าป่าแถวที่วัดบาง และวัฒนธรรมประเพณีการแสดงพื้นบ้านเมืองกำแพงเพชรเวลาในการแสดง ประมาณ ๓๐นาที
การแสดงชุด   ผ้าป่าแถว ประทีปแก้ว ธาราขวัญ สวรรค์แห่งชากังราว
     บทโดย     อาจารย์สันติ  อภัยราช ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
                   นักแสดงจาก  โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม  โรงเรียนนครไตรตรึงษ์ และ   
                    มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
กำกับการแสดงโดย อาจารย์สันติ อภัยราช อาจารย์สุปราณี แสงทอง อาจารย์ชุติมา เคหะลูน                     
                               อาจารย์ยุพิน เรียนทัพ  อาจารย์วันเพ็ญ จงสวัสดิ์  อาจารย์นิชรา พรมประไพ และคณะ
กำกับแสง เสียง โดย อาจารย์ชนินทร์ อ้นอารี และคณะจากวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
เพลงประกอบการแสดงโดย คุณอธิคม สือพัทธิมา  ร้านบางกอก ๙๙ เฟอร์นิเจอร์
ฉากโดย  กองช่างเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
จัดการแสดงโดย ผู้อำนวยการกองการศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร  คุณอธิการ ยามา 
                           คุณศรีรัตน์   วงษ์วิรัตน์  หัวหน้าส่วนการศึกษา เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
อำนวยการแสดงโดย
                   นายชัยวัฒน์  ศุภอรรถพานิช   นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
1228  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / เพลงนพมาศกัลยา เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 07:49:07 pm
เพลงนพมาศกัลยา


1229  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 02:58:01 pm
เจ้าพ่อสมุนไพร กำแพงเพชร
สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปีแต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้นเราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนักแต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษา สมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่งท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น( นายโบ๊ะ)  เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ที่ ๑ บ้านวังยาง  ตำบลนครชุม  อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่ง ที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิด อย่างชัดเจน
      สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น  กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
๑.   ยาแผนโบราณ  หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณ
๒.   ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลง ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง

เรามีความยินดียิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชรมีบุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในการนำภูมิปัญญาไทยด้านสมุนไพรมาพัฒนา
อย่างงดงามเป็นระเบียบและจริงจังน่ายกย่องอย่างยิ่ง ท่านที่เราภูมิใจคือ นายบุญมี บานเย็น ได้เสียสละเวลา และทุนทรัพย์ ในการศึกษา สมุนไพรอย่างมีระบบ รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมจดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชรและสภาวัฒนธรรมกำแพงเพชรขอยกย่อง นายบุญมี บานเย็นว่า เป็นบุคคลทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาสมุนไพร ที่สมควรได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง

                                                               สันติ อภัยราช
1230  หมวดหมู่ทั่วไป / จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โรงพยาบาลยอดเยี่ยม เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:42:53 pm
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
สถานพยาบาลที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของภาครัฐที่ให้การบริการประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ สถานีอนามัย แม้ว่าในเมืองจะรู้สึกห่างเหินกับสถานีอนามัย แต่ในระดับภูมิภาคแล้ว สถานีอนามัยเป็นมากกว่าสถานพยาบาล
          เพราะวันนี้สถานีอนามัยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศจำนวน 9,810 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 30,000 คน กำลังยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบอื่นๆ ให้ผู้ป่วยในพื้นที่ทุกแห่งในแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการทำงานเชิงรุกที่มีศูนย์รวมอยู่ในพื้นที่ และเน้นให้ประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพให้ประชาชนเข้ารับบริการในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น
   ดังนั้นสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ย่อมดีกว่าการ มีโรงพยาบาลจำนวนมากมายเพราะเมื่อสุขภาพแข็งแรงการมีโรงพยาบาลสำหรับรักษาจึงเป็นเรื่องสำคัญรองลงมา
               ที่สถานีอนามัย ตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ได้พัฒนามาเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม ซึ่งมีแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนนครชุม มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ป้องกันโรค ย่อมดีกว่าการรักษาโรค เพราะสุขภาพที่ดีไม่มีขาย อยากได้ต้องรักษาสุขภาพด้วยตนเอง
               ที่ตีนสะพานดำ ตำบลนครชุมข้ามคลองสวนหมาก ไปทางตาก เมื่อลงสะพานไปแล้วอยู่ทางขวามือ ต้องกลับรถ แล้วขับมาบนถนนลอดใต้สะพาน จะพบสถานีอนามัยตำบลนครชุมที่พัฒนามาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุมอย่างสง่างาม บรรยากาศที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับ ที่จะมาดูแลสุขภาพของตนเอง ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ ทุกคน มีอัธยาศัยอันดีมากๆ ในการต้อนรับผู้มาเยือนอย่างมีความสุขที่สุด แต่ละท่าน ล้วนมีความสุขที่ได้พบปะผู้คน บริการในการดูแลประชาชนเป็นอย่างดี
          ทางด้านซ้ายมือ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม เป็นอาศรมนวดแผนไทย   เมื่อเข้าไปเยือนบรรยากาศ ในน้ำใจไมตรี สุดยอดจริงๆ มีผู้อาวุโส ของนครชุมมานวดเพื่อสุขภาพสามท่าน หมอที่บำบัดในการนวด แต่ละท่านล้วนได้รับการอบรมมาอย่างดี มีความรู้ความสามารถในการ นวดและมีจิตวิทยาในการสนทนากับผู้ไปใช้บริการอย่างยอดเยี่ยม บรรยากาศจึงเหมือนกับอยู่บ้าน หรือดีกว่าอยู่บ้าน ที่สำคัญคือบรรดาข้าราชการสามารถเบิกค่านวดได้ ค่าบริการ สองชั่วโมง ในราคา ๒๕๐ บาท คุ้มค่าที่สุด นอกจากนั้นยังมีบรรยากาศ ของสมุนไพร มาทำเป็นน้ำสำหรับให้ดื่มเพื่อบำบัดโรคอีกด้วย จึงถือว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร จึงน่ายกย่อง และต้อนรับทุกท่านที่มาเยือนได้อย่างอบอุ่นยิ่งนัก ขอบคุณ
นางขวัญเรือน บุญอินทร์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม  นางวัชรีบูรณ์  บ่อน้อย ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งทั้งอำนวยความสะดวกในทุกเรื่อง
รายการโทรทัศน์วัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ตลอดจน จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร บันทึก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม ไว้ในใจตลอดกาล
หน้า: 1 ... 80 81 [82] 83 84 ... 95
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!