จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 09:55:14 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระยาวชิรปราการโดยละเอียด  (อ่าน 19636 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 09:21:06 pm »

พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง




พระยาวชิรปราการ (พระเจ้าตาก)










                                               
                                                      ข้อมูลส่วนพระองค์

พระบรมนามาภิไธย     หยง แซ่แต้  สิน
พระปรมาภิไธย              พระศรีสรรเพชญ์สมเด็จพระบรม  ธรรมิกราชาธิราชพระเจ้ารามาธิบดี        บรมจักรพรรดิบรมราชาธิบดินทรหริหรินทราดาธิบดี สวิบุลย์คุณรุจิตร ฤทธิ์เมศวรบรมธรรมิกราช  เดโชไชย พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศโลกะเชษวิสุทธมกุฏปรเทศตามหาพุทธังกูรบรมนารถบรมบพิตร


วันพระราชสมภพ        ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ (อ้างข้อมูลตามจดหมายเหตุโหร)
วันสวรรคต                   ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕
พระอิสริยยศ                พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
พระราชบิดา              นายไหฮอง
พระราชมารดา          กรมสมเด็จพระเทพามาตย์ (พระนามเดิม นางนกเอี้ยง)
พระมเหสี             สมเด็จกรมหลวงบาทบริจา (สอน)
พระราชบุตร              ๓๐ พระองค์

การครองราชย์
ราชวงศ์               ธนบุรี
ทรงราชย์                    พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ. ๒๓๒๕
พิธีบรมราชาภิเษก     ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑
ระยะเวลาครองราชย์   ๑๕ ปี
รัชกาลก่อนหน้า         สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยา)
รัชกาลถัดมา     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์)
วัดประจำรัชกาล            วัดอินทารามวรวิหาร     













ภาพพระเจ้าตากสิน ขณะทรงผนวช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า ?สิน?   พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของ ?นายไหฮอง? และ?นางนกเอี้ยง? ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุได้ ๕ ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ( วัดคลัง ) โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจึงเรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เมื่ออายุครบ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ) พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซึ่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนวิชากับอาจารย์จีน อาจารย์ญวนและอาจารย์แขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่ว

เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส พระภิกษุสิน อยู่ในสมณเพศได้ ๓ พรรษา ก็ลาสิกขา และกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่างๆเป็นอย่างดี จนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็ก รายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง
ครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติให้พระเชษฐาสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินปฏิบัติราชการได้สำเร็จเรียบร้อย จนมีความชอบมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก ช่วยราชการพระยาตาก เมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็โปรดให้เลื่อนเป็นพระยาตากเพื่อปกครองเมืองตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทย โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ปรากฎว่าพม่าตีเมืองทางใต้ได้อย่างง่ายดาย จึงตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จนถึงเมืองเพชรบุรี ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทยซึ่งมีพระยาโกษาธิบดีกับพระยาตาก ไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขร ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีก พระยาตากได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้ จึงได้บำเหน็จความดีความชอบในสงคราม จึงโปรดให้เลื่อนเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชร ก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญขึ้น จึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนคร จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือด พระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ
๑. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้ แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้
๒. ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรีนั้น พระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื่อฟัง ขืนออกรบ และพ่ายแพ้แกพม่าจนตัวตายในที่รบ พระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย
๓. ก่อนเสียกรุง ๓ เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนคร ทางด้านที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เมื่อเห็นจวนตัว พระยาวชิรปราการจึงยิงปืนใหญ่ขัดขวาง โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลาลูกขุน จึงถูกฟ้องชำระโทษให้ภาคทัณฑ์
ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไป ก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแน่
ด้วยผู้นำอ่อนแอ และไม่นำพาต่อราชการบ้านเมือง จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อม ออกจากค่ายพิชัย มุ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรวบรวมกำลังกลับมากู้กรุงศรีอยุธยาต่อไป ครั้นถึงพ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าก็ยกทัพตีพระนครและยกเข้าพระนครได้ นับเป็นเวลาที่พม่าล้อมค่ายอยู่ถึง ๑ ปี ๒ เดือน กรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่า ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงนับว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญ่ ต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราชและก๊กเจ้าพิมาย











พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกองทัพ สะสมเสบียงอาหาร ศาสตราวุธ และกองทัพเรืออยู่เป็นเวลา ๓ เดือน ก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ตีเมืองธนบุรีแตก จับนายทองอินประหารแล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกยับเยิน สุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น จากนั้น พระยาวชิรปราการจึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า ?สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔? แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า ?พระเจ้าตากสิน? เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วย และต่อจากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบ ทรงใช้เวลารวบรวมอณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงได้อาณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันดังเดิม สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ กอบกู้ประเทศชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า ?มหาราช? คณะรัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ของพระองค์
พระมหากษัตริย์ชาตินักรบ
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ทรงเป็นนายทหารที่เชี่ยวชาญในการทำศึก สงครามป้อมค่าย และการเดินทัพทางเรือ สงครามกู้ชาติของพระองค์ จึงเริ่มต้นด้วย ลักษณะจู่โจม ไม่ให้ข้าศึกไหวตัวทัน พระองค์รวบรวบสมัครพรรค พวก ๕๐๐ คน พร้อมด้วย หลวงพิชัยอาสา ตีฝ่าวงล้อมพม่า ออกจาก ค่ายวัดพิชัย เพื่อไปเตรียมไพร่พลกลับมากู้กรุงศรีอยุธยา คืน พระองค์ตัดสินใจ ทิ้งค่ายก็ด้วยทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา ต้อง เสียทีแก่พม่าเป็นแน่แล้ว เนื่องจากผู้นำอ่อนแอไม่ใส่ใจ ต่องาน ราชการบ้านเมือง
 พระองค์ก็ได้ใช้เวลาเพียง ๗ เดือนเท่านั้น ก็สามารถกู้ชาติประกาศ อิสรภาพได้อย่างสำเร็จงดงาม เมื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่ง กรุงธนบุรี พระองค์ยังต้องทำศึกสงครามสู้รบกับคนไทยด้วยกันเอง ที่ตั้งก๊กแบ่งกลุ่มช่วงชิงความเป็นใหญ่ตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อรวบ รวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น และตลอดรัชสมัยของพระองค์ ต้องทำศึกสงครามกับพม่า ที่จะมายึดอาณาจักรคืนถึง ๙ ครั้ง (ใหญ่) ด้วยกัน นอกจากนี้ ยังได้ทำการรบ เพื่อขยายอาณาจักรอีก หลายครั้ง เป็นผลให้ไทยได้ประเทศราชคืนมาหลายแห่ง เหมือน สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น กะลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี (ปัจจุบันเมือง ทั้ง ๓ เป็นรัฐของประเทศ มาเลเซีย) กัมพูชา หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ และเวียงจันทน์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า พระองค์เก่งด้านการรบเพียงไร และด้วยเป็นนักวางแผน ยุทธศาสตร์ชั้นเลิศ จึงสามารถเอาชนะข้าศึก ศัตรูได้โดยตลอด ไม่แปลกที่ใคร ๆ จะทรงขนานนามพระองค์ว่า   พระมหากษัตริย์ชาตินักรบ






















พระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจากจินตนาการของศิลปิน
พระราชสมภพ
จดหมายเหตุโหรได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ เวลาประมาณ ๕ โมงเช้า ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น.
มีหนังสือพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า ไหฮอง (ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ระบุว่า ไหฮอง ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อตำบลในมณฑลกวางตุ้ง) ได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพัฒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านของเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ครั้นเวลาล่วงมาถึง ๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ขุนพัฒมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ หยง เกิดแต่ นางนกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย ทารกคนนี้คลอดได้ ๓ วัน มีงูเหลือมใหญ่เลื้อยเข้าไปขดรอบตัวทารก เป็นทักขิณาวัฏ ขุนพัฒผู้เป็นบิดาเกรงว่าเรื่องนี้อาจลางร้ายแก่สกุล จึงยกบุตรคนนี้ให้แก่เจ้าพระยาจักรี แล้วเจ้าพระยาจักรีได้เลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม และตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้เด็กน้อยคนนี้มา ลาภผลก็เกิดมากมูลพูนเพิ่มมั่งคั่งขึ้นแต่ก่อน เจ้าพระยาจักรีจึงกำหนดเอาเหตุนี้ขนานนามให้ว่า สิน
จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงศ์เช็ง แผ่นดินพระเจ้าเขียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก และเกิดเจิ้งเจาที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..."  ("เจิ้งเจา"คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่ง ถ้าเป็นแต้จิ๋วออกเสียงว่า"แต้เจียว" ส่วน"เสียมล่อก๊ก"นั้น หมายถึงประเทศไทย
การศึกษา และการเข้ารับราชการ
ครั้นเมื่อเด็กชายสิน อายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีนำเข้าฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ต่อมาได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดงานมงคลตัดจุกนายสิน เป็นการเอิกเกริกและในระหว่างนั้น มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏอยู่ถึง ๗ วันจึงหนีไป และในระหว่างนี้ นายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ในภาษาต่างประเทศ มี ภาษาจีน ภาษาญวน และ ภาษาแขก จนสามารถพูดคล่องได้ทั้ง ๓ ภาษา ต่อมาได้รับราชการภายใต้หลวงนายศักดิ์นายเวร ภายหลังเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์
ทรงผนวช
ต่อมาเมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ เจ้าพระยาจักรีได้จัดการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุสินได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ ทองด้วง เป็นประจำเพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน เช้าวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองเดินไปตามถนน เพื่อรับบิณฑบาตจากพระราชวังหลวง มีชายจีนผู้หนึ่งเดินผ่านพระภิกษุทั้งสองไปได้ ๓-๔ ก้าว ก็หยุดชะงักหันกลับมาดูแล้วก็หัวเราะ ทำเช่นนี้ถึง ๕-๖ ครั้ง สองภิกษุมองหน้าแล้วถามว่าหัวเราะเรื่องอะไร ชายจีนผู้นั้นบอกว่าตนเป็นซินแสหมอดู สามารถทายลักษณะของบุรุษหรือสตรีได้ แล้วทำนายให้พระภิกษุทั้ง ๒ องค์ว่า
ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ 1
ชายใดไกรลักษณ์พร้อม      เพราองค์
                                      ศักดิ์กษัตริย์ ถนัดทรง                        ส่อชี้
                                      สมบัติขัติยมง                                  คลครอบ ครองแฮ
ชายนั้นคือท่านนี้                                 แน่ข้าพยากรณ์ฯ



ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ 2
                                                   ท่านเป็นบุรุษต้อง     ตามลักษณ์ ล้วนแล
                                    บุญเด่นเห็นประจักษ์                เจิดกล้า
                                    จักสู่ประภูศักดิ์                         สุรกษัตริย์
สืบศุภวงษ์ทรงหล้า                  สฤษฎ์เลี้ยง เวียงสยาม
                                                     เกิดมาข้าพเจ้าไม่            เคยเห็น
                                        สองสหายหลายประเด็น             เด่นชี้
                                        ภายหน้าว่าจักเป็น                       ปิ่นกษัตริย์
นั่งอยู่ คู่กันฉะนี้                          แน่ล้วน ชวนหัว

สองภิกษุว่า
                                                         สองข้าอายุใกล้        เคียงกัน
                                          ทั้งคู่จะทรงขัณฑ์                    ผิดเค้า
                                           เป็นกษัตริย์ร่วมรัฐบัล              ลังก์ร่วม ไฉนนอ
เห็นจะสัดตวงข้าว                  แน่แท้คำทายฯ
การกลับเข้ารับราชการหลังจากทรงลาสิกขาบท
พระภิกษุสินได้ดำรงอยู่ในสมณเพศถึง ๓ พรรษา ที่วัดโกษาวาส แล้วจึงลาสิกขาบทออกมารับราชการใหม่ ในตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงยกกระบัตร ไปรับราชการอยู่ที่เมืองตาก เมื่อเจ้าเมืองตากถึงแก่อนิจกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็น พระยาตาก
ต่อมาเมื่อมีข้าศึกพม่ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากก็ได้ถูกเรียกตัวให้ลงมาช่วยงานราชการในกรุงศรีอยุธยา พระยาตากทำการสู้รบกับข้าศึกด้วยความเข้มแข็งสามารถยิ่ง มีบำเหน็จความชอบในสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังมิได้ขึ้นไปปกครองเมืองกำแพงเพชร เพราะติดราชการสงครามกับพม่าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๙ เสียก่อน
พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระยาวชิรปราการก็รวบรวมคนไปตั้งเป็นชุมนุมพระเจ้าตากที่เมืองจันทบูร  และมากอบกู้เอกราช และสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ กรุงธนบุรี

ฝ่าวงล้อมทหารพม่า
ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยดาบหัก พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว ๕๐๐ คน มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว  พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า
?เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว  ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว?
หลังจากที่พระยาวชิรปราการพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ประมาณ ๓ เดือน พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาวชิรปราการไว้ตอนหนึ่งว่า
?ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด?
การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาวชิรปราการได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหมุนหยุดแล้ว ต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า ตาลขด  หลังจากนั้นบรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาวชิรปราการขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาวชิรปราการว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น
เจ้าตากได้นำไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้นตอนของแผนกอบกู้เอกราช ล้วนแสดงถึงอัจฉริยะในด้านยุทธวิธีทางทหาร ทั้งทางบกและทางน้ำของเจ้าตาก
เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก
เจ้าตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาร รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไป พระยาตากจึงนำทหารเดินทางต่อและไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหารมาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ ๓๐ คน ทหารเดินเท้าประมาณ ๒,๐๐๐ คนเดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารเจ้าตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและติดตามมายังบ้านพรานนก เจ้าตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก ๔ คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า ขณะที่ทหารพม่ายังไม่ทันรู้ตัวก็ตกใจถอยกลับไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเองจึงเกิดการอลหม่าน ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่าล้มตายและแตกหนีไป
พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นเจ้าตากรบชนะพม่าก็ดีใจพากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก เจ้าตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้นไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้ นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายก  ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา  ยกพลตามมา เจ้าตากก็นำทหารประมาณ ๑๐๐ นายคอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง ครั้นรบสักพักหนึ่งก็แกล้งถอยหนีเข้าไปทางช่องพงแขม ที่ตั้งปืนใหญ่เตรียมไว้ พม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไปใน "วงกับดักเสือ" จึงถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามาทำให้พม่าไม่มีทางต่อสู้ เจ้าตากจึงนำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพเจ้าตากอีกต่อไป
เจ้าตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือแขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของเจ้าตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง เจ้าตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ความสามารถของเจ้าตากในการรวบรวมคนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพของเจ้าตากที่มีอยู่เหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
พระราชวิเทโศบายในการยึดจันทบุรี
เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่เพื่อใช้เป็นฐานกำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบมาใช้กับแม่ทัพนายกอง เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้า ในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตาย ซึ่งกล่าวกับทหารมาแล้วในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙
ครั้นถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้ จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ พอได้ฤกษ์เวลา ๐๓.๐๐ น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน  ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมือง ชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิงปืนใหญ่เข้าใส่ นายท้ายช้างเกรงว่าเจ้าตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา เจ้าตากชักดาบออกมาจะฟันนายท้ายช้าง นายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ
ทัพของเจ้าตากได้ผ่านไปตั้งพักและหาเสบียงอาหารที่บ้านพรานนก ได้ต่อสู้กับพม่าที่ไล่ติดตามมาจนแตกพ่ายไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ ต่างก็พากันมาเป็นพวกด้วยจำนวนมาก เจ้าตากได้คุมทหารไปปราบนายซ่องเมืองนครนายก
จากนั้นได้ยกทัพผ่านเมืองนครนายก ข้ามลำน้ำเมืองปราจีน ไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ทางด้านฝั่งตะวันตก แล้วไปรบกับพม่าอีกครั้งที่ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายไปรอดักอยู่ ณ ที่นั้น
เมื่อเจ้าตากได้ชัยชนะพม่าแล้ว ได้ยกทัพผ่านเขต เมืองชลบุรี บ้านหัวทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย ชายทะเลสัตหีบ หินโด่งและน้ำเก่า เขตเมืองระยอง เจ้าตากได้มีความคิดที่จะรวบรวมเมืองชายทะเลตะวันออก ตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ไว้เป็นพวกเดียวกันเพื่อช่วยกันปราบปรามพม่า ที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาและเล็งเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติ มีกำลังคนและอาหารอยู่บริบูรณ์ ชัยภูมิก็เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียง จึงได้ตีเมืองจันทบุรี และใช้เป็นที่มั่นสำคัญในการเตรียมกำลังมากอบกู้เอกราช
เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เพลา ๓ ยามเศษ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน
เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ เจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ เจ้าตากจึงลงเรือรบคุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน เจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้นมีขนาดพอ ๆ กับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น แสดงว่าแม่ทัพเรือและทหารเรือ จะต้องมีความสามารถมาก
แผนปฏิบัติการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
หลังจากนั้นเจ้าตากได้เดินทางจากตราดกลับมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ได้ใช้เวลา ๓ เดือนในการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากที่กรุงศรีอยุธยา ได้เคลื่อนทัพโดยเลือกเส้นทางน้ำ เนื่องจากการยกกองทัพโดยใช้เส้นทางบกจะล่าช้า ทหารจะเหนื่อยล้าและพม่าอาจทราบข่าวการเคลื่อนทัพก่อนที่กองทัพไทยจะถึงอยุธยา ทำให้พม่ารู้ตัวและอาจรวบรวมกำลังต่อสู้ได้ทันท่วงที อีกประการหนึ่งทหารพม่าชำนาญแต่การรบบนบกและที่สำคัญคือพม่าไม่มีเรือรบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อพม่ายกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ได้ยึดเมืองธนบุรีไว้ก่อนที่จะเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา พม่าให้คนไทยชื่อ นายทองอิน รักษาเมืองไว้เป็นเมืองหน้าด่าน เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว  จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ โดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัวและไม่ทันวางแผนต่อสู้ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลาเพียง ๗ เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
ปราบดาภิเษก
หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ มองซิเออร์คอร์ เขียนจดหมายเล่าแก่ มองเซนเยอร์บรีโกต์ ว่า "เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม ปีนี้ (๒๓๑๑) ข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก..." และ "เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหมได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี"
นายสวนมหาดเล็กได้แต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ยืนยันการปราบดาภิเษกว่า
                                                      ใครอาจอาตมตั้ง           ตัวผจญ ได้ฤๅ
                                         พ่ายพระกุศลพล                        ทั่วท้าว
                                         ปราบดาภิเษกบน                       ภัทรบิฐ บัวแฮ
สมบัติสมบูรณ์ด้าว                    แด่นฟ้ามาปาน
การสถาปนากรุงธนบุรี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คน ทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่างๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี  ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม  แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาศของเมือง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร
ปลายรัชสมัย
ในตอนปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดกบฎขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา พวกกบฎได้ปล้นจนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสืบสวนเอาตัวคนผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฎ และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรีในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๔ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
เหตุการณ์ภายหลังจากนั้นไม่แน่ชัดโดยมีความเชื่อหลายกระแส อาทิ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ซึ่งไปราชการทัพเมืองกัมพูชา และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฎมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้อง กล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุ เนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติ  เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๔๘ พรรษา พระองค์พระราชสมภพและสวรรคตในเดือนเดียวกัน แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากประเทศจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่เขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช เสด็จสวรรคตที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๓๖๘
งานเขียนสำคัญที่กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงปลายรัชสมัย แตกต่างจากในพระราชพงศาวดาร ที่มีชื่อเสียงเช่น เรื่องสั้นชุด ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน โดย หลวงวิจิตรวาทการ และ นวนิยาย ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข? โดย สุภา ศิริมานนท์
พระปรมาภิไธย
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราช ทรงใช้พระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์
?   พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
?   พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
?   จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช ๑๑๔๐ ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
?   ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
?   พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔
?   พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
?   ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา
พระอัครมเหสีและเจ้าจอมมารดา
ทรงมีพระมเหสี ๘ พระองค์ ดังนี้
?   พระอัครมเหสี
o   สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา(สอน)
?   พระมเหสี
o   กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (พระนามเดิมว่าเจ้าหญิงฉิม พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
?   เจ้าจอมมารดา
o   เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
o   เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
o   เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
o   เจ้าจอมมารดาอัมพวัน (ธิดาของอุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช)
o   เจ้าจอมมารดาทิม (ธิดาของท้าวทรงกันดารมอญ)
o   เจ้าจอมมารดาเงิน


พระราชโอรส พระราชธิดา
ทรงมีพระราชโอรส ๒๑ พระองค์ พระราชธิดา ๙ พระองค์ ดังนี้
?   สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (จุ้ย) ประสูติในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นต้นราชสกุล "สินศุข" และ "อินทรโยธิน"
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายน้อย ประสูติในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕
?   พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ประสูติในเจ้าจอมมารดาทิม บุตรของท้าวทรงกันดารมอญ
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู) เป็นต้นราชสกุล "พงษ์สิน"
?   สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิงหรา (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา (ไม่ทราบนามพระมารดา) เป็นต้นราชสกุล "ศิลานนท์"
?   พระองค์เจ้าชายอรนิกา ประสูติในเจ้าจอมมารดาอำพัน ธิดาพระยาอินท์อัคราช ต้นสกุล "จันทโรจวงศ์" ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒
?   พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าชายธำรง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าชายละมั่ง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายเล็ก (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ฐานเป็นชู้กับเจ้าจอมในวัง พระธิดาคือ เจ้าจอมมารดาน้อยในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นราชสกุล นพวงศ์ และ สุประดิษฐ์
?   พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าหญิงสังวาลย์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ประสูติในเจ้าจอมมารดาอำพัน เป็นพระชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ด้วยข้อหากบฏ เป็นต้นราชสกุล อิศรเสนา
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นต้นราชสกุล "รุ่งไพโรจน์"
?   พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าชายเมฆินทร์ (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าชายอิสินธร (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ประสูติในเจ้าจอมมารดาเงิน
?   สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ประสูติในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ ๑ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ กรมขุนกระษัตรานุชิต ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ด้วยข้อหากบฏ
?   พระองค์เจ้าชายบัว (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ประสูติในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เป็นพระชายาของพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ ต้นราชสกุล อิศรางกูร
?   เจ้าพระยานครน้อย ประสูติในเจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงปราง ธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู) (ขนิษฐาของ กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) เป็นต้นราชสกุล "โกมารกุล ณ นคร" "ณ นคร" และ "จาตุรงคกุล"
?   พระองค์เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าชายหนูแดง (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี (ไม่ทราบนามพระมารดา)
?   เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ ประสูติในเจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงยวน ธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู) (ขนิษฐาของ กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์) ต้นราชสกุล อินทรกำแหง มหาณรงค์ คชวงศ์ อินทโสฬส ชูกฤส เนียมสุริยะ เชิญธงไชย อินทนุชิต ศิริพร นิลนานนท์
ที่ประทับ
พระราชวังกรุงธนบุรี

พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) เป็นพระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ทำการของ กองบัญชาการกองทัพเรือ
ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ราชธานี พร้อมกับปรับปรุง "ป้อมวิไชยเยนทร์" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ตำแหน่งของพระราชวังนี้ เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ
พระราชกรณียกิจ
สามารถจำแนกออกไปสองด้านคือ ๑.การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ๒.การฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
การปกป้องแผ่นดิน
การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอกจากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง
?   สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐  นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัดกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหารไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้
?   สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓
?   สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔
?   สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕
?   สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖
?   สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗
?   สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้
?   สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘
?   สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายก
การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้
?   ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
?   ทิศใต้ ได้ดินแดนกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
?   ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจรดอาณาเขตญวน
?   ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
การรวบรวมชุมนุมต่างๆ
ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีชุมนุมต่างๆ แยกจากอำนาจสยามมากมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้เวลาเพียง ๓ ปี จึงสามารถรวบรวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นดังนี้


ชุมนุมพระยาตาก
เป็นชุมนุมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก่อนที่จะตั้งกรุงธนบุรี เมื่อพระยาตากพิจารณาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่มีทางรบชนะ จึงนำทหารจำนวนหนึ่งไปสร้างฐานกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี มีอาณาเขตตั้งแต่ชายแดนกัมพูชาจนถึงเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งหมด
ชุมนุมพระยาพิษณุโลก
เจ้าพระยาพิษณุโลก ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์ และ ปากน้ำโพ เจ้าพระยาพิษณุโลกมีนามเดิมว่า เรือง เคยเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสู้รบ จึงมีผู้นับถืออยู่มาก เมื่อตั้งตนเป็นเจ้าแล้ว ได้มีข้าราชการเก่ากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาสวามิภักดิ์อยู่ด้วยหลายนาย
ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกได้ให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย เขตเมืองนครสวรรค์ พอกองทัพของพระเจ้าตากยกขึ้นไปถึง ก็ได้ปะทะรบพุ่งกันอย่างสามารถ ข้าศึกได้ยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบาดเจ็บ จึงต้องยกทัพกลับ เจ้าพระยาพิษณุโลกเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงตั้งตนเป็นพระมหากษัตริย์ พอราชาภิเษกได้ ๗ วัน ก็ได้ประชวร และถึงแก่พิราลัยในที่สุด พระอินทรอากร น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกจึงได้ขึ้นครองเมืองแทน แต่ก็ทำให้เมืองพิษณุโลกอ่อนแอตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะ จึงยกทัพลงมาตีเมืองพิษณุโลก และผนวกรวมกับชุมนุมพระฝางไปในที่สุด
ชุมนุมเจ้าพิมาย
ชุมนุมเจ้าพิมายนั้น มี กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นเจ้าเมือง กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ออกผนวชในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ แต่ต่อมาได้มีความผิดฐานคิดกบฎ จึงถูกเนรเทศออกไปอยู่ที่ลังกา และ เมื่อพระเจ้ามังระส่งกองทัพมาตีไทย กรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบว่าเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า จึงได้เดินทางกลับไทย เกลี้ยกล่อมผู้คนในเมืองนครราชสีมาให้สมัครเป็นพรรคพวกของตน และในที่สุดก็ยึดเมืองนครราชสีมาได้
ต่อมา หลวงแพ่ง น้องพระยาราชสีมาได้ไปเกณฑ์พลจากเมืองพิมาย เพื่อไปตีเมืองนครราชสีมาเอาเมืองคืน ปรากฏว่ารบชนะ จึงจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้ หลวงแพ่งต้องการที่จะประหารชีวิตกรมหมื่นฯเสีย เจ้าพิมายมีความสงสารจึงขอชีวิตไว้ และขอนำกรมหมื่นเทพพิพิธไปคุมไว้ที่เมืองพิมาย แต่เจ้าพิมายจงรักภักดีต่อเจ้ากรุงศรีอยุธยามาก จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าเมืองพิมาย ส่วนตนนั้นได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั้งหมด หลังจากนั้น กรมหมื่นฯก็ได้กำจัดหลวงแพ่ง แล้วยึดเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงมารวมกับพิมายทั้งหมด
หลังจากการสถาปนากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระบัญชาให้ พระราชวริน (ทองด้วง) และพระมหามนตรี (บุญมา) ยกทัพไปตีชุมนุมพิมาย ภายหลังจากทรงหายจากการรบกับพิษณุโลก และเป็นปีเดียวกันกับปีที่ยกทัพไปตีพิษณุโลก กองทัพพิมายไม่สามารถต้านทานกองทัพกรุงธนบุรีได้จึงต้องแตกพ่ายไป ครั้นเมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธทราบข่าว จึงรีบอพยพครอบครัวไปอยู่เวียงจันทน์ แต่ ขุนชนะ กรมการเมืองนครราชสีมาตามตัวไว้ได้ทัน จึงนำมาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ทรงปรารถนาที่จะสำเร็จโทษ แต่กรมหมื่นเทพพิพิธแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง ไม่ยอมอ่อนน้อม พระองค์จึงสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธ
ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
พระปลัด (หนู) ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าที่เมืองนครศรีธรรมราช ชาวบ้านเรียกว่า เจ้านคร มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองชุมพรจนถึงหัวเมืองมลายู
เจ้าเมืองนี้มีชื่อเดิมว่า หนู เป็นเชื้อสายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้เข้ามาถวายงานที่กรุงศรีอยุธยา มีความชอบจนได้เป็น หลวงสิทธิ์นายเวร มหาดเล็ก แล้วไปเป็นปลัดเมืองนครศรีธรรมราชต่อมา เมื่อพระยาราชสุภาวดี เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชมีความผิด หลวงสิทธิ์นายเวรจึงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช โดยมีเจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ กองทัพเจ้านครฯ กับกองทัพกรุงธนบุรีได้สู้รบกันอย่างสามารถ แต่แม่ทัพกรุงธนบุรีที่ยกทัพไปกลับไม่ปรองดองกัน จึงไม่สามารถปราบชุมนุมเจ้านครฯ ได้สำเร็จ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องทรงลงไปตีด้วยพระองค์เอง แล้วก็ทรงตีได้สำเร็จ เจ้านครศรีธรรมราช เจ้าหนู ต้องหนีละทิ้งเมืองไปอยู่ที่เมืองปัตตานี แต่เจ้าเมืองปัตตานีเกรงกลัวกองทัพสยาม จึงส่งตัวกลับมาให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่นั้นมาหัวเมืองปักษ์ใต้จึงมาอยู่ภายใต้อำนาจกรุงธนบุรี พระองค์ทรงไม่ประหารเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพราะเนื่องจากในขณะนั้นกรุงศรีอยุธยาแตก ไม่มีเมืองที่ใหญ่กว่ามาปกครอง เมืองนครศรีธรรมราชจึงต้องตั้งตนเป็นอิสระ

ชุมนุมเจ้าพระฝาง
พระสังฆราชาในเมืองสวางคบุรี(ฝาง) ได้ตั้งตนเป็นเจ้า ทั้งที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่ ชาวบ้านทั่วไปเรียก เจ้าพระฝาง หรือ พระเจ้าฝาง มีชื่อเดิมว่า เรือน เป็นชาวเมืองเหนือ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระศาสนาจากราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และได้รับการแต่งตั้งเป็น พระพากุลเถรราชา คณะฝ่ายอรัญวาสี อยู่ ณ วัดศรีอยุธยา และได้แต่งตั้งเป็นพระสังฆราชาเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี กลับขึ้นไปจำวัดอยู่ที่วัดพระฝาง แล้วก็ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ในสมณเพศ แต่ผู้คนก็พานับถือ เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ
หลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวเรื่องที่เจ้าพระฝางยกทัพตีชุมนุมพิษณุโลกได้ และถึงกับส่งกองทัพไปปล้นแย่งชิงข้าวปลาราษฎรลงมาถึงเมืองอุทัยธานี และชัยนาท พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปปราบในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ โดยมีพระยายมราช (บุญมา) เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพหน้าของพระยายมราชได้เข้าโจมตีเมืองพิษณุโลกด่านหน้าของเจ้าพระฝาง ซึ่งมีหลวงโกษา (ยัง) คุมกำลังมาตั้งรับอยู่ภายในคืนเดียว แล้วจากนั้นกองทัพหลวงก็ยกไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้รบได้ ๓ วัน เห็นศึกหน้าเหลือกำลังจึงพาพรรคพวกหลบหนีไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นพม่าปกครองอยู่ กองทัพหลวงจึงยึดเมืองสวางคบุรีได้ และยังได้ลูกช้างเผือกมาอีกด้วย
ชุมนุมสุกี้พระนายกอง
มีอาณาเขตตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปกู้กรุงจึงได้ตีชุมนุมนี้แตกและสำเร็จโทษสุกี้พระนายกอง-ผู้นำชุมนุม
ครั้นเมื่อเสด็จแล้วพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราชเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิณุวาธิราช ครองเมืองพิษณุโลก ดูแลราชการในหัวเมืองฝ่ายแหนือทั้งหมด
การฟื้นฟูบ้านเมือง
มัสยิดต้นสน เป็นศาสนสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีศาสนกิจฝังศพ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(หมุด) นายทหารคู่พระทัยและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานที่ดินขยายพื้นที่จากเดิมที่เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัยสร้างไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการบูรณะบ้านเมืองต่อไป ซึ่งพระราชกรณียกิจมีทั้งหมด ๗ ด้าน ดังนี้
ด้านการปกครอง
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ ๑ ใน ๑๐ และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดรองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า
?บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น?
มองเซนเยอร์ เลอบอง
เนื่องจากตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ
?   ฝ่ายรับฟ้อง
มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด
?   ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา
ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน ๑๒ คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ ศาลทหาร เป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน
?   การออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. ๒๓๑๖ เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยในลาวและเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช  แต่ได้เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น พระยาสุรสีห์ไปครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิชัยราชาไปครองเมืองสวรรคโลก
นอกจากขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ขยายอำนาจเข้าไปในลาว ได้หัวเมืองลาวเข้ามาอยู่ในอำนาจอาจกล่าวได้ว่า สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นสมัยแห่งการกู้เอกราชของชาติ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ขับไล่ข้าศึกออกไปจากอาณาเขตไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยของพระองค์ ไทยจึงยิ่งใหญ่เท่าเทียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง
ด้านการต่างประเทศ
ดูบทความหลักที่ ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี
?   กัมพูชา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กัมพูชาซึ่งถือเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไทยต้องจัดทัพไปตีเมืองเขมรหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชประสงค์จะผนวกดินแดนเขมรเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย โดยเด็ดขาด แต่ยังมิทันสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ก็สิ้นสมัยธนบุรีลงเสียก่อน
?   จีน สัมพันธภาพระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินและราชวงศ์ชิง อาจจำแนกได้เป็น ๓ ระยะ ตามกาลเวลาและ พัฒนาการของเหตุการณ์
o   พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ. ๒๓๑๓ ราชวงศ์ชิงปฏิเสธการรับรอง เนื่องจากในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจาก ม่อซื่อหลิน แห่งพุทไธมาศ จึงไม่ยอมรับรองกรุงธนบุรี
o   พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔ ราชสำนักชิงเริ่มรู้สึกถึงเบื้องหลังรายงานที่ไม่เป็นความจริงของม่อซื่อหลิน และไม่ให้ความเชื่อถือ ดังนั้น ราชสำนักชิงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีท่าทีเป็นมิตรต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
o   พ.ศ. ๒๓๑๔ - พ.ศ. ๒๓๒๕ ราชสำนักชิงให้การรับรองอย่างเป็นทางการต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ
?   ญวน ในสมัยกรุงธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน แบ่งได้เป็น ๒ ระยะคือ
o   ระยะแรก ญวนเป็นมิตรกับไทยเพราะญวนหวังพึ่งไทยในการขจัดความยุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
o   ระยะต่อมา ไทยมีเรื่องบาดหมางกับญวนในกรณีกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน ในตอนปลายรัชกาลตึงเครียด จนเกือบต้องทำสงครามกัน
?   นครศรีธรรมราช หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีได้เมืองนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้คืนอำนาจ ให้แก่กลุ่มท้องถิ่น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอีกเมือง หนึ่งให้เจ้าเมืองมีฐานะเป็น "พระเจ้านครศรีธรรมราช" ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดรัชกาล
?   พม่า ในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีแรกของการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ไทยกับพม่าต้องทำสงครามขับเคี่ยว กันถึง ๘ ครั้ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างศัตรูคู่อาฆาตตลอดสมัยกรุงธนบุรี
?   มลายู หัวเมืองซึ่งมีแคว้นที่สำคัญได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู เป็นประเทศราช ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก แคว้นเหล่านี้ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ และเนื่องจากเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่พระเจ้าตากสินทรงติดพันศึกกับพม่าและการฟื้นฟูประเทศ หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระจากไทยจน กระทั่งสิ้นรัชกาล
?   ล้านนา หัวเมืองที่สำคัญ ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ซึ่งเป็นแคว้นอิสระที่ปกครองตนเอง โดยเจ้าผู้ครองนคร มีความสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ทั้งแก่ไทยและพม่า ทำให้ทั้งไทยและพม่าได้ต่อสู้กันเพื่อที่ จะเข้าไปปกครองดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
?   ลาว ในขณะนั้นแบ่งแยกเป็น ๓ แคว้น คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ขยายอำนาจไปยังดินแดนลาว ๒ ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ กองทัพไทยตีได้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง อัตปือ ทั้งยังเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง คือเมืองตะลุง สุรินทร์ สังขะ และขุขันธ์ จึงทำให้ดินแดนลาว ทางใต้อยู่ใต้อิทธิพลของไทยทั้งหมด ส่วนครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ไทยยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี ฝ่ายแคว้นหลวงพระบาง ซึ่งเป็นศัตรูกับแคว้น เวียงจันทน์ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย ลาวจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยจนสิ้นรัชกาล
?   ฮอลันดา พ.ศ. ๒๓๑๓ ชาวฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) และ พวกแขกเมืองตรังกานู ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อถวายปืนคาบศิลาจำนวน ๒,๒๐๐ กระบอก และ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง
?   อังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ มีพ่อค้าชาวอังกฤษจากเกาะปีนังชื่อ ร้อยเอก ฟรานซิส ไลท์ (Francis Light) หรือชาวไทยเรียกว่า กปิตันเหล็ก ซึ่งไทยได้ติดต่อซื้อปืนนกสับ จำนวน ๑,๔๐๐ กระบอก มาสู้กับพม่า พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมามีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกัน และเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้นได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินส่วนร้อยเอกกปิตัน ได้รับพระราชทานยศว่า พระยาราชกปิตัน
?   โปรตุเกส ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒ แขกมัวร์จากเมือง สุราต ในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และไทยได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายที่อินเดียด้วย
?   เดนมาร์ค ได้มีการสั่งซื้อปืนใหญ่จากเดนมาร์คจำนวน ๑๐,๐๐๐ กระบอก โดยจ่ายค่าปืนด้วยดีบุก เดนมาร์ตได้ส่งปืนใหญ่จำนวน ๓,๐๐๐ กระบอกจากโคเปนเฮเกน แต่ปรากฏว่าปืน ๕๒๑ กระบอกนั้นเกิดระเบิด ทำให้พระองค์ทรงปฏิเสธการซื้อปืนจากเดนมาร์ค

ด้านเศรษฐกิจ
สภาพบ้านเมืองหลังจากเสียกรุง ทำให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก มีประมาณครึ่งราชอาณาเขตครั้งกรุงศรอยุธยาเป็นราชธานี มีมณฑลกรุงเทพฯ มณฑลอยุธยา มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี ครั้งนั้นมีมณฑลจันทบุรีเพียงมณฑลเดียวที่นับว่าปกติ ส่วนมณฑลที่เหลือถูกพม่าย่ำยียับเยิน เป็นเมืองร้าง ขาดการทำไร่นาถึง ๒ ปี ผู้คนที่เหลือจากการถูกพม่ากวาดต้อนไปต่างพากันอพยพหลบหนีแตกกระจัดพลัดพราก เที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ตามป่าดงโดยมาก ต้องทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับมาอยู่ถิ่นเดิม เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันมากเข้า ไม่ช้าก็เกิดการอัตคัต เสบียงอาหารไม่เพียงพอ ทรงสามารถแก้ไขความขัดข้องได้โดยปัจจุบันทันด่วน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มในราคาสูง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ทำให้เกิดผลดีอย่างยิ่ง ๒ ประการคือ
?   ประการที่ ๑ ชาวต่างเมืองทราบข่าว พากันบรรทุกข้าวของมาขายด้วยหวังกำไรงาม เมื่อมีของมาขายมาก ราคาก็ถูกลง
?   ประการที่ ๒ เมื่อประชาชนทราบกิตติศัพท์ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระเมตตาต่อประชาราษฎร์ก็พากันมาสวามิภักดิ์ ทำให้มีพลเมืองเพิ่มขึ้น
สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่ต้องสร้างชาติบ้านเมืองกันใหม่ พระองค์ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงค้าขายกับจีน เป็นประจำ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปขายหลายสาย ทางตะวันออกถึงเมืองจีน ทางตะวันตกถึงอินเดีย ผลกำไรที่ได้จากการค้าสำเภามีมากพอที่จะช่วยบรรเทาการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในระยะแรกซึ่งราษฎรยังตั้งตัวไม่ได้ สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าตอนต้นรัชกาล โดยมีรายได้จากภาษีขาเข้าและภาษีขาออกจากเรือสินค้าต่างชาติ ได้แก่ จีนและชวาที่เข้ามาค้าขายกับไทย
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ มองเซนเยอร์ เลอบอง ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ จดบันทึกไว้ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๘ ดังนี้
?จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่?
มองเซนเยอร์ เลอบอง
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยในเรื่องนี้จึงมีพระราชดำรัสว่า
?บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้   แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้?
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ด้านคมนาคม
ในยุคนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึกศัตรูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ในเขตธนบุรีซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น
ด้านการศึกษา
สมัยนั้นวัดยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำรุงการศึกษาวัดตามต่างๆ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้น เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำราที่กระจัดกระจายในเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตกก็โปรดเกล้าฯ ให้รีบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยลอกกันต่อไป และที่แต่งใหม่ก็มี
ด้านศาสนา
     กองเรือกู้ชาติของ เจ้าตากซึ่งล่องมาตามน้ำเจ้าพระยาผ่านบริเวณวัดมะกอกนอกเมื่อรุ่งสาง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งเพื่อเป้นอนุสรณ์แห่งการเดินทัพ


ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้
?   บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา
มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้
"เมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไป จะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
?   การจัดระเบียบสังฆมณฑล
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ได้อาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น
?   การรวบรวมพระไตรปิฎก
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจาก เสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาเพื่อใช้สอบทานกับ ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยต่อมา

?   การสมโภชพระแก้วมรกต
ภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง ๒๔๖ ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง
?   การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร, วัดหงส์รัตนาราม และวัดอรุณราชวราราม

?   พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย
และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ด้วยความกตัญญู
ด้านศิลปกรรม
นาฏดุริยางค์
ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็น เครื่องต้น เครื่องทรง ก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่
ศิลปการช่าง
ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๙ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทย เมื่อคลี่ ออกจะมีความยาวถึง ๓๔.๗๒ เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง ๒ ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน ๔ คน ปัจจุบันได้เก็บ รักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ


งานฝีมือช่าง
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ รวบรวมและฟื้นฟูการช่างทุกแขนงขึ้นใหม่ เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ และช่างเขียน แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามจริง ๆ ในสมัยธนบุรีจึงหาได้ยาก ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่
?   พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประดิษฐาน อยู่ที่วัดอินทาราม ฝั่งธนบุรี
?   พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้า
?   พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี
?   ตู้ลายรดน้ำ ที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
?   ท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ


พระราชนิพนธ์
เรื่องที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ไว้นั้นก็คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ วันที่ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ฉบับนี้คือ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เป็นปีที่ ๓ แห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๔ เล่มสมุดไทย คือ
เล่ม ๑ ตอนพระมงกุฎ
เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา
เล่ม ๔ ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
ในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง ๒ ท่าน คือ
๑. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
๒. หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
พระบรมราชานุสาวรีย์ และการถวายพระราชสมัญญานาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น
พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วงเวียนใหญ่
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญา ?สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช? ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี     พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ และในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี
ชาวเมืองจันท์นั้นภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อเกียรติประวัติของจังหวัดจันทบุรี รวมทั้งวีรกรรมของบรรพบุรุษที่ได้ยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เข้าร่วมในกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกู้อิสรภาพได้สำเร็จ จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ บริเวณทุ่งนาเชย กลางอำเภอเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน พิธีเปิดวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ตรงกับวันปราบดาภิเษก วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ โดยทางกรมศิลปากรนำศิลาจารึกพระนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มาประทับที่พระบรมราชานุสาวรีย์ แต่ถูกชาวจันทบุรีร่วมกันคัดค้าน ขอให้เปลี่ยนเป็นจารึกพระราชสมัญญนามเสียใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยทำหนังสือถึงสำนึกเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา
พระบรมราชานุสรณ์
โรงพยาบาลตากสิน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดมีการระบาดของไข้กาฬโรคขึ้นในสยามประเทศ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงพยาบาล โรคติดต่อขึ้นที่ตำบลคลองสาน แต่เดิมขนานนามว่า โรงพยาบาลโรคติดต่อ ต่อมาวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ โรงพยาบาลโรคติดต่อจึงได้โอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับการขนานนามว่า โรงพยาบาลเทศบาล
แต่เนื่องจากความเก่าแก่ของอาคารเรือนไม้ที่สร้างขึ้นและใช้งานมานานถึง ๓๒ ปี อีกทั้งคนที่ป่วยด้วยโรคติดต่อมีจำนวน ลดลง สถานที่ไม่เหมาะสมเพราะได้มีชุมชนหนาแน่นจึงได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงโรง พยาบาลโรคติดต่อนี้ขึ้นเป็นสถานพยาบาลพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลกลาง และวชิรพยาบาลก่อน คนทั่วไปเรียกขานว่า โรงพยาบาลพักฟื้น
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเทศบาลนครหลวงขึ้น โดยรวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีเข้าด้วยกัน โรงพยาบาลพักฟื้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลเทศบาลนครหลวง สำหรับรักษาโรคทั่วไป เพื่อเป็นอนุสรณ์การจัดตั้งเทศบาลนครหลวง มีพิธีเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๑๕
หลังจากนั้น ชื่อของโรงพยาบาลได้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็น โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อยุติการเปลี่ยนชื่อของโรงพยาบาลบ่อยๆ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลตากสิน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ผู้ทรงสถาปนากรุงธนบุรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โรงพยาบาลประจำจังหวัด ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันได้เปิดศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย
ค่ายตากสิน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ"ค่ายตากสิน" เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระองค์ได้นำกำลังมาตั้งมั่น ณ ที่แห่งนี้ เมื่อเดือน ๗ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อรวบรวมกำลังกู้เอกราช
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เดิมมีชื่อว่า อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่ เนื่องจากมีต้นกระบากที่ใหญ่สุดในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด ซึ่งประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙๕๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) และประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ?ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๕ (พ.ศ. ๒๕๐๙) มีพื้นที่ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวน ๙๓,๑๒๕ ไร่ แต่มีพื้นที่จริงจากการคำนวณเท่ากับ ๑๖๓,๗๕๐ ไร่
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ จังหวัดตาก เห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่ เป็น อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน
เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา
พระบาทสมเด็จพระ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!