จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 18, 2024, 05:25:52 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดสำคัญในเมืองกำแพงเพชร  (อ่าน 5884 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2014, 02:25:40 pm »


วัดฆ้องชัย

ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก  ในเขตอรัญญิก หรือเขตอรัญวาสี ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในป่านอกเมืองห่างจากชุมชน ระยะทางเท่ากับ 500 คันธนู หรือราวหนึ่งกิโลเมตร มุ่งให้ภิกษุ
ปฎิบัติทางวิปัสสนา ?..ในเขตอรัญญิกของกำแพงเพชร มีวัดราว 50 วัดตั้งติดต่อกัน ในเนื้อที่ 1611 ไร่      ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมมีวัดมากมาย ต่อเนื่องกันแบบนี้ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น??
   วัดฆ้องชัย?.เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก?กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก ?.นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด ? ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่างวัด พระนอน กับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น?สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า  ฐานล่างก่อเป็นฐานหน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10  เมตร?.นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร ?.. มีบันไดขึ้นสองทาง?.
ฐานวิหาร?.ข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7ห้อง
แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก ?..เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปีพ.ศ.2525  ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร?. บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย?..
   ทำไมเรียกชื่อว่าวัดฆ้องชัยนั้น ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ อาจสันนิษฐานว่า ได้พบฆ้องขนาดใหญ่ในบริเวณวัดจึงเรียกขานนามของวัดแห่งนี้ว่าวัดฆ้องชัย?.อาจเป็นไปได้?
   เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ในแกนทิศทางเดียวกันเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมที่หลดหลั่นซ้อนกันขึ้นมา ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวถลา 3 ชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังแลส่วนยอดหักพังจัดเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูงเพรียว ซึ่งเป็นรูปแบบของเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร? ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายขนาดเล็ก 4องค์  เหลือเพียงแค่ฐานรูปทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน ทั้งหมดเป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ทำสังฆกรรม มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส?. เขตสังฆาวาส คือบริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง เช่นศาลา กุฏิ บ่อน้ำ และเว็จกุฏี (ห้องส้วม) ที่วัดฆ้องชัย?มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง ยาว ประมาณ  4 เมตร ลึกประมาณ 10 เมตร แต่ไม่มีน้ำอยู่เลย บ่อน้ำอยู่ในบริเวณกุฏี
??.หลังวัดมีศาลาขนาดใหญ่อยู่สองศาลา ต่อกัน มีห้องน้ำ ห้องส้วมอยู่ในอาคาร ซึ่งนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้ามาก เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ของกำแพงเพชร ที่ทำให้ห้องส้วมและห้องน้ำและไม่มีกลิ่นแม้จะอยู่ในอาคารก็ตาม?..เมื่อสมัยที่กำแพงเพชรยังไม่ถูกทิ้งร้าง วัสดุที่นำมาก่อสร้าง เป็นศิลาแลงทั้งหมด มาเป็นแกนกลาง ที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบร่องรอยการตัดศิลาแลงขึ้นมาใช้ในทุกวัด?.ที่เห็นชัดเจนในบริเวณ หน้าวัดพระสี่อิริยาบถ?..
   ?วัดฆ้องชัย?เป็นอีกวัดหนึ่งในขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจมาก.. เมื่อเข้ามาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรไม่ควรผ่านเลยไป?.ควรแวะมามาเยี่ยมชมความยิ่งใหญ่และอลังการแห่งวัดฆ้องชัย แล้วจะได้สัมผัสถึงความเป็นกำแพงเพชรอย่างแท้จริง?
ฮืม..การรักษามรดกทางอารยธรรม?เป็นการรักษาที่ไม่ยาก เป็นการลงทุนที่น้อยมากเนื่องจากบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้ให้แล้ว เพียงเรารู้จักรักษาและนำประโยชน์ จากอารยธรรม มาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม ของเมืองกำแพงเพชร?. รายได้และความภาคภูมิใจ ในมรดกทางอารยธรรม จะทำให้ชาวกำแพงเพชรพ้นจากความยากจนได้?และรวมใจชาวกำแพงเพชรเป็นหนึ่งเดียว?.. สมกับการเป็นเมืองมรดกโลก?.อย่างแท้จริง?.
         
                           สันติ   อภัยราช


















วัดคูยาง
วัดคูยาง เหตุที่เรียกว่าวัดคูยางเพราะ มีชาวยาง (กะเหรี่ยง) กลุ่มหนึ่ง มาบูรณะวัดโบราณแห่งนี้ ชาวยางขุดคูน้ำล้อมรอบวัด จึงเรียกกันโดยสามัญว่าวัดคูยาง

วัดคูยาง เป็นพระอารามหลวง  ตั้งอยู่เลขที่ 027 ถนนราชดำเนิน ซอย 3 ตำบลในเมือ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร สภาพเดิมเป็นวัดเก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณกาล มีฐานรากอุโบสถและแท่นพระประธานซึ่งก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตั้งอยู่บริเวณวัดด้านเหนือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงฝึกงานของโรงเรียนวัดคูยาง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชื่อวัดอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหน แต่มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี จนมาถึงรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ระหว่าง พ.ศ. 2394 ? 2399 จึงได้มีผู้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม มีเนื้อที่ประมาณ ๒๘ ไร่เศษ แต่ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า การทั้งนี้จึงได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และได้ขนานนามวัดนี้ว่า ?วัดคูยาง? ดังเรียกกันอยู่จนถึงทุกวันนี้
     ตามหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ ว่า ?วันที่ ๒๖ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จเพื่อที่จะถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์ แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯ เสียแล้ว จึงเดินทางไปวัดคูยางซึ่งเป็นที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) อยู่ ผ่านถนนสายในถนนสายนี้งามมากได้ถ่ายรูปไว้และให้ชื่อถนนสายนี้ว่า ?ราชดำเนิน? วัดคูยางมีลำคูกว้างประมาณ ๖ หรือ ๘ วา มีน้ำขัง กุฎิและหอไตรตั้งอยู่ในน้ำแปลกอยู่    
 ตามหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์ จังหวัดกำแพงเพชรของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พ.ศ. 2456 จดหมายเหตุไว้ว่า ?วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖  เข้าเสด็จบิณฑบาตและทอดพระเนตรวัดคูยาง
วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเมืองรูปก่อน คือ พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างขวางมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน มีกุฏิ ๓ หมู่  ๕-๖ หลัง ฝากระดานมุงกระเบื้องทั้งหลัง นอกจากนี้ยังมีร้านบาตร และหอไตร หอสวดมนต์อีก ลวดลายเป็นของเก่า ทำประณีตมากไม่แลเห็นว่าจะต้องสร้างอะไรอีก ข้อสำคัญรักษาของเก่าให้คงไว้เป็นพอ โบสถ์และวิหาร ตั้งอยู่หลังตลาด ห่างจากแม่น้ำ ๒ เส้น มีลานกว้างขวางมีคูคั่นกุฏิกับตอนโบสถ์ คูนี้มีเกือบรอบวัด
   และในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน  ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงถวายผ้าพระกฐินต้นพร้อมด้วย ถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถวายวัดคูยาง เมื่อวัดคูยางสร้าง พระอุโบสถ ได้อัญเชิญ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และสก. มาประดิษฐานที่หน้าบัน มาจนทุกวันนี้ วัดคูยางเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร มาหลายสมัย เป็นวัดที่งดงามและมีระเบียบ ยิ่งนัก
                        สันติ อภัยราช























วัดเสด็จ
วัดเสด็จเป็นวัดมหานิกาย ประวัติความเป็นมาของวัดนี้ไม่มีหลักฐานและบุคคลใดยืนยันได้ละเอียด แต่พอจะสันนิษฐานว่า สมัยเมืองกำแพงเพชรในอดีต ประชาชนที่ตั้งหลักฐานทำมาหากินอยู่นอกตัวเมือง  คงจะร่วมใจกันสร้างวัดนี้ขึ้น  เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์  และเท่าที่ทราบมาสาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า  ?วัดเสด็จ?  จึงพอจะอนุมานได้เป็น  ๒ ทาง คือ ทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง  อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่า  เคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดนี้  (เจดีย์องค์ที่ปรักหักพังแล้วได้สร้างมณฑปทับได้  ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการสร้างมณฑปอีกครั้งหนึ่ง)  ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและ  ในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จ  ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้  จึงได้มีนามว่า  ?วัดเสด็จ?  ก็เป็นได้
วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง  ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำ  ถนนหน้าวัดคงจะไม่มี  แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้  ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่า  เพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง  และได้สร้างศาลากลางจังหวัดลงไปทางใต้เมืองเก่า  โดยมีจวนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสร้างอยู่เหนือศาลากลางจังหวัด (ตรงตลาดสดหลังธนาคารกรุงเทพปัจจุบันนี้)  จึงพอสันนิษฐานได้ว่า เริ่มตัดถนนสายริมแม่น้ำปิงและถนนสายนี้คงเป็นเทศามณฑลนครสรรค์
มาเป็นผู้เริ่ม หรือมาทำพิธีเปิดถนนสายนี้จึงมีชื่อว่า ?ถนนเทศา? มาจนถึงปัจจุบันนี้  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ที่ดินของวัดถูกตัดออกไป ทางวัดจึงสร้างรั้วไม้ติดริมถนนเทศา ส่วนที่ดินที่เหลือจากถูกตัดทำถนนริมฝั่งแม่น้ำปิงนั้นได้จัดเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด  เพื่อให้ประชาชนปลูกบ้านอยู่อาศัย  ต่อมาภายหลังจึงได้มีการเก็บค่าเช่าเพื่อเป็นค่าให้จ่ายและบูรณะวัด
ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้น  และเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการ  ท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น  ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วย  และได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า  (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้)  เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ  ๑  กิโลเมตร  และต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า  ?ถนนราชดำเนิน?   มีข้อความว่า  ?ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จ เพื่อถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์
แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯ  เสียแล้ว  จึงเดินไปวัดคูยาง  ซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ ผ่านถนนสายใน  จึงได้ชมว่าถนนสวยงามมาก ได้ถ่ายรูปไว้  และใช้ชื่อถนนสายนี้ว่าราชดำเนิน..?) 
วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ เคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ และตำนานพระเครื่องเมืองนี้  ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์  (โต)  วัดระฆัง  และสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไป  ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องจากตำนาน  การทำบุญไหว้พระธาตุ  ไหว้พระพุทธบาท  ที่มีในจารึกนครชุมเป็นที่แพร่หลาย  โดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง  การไหว้พระธาตุและการไหว้พระพุทธบาท  คือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน   
ที่ชาวบ้านเรียกว่า  ทำบุญเพ็ญเดือน  ๓  มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุม  และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน






















วัดกรุสี่ห้อง

....เมื่อเข้าไปชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในบริเวณอรัญญิกแล้ว  คนทั่วไป มักไปชมวัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบ กันทุกคน ไม่มีใครที่คิดจะไปชม วัดกรุสี่ห้อง ซึ่งถ้ามองจากริมถนนในอุทยานประวัติศาสตร์ แล้วเป็นเหมือนวัดเล็กๆ ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด
....แต่เมื่อเข้าไปสำรวจ บริเวณข้างใน วัดกรุสี่ห้องเป็นวัดที่ มีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในยุค
กำแพงเพชรรุ่งเรืองสุดขีด คือราวพุทธศักราช 1900 ? 2000 มีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใครในเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเนื้อที่วัด ไพศาลกว่าวัดอื่นในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร คือกว่า 64,200 ตารางเมตร  มีวิหารขนาดใหญ่ หนึ่งหลัง ขนาดย่อม 2หลัง  มีเจดีย์ขนาดย่อมเรียงรายอยู่ด้านหน้าวัด ถึง 13องค์ มีกุฏิที่มีลักษณะแปลก 8 หลัง  มีศาลาโถง 3 หลัง มีเวจคือส้วม หรือฐาน  อยู่มากมายกว่า  8 ที่  มีบ่อน้ำขนาดใหญ่  วางในทิศที่เหมาะสมในทุกทิศ  5 บ่อ  และบ่อขนาดย่อม อยู่บนอาคารวิหาร อีก 2 บ่อ....
.....สิ่งที่น่าสนใจที่สุด ของวัดกรุสี่ห้องคือ การที่มีพระวิหาร ขนาดใหญ่ ที่มีรูปทรงและสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นเลิศ  สัดส่วนใช้สอยของห้องต่างในวิหารล้วนสมดุลยิ่ง... ที่พิเศษสุด พื้นของวิหาร ปูด้วยหินชนวนอย่างงดงาม ดูกว้างขวางและแปลกตากว่าวัดใดๆ ในเมืองกำแพงเพชร พื้นที่ตั้งพระประธานมีขนาดใหญ่มาก มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง ขนาดใหญ่น้อย นอนเรียงรายทั่วพื้น บันไดด้านหน้ามีบันไดขนาดใหญ่ บันไดเดียว บันใดด้านหลังมี 2 บันได ...
.....ในเขตพุทธาวาส มีกำแพงแก้วสูงใหญ่ขนาดท่วมหัวคน สูงและงดงาม กว่าทุกวัด ด้านหลังวิหารไม่มีเจดีย์ หรือมณฑป เหมือนวัดทั่วไป แต่เจดีย์ขนาดใหญ่จะไปอยู่ที่หน้าวัดถึง 13 องค์ เรียงรายเป็นหน้ากระดานล้วนงดงามนัก.....
.....สิ่งที่แปลก และดูทันสมัยที่สุดคือ การมีส้วม อยู่ในตัวอาคาร ของศาลา ที่พักคนเดินทาง หรือศาลาสำหรับภิกษุสงฆ์ เราไม่เคยพบเห็นลักษณะของส้วมอยู่ในอาคาร การรักษาความสะอาด และการเก็บกลิ่น คงใช้ภูมิปัญญาที่ ก้าวหน้า กว่าทุกแห่ง ในการแยกส่วน ของการถ่ายหนักและเบาไม่ให้ผสมกัน อาจทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่สะอาด เราพบที่วัดกรุสี่ห้องแห่งนี้....
......ในอาคารที่มีลักษณะเหมือนกุฏิขนาดใหญ่  มีการวางผังห้องและผังอาคาร อย่างบ้านจัดสรรในปัจจุบัน โดยมีห้องรับแขก ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม อยู่ในอาคาร ที่เป็นกุฏิขนาดใหญ่ อย่างเหมาะสมและลงตัว  เราไม่เคยพบวัดที่มีลักษณะเช่นนี้ ที่แห่งใดในเมืองกำแพงเพชร หรือที่อื่นๆในเมืองโบราณ....
.....ผู้ที่สร้างและออกแบบวัดกรุสี่ห้อง ต้องไม่ใช่ธรรมดา เพราะมิได้ยึดจารีต ในการสร้างวัดแต่โบราณ กลับมีการพัฒนาไปในรูปแบบที่ทันสมัย และยึดประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ผู้ที่วางผังและออกแบบวัดกรุสี่ห้อง ต้องเป็นสถาปนิกชั้นยอดในยุคกระโน้น  ของเมืองกำแพงเพชร
และเมื่อสำรวจอาคาร และส้วมตลอดจนวิหารแล้วต้องสันนิษฐานว่าวัดกรุสี่ห้อง มีพระภิกษุจำพรรษา นับร้อยองค์ ในสมัยนั้น
....ท่านผู้ครองวัด หรือเจ้าอาวาส ต้องเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูง หรืออาจถึงขั้นเป็นสังฆราชในเมืองกำแพงเพชร  เพราะมีกุฏีที่พัก ขนาดใหญ่ และครบถ้วน จึงน่าสนใจมาก
.....บนวิหารขนาดย่อม ....มีบ่อน้ำลึกนับ 10เมตรอยู่บนอาคาร ที่มีหลังคา นับเป็นสถาปัตยกรรมที่เหนือชั้น ..บ่อน้ำแต่ละบ่อ ที่พบในวัด มีขนาดที่มาตรฐานในทิศทางที่เหมาะเจาะ
.....ท่านที่ไม่เคยมาชมวัดกรุสี่ห้อง โปรดแวะเข้ามาชมท่านจะพบกับความยิ่งใหญ่และอลังการ
ของวัด และเข้าใจในความฉลาดของภูมิปัญญาไทยในสมัยโบราณ....วัดกรุสี่ห้อง จึงน่าจะเป็นวัดที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                  สันติ อภัยราช




วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร

?เจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี ?
 (พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสต้นกำแพงเพชร)

   วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ  เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ 9 องค์,ต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ที่พระยาลิไททรงปลูกไว้,พระอุโบสถหลังเก่า,พระวิหาร,วิหารพระนอน,ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน อีกด้วย
          พระบรมธาตุนครชุมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชรและวัดพระบรมธาตุ  จากจารึกนครชุมเดิมภายในวัดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพญาลิไท สร้างขึ้นก่อนปี 1900 อาจอุทิศถวาย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง   พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง  และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ หรือสร้างก่อนหน้านั้น ในสมัยพญาลิไทได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญ มากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง เป็นตำนาน ของประเพณีนบพระเล่นเพลง และประเพณี เพ็งเดือนสาม มาจนทุกวันนี้
         วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี คือประมาณ ปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ ? ๒๐๐๐ จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือ เมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่   วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่  2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า...ในพ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร(มาฌาปนกิจศพยายของท่านที่หาดทรายหน้าเมืองกำแพงเพชร )  พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร  ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  อยู่ริมน้ำปิง  ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์  ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.2414 (แซงพอ หรือพระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีให้ศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้
            สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัวตูม)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน  ในปี พ.ศ 2414 แซพอ(แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม   ต่อมา พ.ศ.2418  แซภอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ.2447-2448  พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ.2449  ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง 3 เดือน ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงมอญ เนื่องจาก การบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นพระยาตะก่า และพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะมอญพม่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พระบรมสารีริกธาตุ ของจริง จากจารึกนครชุม จารึกว่า
   ผิผู้ใดได้กระทำบูชา พระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอ เหมือนได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล
   วัด พระบรมธาตุ กำลังถึงจุดเปลี่ยน พัฒนาไปสู่วัดที่มีการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสูงสุด โดยความตั้งใจ และทุ่มเท จากพระราชวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ รูปปัจจุบัน
 
                    สันติ อภัยราช















กล้อง


เลือกสติกเกอร์หรืออีโมติคอน











..











..





.


วัดฆ้องชัย

ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก  ในเขตอรัญญิก หรือเขตอรัญวาสี ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในป่านอกเมืองห่างจากชุมชน ระยะทางเท่ากับ 500 คันธนู หรือราวหนึ่งกิโลเมตร มุ่งให้ภิกษุ
ปฎิบัติทางวิปัสสนา ?..ในเขตอรัญญิกของกำแพงเพชร มีวัดราว 50 วัดตั้งติดต่อกัน ในเนื้อที่ 1611 ไร่      ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมมีวัดมากมาย ต่อเนื่องกันแบบนี้ ซึ่งเป็นวัดที่สร้างในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น??
   วัดฆ้องชัย?.เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก?กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก ?.นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด ? ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่างวัด พระนอน กับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น?สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า  ฐานล่างก่อเป็นฐานหน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10  เมตร?.นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร ?.. มีบันไดขึ้นสองทาง?.
ฐานวิหาร?.ข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7ห้อง
แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก ?..เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปีพ.ศ.2525  ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร?. บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย?..
   ทำไมเรียกชื่อว่าวัดฆ้องชัยนั้น ไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ อาจสันนิษฐานว่า ได้พบฆ้องขนาดใหญ่ในบริเวณวัดจึงเรียกขานนามของวัดแห่งนี้ว่าวัดฆ้องชัย?.อาจเป็นไปได้?
   เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ในแกนทิศทางเดียวกันเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมที่หลดหลั่นซ้อนกันขึ้นมา ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวถลา 3 ชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังแลส่วนยอดหักพังจัดเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูงเพรียว ซึ่งเป็นรูปแบบของเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร? ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายขนาดเล็ก 4องค์  เหลือเพียงแค่ฐานรูปทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน ทั้งหมดเป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ทำสังฆกรรม มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส?. เขตสังฆาวาส คือบริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง เช่นศาลา กุฏิ บ่อน้ำ และเว็จกุฏี (ห้องส้วม) ที่วัดฆ้องชัย?มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง ยาว ประมาณ  4 เมตร ลึกประมาณ 10 เมตร แต่ไม่มีน้ำอยู่เลย บ่อน้ำอยู่ในบริเวณกุฏี
??.หลังวัดมีศาลาขนาดใหญ่อยู่สองศาลา ต่อกัน มีห้องน้ำ ห้องส้วมอยู่ในอาคาร ซึ่งนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้ามาก เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ของกำแพงเพชร ที่ทำให้ห้องส้วมและห้องน้ำและไม่มีกลิ่นแม้จะอยู่ในอาคารก็ตาม?..เมื่อสมัยที่กำแพงเพชรยังไม่ถูกทิ้งร้าง วัสดุที่นำมาก่อสร้าง เป็นศิลาแลงทั้งหมด มาเป็นแกนกลาง ที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบร่องรอยการตัดศิลาแลงขึ้นมาใช้ในทุกวัด?.ที่เห็นชัดเจนในบริเวณ หน้าวัดพระสี่อิริยาบถ?..
   ?วัดฆ้องชัย?เป็นอีกวัดหนึ่งในขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจมาก.. เมื่อเข้ามาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรไม่ควรผ่านเลยไป?.ควรแวะมามาเยี่ยมชมความยิ่งใหญ่และอลังการแห่งวัดฆ้องชัย แล้วจะได้สัมผัสถึงความเป็นกำแพงเพชรอย่างแท้จริง?
ฮืม..การรักษามรดกทางอารยธรรม?เป็นการรักษาที่ไม่ยาก เป็นการลงทุนที่น้อยมากเนื่องจากบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้ให้แล้ว เพียงเรารู้จักรักษาและนำประโยชน์ จากอารยธรรม มาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรม ของเมืองกำแพงเพชร?. รายได้และความภาคภูมิใจ ในมรดกทางอารยธรรม จะทำให้ชาวกำแพงเพชรพ้นจากความยากจนได้?และรวมใจชาวกำแพงเพชรเป็นหนึ่งเดียว?.. สมกับการเป็นเมืองมรดกโลก?.อย่างแท้จริง?.
         
                           สันติ   อภัยราช


















วัดคูยาง
วัดคูยาง เหตุที่เรียกว่าวัดคูยางเพราะ มีชาวยาง (กะเหรี่ยง) กลุ่มหนึ่ง มาบูรณะวัดโบราณแห่งนี้ ชาวยางขุดคูน้ำล้อมรอบวัด จึงเรียกกันโดยสามัญว่าวัดคูยาง

วัดคูยาง เป็นพระอารามหลวง  ตั้งอยู่เลขที่ 027 ถนนราชดำเนิน ซอย 3 ตำบลในเมือ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร สภาพเดิมเป็นวัดเก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณกาล มีฐานรากอุโบสถและแท่นพระประธานซึ่งก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตั้งอยู่บริเวณวัดด้านเหนือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงฝึกงานของโรงเรียนวัดคูยาง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชื่อวัดอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหน แต่มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี จนมาถึงรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ระหว่าง พ.ศ. 2394 ? 2399 จึงได้มีผู้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม มีเนื้อที่ประมาณ ๒๘ ไร่เศษ แต่ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า การทั้งนี้จึงได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และได้ขนานนามวัดนี้ว่า ?วัดคูยาง? ดังเรียกกันอยู่จนถึงทุกวันนี้
     ตามหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ ว่า ?วันที่ ๒๖ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จเพื่อที่จะถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์ แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯ เสียแล้ว จึงเดินทางไปวัดคูยางซึ่งเป็นที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) อยู่ ผ่านถนนสายในถนนสายนี้งามมากได้ถ่ายรูปไว้และให้ชื่อถนนสายนี้ว่า ?ราชดำเนิน? วัดคูยางมีลำคูกว้างประมาณ ๖ หรือ ๘ วา มีน้ำขัง กุฎิและหอไตรตั้งอยู่ในน้ำแปลกอยู่    
 ตามหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์ จังหวัดกำแพงเพชรของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พ.ศ. 2456 จดหมายเหตุไว้ว่า ?วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖  เข้าเสด็จบิณฑบาตและทอดพระเนตรวัดคูยาง
วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเมืองรูปก่อน คือ พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างขวางมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน มีกุฏิ ๓ หมู่  ๕-๖ หลัง ฝากระดานมุงกระเบื้องทั้งหลัง นอกจากนี้ยังมีร้านบาตร และหอไตร หอสวดมนต์อีก ลวดลายเป็นของเก่า ทำประณีตมากไม่แลเห็นว่าจะต้องสร้างอะไรอีก ข้อสำคัญรักษาของเก่าให้คงไว้เป็นพอ โบสถ์และวิหาร ตั้งอยู่หลังตลาด ห่างจากแม่น้ำ ๒ เส้น มีลานกว้างขวางมีคูคั่นกุฏิกับตอนโบสถ์ คูนี้มีเกือบรอบวัด
   และในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน  ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงถวายผ้าพระกฐินต้นพร้อมด้วย ถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถวายวัดคูยาง เมื่อวัดคูยางสร้าง พระอุโบสถ ได้อัญเชิญ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และสก. มาประดิษฐานที่หน้าบัน มาจนทุกวันนี้ วัดคูยางเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร มาหลายสมัย เป็นวัดที่งดงามและมีระเบียบ ยิ่งนัก
                        สันติ อภัยราช























วัดเสด็จ
วัดเสด็จเป็นวัดมหานิกาย ประวัติความเป็นมาของวัดนี้ไม่มีหลักฐานและบุคคลใดยืนยันได้ละเอียด แต่พอจะสันนิษฐานว่า สมัยเมืองกำแพงเพชรในอดีต ประชาชนที่ตั้งหลักฐานทำมาหากินอยู่นอกตัวเมือง  คงจะร่วมใจกันสร้างวัดนี้ขึ้น  เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์  และเท่าที่ทราบมาสาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า  ?วัดเสด็จ?  จึงพอจะอนุมานได้เป็น  ๒ ทาง คือ ทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง  อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่า  เคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดนี้  (เจดีย์องค์ที่ปรักหักพังแล้วได้สร้างมณฑปทับได้  ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการสร้างมณฑปอีกครั้งหนึ่ง)  ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและ  ในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จ  ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้  จึงได้มีนามว่า  ?วัดเสด็จ?  ก็เป็นได้
วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง  ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำ  ถนนหน้าวัดคงจะไม่มี  แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้  ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่า  เพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง  และได้สร้างศาลากลางจังหวัดลงไปทางใต้เมืองเก่า  โดยมีจวนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสร้างอยู่เหนือศาลากลางจังหวัด (ตรงตลาดสดหลังธนาคารกรุงเทพปัจจุบันนี้)  จึงพอสันนิษฐานได้ว่า เริ่มตัดถนนสายริมแม่น้ำปิงและถนนสายนี้คงเป็นเทศามณฑลนครสรรค์
มาเป็นผู้เริ่ม หรือมาทำพิธีเปิดถนนสายนี้จึงมีชื่อว่า ?ถนนเทศา? มาจนถึงปัจจุบันนี้  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ที่ดินของวัดถูกตัดออกไป ทางวัดจึงสร้างรั้วไม้ติดริมถนนเทศา ส่วนที่ดินที่เหลือจากถูกตัดทำถนนริมฝั่งแม่น้ำปิงนั้นได้จัดเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด  เพื่อให้ประชาชนปลูกบ้านอยู่อาศัย  ต่อมาภายหลังจึงได้มีการเก็บค่าเช่าเพื่อเป็นค่าให้จ่ายและบูรณะวัด
ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้น  และเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการ  ท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น  ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วย  และได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า  (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้)  เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ  ๑  กิโลเมตร  และต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า  ?ถนนราชดำเนิน?   มีข้อความว่า  ?ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือประพาสล่องไปขึ้นท่าหน้าวัดเสด็จ เพื่อถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์
แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯ  เสียแล้ว  จึงเดินไปวัดคูยาง  ซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ ผ่านถนนสายใน  จึงได้ชมว่าถนนสวยงามมาก ได้ถ่ายรูปไว้  และใช้ชื่อถนนสายนี้ว่าราชดำเนิน..?) 
วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ เคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ และตำนานพระเครื่องเมืองนี้  ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์  (โต)  วัดระฆัง  และสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไป  ทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องจากตำนาน  การทำบุญไหว้พระธาตุ  ไหว้พระพุทธบาท  ที่มีในจารึกนครชุมเป็นที่แพร่หลาย  โดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง  การไหว้พระธาตุและการไหว้พระพุทธบาท  คือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน   
ที่ชาวบ้านเรียกว่า  ทำบุญเพ็ญเดือน  ๓  มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุม  และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน






















วัดกรุสี่ห้อง

....เมื่อเข้าไปชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในบริเวณอรัญญิกแล้ว  คนทั่วไป มักไปชมวัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบ กันทุกคน ไม่มีใครที่คิดจะไปชม วัดกรุสี่ห้อง ซึ่งถ้ามองจากริมถนนในอุทยานประวัติศาสตร์ แล้วเป็นเหมือนวัดเล็กๆ ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด
....แต่เมื่อเข้าไปสำรวจ บริเวณข้างใน วัดกรุสี่ห้องเป็นวัดที่ มีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในยุค
กำแพงเพชรรุ่งเรืองสุดขีด คือราวพุทธศักราช 1900 ? 2000 มีหลักฐานทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนใครในเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเนื้อที่วัด ไพศาลกว่าวัดอื่นในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร คือกว่า 64,200 ตารางเมตร  มีวิหารขนาดใหญ่ หนึ่งหลัง ขนาดย่อม 2หลัง  มีเจดีย์ขนาดย่อมเรียงรายอยู่ด้านหน้าวัด ถึง 13องค์ มีกุฏิที่มีลักษณะแปลก 8 หลัง  มีศาลาโถง 3 หลัง มีเวจคือส้วม หรือฐาน  อยู่มากมายกว่า  8 ที่  มีบ่อน้ำขนาดใหญ่  วางในทิศที่เหมาะสมในทุกทิศ  5 บ่อ  และบ่อขนาดย่อม อยู่บนอาคารวิหาร อีก 2 บ่อ....
.....สิ่งที่น่าสนใจที่สุด ของวัดกรุสี่ห้องคือ การที่มีพระวิหาร ขนาดใหญ่ ที่มีรูปทรงและสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นเลิศ  สัดส่วนใช้สอยของห้องต่างในวิหารล้วนสมดุลยิ่ง... ที่พิเศษสุด พื้นของวิหาร ปูด้วยหินชนวนอย่างงดงาม ดูกว้างขวางและแปลกตากว่าวัดใดๆ ในเมืองกำแพงเพชร พื้นที่ตั้งพระประธานมีขนาดใหญ่มาก มีพระพุทธรูปโกลนศิลาแลง ขนาดใหญ่น้อย นอนเรียงรายทั่วพื้น บันไดด้านหน้ามีบันไดขนาดใหญ่ บันไดเดียว บันใดด้านหลังมี 2 บันได ...
.....ในเขตพุทธาวาส มีกำแพงแก้วสูงใหญ่ขนาดท่วมหัวคน สูงและงดงาม กว่าทุกวัด ด้านหลังวิหารไม่มีเจดีย์ หรือมณฑป เหมือนวัดทั่วไป แต่เจดีย์ขนาดใหญ่จะไปอยู่ที่หน้าวัดถึง 13 องค์ เรียงรายเป็นหน้ากระดานล้วนงดงามนัก.....
.....สิ่งที่แปลก และดูทันสมัยที่สุดคือ การมีส้วม อยู่ในตัวอาคาร ของศาลา ที่พักคนเดินทาง หรือศาลาสำหรับภิกษุสงฆ์ เราไม่เคยพบเห็นลักษณะของส้วมอยู่ในอาคาร การรักษาความสะอาด และการเก็บกลิ่น คงใช้ภูมิปัญญาที่ ก้าวหน้า กว่าทุกแห่ง ในการแยกส่วน ของการถ่ายหนักและเบาไม่ให้ผสมกัน อาจทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่สะอาด เราพบที่วัดกรุสี่ห้องแห่งนี้....
......ในอาคารที่มีลักษณะเหมือนกุฏิขนาดใหญ่  มีการวางผังห้องและผังอาคาร อย่างบ้านจัดสรรในปัจจุบัน โดยมีห้องรับแขก ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องส้วม อยู่ในอาคาร ที่เป็นกุฏิขนาดใหญ่ อย่างเหมาะสมและลงตัว  เราไม่เคยพบวัดที่มีลักษณะเช่นนี้ ที่แห่งใดในเมืองกำแพงเพชร หรือที่อื่นๆในเมืองโบราณ....
.....ผู้ที่สร้างและออกแบบวัดกรุสี่ห้อง ต้องไม่ใช่ธรรมดา เพราะมิได้ยึดจารีต ในการสร้างวัดแต่โบราณ กลับมีการพัฒนาไปในรูปแบบที่ทันสมัย และยึดประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ ผู้ที่วางผังและออกแบบวัดกรุสี่ห้อง ต้องเป็นสถาปนิกชั้นยอดในยุคกระโน้น  ของเมืองกำแพงเพชร
และเมื่อสำรวจอาคาร และส้วมตลอดจนวิหารแล้วต้องสันนิษฐานว่าวัดกรุสี่ห้อง มีพระภิกษุจำพรรษา นับร้อยองค์ ในสมัยนั้น
....ท่านผู้ครองวัด หรือเจ้าอาวาส ต้องเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูง หรืออาจถึงขั้นเป็นสังฆราชในเมืองกำแพงเพชร  เพราะมีกุฏีที่พัก ขนาดใหญ่ และครบถ้วน จึงน่าสนใจมาก
.....บนวิหารขนาดย่อม ....มีบ่อน้ำลึกนับ 10เมตรอยู่บนอาคาร ที่มีหลังคา นับเป็นสถาปัตยกรรมที่เหนือชั้น ..บ่อน้ำแต่ละบ่อ ที่พบในวัด มีขนาดที่มาตรฐานในทิศทางที่เหมาะเจาะ
.....ท่านที่ไม่เคยมาชมวัดกรุสี่ห้อง โปรดแวะเข้ามาชมท่านจะพบกับความยิ่งใหญ่และอลังการ
ของวัด และเข้าใจในความฉลาดของภูมิปัญญาไทยในสมัยโบราณ....วัดกรุสี่ห้อง จึงน่าจะเป็นวัดที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                  สันติ อภัยราช




วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร

?เจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี ?
 (พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสต้นกำแพงเพชร)

   วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ  เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ 9 องค์,ต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ที่พระยาลิไททรงปลูกไว้,พระอุโบสถหลังเก่า,พระวิหาร,วิหารพระนอน,ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน อีกด้วย
          พระบรมธาตุนครชุมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชรและวัดพระบรมธาตุ  จากจารึกนครชุมเดิมภายในวัดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพญาลิไท สร้างขึ้นก่อนปี 1900 อาจอุทิศถวาย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง   พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง  และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ หรือสร้างก่อนหน้านั้น ในสมัยพญาลิไทได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญ มากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง เป็นตำนาน ของประเพณีนบพระเล่นเพลง และประเพณี เพ็งเดือนสาม มาจนทุกวันนี้
         วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี คือประมาณ ปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ ? ๒๐๐๐ จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือ เมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่   วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่  2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า...ในพ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร(มาฌาปนกิจศพยายของท่านที่หาดทรายหน้าเมืองกำแพงเพชร )  พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร  ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  อยู่ริมน้ำปิง  ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์  ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.2414 (แซงพอ หรือพระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีให้ศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้
            สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัวตูม)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน  ในปี พ.ศ 2414 แซพอ(แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม   ต่อมา พ.ศ.2418  แซภอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ.2447-2448  พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ.2449  ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง 3 เดือน ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงมอญ เนื่องจาก การบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นพระยาตะก่า และพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะมอญพม่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พระบรมสารีริกธาตุ ของจริง จากจารึกนครชุม จารึกว่า
   ผิผู้ใดได้กระทำบูชา พระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอ เหมือนได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล
   วัด พระบรมธาตุ กำลังถึงจุดเปลี่ยน พัฒนาไปสู่วัดที่มีการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสูงสุด โดยความตั้งใจ และทุ่มเท จากพระราชวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ รูปปัจจุบัน
 
                    สันติ อภัยราช


.
สิ้นสุดการสนทนา




อ่านเมื่อ อ. 16:09















กล้อง


เลือกสติกเกอร์หรืออีโมติคอน











..











..





.



 



.




..

 



.




..
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!