จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 28, 2024, 10:33:52 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของวันอนุรักษ์มรดกไทย  (อ่าน 4712 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2014, 08:37:54 pm »

ความสำคัญของวันอนุรักษ์มรดกไทย

วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ คือ
?   พุทธศาสนา
?   ภาษาไทยและ วรรณกรรม
?   ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
?   งานช่าง
?   สถาปัตยกรรม
?   ดนตรีไทย
รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และธำรงมรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทยสืบไป
เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี เวียนมาบรรจบครบรอบ พรรษา ในวันที่๒ เมษายน ๒๕๒๘คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่๒๖ กุมภาพันธ์๒๕๒๘ ประกาศให้วันที่ ๒เมษายน ของทุกปีเป็น ?วันอนุรักษ์มรดกของชาติ? เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้มีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ พระราชภารกิจในการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ คือ พุทธศาสนา ภาษาไทยและวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย
เมื่อถึงวันอันเป็นมหามงคลคล้ายวันราชสมภพทุกปี พสกนิกรชาวไทยจึงได้รำลึกแบบอย่างที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติ และได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และธำรงมรดกของชาติ ให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทยสืบต่อไป พระเกียรติคุณและพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้ทรงบำเพ็ญและจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติมีมากมายนานัปการ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ทั้งปวงด้วยพระปรีชาสามารถด้วยพระวิริยะอุตสาหะล้ำเลิศ อำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนนานาประการ ในอันที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ

คำจำกัดความมรดกไทย
คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบ คำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณ สถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ความเป็นมาของวันอนุรักษ์มรดกไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์อันโดด เด่นมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมไทยนับเป็นสิ่งสำคัญในยิ่ง ในอันที่จะหล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่างๆ ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียว
แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้มรดกทางวัฒนธรรมในแขนงต่างๆ นับตั้งแต่โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิต ค่านิยมและระบบประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นได้รับผลกระทบและถูกละเลยทอดทิ้งและแม้ว่าในภาครัฐบาล จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกวัฒนธรรมของ ชาติให้มากขึ้น
กรมศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการที่จะกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัดในรอบปีหนึ่งๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้เกิดแนวความคิด ความต้องการในอันที่จะทำนุบำรุงรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย
การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้ว ๒๙ ปี และการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปี ๒๕๕๗ นี้ นับเป็นปีที่ ๒๙โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ๒-๘เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง


ลักษณะกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย
ในแต่ละปีที่ผ่านมานั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ ลักษณะดังนี้
๑.คัดเลือกบุคคล องค์กร โครงการ และจังหวัดฯ ที่สนับสนุนการวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปี
๒.การจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น การจัดนิทรรศการและมหกรรมการแสดงต่าง ๆ โดยการโอนงบประมาณวันอนุรักษ์มรดกไทย ที่รัฐบาลจัดสรรให้ประจำปีให้แต่ละจังหวัดดำเนินการ
๓.กรมศิลปากรจัดทำโครงการพิเศษเรื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย และกราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดถาวรวัตถุ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย 
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
๑.เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
๒.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถาน โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
๓.เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
๔.เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
๕.เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทา?
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กับงานอนุรักษ์มรดกไทย
๑.หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติได้เขียนในคำนำหนังสือ ?สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีกับการอนุรักษ์มรดกไทย? ตอนหนึ่งว่า
?....หน้าที่ในการรักษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาตินี้ เป็นภาระอันหนัก หากขาดความกล้าหาญและการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดจะรับได้ นอกจากนั้นก็ยังต้องการความเสียสละในเกือบจะทุกทาง ต้องการเวลา ต้องการความอดทน และที่สำคัญที่สุดก็คือจะละเว้นการศึกษาเสียมิได้ ต้องอยู่ในสิกขาตลอดไป ทั้งหมดเหล่านี้เป็นพระคุณลักษณะของทูลกระหม่อม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ได้ทราบและสำนึกในพระบารมีของทูลกระหม่อมแล้ว ความมั่นใจก็จะเกิดขึ้นว่าสมบัติของชาตินั้น คงจะไม่สูญไปโดยง่าย พร้อมกับความภูมิใจที่จะต้องเกิดขึ้นว่า ตัวเรานั้นก็เป็นคนไทย เป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าที่ทูลกระหม่อมทรงรักษาไว้นี้ด้วยอีกผู้หนึ่ง......?
๒.พระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม ในสาขาต่างๆ เช่น พุทธศาสนา ภาษาไทย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย พระองค์ได้รับการ ทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า ? เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ? และเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรม การ วัฒนธรรมแห่งชาติก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญา ? วิศิษฏศิลปิน ? ซึ่งมีความหมายว่าทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่ มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมด้านต่างๆ
 
ด้านพระพุทธศาสนา

เห็นได้ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  ทรงมีพระราชนิพนธ์ ลงพิมพ์ในวารสารคณะ เช่น เรื่องศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ทรรศนะธรรม ศาสนากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และพระพุทธศาสนสุภาษิต คำโคลง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์เรื่อง ?ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท? ที่นับเป็นการค้นคว้าตำราในเรื่องของบารมีมากที่สุดเท่าที่เคยมีผู้ทำมา

 
ด้านภาษาไทยและวรรณกรรม

ถือว่าเป็นอีกอัจฉริยภาพที่พระองค์ทรงพระปรีชายิ่ง  ทรงสร้างสรรค์งานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมาย ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ด้วยภาษาที่ได้รับการยอมรับมีเอกลักษณ์โดดเด่น และมีพระอารมณ์ขัน

ด้านประวัติศาสตร์

ครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานคำอธิบายในคำนำหนังสือชื่อ ?สะพาน : รวมบทความทางประวัติศาสตร์? ไว้ว่า
 ?.......ประโยชน์อย่างหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์คือ ช่วยให้ผู้ศึกษาได้รู้จักใช้ความคิด รู้จักหาเหตุผลจากข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ เป็นการลับสมอง และทำให้ได้รับความรู้อันเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ในแง่นี้ ประวัติศาสตร์มิได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รวบรวมไว้เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการตีความ ประเมินคุณค่าของข้อมูลในแง่มุมใหม่ๆ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่เสมอ) รวมทั้งยังเป็นการคาดคะเนแนวโน้มในอนาคตด้วย.......?
ในพ.ศ.๒๕๒๓ ได้ทรงรับราชการเป็นอาจารย์รับผิดชอบวิชาประวัติศาสตร์ไทยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ทรงเป็นหัวหน้ากองวิชาประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการบรรยายในชั้นเรียน และยังได้ทรงวางโครงร่างหลักสูตร ?พื้นฐานอารยธรรมไทย? อันเป็นวิชาพื้นฐานบังคับสำหรับนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๒ ด้วยพระองค์เอง
ด้านงานช่างไทย
 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่าง ทั้งการวาดรูป ปั้นรูป และงานประดิษฐ์ ทรงเป็นประธานอำนวยการซ่อมบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง เพื่อสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี รวมทั้งยังทรงเป็นที่ปรึกษาการจัดสร้างพระเมรุมาศเพื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ นอกจากนั้นยังทรงจัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ (วิทยาลัยในวัง) ขึ้น เพื่อสอนวิชาชีพ ๓ แขนงวิชาคือ วิชาช่างดอกไม้สด วิชาช่างปักสะดึงและวิชาอาหารและขนม ซึ่งเป็นการอนุรักษ์งานช่างประณีตศิลป์ต่างๆของชาววัง
 
ด้านดนตรีไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความรู้เรื่องเครื่องดนตรีลึกซึ้ง ชำนาญทั้งการทรงซอและระนาดเอก เมื่อทรงศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ ก็ทรงดนตรีกับชมรมดนตรีไทยฯ สมัยนั้นทรงเครื่องสายเป็นพื้น และทรงขับร้องบ้าง

อาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติได้กล่าวไว้ว่า
?ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้วเพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่?


                                                                             สันติ อภัยราช  อาจารย์ ๓ ระดับ ๙
                                                                             คนดีแทนคุณแผ่นดิน
                                                                       ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรม)
                                                                     ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ๓สมัย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!