จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 02:03:17 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กระโปกพระร่วง ตำนานของลับพระร่วง พื้นบ้านพรานกระต่าย ที่ไม่ลับ  (อ่าน 9414 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มกราคม 26, 2013, 04:16:18 pm »

กระโปกพระร่วง ตำนานของลับพระร่วง  พื้นบ้านพรานกระต่าย ที่ไม่ลับ
     พระร่วง เป็นเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ชนชั้นปกครองไทยที่มีอำนาจอยู่ในระยะสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "สมัยสุโขทัย" ฐานอำนาจของราชวงศ์พระร่วงก็คือ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่เป็นทั้งศูนย์การปกครองรัฐบาลและที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ ความชัดเจนในแง่ความเป็นมาของราชวงศ์นี้ไม่สามารถที่จะชี้ชัดระบุให้แน่นอนลงไปได้ เพราะมีหลักฐานหรือสิ่งที่กล่าวอ้างน้อยมาก พระร่วงในความทรงจำของคนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางลงมาเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าตำนานแล้ว เพราะเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหารและความน่ามหัศจรรย์ ผนวกไปกับเรื่องราวของบ้านเมืองสถานที่ต่างๆ ในแถบกลุ่มอาณาจักรสุโขทัยเดิม (ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ปากยม และพระบาง)น่าศึกษามาก
        บนเส้นทางพระร่วง ไปบึงสาป  (บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง) ใกล้กับป่าชุมชน ตำบลท่าไม้ กว่า ห้าร้อยไร่ มี ลานกว้าง ขนาดใกล้สนามฟุตบอล มีหลุมอยู่สามหลุม ขนาดย่อมๆ อยู่สามหลุม มีน้ำขังอยู่ ชาวบ้านเรียกขานกัน เป็นภาษาสำเนียงพรานกระต่าย ว่า กระโปกพระร่วง มีสำเนียงไพเราะ ฟังแล้วดูดี ไม่หยาบคายอย่างที่ใครๆคิด
          กระโปกพระร่วง มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่า พระร่วงกษัตริย์แห่งสุโขทัย มาเล่นว่าว ที่บริเวณลานกว้างแห่งนี้ทุกวัน วันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็ว ไม่ทันระวัง จึงหกล้ม อวัยวะเพศทางท่าน กระแทกกับลานหิน อย่างจัง ด้วยอภินิหารของพระร่วง ทำให้หิน ที่อวัยวะสำคัญของพระร่วงกระแทก กลายเป็นหลุมขนาดใหญ่พอสมควร และท่านได้สาปว่า ให้มีน้ำขังตลอดปี อย่าได้เหือดแห้ง เพื่อเป็น ที่ดื่มของคนและสัตว์ที่ผ่านไปมาบริเวณ ป่าแห่งนี้ ประชาชน ชาวบ้านที่พบเห็น เข้าใจในตำนาน จึงเล่าขานผูกเป็นเรื่องราว ให้ต่อเนื่องกัน กลายเป็นตำนาน ที่เรียกขานกันอย่างไพเราะ เป็นภาษาบ้านๆ ว่า กระโปกพระร่วง ซึ่งนับว่าเป็นภาษาไทยอีกคำ ที่คนไทยพากันว่าหยาบคาย ที่จริงแล้วน่าฟังและเห็นภาพพจน์ที่ชัดเจนกว่าอย่างอื่น  เมื่อท่านมองภาพที่เห็น ท่านได้ใช้วิจารณญาณว่า หลุมไหนคือส่วนไหนของ ของลับที่ไม่ลับ ของพระร่วง
เมื่อจินตนาการบรรเจิด ความสุขก็จะกลับมา อีกครั้ง ชาวบ้านเมื่อไป ป่ากลับมาเมื่อใกล้ถึงหมู่บ้าน ได้พากันนำน้ำที่เหลือ จากการเดินป่า มาเทไว้ในหลุมทั้งสาม เป็นความค่านิยมสืบมา จนปัจจุบัน
 เราได้ยินตำนานนี้มาช้านานแล้ว ตั้งแต่คราวสำรวจถนนพระร่วงเมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว    แต่ไม่มีโอกาสได้พบ คราวนี้ ถือว่าเป็นบุญตาจริงๆ การเล่าของลุงฉ่ำ มณีนก เรื่องกระโปกพระร่วง มีสีสันอย่างมาก สำเนียงอันไพเราะกับภาษาพื้นถิ่นประกอบกับเสียงที่ดังฟังชัด ของท่าน ทำให้ ผู้รับฟังทุกคน ยิ้มอย่างมีความสุข อารมณ์ขันของชาวพรานกระต่าย ความสัปดนของคนพื้นถิ่นเป็นวัฒนธรรมคู่กับคนไทยมาช้านาน นิทานพื้นบ้านเกือบทุกเรื่องจึงเป็นเรื่องลักษณะนี้
ท่านนายก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ คุณชวน แพงมี มัคคุเทศก์คนสำคัญ ของเรา ท่าน มีความมุ่งมั่น ที่จะสร้างเรื่องราวให้เชื่อมต่อกับ บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเพื่อรังสรรค์จินตนาการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ของพรานกระต่ายต่อไป
พรานกระต่าย คือส่วนหนึ่งของเมืองหลวงเก่า ราชธานีสุโขทัย ภาษาและสำเนียง บอกเราว่า ทั้งสองคือพรานกระต่ายกับสุโขทัยคืออาณาจักรเดียวกัน มาเกือบพันปี พรานกระต่ายคือส่วนหนึ่ง ของเมืองหลวงแห่งแรกของไทย จริงๆ
                                         สันติ อภัยราช ๒๖ มกราคม ๕๖






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2013, 04:25:03 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!