จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 30, 2024, 12:49:27 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วรรณกรรมท้องถิ่น ตำบลป่ามะม่วง จ. ตาก นางสาวกรรณการ์ เครือฟู ครุศาสตร์ 541122733  (อ่าน 7403 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มกราคม 05, 2013, 08:08:00 pm »

วรรณกรรมท้องถิ่น
ตำบล ป่ามะม่วง
อำเภอเมือง  จังหวัดตาก
 
โดย
นางสาว  กรรณิการ์    เครือฟู
รหัส 541122733
คณะครุศาสตร์   โปรแกรม วิชา ภาษาไทย
เสนอ
อาจารย์ สันติ   อภัยราช
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชา วรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับครู (1252202)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

คำนำ
หนังสือเล่มนี้ได้เก็บรวบรวมเรื่องราว ของ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคำทาย ประเพณี อาหารพื้นบ้าน  และบุคคลที่สำคัญ     ได้รวมรวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว

ผู้จัดทำหวังว่าหนังสือที่เล่มนี้คงจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่อ่านและศึกษาค้นคว้าไม่มากก็น้อยหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย




จัดทำโดย
นางสาวกรรณิการ์  เครือฟู








สารบัญ
เรื่อง                                            หน้า
การคมนาคม                              1
ประวัติความเป็นมา                           2-3
การคมนาคมสาธารณูปโภค                        3
วัดส้มเกลี้ยง                              4-5
ศาลหลักเมือง                              6
ตำนานเรื่องเล่า                              7
เพลงพื้นบ้าน                              8
เพลงกล่อมเด็ก                              9
ปริศนาคำทาย                              10
บุคคลสำคัญทางศาสนา                           11-12
ประเพณีแห่นางแมว                           13
ประเพณีลอยกระทง                           14
ประเพณีสงกรานต์อาบน้ำคนแก่                        15
อาหารพื้นบ้าน ห่อหมก                           16
อาหารพื้นบ้าน ขนมกล้วย                        17
อาหารพื้นบ้าน ไส้เมี่ยง                           18
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำบายศรี                        19
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องจักรสาน                        20
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  แพทย์แผนไทย                        21
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  จักสานไม้ไผ่                        22
ผู้ให้ความรู้                              23
บรรณานุกรม                              24                           
                     














ประวัติความเป็นมา
ตำบลป่ามะม่วงเป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่ง ในอำเภอเมืองตาก ตำบลป่ามะม่วงมีมาตั้งแต่ครั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้ย้ายเมืองเมืองไปทางใต้ ลงมาตามลำน้ำปิงที่บ้านป่ามะม่วง เป็นการย้ายในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ภายหลังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพแล้ว
เมืองตากย้ายที่มาครั้งนี้ มาตั้งที่บ้านป่ามะม่วง ไม่ใช่เป็นเพียงเมืองหน้าด่าน ไว้ป้องกันทัพพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ระเมาเท่านั้น แต่เป็นเมืองที่กองทัพไทยเราใช้ชุมนุมพลเพื่อที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ในหลายครั้ง และครั้งต่อมาปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ว่ามหาราชเจ้าของเมืองไทยได้เสด็จมาชุมนุมที่เมืองตากถึง ๔ องค์ กองทัพพม่าเดินทางผ่าน ณ บ้านป่ามะม่วง ซึ่งเมืองหน้าด่านสำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ของกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้โปรดเกล้าให้นายสินมหาดเล็กเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ขึ้นไปชำระความทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ครั้งเมื่อนายสินมหาดเล็กได้รับความดีความชอบ แต่งตั้งให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากแทนหลวงยกกระบัตรคนเก่าที่ถึงแก่กรรมลงอีก  หลวงยกกระบัตรสินจึงได้เลื่อนเป็นเจ้าเมืองตาก ซึ่งชาวเมืองตาก
พากันเรียกว่า พระยาตากสิน และมีจวนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ด้านตะวันตก เรียกกันว่า ตำหนักสวนมะม่วง เพราะมีมะม่วงป่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ตำหนักสวนมะม่วง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๑ ตำบลป่ามะม่วง แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วงบริเวณปากร่องน้ำลำหวยแม่ท้อ ในอดีตตำบลป่ามะม่วง เป็นถิ่นพำนักและเป็นที่ตั้งของตำหนักพระเจ้าตาก เรียกว่า ตำหนักป่ามะม่วงในสมัยที่พระเจ้าตากได้มาปกครองเมืองตาก เพราะสถานที่แห่งนี้ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงพำนักมาก่อนและได้สร้างเสาหลักเมืองไว้ และให้ไพร่ฟ้าประชาชนแผ้วป่าทำนา ซึ่งต่อมาเรียกว่าทุ่งหลวง เพื่อปลูกข้าวทำนาเก็บเป็นเสบียงในยามศึกสงคราม
ตำบลป่ามะม่วงตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของอำเภอเมืองตาก และแม่น้ำปิง มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ๓ กิโลเมตร จากการเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมบริเวณที่ตั้งของตำบลป่ามะม่วงจะเป็นที่ทำนา ทำไร่ และทำสวน ของชาวบ้านตำบลระแหง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม จากหลักฐานจะเห็นเป็นที่ราบลุ่ม ที่กว้างใหญ่เหมาะที่จะเป็นไร่ นา ทำสวน และมีต้นมะม่วงขึ้นเป็นจำนวนมาก อยู่ติดลำห้วยแม่ท้อ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการเดินทางไปลำบากมากต้องนำเรือข้ามฟากไปมา
ชาวบ้านตำบลระแหงจึงอพยพครอบครัวมาตั้งรกรากอยู่ในไร่นาของตนเองมากขึ้นเนื่องๆ และเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านป่ามะม่วง ต่อมามีความเจริญมากขึ้น จึงเป็นตำบลป่ามะม่วง
ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง และลำห้วยแม่ท้อ มีหมู่ที่ ๑, ๒,๓,๖.๗ และที่ราบเชิงเขามีหมู่ที่ ๔,๕

 
   

 

การคมนาคม สาธารณูปโภค
  
  เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
เดินทางโดยถนนสายเลียบลำน้ำปิงจากตัวเมือง 1 กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีต ถึงป่าไม้เขตให้เลี้ยวซ้ายมือถึงสี่แยก จะถึงกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหลักเมือง

  สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อ.บ.ต 1,344 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 455 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.15 ของจำนวนหลังคาเรือน


วัดในตำบล
วัดส้มเกลี้ยง
                    

    
    


        วัดส้มเกลี้ยง ตั้งอยู่ที่บ้านป่ามะม่วง หมู่ที่ ๓ ตำบลป่ามะม่วง อำเอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ ๓ งาน ๙๖.๑๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับบ้านของนายมี และนายล้วน ทิศใต้ติดต่อกับบ้านของ น.ส. แต้ม นายสมพร นายมี ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับที่สวนของนายจ๊อด โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๗๙๖๔ เป็นหลักฐาน

         พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี พระอุโบสถกว้าง ๒ๆ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๖ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๘ กุฏิสงฆ์จำนวน ๒ หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานองค์ใหญ่เนื้อสัมฤทธิ์ ๔ องค์ อยู่ในอุโบสถ ๓ องค์ อยู่ที่ศาลาการเปรียญ ๑ องค์

         วัดส้มเกลี้ยง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ประชาชนร่วมใจกันจัดสร้างวัดนี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
 




ศาลหลักเมืองตาก (ศาลเก่า)
 

ศาลหลักเมืองตาก (ศาลเก่า) ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ 6 ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศาวรมหาราช ซึ่งตอนนั้นเกาะตะเภายังเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บ้านตาก เกาะตะเภา มีทำเลไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่าน จึงปรึกษาทหารหาญให้หาทำเลเพื่อสร้างหน้าด่านเสียใหม่ และได้นำทหารล่องแพมาตามลำน้ำปิงจนถึงหมู่บ้านระแหง ซึ่งมีลำห้วยแม่ท้อไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงคิดว่าทำเลทางฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับบ้านระแหงน่าจะเป็นทำเลที่ดี จึงนำแพข้ามฝั่งไปยังฝั่งป่ามะม่วงทันที และมองเห็นทำเลที่ดีอย่างพระองค์คิดไว้ จึงสั่งทำที่พักเหล่าทหารและผู้ติดตาม และสร้างตำแหนักสำหรับพระองค์ขึ้น 1 หลัง เรียกว่า ตำหนักป่ามะม่วง ระหว่างที่พักได้พิจารณาเห็นสมควรตั้งบ้านป่ามะม่วงเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะจะทำให้ได้เปรียบข้าศึก เหมาะสำหรับทั้งรุกและรับ ประกอบกับมีทางหนีทีไล่ที่ดีจึงมีรับสั่งให้ฝังหลักเมืองทันทีตั้งแต่บัดนั้น และยังปรากฏให้เห็นอยู่ในขณะนี้ ต่อมาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อเป็นหลวงยกกระบัตรปกครองเมืองตาก จนกลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ จนได้ชื่อว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้วก็ตาม พระองค์ท่านยังมิได้ย้ายหลักเมืองตากไปไว้ ณ ที่แห่งใด และได้เห็นกันมาตลอดจนถึงบัดนี้

ตำนานเรื่องเล่า
ศาลพ่อหลวง ( หอน้ำ )
ที่หอน้ำมีต้นโพธิ์ที่มีขนาดใหญ่มีอายุมากกว่า 100 ปีแล้ว และมีศาลอยู่ 1 ศาลซึ่งเป็นศาลของพ่อหลวงมีขนาดเล็กแล้วสร้างด้วยไม้ เป็นที่สักการะของคนในหมู่บ้าน  จากตำนานกล่าวกว่า มีผู้ชายอยู่ 1 คนซึ่งอยู่ในวัยกลางคนได้ป่วย แล้วได้ไปหาหมอที่โรงพยาบาลศิริราช หมอบอกว่าชายผู้นั้นเป็นมะเร็งในเส้นเลือดและอาจจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 2 ? 3 เดือน  ผู้เป็นแม่ของชายผู้นั้นจึงมาขอให้พ่อหลวงช่วยชีวิตลูกของเขา ปรากฎว่าหลังจากนั้น 3 วันลูกชายของเขาก็ได้หายเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิด ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เขาจึงได้สร้างศาลพ่อหลวงขึ้นมาใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของเดิม และตกแต่งสวยงามและเป็นที่สถานที่    ที่ทุกคนในหมู่บ้านสักการะบูชากันถึงทุกวันนี้


ศาลปู่ก๊อก
   เป็นศาลของปู่ก๊อก ที่ทุกคนในหมู่บ้านสักการะและเคารพบูชากัน ในวันปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ชาวบ้านก็จะมาอาบน้ำดำหัว  และสร้างความสนุกสนานด้วยการร้องรำทำเพลงกันเป็นประจำทุกปี
ศาลปู่ย่า
   เป็นศาลที่รวมเกี่ยวกับพวกผีวิญญาญที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิแหล่งรวมร่างทรง ของคนทรงในตำบลในแต่ละปีก็จะมีการเลี้ยงศาลในวันปีใหม่ไทยคือวันสงกรานก็จะมี การรวมคนทรงที่เกี่ยวกับพวกเจ้าและก็จะมีการอาบน้ำหัวและสร้างความสนุกสนานด้วยการร้องรำทำเพลงกันเป็นประจำทุกปี





เพลงพื้นบ้าน
ว่าอะไรจาพี่ เมื่อตากี้น้องไม่ได้ยินเลย
อย่ามาทำ อย่ามาทำ นิ่งเฉย รักไม่เคยจะหน้าง้อ
เลิกรัก เลิกรัก กันเถิด ชายไม่ง้อหญิงก็ไม่ต้องการ
นั่นแน่ อย่าทำใจน้อย
หันหน้ามาหาพี่หน่อยอย่าทำใจน้อยไปหน่อยเธอ
เนื้อเย็นอย่ามาทำใจน้อย
หันหน้ามาหาพี่หน่อยอย่าทำใจน้อยไปหน่อยเธอ
อกความรักมาตามสายลม
รักกันขื่นขมระทมอกเอย



อยู่กลางป่าดงก็จงเห็นใจเถิดแม่งามงอน
เหนื่อยนักก็พักกันเสียก่อน
ไม่รักกันเสียก่อนแล้วจะไปรักใคร




เพลงกล่อมเด็ก
นกกาเหว่า
กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิ์ทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย

เพลง จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าว ขอแกง  ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า  
ขอช้าง ขอม้า ให้น้องข้าขี่    ขอเก้าอี้ ให้น้องข้านั่ง  
ขอเตียงตั้ง ให้น้องข้านอน     ขอละคร ให้น้องข้าดู  
ขอยายชู เลี้ยงน้องข้าเถิด     ขอยายเกิด เลี้ยงตัวข้าเอง  








ปริศนาคำทาย
อะไรเอ่ยคนแก่หลังโกง ลงน้ำไม่ขุ่น    
ตอบ  เบ็ดตกปลา เบ็ดมีลักษณะงองุ้มเหมือนคนแก่หลักโกง
อะไรเอ่ย มีหาง มีปาก มีตา กินปลาเป็นอาหาร    
ตอบ แห
อะไรเอ่ยยิ่งตัดยิ่งยาว   
ตอบ ถนน
อะไรเอ่ยสูงเทียมฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว   
ตอบ ภูเขา
แก่เรียกห้าว สาวเรียกอ่อน  
ตอบ มะพร้าว
สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง  
ตอบ เต่า








บุคคลสำคัญทางศาสนา

มัคนายก
 

นายเวียน สอนคุ้ม
           นายเวียน สอนคุ้ม บุคคลสำคัญทางศาสนาประจำท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นมัคนายกวัดส้มเกลี้ยง ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม การจัดกิจกรรมด้านประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนอีกด้วย ชาวบ้านทั่วไปเรียกผู้นำทำพิธีทางพระพุทธศาสนา คำที่ถูกต้องคือ มัคนายก หมายถึง ผู้จัดการทางบุญกุศล คนจะเป็นมัคนายกได้ ก็รู้พิธีการ คำสวด บทสวดนำทายก-ทายิกาให้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะทำพิธีอะไร เช่น ถวายอาหาร อาราธนาศีล 5 ศีล 8 สังฆทาน ฯลฯ ส่วนใหญ่มาจากคนที่เคยบวชพระมาก่อน







พิธีกรรมและการตั้งศาลพระภูมิ

 
                   นายฟ้อน มูลเพ็ง
 นายฟ้อน มูลเพ็ง บุคคลสำคัญทางศาสนาผู้มีความรู้ด้านพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ เป็นมัคนายก เป็นผู้นำชุมชนในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย การตั้งศาลพระภูมิ นำแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดูว่า พระอิศวร หรือพระศิวะ ทรงมีวิมาน ประทับบนยอดเขาพระสุเมรุ เปรียบประดุจมณฑลจักรวาล พระภูมิถือเป็นเทวดา ขั้นหนึ่งเหมือนกัน วิมานของศาลพระภูมิ จึงต้องมีเสาเดียว เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุมาศวิมานของ พระอิศวร การประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับสิ่งนี้ จึงต้องมีการกระทำอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล แก่ผู้อยู่อาศัย

ประเพณี
ประเพณี แห่นางแมว
 
นางอ่อน     นิ่มมั่ง

     นางอ่อน นิ่มมั่ง ปราชญ์ชาวบ้านผู้นำพิธีการแห่นางแมว ทำหน้าที่เป็นผู้นำทีมในการร้องเพลงเพื่อทำการขอฝนในขณะแห่นางแมวไปตามบ้านต่าง ๆ การแห่นางแมว เป็นประเพณีการขอฝนของชาวบ้าน เมื่อเห็นว่าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนแล้ง ชาวนา ชาวสวน ลำบากเพราะขาดน้ำ ชาวบ้านจะมีพิธีทำบุญกลางทุ่ง เพื่อขอฝน และมีการแห่นางแมวอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า จะทำให้ฝนตก ในการแห่นางแมว จะจับเอาแมวตกแต่งเครื่องประดับโดยผูกคอแมวให้สวยงาม เอาแมวใส่เข่งหรือตะกร้าที่มีฝาปิด สอดไม้คานแล้วให้สองคนหาม จัดแต่ง ?ขันห้า? คือ เอาดอกไม้ 5 คู่และเทียน 5 คู่ ใส่พานหรือขัน จากนั้นทำพิธีป่าวเทวดา เพื่อขอให้เทวดาดลบันดาลให้ฝนตก แล้วหามแมวไปตามละแวกหมู่บ้านจนทั่วทุกครัวเรือน เมื่อถึงบ้านใครก็สาดน้ำมายังขบวนแห่นางแมว แต่ระวังอย่าให้รดถูกแมว ขณะที่แห่แมวไปนั้นมีการว่าคำเซิ้งนางแมว และฟ้อนรำไปด้วยอย่างสนุกสนาน




ประเพณีลอยกระทงสาย
 

จังหวัดตากนอกจากประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นทั่วไปแล้ว ยังมีการลอยกระทงสายที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มแรกของประเพณีเกิดขึ้นที่อำเภอบ้านตากและเป็นรูปแบบในการจัดประเพณีลอยกระทงสายในอำเภอใกล้เคียง ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงสายได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่จัดงานในระดับจังหวัด และถือได้ว่าเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก และเป็นที่ยินดีกับชาวจังหวัดตากอย่างยิ่งที่การต้อนรับผู้นำ เอเปค 21 ประเทศในการลอยกระทงสายของจังหวัดตาก และการลอยโคมของจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมแสดงในราชพิธีพยุหตราทางชลมารคในครั้งนี้ ทำให้ประเพณีลอยกระทงสายของจังหวัดตากเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศและขยายไประดับโลก
การลอยกระทงสายนี้ มีการพัฒนาการคิดมาจากประเพณีการลอยกระทง เป็นสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความพร้อมด้วยปัจจัยวัสดุธรรมชาติ คือกะลามะพร้าว ซึ่งมะพร้าวมีมากในภูมิภาคนี้ ซึ่งเห็นได้จากอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดตากที่มีส่วนประกอบของมะพร้าวเป็นสำคัญ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ ไส้เมี่ยง เมี่ยงคำ เป็นต้น จากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ปัจจัยเอื้อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผนวกกับการมีนิสัยที่รักสนุกสนานรื่นเริง จึงเกิดประเพณีลอยกระทงสายขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดประเพณีลอยกระทงสายแต่เดิมเริ่มที่อำเภอบ้านตากนั้น จะตรงกับช่วงวันเพ็ญ 15 ต่ำของทุกปี หลังจากที่จัดงานลอยกระทงเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการจัดลอยกระทงสายจึงจัดกันใน แรม 11 ค่ำ มีกิจกรรมที่สำคัญคือ ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ตอนบ่ายจะมีการแข่งเรือของแต่ละหมู่บ้าน ส่วนในช่วงตอนเย็นจะมีการจุดประทีปที่บ้านและลอยกระทงของแต่ละคน ส่วนในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตอนพลบค่ำ พระสงฆ์และชาวบ้านมาสวดมนต์และปล่อยโคมลอย



ประเพณีสงกรานต์อาบน้ำคนแก่


 


๑.การอาบน้ำคนแก่เป็นประเพณีที่มีบทบาทในการควบคุมคนในสังคมให้วางตนให้เหมาะสมตามฐานะของตน คือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเพื่อให้คนเคารพนับถือ เมื่อเป็นผู้น้อยก็ต้องแสดงความเคารพและมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ
     ๒.เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ อันได้แก่ คนแก่ในตระกูล บิดา มารดา ตลอดจนผู้ที่ตนเคารพนับถือทั้งหลาย
     ๓.เป็นการพบปะกันในระหว่างญาติพี่น้องซึ่งก่อให้เกิดความผูกพันกันในวงศาคณาญาติสร้างความสนิทสนมกลมเกลียวรักใคร่กันในตระกูลยิ่งขึ้น
     ๔.สร้างความอบอุ่นปลาบปลื้มใจให้กับคนแก่ของตระกูลที่ได้เห็นความเป็นปึกแผ่นของลูกหลาน
    ๕.ทำให้เกิดความสุขความอิ่มเอิบใจให้กับผู้ที่ได้ร่วมพิธีทำบุญตามประเพณีอาบน้ำคนแก่






อาหารพื้นบ้าน


ห่อหมก
  
นาง สำอางค์ บุญคำเอื้อ
       นางสำอางค์ บุญคำเอื้อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถในการทำอาหารประเภทห่อหมก เช่น ห่อหมกหัวปลี ห่อหมกหน่อไม้ ห่อหมกปลาช่อน เป็นต้น เพื่อการจำหน่ายภายในชุมชน ?ห่อหมก? เป็นเมนูอาหารไทยๆ ที่มักทำใส่กระทงใบตองนึ่งจนสุก มีกลิ่นหอม รสชาติเข้มข้นเครื่องแกงชวนกิน ซึ่งการทำห่อหมกหลายคนอาจจะคิดว่ายุ่งยาก แต่สำหรับคนชอบทำอาหาร และคนชอบกินแล้วนั้น คิดว่าการทำห่อหมกนั้นไม่ยุ่งยากเลย การทำห่อหมกนั้นต้องใช้เวลานาน เตรียมใบตอง เจียนใบตองสำหรับห่อก็ยาก ต้องไปสอยใบยอ เลือกที่ไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไปมาฉีกเป็นชิ้น ปลาช่อนหรือปลาสวายแม่น้ำที่จะนำมาทำห่อหมกต้องแล่เอาแต่เนื้อ หัวกับพุงแยกไว้ต่างหาก น้ำพริกแกงที่ใช้คือน้ำพริกแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิคั้นเอาแต่หัวกะทิ รวมเครื่องปรุงใส่ลงในอ่างคนจน ?ขึ้น? ตักใส่ใบตองห่อแล้วนำไปนึ่งจนสุก ห่อหมกหัวปลี



ขนมกล้วย
  

นางวิมล ปฏิพิพัฒน์
     นางวิมล ปฏิพิพัฒน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการทำขนมกล้วย ขนมแตง เป็นต้น ความสามารถดังกล่าวของบุคคลข้างต้นเป็นที่ยอมรับในชุมชนว่า มีฝีมือในรสชาติของความอร่อยอย่างมาก ขนมกล้วย เป็นขนมไทยที่ทำได้ง่ายและไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก เวลาทำควรเลือกใช้กล้วยสุกงอมจะได้ขนมที่มีกลิ่นหอมและหวาน ถ้าใช้กล้วยที่งอมมาก ๆ ควรลดน้ำตาลในสูตรลงอีก ถ้าคุณไม่ถนัดในการห่อของด้วยใบตอง ก็อาจใช้วิธีทำใบตองให้เป็นรูปกรวยแทนการห่อได้ หรือทำเป็นกระทงเย็บ 2 มุม หรือถ้าหาใบตองและทางมะพร้าวไม่ได้จริง ๆ ก็อาจจะใช้วิธีเทใส่ถาดแล้วนำไปนึ่งแทนได้ แต่ก็จะไม่ได้กลิ่นหอมของใบตอง อ้อ! อย่างที่เคยบอกกันเสมอ ๆ นะคะ ว่าใบตองที่ควรเลือกใช้เพื่อเอามาห่ออาหารนั้น ควรใช้ใบตองตานีคะ เพราะมีความเหนียว และเมื่อนึ่งแล้วสีเขียวของใบตองจะไม่ตกใส่อาหารเหมือนกับใช้ใบตองกล้วยน้ำว้า




ไส้เมี่ยง
  

นางฉอ้อน นิลสิงห์
             นางฉอ้อน นิลสิงห์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการทำไส้เมี่ยง ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองจังหวัดตาก ไส้เมี่ยงนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้มาเยือนเมืองตาก ผู้สัญจรไปมา ตลอดจนเป็นสินค้าพื้นเมืองที่รู้จักทั่วไปอีกด้วย ไส้เมี่ยง เป็นอาหารว่างที่มีกรรมวิธีการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ กินกับใบเมี่ยง ปัจจุบันเมี่ยงหรือใบเมี่ยงนั้นหายาก แต่มีอยู่แถบจังหวัดแพร่ ไส้เมี่ยงจึงเหมาะที่จะเป็นของฝากของชุมชนเป็นอย่างดี การทำไส้เมี่ยง เป็นนำมะพร้าวแก่จัดมากกะเทาะเปลือกออกจนเหลือแต่เนื้อหั่นเป็นฝอยๆ แล้วนำไปผึ่งแดด ประมาณ 1 วัน นำมะพร้าวมาคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เหลืองนำน้ำอ้อยมาเคี่ยวไฟอ่อน ๆ กะดูว่าพอเป็นยางมะตูมนำเอามะพร้าวที่คั่วเสร็จแล้วมาผสมกับเกลือ มะนาว ใส่ขิงและถั่วลิสงเม็ด คลุกให้ทั่ว ปั้นเป็นก้อน ๆ แล้วนำไปรับประทาน กระบวนการผลิตไส้เมี่ยง นำมะพร้าวแก่จัดมากกะเทาะเปลือกออกจนเหลือแต่เนื้อหั่นเป็นฝอยๆ แล้วนำไปผึ่งแดด ประมาณ 1 วัน นำมะพร้าวมาคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้เหลืองนำน้ำอ้อยมาเคี่ยวไฟอ่อน ๆ กะดูว่าพอเป็นยางมะตูมนำเอามะพร้าวที่คั่วเสร็จแล้วมาผสมกับเกลือ มะนาว ใส่ขิงและถั่วลิสงเม็ด คลุกให้ทั่ว ปั้นเป็นก้อน ๆ แล้วนำไปรับประทาน





ภูมิปัญญาท้องถิ่น
บายศรี
  
นายสมคิด พุกวงษ์
   นายสมคิด พุกวงษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถในการทำบายศรี ประเภทต่าง ๆ หลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละประเภทของบายศรีนั้นมีประโยชน์ในการใช้ที่แตกต่างกันออกไป บายศรี หมายถึง เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ ( ภาษาเขมร บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ ) บายศรีนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์ พิจารณาจากการนำใบตองมาประดิษฐ์บายศรี เนื่องด้วยใบตองนั้นเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลทินของอาหารเก่าให้แปดเปื้อน และอีกประการหนึ่งก็คือ รูปร่างลักษณะของบายศรีที่ได้จำลองเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร ตลอดจนเครื่องสังเวยก็มีความเชื่อมาจากคติพราหมณ์เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม และพิธีการต่าง ๆ เหล่านี้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีทั้งสิ้น ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า " ใบสี " , " ใบสรี " หรือ " ใบสีนมแมว " และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ บายศรีหลวง บายศรีนมแมว บายศรีปากชาม บายศรีกล้วย ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า " พาบายศรี " " พาขวัญ " หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า " ขันบายศรี " ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ พาขวัญ พาบายศรี หมากเบ็ง ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า " บายแสร็ย " ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ บายแสร็ยเดิม ( บายศรีต้น ) บายแสร็ยเถียะ ( บายศรีถาด ) บายแสร็ตจาน ( บายศรีปากชาม )
 
เครื่องจักสาน
 
นายละม่อม ตะยะราช
      นายละม่อม ตะยะราช ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการจักสานไม้ไผ่สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น กระบุง ตะกร้า เป็นต้น มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสานให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอย เช่น นำกิ่งไม้มาสอดขัดกันอย่างง่ายๆ เป็นรั้วเพื่อแสดงอาณาเขตของตนนำใบไม้ที่มี ลักษณะเป็นเส้นแบนๆ อย่างใบตาล ใบมะพร้าว ใบลาน ใบลำเจียก มาจักเป็นเส้นแล้วสานเป็นเครื่องจักสานประเภทต่างๆ นำไม้ไผ่และหวายมาจักเป็นเส้นเพื่อสานเป็นเครื่องจักสาน ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาแปรรูป เป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย เฉพาะ ประเทศไทยนั้นไผ่หลายพันธุ์มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาทำเครื่องจักสาน






แพทย์แผนโบราณ
 
นายจวน สอนคุ้ม
      นายจวน สอนคุ้ม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรค ได้แก่ โรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น กระดูกหัก การเข้าเฝือกกระดูก และการรักษาโรคผิวหนัง เช่น เริ่ม งูสวัส ไฟลามทุ่ง โดยใช้สมุนไพรพื้นบ้าน การแพทย์ดั้งเดิมมีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล แต่เมื่อมีศาสนาพุทธเข้ามามาบทบาบทต่อการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ของคนไทย สาสนา ก็มีบทบาทในปรัชญาทุกๆเรื่อง รวมทั้งเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย สาสนาพุทะก็ได้มีการออ้างถึงมหาภูติรูป 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้น เมื่อมีหลักแนวคิดจากพุทธศาสนาก็จะผสมผสานกลมกลืนกับความเป็นอยู่ ความเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องการักษาตนในท้องถิ่น ดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธแนวความคิดพื้นฐานของการแพทย์แผนไทยว่ามาจากอินเดีย แต่ไทยเรามิได้นำมาทั้งหมด การแพทย์แผนไทยก็ยังคงเป็นการแพทย์ท้องถิ่นของไทยเหมือนเดิม แต่ได้มาผสมผสานตามหลักพุทธสาสนา จนกลายเป็นของตนเอง และเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย หรือมิชชันนารีต่างๆ ก็เกิดการผสมผสานการพัฒนาเพื่อให้มีหลักและเหตุผลของการแพทย์ที่อธิบายได้ นอกจากนี้ ขบวนการรักษาก็ยังมีการผสมผสานกับความเชื่อถือและวิถีชีวิตของคนไทยในเรื่อง ภูติ ผี เทวดา กฎแห่งกรรม จึงมีการเซ่นไหว้ประกอบกับการรักษา หรือเชื่อเรื่องของทฤษฎีการเกิดสมดุลของร่างกาย ว่าร่างกายในภาวะที่ปกติ มีความสมดุลของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ( เหมือนมหาภูติ 4 ของทางศาสนาพุทธ ) ถ้าร่างกายเกิดโรคภัยจะมีสาเหตุมาจาก ตุพิการ ธาตุหย่อน หรือธาตุกำเริบ หรือการเชื่อเรื่องการนวดเพื่อการคลายจุด ทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตดี
จักสานไม้ไผ่ (กรงนกเขา , ข้องใส่ปลา)

 


    การจักสาน เป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง และนับเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ได้ด้วย การจักสานเป็นการนำวัสดุขนาดเล็กและยาว มาขัด หรือสาน กันจนเป็นชิ้นงาน เช่น เสื่อ หรือภาชนะอื่นๆ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือของใช้อื่นๆ เช่น ลูกตะกร้อ เป็นต้น วัสดุที่ใช้ในงานจักสาน มักเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ปอ กระจูด เป็นต้น ในภายหลังมีการใช้ผักตบชวา และวัสดุเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้มีความทนทานมากขึ้น แต่มีสีสันและคุณลักษณะภายนอกคล้ายวัสดุธรรมชาติ การสานนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทอผ้านั่นคือ ใช้วัสดุขนาดเล็กและยาว ที่เรียกว่า ตอก มาขัดประสานกัน แต่ตอกในการจักสานนั้นมีขนาดใหญ่กว่าเส้นด้ายมาก ลวดลายของงานจึงมีขนาดใหญ่ และมีความแตกต่างไปจากงานทอ สำหรับการสานเสื่อนั้น ยังมีการใช้เครื่องทอเสื่อคล้ายหูกทอผ้า แต่มีขนาดเล็กกว่า





ผู้ให้ความรู้



 \

นางเอื้อย   คุ้มครอง
อายุ  90  ปี













บรรณานุกรม
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก
http://www.takculture.com/vdn/index.php?c=list&menu=23&page=3
http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=630112 http://www.gunat.freejoomlas.com/content/view/23/37/






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2013, 08:13:03 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 09:44:26 am »

เรื่องน่าสนใจ พอสมควร  ขาดรายละเอียดและการวิเคราะห์ ความเป็นมาของ วรรณกรรมท้องถิ่น ขาดการสัมภาษณ์ด้วยตนเอง ให้ ๑๙ คะแนนจาก ๓๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2013, 08:19:34 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!