จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 25, 2024, 07:05:50 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่าจากหมู่บ้าน...ลาวครั่ง (LAO KHRANG)โดย จิตกวี กระจ่างเมฆ  (อ่าน 7283 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 11:00:31 pm »

เรื่องเล่าจากหมู่บ้าน...
โดย จิตกวี กระจ่างเมฆ
ลาวครั่ง (LAO KHRANG)




ภาพโบราณลาวครั่งบ้านทุ่งผักกูด อายุ 100 กว่าปี บุคคลในภาพเสียชีวิตหมดแล้ว
ลาวครั่ง อพยพเข้ามาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามในช่วงสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชาวลาวกลุ่มต่าง ๆ ทั้งอาณาจักรเวียงจันทน์และหลวง
พระบางต้องถูกกวาดต้อนให้เข้ามาอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ หลายที่ ในบรรดาเชลยที่ถูกกวาดต้อนมาใน
เวลานั้น มีคนลาวแถบภูคัง ปะปนมาด้วย จึงทำให้คนทั่วไปเรียกลาวกลุ่มนี้ว่า ?ลาวภูคัง? และในเวลา
ต่อมามีการเรียกชื่อผิดเพี้ยนจากเดิมหลายชื่อ เช่น ?ลาวขี้ครั่ง? ?ลาวครั่ง? ดังที่ลาวครั่งตำบลห้วยด้วน
นิยมเรียกตัวเองว่า ?ลาวครั่งหรือลาวขี้ครั่ง? ตามบรรพบุรุษ ปัจจุบันลาวครั่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในหลายพื้นที่
เช่น ในจังหวัดเลย พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนครปฐม
ความโดดเด่นของกลุ่มลาวครั่ง ที่ได้รับถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษเมืองหลวงพระบาง คือ
การทอผ้าไหมที่มีสีแดงสดหรือแดงคล้ำ ที่มีลักษณะแตกต่างจากผ้าทอของลาวกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่นิยมใช้
2
สีสด ผ้าไหมของลาวครั่งมีทั้งผ้าทอลายจกและผ้ามัดหมี่ ผสมผสานกันไปในผืนเดียวกัน ผ้าทอของลาว
ครั่งจึงมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร ผู้หญิงลาวครั่งจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองคือนิยมนุ่งซิ่นตีนจกที่มี
มัดหมี่ผสมและห่มผ้าสไบสีแดงสดหรือแดงคล้ำเป็นส่วนใหญ่
ผ้าทอลายโบราณ
ผ้าทอลวดลายโบราณของลาวครั่ง บ้านทุ่งก้านเหลือง ต.ป่าสะแก อ.เดิมบางฯ จ.สุพรรณบุรี
อายุประมาณ 80 -100 กว่าปี (ถ่ายเมื่อ 6/11/53)
3
การแต่งกายของลาวครั่งตำบลห้วยด้วนในปัจจุบัน
ฟื้นฟูอนุรักษ์โดย อาจารย์บุญเรือง ปาแสนกุล
ภาพเมื่อ 14/11/53
4
ตำบลห้วยด้วน มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ยังปรากฏร่องรอยหลักฐานทาง
โบราณคดี เช่น โบสถ์เก่าบริเวณวัดกงลาด วัดทุ่งผักกูดและวัดใกล้เคียงที่สร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงธนบุรี
ต้นรัชกาลที่ 1 สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 200 กว่าปี สำหรับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนนั้น ประชากรส่วน
ใหญ่ 99 % เป็นลาวครั่งที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ที่บ้านกงลาด เดิมทีใน
สมัยรัชกาลที่ 6 นั้นได้แต่งตั้งให้หมู่บ้านนี้เป็นกองลาดตระเวนของกองเสือป่าหมู่บ้านนี้ จึงได้ชื่อว่า
?กองลาด? ต่อมาเพี้ยนมาเป็น ?กงลาด? ส่วนที่ชื่อว่าห้วยด้วนนั้นในอดีตมีลำห้วยหนองน้ำไหลยาวและ
มาสิ้นสุดที่ท้ายหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า ?ห้วยด้วน? (พระครูจันทโชติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดกงลาด )
ความเก่าแก่ของโบราณสถานที่ตำบลห้วยด้วน
5
ลาวครั่ง ที่ตำบลห้วยด้วน เป็นกลุ่มลาวที่อพยพด้วยเหตุผลทางการเมืองเช่นเดียวกับลาวกลุ่มอื่น ๆ
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดสรรที่ทำกินให้กับกลุ่มลาวที่อพยพ ลาวครั่งได้มาตั้ง
หลักปักฐานอยู่บริเวณ อำเภอดอนตูม (ทุ่งสามแก้วในอดีต) บริเวณดังกล่าวมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
บางกลุ่มจึงได้อพยพเพื่อหาที่ทำกินใหม่ขยายออกมาเรื่อยทั่วอำเภอดอนตูมรวมถึงที่ตำบลห้วยด้วนด้วยและ
เป็นกลุ่มที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ (ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ฮีต) ฮีต มาจากคำว่า จารีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ จึงหมายถึง ประเพณี
ที่ชาวอีสานปฏิบัติสืบต่อมาแต่โบราณของชาวลาว รวมทั้งภาษาพูดที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน การแต่ง
กายด้วยชุดประจำกลุ่มคือชุดลาวครั่งสีแดงสดตามบรรพบุรุษโบราณ พบที่ตำบลห้วยด้วน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์
ที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งหนึ่งนอกเหนือจากที่
กล่าวมาก็คือสัญลักษณ์อันเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเป็นลาวครั่งนั่นก็คือ ?ศาลเจ้านาย ศาลเจ้าพ่อหรือหอปู่
เสื้อ ย่าเสื้อ? ที่ชาวลาวครั่งให้ความเคารพนับถือ เชื่อว่าเป็นวีรบุรุษ ดูแลทุกข์ สุข ของลาวครั่ง อุทิศตน
เพื่อลาวครั่ง เมื่อเสียชีวิตไปจึงมีการสร้างศาลให้เป็นที่สถิตเพื่อให้ลูกหลานได้ เซ่นไหว ? สักการะ ขอพร
เป็นที่พึ่งทางใจของลาวครั่งทุกคน ลักษณะของศาล มีทั้งหมด 7 หลัง หลังใหญ่ 2 หลัง หลังเล็ก 5 หลัง
กลางหมู่บ้านบริเวณที่มีต้นไม้หนาร่มรื่นและจะมีการเลี้ยงปีหรือเลี้ยงผีทุกเดือน 7 ของทุกปีเพื่อให้ลูกหลาน
ลาวครั่งได้แสดงความกตัญญู ขอขมาที่ได้ล่วงเกินและขอบคุณวีรบุรุษที่ได้ให้ความคุ้มครองพวกเขา
หอผีเจ้านายบ้านทุ่งผักกูด หอผีเจ้านายบ้านกงลาด (22/10/53)
การดำเนินชีวิตที่ยึดถือในเรื่องผีของชาวลาวครั่งนั้น ชาวลาวครั่งจะสอนลูกหลานมาตลอดเวลา
ถึงธรรมเนียมการปฏิบัติและการให้ความเคารพ นับถือผีประจำหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์บันดาลทุกข์หรือสุขได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงเลือกปฏิบัติตามคำบอกเล่าและปฏิบัติตามจารีตของ
ชุมชนซึ่งผู้สูงอายุได้ปฏิบัติเป็นแม่แบบที่ดีที่ทำให้เกิดความสุขต่อตนเองและชุมชน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 26, 2012, 11:02:52 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!