จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 26, 2024, 03:03:44 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสัมภาษณ์ อ.สันติ อภัยราช เรื่องประชาคมอาเชียนในสายตาประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกพ  (อ่าน 4629 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 02, 2012, 02:27:45 pm »

บทสัมภาษณ์ อ.สันติ อภัยราช เรื่องประชาคมอาเชียนในสายตาประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกพ

บทสัมภาษณ์
อาจารย์ทราบไหมว่า อาเซียนนั้นคืออะไร และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนอย่างไรบ้าง
ความรู้ความเข้าใจของอาเซียนยังไม่ค่อยเข้าใจมากเท่าไหร่นัก เพราะอาเซียนยังเป็นเรื่องใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยเข้าใจกันมากเท่าไหร่นัก  อาเซียนคือ การรวมกลุ่มของ ๑๐ ประเทศในเอเชียอาคเนย์เข้าเป็นประเทศเดียวกันโดยนัยยะ เพื่อพัฒนาทางด้านความมั่นคง พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ พัฒนาทางด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งถ้าเรารวมเป็นประชาคมอาเซียนเมื่อไรประชากรหลายสิบหลายร้อยล้านคน ห้าร้อยล้านคนที่จะสามารถต่อสู้กับประชาคมหรือภูมิภาคอื่นๆของโลกได้ โดยที่เราเป็นแหล่งผลิตที่ยิ่งใหญ่ของโลก ของเอเชียอาคเนย์ ที่จะสามารถต่อสู้และมีพลังต่อรองกับประชาคมหรือภูมิภาคอื่นๆได้
    ในอนาคตปี ๒๕๕๘ นั้น ความคืบหน้าประเทศไทยยังไม่มีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของในการเป็นประชาคมอาเซียน ยังไม่รู้สึกอะไรมากมายเลย แต่รู้ว่าเราจะได้ประโยชน์อะไร เราอาจจะเสียเปรียบมาก อาทิเช่น การเกษตรเรื่องส้ม เรื่องภาษา เด็กไทยก็ยังสื่อสารไม่ค่อยได้ และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยก็ยังเป็นเสือลำบาก อาจจะได้เปรียบในเรื่องที่ไทยเรานั้นตั้งอยู่ศูนย์กลางในภูมิภาค และถ้าเกิดประชาคมอาเซียนขึ้นก็จะไม่มีอาณาเขต ไม่มีขอบเขต อาชีพสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ และก็ทำให้ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
อาจารย์พอทราบข่าวเกี่ยวกับอาเซียนอย่างไรบ้างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน
ในขณะนี้ ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุก็พูดถึงเรื่องนี้บ่อย โดยเฉพาะยิ่ง ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชนต่างๆรวมทั้งอินเตอร์เน็ต ก็พูดถึงประชาคมอาเซียน แต่มันไกลตัว คนทั่วไปก็ไม่เตะใจหรอก นอกจากคนที่ต้องการที่จะศึกษาจริงๆ จึงจะเรียนรู้ คนทั่วไปก็ไม่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันต่างๆนั้น ถ้าไปถามประชาคมอาเซียน ก็จะรู้กันแค่ว่าเป็นการรวมสมานฉันท์ระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้นเอง เพื่อจะทำอะไรก็ยังไม่เข้าใจกัน
ด้านผลกระทบของอาชีพ ในสาขาอาชีพของอาจารย์ในทางด้านวัฒนธรรม อาจารย์คิดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของอาเซียนในปี ๒๕๕๘ นี้ อาจารย์คิดว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
   น่าเป็นห่วงในด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แม้แต่ภาคเหนือ- ภาคอีสานของไทยบางทียังคุยกันไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็ต้องมีความพยายามกันให้มากขึ้น และคิดว่าคนไทยคงจะปรับตัวได้ในอีกประมาณ ๒๐ ปีข้างหน้า และคิดว่าน่าจะมีปัญหาในเรื่องการสร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมให้เข้าใจตรงกัน ทุกคนต่างตั้งเป้าหมายเหมือนกันว่า เราจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งแตกต่างจากยุโรปที่มีการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบชนอารยะ
ถ้าเป็นเรื่องของการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมนั้น ผลกระทบไม่มากเท่าไหร่ เหตุผลเพราะว่า ในอาเซียนนั้นนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ แล้วทางด้านวัฒนธรรมก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ว่าเราต้องเตรียมพร้อมในการที่จะรับวัฒนธรรมของเขามาอย่างมีสติเท่านั้นเอง ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะไม่รู้ว่าวัฒนธรรมเราคืออะไร และของเขาคืออะไร ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือ ศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศในด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ รวมทั้งการเมืองด้วยให้ชัดเจน เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจ  และต้องสร้างสติให้ได้ว่า วัฒนธรรมของเราต้องแข็งแกร่งจึงจะไม่ถูกกลืน เป็นตัวของตัวเองให้ได้
ในเรื่องภาษา อาจารย์คิดว่า มันเป็นปัญหา อุปสรรค หรือว่าเป็นผลในด้านดีด้านเสียอย่างไรบ้าง ในเรื่องความหลากหลายของภาษา
มันก็ไม่สามารถคุยกันได้อยู่แล้ว อย่างพวกเราก็คงคุยได้กับประเทศลาวเท่านั้น ถ้าทุกคนก็ต้องเรียนรู้ภาษาอาเซียน ภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษ ภาษาในอนาคตที่จะใช้เป็นภาษาหลักของอาเซียน ความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษของคนในบ้านเรา (จังหวัดกำแพงเพชร) รวมถึงคนที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีไม่ถึง ๑๒% ของประชากร เพราะฉะนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ศึกษาภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้ชัดเจนมากขึ้น ให้ได้ผลมากขึ้น และก็มีการใช้จริงๆ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างชาติไม่มีปัญหา แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น ในเรื่องภาษา มีปัญหาทุกชาติในเอเชียอาคเนย์ มีปัญหาเหมือนกันหมด ๑๐ ชาติ ทุกคนไม่ใช่ว่าพม่าจะเก่งกว่าเรา หรือไทยเก่งกว่า มาเลเซียจะเก่งกว่าเรา ก็ไม่ใช่ ประชากรส่วนใหญ่ก็พูดไม่ได้ทั้งนั้น เพราะจะใช้ภาษาพื้นเมืองกันมากกว่า ฉะนั้นก็ไม่น่าหนักใจเท่าไหร่ เพียงแต่เราต้องเตรียมความพร้อมโดยการให้เยาวชนเข้าใจภาษาต่างประเทศมากขึ้นเท่านั้น
ในด้านผลกระทบของแต่ละด้าน ซึ่งประชาคมอาเซียน นั้นประกอบไปด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาจารย์คิดว่าในแต่ละด้านจะกระทบต่อสายอาชีพของอาจารย์อย่างไรบ้าง
คงจะไม่กระทบกระเทือนอะไรเท่าไหร่ เพราะเราทำงานในเรื่องการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พูดถึงว่าจะมาเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง คิดว่าอีกสัก ๒๐ ปีข้างหน้า แต่ในอนาคตอันใกล้ในปี ๕๘  ๕๙  ๖๐ ไม่กระทบแน่นอน เพราะว่าเป็นเพียงแต่การเริ่มในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ส่วนเรื่องการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ยังอีกนาน จะมีก็มีทางเดียว คือ การที่มหาวิทยาลัยทั้งหมดจะเปิดในเวลาเดียวกัน ปิดในเวลาเดียวกัน หรือว่าทำการศึกษาในเวลาใกล้เคียงกันกับหลักสูตรที่สอดคล้องกันเท่านั้นเองที่จะสามารถถ่ายโอนกันได้โดยอัตโนมัติ ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็คงอีกนาน เพราะว่าในสภาวะปัจจุบันยังไม่ไปไหนเลย ไม่ขยับเท่าไหร่
สำหรับในเรื่องการศึกษา เด็กไทยบางคนหรืออาจเป็นส่วนใหญ่เลยก็ได้ที่ยังไม่รู้เลยว่า จะเรียนไปเพื่ออะไร อาจจะส่งผลให้มีเด็กตกงานมากขึ้น การเมืองก็ยังเป็นปัญหาอยู่ การเมืองภายในของแต่ละประเทศแตกต่างกัน และยังมีระบบเผด็จการทหารอยู่ ประชาธิปไตยก็ยังไม่แท้จริง และคิดว่าการปกครองในระบอบอาเซียนยังไม่น่าจะมั่นคงเท่าไหร่นัก ส่วนทางด้านสังคม ก็คิดว่าน่าจะปรับตัวยากอยู่ ต่างคนก็ต่างถือทิฐิมานะมาก ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ คนไทยไม่ชอบทำงานหนัก เมื่อเปิดประเทศแล้ว แรงงานต่างชาติเข้ามาในไทยได้ง่ายมากขึ้น และอาจแย่งงานคนไทยไปหมดเลยก็ได้ ค่าครองชีพในอนาคตอาจสูงขึ้นเรื่อยๆ คนไทยอาจตกอยู่ในสภาพแบบแบมือขอ เราอาจลำบากมากขึ้น และต้องสู้ด้วยตนเอง ซึ่งอันนี้เป็นจุดอ่อนของคนไทย คือ คนไทยไม่พึ่งตนเอง ฉะนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไทยเราเสียเปรียบมาก คนไทยขาดวินัย มีอบายมุขมากมาย และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรดี แต่คนนั้นขาดคุณภาพ ขาดความขยัน แต่ถ้ามีการตื่นตัวให้ขยันมากขึ้น ก็สามารถทำได้  
ในฐานะที่อาจารย์ ทำงานและมีประสบการณ์ทางด้านวัฒนธรรมมานาน  ให้อาจารย์ลองวิเคราะห์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทางด้านวัฒนธรรม กับแผนของอาเซียน ที่มอบให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านการท่องเที่ยว โดยจัดลู่ทางการท่องเที่ยวให้เป็นลักษณะ Cluster อาทิเช่น จะมีการแบ่งโซนวัฒนธรรมแบบล้านนาในทางภาคเหนือ กำแพงเพชร สุโขทัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น อาจารย์คิดว่า ในแง่ด้านเศรษฐกิจกับวัฒนธรรมจะเกิดผลกระทบขึ้น อย่างไรบ้าง
   มันเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ในการแบ่งวัฒนธรรมออกไปทำให้คนสนใจได้ศึกษาในโซนวัฒนธรรมได้แบ่งกลุ่มคนได้มากกว่าเดิม เหมือนกับ แบ่งโชน ร้านอาหาร ร้านซื้อเสื้อผ้า ร้านสุขภัณฑ์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย/เศรษฐกิจและวัฒนธรรมมันง่ายในการจำแนกกลุ่ม ทำให้เกิดความน่าสนใจในการท่องเที่ยว และจำกัดความสนใจเฉพาะกลุ่ม อาจได้รายได้มากขึ้นเพราะอาจละเอียดรอบคอบชัดเจนมากขี้น


แล้ว อาจารย์คิดว่า ระดับเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรบ้าง
   ถ้าเราเตรียมความพร้อมแล้ว เศรษฐกิจควรจะดีขึ้นแต่ส่วนสำคัญที่สุดเราต้องเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับคนของเรา ถ้าเราคดโกง เอารัดเอาเปรียบ อาชญากรรม แล้วในที่สุดทุนทางวัฒนธรรมมากเท่าใด แต่ทรัพยากรบุคคลไม่มีคุณธรรม ทุกอย่างจบอย่างน่าสังเวช
ลู่ทางในการปรับตัวของไทย คือ จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆมากขึ้น แล้วอาจารย์คิดว่า จะส่งผลกระทบกับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างไรบ้างหรือเปล่า
มันคงไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมาก ไทยเรามีทุกอย่างพร้อม การแต่งเรื่อง สร้างสถานการณที่ไม่เป็นธรรมชาติ หรือปรุงแต่งเขียนหน้าตาพอกแป้ง เสริมจมูก มันคงแค่ผิวเผิน ถ้าเป็นธรรมชาติ รักษาของเดิมไว้จะน่าสนใจดีขึ้น และยั่งยืนมากกว่า
อาจารย์คิดว่า ความสำเร็จของประชาคมอาเซียน จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดหรือว่าสำเร็จในระดับใด
   ความสำเร็จของอาเซียน สำหรับผม(อาจารย์) คิดว่าน่าจะสำเร็จจริงจังในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า และปี ๒๕๕๘ นี้ คิดว่าน่าสำเร็จแค่แผนที่ หรือ Roadmap แนวทางในการดำเนินยุทธศาสตร์นั่นเอง เพราะทุกคนนั้นต่างก็มองพื้นฐานอยู่ที่ผลประโยชน์ของแต่ละคนเท่านั้น
ในด้านการเตรียมความพร้อมกับการเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 อาจารย์คิดว่า จะเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
สำหรับทางด้านวัฒนธรรม วิธีเตรียมความพร้อมของเรา คือ การทำให้วัฒนธรรมของเราแข็ง ภาษาเราแข็ง การศึกษาเราดีขึ้น เราก็ต้องให้ความรู้เรื่องท้องถิ่นของบ้านเราให้มากขึ้น เช่น ถ้าเราอยู่กำแพงเพชร เราก็ต้องให้รู้ว่ากำแพงเพชรคืออะไร อยู่ที่ไหน สำคัญอย่างไร มีประวัติศาสตร์ของตนเอง มีวัฒนธรรมมาอย่างไร พอวัฒนธรรมของกำแพงเพชรแข็ง แล้วก็ทำทุกจังหวัดให้แข็งแกร่ง และวัฒนธรรมประเทศไทยแข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นการที่รับวัฒนธรรมต่างชาติมา มันยาก อาจจะกลมกลืน กลมกลืนแบบของเราเป็นตัวยืนตัวหลักที่แข็งแกร่ง และเราก็รับวัฒนธรรมอื่นเข้ามาได้ แต่เราไม่ให้เขาเข้ามากลืนวัฒนธรรมของเราไปทั้งหมด ฉะนั้นคือ ต้องทำให้คนรักชาติบ้านเมือง แต่ไม่ใช่หลงชาติเท่านั้นเอง

อาจารย์คิดอย่างไรกับคำว่า ความเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมของอาเซียน
ขณะนี้ความจริงแล้ว ลาวก็ดี พม่าก็ดี กัมพูชาก็ดี เวียดนาม มาเลเซีย วัฒนธรรมไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ วัฒนธรรมทางใต้เราก็เหมือนกับมาเลเซีย วัฒนธรรมทางอีสานของเราก็เหมือนลาว วัฒนธรรมทางเหนือเราก็เหมือนพม่า มันก็กลมกลืนกันไปโดยอัตโนมัติอยู่แล้วในตอนนี้ คล้ายคลึงกัน มันก็ไม่น่าหนักใจ เพราะว่า ความกลมกลืนมันเกิดขึ้น แล้วพอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็เนียน อย่างเช่นเราศึกษาเรื่องของเขา เขาศึกษาเรื่องของเรา แล้วก็อาจเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่เรียกว่าวัฒนธรรมอาเซียน โดยนำเอาทั้ง 10 ชาติมารวมกันแล้วก็เป็นวัฒนธรรมใหม่ แต่อีกสัก ๕๐ ปี
ทางด้านการศึกษา อาจารย์คิดว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
ขณะนี้ ทุกสถาบันมีการเตรียมความพร้อมอยู่ โดยการเตรียมความพร้อมในการให้ศึกษาภาษาอังกฤษให้มากขึ้นเท่านั้นเอง แต่การศึกษาภาษาอังกฤษของเรา มักจะเน้นศึกษาในเรื่องของศัพท์ เน้นไวยากรณ์ แต่ไม่ได้เน้นเรื่องของการใช้ เพราะฉะนั้น จริงๆแล้ว อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงตรงที่ว่า จะเน้นการนำไปใช้ให้มากขึ้น การพูดถูก พูดผิดไวยากรณ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าสื่อสารได้ก็จบแล้ว  ภาษานี่ เป้าหมายสำคัญของมันคือ ทำอย่างไรให้สื่อสารได้เท่านั้นเอง ถ้าสื่อสารได้ก็จบแล้วล่ะ ไม่จำเป็นจะต้องพูดเพราะเราไม่ใช่นักการทูตนะ แค่สื่อสารได้เข้าใจกันก็พอล่ะ ถือว่าใช้ได้  ฉะนั้นไม่น่าหนักใจนักตรงนี้ ถ้าเด็กๆเขาเข้าใจว่า ไม่จำเป็นต้องร่าง ต้องแต่งประโยคให้งดงาม ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก
แล้วในปัจจุบันนี้มีการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนลงในหลักสูตรบ้างไหม
   ไม่มีการบรรจุเนื้อหาที่เกียวกับอาเซียนเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน และคิดว่าจะพยายามสอดแรกเนื้อหาลงไปในวิชาต่างๆให้มากขึ้น
ในเรื่องการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนในขณะปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ปัจจุบันนี้เวลาที่ผม(อาจารย์) ออกอากาศทางวิทยุก็สอดแทรกให้อยู่ตลอดว่า ในประเทศลาว มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ทางประวัติศาสตร์ พม่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร เวียดนาม มาเลเซีย เกี่ยวข้องอะไรกับเราอย่างไร ในสังคมที่ใกล้ๆกับเรา ก็ใช้อยู่ สอดแทรกอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่คนเขายังไม่ค่อยเข้าใจกัน อาจจะเป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้ประโคม  หรือว่าปัญหาปากท้องสำคัญกว่า ถ้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อไรก็ยังไม่แน่ใจว่า สินค้าเราจะขายได้ไหม การเกษตรจะเป็นอย่างไร อุตสาหกรรมเราเป็นอย่างไรบ้าง ที่สำคัญคือ เราจะต้องเน้นเรื่องระเบียบวินัยของคนไทยให้มากขึ้นกว่านี้ ขยันมากขึ้นกว่านี้  
อาจารย์คิดว่า คนไทยจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง
คนไทยจะต้องปรับตัว คือ ตื่นตัวมากขึ้น ขยันมากขึ้น มีระเบียบวินัยมากขึ้น แล้วรู้จักแบ่งปัน แต่คนไทยก็มีนิสัยแบ่งปันกันอยู่แล้ว คือ อยากให้มีคนเข้ามา แล้วเราก็คอยช่วยเหลือดูแลกันอยู่แล้ว แต่มันก็ไม่น่ามีปัญหา ปัญหามีอยู่อย่างเดียวขณะนี้ คือ เราขาดความขยัน ขาดความมีระเบียบวินัย ขาดความอดทน เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้สู้ประชากรอื่นๆ ในประชาคมอาเซียนไม่ได้ เพราะอะไร ก็เพราะพม่าก็ขยันมาก เวียดนามก็ขยันมาก ลาวอาจจะไม่ขยันเท่าไหร่ เขมรอาจจะไม่ขยันเท่าไหร่ แต่ในประเทศใกล้เคียงของเรานั้น เขาขยันกัน แต่พอมารวมกันแล้ว ลักษณะนิสัยใจคอของคนในภูมิภาคอาเซียนมันเหมือนกัน ที่เขาขยันเพราะว่า มีโอกาสเขาจะต้องทำอย่างนั้น จะเป็นจะต้องทำอย่างนั้น แล้วคนเอเชียนั้นมีลักษณะคล้ายกันอย่างเดียวคือไม่กระตือรือล้นเท่าไหร่          











บทสรุปการสัมภาษณ์
ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
ความรู้ความเข้าใจของอาเซียนยังไม่ค่อยเข้าใจมากเท่าไหร่นัก เพราะอาเซียนยังเป็นเรื่องใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยเข้าใจกันมากเท่าไหร่นัก  อาเซียนคือ การรวมกลุ่มของ ๑๐ ประเทศในเอเชียอาคเนย์เข้าเป็นประเทศเดียวกันโดยนัยยะ เพื่อพัฒนาทางด้านความมั่นคง พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ พัฒนาทางด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งถ้าเรารวมเป็นประชาคมอาเซียนเมื่อไรประชากรหลายสิบหลายร้อยล้านคน ห้าร้อยล้านคนที่จะสามารถต่อสู้กับประชาคมหรือภูมิภาคอื่นๆของโลกได้ โดยที่เราเป็นแหล่งผลิตที่ยิ่งใหญ่ของโลก ของเอเชียอาคเนย์ ที่จะสามารถต่อสู้และมีพลังต่อรองกับประชาคมหรือภูมิภาคอื่นๆได้
    ในอนาคตปี ๒๕๕๘ นั้น ความคืบหน้าประเทศไทยยังไม่มีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของในการเป็นประชาคมอาเซียน ยังไม่รู้สึกอะไรมากมายเลย แต่รู้ว่าเราจะได้ประโยชน์อะไร เราอาจจะเสียเปรียบมาก อาทิเช่น การเกษตรเรื่องส้ม เรื่องภาษา เด็กไทยก็ยังสื่อสารไม่ค่อยได้ และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยก็ยังเป็นเสือลำบาก อาจจะได้เปรียบในเรื่องที่ไทยเรานั้นตั้งอยู่ศูนย์กลางในภูมิภาค และถ้าเกิดประชาคมอาเซียนขึ้นก็จะไม่มีอาณาเขต ไม่มีขอบเขต อาชีพสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ และก็ทำให้ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
   ส่วนเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยงกับอาเซียน ผู้ให้การสัมภาษณ์คิดว่าในขณะนี้ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุก็พูดถึงเรื่องนี้บ่อย โดยเฉพาะยิ่ง ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชนต่างๆรวมทั้งอินเตอร์เน็ต ก็พูดถึงประชาคมอาเซียน แต่มันไกลตัว คนทั่วไปก็ไม่เตะใจหรอก นอกจากคนที่ต้องการที่จะศึกษาจริงๆ จึงจะเรียนรู้ คนทั่วไปก็ไม่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันต่างๆนั้น ถ้าไปถามประชาคมอาเซียน ก็จะรู้กันแค่ว่าเป็นการรวมสมานฉันท์ระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้นเอง เพื่อจะทำอะไรก็ยังไม่เข้าใจกัน




บทสรุปการสัมภาษณ์ด้านผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อปัจเจกชนในสายอาชีพและสถานะต่างๆ
น่าเป็นห่วงในด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แม้แต่ภาคเหนือ- ภาคอีสานของไทยบางทียังคุยกันไม่รู้เรื่องเลย แต่ก็ต้องมีความพยายามกันให้มากขึ้น และคิดว่าคนไทยคงจะปรับตัวได้ในอีกประมาณ ๒๐ ปีข้างหน้า และคิดว่าน่าจะมีปัญหาในเรื่องการสร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมให้เข้าใจตรงกัน ทุกคนต่างตั้งเป้าหมายเหมือนกันว่า เราจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งแตกต่างจากยุโรปที่มีการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบชนอารยะ
ถ้าเป็นเรื่องของการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมนั้น ผลกระทบไม่มากเท่าไหร่ เหตุผลเพราะว่า ในอาเซียนนั้นนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ แล้วทางด้านวัฒนธรรมก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ว่าเราต้องเตรียมพร้อมในการที่จะรับวัฒนธรรมของเขามาอย่างมีสติเท่านั้นเอง ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะไม่รู้ว่าวัฒนธรรมเราคืออะไร และของเขาคืออะไร ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือ ศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศในด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ รวมทั้งการเมืองด้วยให้ชัดเจน เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจ  และต้องสร้างสติให้ได้ว่า วัฒนธรรมของเราต้องแข็งแกร่งจึงจะไม่ถูกกลืน เป็นตัวของตัวเองให้ได้
สำหรับในเรื่องความหลากหลายของภาษา นั้นก็ไม่สามารถคุยกันได้อยู่แล้ว อย่างพวกเราก็คงคุยได้กับประเทศลาวเท่านั้น ถ้าทุกคนก็ต้องเรียนรู้ภาษาอาเซียน ภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษ ภาษาในอนาคตที่จะใช้เป็นภาษาหลักของอาเซียน ความพร้อมในการใช้ภาษาอังกฤษของคนในบ้านเรา (จังหวัดกำแพงเพชร) รวมถึงคนที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มีไม่ถึง ๑๒% ของประชากร เพราะฉะนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ศึกษาภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้ชัดเจนมากขึ้น ให้ได้ผลมากขึ้น และก็มีการใช้จริงๆ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างชาติไม่มีปัญหา แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น ในเรื่องภาษา มีปัญหาทุกชาติในเอเชียอาคเนย์ มีปัญหาเหมือนกันหมด ๑๐ ชาติ ทุกคนไม่ใช่ว่าพม่าจะเก่งกว่าเรา หรือไทยเก่งกว่า มาเลเซียจะเก่งกว่าเรา ก็ไม่ใช่ ประชากรส่วนใหญ่ก็พูดไม่ได้ทั้งนั้น เพราะจะใช้ภาษาพื้นเมืองกันมากกว่า ฉะนั้นก็ไม่น่าหนักใจเท่าไหร่ เพียงแต่เราต้องเตรียมความพร้อมโดยการให้เยาวชนเข้าใจภาษาต่างประเทศมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ให้การสัมภาษณ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า ความเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมของอาเซียน ดังนี้ คือ  ขณะนี้ความจริงแล้ว ลาวก็ดี พม่าก็ดี กัมพูชาก็ดี เวียดนาม มาเลเซีย วัฒนธรรมไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ วัฒนธรรมทางใต้เราก็เหมือนกับมาเลเซีย วัฒนธรรมทางอีสานของเราก็เหมือนลาว วัฒนธรรมทางเหนือเราก็เหมือนพม่า มันก็กลมกลืนกันไปโดยอัตโนมัติอยู่แล้วในตอนนี้ คล้ายคลึงกัน มันก็ไม่น่าหนักใจ เพราะว่า ความกลมกลืนมันเกิดขึ้น แล้วพอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็เนียน อย่างเช่นเราศึกษาเรื่องของเขา เขาศึกษาเรื่องของเรา แล้วก็อาจเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่เรียกว่าวัฒนธรรมอาเซียน โดยนำเอาทั้ง ๑๐ ชาติมารวมกันแล้วก็เป็นวัฒนธรรมใหม่ แต่อีกสัก ๕๐ ปี
สำหรับผลกระทบในแต่ละเสาของประชาคมอาเซียน ผู้ให้การสัมภาษณ์คิดว่า คงจะไม่กระทบกระเทือนอะไรเท่าไหร่ เพราะเราทำงานในเรื่องการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พูดถึงว่าจะมาเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง ก็คิดว่าอีกสัก ๒๐ ปีข้างหน้า แต่ในอนาคตอันใกล้ในปี ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ไม่กระทบแน่นอน เพราะว่าเป็นเพียงแต่การเริ่มในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ส่วนเรื่องการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ยังอีกนาน จะมีก็มีทางเดียว คือ การที่มหาวิทยาลัยทั้งหมดจะเปิดในเวลาเดียวกัน ปิดในเวลาเดียวกัน หรือว่าทำการศึกษาในเวลาใกล้เคียงกันกับหลักสูตรที่สอดคล้องกันเท่านั้นเองที่จะสามารถถ่ายโอนกันได้โดยอัตโนมัติ ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็คงอีกนาน เพราะว่าในสภาวะปัจจุบันยังไม่ไปไหนเลย ไม่ขยับเท่าไหร่
สำหรับในเรื่องการศึกษา เด็กไทยบางคนหรืออาจเป็นส่วนใหญ่เลยก็ได้ที่ยังไม่รู้เลยว่า จะเรียนไปเพื่ออะไร อาจจะส่งผลให้มีเด็กตกงานมากขึ้น การเมืองก็ยังเป็นปัญหาอยู่ การเมืองภายในของแต่ละประเทศแตกต่างกัน และยังมีระบบเผด็จการทหารอยู่ ประชาธิปไตยก็ยังไม่แท้จริง และคิดว่าการปกครองในระบอบอาเซียนยังไม่น่าจะมั่นคงเท่าไหร่นัก ส่วนทางด้านสังคม ก็คิดว่าน่าจะปรับตัวยากอยู่ ต่างคนก็ต่างถือทิฐิมานะมาก ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ คนไทยไม่ชอบทำงานหนัก เมื่อเปิดประเทศแล้ว แรงงานต่างชาติเข้ามาในไทยได้ง่ายมากขึ้น และอาจแย่งงานคนไทยไปหมดเลยก็ได้ ค่าครองชีพในอนาคตอาจสูงขึ้นเรื่อยๆ คนไทยอาจตกอยู่ในสภาพแบบแบมือขอ เราอาจลำบากมากขึ้น และต้องสู้ด้วยตนเอง ซึ่งอันนี้เป็นจุดอ่อนของคนไทย คือ คนไทยไม่พึ่งตนเอง ฉะนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไทยเราเสียเปรียบมาก คนไทยขาดวินัย มีอบายมุขมากมาย และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรดี แต่คนนั้นขาดคุณภาพ ขาดความขยัน แต่ถ้ามีการตื่นตัวให้ขยันมากขึ้น ก็สามารถทำได้  
สำหรับลู่ทางในการปรับตัวของไทย คือ จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆมากขึ้น คิดว่า จะส่งผลกระทบกับแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างไรนั้น ผู้ให้การสัมภาษณ์คิดว่า ที่ส่งเสริมคงไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมาก ไทยเรามีทุกอย่างพร้อม การแต่งเรื่อง สร้างสถานการณที่ไม่เป็นธรรมชาติ หรือปรุงแต่งเขียนหน้าตาพอกแป้ง เสริมจมูก มันคงแค่ผิวเผิน ถ้าเป็นธรรมชาติ รักษาของเดิมไว้จะน่าสนใจดีขึ้น และยั่งยืนมากกว่า และในเรื่องที่อาเซียนนั้นมอบให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางแหล่งการท่องเที่ยวในภูมิภาค คิดว่ามันเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย ในการแบ่งวัฒนธรรมออกไปทำให้คนสนใจได้ศึกษาในโซนวัฒนธรรมได้แบ่งกลุ่มคนได้มากกว่าเดิม เหมือนกับ แบ่งโชน ร้านอาหาร ร้านซื้อเสื้อผ้า ร้านสุขภัณฑ์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย/เศรษฐกิจและวัฒนธรรมมันง่ายในการจำแนกกลุ่ม ทำให้เกิดความน่าสนใจในการท่องเที่ยว และจำกัดความสนใจเฉพาะกลุ่ม อาจได้รายได้มากขึ้นเพราะอาจละเอียดรอบคอบชัดเจนมากขี้น
   ส่วนในเรื่องระดับเศรษฐกิจ ผู้ให้การสัมภาษณ์คิดว่า ถ้าเราเตรียมความพร้อมแล้ว ระดับเศรษฐกิจควรจะดีขึ้น แต่ส่วนสำคัญที่สุดเราต้องเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับคนของเรา ถ้าเราคดโกง เอารัดเอาเปรียบ อาชญากรรม แล้วในที่สุดทุนทางวัฒนธรรมมากเท่าใด แต่ทรัพยากรบุคคลไม่มีคุณธรรม ทุกอย่างจบอย่างน่าสังเวช
   ความสำเร็จของอาเซียนนั้นผู้ให้การสัมภาษณ์คิดว่า น่าจะสำเร็จจริงจังในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า และปี ๒๕๕๘ นี้ คิดว่าน่าสำเร็จแค่แผนที่ หรือ Roadmap แนวทางในการดำเนินยุทธศาสตร์นั่นเอง เพราะทุกคนนั้นต่างก็มองพื้นฐานอยู่ที่ผลประโยชน์ของแต่ละคนเท่านั้น








บทสรุปการสัมภาษณ์
ด้านการเตรียมความพร้อม
เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะมาพร้อมกับประชาคมอาเซียน
สำหรับทางด้านวัฒนธรรม วิธีเตรียมความพร้อมของเรา คือ การทำให้วัฒนธรรมของเราแข็ง ภาษาเราแข็ง การศึกษาเราดีขึ้น เราก็ต้องให้ความรู้เรื่องท้องถิ่นของบ้านเราให้มากขึ้น เช่น ถ้าเราอยู่กำแพงเพชร เราก็ต้องให้รู้ว่ากำแพงเพชรคืออะไร อยู่ที่ไหน สำคัญอย่างไร มีประวัติศาสตร์ของตนเอง มีวัฒนธรรมมาอย่างไร พอวัฒนธรรมของกำแพงเพชรแข็ง แล้วก็ทำทุกจังหวัดให้แข็งแกร่ง และวัฒนธรรมประเทศไทยแข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นการที่รับวัฒนธรรมต่างชาติมา มันยาก อาจจะกลมกลืน กลมกลืนแบบของเราเป็นตัวยืนตัวหลักที่แข็งแกร่ง และเราก็รับวัฒนธรรมอื่นเข้ามาได้ แต่เราไม่ให้เขาเข้ามากลืนวัฒนธรรมของเราไปทั้งหมด ฉะนั้นคือ ต้องทำให้คนรักชาติบ้านเมือง แต่ไม่ใช่หลงชาติเท่านั้นเอง
สำหรับการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษานั้น ผู้ให้การสัมภาษณ์กล่าวว่า ขณะนี้ ทุกสถาบันมีการเตรียมความพร้อมอยู่ โดยการเตรียมความพร้อมในการให้ศึกษาภาษาอังกฤษให้มากขึ้นเท่านั้นเอง แต่การศึกษาภาษาอังกฤษของเรา มักจะเน้นศึกษาในเรื่องของศัพท์ เน้นไวยากรณ์ แต่ไม่ได้เน้นเรื่องของการใช้ เพราะฉะนั้น จริงๆแล้ว อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงตรงที่ว่า จะเน้นการนำไปใช้ให้มากขึ้น การพูดถูก พูดผิดไวยากรณ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าสื่อสารได้ก็จบแล้ว  ภาษานี่ เป้าหมายสำคัญของมันคือ ทำอย่างไรให้สื่อสารได้เท่านั้นเอง ถ้าสื่อสารได้ก็จบแล้วล่ะ ไม่จำเป็นจะต้องพูดเพราะเราไม่ใช่นักการทูตนะ แค่สื่อสารได้เข้าใจกันก็พอล่ะ ถือว่าใช้ได้  ฉะนั้นไม่น่าหนักใจนักตรงนี้ ถ้าเด็กๆเขาเข้าใจว่า ไม่จำเป็นต้องร่าง ต้องแต่งประโยคให้งดงาม ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก และสำหรับเรื่องการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนลงในหลักสูตร ผู้ให้การสัมภาษณ์กล่าวว่า ไม่มีการบรรจุเนื้อหาที่เกี่ยวกับอาเซียนเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน และคิดว่าจะพยายามสอดแรกเนื้อหาลงไปในวิชาต่างๆให้มากขึ้น
ในด้านวัฒนธรรมมีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียน คือ ปัจจุบันนี้เวลาที่ผู้ให้การสัมภาษณ์ทำรายการออกอากาศทางวิทยุก็สอดแทรกเนื้อหาให้อยู่ตลอด อาทิเช่น ในประเทศลาว มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ทางประวัติศาสตร์ พม่าเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร เวียดนาม มาเลเซีย เกี่ยวข้องอะไรกับเราอย่างไร ในสังคมที่ใกล้ๆกับเรา ก็ใช้อยู่ สอดแทรกอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่คนเขายังไม่ค่อยเข้าใจกัน อาจจะเป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้ประโคม  หรือว่าปัญหาปากท้องสำคัญกว่า ถ้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อไรก็ยังไม่แน่ใจว่า สินค้าเราจะขายได้ไหม การเกษตรจะเป็นอย่างไร อุตสาหกรรมเราเป็นอย่างไรบ้าง ที่สำคัญคือ เราจะต้องเน้นเรื่องระเบียบวินัยของคนไทยให้มากขึ้นกว่านี้ ขยันมากขึ้นกว่านี้  
คนไทยจะต้องปรับตัว คือ ตื่นตัวมากขึ้น ขยันมากขึ้น มีระเบียบวินัยมากขึ้น แล้วรู้จักแบ่งปัน แต่คนไทยก็มีนิสัยแบ่งปันกันอยู่แล้ว คือ อยากให้มีคนเข้ามา แล้วเราก็คอยช่วยเหลือดูแลกันอยู่แล้ว แต่มันก็ไม่น่ามีปัญหา ปัญหามีอยู่อย่างเดียวขณะนี้ คือ เราขาดความขยัน ขาดความมีระเบียบวินัย ขาดความอดทน เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้สู้ประชากรอื่นๆ ในประชาคมอาเซียนไม่ได้ เพราะอะไร ก็เพราะพม่าก็ขยันมาก เวียดนามก็ขยันมาก ลาวอาจจะไม่ขยันเท่าไหร่ เขมรอาจจะไม่ขยันเท่าไหร่ แต่ในประเทศใกล้เคียงของเรานั้น เขาขยันกัน แต่พอมารวมกันแล้ว ลักษณะนิสัยใจคอของคนในภูมิภาคอาเซียนมันเหมือนกัน ที่เขาขยันเพราะว่า มีโอกาสเขาจะต้องทำอย่างนั้น จะเป็นจะต้องทำอย่างนั้น แล้วคนเอเชียนั้นมีลักษณะคล้ายกันอย่างเดียวคือไม่กระตือรือล้นเท่าไหร่

ขอขอบคุณ อ.สันติ อภัยราช ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ในครั้งนี้
รายงาน
เรื่อง การให้สัมภาษณ์บุคคลในสายอาชีพต่างๆ กับประชาคมอาเซียน


เสนอ
อาจารย์ ดร. ณัฐวีณ์     บุนนาค


จัดทำโดย
             นางสาวบุญศรี           นุสติ        ๕๑๐๘๐๙๑๙
นางสาวศศินา              วัชรศรีโรจน์        ๕๑๐๘๓
             นิสิตสาขาวิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ ๔


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในวิชา Selected Topics in International Relations
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2012, 02:31:14 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!