จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 28, 2024, 10:21:54 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๑ เมษายน วันข้าราชการพลเรือน / ข่าราชการที่ดี เป็นอย่างไร  (อ่าน 4250 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2012, 02:17:02 pm »

 
 ๑ เมษายน  วันข้าราชการพลเรือน  / ข่าราชการที่ดี เป็นอย่าง
ไร

 ในปี พ.ศ.2522 อันเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2471 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2472 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ส่วนข้าราชการต่างๆ และสมาคมที่เกี่ยว ข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการได้ร่วมกันจัดงาน " สัปดาห์การบริหารงานบุคคล " ขึ้นในระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน 2522 ซึ่งได้รับ ความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
         ต่อมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานทั้งหลายได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรมีการกำหนดวันขึ้นมาวันหนึ่ง เป็นวันของข้าราชการพล เรือน เพื่อที่ทางราชการจะได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานของข้าราชการพลเรือนที่ได้ปฏิบัติมา ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของข้า ราชการ และเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนทุกคนได้มีโอกาสทบทวนบทบาทหน้าที่ที่ผ่านมา เพื่อจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศต่อไป
          สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงได้นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากเป็น วันที่ตรงกับวันประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือวันที่ 1 เมษายน 2472 และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวงกรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ มีมติเห็นชอบ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงได้จัดงานวันข้าราชการพลเรือนขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 เป็นต้นมา
[แก้ไข] วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน
 

         วันข้าราชการพลเรือน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุก ปี สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพุทธศักราช 2471ซึ่งเป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นมาตรฐาน มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 จึงได้ถือวันนี้เป็นวันข้าราชพลเรื่อนตั้งแต่นั้นมา และการจัดงานในวันข้าราชการพลเรือนก็มีวัตถุประสงค์ดังนี้
         1. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในการเป็นผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
         2. เพื่อให้ข้าราชการได้ตระหนักถึงเกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าราชการ อันจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อข้าราชการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
         3. เพื่อเผยแพร่ผลงานใหม่ๆของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน
         4. เพื่อยกย่องส่งเสริมข้าราชการที่มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดีเด่น รวมถึงการเผยแพร่เกียรติคุณข้าราชการดีเด่นให้ปรากฎ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการกระทำความดีตลอดไป
         5. เพื่อให้วันข้าราชการพลเรือน (1 เมษายน) เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำ และเป็นที่ยอมรับของข้าราชการและประชาชน โดยทั่วไป
[แก้ไข] การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน
 

         การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 งานส่วนใหญ่เป็นการมอบเกียรติบัตรยกย่องสดุดีข้าราชการดีเด่น ในกส่วนกลางนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในส่วนภูมิภาคผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2524 ได้จัดให้มี "โครงการคัดเลือกข้าราชการตัวอย่างที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น" โดยคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา และได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตร แก่ข้าราชการดีเด่นในงานวันข้าราชการพลเรือนของทุกๆ ปีจนถึงปัจจุบัน



การเป็นข้าราชการที่ดี และคนดีนั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประมวลไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท 10 ประการ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นในเรื่อง "ความรู้" หรือความเป็นผู้รู้จริง ก่อนที่จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนในทุกเรื่อง ทรงศึกษาหาความรู้เป็นอันดับแรก โดยจะทรงค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ศึกษาอย่างละเอียดในแต่ละเรื่อง เมื่อพร้อมแล้วจึงลงมือทำ ทุกคนจึงควรเป็นผู้รู้จริงในการทำงานเพื่อให้ผลงานเป็นที่ยอมรับ และบังเกิดผลดีต่อทุกฝ่าย
ข้อที่ 2 มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเรื่องความถูกต้องยิ่งกว่าสิ่งใด นอกจากนั้นยังทรงทนเผชิญปัญหานานาประการโดยรับสั่งว่าตามปกติโครงสร้างทั่ว ๆ ไปของสังคมจะเป็นรูปพีระมิด มีพระเจ้าแผ่นดินเปรียบเหมือนอยู่บนยอดพีระมิด แต่โครงสร้างของสังคมไทยเป็นพีระมิดหัวกลับ คือพระเจ้าแผ่นดินแทนที่จะอยู่บนยอดกลับต้องมารองรับทุกอย่างที่ก้นกรวยแทน ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เพราะฉะนั้น เรื่องความอดทนนั้น ขอให้มองพระเจ้าอยู่หัวไว้แล้วพยายามทำตามให้ได้"
ข้อที่ 3 ความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด
พระบรมฉายาลักษณ์ที่ประชาชนชาวไทยพบเห็นจนชินตาก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์สูทแบบเรียบง่าย สะพายกล้องที่พระศอ ในพระหัตถ์เต็มไปด้วยเอกสาร น้อมพระวรกายไปหาประชาชนเพื่อทรงสอบถามทุกข์สุขและปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมักจะทรงประทับบนพื้นเดียวกันกับประชาชนเสมอ ข้าราชการจึงสมควรปฏิบัติตนในข้อนี้ให้ได้
ข้อที่ 4 มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยไม่ทรงคำนึงถึงพระวรกายเลยแม้แต่น้อย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลเล่าไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เคยเข้าไปขอพระราชทานพร บอกวันนี้วันเกิดพระพุทธเจ้าค่ะ ขอพระราชทานพรพระราชทานว่าอย่างไร "ขอให้มีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อสามารถทำประโยชน์ให้กับคนอื่นเขาได้ ขอให้มีความสุขจากการทำงาน และขอให้ได้รับความสุขจากผลสำเร็จของงานนั้น" เห็นได้ว่า ทุกสิ่งในพระราชดำริและที่ทรงปฏิบัติเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทั้งสิ้น
ข้อที่ 5 รับฟังความเห็นของผู้อื่น และเคารพความคิดที่แตกต่าง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเตือนทุกฝ่ายให้ "นั่งปรึกษาหารือกัน ฟังเขาแสดงเหตุแสดงผลออกมา แล้วเราแสดงเหตุแสดงผลออกไป แล้วดูซิเหตุผลอันไหนจะยอมรับได้ถูกต้องมากกว่า และเมื่อตกลงกันแล้วก็เลิกเถึยงกันต่อ ลงมือปฏิบัติเลย" โดยเฉพาะ เมื่อจะทำอะไรให้นึกถึง "บ้าน" ซึ่งก็คือ "บ้านเมือง" หรือแผ่นดินไทย" ให้มากที่สุด
ข้อที่ 6 มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นในเรื่องที่ทรงปฏิบัติมาก ทรงงานทุกวันไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีกลางวัน กลางคืน และทรงเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านเกษตร และอื่น ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะข้าราชการจึงต้องมีจิตสำนึกในการบริการ มีความขยัน และตั้งใจปฏิบัติงานเพื่อประชาชน
ข้อที่ 7 มีความสุจริต และความกตัญญู
ทรงแสดงให้ประจักษ์ในเรื่องของความกตัญญูต่อพระราชมารดา ต่อแผ่นดิน และต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะส่วนรวม ทรงเตือนให้ยึดสิ่งนี้ไว้เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น มีความสำคัญ และมีคุณค่ายิ่ง
ข้อที่ 8 พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
พึ่งตนเอง หรือเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของตนเองให้เรียบง่าย ธรรมดา และเดินสายกลาง เป็นทฤษฎีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท ว่า "เศรษฐกิจพอเพียงนี้ พระเจ้าอยู่หัวบอกว่าคำที่สำคัญที่สุดในเรื่องราวที่อธิบายมานี้คือคำว่า "พอ" ทุกคนต้องกำหนดเส้นความพอให้กับตนเองให้ได้ และยึดเส้นนั้นไว้เป็นมาตรฐานของตนเอง"
ข้อที่ 9 รักประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน ครั้งหนึ่งมีรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลว่า ทรง "ทำราชการ" ดังนั้น คนที่ "รับราชการ" ซึ่งถือว่า รับงานของราชามาทำต่อ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือต้องรักประชาชน และทำงานเพื่อประชาชน เฉกเช่นเดียวกับพระองค์
ข้อที่ 10 การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวไว้ในหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
ว่า พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า "รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะอะไร เพราะคนไทยเรายัง "ให้" กันอยู่" ทั้งนี้ เพราะคนในครอบครัวยังรักและดูแลกัน คนในชุมชนยังเอื้อเฟื้อกัน ข้าราชการยังให้บริการแก่ประชาชนและทุกคนยังรวมตัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งยากจะหาได้ที่ไหนในโลกนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในทุกด้าน สมควรที่จะดำเนินรอยตามพระยุคลบาทด้วยหลักปฏิบัติ 10 ประการดังกล่าวข้างต้น และหากประชาชนทุกสาขาอาชีพ และคนไทยทุกคนได้ทบทวน ยึดถือ และน้อยนำไปปฏิบัติดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติแล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยดี สังคมจะสงบสุข และประเทศชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน

***ข้อมูล...จากหนังสือ หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!