จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 20, 2024, 04:55:51 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มรดกไทย ที่ น่าเป็นห่วง ว่าจะหายไปจากสังคมไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษาย  (อ่าน 4000 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2012, 09:38:13 am »

มรดกไทย ที่ น่าเป็นห่วง ว่าจะหายไปจากสังคมไทย เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๕๕

ตอนที่ ๑

นาฏศิลป์ไทย          นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ
1.   โขน เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ ?ยืนเครื่อง? มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีสำคัญ ได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
2.   ละคร เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป้นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุฑ นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งกายแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
3.   รำและระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตราฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขปดังนี้
1.   รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 1-2 คน เช่นการรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้า ? เพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา ? รามสูร เป็นต้น
2.   ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ ? นางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤษฎาภินิหาร ระบำฉิ่ง
4.   การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
1.   การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า? ฟ้อน ? การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปู่เจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
2.   การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นเมืองภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
3.   การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า ? เซิ้ง ฟ้อน และหมอรำ ? เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้สนประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องและกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระโน็บติงต๊อง หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีคือ ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒรธรรมพื้นบ้าน ลักษณะที่รำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็วและสนุกสนาน
4.   การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นเมืองภาคใต้อาจแบ้งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำเปง มะโย่ง ( การแสดงละคร ) ลิเกฮูลู ( คล้ายลิเกภาคกลาง ) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด กลองโทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาชีพต่างๆ เช่น ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ เป็นต้น


กีฬาไทย
       การละเล่นพื้นบ้านและกีฬาไทย


กีฬาก๊อบแก๊บหรือเดินกะลา
    ผู้เล่น
   เดี่ยว  แต่ละทีมส่งได้ไม่เกิน  2 คน
    อุปกรณ์
   1. ระยะทาง 30 เมตร  หรือวิ่งอ้อมหลักก็ได้
2. ลูกมะพร้าวผ่าครึ่งทั้งเปลือก  เพื่อป้องกันการแตกชำรุด  เจาะรูร้อยเชือกและตัดส่วนผ่าศูนย์กลางกว้างไม่เกิน  4 นิ้ว  เพื่อเป็นที่วางเท้าหรือคีบสายเชือก
   3. ความยาวของเชือกเมื่อผูกปมกะลาแล้วให้มีความยาวสูงถึงอกของนักกีฬา
    วิธีเล่น
   1. ให้นักกีฬายืนบนกะลา  จับเชือก  ยืนหลังเส้นเตรียมพร้อมที่จะแข่งขัน
   2. เมื่อได้ยินสัญญาณจากกรรมการ  ให้เดินหรือวิ่งให้ถึงเส้นชัย
    กติกา
   1. ผู้เล่นคนใดตกจากกะลาหรือเชือกหลุด  ขาด  ต้องออกจากการแข่งขัน
   2. ให้มีกรรมการตัดสิน  1 คน  ทำหน้าที่ควบคุมการเล่น  และตัดสินผลการแข่งขัน

กีฬาแย้ลงรู    ผู้เล่น
   แยกเพศชาย  หญิง  ประเภทเดี่ยว  ทำการแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นจำนวน 4 ทีม
    อุปกรณ์การเล่น
   1. เชือกขนาด 1 นิ้ว  ผูกชายออก 4 เส้น  ทำเป็นห่วงสำหรับสวมที่เอวของผู้แข่งขัน  ยาว 3 เมตร
   2. ธงเล็กๆ พร้อมกับปัก  จำนวน 4 ธง  ห่างจากธง 2 เมตร
    วิธีเล่น
1. ให้ผู้เล่นทั้ง 4 คน  ไปยืนที่จุดและสวมห่วงที่เอว  ด้านละ 1 คน  ให้ผู้เล่นหันหน้าไปที่ธงปักไว้  ต่างคนต่างคุกเข่าลงหรือคลานโน้มตัวไปข้างหน้าพอให้เชือกตึง  อนุญาตให้ใช้มือจับเชือกได้ 1 ข้างเท่านั้น  เพื่อป้องกันเชือกหลุด
2. เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเริ่มเล่น  ให้ผู้เล่นออกแรงดึงโดยใช้ท้องดึงเชือก  พยายามคลานออกไปจับธงให้ได้
   3. ผู้เล่นคนใดคว้าธงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ
    กติกา
   1. ให้เชือกอยู่ในระดับเอวเท่านั้น  และจะใช้ท่าใดก็ได้
   2. ใช้มือจับเชือกที่เอวได้ด้วยมือข้างเดียว ถ้าใช้ 2 มือ  จับจะถือว่าแพ้
   3. มีกรรมการทำหน้าที่ควบคุมการเล่นและตัดสิน  อย่างน้อย 1 คน
วิ่งสวมกระสอบ  

  ผู้เล่น
ผู้เล่นได้ทุกเพศทุกวัย
    อุปกรณ์การเล่น
กระสอบข้าวขนาดใหญ่  เท่ากับจำนวนผู้เล่น  สนามเล่นระยะทางวิ่ง 30 เมตร
    วิธีการเล่น
1. วางกระสอบไว้หลังเส้นเริ่ม  ผู้เล่นยืนเตรียมพร้อมในท่าตรง
2. เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น  ให้ผู้เล่นทุกคนรีบสวมกระสอบแข่งขัน  มือจับที่ปากกระสอบแล้วให้วิ่งหรือกระโดดไปที่เส้นชัย
3. ผู้เล่นคนใดถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
4. บางครั้งอาจจะเป็นการแข่งขันวิ่งอ้อมหลักวิ่งกลับเข้าเส้นชัยที่เส้นเริ่มต้นก็ได้
    กติกา
1. ผู้เล่นจะต้องสวมกระสอบอยู่ตลอดเวลา  โดยวิ่งหรือกระโดดภายในกระสอบ
2. ถ้ากระสอบหลุดจากมือ  จะต้องหยุดแล้วให้ดึงกระสอบขึ้นโดยเร็ว  แต่ต้องไม่ให้เท้าหลุดจากกระสอบ
3. ผู้เล่นถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะและหากมีการฝ่าฝืนจะถือว่าแพ้

ขาโถเก้า  อีโย่ง

  ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
    อุปกรณ์
1. ไม้ไผ่มีกิ่งหรือขั้นสำหรับใช้เท้าเหยียบได้  สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร
2. ความสูงของไม้ไผ่จากกิ่งไผ่หรือที่เท้าใช้เหยียบสูงขึ้นมาเท่ากับศีรษะของนักกีฬา  หรือ  1.70 เมตร  รวมไม้ไผ่ยาวทั้งสิ้น 2 เมตร  จำนวน 1 คู่ (ห้ามใช้ไม้ทำการเจาะรูหรือใช้ไม้อื่น  เป็นที่เหยียบหรือวางเท้าโดยเด็ดขาด)
    วิธีเล่น
1. ผู้เล่นถือไม้ทั้งคู่  ยืนที่พื้นเตรียมพร้อมที่หลังเส้นเริ่ม
2. เมื่อได้ยินสัญญาณเล่นให้ทุกคนขึ้นเหยียบกิ่งไม้  หรือขึ้นที่กิ่งยื่นออกมา  มือทั้งสองจับไม้ให้มั่นและแข่งกันไปยังเส้นชัย
3. ผู้เล่นคนใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
    กติกา
1. ขาโถเก้าจะต้องมีขนาดและความสูงตามกติกา
2. ขณะเดิน  ผู้เล่นคนใดตกจากไม้ระหว่างทางจะถือว่าแพ้ต้องออกจากการแข่งขัน
3. ให้มีกรรมการผู้ตัดสิน  และควบคุมการเล่นอย่างน้อย 1 คน
ตีไก่    ผู้เล่น
เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่  ทุกเพศทุกวัย
    อุปกรณ์
ไม่มี
    วิธีเล่น
1. ให้ผู้เล่นนั่งยองๆ ภายในวงกลมเอาแขนทั้งทั้งสองข้าง  สอดจับมือกันไว้ที่ใต้ขาพับให้แน่น
2. เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น  ให้ผู้เล่นแต่ละคนชนคู่ต่อสู้โดยใช้ด้านข้างลำตัวฝ่ายใดล้มหรือมือหลุดจากกันหรือลุกขึ้นยืนหัวเข่าเกินฉาก  หรือ  90 องศา  ถือว่าแพ้ต้องออกจากการแข่งขัน
3. ผู้ใดสามารถชนคนอื่นให้ล้มลงหรือมือหลุด   จนเหลือเพียงคนเดียวคนนั้นถือเป็นผู้ชนะ
    กติกา
1. ผู้เล่นที่ถูกชนล้มลงหรือมือหลุดถือว่าตาย  ต้องออกจากการแข่งขัน
2. ผู้เล่นต้องอยู่ภายในเขตวงกลมที่กำหนดให้  ถ้าออกนอกเขตถือว่าตายต้องออกจากการแข่งขัน
3. ในการแข่งขันมีกรรมการตัดสินและควบคุมการเล่นอย่างน้อย 1 คน

ลิงชิงหาง    ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
    อุปกรณ์
ใช้ผ้าพอประมาณในการใช้เป็นหาง
    วิธีการเล่น
1. ให้ผู้เล่นทุกคนใส่หางห้อยออกมา  ยาว  30 เซนติเมตร  แล้วให้อยู่ในวงกลม
2. เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่นให้พยายามหลบหลีกเพื่อรักษาหางของตนเอง   และพยายามวิ่งไปแย่งหางของผู้เล่นคนอื่นๆ
3. คนเล่นคนใดเหลือหางคนสุดท้ายเป็นผู้ชนะ  หรือหมดเวลาที่กำหนดกรรมการจะหยุดการแข่งขัน
    กติกา
1. ผู้เล่นคนใดถูกแย่งหางหลุดออกจากขอบกางเกงแล้วถือว่าตาย  ต้องออกจากการแข่งขันทันที  และห้ามแย่งหางคนอื่น  ขณะเดินออก
2. การแข่งขันหากยุติลงให้กรรมการนับคะแนน  ดังนี้
    2.1 ใครรักษาหางไว้ได้  ตลอดการแข่งขันได้เท่ากับ 2 คะแนน
    2.2 ใครรักษาหางตนเองไว้ได้และแย่งหางได้มากกว่าเป็นผู้ชนะ
    2.3 หางที่แย่งมาได้มีค่าหางๆ ละ 1 คะแนน
    2.4 นักกีฬาที่ออกจากการแข่งขันแล้ว  ถ้ามีการแย่งหางได้ก็ให้นับคะแนนด้วย  อาจจะเป็นผู้ชนะได้เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน
3. นักกีฬาคนใดได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
4. หากมีคะแนนเท่ากันต้องถือว่าคนที่มีหางหรือรักษาหางไว้ได้เป็นผู้ชนะ
5. ถ้าผู้รักษาหางไว้ได้มีคะแนนเท่ากัน  ให้แข่งขันกันต่อไปจนกว่าจะหาผู้ชนะได้เป็นที่สิ้นสุด

เตะปีบไกล    ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย
    อุปกรณ์
   ปีบที่เปิดฝาบนไว้  ให้เพียงพอกับการแข่งขัน  ป้ายปักและเทปวัด
    วิธีการเล่น
1. นักกีฬาติดหมายเลขลงทำการแข่งขัน  โดยให้เตะปีบ จำนวน 2 ครั้ง  หรือ 2 ลูก โดยวัดเอาลูกทีไกลที่สุดเป็นสถิติเข้ารอบในรอบชิงชนะเลิศ  จะไม่เอาสถิติรอบคัดเลือกไปเกี่ยวข้อง
2. ทำการแข่งขันคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ  จำนวน 5 คน  ของแต่ละรุ่นโดยให้เตะคนละ 2 ครั้ง
3. ผู้เล่นคนใดเตะได้ไกลที่สุด  ด้วยวิธีการใดก็ได้เป็นผู้ชนะแต่ละรุ่น
    กติกา
   1. ปีบต้องมีความหนาหรือมีน้ำหนักเท่ากัน
2. ต้องไม่เป็นปีบแตกหรือบุบ  บู้บี้  จนเกินไป  ให้อยู่ในดุลพินิจของกรรมการผู้ตัดสิน
3. การเตะไปครั้งแรกให้ปักป้ายสัญลักษณ์ไว้ก่อน  เมื่อเตะไปครั้งที่ 2 แล้วดูว่า  ครั้งไหนไกลกว่ากัน  ให้วัดครั้งที่ไกลที่สุด  ครั้งเดียวเป็นสถิติ
4. มีกรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 คน


มวยทะเล    ผู้เล่น
เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่   ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
    อุปกรณ์
1. นวม
2. ไม้หมากหรือเสากลม  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ประมาณ 6-7 นิ้ว  มีความยาว 3-4 เมตร
    วิธีการเล่น
1. เล่นครั้งละ 2 คน  สวมนวมทั้ง 2 ข้าง  ปีนขึ้นไปนั่งคร่อมลักษณะขี่ม้าบนเสาไม้พาด  ให้แต่ละคนนั่งห่างจากจุดกลางของเสาไม้พาด ประมาณ 1 เมตร  หันหน้าเข้าหากัน  และพยายามนั่งทรงตัวอยู่บนเสาไม้พาดให้ได้
2. กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มเล่น  ผู้เล่นทั้ง 2 คน  จะต้องเขยิบเข้าหากันแล้วต่างชกต่อยกัน  เช่นเดียวกับการชกมวยโดยทั่วไป   เพื่อทำให้คู่ต่อสู้ตกจากไม้พาด
3. ผู้เล่นคนใดสามารถชกต่อยให้อีกฝ่ายหนึ่ง   ตกลงจากเสาไม้พาดได้ถือว่าเป็นผู้ชนะ  ในครั้งเดียว
4. รอบรองชนะเลิศหรือรอบ 4 คนสุดท้าย  ให้ทำการแข่งขัน  ชกเอาผลการแข่งขัน 2 ใน 3 ยก  จนถึงรอบชิงชนะเลิศ

วัวเทียมเกวียน    ผู้เล่น
ทีมๆละ 3คน ส่งเข้าแข่งขันได้ชุมชนละไม่เกิน  จำนวน 2ทีม
    อุปกรณ์
ไม่ใช้
    วิธีการเล่น
1. ผู้เล่นแต่ละทีมต้องไปยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  ให้ผู้เล่น 2คน จับมือกันคนละข้าง คนหนึ่งใช้มือซ้าย  และอีกคนหนึ่งใช้มือขวา หันหน้าไปทางเส้นชัย เป็นเกวียน อีกคนเป็นคนขี่โดยใช้ขาข้างใดก็ได้ที่ถนัดก้าวพาดแขนของเกวียนให้ยืนด้วยขาข้างเดียว มือทั้ง 2 จับที่บ่าของเพื่อนทั้ง 2 คน
2. เริ่มเล่นโดยผู้ตัดสินให้สัญญาณทุกทีมก็เริ่มออกวิ่งตามไปเพียงขาข้างเดียว  ตลอดเส้นทางทีมใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
3. ถ้ามีทีมใดมือหลุดจากกันหรือล้ม  ถือว่าเป็นผู้แพ้
    กติกา
1. ต้องให้คนขี่  ขี่ให้เรียบร้อยก่อนเกวียนจึงจะออกวิ่งได้
2. คนขี่ไม่วิ่งหรือถูกลากไปถือว่าแพ้
3. การแพ้ชนะเป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินอย่างน้อย  1 คน
4. นักกีฬาหากมีทีมเข้าแข่งขันจำนวนมากจะมีรอบคัดเลือก

วิ่งเปี้ยว    ผู้เล่น
สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย  โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย  มีผู้เล่นจำนวน 10 คน แบ่งเป็น ชาย 5 คน หญิง 5 คน  หรือมีผู้ชายได้ไม่เกิน 5 คน ยืน วิ่ง สลับกันชายหญิง
    อุปกรณ์
1. ใช้ผ้าขนหนูเล็ก  จำนวน 2 ผืน
2. เสาหลักขนาดเท่าเสาเรือน 2 เสา  ห่างกัน 10 เมตร
    วิธีการเล่น
1. ผู้เล่นทั้ง 2 ทีม ต้องยืนเป็นแถวเรียงหนึ่งอยู่ด้านหลังของเสาฝ่ายละต้น  เยื้องมาทางด้านขวาของเสาเล็กน้อยหันหน้าเข้าหากัน  ผู้เล่นคนแรกอยู่หัวแถวเป็นผู้ชายก่อน  ให้ถือผ้าไว้ด้วยมือที่ถนัด
2. เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มเล่น  ให้ผู้เล่นคนแรกของทั้งสองฝ่ายออกวิ่งมายังเสาของฝ่ายตรงข้าม  แล้ววิ่งอ้อมเสาทางซ้ายมือ  วิ่งกลับมายังเสาเดิมของตนเอง
3. พอวิ่งมาถึงเสาของตน  ก็ส่งผ้าให้ผู้เล่นคนต่อไป  ส่งกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไล่ใช้ผ้าตีทีมตรงข้าม  ได้เมื่อส่งผ้าให้เพื่อนแล้ววิ่งต่อท้ายแถว
4. ต่างฝ่ายต่างวิ่งให้เร็วที่สุด  จะวิ่งกี่รอบก็ได้จนกว่าทีมใดใช้ผ้าตีฝ่ายตรงข้ามได้  จึงเป็นฝ่ายชนะ
5. ขณะฝ่ายตรงข้ามกำลังวิ่งผ่านเสาของเราให้ยืนห่างจากเสาให้วิ่งผ่านไป  ระยะห่าง 1.5 เมตร  แล้วจึงขยับไปรอรับผ้าด้านหลังเสาเท่านั้น
    กติกา
1. ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องละฝ่ายต้องรับผ้าในแนวหลังของเสานั้น  จะรับหน้าเสาไม่ได้
2. หากผ้าตกขณะส่งรับ  ให้ผู้ส่งเก็บส่งให้แล้วเสร็จ  หรือถือวิ่งแล้วตกก็ให้เก็บวิ่งต่อไปได้ด้วยตนเอง
3. การรับส่งผ้าต้องมือต่อมือเท่านั้น
4. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องไม่ขวางทางวิ่ง  คู่ต่อสู้
5. ผู้เข้าแข่งขันฝ่าฝืนกติกาจะถือว่าแพ้

วิ่งเปี้ยวกระสอบ    ผู้เล่น
ทีมละ 10 คน ชาย 5 คน หญิง 5 คน  หรือ  มีผู้ชายได้ไม่เกิน 5 คน  หมายถึง  หญิงมีมากกว่า 5 คน  ได้แต่นักกีฬาชายต้องลดลงตามสัดส่วน  รวมแล้วไม่เกิน 10 คน  สามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้ทุกครั้ง  ก่อนการแข่งขัน  ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนระหว่างทำการแข่งขัน  ยืนสลับชายและหญิงจนครบ 10 คน
    อุปกรณ์
1. เสาหลักสูงท่วมศีรษะผู้เล่น 2 เสา
2. กระสอบขนาดใหญ่บรรจุ 10 กิโลกรัม 2 ใบ
    วิธีการเล่น
1. ผู้เล่นคนแรกแต่ละฝ่ายต้องยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม  คนอื่นยืนตรงเส้นที่กำหนดให้ห่างจากเสาระยะห่าง  1.5 เมตร  หันหน้าเข้าหากัน
2. กรรมการให้สัญญาณ  ผู้เล่นคนแรกของทั้ง 2 ฝ่ายออกวิ่งโดยสวมกระสอบมือจับปากกระสอบวิ่งโดยเร็วไปยังเสาตรงข้าม  แล้ววิ่งอ้อมเสาทางด้านซ้ายมือของตน  แล้ววิ่งอ้อมเสากลับมายังเสาของตน  ให้รีบถอดกระสอบโดยเร็วแล้วให้คนที่รอเล่นคนต่อไปรับสวนกระสอบแทนวิ่งไล่แตะฝ่ายตรงข้ามให้ได้ก็จะเป็นฝ่ายชนะ   ใช้เกมเดียวเป็นการตัดสิน  ยกเว้นรอบชิงชนะเลิศจะใช้กติกา 2 ใน 3
    
ชักคะเย่อ    ผู้เล่น
หนึ่งทีมมีผู้เล่น 10 คน  แยกเป็นเพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน  หรือให้มีผู้ชายได้ไม่เกิน 5 คน
    อุปกรณ์
เชือกเส้นโตยาว  20 เมตร

    วิธีการเล่น    
   1. การเล่นให้ผู้เล่นจับอยู่ในบริเวณที่กำหนดห้ามจับเชือกเกินเขตให้รวมนักกีฬา 10 คน
2. เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มเล่น  ผู้เล่นทั้ง 2 ทีม  ดึงเชือกให้เครื่องหมายของฝ่ายตรงข้ามเข้ามาถึงเขตของตน  ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
    กติกา
   1. การแข่งขันรอบคัดเลือก   ใช้การแข่งขันครั้งเดียว  ผู้ชนะเข้ารอบต่อไป
   2. รอบ 4 ทีมสุดท้าย  ใช้ผลการแข่งขัน 3 ใน 3 เกม  ทีมใดชนะเข้ารอบชิงชนะเลิศ
   3. การแข่งขันจะต้องแข่งขันพร้อมกันทุกทีมในรอบนี้
   4. อนุญาตให้มีผู้ฝึกสอนเข้าได้ 1 คน เท่านั้น
   5. หากทีมใดทำผิดกติกาถือว่าแพ้
   6. การตัดสินให้อยู่ในการควบคุมของกรรมการเท่านั้น

การตีโทนไทยและรำโทน
    ผู้เล่น
จำนวนผู้ตีโทน 5 คน  เปลี่ยนคนตีได้ตลอดเวลา   มีผู้ให้จังหวะได้ 1 คน มีคนเคาะจังหวะฉิ่งฉาบได้ไม่เกิน 4 คน  รวมไม่เกิน 10 คน  ใน 1 ทีม  ห้ามมีเสียงดนตรีอื่น เช่น  แคน ขลุ่ย ฯลฯ
    อุปกรณ์
   1. โทน 5 ลูก
   2. เครื่องเคาะจังหวะ  ห้ามใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ
    วิธีการแข่งขัน
   1. เวลาแข่งขันในเวลา 5 นาทีแรกให้แสดงเสียงโทนเพียงอย่างเดียว  กับเครื่องดนตรีเคาะจังหวะ  
   2. การแสดงจังหวะโทนแล้วแต่ว่าทีมจะคิดลายโทนในการแสดงอย่างไร    
3. ต้องมีความไพเราะ  สนุกสนาน  พร้อมเพรียงกัน  ความดังชัดเจน  ความเร้าใจ  ตื่นเต้น  ทำให้เกิดความรู้สึกอยากรำ
   4. จะตีใช้กี่ลายก็ได้  ให้เกิดความต่อเนื่องกลมกลืน
   5. ใช้เวลาให้เหมาะสม
6. เวลาในการแข่งขันอีก 5 นาที  จะต้องมีการรำ  ร้องเพลง  มีดนตรีประกอบได้ไม่เกิน 2 ชิ้น เช่น แคน  ปี่  ขลุ่ย  แซคโซโฟน ฯลฯ
   7. มีนางนำ 5-10 คน  เมื่อเข้าสู่เวลา 6-10 นาที  รวมแล้วทั้งวงมีได้ไม่เกิน 20 คน
8. หากแข่งขันใช้เวลาเกิน 10 นาที  กรรมการจะเป่านกหวีดให้หยุดโดยทันที  โดยไม่คำนึงว่าเพลงจะจบหรือไม่ก็ตามที
    กติกา
   1. หากทีมใดเล่นเกินเวลาจะถูกตัดคะแนน
   2. ทีมใดกระทำผิดข้อปฏิบัติจะถูกตัดคะแนน  แต่ยังสามารถทำการแข่งขันได้จนจบหรือหมดเวลา
   3. การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
   4. การให้คะแนน  แยกรายละเอียดดังนี้
      4.1 การแต่งกาย
      4.2 การตีโทน (ดังไพเราะ , พร้อมเพรียง , มีลูกเล่น)
      4.3 การตีโทนและเคาะจังหวะต่อเนื่อง
      4.4 การร้อง  การรำ
      4.5 การตีจังหวะหลากหลาย
      4.6 การรำโทน
      4.7 การแต่งกายนางรำ
      4.8 ความสนุกสนาน  ความไพเราะของดนตรี
   5. รวมคะแนนทั้งหมดแล้วนำมาเฉลี่ย  จากคณะกรรมการทุกคนที่ตัดสิน
6. ทีมที่เข้าแข่งขันต้องปฏิบัติตามลำดับการจับสลาก  หากถึงลำดับแล้วทีมยังไม่สามารถแข่งขันได้หรือยังไม่พร้อมจะถูกตัดคะแนน


สถาปัตยกรรมไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
 
 
พระตำหนักทับขวัญ ใน พระราชวังสนามจันทร์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยภาคกลาง
สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
เนื้อหา
 [ซ่อน]
?   1 รูปแบบ
?   2 สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
o   2.1 ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
o   2.2 ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
o   2.3 ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
o   2.4 ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
o   2.5 ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
o   2.6 ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
o   2.7 ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
?   3 สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
?   4 ดูเพิ่ม
?   5 อ้างอิง
?   6 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] รูปแบบ
สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
?   สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ
ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์
?   สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา
ได้แก่ โบสถ์,วิหาร,กุฎิ,หอไตร,หอระฆังและหอกลอง,สถูป ,เจดีย์
[แก้] สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
 
 
พระปรางค์สามยอด สถาปัตยกรรมไทยยุคลพบุรี
 
 
พระบรมธาตุไชยา สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัย
สามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้
?   ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
?   ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
?   ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
?   ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
?   ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
?   ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
?   ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
[แก้] ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและ ใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทนวัดพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีทีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยู่ด้านบน
[แก้] ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
พบในภาคใต้ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะพบร่องรอยการ สร้างสถูปตามเมืองสำคัญ เช่น เมืองครหิ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองตามพรลิงก์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย คือการสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชึ้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี
[แก้] ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ ต่างๆ นิยมใช้อิฐ หินทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสำหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลง สร้างส่วนฐาน ต่อมาก็สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง สถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย และ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
[แก้] ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
พบในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้างเพื่อเป็นศาสนสถาน อาณาจักรเชียงแสนได้รับเอา ศิลปวัฒนธรรมมาจากดินแดงแห่งอื่นเข้าผสมผสาน ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวาราวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะพม่า เชียงแสนนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของล้านนาต่อเนื่องจากเวียงกุมกาม เชียงแสนที่มีศิลปะหลายอย่างรวมกันนั้นเพราะว่า ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองที่มีศิลปะนั้นๆ เช่นวัดพระธาตุจอมสวรรค์และวัดล้างหมายเลข 13 นอกเมืองเป็นต้น พบว่าได้มีศิลปะพม่าผสมผสานอยู่ด้วย
[แก้] ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นราว พ.ศ. 1780 เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย เอกลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย จะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธาด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิง สัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือ เจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์
เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
?   เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
?   เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
?   เจดีย์แบบศรีวิชัย
[แก้] ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราวดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอู่ทองเช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี
[แก้] ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
 
 
วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา
เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือการออกแบบให้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ ตกแต่งด้วยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกกรงเล็กๆแทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของการก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่างคือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน
สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงามอ่อนช้อยตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ
[แก้] สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
 
 
พระที่นั่งอนันตสมาคม มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม
สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น มีการสร้างอาคารต่างชนิดเพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัยและวัดวาอารามในอดีต ได้แก่ โรงงาน โรงสี โรงเลื่อย ห้างร้านและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากนี้การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้ตัวเลขไทย
 เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก


แม่ไม้มวยไทย
หมายถึงท่าของการผสมผสาน การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับ ในการต่อสู้ด้วย มวยไทย การจะใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่าง ชำนาญ จะต้อง ผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่าศอกแต่ละอย่าง ให้คล่องแคล่ว ก่อนจากนั้น จึงจะหัด ใช้ผสมผสาน กันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะ การหลบหลีก ซึ่งขึ้นอยู่ กับครู มวยไทย ที่จะคิดดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ได้ผล แล้วตั้งชื่อ ท่ามวย นั้นๆ ตามลักษณะท่าทางให้จดจำได้ง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้น จึงจัดแบ่ง เป็นหมวดหมู่ หรือตั้งชื่อให้เรียกขาน คล้องจองกัน เพื่อลูกศิษย์ จะได้ท่องจำ และไม่ลืมง่าย ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกัน แต่ชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ จึงสามารถใช้มือ จับคู่ต่อสู้ เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิด ท่า มวยมากมาย ต่อมามีการกำหนด ให้นักมวยไทย ใส่นวมในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียว กับมวยสากล และ มีการออกกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่ นัก มวยไทย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต "บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา" และบางท่านัก มวยไทย ก็ไม่ สามารถ ใช้ได้ถนัด เนื่องจาก มีเครื่อง ป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวย บางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด
แม่ไม้มวยไทยที่ควรรักษา
http://student.nu.ac.th/muaythaiboran/maemaimuaythai_Salbfanpla.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2012, 09:57:44 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!