จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 24, 2024, 05:27:30 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณหญิงโม  (อ่าน 5585 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2012, 05:49:12 pm »







คุณหญิงโม

๏   มนัสไทยประณตไท้   นรินทร์ไทยมิท้อถอน
มิผูกรักมิภักดิ์บร   มิพึ่งบารมีบุญ
๏   ถลันจ้วงทะลวงจ้ำ   บุรุษนำอนงค์หนุน
บุรุษรุกอนงค์รุน   ประจญร่วมประจัญบาน
 
     มิได้มีดก็เอาไม้ ตะบองใหญ่ตะบองยาว
กำหน่ำฟาดพิฆาตลาว  เตลิดแล่น ณ แดนดง

  อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์   อรองค์ก็บอบบาง
ควรแต่ผดุงศิริสอาง   ศุภลักษณ์ประโลมใจ
๏   ยามเข็ญก็เข็นสริระอวย   พลช่วยผจญภัย
โอ้ควรจะเอื้อนพจนไข   คุณเลิศมโหฬาร
๏   อ้าหัตถ์ก็หัตถ์สุขุมชวน   มนะหวนฤดีดาล
ควรแต่จะถือสุรภิมาล-   ยประมูลมโนรมย์
๏   ยามทุกข์ก็ถือวิวิธอา-   วุธฝ่าระทมตรม
โอ้ควรจะเอื้อนพจนชม   คุณชั่วนิรันดร์กาล

   ย่าโมเป็นคนโคราช เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช เกิดเมื่อ พ.ศ. 2314 ท่านเป็นคนที่งามพร้อม กิริยา มารยาท อ่อนหวานแต่ก็ซุกซนด้วย ชอบเล่นฟันดาบ กระบี่ กระบอง มาตั้งแต่เด็ก
    พอโตเป็นสาว อายุประมาณ 25 ปี ก็ได้แต่งงานกับปลัดทองคำหรือพระยาสุรเดชาเดชฤทธิทศทิศวิชัย และสมัยต่อมามีเหตุการณ์เกิดขึ้นในประเทศหลายอย่าง จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัว ได้ทรงโปรดให้ทรงจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาคือ รัชกาลที่ 2 บรรดาเจ้าเมืองประเทศราชหรือผู้แทนจะต้องเดินทางมาถวายบังคมพระบรมศพ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและในครั้งนั้น เจ้าอนุวงค์ (เจ้าเมืองเวียงจันทร์) ได้เดินทางมาถวายพระเพลิง พระบรมศพด้วยตนเอง พร้อมผู้ติดตามอีกมากมาย ในขณะ ที่พำนักอยู่ใน กรุงเทพฯนั้น พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงขอแรงให้ไพล่พลของเจ้าอนุวงค์ ให้ไปช่วยตัดไม่ต้นตาลที่เมือง สุพรรณบุรี ไม่จำกัดจำนวนเสร็จแล้วให้ลากเข็นมาที่ สมุทรปราการ น้องชายของเจ้าอนุวงค์ได้ทำตามรบสั่งจนสำเร็จ จนทำให้ เจ้าอนุวงค์ทะนงตัวว่าเป็นคนโปรดของพระเจ้าอยู่หัว และเคยช่วยทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงแสน 2362 ถึง 2 ครั้ง และปราบพวกกบฎข่าที่เมืองจำปาศักดิ์  ตอน จะทูลลากลับ หน้าพระที่นั่ง เจ้าอนุวงค์ได้ทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทร์ ที่เคยเป็นเชลยสมัยพระเจ้ากรุงธนฯ  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวไม่ประทานเนื่องจากทรงเห็นชาวลาวมาตั้งหลักแหล่งดีแล้ว ถ้ากลับไปจะไปก่อตั้งเป็นปึกแผ่นละก่อเหตุให้เดือดร้อนอีกในเมืองไทย
    เจ้าอนุวงค์ไม่พอใจมาก กลับไปเวียงจันทร์วางแผนจะมายึดกรุงเทพฯ แต่ทำศึกที่โคราชก่อน ตอนนั้นที่ นครราชสีมา พระยาปลัดทองคำสามีของย่าโมและเจ้าเมืองไม่อยู่ ไปราชการที่เขมร ย่าโมอยุ่ที่เมืองโคราช เจ้าอนุวงค์บุกจับไปเป็นเชลย พร้อมครอบครัวชาวเมืองอีก 600 ครอบครัว ช้างอีก 70 เชื่อก เมื่อเดินทางไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ ย่าโมได้วางแผนต่างๆ จนทหารลาวยอมให้พัก ย่าโมวางแผนให้ ผู้หญิงผู้ชาย ชาวเมืองโคราชทำให้ทหารลาวตายใจ และได้ทำการฆ่าทหารลาว และต่อสู้กันอุตลุต จนสามารถเอาชนะฝ่ายทหารลาวได้ แต่ก็ต้องเสียนางสาวบุญเหลือ และชาวเมืองโคราชไปบ้าง หลังจากนั้นทหารลาวก็ถูกตามทำศึกจากไทย จนชนะ และต่อมาเจ้าอนุวงค์ก็โดนจับไปทำโทษที่กรุงเทพฯและได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงแต่งตั้งย่าโมให้เป็น ท้าวสุรนารี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านย่าโมได้ถึงแกอสัญกรรมในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) เมื่อวันที่ 5 ปีชวด จศ.1214 (เมษายน 2395) ตอนนี้อัฐิของท่านย้ายมาบรรจุไว้ในฐานรอบรับใหม่ ณ. หน้าประตูชุมพล จนถึงทุกวันนี้
    อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีตั้งอยู่ที่ประตูชุมพลในตัวเมือง จ. นครราชสีมา หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 หนัก 325 กิโลกรัม เป็นรูปท้าวสุรนารีตัดผมทรงดอกกระทุ่มถอนไร แต่งกายด้วยเครื่องยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นุ่งผ้าจีบยกทองคาดเข็มขัด ห่มสไบเฉียงบ่า สวมตุ้มหู สวมตะกรุดพิสมรมงคล 3 สายทับสไบ นิ้งก้อยนิ้วนางทั้งสอง สวมแหวนนิ้วละวง มือขวากุมดาบ ด้ามดาบจำหลักลายสอดอยู่ในฟักจำหลักลาย ปลายจรดพื้น มือเท้าสะเอวหันหน้าเฉียงซ้ายเล็กน้อย ก้มหน้าหน่อยๆ มาทางทิศตะวันตก ทางกรุงเทพฯเหมือนแสดงคาราวะไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว
 
    เมื่อถึงเดือน มีนาคม ของทุกปีชาวโคราชจะจัดงานฉลองท้าวสุรนารีเป็นการลำรึกถึงวีรกรรมของท่านตลอดมา และท่านก็จะอยู่ในใจของลูกหลานสืบไป








เปลก็ไกว ดาบก็แกว่ง แข็งหรือไม่
ใช่อวดเบ่ง หญิงไทย มิใช่ชั่ว
ไหนไถถาก ตรากตรำ ไหนทำครัว
ใช่ดีแต่ จะยั่ว ผัวเมื่อไร
แรงเหมือนมด อดเหมือนกา กล้าเหมือนหญิง
นี่จะจริง ดังว่า หรือหาไม่
ศึกถลาง ปางจะจอด รอดเพราะใคร
เพราะหญิงไทย ไล่ฆ่า พม่าแพ้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2012, 05:53:28 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!