จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 20, 2024, 04:06:51 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระแก้วมรกต เคยมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร  (อ่าน 4606 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2011, 09:47:18 pm »

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร   






     พระพุทธรูปที่ทรงคุณค่าควรเมืองที่สุดในประเทศไทยคือ พระแก้วมรกต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน .ตามตำนานกล่าวว่า...ผู้สร้างคือพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์เจ้าแห่งประเทศอินเดีย ท่านต้องการบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป จึงดำริที่สร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมณี เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เจ็ดพระองค์ เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต พระแก้วมรกตเดิมประดิษฐานที่นครปาตลีบุตร แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาเกิดสงครามประชาชนจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังลังกาทวีป จากนั้นหลังปีพุทธศักราช 1000 พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่พระมหานครเอกราช แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนตายทั้งพระนคร...ต่อพระเจ้าอาทิตยราช แห่งอโยชยา ยกกองทัพมาตีชายแดนมหานครเอกราชจึงอัญเชิญมาไว้ที่
นครอโยชยา พระยาวิเชียรปราการแห่งเมืองกำแพงเพชร ได้มาอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร...
..........จากตำนานพระแก้วมรกต ฉบับเจ้านันทเสน กล่าวถึงการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศเขมรพระเถระรูปหนึ่งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานทางเหนือของนครอินทปัตถ์ พระเจ้าอติราชแห่งแค้วนสยามฝ่ายเหนือ คือนครศรีอยุธยา เกรงว่าพระแก้วมรกตจะเป็นอันตราย จึงยกกองทัพไปสืบหาพระแก้วมรกตแล้วอัญเชิญไปไว้ในพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่หลายชั่วกษัตริย์ ภายหลังเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นพระญาติกับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่กำแพงเพชรและถ้ามาอยู่ที่กำแพงเพชร พระพุทธเจ้าหลวงได้ตั้งข้อสังเกตในจดหมายเหตุประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้ว่า...ซึ่งยอมรับจะเรียกวัดพระแก้วได้นั้น เพราะเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่ที่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้แน่ .....ซึ่งหมายถึงวัดพระแก้วกลางเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน.... และได้ถูกอัญเชิญไปไว้ที่เชียงรายและเชียงใหม่ตามลำดับ..
...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเห็นว่า พระแก้วมรกตมีหลักฐานชัดเจนเมื่อ
คราวพบ ในเจดีย์ ณ วัดพระแก้วเมืองเชียงราย  ซึ่งเป็นวัดคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล ในปีพุทธศักราช 1977 ฟ้าได้ผ่าอยู่ด้านหลังของวัด ป่าเยี้ยะ (วัดป่าไผ่) พบพระพุทธรูปทำด้วยพระแก้วมรกต ลักษณะงดงามมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเปลี่ยนชื่อวัดป่าเยี้ยะว่าวัด พระแก้วตั้งแต่นั้นมา
.....พระแก้วมรกตได้ไปอยู่ที่เขลางค์นคร ( เมืองลำปาง) 32 ปี แล้วนำไปไว้เชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้า ติโลกราช จนมาถึงปลายราชวงศ์มังราย พระไชยเชษฐาได้เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ไม่นานพระเจ้าโพธิสารพระราชบิดาที่เมืองหลวงพระบางสวรรคต พระไชยเชษฐาเสด็จกลับแล้วนำพระแก้วมรกตไปด้วย ไปไว้ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระองค์เสด็จมาครองเมืองเวียงจันทน์ พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ด้วย จนกระทั่งได้อัญเชิญมาไว้ที่กรุงธนบุรี และกรุงเทพใน
ปัจจุบัน....

http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQWTX1sTZLxv7ogxATRAFzrJHAytK_ta41M2Jil6-xPO2E5UYWd_g
http://www.google.co.th/imgres?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B++%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0+%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7&num=10&hl=th&client=firefox-a&hs=nZe&rls=org.mozilla:en-US:official&biw=1024&bih=613&tbm=isch&tbnid=1TtI6xLIcJP-iM:&imgrefurl=http://images.palungjit.com/f568/%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2595-2236.html&docid=L7BOMSm8VO0d0M&imgurl=http://images.palungjit.com/attachments/2237-%2525E0%2525B8%25259E%2525E0%2525B8%2525A3%2525E0%2525B8%2525B0%2525E0%2525B9%252581%2525E0%2525B8%252581%2525E0%2525B9%252589%2525E0%2525B8%2525A7%2525E0%2525B8%2525A1%2525E0%2525B8%2525A3%2525E0%2525B8%252581%2525E0%2525B8%252595-kaew-jpg&w=326&h=425&ei=2y_BTpLbDoforQevnZXEAQ&zoom=1

เมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น ..ต้องประดิษฐาน ณ วัดในกำแพงเมือง วัดประจำเมืองกำแพงเพชรคือวัดที่เรียกกันว่าวัดพระแก้ว เพราะเชื่อกันว่าถ้ามาอยู่กำแพงเพชร  ต้องอยู่ที่วัดนี้อย่างแน่นอน .... และประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น   ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร  สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้อง ที่สันนิษฐานว่า   น่าจะประดิษฐานพระแก้วมรกต.....พระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรระยะหนึ่ง....ทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียง โด่งดังว่าเป็นเมืองสำคัญ...ในทางพระพุทธศาสนา...ทำให้หัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไปแต่ทำไม่สำเร็จ เพราะความแข็งแกร่งของเมืองกำแพงเพชร....
....เจ้านครเชียงราย ยกกองทัพใหญ่มีไพร่พล นับแสน  มากำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกต ไปเป็นขวัญพระนครเชียงราย ด้วยแสนยานุภาพที่เกรียงไกร กำแพงเพชรจึงให้พระแก้วมรกตไปด้วยความโศกเศร้าเสียดายของอาณาประชาราษฏร์ ....คงมีการแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งทำให้เจ้าผู้ครองนครเชียงราย นำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไป จนกระทั่งเกิด ฟ้าผ่า พระเจดีย์ ทำให้พบพระแก้วมรกตอีกครั้ง .... เจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งใจจะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดิน แต่กลับมาที่เขลางค์นคร จึงมาประดิษฐานที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ เชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจาก ลำปางมาไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาได้อัญเชิญพระแก้วมรกต ไปไว้ที่นครหลวงพระบาง  และไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด .อยู่ในประเทศลาว เป็นเวลาประมาณ 200 ปี
   พระแก้วมรกต ได้รับการอาราธนาอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จากเมืองเวียงจันทน์  มายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ได้อาราธนา จากเมืองเวียงจันทน์ ข้ามมายังเมืองพานพร้าว(น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงเดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี  พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่าเป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากที่อัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืน จึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวง มาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี ( วัดตำหนักใต้บางกระสอ นนทบุรี) และในที่สุดพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน.....

  เครื่องทรง
เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นเครื่องทรง 3 ฤดู ของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เครื่องทรงแรกเริ่มจัดสร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีวงศ์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเครื่องทรงฯ ทั้ง 3 ฤดู มีสภาพชำรุดยากแก่การซ่อมบูรณะให้สวยงามเหมือนเช่นอดีต ประจวบกับในขณะนั้นเป็นวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กรมธนารักษ์ผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องทรงฯ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร 3 ฤดู ชุดใหม่แทนเครื่องทรงชุดเดิม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโรกาสดังกล่าว โดยเครื่องทรงชุดใหม่นี้เป็นชุดที่ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงในปัจจุบัน

ชุดเดิม
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 และได้มีพระราชศรัทธาโปรดให้จัดสร้างเครื่องทรงฤดูร้อนและฤดูฝน ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นพุทธบูชา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดสร้างเครื่องทรงฤดูหนาว ถวายเป็นพุทธบูชาเพิ่มอีกหนึ่งชุด พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจึงมีเครื่องทรงครบ 3 ฤดู ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทั้งสามฤดูทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์จะทรงประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรในวันเริ่มฤดูเป็นประจำทุกปี กรณีที่ทรงติดพระราชภารกิจอื่นไม่อาจเสด็จด้วยพระองค์เองได้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับกำหนดเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร มีดังนี้

ฤดูร้อน กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 รวมเดือนมีนาคม
ฤดูฝน กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ราวเดือนกรกฎาคม
ฤดูหนาว กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ราวเดือนพฤศจิกายน

 ชุดปัจจุบัน
เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู กรมธนารักษ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำออกจัดแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ไทย ภายในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่รอการผลัดเปลี่ยนตามฤดูกาล ซึ่งเครื่องทรงฯ ทั้ง 3 ฤดูเริ่มมีสภาพชำรุดไปตามกาลเวลา เนื่องจากมีอายุกว่า 200 ปี และในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สำนักพระราชวังได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู ในส่วนที่ชำรุด และได้มีการใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงทำให้เครื่องทรงฯ ชำรุดมากขึ้น ต้องทำการซ่อมแซมอีก แต่ด้วยเป็นศิลปโบราณวัตถุที่มีลวดลายที่ละเอียดอ่อนบอบบางและเป็นฝีมือช่างโบราณช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงทำให้ไม่สามารถหาช่างฝีมือมาซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้

กรมธนารักษ์จึงได้ปรึกษากับเลขาธิการพระราชวัง ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเห็นว่าควรดำเนินการจัดสร้างเครื่องทรงฯ ชุดใหม่ขึ้นทดแทน เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงฯ ตามฤดูกาลตามโบราณราชประเพณีและถวายเป็นพุทธบูชา รวมทั้งเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลพระราชพิธีกาญจนาภิเษก จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2538 และในการจัดสร้างกรมธนารักษ์ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษา ในโอกาสนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้บริจาคทรัพย์เพื่อร่วมสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรด้วย การจัดสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2538 จนแล้วเสร็จในพุทธศักราช 2540 โดยเครื่องทรงฯ ฤดูหนาว ดำเนินการจัดสร้างแล้วเสร็จเป็นอันดับแรก และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ เครื่องทรงฯ ฤดูร้อน ทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ และเครื่องทรงฯ ฤดูฝน ทูลเกล้าฯถวายเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐

สำหรับเครื่องทรงฯ ชุดเดิมได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่า และจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเครื่องทรงฯ ชุดใหม่ ชุดใดที่มิได้ทรง จะเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชม ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยกเว้นวันที่มีพระราชพิธี

 องค์ประกอบของเครื่องทรงชุดปัจจุบัน
ฤดูหนาว - ใช้อัญมณีในการจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูหนาว ชุดใหม่ รวมทั้งหมด 15,868 เม็ด น้ำหนัก 2,863.44 กะรัต น้ำหนัก 572.68 กรัม น้ำหนักลงยา 27.69 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 5.579.50 กรัม รวมน้ำหนักเครื่องทรงพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรฤดูหนาวชุดใหม่ 6,179.87 กรัม
ฤดูร้อน - ใช้อัญมณีในการจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูร้อน ชุดใหม่ รวมทั้งหมด 6,297 เม็ด น้ำหนัก 2,132.81 กะรัต น้ำหนัก 426.56 กรัม น้ำหนักลงยา 166.24 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 7.145.00 กรัม รวมน้ำหนัก 7,737.80 กรัม
ฤดูฝน - ใช้อัญมณีในการจัดสร้างเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรฤดูฝน ชุดใหม่ รวมทั้งหมด 15,388 เม็ด น้ำหนัก 694.98 กะรัต น้ำหนัก 139.00 กรัม น้ำหนักลงยา 153.54 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 7.913.84 กรัม รวมน้ำหนัก 8,206.





                     สันติ อภัยราช

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2011, 10:14:06 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!