จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 28, 2024, 07:22:54 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ?กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี?สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง สอนชู  (อ่าน 5846 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 30, 2011, 06:12:13 am »

?กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี?
สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง  สอนชู
           
     ในหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร  หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ  เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี  เมืองนครชุม  เมืองชากังราว   เมืองพังคา  เมืองโกสัมพี  เมืองรอ  เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา  และบ้านคลองเมือง  ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น  และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า  37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
                 ผู้เขียนได้สืบค้นถึงกษัตริย์ที่มีความสำคัญเข้ามาครอบครองเมืองต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี ตามหลักฐานพบว่ามีกษัตริย์เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรแล้ว  3  พระองค์ (ที่จริงแล้วควรมีมากกว่านี้) ได้แก่  พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน  พระเจ้าสุริยราชา  และพระเจ้าจันทราชา 
1.   พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน    ผู้สถาปนาเมืองกำแพงเพชร
                 พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน  จากตำนานเมืองเชียงแสน ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7   หน้า  105-107   และ  จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับเดียวกัน หน้า  489-491   กล่าวข้อความที่ตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหม  (ซึ่งเคยไล่ปราบขอมจากเมืองโยนกถึงเมืองกำแพงเพชร)  และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2  แห่งเมืองไชยปราการ(ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณอยู่ระหว่างเชียงรายกับแม่น้ำโขง) ครอบครองเมืองไชยปราการได้ 11  พรรษา   ถูกกองทัพของพม่าจาก
เมืองสเทิมเข้ามารุกราน    ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้  พระเจ้าไชยศิริทรงให้โหรตรวจดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาด  พระเจ้าไชยศิริทรงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการแล้วหลบหนีออกมาพร้อมกับทหารและ ครอบครัวราษฏร เมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน  8  แรม  1  ค่ำ      จุลศักราช  366  (พ.ศ. 1547 )   ปีมะเส็ง มาถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วพักพลได้ 3 คืน พอถึงวันอังคาร เดือน  9   แรม 4  ค่ำ  จุลศักราช 366   (พศ.1547) ปีมะเส็ง   ได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชรและมีพระนามว่า ?พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน?
                 จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าพระเจ้าไชยศิริเชียงแสนสร้างเมืองไตรตรึงษ์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมืองหลังจากที่สถาปนาเมืองกำแพงเพชรแล้ว
2.   พระเจ้าสุริยราชา   พระอัยกา(ปุ่)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์
               พระเจ้าสุริยราชา  จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า  177  กล่าวว่าทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริวงษ์  ได้เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรเมื่อจุลศักราช 536   (พ.ศ. 1717)  มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าศิริสุทาราชเทวีมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจันทกุมาร  ครองราชย์เมืองกำแพงเพชรได้ 28 พรรษาสิ้นพระชนม์เมือจุลศักราช  564(พ.ศ.   
              นอกจากนี้แล้ว เรื่อง ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณ ของกรมศิลปากร ในหนังสือ ?คำให้การกรุงเก่า?       หน้า 180 ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุริยราชาที่ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรไว้ว่า ? พระมหา กษัตริย์ที่สร้างพระนครพิจิตรนั้น เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
             ในหนังสือ ?คำให้การกรุงเก่า? เล่มเดียวกันนี้  ผู้เขียนได้ตรวจชื่อเมืองที่หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้พบในหน้า  11 มีหลายชื่อ ได้แก่ พิจิตปราการ  วิเชียรปราการ  ในหน้า 180 เรียกว่า พระนครพิจิต และพระนครวิเชียรปราการ
             จากข้อความที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร ได้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ขึ้นครองราชย์เมือจุลศักราช 536 (พ.ศ. 1717) ครองราชย์ได้ 28  พรรษา ก็สิ้นพระชนม์เมื่อจุลศักราช 564 (พ.ศ. 1745)
                                   3. พระเจ้าจันทราชา   พระชนก(พ่อ)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์
           จาหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 177-181 เป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร  เมือจุลสักราช 570   (พ.ศ. 1751)   
            ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทรงท่องเที่ยวไปพร้อมทหาร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านแห่งหนึ่ง  สาวงามนั้นไม่ยอมที่จะไปอยู่กับพระเจ้าจันทราชาในวัง   จึงต้องจากกัน    ต่อมาสาวนั้นตั้งครรภ์ครอดบุตรออกมาเป็นชายแล้วทิ้งไว้ในป่าอ้อย  ตายายเจ้าของไร่อ้อยมาพบได้นำไปเลี้ยงไว้    เมื่อมีอายุราว  15 ปี      มีรูปร่างที่สง่างาม  และมีอานุภาพมาก  จะออกปากสั่งสิ่งใดนั้นย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น  ตาและยายมีความรักบุตรบุญธรรมเป็นอย่างมาก และได้ตั้งชื่อว่า   ?พระร่วง?   
          พระเจ้าจันทราชาทรงทราบ   จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตา ยาย  พร้อมทั้งพระร่วง เข้าเฝ้า  ตายายทั้งสองจึงกราบบังคมทูลให้ทราบความตามเหตุผลที่ได้กุมารนั้นมา  พระเจ้าจันทราชาทรงฟังดังนั้นทรงเชื่อแน่ว่าเป็นโอรสของพระองค์เองที่ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านที่ผ่านมา  จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสในพระราชวัง
         พระเจ้าจันทราชาได้ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปอยู่สุโขทัย  ในช่วงนั้นขอมแผ่ขยายอำนาจมาถึงกรุงสุโขทัย   พระเจ้าจันทราชากทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส(พระร่วง)ยกกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพเขมร  ฝ่ายกองทัพเขมรสู้ไม่ได้จึงต้องยกทัพถอยกลับไป
         พระเจ้าจันทราชาได้สิ้นพระชนม์  พระร่วงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1781
         


           จากหนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า 180  ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทราชาอย่างสั้นๆ ไว้ว่า
         ?พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครวิเชียรปราการ(คือเมืองกำแพงเพชร) เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชร?
          ?พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครสวรรคโลก พระมเหสีเป็นนาค  พระราชโอรสคือพระร่วง?
            จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า พระเจ้าจันทราชาเป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา  ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร  ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้าน (มักเรียกว่า นางนาค)  แล้วมีบุตรชายชื่อพระร่วง  พระเจ้าจันทราชาเชื่อว่าเป็นโอรสของพระองศ์จึงนำไปอยุ่ในวัง  หลังจากขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรแล้วทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปสุโขทัย ได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลก    (ศรีสัชนาลัย) ด้วย 
             
อ้าอิง
ศิลปากร. กรม. คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวง
                    ประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา,2515
คณะกรรมการดำเนินการจัดทำหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา
                 จังหวัดกำแพงเพชร,   วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด
                  กำแพงเพชร .กรมศิลปากร,2544       
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2545.



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!