จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 24, 2024, 07:40:06 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชาววัฒนธรรมกำแพงเพชรศึกษาดูงานวัฒนธรรมนครเวียงจันทน์ ๓๑ สิงห์ ๕๔  (อ่าน 4562 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 27, 2011, 04:10:09 pm »

เวียงจันทน์  (Vientiane)
            เป็นเมืองที่มีมาเก่าแก่  ตามตำนานการสร้างเมืองบางสำนวนกล่าวว่า  มีฤาษีสามพี่น้องมาปักหลักไม้จันทน์หมายเป็นเขตสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าเวียงจันทน์ พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างแทนเมืองเชียงดง-เชียงทอง (หลวงพระบาง)  มีกษัตริย์ปกครองต่อเรื่อยมา  จนกระทั่งลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นมคอมมิวนิสต์  นครเวียงจันทน์จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2518
นครเวียงจันทน์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง  ตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย  เป็นเมืองที่ยังคงร่องรอยสมัยอาณานิคมอยู่มาก  ถนนล้านช้างเป็นถนนสายสำคัญที่สุด สองฟากถนนเรียงรายไปด้วยสถานที่ทำการของรัฐบาล  ธนาคาร  บริษัทท่องเที่ยว ฯลฯ  โดยอาคารบางส่วนเป็นตึกแบบยุโรปจากสมัยที่ลาวเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส  

























พระ ธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระ ธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่าง แยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างยิ่งของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็น ภาพประธานในดวงตรา

ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนคร เวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238

ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติ ศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฎการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า ?พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี? หรือ ?พระธาตุใหญ่? (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า ?พระธาตุหลวง?) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน











หอพระแก้ว
ตั้งอยู่บนถนน เชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ แต่เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระ เจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปีพ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯมากมาย สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้น ใหม่เกือบทั้งหมด ในปีพ.ศ.2480-2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของ เจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้ปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก้ยังเดิน ทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศส สมัยอาณานิคมมาก่อน
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 ? 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น.
หมายเหตุ ภายในหอพระแก้ว ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิด



ประตูชัย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้น สุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้า การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่าง สงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวันให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก
เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน
สถานที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 2,000 กีบ




ภาษาลาวที่ควรรู้  
คำทักทายและตอบรับ
ภาษาลาว                 ภาษาไทย
สะบายดี                   สวัสดี
ขอบใจ                       ขอบคุณ
ขอบใจหลายๆ            ขอบคุณมากๆ            
บ่เปนหยัง                 ไม่เป็นไร
ขอโทด                     ขอโทษ
ขอให้เข้มแข็ง              ขอให้มีสุขภาพดี
ขอให้มั่นยืน               ขอให้อายุยืน
ข้อยฮักเจ้า                ฉันรักเธอ
บ่ดี                          ไม่ดี
งาม                         สวย
เจ้าชู้                        รูปงามมีเสน่ห์ (คำชม)
น่าฮัก                       น่ารัก
แม่นแล้ว  ,  เจ้า           ใช่
บ่  ,  บ่แม่น                    ไม่ใช่
ลาก่อน                     ลาก่อน (จากไปไกล)
 โชกดี                            ลาก่อน (ยังอยู่ใกล้)
ยินดีที่ฮู้จัก                     ยินดีที่ได้รู้จัก
เจ้าชื่อหยัง                     คุณชื่ออะไร
ข่อยซี่อ                     ฉันชื่อ
เจ้ามาแต่ใส                คุณมาจากไหน
 สะบายดีบ่                 คุณเป็นอย่างไรบ้าง

วันและเวลา
ภาษาลาว               ภาษาไทย
มื่อนี่                       วันนี้
เช่านี่                      เช้านี้
มื่อแลง                   เย็นนี้
วันพุก , มื่ออื่น           พรุ่งนี้
วันฮือ                     มะรืนนี้
จั๊กโมงแล้ว              กี่โมงแล้ว
แต่โดน                   นานมากแล้ว
บ่ดน                      ไม่นาน
หว่างแล้ว               ไม่นานมานี้
เทื่อ                       ครั้ง
ม่อๆนี้                   เร็วๆ นี้

อาหาร
ภาษาลาว                 ภาษาไทย
ข้าวเช้า                     อาหารเช้า
ข้าวสวาย                  อาหารกลางวัน
ข้าวแลง                    อาหารเย็น
แต่งกิ่น                     ทำกับข้าว  , ทำอาหาร
ร้านกิ่นดื่ม                 ร้านอาหาร
กิ่นดื่ม                      กินดื่ม
กิ่นเข่า                      กินข้าว
ชิ้นงัว                       เนื้อวัว
ชิ้นหมู                      เนื้อหมู
หมูปิ้น                      หมูหัน

ผักชู                         กะหล่ำปลี
หมากเผ็ด                  พริก
หมากไม้                    ผลไม้
หมากเขียบ                น้อยหน่า
หมากฮุ่ง                   มะละกอ
 ภาษาลาว                 ภาษาไทย

หมากนัด                       สับปะรด
หมากจอง                     ชมพู่
หมากม่วง                     มะม่วง
หมากโม                        แตงโม
หมากเกี้ยง                     ส้มโอ
ข้าวเจ้า                          ข้าวสวย
ข้าวเปียก                       ข้าวต้ม
ข้าวคั่ว                      ข้าวผัด
เฝอ                          ก๋วยเตี๋ยว
หม้ำ                         ไส้อั่ว
คั่วหมี่                       ผัดหมี่
ชิ้นจุ่ม                       แจ่วฮ้อน
น้ำบอลิสุด                  น้ำเปล่า
น้ำหวาน                    น้ำอัดลม
น้ำก้อน                      น้ำแข็ง
ชาเย็น                       น้ำแข็งใส่น้ำชา
ชาหวานเย็น                  ชาดำเย็น
กะแลม                         ไอศกรีม
ขนมคู่                           ปาท่องโก๋
ข้าวจี่                            ขนมปังฝรั่งเศส
แซ่บหลาย                     อร่อยมาก
ฮ้อน                               ร้อน
ส้ม                                เปรี้ยว
แก้ว                          ขวดน้ำ
หลอด                             ท่อดูด
จอก                          แก้วน้ำ
แก้ว                          ขวด
ชาม                         กะละมัง
เจี้ยอนามัย                 กระดาษทิชชู
ผ้าอนามัย                  ผ้าเย็นเช็ดหน้า
ไล่เงิน                        เก็บเงิน (เวลาไปทานอาหาร)

การเดินทาง
ภาษาลาว                 ภาษาไทย
ยน                          เครื่องบิน
ลดใหญ่                    รถยนต์
ลดจัก                      รถมอเตอร์ไซด์
ลดถีบ                      รถจักรยาน
สามล่อ                    รถสามล้อถีบ
ลดเม                       รถประจำทาง
แอ๊ดซัง                     เบนซิน
กาซวน                     โซล่า
ปิล็อต                      นักบิน
โอแตส                      แอร์โฮสเตส
เดิ่นบิน                     สนามบิน
เดิ่นกีฬา                   สนามกีฬา
ปี้                           ตั๋ว
ปี้ยน                      ตั๋วเครื่องบิน
บ่อนข้ายปี้                ที่ขายตั๋ว
 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2011, 06:17:53 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!