จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 06:52:06 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำบลเขาคีริส พื้นที่ทองคำที่มีการเปลี่ยนมือมากที่สุด ได้รับการ  (อ่าน 5864 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 01:06:45 pm »

ตำบลเขาคีริส พื้นที่ทองคำที่มีการเปลี่ยนมือมากที่สุด
           
      ได้รับการติดต่อ จากนายฉลวย สีทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคีริส ให้ช่วยสำรวจ พื้นที่ตำบลเขาคิริส เพื่อบันทึกข้อมูล ในด้าน พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลเขาคิริส  ได้ลงมือสำรวจทุกตารางนิ้ว ตามคำร้องขอและบันทึกรายละเอียดทั้งหมดไว้   แต่บทความนี้ ตัดตอนมาบางส่วน เท่านั้น เพื่อความลงตัวของการจัดพิมพ์  เมื่อสำรวจแล้วเราพบว่า พื้นที่เขาคีริส มีการซื้อขายมากที่สุด เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่ราบสูง ราคาพุ่งขึ้น สามสี่เท่าตัวอาจเป็นเพราะข่าวว่าน้ำจะท่วมประเทศไทยมาถึงกำแพงเพชร จึงมีผู้คนจากทางใต้ มากว้านซื้อมากมาย  เราจึงต้องมาทำการรู้จัก เขาคีรีส ให้ละเอียดกันว่าทำไม ราคาที่ดินถึงแพงมากขนาดนี้
ประวัติความเป็นมา :
   ตำบลเขาคีริส เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลพรานกระต่าย และได้แยกพื้นที่จากตำบลพรานกระต่ายในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ตำบลเขาคีริส มีเนื้อที่ประมาณ ๘๑,๒๕๐ ไร่ ประชากร รวม ๗,๗๓๒ คน ประชาชนประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ 
 สภาพทั่วไปของตำบล :
   สภาพทั่วไปของตำเขาคีริส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยภูเขาลูกเล็ก ๆ ในเขตตำบล มีคลองชลประทานหลายสาย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ที่ทำการ อบต.ตั้งอยู่ บ้านหนองทอง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ ๑๘ หมู่บ้าน มีพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง รวม ๗ คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ๓๖ คน 

 อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต.คลองพิไกร อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ทิศใต้ ติดกับ ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
ทิตะวันออก ติดกับ ต.จันทิมา อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ถ้ำกระต่ายทอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร 
 จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. ๗,๙๐๑ คน และจำนวนหลังคาเรือน ๒,๐๑๓ หลังคาเรือน 
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน,ทำไร่
อาชีพเสริม ทำหมวกผ้า, ทำพริกแกง, การจักรสานเครื่องใช้จากไม้ไผ่ 
สถานที่สำคัญของตำบล :
   ๑) โบราณสถานเมืองบางพาน
   ๒)โบราณสถานเขานางทอง
            ๓) โบราณสถานวัดพระนอน
            ๔) วัดพานทองศิริมงคล

 








 










ภูมินามหมู่บ้านตำบลเขาคีริส

แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๑๘ หมู่บ้าน ดังนี้
   หมู่ที่ ๑ บ้านเขาคีริส                   
          หมู่ที่ ๒ บ้านคุยป่ายาง
หมู่ที่ ๓ บ้านหนองโสน
หมู่ที่ ๔ บ้านวังพาน
หมู่ที่ ๕ บ้านราษฎร์ขยัน
หมู่ที่ ๖ บ้านดอนขมิ้น
หมู่ที่ ๗ บ้านทุ่งยาว                               
หมู่ที่ ๘ บ้านหนองขาม
หมู่ที่ ๙ บ้านบึงลูกนก
หมู่ที่ ๑๐ บ้านนาแค
หมู่ที่ ๑๑ บ้านวังแม่พาย
หมู่ที่ ๑๒ บ้านคลองสำราญ
หมู่ที่ ๑๓ บ้านคุยปอขาว
หมู่ที่ ๑๔ บ้านทุ่งรวงทอง
หมู่ที่ ๑๕ บ้านตะแบกงาม
หมู่ที่ ๑๖ บ้านหนองตะเข้
หมู่ที่ ๑๗ บ้านเขานางทอง
หมู่ที่ ๑๘ บ้านหนองศาลา

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านในตำบลเขาคีริส

หมู่ที่ ๑  บ้านเขาคีริส
ภูมินาม
           คำว่าเขาคีริส มาจากคำว่า เขามีฤทธิ์  เพราะในวันพระ จะมีแสงพวยพุ่ง จาก ยอดเขา ประชาชนเชื่อกันว่า จะมีเสียงปี่พาทย์ดังมาจากยอดเขา  จึงเรียกกันว่าเขามีฤทธิ์  ต่อมาเรียกเพี้ยนไปว่าเขาคีริส เป็นภูเขาขนาดย่อม สามยอด เรียงกัน พื้นที่ดิน เป็นที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึงทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์มาก















สถานที่สำคัญ
   คือเขาคีริส ที่เป็น ทิวเขาเตี้ยๆเป็นแนวยาว สามลูกต่อเนื่องกันอยู่กลางทุ่งนา  มีโบราณสถานก่อสร้างอยู่บนเขาหลายแห่ง แต่อยู่ในสภาพของซากสิ่งก่อสร้างเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่า รูปร่างเดิมเป็นอย่างไร

               
หมู่ที่  ๒  บ้านคุยป่ายาง

ภูมินาม   
   บ้านคุยป่ายาง หมู่ที่ ๒ ที่เรียกว่าคุยป่ายาง มาจากคำว่า คุย ซึ่งแปลว่า เนิน และคำว่า ยาง มาจากต้นยางที่ขึ้นเป็นจำนวนมากในหมู่บ้าน จึงเรียกรวมกันว่า คุยป่ายาง  แต่ปัจจุบันนี้ ไม่มีต้นยางเหลืออยู่เลย     

      









สถานที่สำคัญ
    บ้านคุยป่ายาง มีสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน คือ  ศาลประจำหมู่บ้านเป็นที่สักการะของประชาชนในหมู่บ้าน โดยทุกปีจะมีการทำบุญ และมีสถานศึกษาสำหรับประชาชนในหมู่บ้านได้ศึกษาเล่าเรียน คือ โรงเรียนบ้านคุยป่ายาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๑

พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
      ประชาชนในหมู่บ้านนิยมทำการเกษตรปลูกข้าวเป็นหลัก  ปลูกผักสำหรับขายส่ง เช่น
อ้อย  มันสำปะหลัง  ข้าว และพืชสวนอาทิ  สวนส้ม  สวนมะนาว


วัฒนธรรม  ประเพณีและความเชื่อ
   หมู่บ้านคุยป่ายาง มีวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ อาทิ การทำบุญกลางบ้าน การทำขวัญข้าว งานสงกรานต์ การอาบน้ำผู้ใหญ่ การทำบุญตามประเพณี มีความเชื่อเรื่องของ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์ อยู่ปะปนกันไป 
หมู่ที่ ๓ บ้านหนองโสน

           ภูมินาม
      หมู่บ้านหนองโสน เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านหนองโสนเพราะ ในอดีต เมื่อตั้งหมู่บ้านใหม่ ในบริเวณหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีอาณาเขต ประมาณ ๓๐ ไร่ ในบริเวณ หนองน้ำ มีต้นโสนขึ้นมากมาย จนกระทั่งชาวบ้าน  เรียกขานการตามที่เห็นว่า บ้านหนองโสน ในปัจจุบันหนองน้ำใหญ่ไม่ปรากฏ ให้เห็นเหมือนเดิมแล้ว หนองโสนเหลือเพียงสระธรรมดา ซึ่งประชาชนในหมู่เรียกขานกันว่าสระหลวง หมู่ที่ ๓ บ้านหนองโสน แยกมาจาก หมู่ที่ ๒ บ้านคุยป่ายาง










      โรงเรียนบ้านหนองโสน               วัดลัฎฐิวันวณาราม  (หนองโสน )
 
ประชากร
   หมู่บ้านหนองโสนมีประชากร  จำนวน  ๑๘๗  ครอบครัว  ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดอยุธยา  ชัยนาท  สิงห์บุรี  สุโขทัย และคนในพื้นที่จากอำเภอพรานกระต่ายประมาณ  ๓๐ ครัวเรือน
 สถานที่สำคัญ
        ที่บ้านหนองโสน มีวัดประจำหมู่บ้านอยู่ หนึ่งวัด คือ วัดลัฏฐิวันวณาราม (ประชาชนจะเรียกว่า วัดหนองโสน)  ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ แต่เดิมเป็นสำนักสงฆ์  ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ วัดลัฏฐิวันวณารามหรือวัดหนองโสน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนเป็นหมู่บ้านหนองโสน







   


วิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาวพระพุทธรูปที่ประชาชนให้การนับถือ

พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
      ประชาชนในหมู่บ้านหนองโสน มีอาชีพเกษตรกรรม โดยจะปลูก ข้าว และอ้อย  มีบางส่วนที่ ปลูกมะนาว และมันสำปะหลัง  ดังนั้น  พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านหนองโสนจึงเป็นข้าว อ้อย
มะนาว และมันสำปะหลัง  ทำรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
วัฒนธรรม  ประเพณีและความเชื่อ
   วัฒนธรรม ประเพณี ของหมู่ที่ ๓ บ้านหนองโสน จะมีลักษณะเหมือนกับหมู่บ้านทั่วๆไป  ได้แก่  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีบวชพระ  ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน ซึ่งจะทำในช่วงวันที่ ๒๙,๓๐ มกราคม ของทุกปี เป็นต้น ในส่วนของความเชื่อ  ประชนในหมู่บ้านหนองโสนมีความเชื่อในเรื่องของการบูชาหลวงพ่อขาว มักจะบนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หรือบนไม่ให้ฝนตกในช่วงของการเก็บเกี่ยวข้าว  และจะแก้บนด้วยการจุดประทัด

หมู่ที่ ๔  บ้านวังพาน

ภูมินาม
             เหตุที่เรียกว่า บ้านวังพาน เพราะ มีเมืองโบราณ ชื่อว่าเมืองบางพาน และเรียกกันมาบ้านวังพาน  เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณบางพานเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า " พิมพ์เอารอยตีน??.อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง " ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
   




    จากจารึกฐานพระอิศวร ซึ่งจารึกในปีพุทธศักราช ๒๐๕๓ ได้กล่าถึงเมืองบางพานไว้ว่า
 " ถนนถลา อันเป็นตรธานไปถึง บางพาน" อนึ่งท่อปู่พระยาร่วง ทำเอาน้ำไปถึงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้น" แสดงถึงเมืองบางพาน เจริญขนาดมีถนนพระร่วงตัดผ่าน และมีการขุดท่อทองแดง เอาน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปเลี้ยงเมืองบางพาน มาเกือบ ๗๐๐ ปี แสดงถึงวิทยาการอันก้าวหน้ามากกว่าทุกๆเมือง เท่าที่มีหลักฐาน

           

                                       
                                                      จากจารึกหลักที่ ๔ ได้กล่าวถึง การเดินทางของ                      พระมหาสามีสังฆราชจากประเทศลังกา มา                        สุโขทัย ผ่านเมืองบางพานแสดงถึงเมืองบาง                     พานเป็นเมืองใหญ่ เมื่อมีพระสังฆราช เสด็จมา                     ต้องผ่านเมืองบางพาน อาจเสด็จประทับเมือง                     บางพาน   

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกถึงเมืองบางพาน ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า  "เมืองบางพานต้องถูกทิ้งร้างไป เพราะแม่น้ำเขินไป ไม่มีน้ำพอกิน ทำให้ต้องย้ายเมือง และทิ้งเมืองบางพานให้ร้างไป"การขุดลอกท่อทองแดง หรือท่อปู่พญาร่วง ในช่วงเมืองบางพาน..... จากจารึกฐาน พระอิศวรที่กล่าวว่ามีการขุดท่อปู่พญาร่วงไปเลี้ยงเมืองบางพาน.... ขณะนี้กรมชลประทานกำลัง ขุดลอกบริเวณคลองวังพาน ห้วงน้ำใหญ่ห่างจากเมืองบางพาน...เพียงเล็กน้อย สิ่งที่พบเห็นคือ การพบเสา ไม้เนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ จำนวนมาก ฝังอยู่ใต้ดิน มีหลายขนาด แต่ละต้น กลึงโคนต้นของเสาเพื่อฝังไว้อย่าง

ตั้งใจ มีทั้งขนาด เสาหลักและเสารอง ซึ่งดูจากวิธีการแล้ว คาดว่า ใช้วิธีการตอกลงไปในน้ำ เสาต้นแรกที่พบ ห่างจากฝั่งราว ๑๕ เมตร ถ้าเป็นศาลาท่า น้ำ ต้องเป็นศาลาท่าน้ำขนาดใหญ่ เพราะใช้เสาจำนวนมาก และสังเกตจากเครื่องแต่งศาลาที่พังตกลงไปในน้ำล้วน การใช้ เครื่องปูนปั้นตกแต่งอย่างประณีต งดงาม และมิใช่ เป็นศาลาท่าน้ำธรรมดา ต้องเป็นศาลาท่าน้ำที่ รับรองเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และสืบต่อกันมาจนสิ้นสมัย สุโขทัย เมื่อเมืองบางพานถูกทิ้งร้างผู้คน
อพยพ ไปอยู่ที่อื่น..ทำให้ศาลาถูกทิ้งร้างไป เครื่องบน พังตกลงไปในน้ำ.....ศาลาเป็นไม้พุพังไปตามกาลเวลา...จนกระทั่ง เหลือเพียงโคนเสาที่ฝังอยู่ใต้ดิน...ที่ไม่ผุทำลาย

หมู่ที่  ๕ บ้านราษฏร์ขยัน

ภูมินาม
   เดิมเรียกว่า  ?บ้านคุยขยัน?   ?คุย?  คือ เนิน  ?ขยัน?   ต้นไม้ ชื่อ  คนแก่จะเอามาตำหมากกิน ต่อมา ปี ๒๕๑๐  ได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน ?ราษฏรขยัน?   ได้มีโรงเรียนขึ้นมีความเจริญมาเรื่อยมีวัดชื่อราษฏร์ขยันสามัคคี  สร้างเมื่อประมาณ ๑๐ ปี (วัดสร้างใหม่) มีประเพณี การทำขวัญข้าว และการทำบุญกลางบ้านในช่วงปีใหม่  ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านคือการ สานตะกร้อ


                                                ต้นขยัน

เข้าทรงยายท้าว   นายสมบูรณ์  คงจุ๊ย  อายุ ๗๘ ปี   นางบุญช่วย  ขัดสุข อายุ ๗๗ ปี อยู่บ้านเลข ๙ความเชื่อของชาวบ้านคือ ?ผียายท้าว? ถ้ามีใครในบ้านไม่สบายก็จะไปหายายท้าวให้เข้าทรงดูให้ว่าเป็นอะไร  เหตุมาจากไหน  ต้องแก้อย่างไร   พอแก้แล้วก็จะหาย ถ้าพูดง่ายๆก็คือร่างทรง  แต่พิธีกรรมก็จะไม่แตกต่างจากการเข้าทรงในปัจจุบัน  แต่ชาวบ้านก็ให้ความนับถือ  เชื่อถืออยู่
หมู่ที่ ๖  บ้านดอนขมิ้น
ภูมินาม
   บ้านดอนขมิ้น เหตุที่เรียกว่าดอนขมิ้นเพราะ บริเวณที่ตั้งหมู่บ้าน เป็นที่ดอน และมีต้นขมิ้นขึ้นอยู่เต็มพื้นที่ทั้งหมด จึงเรียกกันว่าดอนขมิ้น








   
                                                  หมู่ที่  ๗  บ้านทุ่งยาว

ภูมินาม   
   บ้านทุ่งยาว หมู่ที่ ๗ ที่เรียกว่าทุ่งยาว  เพราะว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา จึงทุ่งนาที่กว้างและสวยงามมาก  จึงเรียกว่า ทุ่งยาว
สถานที่สำคัญ
    บ้านทุ่งยาว มีสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน เช่น  วัดป่าวัวอยู่ในสวนมะนาวของนายลาน  ไพโรจน์    นายลานเล่าว่าพบครั้งแรกเป็นป่าทึบมีการขุดค้นหาสมบันติในบริเวณวัดป่าวัวทำให้พระพุทธรูปถูกทำลาย มีเรื่องเล่าว่า มีวัวทองคำอยู่ ๑ คู่ มัดปรากฏให้เห็นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ประชากรในบริเวณนั้นจึงเรียกว่าวัดป่าวัว 
วัฒนธรรม  ประเพณีและความเชื่อ
   บ้านทุ่งยาว มีวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ อาทิ การทำบุญกลางบ้าน การทำขวัญข้าว งานสงกรานต์ การอาบน้ำผู้ใหญ่ การทำบุญตามประเพณี มีความเชื่อเรื่องของ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์ อยู่ปะปนกันไป   
 

หมู่ที่ ๘ บ้านหนองขาม

ภูมินาม
         หมู่ที่ ๘  บ้านหนองขาม เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านหนองขามเพราะ ในอดีตมี
ต้นมะขามใหญ่อยู่ประมาณ ๕  ต้น อยู่ใกล้กับหนองน้ำขนาดใหญ่  (ปัจจุบันคงเหลือ ๓  ต้น)   เมื่อมาตั้งหมู่บ้าน จึงใช้ชื่อ บ้านหนองมะขาม ตามที่มีต้นมะขามที่มีอยู่ในหมู่บ้าน แต่เมื่อกาลผ่านพ้นไป นานวันเข้าคำว่า มะขาม กลายเป็นคำว่าขาม ในปัจจุบันจึงเรียกขานกันว่า บ้านหนองขาม โดยมีประวัติเล่าขานกันสืบมาว่า  เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕ นายเทิน ใจเกตุ ได้รวบรวมผู้คนจากหมู่บ้านอื่นประมาณ ๔๐ หลังคาเรือน มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนองขามแห่งนี้
   







ประชากร
      หมู่บ้านหนองขาม มีจำนวนประชากรประมาณ  ๖๐๐  กว่าคน  ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดอุทัยธานี  นครสวรรค์ และคนในพื้นที่จากอำเภอ
พรานกระต่ายประมาณ  ๒๐  กว่าครัวเรือน

           สถานที่สำคัญ
      สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน คือ ศาลากลางหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้าน สำหรับศาสนสถานไม่มีในหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จะไปทำบุญกันที่วัดลัฏฐิวันวณารามหรือวัดหนองโสน  สำหรับสถานศึกษามีจำนวน ๑  แห่ง  คือ โรงเรียนบ้านหนองขาม

พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
      ประชาชนในหมู่บ้านหนองขาม มีอาชีพเกษตรกรรม โดยจะปลูก ข้าว และอ้อย    ดังนั้น  พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านหนองขามจึงเป็นข้าว และอ้อย  ทำรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
      วัฒนธรรม ประเพณี ของหมู่ที่ ๘ บ้านหนองขาม จะมีลักษณะเหมือนกับหมู่บ้านทั่วๆไป  ได้แก่  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีบวชพระ  ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ โดยเฉพาะการแข่งจันประกวดตกแต่งโคมไฟตามคุ้มต่าง ๆ ในวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี เป็นต้น 
หมู่ที่ ๙ บ้านบึงลูกนก
ภูมินาม
         หมู่ที่ ๘  บ้านบึงลูกนก  เป็นหมู่บ้านใหญ่ ในตำบลเขาคีริส เพราะมีหมู่บ้านที่แยกออกจากหมู่ที่ ๘ จำนวน  ๑  หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่ ๑๒ บ้านคลองสำราญ  และ หมู่ที่ ๑๔ บ้านตะแบกงาม เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านบึงลูกนก เพราะ ในหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีนกมาหากินในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกหมู่บ้านตามที่มีนกมาอาศัย


 




ประชากร
      หมู่บ้านบึงลูกนก มีจำนวนประชากรประมาณ ๓๐๐ กว่าคน  ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นถิ่นเดิม  เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ตั้งมาแล้วกว่า ๕๐  ปี
           สถานที่สำคัญ
      สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน คือ ศาลากลางหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้าน สำหรับศาสนสถานไม่มีในหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จะไปทำบุญกันที่วัดหนองโสนสำหรับสถานศึกษามีจำนวน ๑  แห่ง  คือ โรงเรียนบ้านบึงลูกนก
พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
      ประชาชนในหมู่บ้านบึงลูกนก มีอาชีพเกษตรกรรม โดยจะปลูก ข้าว และอ้อย    กุ่ยช่าย  มะระ เป็นต้น ดังนั้น  พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านบึงลูกนกจึงเป็นข้าว อ้อย และกุ่ยช่าย
ทำรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมา
วัฒนธรรม  ประเพณีและความเชื่อ
      วัฒนธรรม ประเพณี ของหมู่ที่  ๙ หมู่บ้านบึงลูกนก จะมีลักษณะเหมือนกับหมู่บ้านทั่วๆไป  ได้แก่  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีบวชพระ  ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ในส่วนของความเชื่อ  ประชนในหมู่บ้านบึงลูกนก มีความเชื่อในเรื่องของการเข้าทรงเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่า รักษาโรคโดยใช้ผียายท้าว แต่ในหมู่บ้านไม่มีผู้ที่ทำพิธีนี้เป็น  หากมีความจำเป็นจะเชิญยายท้าวมารักษาจากมหมู่บ้านอื่น หรือเดินทางไปหายายท้าวเพื่อให้ยายท้าวทำนาย และทำตามที่ยายท้าวทำนาย

หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองทอง
ภูมินาม
      หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองทอง เป็นหมู่บ้านใหญ่ หมู่บ้านหนึ่งในตำบลเขาคีริส เนื่องจากแยกหมู่บ้านออกเป็น ๒  หมู่บ้าน  คือ หมู่ที่ ๑๑ บ้านวังแม่พาย และหมู่ที่ ๑๒ บ้านคลองสำราญ  เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านหนองทองเพราะ ในอดีต เมื่อตั้งหมู่บ้านใหม่ ในบริเวณหมู่บ้าน มีต้นทองกราวขึ้นเป็นจำนวนมาก  จนกระทั่งชาวบ้าน  เรียกขานการตามที่เห็นว่า บ้านหนองทอง
   
ประชากร
   หมู่บ้านหนองทองมีประชากร  จำนวน  ๑๕๘  ครอบครัว  ประชากรทั้งหมดประมาณ ๕๓๘  คน 
สถานที่สำคัญ
     ที่บ้านหนองทอง มีวัดประจำหมู่บ้านอยู่ หนึ่งวัด คือ  วัดทรายทองศรัทธาราม

   



พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน
      ประชาชนในหมู่บ้านหนองทอง มีอาชีพเกษตรกรรม โดยจะปลูก ข้าว และอ้อย  มี ดังนั้น  พืชเศรษฐกิจของหมู่บ้านหนองทองจึงเป็นข้าว และอ้อย ทำรายได้ให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก

                                               หมู่ที่ ๑๑  บ้านวังแม่พาย
ภูมินาม
                 บ้านวังแม่พาย  วังแม่พายอยู่บริเวณ เมืองบางพาน เหตุที่เรียกว่าวังแม่พาย เพราะ บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นห้วงน้ำใหญ่ ลึก











   ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวังน้ำ คำว่าแม่พาย สันนิษฐานว่า เป็นชื่อเรียกลำน้ำแห่งนี้ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมีขนาดใหญ่ติดต่อกัน เนื้อที่หลายร้อยไร่ เรียกกันว่าแม่พาย อย่างเช่นลำน้ำแม่ปิง หรือแม่พิง  ที่สำคัญของภาคเหนือ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า วังแม่พาย ภายในหมู่บ้านวังแม่พาย มีวัดโบราณ อยู่เรียกกันว่าวัดวังหลุม แต่ไม่พบร่องรอยของวัด วังหลุมแล้ว เหลือเพียงแค่เนินดินเท่านั้น  ภายในคลองแม่พาย สวนกล้วยอยู่เป็นจำนวนมากมาย มีวัดอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดวังจำปา
                                                 
หมู่ ๑๒ บ้านคลองสำราญ
ภูมินาม
คลองสำราญ เป็นคลอง ลำน้ำเดียวกับวังแม่พาย  เมื่อผ่านบริเวณวัดพระนอน ชาวบ้านเรียกขานกันว่า คลองสำราญ สันนิษฐานว่า ตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล ของหมู่บ้าน เพื่อให้ทุกคน มีความสุข สนุกสนาน สำราญใจ จึงตั้งชื่อว่าคลองสำราญ





สถานที่สำคัญ
            บริเวณ ด้านหน้าของคลองสำราญ ติดอยู่กับวัดโบราณ ชาวบ้านตั้งชื่อวัดพระนอน  เพราะพบพระนอน ประดิษฐานในบริเวณวัดเก่า








   


   หลวงพ่อดอกคูณ เกตุมี พระภิกษุวัดพระนอน หมู่ ๑๒  บ้านคลองสำราญ ได้ให้กล่าวว่า วัดพระนอนสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒๒ ไร่ ภายในวัดมีพระพุทธรูปเก่าแก่คือ หลวงพ่อศิลา ซึ่งปัจจุบันได้มีการบูรณะหลวงพ่อศิลาขึ้นมาใหม่ได้มีการโปกปูนปั้นหลวงพ่อศิลาขึ้นมาใหม่ ภายในวัดยังพบฐานเก่าซึ่งเป็นฐานที่ในสมัยโบราณได้มีพระนอนประดิษฐานอยู่ที่เนินดินนั้น ด้านข้างของวัดมีคลองซึ่งเป็นคลองวังแม่พายอยู่


หมู่ที่ ๑๓ บ้านคุยปอขาว

ภูมินาม   
   บ้านคุยปอขาว หมู่ที่ ๑๓   ที่ประชาชนเรียกชื่อหมู่บ้านนั้น มีที่มาจากคำว่า คุย ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า เนิน  บริเวณที่ดินที่มีความสูงกว่าปกติ  ส่วนปอขาวเป็นชื่อของต้นไม้ ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ทำปอได้  เมื่อลอกผิวออกมาแล้ว  จะนำเนื้อมาปลอก เนื้อมีสีขาวจึงเรียกว่าปอขาว  จึงรวมกันว่า คุยปอขาว

ประชากร
      ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่อำเภอพรานกระต่าย บางส่วนอพยพจากปทุมธานี

สถานที่สำคัญ
    บ้านคุยปอขาว มีสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน คือ ศาลาประจำหมู่บ้านสำหรับทำกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่น งานวัฒนธรรม ประเพณี หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทางหมู่บ้านดำเนินงาน  หมู่บ้านนี้ไม่มีวัด และโรงเรียน ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางไปทำบุญที่วัดคุยป่ายางหมู่ที่ ๒ บ้านคุยป่ายางและนักเรียนจะไปเรียนที่โรงเรียนบ้านคุยป่ายาง










วัฒนธรรม  ประเพณีและความเชื่อ
   หมู่บ้านคุยปอขาว มีวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ อาทิ การทำบุญกลางบ้าน การทำขวัญข้าว งานสงกรานต์ การอาบน้ำผู้ใหญ่ การทำบุญตามประเพณี มีความเชื่อเรื่องของ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์ อยู่ปะปนกันไป
 
ลักษณะของต้นปอขาว
   ต้นปอขาว มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีผล วิธีทำ ปอ จากต้นปอขาว  ลอกผิวหน้าต้นปอขาวออกก่อน แล้วนำเนื้อมาทุบตากแห้ง จากนั้นนำมาม้วนให้เป็นฝั่น ๆ เก็บไว้ใช้งาน ไว้สำหรับกรองหญ้าคามุ่งแฝก  มัดควาย และมัดสิ่งของ ปัจจุบันที่หมู่บ้านคุยปอขาวไม่มีต้นปอขาวแล้ว เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่จะตัดทิ้ง เพราะมีเชือกใช้แทน จึงทำให้ต้นปอขาวสูญพันธุ์ และที่สำคัญประชาชนไม่อนุรักษ์ต้นปอขาวไว้
            
หมู่ที่ ๑๔ บ้านทุ่งรวงทอง

ภูมินาม
      หมู่บ้านทุ่งรวงทอง เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านทุ่งรวงทองเพราะประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา โดยเฉพาะช่วงเก็บเกี่ยวทุ่งนาจะเหลืองอร่าม สวยงามมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านทุ่งรวงทอง  บ้านทุ่งรวงทองเป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากบ้านหนองขาม  เมื่อปี ๒๕๒๕  ในอดีตบ้านทุ่งรวงทองจะแบ่งออกเป็น ๓  กลุ่ม คือ  กลุ่มเกาะราง คือ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ  กลุ่มที่ ๒ คือ กลุ่มสามปัก  ที่เรียกว่า ปัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เลี้ยงวัว ควาย เป็นจำนวนมาก และกลุ่มสุดท้าย เรียกว่ากลุ่มเสือ  กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้หนองน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่  ต่อมาได้รวมกลุ่มทั้ง ๓  กลุ่มเข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหมู่บ้านในเวลาต่อมา ใช้ชื่อว่า บ้านทุ่งรวงทอง





   
ประชากร
   หมู่บ้านทุ่งรวงทอง มีประชากร  จำนวน ๑๓๓ ครอบครัว  ประชากรทั้งหมดประมาณ ๔๒๔ คน 

           สถานที่สำคัญ
        ที่บ้านทุ่งรวงทอง โรงเรียนคือโรงเรียนบ้านทุ่งรวงทอง ไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน


บ้านตะแบกงาม หมู่ที่ ๑๕
ภูมินาม      
   บ้านตะแบกงาม หมู่ที่ ๑๕  ในอดีตก่อนมาการตั้งบ้านตะแบกงามมีต้นตะแบกขนาดใหญ่จำนวนมาก  ประชาชนภายในหมู่บ้านจึงเรียกขานหมู่บ้านนี้ว่าบ้านตะแบกงาม  ปัจจุบันต้นตะแบกขนาดใหญ่ทั้งหมดได้ตัดโค่นจนหมดสิ้น เหลือให้เห็นเพียงต้นเดียว 




ต้นตะแบกงาม
ประชากร
   จำนวนประชากรในหมู่บ้าน มีประมาณ ๔๐๐ คน ส่วนใหญ่อพยพมาจากนครสวรรค์ 
สถานที่สำคัญ
    บ้านตะแบกงามมีสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน คือ ศาลประจำหมู่บ้านชื่อว่าศาลหลวงปู่ธงชัย  ทุกปีจะมีการทำบุญปีละ ๑ ครั้งหลังฤดูเก็บเกี่ยว  ภายในหมู่บ้านมีวัดโบราณชื่อวัดข่อย ซึ่งมีฐานของพระวิหารและเจดีย์  ปัจจุบันนี้ได้ถูกไถ่ทำลายเป็นไร่อ้อยและไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นแล้ว

หมู่ที่ ๑๖  บ้านหนองตะเข้

ภูมินาม   

ภายในหมู่บ้านนี้ มีหนองน้ำขนาดใหญ่มาก และหนองน้ำ เป็นรูปคล้ายกับจระเข้ จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านหนองตะเข้  หรือ อาจสันนิษฐานได้อีกอย่างหนึ่งว่า ในหนองแห่งนี้มีจระเข้ มากมาย จึงเรียก กันว่าหนองตะเข้  ในปัจจุบันไม่เห็น หนองดังกล่าวเป็นรูปจระเข้แล้ว แต่ประชาชน ยังเรียกกันว่าหนองตะเข้อยู่

 
หมู่ที่ ๑๗  บ้านเขานางทอง

ภูมินาม
   เขานางทอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยการวางผังของโบราณสถานวางตามแนวยาวเขามีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านบนสูงสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูม หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง ๑๒ เมตร ก่อด้วยอิฐปูนแลง  ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์ราย เล็ก ๓ องค์  กว้าง ๒ เมตร เท่ากันทุกองค์ ถัดมาเป็นวิหาร ๔ ตอน  ตอนแรกยาว ๑๓ เมตร  กว้าง ๖ เมตร   ดอนที่สองกว้าง ๑๐ เมตร  ยาว ๒๑ เมตร ส่วนด้ายท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก  เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร)
   ?.ณ  นั้นไซร้   พระยาธรรมมิกราช   ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน?.   พระเป็นเจ้าเถิงสิงหล  อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต   ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้?อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองศรีสัชนาลัย  เหนือจอมเขา?อันหนึ่งประดิษฐานไว้  ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎ  อันหนึ่ง ประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง
   ในหนังสือ ?เที่ยวเมืองพระร่วง? พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชาธิบายเกี่ยวกับเขานางทองไว้ดังนี้ยอดเขานี้มีกองแลงอยู่กองหนึ่งซึ่งอาจเป็นพระเจดีย์  ได้ตั้งอยู่บนเนินหนึ่ง  อีกเนินหนึ่งมีอะไรคล้ายบุษบกอยู่บนนั้น  ที่ระหว่างเนินทั้งสองนี้  มีแผ่นศิลาสลักเป็นรอยพระพุทธบาทไว้แผ่นหนึ่ง  นอกจากลายก้นหอยที่นิ้ว  กับจักรใหญ่อยู่ตรงฝ่าพระบาทมีลายต่างๆ แบ่งเป็นห้อง   ดูเป็นทำนองจีน มีอะไรคล้ายกับเก๋งจีน  อยู่ในนั้นคล้ายห้อง  ทางริมแผ่นศิลาข้างซ้ายพระบาท   แต่นอกรอยพระบาทออกมามีตัวอักษรขอมจารึกอยู่ แต่ศิลากะเทาะออกเสียมาก  อ่านไม่ได้ความ  พระบาทนี่เหลือที่จะกำหนดอายุได้อาจเป็นของเก่าครั้งพระร่วง?
  เหตุที่เรียกว่าเขานางทองเพราะ  เชื่อกันว่า เขาลูกนี้ เป็นที่อยู่ของนางทอง มเหสีของพระร่วง ดังตำนาน ของเขานางทองที่ว่า
   นางทองเป็นผู้หญิงสาวชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาค กลืนเข้าไปในท้อง พระร่วงเจ้าผู้ครองนครเมืองพานได้พบเห็นจึงได้เข้าช่วยโดยใช้อิทธิฤทธิ์ของ ตน ล้วงนางทองออกมาจากคอของพญานาค เนื่องจากนางทองเป็นคนที่มีสิริโฉมงดงามจึงเป็นที่สบพระทัยของพระร่วง ต่อมาจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี ( เมียหลวง ) และยังได้นางคำหญิงชาวบ้านอีกคนหนึ่งเป็นพระสนมเอก ( เมียน้อย ) อีกองค์หนึ่งด้วย อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงได้เสด็จไปเที่ยวในกรุงสุโขทัย พระมเหสีทองซึ่งเป็นคนที่มีความมานะอดทนขยันหมั่นเพียรในการทอผ้าด้วยกี่ทอ ผ้า ได้ไปซักผ้าอ้อมที่สระน้ำซึ่งพระร่วงได้สร้างพระตำหนักแพหน้าพระราชวังใน คลองใหญ่ไว้เป็นที่พักผ่อนพระอิริยาบถและซักผ้า ในวันนั้นขณะที่ซักผ้าอ้อมเสร็จและจะนำไปตาก (บริเวณที่ตากผ้าอ้อมนั้น ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย จะโล่งเตียนไปหมด เพราะพระร่วงสาปไว้สำหรับตากผ้าอ้อม) ระหว่างที่ตากผ้าอ้อมพระมเหสีทองก็กลัวว่าผ้าอ้อมจะไม่แห้งจึงทรงอุทานขึ้น เป็นทำนองบทเพลงเก่าว่า   "ตะวันเอยอย่ารีบจร นกเอยอย่ารีบนอน หักไม้ค้ำตะวันไว้ก่อน กลัวผ้าอ้อมจะไม่แห้ง"    ผลปรากฏว่าตะวัน หรือดวงอาทิตย์ไม่ยอมเคลื่อน จนกระทั่งผ้าอ้อมแห้ง จึงได้โคจรต่อไปและที่ คลองใหญ่หน้าพระราชวังแห่งนั้น พระร่วงได้เลี้ยงจระเข้ไว้ด้วย แล้วพอดีจระเข้ตัวนั้นเกิดหิวขึ้นมาจึงคาบพระมเหสีทองไป เพื่อเอาไปกินแต่ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระร่วงกลับจากสุโขทัยพอดี  พอกลับมาพระร่วงไม่เห็นนางทองจึงถามพวกนก พวกกวาง (สมัยนั้นเชื่อกันว่าสัตว์ทุกตัวพูดได้) ว่าพระมเหสีทองหายไปไหน พวกสัตว์ต่างๆ ก็บอกว่าพระมเหสีทองได้ถูกจระเข้คาบไปแล้ว พระร่วงได้ยินดังนั้นก็รีบตามไปทันที พระร่วงเดินทางไปทางไหนต้องการให้เป็นทางเดินก็ปรากฏเป็นทางเดิน ทางเกวียนตลอดทาง พระร่วงได้เดินทางผ่านนาป่าแดง คลองวัว และได้ขอน้ำกินแถวๆ หมู่บ้าน (หมู่บ้านนาป่าแดงปัจจุบัน) พระร่วงพูดว่า "ข้าหิวน้ำจังเลย ขอน้ำกินหน่อยได้ไหม" คนในหมู่บ้านไม่ให้กินจึงพูดว่า "น้ำข้าไม่มี" พระร่วงเป็นคนที่วาจาศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว พระร่วงจึงพูดว่า "เออ อย่างนั้นพวกมึงก็ไม่ต้องมีน้ำกินตลอดไป" จนป่านนี้นาป่าแดงจึงไม่ค่อยมีน้ำกินน้ำใช้กัน

พระร่วงได้ตามจระเข้ที่คาบพระมเหสีทองทันที่คลองทองแดง (ใกล้ ๆ ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) พอเจอกันก็สายเสียแล้ว จระเข้ได้กินพระมเหสีทองไปแล้ว พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหินอยู่ตรงนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระร่วงเสด็จกลับเข้าวังด้วยความสลดใจและไม่อาจลืมความรักความอาลัยในตัวพระ มเหสีทองได้จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่ง ในปัจจุบันนี้มีราษฎรจากอำเภอพรานกระต่าย มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่หลายสิบหลังคาเรือน
    เมื่อไม่นานมานี้บริเวณคลองวังพาน ( อยู่ใกล้กับวัดพานทองศิริมงคล ) ได้มีการขุดลอกคลองโดยเครื่องจักรกลของทางราชการ ได้ขุดพบ พระ เครื่องปั้นดินเผา เศษกระเบื้องตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือนของชาวเมืองโบราณเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญได้พบเสาไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าหน้าจะเป็นศาลาที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครในอดีต เป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเมืองพาน
มี ศิลาจารึกนครชุม ด้านที่ ๒ บรรทัดที่
๕๒ ? ๕๗ ปรากฏข้อความดังต่อไปนี้
   ?พระยาธรรมมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน?พระเป็นเจ็งเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้?อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองศรีสัชนา เหนือจอมเขา?อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎ อันหนึ่งประดิษฐ์สถานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง "






หมู่ที่ ๑๘ บ้านหนองศาลา

ภูมินาม   
   บ้านหนองศาลา หมู่ที่ ๑๘  แยกมาจาก หมู่ที่ ๓ บ้านหนองโสน เหตุที่เรียกว่าหนองศาลาเพราะมีหนองน้ำใหญ่  ติดต่อกับแม่น้ำประชาชนใช้สัญจรไปมา และคนจากจังหวัดพิษณุโลกจะมาพักที่หนองศาลา และได้มีการสร้างศาลาไว้กลางหนองน้ำ เพื่อไว้ให้ผู้คนพักผ่อนและหลบจากสัตว์ร้าย จึงเรียกกันว่า บ้านหนองศาลา  หนองศาลานี้มีขนาดใหญ่ประมาณสนามฟุตบอล มีทั้งหมด ๓  หนองด้วยกัน  ปัจจุบันนี้หนองศาลาไม่มีศาลาแล้วกลายเป็นอ่างเก็บน้ำซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ  ๑๒๐ ไร่ หนองทั้ง ๓ หนอง มีชื่อ ดังนี้  คือ หนองคล้า  หนองศาลา   และหนองกินน้ำ

ประชากร
   จำนวนประชากรในหมู่บ้าน มีจำนวน ๕๖๗ คน  มีบ้านเรือนจำนวน ๑๒๐ หลังคาเรือน

สถานที่สำคัญ
   อ่างเก็บน้ำ กลางหมู่บ้านหนองศาลา ซึ่งเป็นที่รวมของ  หนองคล้า หนองศาลา และหนองกินน้ำ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ในหมู่บ้านหนองศาลา


เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของตำบลเขาคีริส มีชัยภูมิที่เหมาะในการสร้างที่อยู่อาศัย จึงเป็นสาเหตุปัจจัยสำคัญทำห้ ที่ดิน ตำบลนี้ มีราคาสูงขึ้นมาก เพราะมีชาวต่างถิ่นต่างเข้ามากว้านซื้อที่ดินกันมาก และชาวบ้านได้ปล่อยที่ดินไป จำนวนมาก จึงเป็นที่น่าคิดว่า ที่ดินที่อยู่นอกสายตาผู้คนในอดีต กลับกลายเป็นที่ดินทองคำ ในปัจจุบัน เพราะอิทธิพลคำทำนายว่าน้ำจะท่วมโลก หรือสาเหตุใดกันแน่

ผู้เขียน สันติ อภัยราช
อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ครูภูมิปัญญาไทย  , ๗๗ คนดี แทนคุณแผ่นดิน ปี ๒๕๕๔



   















บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!