จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 03:49:43 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ?เล่าเรื่องเมืองชากังราว? สืบค้นโดย อาจารย์รุ่งเรือง สอนชู  (อ่าน 5708 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 01:19:55 pm »

?เล่าเรื่องเมืองชากังราว?
สืบค้นโดย อาจารย์รุ่งเรือง  สอนชู

             
          เมืองชากังราว เป็นชื่อของเมืองๆหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวขานมาเป็นเวลาที่ยาวนานมาแล้ว    ผู้สนใจทางประวัติศาสตร์หรือแม้แต่ชาวบ้านทั่วๆไปถ้ากล่าวถึง  ?เมืองชากังราว?  เป็นที่รู้กันว่าหมายถึง                     ?เมืองกำแพเพชร?
              ข้อความในจารึกหลักที่ 8 ศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏ ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1  ในหน้า        ที่ 111-117  ได้กล่าวถึงพระยาลิไทได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ที่เขาสุมนกูฏ(เขาพระบาทใหญ่) เมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1902 โดยมีพลเมืองจากเมืองต่างๆไปร่วมนมัสการ  เมืองดังกล่าวนั้นล้วนแต่เป็นเมืองขึ้นของเมืองสุโขทัย  รวมทั้งเมืองในจังหวัดกำแพงเพชรที่เข้าร่วมนมัสการเช่น  เมือง  ชากังราว  เมืองนครพระชุม และเมืองพาน  แต่ไม่มีเมืองกำแพงเพชรรวมอยู่ด้วย  จึงเชื่อว่าชาว เมืองกำแพงเพชร ได้เข้าร่วมนมัสการในครั้งนั้น แต่เรียกชื่อว่าเมืองชากังราว
               ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตเลขา เล่ม 1 หน้า 403-404 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชา     นุภาพ ที่ถือว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงกล่าวถึงชื่อเมืองประเทศราชซึ่งเกี่ยวข้องกับเมืองชากังราวไว้ว่า
               ?เมื่อกล่าวถึงชื่อเมืองประเทศราชที่ขึ้นกรุงศรีอยุธยา  ครั้งสมเด็จพระเจาอู่ทองรามาธิบดี มีชื่อเมืองพิษณุโลก  เมืองสุโขทัย  เมืองพิชัย  เมืองสวรรคโลก   เมืองพิจิตร  เมืองกำแพงเพชร  เมืองนครสวรรค์  ว่าเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยาทั้ง    7   เมือง   อีกแห่งหนึ่งพบในกฎหมายลักษณะลักพา   มีพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี บทที่ 1  ตั้งเมื่อปีมะแม  จุลศักราช  717  พ.ศ.  1899   (ควรจะเป็น  1898)  ภายหลังสร้างพระนครศรีอยุธยาได้ 5 ปี  มีเนื้อความว่า  นายสามขลากราบบังคมทูลด้วยเรื่องข้าหนีเจ้า  ไพร่หนีนายว่า  ?มีผู้เอาไปถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม  สองแก้ว  (สองแคว) สระหลวง 
ชาวดงราวกำแพงเพชร  เมืองท่านเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้  และมีผู้เอาทาสเอาไพร่ท่านมาขาย   และเจ้าทาสเจ้าไพร่แห่งพระนครศรีอยุธยาและมากล่าวพิพาทว่า  ให้ผู้ไถ่ไล่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายนั้นคืน  ข้าพระพุทธเจ้าขอเรียนพระราชปฏิบัติ?  จึงมีรับสั่งว่า  ?ขายกันแต่ในพระนครศรีอยุธยาดังนี้  และสูบังคับให้ผู้ไถ่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายสิยังยาก  อย่าว่าแต่ข้าหนีเจ้าไพร่หนีนาย  และเขาลักเอาไปขายถึงเฉลี่ยงสุโขทัย  ทุ่งย้าง  บางยม        สองแก้ว   สระหลวง  ชาวดงราวกำแพงเพชร  ใต้หล้าฟ้าเขียวขาดจากมือเจ้าทาสไพร่ไปไกล  จะมาพิพาทฉันเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี  เมืองสุพรรณบุรี  สะพง  คลองพับ  แพรกศรีราชาธิราช  พระนครพรหมนั้น    บมิชอบเลย?  กฎหมายบทนี้ตั้งภายหลังพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ราชสมบัติปีที่ 1 ?


               ในพระราชพงศาวดารฉบับเดียวกันนี้ ในหน้า   717-718     สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยเรื่องเมืองชากังราวได้อย่างละเอียดว่า
             ?ข้าพเจ้าจะต้องอธิบายเรื่องเมืองชากังราวไว้ตรงนี้สักหน่อยหนึ่ง ด้วยยังไม่ได้พบอธิบายในที่อื่นว่าเมืองชากังราว เป็นเมืองไหนแน่ในปัจจุบันนี้  ในหนังสือพระราชพงศาวดารมีเรื่องเกี่ยวกับเมืองชากังรายหลายแห่ง ในตอนแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชนี้ เป็นอย่างมาก แต่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ยังออกชื่อเสียงชากังราวลงไปถึงแผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบแผนที่เข้ากับเรื่องที่มาใน พระราชพงศาวดารเห็นว่า เมืองชากังราวจะเป็นเมืองอื่น นอกจากเมืองกำแพงเพชรทุกวันนี้ไม่ได้ และได้พบหลักฐานประกอบในพระราชกฤษฎีกาของ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เรียกชื่อเมือง "ชาวดงราว" กำแพงเพชรควบไว้ดังนี้ (คำว่า ชาดงราว นั้นเชื่อได้แน่ว่า ผู้คัดลอกเขียนผิดมาจาก ชากังราวนั่นเอง)?   
              จากข้อความที่นำมากล่าวนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสรุปไว้ว่า ?เมืองชากังราว?     คือ ?เมืองกำแพงเพชร?
               คำว่า ?ชาดงราวกำแพงเพชร?  หรือ ?ชากังราวกำแพงเพชร? ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่า เป็นคำที่เขียนชื่อเมืองไว้เป็นคู่ๆกันคล้ายกับเมืองอื่นๆ  เช่น ศรีสัชนาลัยสุโขทัย, สระหลวงสองแคว  หรือจะหมายความว่า ในพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ?ชากังราว?นี้ เป็นชากังราวที่กำแพงเพชรเท่านั้น  มิได้หมายถึง ?ชากังราว?ที่อื่น
               ผู้เขียนได้สืบค้นเอกสารต่างๆ ได้พบในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7     หน้า 404-406  กล่าวถึงชื่อประเทศและชื่อเมืองต่างๆซึ่งมักเรียกได้หลายชื่อ แม้แต่เมือง?ศรีสัชนาลัย? มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเมือง?ชากังราว?  ดังข้อความที่คัดลอกดังนี้ 
               ? 17   เรียกแว่นแคว้นเมืองสุพรรณบุรี  กาญจนบุรี  ราชบุรี  เพชรบุรีว่า  สุวรรณภูมิ  เช่นตัวอย่างในชินกาลมาลินีว่าพระเจ้ารามาธิบดีให้วติเดชอำมาตย์เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ  มาตีทวิศาขนคร  คือเมืองชัยนาท 
                 18.  เรียกเมืองสวรรคโลกว่า สัชนาลัยบ้าง  หฬิทวัลลียนครบ้าง  ชากังราวบ้าง
                 19.  เรียกเมืองสวางคบุรี ว่าเมืองบลางพนบ้าง  เมืองพระบางบ้าง ?
                จากข้อความที่นำมาเสนอทั้งหมดนี้  ย่อมที่จะเป็นข้อสรุปได้ว่า  ?เมืองชากังราว? ตามที่ตรวจพบเป็นชื่อของเมืองสองเมืองที่มีชื่อซ้ำกันคือ ?เมืองกำแพงเพชร?  และ ?เมืองศรีสัชนาลัย?
               จึงเป็นที่น่าสงสัย พระราชพงศาวดารกรุงเก่า  ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213   ได้กล่าวถึง ?สมเด็จพระบรมราชาธิราช(พงั่ว) ที่ 1?ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง ?ชากังราว? ถึง 5  ครั้งนั้น ท่านปราบปราม ?เมืองชากังราว? ไหนแน่
               
                                                                                                                                                                                                                                                                                             อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1.สำนักพิมพ์คลังวิทยา.กรุงเทพฯ:2516
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2545.
คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1.                                                                                       
                   กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521.

             
           
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!