จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 01:35:45 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วันฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม  (อ่าน 4411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 27, 2011, 06:02:25 pm »

ประกอบการบรรยาย วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น. ณ เรือนจำกลางกำแพงเพชร

ออกอากาศ สถานีวิทยุ อสมท.กำแพงเพชร คลื่น ๙๒.๗๕  วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ รายการลั่นเมือง ๑๑.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.

ออกอากาศสถานีวิทยุ  เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร คลื่น  ๑๐๐.๒๕ วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ รายการรอบรู้ ชูประเด็น เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

ออกอากาศ สถานีวิทยุ กองทัพภาค ๓กำแพงเพชร คลื่น  ๑๐๕  วันจันทร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๒๐.๐๐น.- ๒๑.๐๐ น.

ออกอากาศ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกำแพงเพชร คลื่น ๙๗.๗๕  วันอังคารท่ีีี่ ๓ พฤษภาึคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐น. - ๑๑.๐๐ น.




 วันฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
วันฉัตรมงคล   (อ่านว่า ฉัด ? ตระ- มง ? คน )
วันฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ พระแสงประจำรัชกาล ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติตามราชประเพณี (ความหมาย ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
      
           พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เป็นลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ จึงถือว่าวันที่ ๕ พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันมงคลสมัย พสกนิกรและรัฐจึงได้พร้อมใจกันแสดงความรักและความจงรักภักดีต่อพระองค์ โดยร่วมกันจัดพระราชพิธีขึ้นเรียกว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล หรือ รัฐพิธีฉัตรมงคล



เครื่องเบญจกกุธภัณฑ์ หรือเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ เมื่อประมวลได้ ๕ชนิด ดังนี้

 
พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับประดับพระเศียร สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 

เพื่อทรงใช้ในพระราชพิธีสำคัญทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร ยอดพระมหามงกุฎเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ยังไม่มีพระจอนต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระจอนและประดับเพชรแทนยอดพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานชื่อเพชรว่า "พระมหาวิเชียรมณี" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎจากพราหมณ์มาทรงสวม ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าทรงรับพระราชภาระหนักในการปกครองแผ่นดินและราษฎร


 
พัดวาลวิชนีและพระแส้หางจามรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พัดทำด้วยใบตาลปิดทองทั้งสองด้าน ด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองคำลงยา ส่วนพระแส้ขนจามรีทำด้วยขนจามรีซึ่งเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในธิเบต ด้ามเป็นแก้ว พัดวาลวิชนีและพระแส้ขนจามรีเปรียบเสมือนพระเมตตาบารมีปกเกล้าฯ พสกนิกรได้พระบรมโพธิสมภารให้ร่มเย็น
 
 
พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นสัญลักษณ์แสดงการได้พระราชอำนาจ อาญาสิทธิ์ในการปกครอง  แผ่นดินและ จะทรงขจัดศัตรูให้สิ้นด้วยพระบรมเดชานุภาพ สร้างขึ้นในสมัยที่ขอมมีอำนาจปกครองดินแดน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรางปราบดภิเษกแล้ว  ชาวประมงเมืองเสียมราฐได้ ทอดแหพบพระขรรค์องค์นี้และนำมามอบแก่กรมการเมือง เสียมราฐ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของไทย ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จ
ราชการเมืองพระตะบองและเสียมราฐในขณะนั้น จึงทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราช วันที่เชิญพระแสงขรรค์เข้าใกล้เขตพระราชฐานเกิดพายุฝนผ่าที่ประตูวิเศษ ไชยศรี และพิมานไชยศรีซึ่งเป็นเส้นทางที่อัญเชิญพระขรรค์ผ่านเข้าเขตพระราชฐานอีก ด้วย โปรดเกล้าฯ ให้ทำด้ามด้วยทองคำลงยาราชาวดีลายเทพพนม และฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดี พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลทรงใช้เป็นพระแสงราชศาสตราในพระราชพิธีสำคัญ
 
ธารพระกร ธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์หุ้มทองลักษณะคล้ายพระแสงดาบยอดทำเป็นรูปเทวดา ชักยอดออกแล้วจะกลายเป็นพระแสงเสน่าหรือมีดสำหรับขว้าง ธารพระกรนี้เป็นเครื่องหมายแห่งการปกครองที่เปี่ยมด้วยพระปรีชาญาณอันสุขก่อ ให้เกิดความมั่นคงแก่แผ่นดิน
 

ฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร
ใช้สวมเฉพาะในงานพระราชพิธีที่ต้องประทับเท่านั้น ฉลองพระบาทเชิงงอนเป็นเครื่องหมาย
แสดงว่าจะทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่แผ่นดินทุกอาณาเขตที่เสด็จพระราชดำเนินไป
เครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ แต่ด้วยลักษณะ
งดงามและฝีมืออันปราณีตของช่างหลวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์แสดง
ถึงภูมิปัญญาที่ช่างโบราณถ่ายทอดออกมาอย่างวิจิตร และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่
สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

 
                                                        พระราชพิธีฉัตรมงคล หรือ รัฐพิธีฉัตรมงคล

 
                                                นพปฎลมหาเศวตฉัตร

พระมหาเศวตฉัตร หรือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร (นพ=เก้า ปฎล=ชั้น เศวต=สีขาว) เป็นฉัตรผ้าขาว ๙ ชั้น มีระบาย ๓ ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์ เช่นเดียว กับมงกุฎของชาวยุโรป
ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร ๖ ชั้น อันหมายถึง สวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร ๙ ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง ๘ ทิศ ชั้นล่างสุด หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง ๘ ทิศปัจจุบัน มีพระมหาเศวตฉัตรแห่งรัชกาลปัจจุบัน อยู่จำนวน ๗ องค์ อันได้แก่๑. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ท้องพระโรงกลางเหนือพระที่นั่งพุดตานถม)
๒. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (เหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก)
๓. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน (เหนือพระแท่นราชบัลลังก์ เบื้องหน้าพระที่นั่งบุษบกมาลาฯ)
๔. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ(เหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์)
๕. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (มี ๒ องค์ คือ เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์)
๖. พระที่นั่งอนันตสมาคม (ท้องพระโรงกลางเหนือพระแท่นราชบัลลังก์)
         การ จัดพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพิธีที่จัดต้อนรับหรือรับรองฐานะความเป็นประมุขของสังคม อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพ่อขุนผาเมือง ได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ดังปรากฏในหลักฐานในศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท
ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาติทุกสาขา ซึ่งรวมถึง การฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์
พระ มหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า "พระบาท" นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" และที่สำคัญคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร ๙ ชั้น
ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณ โดยในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เป็นวันจุดเทียนชัย และวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
     พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็น วันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด            
             ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่อง ราชูปโภคแต่เดิมมา ควรมี่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น
 

การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริ เริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณ ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นวันจุดเทียนชัย และวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓  อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สำหรับขั้นตอนของพิธีที่สำคัญต่างๆ แบ่งออกเป็น ๕ลำดับ ดังนี้  
๑.ขั้นเตรียมพิธี
๒.พิธีเบื้องต้น
๓.พิธีบรมราโชวาท
๔.พิธีเบื้องปลาย และ
๕.เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
พระราชพิธีที่ประกอบขึ้นก่อนวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก

๑. ขั้นเตรียมพิธี

          มีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่สำคัญต่างๆ ๑๘ แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ณพุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงและ ทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป

พระพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง ๑๘ แห่ง คือ
๑.จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท
๒.จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ
๓.จังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
๔.จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
๕.จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
๖.จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย
๗.จังหวัดนครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม
๘.จังหวัดน่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง
๙.จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย
๑๐.จังหวัดเพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ
๑๑.จังหวัดชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ
๑๒.จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร  
      ๑๓.จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช
๑๔.จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง  
๑๕.จังหวัดจันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ
๑๖.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
๑๗.จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีณรสโมสร
๑๘จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง
          น้ำสำหรับมูรธาภิเษกเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา ในแม่น้ำสำคัญทั้ง 5 ของไทย คือ
๑.แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
๒.แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี
       ๓.แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม
๔.แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
๕.แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก
          และน้ำ ๔ สระ คือสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ
          นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎดวงพระบรมราชสมภพ (ดวงเกิด) และแกะพระราชลัญจกร (ดวงตราประจำรัชกาล) โดยได้มีการประกอบพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓  ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒. พิธีในเบื้องต้น
          มีการตั้งน้ำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก

๓. พิธีบรมราชาภิเษก
          เริ่มด้วยการสรงพระมุรธาภิเษกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรพระราชอาสน์ ราชบัณฑิตและพราหมณ์นั่งประจำ ๘ ทิศ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุ้มครอง (ในรัชกาลนี้ได้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน)

          ในวันที่ ๕ พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก แล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศภายใต้สตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร ๗ ชั้น)
สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ทำพิธีพวายน้ำเทพมนต์เวียนไปครบ ๘ ทิศ เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ (จิตต์ ณ สงขลา) ประธานวุฒิสมาชิกสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ และนายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรถวายพระพรเป็นภาษาไทย พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ชั้น) แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์ร่ายเวทเปิดศิวาลัยไกลาลทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ ด้วยภาษามคธ
          สำหรับพระสุพรรณบัฎ ได้จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
          เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนี ถวายพระพรชัยมงคลด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตอบ พระราชอารักษาแต่ปวงชนชาวไทย ด้วยภาษาไทยว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
          เมื่อพระราชครูวามเทพมุนีรับพระราชโองการด้วยภาษามคธและภาษาไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรางหลั่งน้ำทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา
จากนั้นทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ พระธำมรงค์รัตนวราวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ สู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๘๐ รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราชถวายอดิเรกเป็นปฐม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย

4. พิธีเบื้องปลาย เสด็จออกมหาสมาคม

          เวลาบ่ายของวันที่ ๕ พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคมที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ให้คณะรัฐมนตรี คณะฑูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบทูลถวายพระพรชัยมงคล โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กราบทูลในนามคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั่วพระราชอาณาจักร และพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานรัฐสภา กราบทูลในนามประชาชนชาวไทย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการตรัสตอบขอบใจทั่วกัน แล้วเสด็จขึ้น
          นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินี ประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในพระบวรพุทธศาสนา ถวายพระบังคมพระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร
๕. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
          การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค จัดเป็นราชประเพณีที่สำคัญพิธีหนึ่ง เมื่อเสด็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกรได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่
การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
          แต่เดิมเป็นงานพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่อง ราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในเดือนหก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ใครฟังก็ไม่ค่อยเข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีมาแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภค ทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัยอะไร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
          ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก

          ในสมัย๕ วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน ๑๒จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน ๑๒ ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีการพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอม ให้เลื่อนงานวันฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่อย่างเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน
การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน
          ขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น ๓วัน คือวันที่  ๓พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วย ทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
          ในวันที่ ๔ พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขึ้นประดิษฐานบนแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
          ในวันที่ ๕ ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จ นมัสการพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคล สำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
          ในงานพระราชพิธีฉันมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบขวบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาว ไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุก ปี
และเนื่องในมหามงคลสมัยในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปีในวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง
 
การรับแต่งตั้งเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยการรดน้ำ ในพิธีการแต่งตั้งต่าง ๆ สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเรานี้ มีพระราชพิธีสืบเนื่องมาแต่โบราณกาลว่า ต้องมีพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกเสียก่อน คือการรดด้วยน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ละเหนือผู้รับการอภิเษกนั้น ๆ ส่วนน้ำที่จะใช้เป็นน้ำมูรธาภิเษกนั้น คือน้ำที่ได้จากสถานที่ต่างๆ อันทางราชการถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จะเป็นน้ำในแม่น้ำใดแล้วแต่ความเชื่อถือ และกำหนดเอาเป็นยุคเป็นสมัยไป การอภิเษกเท่าที่ปรากฏมีดังนี้
?   อุปราชาภิเษก คือ การสรงน้ำมูรธาภิเษกในคราวที่เลื่อนเป็นพระมหาอุปราชา
?   อุปภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในคราวมงคลสมรส
?   ราชาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในคราวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์สืบสันติวงศ์ โดยเหตุการณ์ปกติ
?   ปราบดาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในคราวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ โดยเหตุการณ์ ที่ต้องทำศึกปราบปรามศัตรูลุล่วงไป
?   อินทราภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในคราวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์สืบสันติวงศ์ โดยอาการที่บ้านเมืองเสี่ยงรถมาจำเพาะเจาะจงตัวเข้า (ราชรถมาเกย)
?   โภคภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในคราวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์สืบสันติวงศ์ โดยฐานะที่เป็นผู้กอปรด้วยโภคสมบัติอันสมบูรณ์ยิ่ง และทางบ้านเมืองเจาะจงเชิญขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
?   มังคลาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในมงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ มาแล้วนานที่สุดเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่งที่ล่วงลับไปแล้ว ในพระราชวงศ์เดียวกัน
?   ทวีธาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในมงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ มาแล้วนานเป็นสองเท่าของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่ง ในพระราชวงศ์เดียวกัน
?   รัชดาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในมงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ มาแล้วครบ ๒๕ ปีบริบูรณ์
?   กาญจนาภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในมงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ มาแล้วครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์
?   พัชราภิเษก คือ พิธีการสรงน้ำมูรธาภิเษก ในมงคลสมัยที่ได้มีเวลาอยู่ในราชสมบัติ มาแล้วครบ ๗๕ ปีบริบูรณ์
เบญจราชกกุธภัณฑ์   คำแปล

น. คือเครื่องประดับพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน มี ๕ อย่าง คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท, บางแห่งก็ว่ามีอย่างนี้ คือ ๑. เศวตฉัตร ๒. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๓. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๔. พัดวาลวีชนี หรือแส้จามรี ๕. ฉลองพระบาท.
เครื่อ งเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์นี้ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่น ๆ เก็บรักษาไว้ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามนเทียร ภายในพระบรมมหาราชวัง เดิมเจ้าพนักงานที่รักษาเครื่องราชูปโภคได้จัดพิธีสมโภชเครื่องราชูปโภคและ เครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นประจำทุกปี โดยเลือกทำในเดือน ๖ เพราะมีพระราชพิธีน้อย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าวันพระบรมราชาภิเษก เป็นวันมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นเป็น ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๔  พระราชทานชื่อว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชแห่งกรุงรัตน โกสินทร์ เปลี่ยนเรียกชื่อพระราชพิธีว่า พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และ พระราชพิธีฉัตรมงคล สืบมาจนปัจจุบันนี้
                                                                                            สันติ อภัยราช



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2011, 06:39:52 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!