จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
กันยายน 19, 2024, 06:44:13 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดที่รักของมหาราชดำ พระนเรศวร เนื่องในวันที่ ๒๕ เมษายน วันสวรรคต ของพระองค์  (อ่าน 42215 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1432


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 25, 2011, 01:07:28 pm »

ประวัติพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันที่ ๒๕ เมษายน วันสวรรคต ของพระองค์

http://www.watnai.org/center%20civilization%20thai%20wichianburi/naresuanthai%20history.html

คนรักของมหาราชดำ
มณีจันทร์ มณีรัตนา มเหสีในพระนเรศวร

ผู้หญิงที่พระนเรศวรรักที่สุดรักตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่น อยู่หงสาวดี จนกระทั้งประกาศอิสรภาพ และจนสวรรคตไม่เคยเปลี่ยนแปลง เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ มณีจันทร์ มีตัวตนจริงไม่ใช่อุปโลกขึ้นมา มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลายตอน ดังมีรายละเอียด ดังนี้






คำให้การขุนหลวงหาวัด พระราชพงศาวดารแปลจากภาษารามัญ
คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระราชพงศาวดารแปลจากภาษารามัญ) ความจริงเป็นเอกสารฉบับเดียวกับคำให้การชาวกรุงเก่า (พงศาวดารไทยตามฉบับพม่า) ตามต้นฉบับในหอเมืองย่างกุ้งของพม่า ทางพม่าได้จดคำให้การของเชลยศึกที่เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยกรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยล่ามชาวมอญที่รู้ภาษาไทยจดคำให้การเป็นภาษามอญ แล้วค่อยแปลเป็นภาษาพม่าในภายหลังซึ่งปัจจุบันได้ข้อยุติว่า คำให้การชาวกรุงเก่าเป็นเอกสารฉบับเดียวกับโยธยา ยาสะเวง (พงศาวดารอยุธยา)ของพม่า ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชชนกนาถ ใน จ.ศ. ๙๕๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๑๓๓) ความว่า




? ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐาน อันอัครมหาเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงทำการปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญขึ้นให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัฏสมญาแล้ว ฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหสีพระนามชื่อพระมณีรัตนา แล้วถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชย์สมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลโทศก อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช ?






[แก้] โดยเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีอาสวยุทธ
ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารฯ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ของไทย พบว่ารัชกาลสมเด็จพระนเรศมีการกล่าวถึงพระราชพิธีอาสวยุทธและการต้อนรับคณะทูตกัมพูชาที่เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการยังราชสำนักศรีอยุทธยา ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่พระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จฯ ทางชลมารคและการเสด็จออกรับทูตกัมพูชาในจดหมายเหตุสเปน ความว่า

?ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมศกเบญจศก สมเด็จพระนเรศเป็นเจ้า ครั้นเสด็จการพระราชพิธีอาสวยุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี...?

พระราชพิธีอาสวยุทธ หมายถึง พระราชพิธีแข่งเรือเสี่ยงทายระหว่างพระมหากษัตริย์กับพระอัครมเหสี



การพระราชพิธีอาสวยุทธที่กระทำกันใน จ.ศ. ๙๔๕ ปีมะแม เบญจศก (พ.ศ. ๒๑๒๖) นั้นน่าจะผิด เพราะปีศักราชดังกล่าวยังคงอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชผู้พระราชบิดาแต่เมื่อสอบกับ พระราชพงศาวดารฯฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์แล้ว ควรปรับเป็น จ.ศ. ๙๕๕ มะเส็งศก (พ.ศ.๒๑๓๖) ช้ากว่ากัน ๑๐ ปี ดังนั้นการต้อนรับทูตกัมพูชาใน จ.ศ. ๙๔๙ ปีกุนนพศก (พ.ศ.๒๑๓๐) ควรปรับปีศักราชให้ช้าตามไปด้วยอีก ๑๐ ปีเช่นกัน จึงควรเป็น จ.ศ. ๙๕๙ ปีระกานพศก (พ.ศ. ๒๑๔๐) โดยทั้งสองเหตุการณ์จะอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งสิ้นตรงตามที่กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดารฯ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)

[แก้] การช่วยเหลือจมื่นศรีสรรักษ์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองยังมีพระยศเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ได้ไปก่อเหตุทำร้ายพระยาแรกนา ทำให้สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระพิโรธ ทรงรับสั่งให้จับไปขังคุก 5 เดือน แต่เจ้าขรัวมณีจันทร์ทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทน จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม



[แก้] บทบาทในภาพยนต์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้ทรงสมมติบทบาทของเจ้าขรัวมณีจันทร์ในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่ามณีจันทร์นั้นเป็นพระราชธิดาลับในพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประสูติเเด่พระนางจันทราเทวี พระนางจันทราเทวีทรงฝากพระองค์ไว้กับพระมหาเถรคันฉ่อง พระสหายสนิท คือ องค์ดำ (พระนเรศวร) และ บุญทิ้ง (พระราชมนู) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ในพระสุพรรณกัลยาภายหลังได้ติดตามพระองค์ดำกลับกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดนางได้โปรดเกล้าฯขึ้นเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2011, 05:43:05 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!