จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 08:04:31 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๒ เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย ออกอากาศ อสมท.กำแพงเพชร ๒เมษา ๕๔ เวลา๑๑.๐๐ น.  (อ่าน 3498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 01, 2011, 04:14:09 pm »

                                 วันอนุรักษ์มรดกไทย
[/color]
วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติใน สาขาต่าง ๆ คือ

    *
      พุทธศาสนา
    *
      ภาษาไทยและ วรรณกรรม
    *
      ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
    *
      งานช่าง
    *
      สถาปัตยกรรม
    *
      ดนตรีไทย

     เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี เวียนมาบรรจบครบรอบ ๓๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๘    คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘   ประกาศให้วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปีเป็น   "วันอนุรักษ์มรดกของชาติ"   เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้มีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ พระราชภารกิจในการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ คือ พุทธศาสนา ภาษาไทยและวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย จึงกำหนดให้มีวันอนุรักษ์มรดกไทยขึ้น

          ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมไทยนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในอันที่จะหล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
        แต่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วผลทำให้มรดกทาง วัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ นับตั้งแต่โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิต ค่านิยมและระบบประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่นได้รับผลกระทบและถูกละเลยทอดทิ้ง จากคนไทย และหน่วยงานต่างๆ รัฐบาลจึงดำเนินการวันอนุรักษ์มรดกไทย
          แม้ว่าในภาครัฐ จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรง แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ทันเหตุการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องหามาตราการในการที่จะประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ให้มามีส่วนร่วมในการรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้มากขึ้น
        กรม ศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการที่จะกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัดในรอบปีหนึ่ง ๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้เกิดแนวความคิด ความต้องการในอันที่จะทำนุบำรุงรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ
        ดัง นั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ องค์เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพระองค์ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงอนุเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติตลอดมา และในวันที่ 23 กรกฏาคม 2532 ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ
1.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
2.เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
3.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วม ในความเป็นเจ้าของโบราณสถานโบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษา ได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
4.เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5.เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
6.เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป
    
        ใน วันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการการจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัษนศึกษาโบราณสถานและสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ

 วันอนุรักษมรดกไทย มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูและอนุรักษณ์มรดกโลกกำแพงเพชร        

   อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชี " มรดกโลก " เมื่อ 12 ธันวาคม 2534 ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 กลุ่ม คือ
1.บริเวณภายในกำแพงเมือง เนื้อที่ 503 ไร่ มีโบราณสถาน 14 แห่ง เช่นวัดพระแก้ว วัดพระธาตุ
2.บริเวณอรัญญิกโบราณ เนื้อที่ 1611 ไร่ มีโบราณสถานกว่า 40 แห่ง
3.บริเวณนอกเมืองด้านตะวันออก เนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน มีโบราณสถาน 15 แห่ง
4.บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง(เมืองนครชุม) เนื้อที่ 30 ไร่ 3 งาน มีโบราณสถาน 12 แห่ง

การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
 
  กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 ? 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน

     โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ยังเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชน ในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต ดังนั้นคณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและฑรรมชาติ ของโลก จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุโขทัยและเมืองบริวารคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีพุทธศักราช 2534
   โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมืองวัดที่สำคัญอาทิ

    วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ถัดมาเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบ
เอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วัดพระแก้วแห่งนี้

วัดพระนอน

        มีกำแพงศิลาแลงปักล้อมรอบวัดไว้ทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยม มีห้องอาบน้ำและศาลาน้ำ ฐานและเสาเป็นศิลาแลงมีทางเท้าปูด้วยศิลาแลง มีโบสถ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า ด้านหลังเป็นวิหารพระนอน ก่อสร้างด้วยเสาศิลาแลงขนาดใหญ่ หลักฐานทางประติมากรรมที่พบคือ ใบเสมารูปเทพพนม พาลีกับทรพี สันนิษฐานว่าสลักขึ้นในสมัยอยุธยา

วัดพระสี่อิริยาบถ

        หรือวัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหารขนาดใหญ่ยกฐานสูง 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน นอน อยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียงพระยืนขนาดใหญ่ที่สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม

วัดพระสิงห์

        ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมมีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณมีรูปสิงห์ รูปนาค ประดับ

วัดช้างรอบ

        เป็นวัดที่สร้างบนยอดเนิน มีพระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ที่ชั้นฐานลานประทักษิณประดับด้วยช้างทรงเครื่องครึ่งตัว จำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างแต่ละเชือกมีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษาในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น


    

     อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการประกาศให้เป็น มรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534  เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ชาวกำแพงเพชร ระลึกถึง พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ที่ทรงมาเป็นประธานเปิด
อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เมือวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๓๔ จากนั้นอีก ๙ เดือน กำแพงเพชร จึงได้รับยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก
          ยังความภูมิใจมาสู่ชาวกำแพงเพชร ทุกผู้คน และระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ที่มีส่วนสำคัญ ในการอนุรักษ์ มรดกกำแพงเพชร ที่ยิ่งใหญ่ คืออุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ของเรา
                                                              สันติ อภัยราช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2011, 05:07:25 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!