จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 07:47:51 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประกวดโต๊ะหมู่บูชา ในวันวิสาขบูชา ปี๒๕๕๓ ที่วัดพระบรมธาตุ ทำหน้าที่ประธานกรรมการ  (อ่าน 6405 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 12:32:34 am »

      การทำบุญไม่ว่าบุญเล็กหรือบุญใหญ่ ในศาสนาพุทธ จำเป็นต้องมีที่ตั้งพระพุทธรูป เพื่อไว้ในที่เหมาะสมในทุกหนทุกแห่ง ที่มีงานบุญ จึงพัฒนามาเป็น โต๊ะหมู่บูชาในที่สุด
          การจัดโต๊ะหมู่บูชา  เป็นวัฒนธรรมที่มีมาช้านาน  นับเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยอย่างหนึ่ง  ในการนำเอาภูมิปัญญามาประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้สวยงาม  เพื่อเป็นพุทธบูชา  อย่างไรก็ดี 
ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า  การจัดโต๊ะหมู่บูชานั้น  มีมาตั้งแต่ยุคสมัยใด  ในปัจจุบัน  การจัดโต๊ะหมู่บูชา  ใช้ในพิธีต่าง ๆ เช่น  การทำบุญ  ฟังเทศน์  พิธีถวายพระพร  ตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  หรือพระบรมราชินีนาถ  กล่าวได้ว่า  การจัดโต๊ะหมู่บูชาใช้ในพิธีที่เกี่ยวข้องกับพิธีสงฆ์  ทั้งในพระราชพิธี  รัฐพิธี  หรือ  ราษฎร์พิธี  ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล 
ในการตั้งโต๊ะหมู่บูชานิยมประดิษฐานพระพุทธรูปไว้สูงสุดกว่าสิ่งอื่น ๆ ในโต๊ะ  เพื่อเป็นประธานแทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พร้อมด้วยเครื่องบูชาตามคตินิยมของชาวพุทธ  ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมาจากสมัยพุทธกาล  เมื่อจะบำเพ็ญกุศลก็จะนิยมนิมนต์พระพุทธเจ้าเป็นประมุขในงานนั้น ๆ เพื่อให้พร้อมด้วยพระรัตนตรัย  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์ 
เครื่องบูชาที่นิยมตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาโดยทั่วไปนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย  ธูป  ๓  ดอก  เทียน  ๒  เล่ม  และดอกไม้  การจุดธูป  ๓  ดอก  เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า  ๓  ประการคือ  ๑.  บูชาพระปัญญาคุณ  ๒.  บูชาพระวิสุทธิคุณ  ๓.  บูชาพระมหากรุณาธิคุณ  ส่วนเทียน 
๒  เล่มนั้น  มีความหมายต่างกัน  คือ  เล่มที่อยู่ด้านขวาของพระพุทธรูป  หรือ  ด้านซ้ายของผู้จุดเทียน  หมายถึง  พระธรรม  ส่วนเล่มที่อยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูป  หรือ ด้านขวาของผู้จุดเทียน  หมายถึง  พระวินัย  เครื่องบูชาอื่น ๆ คือ  พานพุ่ม  หรือ  พานดอกไม้  แจกันดอกไม้  กระถางธูป  เชิงเทียน  โดยมีจำนวนมาก  น้อย  แตกต่างกันไปตามจำนวนของโต๊ะหมู่ที่ใช้
สำหรับโต๊ะหมู่ก็มีจำนวนโต๊ะต่อหมู่ที่แตกต่างกันคือ  โต๊ะถวายพระพร,  โต๊ะหมู่สัมนา,  โต๊ะหมู่พิธีส่วนตัว, โต๊ะหมู่  ๓, โต๊ะหมู่  ๔ ,  โต๊ะหมู่  ๕ ,  หมู่  ๖ ,  หมู่  ๗ , หมู่  ๙ , หมู่  ๑๒,  หมู่  ๑๔,  หมู่  ๑๕
        การฝึกให้นักเรียนรู้จักการจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นเรื่องที่ดี เพราะโต๊ะหมู่บูชาเกือบจะกลายเป็นชีวิตประจำวันของคนไทยไปแล้ว การทบทวนและเรียนรู้ การจัดโต๊ะหมู่บูชาที่วัดพระบรมธาตุวันวิสาขบูชา
ภายใต้การอำนวยการของ พระศรีวชิราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ เป็นเรื่องที่ควรปฎิบัติ วันนี้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางศาสนพิธี จากทุกหน่วยงานมาเป็นกรรมการ และผลการตัดสิน ไม่ใช่เรื่องสำคัญๆอยู่ที่คนไทยเข้าใจในวิถีชีวิตไทยของเรา เพราะเราเป็นชาวพุทธควรเข้าใจในเรื่องการจัดโต๊ะหมู่บูชา อย่างถ่องแท้ และแสดงถึงการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี แม้เพียงวัตถุ ก็ตาม
                                                                สันติ อภัยราช
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!