จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤษภาคม 02, 2024, 07:41:40 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เจ้าเมืองกำแพงเพชรไปเมืองจีนสืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง สอนชู  (อ่าน 4622 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 02:59:16 pm »

เจ้าเมืองกำแพงเพชรไปเมืองจีน
สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง  สอนชู
                 หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า   115     ได้กล่าวถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ว่าได้ยึดเมืองพิษณุโลกได้โดยทำเป็นทีว่าเอาข้าวมาขาย   ให้หลวงพะงั่วเจ้าเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมาครอบครอง  พระยาลิไทต้องยินยอม และต้องส่งบรรณาการเป็นอันมาก   ในเวลาต่อมาพระยาลิไทได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ได้คืนเมืองพิษณุโลกให้กับพระยาลิไท   ส่วนหลวงพะงั่วซึ่งเคยครองเมืองพิษณุโลกกลับไปครองเมืองสุพรรณบุรีตามเดิม  พระยาลิไทครองเมืองพิษณุโลก  ทรงตั้งพระมหาเทวีซึ่งเป็นขนิษฐาครองเมืองสุโขทัย  และทรงตั้ง ติปัญญาอำมาตย์(หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระยาญาณดิส) ครองเมืองกำแพงเพชร
              หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 116-117 ในช่วงครองเมืองกำแพงเพชรอยู่นั้น พระยาญาณดิสได้ขอพระแก้วมรกตจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช(หลวงพะงั่ว)ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยามาไว้ที่เมืองกำแพงเพชร
             ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษกเล่ม 7  หน้า   576-579   มีข้อความที่สรุปได้ว่า    จุลศักราช 762 (พ.ศ.1943)  เจ้าแสนเมืองมาได้ทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่  หลังจากนั้นประมาณสองเดือนเศษ   ท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเคยหลบหนีมาพึ่งพาพระยาญาณดิสที่เมืองกำแพงเพชร  ไปนำทหารแปดหมื่นจากเชียงใหม่มาล้อมเมืองกำแพงเพชรไว้       ให้พระสุคันธเถระเข้าเจรจาขอให้พระยาญาณดิสยอมถวายพระแก้วมรกตให้กับท้าวมหาพรหม   พระยาญาณดิสเห็นจะสู้รบไม่ได้  จึงแต่งบรรณาการเครื่องช้างอย่างดีส่งไปถวายแด่ท้าวมหาพรหม  ขอเป็นทางราชไมตรีและยอมถวายพระแก้วมรกตให้  แต่ขอให้ท้าวมหาพรหมถอยทัพไปก่อนจึงจะส่งพระแก้วมรกตตามไปถวายภายหลัง  เพราะว่ากองทัพจากกรุงศรีอยุทธยา(สมเด็จพระรามราชาธิราช กษัตริย์ องค์ที่ 5 แห่งกรุงศรีอยุธยา) ยกทัพมาถึงปากน้ำโพแล้ว  ถ้าเสด็จมาถึงก็จะไม่ได้พระแก้วมรกตไป  ท้าวมหาพรหมจึงถอยทัพไปตั้ง ณ เมืองตาก  ครั้นครบ ๗ วัน พระเจ้าญาณดิสก็เชิญพระแก้วมรกตลงเรือ  มอบให้พระสุคันธเถระไปถวายท้าวมหาพรหม
               จากหลักฐานที่นำมาเสนอตั้งแต่แรกนั้นสามารถที่จะสรุปได้ว่า ติปัญญาอำมาตย์ หรือ พระยาญาณดิส นั้น ได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ปลายสมัยพระยาลิไทจนถึงสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 5  แห่งกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งต้องยอมถวายพระแก้วมรกตให้กับท้าวมหาพรหมเจ้าเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1943  นับระยะเวลาที่ขึ้นครองราชย์ไม่น้อยกว่า  30 ปี
              ในหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี หน้า 193-194 ได้กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราช  (พระเจ้านครอินทร์ กษัตริย์องค์ที่ 6  แห่งกรุงศรีอยุธยา) มีข้อความที่พอสรุปได้ว่า  หลักฐานตามตำนานและจารึก  ก่อนที่สมเด็จพระนครอินทร์(พระเจ้านครอินทร์)จะได้ครองเมืองสุวรรณภูมิแทนราชบิดานั้นเคยเสด็จไปครองเมืองเหนือคือ ทำพิธีราชาภิเษกที่เมืองกำแพงเพชร  เมื่อประมาณ พ.ศ. 1938 ได้ร่วมตรากฎหมายสลักไว้บนแผ่นศิลา แล้วปักไว้ที่เมืองสุโขทัย เพื่อให้มีบังคับใช้ร่วมกัน  นอกจากนี้แล้วจากจดหมายเหตุจีน ระบุว่าเจ้าเมืองสุพรรณภูมิติดต่อค้าขายกับจีนมีสัมพันธ์ใกล้ชิดส่งฑูตไปเมืองจีนบ่อยๆ  พระราชบิดาเมื่อครั้งครองเมืองสุพรรณบุรี ส่งพระเจ้านครอินทร์ ทายาท ไปถวายบรรณาการแด่จักรพรรดิจีน เมื่อ พ.ศ. 1920 ได้ประทับอยู่ในราชสำนักจีนระยะหนึ่ง  และเป็นเจ้านายไทยองค์เดียวเท่านั้นที่เคยเสด็จไปเมืองจีน
                 การที่พระเจ้านครอินทร์ได้ทำพิธีราชาภิเษกเมืองกำเพชรและตรากฎหมายออกไปประกาศใช้ที่เมืองสุโขทัยนั้น  ก็คือศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึกกฏหมายลักษณะโจร นั่นเอง แต่จารึกหลักที่ 38 นั้น จากหนังสือ  รายงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่องกำแพงเพชร : อดีต ปัจจุบัน และอนาดต  หน้า  97  อธิบายว่า    ดร.ประเสริฐ  ณ  นคร ได้คำนวณการสร้างจารึกนั้นว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1940 และผู้ที่ทำพิธีราชาภิเษกเมืองกำแพงเพชรครั้งนั้น  มีพระนามว่า  ?จักรพรรดิราช?  ซึ่งก็ย่อมที่จะหมายถึง ?พระเจ้านครอินทร์? 
                 การที่พระเจ้านครอินทร์  หรือ จักรพรรดิราช  ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร แล้วตรากฎหมายออกไปประกาศใช้ที่เมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1940 นั้น  เป็นช่วงที่พระเจ้าญาณดิสเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ (ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ปลายสมัยพระยาลิไทย ไปจนหลังจากเสียพระแก้วมรกตให้แก่ท้าวมหาพรหม ในปี พ.ศ. 1943 ซึ่งไม่น้อยกว่า 30 ปี) 
                 จึงเป็นไปไม่ได้เมื่อพระเจ้าญาณดิสเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่แล้วจะยินยอมให้ผู้อื่นมาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรร่วมกันหรือแบ่งกันครอบครอง  เพราฉะนั้น  พระเจ้าญาณดิส หรือ ติปัญญาอำมาตย์ หรือ พระเจ้านครอินทร์  หรือ จักรพรรดิราช ก็คือคนคนเดียวกัน  ซึ่งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ไม่น้อยกว่า 30 ปี  เป็นผู้นำพระแก้วมรกตมาให้ชาวกำแพงเพชรไว้กราบไหว้   เป็นผู้ตรากฎหมายแล้วจารึกลงในศิลาไปติดตั้งประกาศใช้ที่กลางกรุงสุโขทัย  เป็นกษัตริย์องค์ที่ 6  แห่งกรุงศรีอยุธยา  และเป็นชาวสยามคนแรกที่ไปเมืองจีน จึงมีตำนานว่า ?พระร่วงไปเมืองจีน?
               ดังนั้น ชาวกำแพงเพชรจึงมีสิทธิ์ที่จะพูดได้ว่า ?เจ้าเมืองกำแพงเพชรไปเมืองจีน?  ใช่หรือไม่

อ้างอิง   
 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2545.
 คณะกรรมการดำเนินการจัดทำหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา
                 จังหวัดสุพรรณบุรี,   วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด
                  สุพรรณบุรี .กรมศิลปากร,2544       
วิทยาลัยครูกำแพงเพชร. รายงานการสัมมนาทางวิชาการ  เรื่องกำแพงเพชร : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต.
                    วิทยาลัยครูกำแพงเพชร, 2534.
แสง  มนวิทูร, ร.ต.ท.  ชินกาลมาลีปกรณ์.(พิมพ์อนุสรณ์นายกี  นิมมานเหมินทร์) มิตรนราการพิมพ์,
                      2510.



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!