จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 04:49:28 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างได้ชื่อว่า รักชาติ รักถิ่น รักแผ่นดินของเรา บรรยายโดย อ.สันติ อภัยราช  (อ่าน 6813 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 09:58:28 am »

เอกสารประกอบการบรรยาย   เรื่อง
 รักชาติ  - รักถิ่น

โดย  สันติ  อภัยราช ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา)
            อาจารย์ 3 ระดับ  9  ,ครูต้นแบบแห่งชาติ
           ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร  ครูภูมิปัญญาไทย
สภาพปัญหา
   ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษาในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนอย่างมากมาย  สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมบริโภคนิยม ส่งผลให้เกิด ค่านิยม ในเรื่องยกย่องนับถือคนมีเงิน มีอำนาจ มีตำแหน่ง มีวัตถุมากกว่าสิ่งอื่นๆ  สังคมจึงไขว่ คว้าหาสิ่งเหล่านั้น โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม จึงนำไปสู่การทุจริต  ประพฤติมิชอบ การพนัน  การบกพร่องทางวินัย  ค่านิยมทางเพศที่ผิด จึงไม่สามารถดำรงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไว้ได้  
   1.สภาพทางเศรษฐกิจ ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ช่องว่างระหว่าง คนรวยและคนจน ห่างกันมากขึ้น  นำไปสู่ปัญหาความรุนแรง ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิ์ของสตรี เด็ก และผู้สูงอายุ
   2. สภาพทางสังคม  ความรุนแรงในครอบครัว และสังคม รวมทั้งสื่อต่างๆ  กลายเป็นตัวอย่างและค่านิยมที่ผิดๆ ชินชาต่อการกระทำที่เป็นข่าว จนกลายเป็นปกติธรรมดา ไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดีแต่อย่างใด นำไปสู่ปัญหายาเสพติด  โรคเอดส์ อาชญากรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร  รวมทั้งการมั่วสุม ในทางอบายมุข
   3. ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา จารีต ประเพณีและภาษา ทำให้เกิดปัญหา ชนกลุ่มน้อย เช่นชาวเขา ปัญหาทางภาคใต้ ปัญหาทางศาสนา

เงื่อนไขที่เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินการด้านวัฒนธรรม
   กฎหมายรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
      มาตราที่ 46 บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชน ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะอนุรักษ์ รื้อฟื้นฟู จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
      มาตราที่ 69 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      มาตราที่ 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ( พ.ศ.2545 ? 2549 ) กำหนดให้สังคมเข้มแข็งในสามด้านคือ
1.   สังคมคุณภาพ
2.   สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
3.   สังคมแห่งการสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
การแก้ไขปัญหา
   ยุทธศาสตร์การดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม
      แนวทางที่ 1 รวบรวม องค์ความรู้
1.1   ศึกษา ค้นคว้าวิจัย   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.2   อนุรักษ์ องค์ความรู้    มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.3   พัฒนาสร้างสรรค์ องค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.4   บริหารจัดการองค์ความรู้  มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม
1.5   สงวนรักษา   มรดกทรัพย์สินทางศิลปะ วัฒนธรรม  ด้วยเทคโนโลยี
แนวทางที่ 2 ฟื้นฟู ส่งเสริมการสืบทอด วัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์
            1.2 ศึกษา วิจัย เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูล และจัดทำทำเนียบชุมชนวัฒนธรรมถิ่น
      1.2 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ รักษา และพัฒนาแหล่งมรดกทาง
      วัฒนธรรม
      1.3 เสริมสร้าง เครือข่าย ชุมชน เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
      1.4 ตั้งกองทุนทางวัฒนธรรมชุมชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมวิถีชีวิตไทย
3.1 รักษา ฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ภาษาไทย มารยาทไทย อาหารไทย การแต่งกายแบบไทย
      3.2 การถ่ายทอดและสืบสานวิถีชีวิตแบบไทย
      แนวทางที่ 4 ฟื้นฟู รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.1 เก็บรวมรวม ภูมิปัญญาไทย สืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
            4.2 วิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
            4.3 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกระดับ
            4.4 เสริมสร้างภูมิปัญญาไปสู่สังคม
เมื่อนำมาศึกษา ในระบบโรงเรียน  จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ  มีครูที่เข้าใจในเรื่องของท้องถิ่น จะสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ในเบื้องต้น ในระยะ 10 ปี ในอนาคต จะทำให้คนรักบ้านเมือง รักท้องถิ่น ภูมิใจ ในความเป็นไทย  ไม่ดูถูกภูมิปัญญาไทยอีกต่อไป  เลิกการยกย่องและเชิดชู ชาวตะวันตก เหมือนญาติผู้ใหญ่ ยกย่องเชิดชู คนดี มีศีลธรรม แทน คนร่ำรวยจะสามารถแก้ปัญหาของชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคนิยม  ได้ อย่างแน่นอน



วิธีการดำเนินการ

แผนงานการสร้างความภูมิใจในท้องถิ่น
   เป้าหมาย  ให้คนรักและภูมิใจในท้องถิ่น
1.   ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหมู่บ้าน ตำบล ชุมชน
2.   ศึกษาสถานที่สำคัญ วัด โรงเรียน ลำคลอง หนอง บึง ทำประวัติ
3.   ศึกษาบุคคลสำคัญ ผู้นำ  ผู้อาวุโส หมอพื้นบ้าน ช่างพื้นบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน  ปราชญ์ท้องถิ่น
4.   ศึกษา ชื่อหมู่บ้าน ชื่อวัด ชื่อคลอง ชื่อถนน ทาง
5.   ความรู้ท้องถิ่น  ศึกษา ตำรายา อาหาร เครื่องมือ  เครื่องใช้ทุกชนิด
6.   ศึกษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ท้องถิ่น  พิธีกรรมต่างๆ
7.   นิทาน  เพลง ดนตรี พื้นบ้าน คติสอนใจ
วิธีการศึกษา
1.   เก็บข้อมูล โดยครู นักเรียน นักศึกษา  อย่างรวดเร็ว อย่าผัดวัน จะเสียใจทีหลัง
2.   ตรวจสอบความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญ
3.   นำผลมารวบรวม ทำการสัมมนา
4.   นำผลมาจัดทำพิพิธภัณฑ์
5.   จัดทำนิทรรศการ
6.   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน นำเข้าสู่หลักสูตรท้องถิ่น หรือให้นักเรียนไปศึกษาจากผู้รู้ในท้องถิ่น ได้ในที่สุด
รักถิ่น  ทำอย่างไร เรียกว่ารักถิ่น
1.   ศึกษาค้นคว้าความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
   ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น ให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความ
      เป็นคนท้องถิ่น        
   ศึกษาทำความเข้าใจในภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น โดยตระหนักในคุณค่าของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น และภูมิใจที่ได้ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน
   ศึกษาทำความเข้าใจ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น โดยประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพรีของท้องถิ่นอย่างถูกต้องและเข้าใจในสาระคุณค่าแห่งขนบประเพณี
   ศึกษาทำความเข้าใจดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน โดยเกิดความรู้สึกรักและ
    หวงแหน ซาบซึ้ง  แสวงหาความสุขจากการฟัง การเล่นดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน
   ศึกษาอาหารพื้นเมือง สืบทอดภูมิปัญญาการทำอาหาร โดยบริโภค และประกอบอาหาร
        พื้นเมืองได้   อย่างมีความสุข
   ศึกษา ในเรื่องผ้าพื้นเมือง  การแต่งกายพื้นเมือง อย่างเป็นชีวิตประจำวัน ไม่รู้สึกว่า
อับอาย หรือเป็นปมด้อย ตรงกันข้ามรู้สึกภูมิใจข้ามเป็นคนท้องถิ่น
   ศึกษาและเล่นกีฬาพื้นบ้านได้ โดยการออกกำลังและพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยการเล่นกีฬา
พื้นบ้าน
         
รักชาติ  ทำอย่างไร เรียกว่า รักชาติ            
    1. ประพฤติปฏิบัติ ตามลักษณะของคนไทย คือ
       1.1 ยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจเบิกบาน
                     1.2 ซื่อสัตย์ สุจริต ประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจาและใจ
                     1.3 รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์
                      1.4 มีน้ำใจไมตรี โดยโอบอ้อมอารี และเอื้ออาทรกับทุกคน
2.   ประพฤติปฎิบัติตน ความเป็น ชาติไทย
   สนใจและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
   มีกิริยามารยาทแบบไทย
   เข้าใจขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย ในคุณค่าและสาระ
   สนใจศึกษา ดนตรีไทย มีความสุขที่ได้เล่นและได้ฟัง
   สนใจศึกษานาฏศิลป์ไทยมีความสุขจากการและการแสดงนาฏศิลป์ไทย
   รับประทานอาหารไทยและประกอบอาหารไทยได้
   แต่งกายแบบไทย ด้วยผ้าไทย
   ศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย มีความสุขในการชมศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย
   ศึกษามวยไทย สามารถใช้แม่ไม้มวยไทยในการออกกำลังและป้องกันตัว

ฮืมฮืมฮืม??.


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!