จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 05:39:56 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านโคนเหนือ จากตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ บันทึกไว้ว่า ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยัง  (อ่าน 2799 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2020, 01:16:14 pm »

บ้านโคนเหนือ
จากตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ บันทึกไว้ว่า
ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมากท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้วใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมายาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฎพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราชภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง...”
ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสงมนวิฑูร ผู้แปลหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์เรื่องนี้ให้คำอธิบายว่าพระเจ้าโรจราชสมัย พ.ศ. ๑๘๐๐ นั้น คือ พ่อขุนบางกลางหาว ปฐมกษัตริย์ราชวงพระร่วง ในศิลาจารึกเรียกว่า ศรีอินทราทิตย์ บ้านโค นั้นอาจเป็นบ้านโคน หรือเมืองบางคนทีในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พระเจ้าล่วงก็คือ พระร่วง
จากจารึกหลักที่๑ พ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงเมืองคณฑี บ้านโคน ว่า
เบื้อ(อ)งหัว นอน รอดคณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภู-มิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเล สมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมือ-งฉอด เมือง…น หงสาวดี สมุทรหาเป็-นแดน o เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมื-องม่าน เมืองน…เมืองพลัว พ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว o ปลูกเลี้ยงฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน”(ด้านที่๔ บรรทัดที่ ๑๖-๒๗)
แสดงว่าบ้านโคน คณฑี เป็นเมืองเก่าแก่ มาก่อนสมัยสุโขทัย เป็นเมืองใหญ่ ทำให้ปรากฎนามเมืองในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งจารึกในปี พศ. ๑๘๓๕ เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงเมืองคณฑีครั้งแรก
ในสมัยพระญาลิไทยกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงค์พระร่วงขึ้นครองรางชย์ ก่อนปี ๑๙๐๐ เมืองคณฑี ได้ประกาศอิสรภาพจากสุโขทัย และจากหลักฐาน จารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุมที่บันทึกไว้ว่า เมืองคณฑี หาเป็นขุนหนึ่ง (หมายความว่า เมืองคณฑี ไม่ขั้นกับเมืองสุโขทัยเหมือนแต่ก่อน) แสดงถึงความเข้มแข็งของเมืองคณฑีที่ประกาศอิสรภาพต่สุโขทัย
เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงเสด็จผ่านบ้านโคน เมืองคณฑี มิได้ขึ้น เพียงแต่ผ่าน บันทึกเรื่องเสาหงส์วัดปราสาทไว้เท่านั้น ความว่า

เมื่อรัชกาลที่ ๕ประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เสด็จผ่านวัดปราสาททรงบันทึกว่า "วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๙ ออกเวลา ๒โมงเช้า ๔โมงขึ้นเรือเหลืองจนถึงบ้านโคน ซึ่งเดากันว่าเป็นเมืองเทพนคร แต่ไม่มีหลักฐานอันใด บ้านเรือนดี มีวัดใหญ่ เสาหงส์มากเกินปกติ…"
…………
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช มหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จมาเมืองกำแพงเพชรครั้งที่ 2 เมื่อปี 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า
ี " คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเชิงเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่อยู่ในบริเวณนี้คือวัดกาทึ้ง มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ อุโบสถก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ถัดจากอุโบสถไปทางทิศตะวันออก เป็น วิหารที่มีขนาดใหญ่กว่า ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่เช่นเดียวกันพระประธานภายในวิหารมีพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปหมวดเมืองกำแพงเพชร ตามโคกเนิน พบเศษภาชนะดินเผา แบบธรรมดาและแบบเผาไม่แกร่ง ไม่เคลือบ และเครื่องเคลือบแบบสุโขทัย ชุมชนโบราณบ้านโคนนี้ เชื่อกันว่าน่าจะเป็นเมืองคณฑี ตามที่กล่าวไว้ในจารึกหลักที่ 1 ว่าเมืองหัวนอน รอดคณฑี พระบางนอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อีกด้วย "

จากการสำรวจครั้งสุดท้าย ปี 2549 ของอ.สันติ อภัยราช ประธานสภาวัมนะรรมจังหวัด สมัยนั้น บันทึกไว้ว่า "เมืองคณฑี ที่มีที่ตั้งบริเวณวัดกาทึ้ง น่าใช้ลำคลองกาทึ้งเป็นคูเมืองป้องกัน อาจใช้ไม้เป็นระเนียด แทนแนวกำแพงเมือง หรือมีแนวกำแพงเมืองแต่ร้างไปนาน จึงทำให้ กำแพงเมืองซึ่งเป็นกำแพงดิน สลายตัวไปตามสภาพ สภาพวัดกาทึ้งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ถูกบุกรุกที่ ไม่เห็นความสำคัญ ที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุนานนับพันปี น่าเสียดายยิ่ง…
ี นอกจากวัดกาทึ้ง แล้ว ยังมีวัดปราสาท ที่เก่าแก่ใกล้เคียงกัน น่าจะมีอายุราวสมัยทวารวดี จากการวิเคราะห์ สภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุ พบซากโบราณสถานโบราณวัตถุจำนวนมาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่พ.ศ. 2450 มีเจดีย์ทรงปราสาทที่เรียก กันว่าวัดปราสาท ทำให้วัดนี้น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิพิธภัณฑ์วัดปราสาท ที่งดงาม ละมีโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่มากโดยเฉพาะพระปางลีลา ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา"

ผู้บุกเบิกบ้านโคนในยุคปัจจุบัน
บ้านโคนร้างมานานกว่า ห้าร้อยปี เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ู้บุกเบิกรุ่นแรกๆ คือ นายพวง และนางปุย ได้เมาบุกเบิกบริเวณป่าบ้านโคน จนให้
กำเนิดผู้นำคนสำคัญของบ้านคณฑี ตือ กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ

กำนันประสิทธิ วัฒนศิริ
ในระยะแรก ท่านได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสะดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ กำนันประสิทธิ์ท่านได้เป็นกำนันคนแรกและคนสำคัญสำคัญของบ้านโคนมาเกือบ ๒๐ ปี ท่านมีส่วนสำคัญในการทำให้บ้านโคนเจริญรุ่งเรือง ขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต่อมาเมื่อความเจริญมากขึ้นประชากรมากขึ้น บ้านโคน จึงเมีการปลี่ยนแปลงโดยแยกบ้านโคนเป็น ๒ หมู่บ้าน คือบ้านโคนใต้และบ้านโคนเหนือ
บ้านโคนใต้ คือหมู่ที่ ๒ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหงหวัดกำแพงเพชรมีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับบ้านโพธิ์อำนวย
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านท่าเสลี่ยง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านโพธิ์พัฒนา
ทิศตะวันตก ติดกับลำน้ำปิง
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ไปทางทิศใต้ตามเส้นทางกำแพงเพชรท่ามะเขือ ประมาณ ๒๒ กิโลเมตรมีทั้งบ้านเรือนที่ตั้งริมน้ำและอยู่ในแนวถนน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
บ้านโคนเหนือ คือหมูที่ ๙ตำบลเทพนครอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชรแยกตัวมาจากบ้านโคนใต้ แต่กลับมาขึ้นกับตำบลเทพนครโดยมีอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร
ทิศใต้ ติดต่อกับแม่น้ำปิง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านเกาะสง่า
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านท่าตะคร้อ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนบ้านโตนใต้ มีการพัฒนามาตลอดนอกจากการทำไร่ ทำนาแล้ว ที่บ้านโคนมีป่าไม้มากมากมาย อาชีพค้าไม้ จึงเป็นอาชีพสำคัญ ในอดีต
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!