จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 03:34:14 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คอร์ปรับชัน คืออะไร บรรยายพิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒ โดม อนุบาล  (อ่าน 3232 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2019, 10:51:33 am »

คอร์ปรับชัน คืออะไร
บรรยายพิเศษ  ผู้บริหารสถานศึกษา เสาร์ ๒๗ กค. ๖๒  โดม อนุบาลกำแพงเพชร
  รูปแบบและพฤติกรรมการคอร์รัปชัน  แบ่งการทุจริตใน 3 ระดับ ดังนี้
1 การทุจริตสีขาว คือ เป็นการกระทำที่ไม่เลวร้าย ไม่ได้ตั้งใจและไม่ได้คามคิดว่าจะเป็นการคอร์รัปชัน
2 การทุจริตสีเทา คือ เป็นการกระทำผิดที่คนบางกลุ่มยังีความเห็นแตกต่างออกไป เสียงส่วนใหญ่ยังมีความเห็นครุมเครือ  แต่การกระทำไม่ผิดกฎหมาย
3 การทุจริตสีดำ คือ เป็นการกระทำที่ถูกตำหนิและเห็นสมควรว่าถูกลงโทษ เป็นการกระทำที่ผิดกำหมาย ผิดกระบวนการยุติธรรม
                 หากสังคมไทยยังไม่สามารถหยุดยั้งเชื้อ "คอร์รัปชัน" นี้ได้ ประเทศไทยจะกลายเป็น หลุมดำ ที่ทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันด้านจิตสำนึกกับประเทศอื่นๆ
1 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
“ไม่ทนต่อการทุจริต   4 กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์ที่ 1 ปรับฐาน ความคิดทุกช่วงวัย สถาบันการศึกษามีส่วนมากี่สุด
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต
กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และ
กลยุทธ์ที่ 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community)และบูรณาการทุก ภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต


หัวข้อวิชา 4 วิชา ประกอบด้วย
1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
 2) ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
3) STRONG : จิตพอเพียงต้าน
4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสภาปฏิรูป
แห่งชาติ
(๑) ยุทธศาสตร์การปลูกฝัง “คนไทย ไม่โกง”เพื่อปฏิรูปคนให้มีจิตสำนึก
(๒) ยุทธศาสตร์การป้องกันด้วยการเสริมสร้างสังคม ธรรมาภิบาลเพื่อเป็นระบบป้องกันการทุจริตเสมือนการสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ทุกภาคส่วนในสังคม
 (๓) ยุทธศาสตร์การปราบปราม เพื่อปฏิรูประบบและกระบวนการจัดการต ่อกรณีการทุจริต
 ได้จำแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ออกเป็น ๗ รูปแบบ คือ
๑) การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting benefits)
๒) การทำธุรกิจกับตนเอง (Self - dealing)
๓) การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ
 ๔) การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting)
 ๕) การรู้ข้อมูลภายใน (Inside information)
 ๖) การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจ
 ๗) การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork - barreling)
 ๘) การใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แก่เครือญาติหรือพวกพ้อง (Nepotism) หรือ
 ๙) การใช้อิทธิพลเข้าไปมีผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น (influence) เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวก ๆ
   “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสิบ (Analog)”
    คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐยังมีระบบ การคิดที่ยังแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกันไม่ได้นำประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ ส่วนรวมมาปะปนกันไปหมดแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เบียดบังราชการ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตน เครือญาติหรือพวกพ้อง เหนือกว่าประโยชน์ของส่วนรวมหรือของหน่วยงาน จะคอยแสวงหา ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีเกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วน รวม จะยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
 “การปฏิบัติงานแบบใช้ระบบคิดฐานสอง (Digital)” คือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีระบบการคิด ที่สามารถแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตนออกจากกัน แยกออกอย่างชัดเจนว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด สิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้สิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนตนสิ่งไหนคือประโยชน์ส่วนรวม ไม่นำมาปะปนกัน ไม่นำบุคลากรหรือทรัพย์สินของราชการมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่เบียดบังราชการเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมหรือของหน่วยงานเหนือกว่าประโยชน์ของส่วนตน เครือญาติและพวกพ้องไม่แสวงหาประโยชน์ จากตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากการ ปฏิบัติหน้าที่กรณีเกิดการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนและ



คำอธิบายความหมายของ “STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต”
 ๑) S (sufficient) : ความพอเพียง
 ๒) T (transparent) : ความโปร่งใส ผู้นำ ผู้บริหาร บุคคลทุกระดับ องค์กรและชุมชนต้องปฏิบัติ งานบนฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ดังนั้น จึงต้องมีและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมาย ด้านความโปร่งใส ซึ่งต้องให้ความรู้ความเข้าใจ(knowledge) และปลุกให้ตื่นรู้(realise)
๓) R (realise) : ความตื่นรู้
 ๔) O (onward) : มุ่งไปข้างหน้า
 ๕) N (knowledge) : ความรู้
๖) G (generosity) : ความเอื้ออาทร
ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชัน
เงินเดือนข้าราชการที่ต่ำ
การขาดการศึกษาของประชาชน
ช่องว่างทางรายได้ระหว่างชนชั้นต่างๆ
การขาดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน
ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
การไร้ซึ่งประชาธิปไตย
การขาดเสรีภาพในการแสดงออก
ระบบราชการที่เทอะทะ
และ อำนาจแบบรวมศูนย์
การขจัดรากเหง้าการคอร์รัปชันแบบไทยๆ
หน่วยงานต่างๆ ให้โปร่งใสไร้การคอร์รัปชัน
เช่น ศาลปกครอง
 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
 และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้เพิ่มบทบาทแก่ NGOs และภาคประชาสังคมให้สามารถเข้ามาร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
จิตพอเพียง ต้าน ทุจริต
ถ้าไม่ทุจริตในประเทศไทย
   สร้าง ม ราชภัฎ ได้ ๑๒๐๐ แห่ง
   สร้าง รพ.ใหญ่       ๑๗๗ แห่ง
   สถานีตำรวจ           ๑๗๐๐๐ แห่ง
   รัฐสภา         ๓๐ แห่ง
   รถไฟฟ้ารางคู่      ๑๒ สาย
   รถไฟฟ้า บี ที เอส    ๒๐ สถานี
   มัธยมขนาดใหญ่       ๕๑๐๐ แห่ง
   โรงเรียนประถม   ๕๐๐๐๐ แห่ง   

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!