จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 04:27:05 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของเมืองชากังราว สืบค้นโดย อาจารย์รุ่งเรือง สอนชู ความหมายของ  (อ่าน 5327 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2017, 09:30:01 pm »

]ประวัติความเป็นมาของเมืองชากังราว
สืบค้นโดย อาจารย์รุ่งเรือง  สอนชู
ความหมายของ ชากังราว
             ในหนังสือรายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร โดยวิทยาลัยครูกำแพงเพชร เมื่อกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2527  หน้า 138   อาจารย์จำปา  เยื้องเจริญ  ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญทางด้านภาษามอญโบราณของกรมศิลปากร ได้อธิบาย ว่า “ชากังราว” เป็นภาษามอญ  มีคำสามคำประสมกัน  ถ้าแยกคำทั้ง 3 คำออกจากกัน แต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
          “ ชา” มาจากคำควบกล้า  “ผชา”   แปลว่า  “ตลาด    “ กัง”  แปลว่า “ด่าน”  ส่วน “ราว”  แปลว่า  “หนทาง”
            “ชากังราว”  คือ “เมืองด่าน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยตลาดและหนทางซึ่งอาจเป็นชุมทางหรืออะไรก็ได้”
             จากข้อความที่กล่าวนี้  พอที่จะกล่าวสรุปได้ว่า  “ชากังราว”  หมายถึง แหล่งหรือตลาดที่ใช้ในการค้าขาย
             เมืองชากังราว  ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับเมืองนครชุม เดิมคงเป็นเพียงชื่อของหมู่บ้านมานานแล้ว  และได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองชากังราวในคราวหลัง
กำเนิดเมืองชากังราว
                  เหตุการณ์ในช่วงปลายสมัยการครองราชย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทยที่สุโขทัย มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์   หน้า 114- 116   สมเด็จพระรามาธิบดี(อู่ทอง)ที่ 1 ได้ทรงยึดเมืองชัยนาท (เมืองพิษณุโลก)ไว้ได้ แล้วทรงแต่งตั้งมหาอำมาตย์วัตติเดช(ขุนหลวงพงั่ว) ซื่งครองเมืองสุพรรณบุรีให้ขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลก  ต่อมาพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงส่งเครื่องราชบรรณาการเป็นจำนวนมากไปถวายแด่สมเด็จพระรามาธิบดี(อู่ทอง) ที่ 1 และทรงทูลขอเมืองพิษณุโลก คืน   สมเด็จพระรามาธิบดี(อู่ทอง) ที่ 1  ได้ทรงคืนให้  ทำให้มหาอำมาตย์วัตติเดช(ขุนหลวงพงั่ว) ต้องกลับไปครองเมืองสุพรรณบุรี   ที่สุโขทัยนั้น พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงตั้งพระมหาเทวี พระกนิษฐาของพระองค์ครองเมืองสุโขทัย  ทรงตั้งอำมาตย์ชื่อติปัญญา ครองเมืองกำแพงเพชร   พระมหาธรรมราชาลิไทยครองเมืองพิษณุโลก   และทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเมืองสุโขทัยไปบูชาไว้ที่เมืองพิษณุโลก  หลังเมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทยสิ้นพระชนม์  อำมาตย์วัตติเดช(ขุนหลวงพงั่ว) ซึ่งเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้แล้วอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
                     ติปัญญาอำมาตย์  ซึ่งครองเมืองกำแพงเพชร ได้ส่งมารดาของท่านถวายแก่วัตติเดช(ขุนหลวงพงั่ว)  และมารดาของท่านนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปราณของวัตติเดช(ขุนหลวงพงั่ว)  พระมารดาจึงได้ขอพระพุทธสิหิงค์มาให้ติปัญญาอำมาตย์ไว้บูชาที่เมืองกำแพงเพชร
                      จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ไม่ได้กล่าวถึงเวลาหรือปีพุทธศักราชไว้   ในจารึกหลักที่ 8 ศิลาจารึกภูเขาสุมนกูฏ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไทย  จารึกเมื่อพุทธศักราช 1912 ในจารึกกล่าวถึงเชื่อเมืองต่าง ๆของสองฝั่งแม่น้ำปิง ได้แก่ เมือง  พระบาง  ชากังราว  สุพรรณภาว นครพระชุม  เมืองพาน  แต่ไม่มีชื่อเมืองกำแพงเพชร    และในจารึกนี้กล่าวได้ว่า ติปัญญาอำมาตย์มาครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อปีพุทธศักราช 1905  ดังนั้นในช่วงแรกที่ติปัญญาอำมาตย์มาครองนั้น  หมายถึง หมู่บ้านชากังราว  และได้สถาปนาขึ้นเป็น เมืองชากังราวเมื่อพุทธศักราช 1905 หรืออาจจะหลังบ้างเล็กน้อย
เมืองชากังราว เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองกำแพงเพชร
                       หลังจากที่พระมหาธรรมราชาลิไทยสิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช 1913 – 1914    ในปีพุทธศักราช 1914 สมเด็จพระบรมราชาธิราช(พงั่ว) ที่ 1  เสด็จขึ้นมายึดเมืองต่าง ๆของอาณาจักรสุโขทัยได้ทั้งหมด ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ  มีข้อความว่า “ ศักราช  734  ( พ.ศ. 1914)  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเหนือ และได้เมืองเหนือทั้งปวง”   
                    ในปีพุทธศักราช 1916  สมเด็จพระบรมราชาธิราช(พงั่ว) ที่ 1  ทรงมีพระบรมราชโองการการให้ จักพรรดิราช(ซึ่งภายหลังคือสมเด็จพระนครอินทราธิราช กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่ ๖)ขึ้นมา เสวยราชย์เมืองกำแพงเพชร ( ตามจารึกหลักที่ ๓๘ กฎมายลักษณะโจร )  มีข้อความตอนหนึ่งว่า “เพลาค่ำ พระนครนี้ สิทธิสมเด็จบพิตร(มหาราชบุตร).....ราช ศรีบรมจักรพรรดิราชท่านได้เสด็จขี้นเสวย.....ภิรมย์  สมดังพระราชมโนรถ  ทดแทนพระธรรมราชสีมานี้  ดุจดาวติงสา พระองค์ท่านเสด็จในกำแพงเพชรบุรี ศรีวิมลาสน์”
                        จากจารึกหลักที่ 38  กฎหมายลักษณะโจร ซึ่งจารึกเมื่อพุทธศักราช 1916  จึงกล่าวได้ว่า  เมืองชากังราว  ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเมืองกำแพงเพชรแล้วในปีใดปีหนึ่ง     ระหว่างพุทธศักราช 1912 -. 1916   
 เมืองชากังราวหรือเมืองกำแพงเพชร เคย เป็นเมืองหลวงของกรุงสุโขทัย
                          พงศาวดารโยนกซึ่งอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7หน้า  436  ได้กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยองค์สุดท้ายต่อจากพระมหาธรรมราชาลิไทย  คือ พระเจ้าติปัญญามาตร์หรือพระเจ้าญาณดิส  มาครองเมืองกำแพงเพชร  ซึ่งตรงกับชินกาลมาลีปกรณ์    พระเจ้าติปํญญาอำมาตย์ได้มาครองเมืองกำแพงเพชร  ส่วนพระมหาธรรมราชาลิไทย  เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก  เมื่อพระมหาธรรมราชาสิ้นพระชนม์  พระเจ้าติปัญญามาตร์  ไม่ได้ไปครองเมืองพิษณุโลกหรือเมืองอื่น  แต่ได้ครองเมืองชากังราวหรือเมืองกำแพงเพชรตามเดิม 
                      สมเด็จพระบรมราชาธิราช(พงั่ว) ที่ 1  ได้ให้ความสำคัญเมืองชากังราวหรือเมืองกำแพงเพชรกว่าเมืองอื่น  ทรงให้พระเจ้าติปัญญามาตร์ครองเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งยินยอมให้นำพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกตจากกรุงศรีอยุธยา มาไว้ที่กำแพงเพชร  มีพระราชโองการแต่งตั้งให้จักพรรดิราชหรือมีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่าพระเจ้านครอินทร์ซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์มาครองราชย์เมืองกำแพงเพชร  ตามจารึกหลักที่ 38  ซึ่งเป็นจารึกทีใช้ในการออกกฎหมายนำไปใช้ในกรุงสุโขทัย
                  ดังนั้นเมืองชากังราวหรือเมืองกำแพงเพชรในช่วงสมัยรัชกาลของ สมเด็จพระบรมราชาธิราช(พงั่ว) ที่ 1  ได้เป็นเมืองหลวงของกรุงสุโขทัย  มีกษัตริย์สองพระองค์คือพระเจ้าติปัญญามาตย์ และพระเจ้านครอินทร์ (อาจเป็นพระองค์เดียวกัน)  ซึ่งเป็นพระญาติขึ้นมา เสยราชย์
เมืองกำแพงเพชร
 




อ้างอิง
 คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1. 
                    กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521
 คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3. 
                    กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
                    ภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
วิทยาลัยครูกำแพงเพชร,  รายงานการสัมมนา  ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร:           
                   กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์, 2528
แสง  มนวิทูร, ร.ต.ท.  ชินกาลมาลีปกรณ์.(พิมพ์อนุสรณ์นายกี  นิมมานเหมินทร์) มิตรนราการพิมพ์,  2510.]]]]]]]]]]]]]]]]]
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!