จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 28, 2024, 05:20:47 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกครั้งสุดท้าย อาลัยคุณสุทัศน์ ทัศนะแจ่มสุข  (อ่าน 2953 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 30, 2017, 04:51:16 pm »

บันทึกครั้งสุดท้าย
พ่อจับปากกา บันทึกประวัติชีวิตของพ่อ เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 เวลา 2 ทุ่ม 15 นาที
อายุของพ่อในปี 2551 ปีนี้ ล่วงเข้าสู่ปีที่ ๗๘ แล้ว จึงรู้สึกว่า เวลาชีวิตของพ่อ บนโลกกลมๆ ใบนี้ เหลือน้อยเต็มทีแล้ว ความจริงพ่อน่าจะต้องจากโลกนี้ไปแล้วเพราะพ่อมีโรคประจำตัวอยู่หลายโรค หากแต่ความห่วงใยที่ลูกสาวทั้งสองคนของพ่อ ยังไม่สำเร็จการศึกษา ยังไม่สามารถจะยืนอยู่บนขาของตนเองได้ ถ้าพ่อตาย แม่ของลูกคงลำบากมาก พลังใต้จิตสำนึกจึงเกิดขึ้น
มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ คนที่มีโรคประจำตัวหลายอย่างแบบพ่อ กลับมีอายุล่วงเข้าสู้วัย ๗๘ ปีได้ ทันที่จะเห็นความสำเร็จของลูกทั้งสองคน คนโตคือต้องจิต มีอาชีพอย่างมั่นคงแล้ว โดยเป็นแม่พิมพ์ของชาติ แม้จะแต่งงานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ใกล้พ่อกับแม่ และมีหลานให้ตาและยายได้ชื่นใจในยามวัยชราถึงสองคน
ส่วนอีกคนหนึ่งนั้น ซึ่งเป็นลูกสาวคนเล็ก ก็สำเร็จการศึกษาที่น่าภาคภูมิใจ ลูกคนเล็กคือ ประทับใจ  ทัศนแจ่มสุข จบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ ปริญญาโทจาก NIDA  และก็โชคดีมาก จบออกมาก็ได้งานดีมีความมั่นคงทำทันที คือที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร จึงต้องอยู่ไกลจากพ่อกับแม่ และโชคดีได้กลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แต่เส้นทางชีวิตของทุกๆคน ฟ้าเป็นผู้กำหนด
ลูกรักของพ่อ พ่อไม่เคยบันทึกประวัติชีวิตของพ่อลงในสมุดบันทึกเลย ประสบการณ์ทุกอย่าง มันบันทึกอยู่ในสมองของพ่อทั้งสิ้น แต่ความทรงจำที่บันทึกอยู่ในสมองของพ่อรู้สึกว่า เริ่มจะเลือนรางไปตามอายุไข พ่อจึงต้องรีบใช้เวลาอันน้อยนิด ที่ยังเหลืออยู่ในชีวิต ลงมือบันทึกประวัติชีวิตของพ่อ ตลอดจนประสบการณ์อันยาวนาน ให้ลูกทั้งสองได้ศึกษาและเรียนรู้ อะไรคือจุดเด่น อะไรคือจุดด้วย
ลูกรักของพ่อวิชาเอกในโลกการศึกษา ลูกสามารถศึกษาเรียนรู้ได้จากครูบาอาจารย์ และจากตำรา แต่วิชาเอกในโลกกว้าง คือ วิชาประสบการณ์ ไม่มีในตำรา ไม่มีอาจารย์สอน เรียนไม่รู้จักจบ ต้องเรียนด้วยชีวิต ดังนั้น วิชาเอกในโลกกว้างนี้จึงมีทั้งความสมหวัง มีทั้งความผิดหวัง มีทั้งหัวเราะและน้ำตา แต่วิชาเอกที่ว่านี้ มันจะทำให้ลูกพอจะรู้ทันโลก รู้ทันสังคม รู้ทันผู้คน และจะทำให้ลูกสามารถยืนอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างองอาจ
ลูกรักของพ่อ พ่อมีสองเชื้อชาติ เพราะว่าเตี่ยของพ่อ หมายถึงก๋งของลูก เป็นชาวจีน 100 เปอร์เซ็นต์ จากซัวเถา ส่วนแม่ หมายถึงย่าของลูก เป็นชาวไทย 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาว อำเภอ ท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อนางละม้าย (แหม๋ว)  สุขแจ่ม พ่อนอกจากจะเป็นคนสองเชื้อชาติแล้ว ยังเป็นคนสองแผ่นดินอีกต่างหาก เพราะตอนพ่ออายุประมาณสัก 10 ขวบ ก๋งของลูก ส่งพ่อกลับไปอยู่เมืองจีนกับย่า เพือ่จะได้ซึมซับวัฒนธรรมของจีนไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก  จำได้ว่า ย่ารักพ่อมาก มีความสุขมากที่ก๋งของลูกส่งหลานคนโตของท่าน ไปให้ท่านเลี้ยงดู
พ่ออยู่กับย่าที่เมืองจีน ประมาณ ๕-๖ ปี ถ้าพ่อจำไม่ผิด ก๋งของลูกก็ไปรับพ่อกลับเมืองไทย เพราะประเทศจีนเริ่มเกิดสงครามกับประเทศญี่ปุ่นแล้ว ย่าของลูกจึงเร่งเร้าให้ก๋งไปรับพ่อกลับเมืองไทย เพราะกลัวพ่อจะกลับไม่ได้ หากสงครามเกิดลุกลามใหญ่โตมากขึ้น การเดินทางไปรับพ่อกลับ ก๋งเคยเล่าให้ฟังตอนที่พ่อเป็นหนุ่มแล้ว ท่านบอกว่า ในภาวะสงคราม เข้าออกประเทศจีนค่อนข้างลำบากและยุ่งยากมาก แต่ความรักและความห่วงใยในสายเลือดของท่าน จะลำบากอย่างไร จะเสียค่าใช่จ่ายเท่าไร ท่านก็ไม่เคยท้อถอย ขอเพียงนำลูกคนโตของท่านกลับมาสู่อ้อมอกของแม่ ที่ตั้งตารอคอยอยู่ที่เมืองไทยให้ได้ ดังนั้น พ่อจึงมีชีวิตวันนี้ในประเทศไทย มีความสุขและความร่มเย็น บนผืนแผ่นดินอันอบอุ่นของแผ่นดินแม่ ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วิถีชีวิตครอบครัวของพ่อ ต้องโยกย้ายที่อยู่มาโดยตลอด จาก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มาอยู่ที่ตลาดสะพานดำ จังหวัดนครสวรรค์  จากตลาดสะพานดำ ย้ายไปอยู่ที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากอำเภอลาดยาว ย้ายไปอยู่ที่ตลาดสลกบาตร จังหวัดกำแพงเพชร  และที่สลกบาตรนี้เอง คือจุดสุดท้ายของชีวิตย่ากับก๋งของลูก ย่าตายก่อนประมาณ 10 ปี หลังจากนั้นก๋งก็เสียชีวิต ลูก “ต้อง” เกิดมา ก๋งมีโอกาสได้อุ้มหลานคนโตของท่าน ส่วนลูก “ตั้น”เกิดเมื่อก๋งลาโลกนี้ไปแล้ว
ก๋งกับย่า ตรากตรำกับชีวิต ด้วยความทรหดอดทน เพื่อเลี้ยงดูลูก ท่านทั้งสองต้องสู้กับความหฤโหดทางเศรษฐกิจ พ่อยังพอจำความได้ ว่าพ่อเกิดทันสมัยสงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ สอง เห็นความวุ่นวายของบ้านเมืองสมัย 14 ตุลา 6ตุลาและพฤษภาทมิฬ ครั้งหลังสุด ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ ยุคประชาภิวัฒน์  ซึ่งกองทัพประชาชนหลายแสนคนเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล โดยปราศจากอาวุธ ดังสนั่นไปทั่วโลก
ชีวิตของพ่อ ลำบากมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพราะสถานะของครอบครัวลำบากมาก ชีวิตวัยเด็กของพ่อ เผชิญกับสงครามอินโดจีน พอโตขึ้นมา ก็ผจญกับสงครามโลกครั้งที่ สอง ซึ่งหนักหน่วงและรุนแรงมาก เศรษฐกิจของชาติย่อยยับ ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงใช้ ไม่มีไฟฟ้าใช้ ข้าวสาร น้ำมันก็าส ต้องมีบัตรปันส่วนจากรัฐบาลจึงจะซื้อได้ ยารักษาโรคก็ได้พึ่งยาสมุนไพรเป็นหลัก โรคระบาทที่ร้ายแรงตอนนั้น คือโรคฝีดาษ และโรคไข้จับสั่น ตายกันเป็นเบือ  พ่อปลอดภัยจากโรคฝีดาษ แต่มาเจอโรคไข้จับสั่น แต่รอดตายมาได้ด้วยยาหม้อ  ยุคนั้นไม่มียาเคมี
เมื่อพ่อย้อนรำลึก นึกถึงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ สอง พ่อจึงเข้าใจคำขานว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” หมายถึงแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ในยามสงคราม ทั่วโลกอดอาหาร แต่คนไทยมีอาหารกินอย่างอุดมสมบูรณ์ ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองประเทศไทย สุขสบายด้วยเรื่องอาหารการกิน

วิถีชีวิตของพ่อ กว่ายี่สิบปี เวียนว่ายอยู่กับธุรกิจภาพยนตร์ ยุคนั้นเจ้าของบริการสายหนังเร่ ซึ่งจัดภาพยนตร์ไปฉายตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในตัวเมืองและตัวอำเภอและตัวตำบลต่างๆโดยทั่วไป รวมทั้งการฉายภาพยนตร์กลางแปลงด้วย หนังเร่ยุคนั้นรายได้เฟื่องฟูมาก
   พ่อเริ่มต้นชีวิต ในแดดวงธุรกิจภาพยนตร์ด้วยการเป็นบุกเกอร์ของโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่ง ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีหน้าที่จัดภาพยนตร์ที่เช่ามา จัดฉายตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ เกือบทั่วภาคเหนือ  พ่อได้เรียนรู้การการกระทำหน้าที่บุคเกอร์ จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ต่อเจ้าของโรงภาพยนตร์ต่างๆเป็นอย่างดีเพื่อจะนำภาพยนตร์เข้าฉาย ถ้าไม่สามารถหาโรงฉายได้ก็ไม่สามาถทำเงินได้เข้ามาสู่บริการภาพยนตร์ของตัวเองได้
บริการของตัวเองจะไปไม่รอด ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเจ้าของโรงภาพยนตร์ต่างๆถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
   จากการเป็นบุดเกอร์ที่จังหวัดนครสวรรค์  เปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ที่อุทัยธานี
จากอุทัยไปเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ที่จังหวัดตาก  จากตากมาเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ฟลอริดาและโรงภาพยนตร์โคลัมเบียที่กำแพงเพชร และดำรงตำแหน่งหัวหน้าประชาสัมพันธ์ ขอโคลัมเบียซุบเปอรมาเกตอีกตำแหน่งหนึ่ง  ซึ่งถือว่าเป้นวุปเปอร์มาเกตแห่งแรกของ จังหวัดกำแพงเพชร และที่กำแพงเพชรนี่เองพ่อได้พบกับแม่ของลูกและได้แต่งงานกันในที่สุดเมื่อปี ๒๕๑๔
 คุณตาสุทัศน์ ทัศนะแจ่มสุขบันทึกด้วยตนเองไว้เพียงเท่านี่
ท่านได้สมรสกับ คุณแม่นารี         ซึ่งรับราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชรมีธิดาสองคนคือ
๑.   อาจารย์ต้องจิตต์ ทัศนะแจ่มสุข  ตำแหน่งครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัชรวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร
๒.   อาจารย์ประทับใจ ทัศนะแจ่มสุข อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ท่านมีส่วนในการ ช่วยนักการเมือง ทุกพรรคหาเสียง ในกำแพงเพชร ถ้าเป็นเสียงของท่าน คนจะชื่อถือนักการเมืองท่านนั้นมักจะได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองระดับชาติและนักการเมืองท้องถิ่น เสมอมาแม้ในสมัยสุดท้ายที่ผ่านมา น้ำเสียงของท่านยังมีมนตร์เสน่ห์ มีพลัง มีอำนาจ และน่าเชื่อถืออย่างยิ่ง นับว่าเป็นการปิดตำนาน นักพูดโน้มน้าวใจระดับชาติอีกท่านหนึ่ง
ท่านได้ร่วมก่อตั้ง สโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร ซึ่งได้รับความอุปถัมภ์จากท่านเจ้าคุณพระธรรมภาณพิลาส ให้ใช้สถานที่ห้องประชุมสงฆ์มาอย่างยาวนาน ท่านรักสโมสรฝึการพูดกำแพงเพชรมาก กว่า ๓๗ ปี ทุกวันพุธ สองทุ่ม ท่านไม่เคยขาด นอกจากเจ็บป่วยเท่านั้น จึงเป็นที่รัก เคารพและศรัทธา แก่ชาวสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชรรุ่นแล้วรุ่นเล่า
ในเดือนเมษายน ๒๕๖๐ ท่านป่วยเข้าออกโรงพยาบาลไม่เว้นแต่ละวัน     ในที่สุด ท่านจากทุกคนไปที่ โรงพยาบาลกำแพงเพชร เมื่อคืนที่ ฟ้าคำรามและร้องไห้ หนักที่สุด คือเมื่อ คืนวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐ รวมสิริอายุ ๘๖ ปี นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญ ของ ครอบครัวทัศนะแจ่มสุข และครอบครัวสโมสรฝึกการพูดของเรา
ขออานิสงส์ แห่งผลบุญและคุณความดี ของคุณสุทัศน์ ทัศนะแจ่มสุข ที่ได้บำเพ็ญเพียรมาตลอด ช่วงอายุขัยของท่าน พร้อมผลบุญที่ญาติมิตร อุทิศให้ จงเป็นปัจจัยหนุนนำดวงวิญญาณท่านไปสู่สัมปรายภพเทอญ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 30, 2017, 04:55:28 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!