จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 07:37:03 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โครงการ สารดคีโทรทัศน์ สืบสาน อนุรักษ์ พัฒนา ภูมิปัญญากำแพงเพชร ลักษณะโครงการ  (อ่าน 2617 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 17, 2016, 08:22:09 am »

โครงการ
สารดคีโทรทัศน์ สืบสาน อนุรักษ์ พัฒนา ภูมิปัญญากำแพงเพชร
ลักษณะโครงการ         โครงการต่อเนื่อง จาก โครงการโทรทัศน์วัฒนธรรมกำแพงเพชร
ระยะเวลาดำเนินการ      ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ถึงปีบประมาณ ๒๕๖๓
ผู้รับผิดชอบโครงการ      นายสันติ อภัยราช ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
            นายวิทยา จตุรภาค เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
หลักการและเหตุผล      ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยทุดคนต้องดำเนินการ สืบสาน อนุรักษ์ พัฒนาภูมิปัญญาไทย ซึ่งหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติ
เพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทยนี้มีลักษณะเป็นองค์รวม มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในวิถีชีวิตไทย ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอาจเป็นที่มาขององค์ความรู้ที่งอกงามขึ้นใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการและการปรับตัวในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้านเช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญา
กำแพงเพชร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีภูมิปัญญาที่สมควรได้รับการ สืบสาน อนุรักษ์ และพัฒนามากที่สุดจังหวัดหนึ่งเพราะเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมา อันยาวนานกว่าพันปี ย่อมมีภูมิปัญญาที่ยังมิได้ สืบสาน อนุรักษ์และพัฒนาจำนวนมาก จึงเห็นสมควรที่จะ ได้ทำสารคดี โทรทัศน์ บันทึกภูมิปัญญากำแพงเพชรไว้ เพื่อให้อนุชนได้เรียนรู้ สืบสานและศึกษาต่อไปอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์      เพื่อเรียนรู้ สืบสาน ภูมิปัญญากำแพงเพชร ในเรื่องต่างๆต่อไปนี้ คือ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณะและภูมิปัญญาของจังหวัดกำแพงเพชร ในรูปแบบ การบันทึกสารคดีโทรทัศน์ เพื่อเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้ ภูมิปัญญากำแพงเพชร
เป้าหมาย   ให้ประชาชน เยาวชน ทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร และประชาชนที่สนใจ ทั่วโลก ได้เรียนรู้และศึกษาภูมิปัญญากำแพงเพชร อย่างทั่วถึงและง่ายในการศึกษา
      ด้านปริมาณ   จัดบันทึกรายการโทรทัศน์ จำนวนปีละ ๔๐ ตอน เพื่อนักเรียน นักศึกษา  ประชาชน    ทุกคนที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้จาก เคเบิลโทรทัศน์ท้องถิ่น  จากระบบไอที  อาทิ เฟสบุ๊ก จากยูทูป    ไลน์
      ด้านคุณภาพ  เป็นรายการโทรทัศน์ที่ มีคุณภาพ ง่ายต่อการศึกษา เรียนรู้ โดยสามารถศึกษา จากโทรทัศน์ จากโทรศัพท์ มือถือ จากอืนเตอร์เนต และสื่อทางอีเลกโทรนิกส์ ทุกชนิด เป็นสารตดีโทรทัศน์ สั้นๆ ไม่เกินตอนละ ๒๐ นาที
วิธีดำเนินการ   ๑. เรียนรู้ ศึกษา วิจัย ภูมิปัญญากำแพงเพชร อย่างเข้าใจ
   ๒.เขียนบท โทรทัศน์  นัดหมายเตรียมการ ถ่ายทำรายการสารคดีโทรทัศน์
   ๓ ถ่ายทำรายการ สารดคี โทรทัศน์ ในหัวข้อต่อไปนี้
      ๓.๑ ด้านเกษตรกรรม
๓.๒  ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม
๓.๓  ด้านการแพทย์แผนไทย
๓.๔ ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๓.๕  ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน
๓.๕ ด้านศิลปกรรม
๓.๖  ด้านภาษาและวรรณกรรม
๓.๗ ด้านปรัชญา
๓.๘  ด้านโภชนาการ
๓.๙ ด้านวัฒนธรรม
๓.๑๐ ด้านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
๓.๑๑ ด้านเอกลักษณ์ และภูมิปัญญา
๓.๑๒ ด้านศาสนา
๓.๑๔ ด้านประเพณี
๓.๑๕ ด้านโบราณคดี
๓.๑๖ ด้านบุคคลที่ควรบันทึก
   ๔.ดำเนินการถ่ายทำ รายละเอียดแต่ละหัวข้อ
   ๕.นำรายการที่สำเร็จแล้วส่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
   ๖ ประเมิน โครงการ
   ๗.สรุปโครงการ
สถานที่ดำเนินการ   ทุกสถานที่ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีภูมิปัญญาที่น่าสนใจ เหมาะแก่การบันทึก สารคดี
โทรทัศน์
งบประมาณ      ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท  (หนึ่งแสนบาท)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ   
         เชิงปริมาณ จัดทำสารคดีโทรทัศน์ปีละ ๔๐ ตอน
         เชิงคุณภาพ เป็นสารคดีโทรทัศน์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม สถาบันการศึกษา
การประเมินผล โครงการ   สังเกตการเข้าชม สถิติ ของประชาชนที่เข้าชม   ใน อินเตอร์เนต ในทุกระบบ รวมทั้ง
ในโทรทัศน์ เคเบิล ตลอดจน ความคิดเห็นของประชาชน ที่เข้าชม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  เยาวชน  ประชาชน สถาบันการศึกษา ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในโครงการและ
กระบวนการ ของรายการสารคดี โทรทัศน์อย่างชัดเจน ลึกซึ้ง จนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้






      ลงชื่อ                   ผู้เสนอโครงการ
                                                                        (นายสันติ อภัยราช )
               ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

      ลงชื่อ .........................................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
               (                                       )
            ตำแหน่ง....................................................................
                            
 ลงชื่อ..............................................................................ผู้อนุมัติโครงการ
             (นายสุนทร  รัตนากร)
           นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
                     

   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!