จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 20, 2024, 04:33:22 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดโขมงหัก วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองเทพนคร  (อ่าน 4570 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2016, 09:24:54 am »

ประวัติความเป็นมาของ*หลวงพ่อโต*
*บ้านและวัดโขมงหัก*
*หลวงพ่อโต*เป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยยังรุ่งเรือง โดยมีกำแพงเพชร เป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า เมืองชากังราว ได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปขึ้นมากมาย ทั้งพระพุทธรูปตามวัดวาอารามต่างๆ และพระบูชา สันนิฐานว่าจะสร้างสมัย พระเจ้าลิไท พระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยสุโขทัยยุคกลาง คือทำตามแบบสุโขทัยยุคต้น ส่วนมากมีอยู่ตามกรุเก่าตามแนวแม่น้ำมากมายหลายกรุ*หลวงพ่อโต*วัดโขมงหักเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ค้นพบอยู่เดิมที่วัดโขมงหักแห่งนี้มานานแล้ว ก่อนที่วัดจะจัดตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการ ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐
วัดโขมงหัก ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๓ เลขที่  ๑๒๐ บ้านโขมงหัก ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร                                                                                                           มีแม่น้ำปิงไหลผ่านหลังวัดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว  มี*หลวงพ่อโต*เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ในสมัยต่อมาได้ใช้ปูนซิเมนต์ปั้นทับองค์พระ*หลวงพ่อโต*หุ้มศิลาแลงอีกทีหนึ่ง  มีองค์พระใหญ่ขึ้นมีศิลปะสุโขทัย  โดยช่างพื้นเมืองกำแพงเพชร  แบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย  มีพระพักต์กลม  พระเมาลีเป็นก้นหอยมี ยอดเศียรเป็นเปลวเพลิง เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป  ที่มาขอพร                                                                                                                                                                                            วัดโขมงหัก  เนื้อหินทรายแดงฉาบปูน  ก่อด้วยศิลาแลง ปางมารวิชัย  มี  พระพักต์เอิบอิ่ม ยิ้มละไม  หน้าตักกว้าง ๘๑ นิ้ว สูง ๙๙ นิ้ว  เป็นที่อัศจรรย์ถึงสัดส่วนของ*หลวงพ่อโต*ที่ช่างสมัยโบราณได้กำหนดไว้ล้วน  เป็นเลขมงคลทั้งสิ้น เช่น ขนาดความกว้างของหน้าตักเมื่อนำตัวเลขมารวมกันจะได้ ๙ ส่วนสูงรวมกันได้ ๙ อีก เมื่อนำส่วนกว้างมารวมกับความสูงก็ได้ ๙ ซึ่งเลข ๙คนทั่วโลกถือว่าเป็นเลขสุดยอดของเลขมงคล  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์แรกและองค์โตที่สุดในหมู่บ้านจึงพาขนานนาม*หลวงพ่อโต*วัดโขมงหักและต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ชาวบ้านจึงได้พากันก่อสร้างวิหารหลวงพ่อโตขึ้น เนื่องจากว่าอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งมาเป็นเวลานานแล้ว และหลังจากนั้นมา ชาวบ้านก็ได้อัญเชิญ*หลวงพ่อโต*มาประดิษฐานไว้ในวิหาร พบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก และ ตั้งแต่นั้นมาเป็นตำนานเล่าขาน จากรุ่น สู่รุ่น ถึงปาฏิหาริย์*หลวงพ่อโต*ในวิหารไม่หยุดหย่อน  เคยมีชาวบ้านหลายรายอ้างว่ามองผ่านทุ่งนา เห็นดวงไฟลูกใหญ่พุ่งจากวิหารขึ้นสู่ท้องฟ้าหลายครั้ง ต่างเชื่อกันว่า*หลวงพ่อโต*สำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ในสมัยก่อนพ่อค้าแม่ค้าล่องเรือบรรทุกผักผลไม้เต็มลำเรือผ่านหลังวัด  ก็ไม่ลืมที่จะพนมมือเหนือหัว ขอพรให้ขายของดีๆ  แล้วตักน้ำในแม่น้ำบริเวณหลังวัดไปทำน้ำมนต์พรมไปบนสินค้าในเรือ พืชผักในเรือก็ขายดีอย่างเหลือเชื่อมีเท่าไหร่ก็ขายหมด พอขากลับก็ไม่ลืมที่จะซื้อ ผลไม้ พวงมาลัยมาถวาย และที่ขาดไม่ได้คือประทัดจุดกันดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วคุ้งน้ำ  ในตอนกลางคืนก็ถึงคิวคอหวยนักเสี่ยงโชค แห่มาขอโชคขอลาภ ทั้งเขย่าเซียมซีขอเลขเด็ดหรือกราบไหว้ขอให้ถูกหวยรวยทรัพย์ ในสมัยก่อนมีทั้งหวย  ก. ข.  หวยจับยี่กี่ เป็นที่นิยมกันมาก เล่าขานกันว่าร่ำรวยเป็นเศรษฐีกันจำนวนมาก  จากนั้นทั้งผลไม้ ขนม นมเนย ไข่ต้ม พวงมาลัย ว่าวจุฬา จุดประทัดมาถวายกันไม่เว้นแต่ละวัน ปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ของ*หลวงพ่อโต*        แผ่ไพศาลไปหลายจังหวัด ทุกวันจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศมากราบไหว้ ขอพร ไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน โขมงหัก ใครที่มีโอกาสไปเที่ยวที่ จังหวัดกำแพงเพชรก็ต้องแวะ ขอพร ถ้าใครไม่ขอพรถือว่ามาไม่ถึงบ้านโขมงหัก                                                                                                                                                  * วัดโขมงหัก*  เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. ๒๕๐๐ ปีระกา ในหมู่บ้านโขมงหักเดิมชื่อบ้าน มะค่าโมง เริ่มแรกเป็นที่พักสงฆ์  ต่อมาคุณโยมบุญส่ง  พรหมอินทร์และครอบครัวบริจาคที่สร้างวัด  จำนวน ๑๑ ไร่  ๓ งาน  ๖๐ ตารางวา  สร้างศาลาการเปรียญขึ้นมา ๑ หลัง ยาว  ๑๖ กว้าง  ๘ วา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ต่อมาได้สร้างวิหาร*หลวงพ่อโต*ขึ้น พ.ศ. ๒๕๒๐ ต่อมาจึงได้ขออนุญาตสร้างวัด ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ มีพระครู วชิรธรรมมากร เป็นเจ้าอาวาส มีกำนันเสริญ เก่งธัญการ เป็นที่ปรึกษาและดำเนินการ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ พระครู วชิรธรรมมากร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก พร้อมได้รับเป็นเจ้าคณะตำบลเทพนคร ท่านดำรงตำแหน่งอยู่ปีเศษๆ ท่านก็ได้มรณภาพลง คณะกรรมการ จึงเสนอให้เจ้าคณะตำบล แต่งตั้ง พระทิม อินฺทปญฺโญ รักษาการ ๑ พรรษา
จนงานพระราชทานเพลิงศพ  พระครู วชิรธรรมมากร  เสร็จสิ้นลง  ต่อมาพระครูวิบูล วชิรธรรม เจ้าคณะตำบลเทพนครเขต ๒ เจ้าอาวาสวัดมะกอกหวาน  ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์อนุเทพ จนฺทธมฺโม มารักษาการแทนอยู่ ๑ ปี    ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๔๙
เจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร  จึงแต่งตั้ง  พระอาจารย์อนุเทพ จนฺทธมฺโม เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน
ตำนาน*บ้านและวัดโขมงหัก*
ประนมกร  ขอวอนไหว้  พระไตรรัตน์          สารพัด  เทพไทย  ในสวรรค์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ฤทธิ์ไกร  ใหญ่อนันต์          ขอได้โปรด  มาช่วยกัน  คุ้มครองวัด  โขมงหัก เอย
โขมงหัก  นามนี้   มีมานาน               คนรุ่นเก่า  กล่าวขาน  มานานช้า 
                  คะโมงใหญ่  หักลง  ตรงมรรคา         นามพฤกษา  ต้นนั้น  ชื่อบ้านเรา
                  เวลาการ  ผ่านไป หลายอายุ             ต้นไม้ใหญ่  นั้นผุ  ถูกไฟเผา
        จากคะโมง  เป็นโขมง  ตามโครงเค้า            เปลี่ยนจากเก่า  เป็นชื่อใหม่  ใช่นามเดิม
        หลวงพ่อโต  มีมนตรา  ดลดวงจิตร               ด้วยศักดิ์สิทธิ์  ปกปักษ์  จะรักษา
        ได้ปกป้อง  คุ้มครอง  พี่น้องมา                     ตั้งแต่ รุ่นปู่ รุ่นย่า และ ตา ยาย
        พ่อแม่ พี่น้อง  จงร่วมใจ  ต่อไปเถิด               จะประเสริฐ  สมหวัง ดั่งใจหมาย
        วัดโขมงหัก มีพระครูอมร วชิรากร                เจ้าคณะ ตำบลเทพนคร เขต ๑
        อยู่คู่วัด ต่อๆ ไป  พวกเราท่านทั้งหลาย         คง สุข สม  อารมฌ์ ปอง… ๕ ๕ ๕
คาถาบูชา*หลวงพ่อโต*ตั้งนะโม ๓ จบ
อิมินา สักกาเรนะ   พุทธะมหา นุภาโว
อิมินา สักกาเรนะ   ธัมมะมหา นุภาโว
อิมินา สักกาเรนะ   สังฆะมหา นุภาโว
อิเมยันตา มหาเตชา มหานุภา ตะชาติกา
มหามังคะลา สัมพุทตา อันตราเย วินาสกา
สัพพะถะ สุขะ สัมพุทตา อเนกา คุณันตา นานับปะโก
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วินาสสันติ
สัพพะลาภัง สัพพะสุขัง ภะวันตุเมฯ
(  ปูชนียสถานและถาวรวัตถุภายในวัด  )
๑.   ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาชั้นเดียว ทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้อง เป็นศาลาไม้ทั้งหลัง สร้างปี พ.ศ.   ๒๕๑๑
๒.   วิหารหลวงพ่อโต สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๐
๓.   หอสวดมนต์ เป็นศาลาชั้นเดียว ทำด้วยไม้ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖
๔.   เมรุ ขนาดกลาง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๗
๕.   กุฏิเจ้าอาวาส เป็นอาคารชั้นเดียวทรงไทยประยุกต์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ พ.ศ. ๒๕๒๐
๖.   กุฏิสงฆ์ ๒ ชั้น  ๓ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ,พ.ศ. ๒๕๓๓ ,พ.ศ. ๒๕๔๒
๗.   ห้องน้ำ,ห้องสุขา ๑๐ ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
๘.   ศาลาธรรมสังเวช เป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงด้วยกระเบื้อง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗
๙.   ซุ้มประตู สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๙
๑๐.   กุฏิเรือนไทย เป็นอาคารสองชั้น เป็นเรือนไทยประยุกต์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐
๑๑.   หอระฆัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๒.   ศาลาพักผ่อน สร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้อง ทรงไทยประยุกต์  พ.ศ. ๒๕๕๐
๑๓.   ศาลาเจ้าแม่กวนอิม สร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้อง ทรงไทยประยุกต์  พ.ศ. ๒๕๕๐
๑๔.   ศาลาเอนกประสงค์ เ สาคอนกรีตเสริมเหล็ก เครื่องบนทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ หลังหลวงพ่อพระสีวลี พ.ศ. ๒๕๔๐
๑๕.   ศาลาทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก ไว้สำหรับเก็บเรือโบราณอายุนับร้อยกว่าปี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒

ลำดับเจ้าอาวาส
๑.   หลวงพ่อผ่อง
๒.   อาจารย์สุรินทร์
๓.   พระครูวชิรธรรมากร ฐานธมฺโม พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๔๗
๔.   อาจารย์ทิม อินฺทปญฺโญฺ รภ. พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๔๘
๕.   พระอาจารย์อนุเทพ จนฺทธมฺโม พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน -
-ปัจจุบันได้รับสมณศักดิ์พัดยศ พระครู อมรวชิรากร –
เจ้าคณะตำบล เทพนคร เขต1 ในปัจจุบัน


ประวัติหลวงพ่อโต วัดโขมงหัก
หลวงพ่อโต สร้างเมื่อปี ๒๕๑๒
   ตั้งแต่วัดโขมงหักยังเป็นสำนักสงฆ์อยู่ในขณะนั้นและ มีหลวงพ่อผ่อง เป็นหัวหน้าสงฆ์หรือเป็นจ้าอาวาสโดย มีมัคทายก ลุ้ย ไกรทอง เป็นผู้ริเริ่มปรึกษากับเจ้าอาวาส และญาติธรรมที่มาร่วมบำเพ็ญกุศลอีกหลายท่านด้วยกัน ต่างก็มีใจตรงกันที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ ไว้กราบไหว้บูชาสักการะสักองค์หนึ่ง เพราะตอนนั้นวัดโขมงหักยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆแม้แต่สักองค์เดียว
จากคำบอกเล่าของนาย ประยุทธ เสทสิงห์ คณะกรรมการอาวุโสวัดโขมงหักเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า หลังจากที่ปรึกษากันที่จะสร้างหลวงพ่อโตได้ไม่นานและ กำลังที่จะหาผู้ที่จะเป็นช่างสร้าง หรือ ปั้นหลวงพ่อโตอยู่นั้น จะด้วยเหตุผลกลใด หรือจะเป็นด้วยวาสนาบารมีของชาวบ้านโขมงหักก็เหลือเดา เผอิญมีพระเถระรูปหนึ่งจาริกมาที่วัดโขมงหัก เมื่อท่านทราบว่าญาติธรรมต้องการหาช่างปั้นพระพุทธรูป ท่านจึงรับอาสาที่จะสร้างให้โดยไม่คิดค่าจ้างแม้แต่สักบาทเดียว แต่ได้มีข้อแม้อยู่ว่า ต้องไปหาพระพุทธรูปเก่าๆ ที่ชำรุดอยู่แล้วนั้น จะมีเฉพาะเศียร หรือ เฉพาะองค์พระก็ได้
   พ่อเลื่อน พรมชาติ เป็นผู้อาสาไปนำเอาพระพุทธรูป ศิลาแลงที่วิหารร้าง วัดบึงอ้อมาให้พร้อมทั้งมัคทายก ลุ้ย ไกรทอง นายประยุทธ เสทสิงห์ และชาวบ้านอีกหลายคนที่ช่วยกันในครั้งนั้น และผู้เขียนได้รับข้อมูลจาก คุณน้า แสวง ภูชัยวงค์ ซึ่งเป็นหลานของท่าน เจ้าคุณสิทธิ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ หรือ อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ท่านบอกว่า เมื่อเขากำลังปั้นหลวงพ่อโตนั้น ท่านได้นำพระเครื่องจำนวนหลายสิบองค์ ที่ท่านได้รับมาจากคุณพ่อขอท่าน คือ ผู้ใหญ่บุญส่ง พรหมอินทร์ ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านเจ้าคุณ สิทธิ ผู้ใหญ่บุญส่ง บอกว่าได้มาจากกรุทุ่งเศรษฐี และ เจ้าคุณ สิทธิ รู้ว่าวัดโขมงหักสร้างพระพุทธรูป ท่านจึงมอบพระเครื่องของท่านให้ ผู้ใหญ่ บุญมา สามีของ คุณน้า แสวง มาร่วมบรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโตในครั้งนั้น รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนหนึ่งถาดเต็มๆ เมื่อเขากำลังสร้างหลวง พ่อโตอยู่นั้นผู้เขียนได้มีอายุประมาณ ๒๕ ปี และได้ไปยืนดูเขาปั้นหลายครั้ง หลวงพ่อโต คือ อุทเทสิกเจดีย์ปูชนีย์วัตถุ แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันควรแก่การสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้กราบไหว้


 






   



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!