จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 27, 2024, 03:11:01 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดตำนาน ผีโลง (โลง) เมืองกำแพงเพชร บันทึกตามคำบอกเล่าของคุณแม่เครือมาส จารุวั  (อ่าน 8796 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 11:48:39 pm »

เปิดตำนาน ผีโลง (โลง) เมืองกำแพงเพชร
บันทึกตามคำบอกเล่าของคุณแม่เครือมาส จารุวัฒน์ (อายุ ๙๓ ปี พศ. ๒๕๕๙)
   การเลี้ยงผีโรง (ผีโลง)เป็นผีของบรรพบุรุษของแต่ละบ้าน ผีพวกนี้ไม่ทำอันตรายหรือให้โทษกับใคร แต่ก็ต้องกราบไหว้บูชาเป็นประเพณี ดั้งเดิมของชาวมอญทุกหลังคาเรือน สืบทอดมาหลายร้อยปี ตามคำบอกเล่าของ คุณแม่เครือมาส จารุวัฒน์ (อายุ ๙๓ ปี พศ. ๒๕๕๙) ว่า คนกำแพงเพชรบางท่านที่มีเชื้อสายมอญ  ตั้งบ้านเรือนลักษณะเป็นเรือนไทย ใต้ถุนสูง แต่ปลูกเรือนเล็กๆคล้ายๆ ศาลเพียงตา ภายในเรือนเล็กๆ ได้ต่อเป็นโลงขนาดเล็กประมาณ ๒ ฟุต วางอยู่ในเรือนเล็ก และในโลง มีหม้อกระดูก ของบรรพบุรุษ วางเรียงกันอยู่ในโลง บางหลังตั้งโลง ภายในบ้าน  มีความเชื่อว่า ผีโลงดูแลคนในบ้านเป็นอย่างดี ไม่ให้เจ็บป่วยไข้ และป้องกัน ไฟไหม้โจรปล้นได้อย่างมหัศจรรย์ คนแม่เครือมาสเล่าว่า เมื่อคราวที่ไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ ในในเดือนเมษายน ปี ๒๕๐๖ เมื่อไหม้มาถึงบ้านที่เลี้ยงผีเรือนไว้ ไฟกลับข้ามบ้านหลังนี้ไป อย่างมหัศจรรย์ อีกครั้งหนึ่ง ผู้มาเช่าบ้านหลังนี้ ได้สะสมไม้เถื่อนไว้ จำนวนมาก มีผู้ไปแจ้งความ ป่าไม้และตำรวจ มาตรวจค้น ผู้เช่าบ้านได้บนว่า ถ้าค้นไม้เถื่อนไม่พบ จะสร้างศาลให้ใหม่ ไม่น่าเชื่อ ว่าเจ้าหน้าที่หาไม้เถื่อนไม่พบ ทำให้ ผู้นั้น สร้างศาลให้ใหม่ อย่างงดงาม
   การเลี้ยงผีโลง จะทำการเลี้ยง ในวันขึ้นปีใหม่ไทย คือในวันตรุษไทย มีการบวงสรวง เข้าทรงและมีการละเล่นหลายอย่าง เช่นการเข้าทรงผีกระด้ง การเข้าทรงนางกะลา เพื่อทำนายโชคชะตา ของคนในบ้านหรือของหาย ของเซ่น เดิมล้มหมู เป็นตัว
การรับผีโรง เมื่อครอบครัวใดมีบุตรเกิดมาเป็นคนหัวปี ในระยะแรกเกิดให้ทำพิธีรับผีโรง เสียชั้นหนึ่งก่อน มีพิธีกรรม คือ เตรียมชะลอมหรือภาชนะอื่นๆ ๑ ใบ ในชะลอมนั้นใส่กระเทียม เกลือ พริก ข้าวสาร หมากพลู และใบยาสูบ ถ้าได้ลูกชายใช้เทียนขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปหมู ๑ ตัว ส่วนลูกสาวให้ปั้นเพียงแค่หัวหมูเท่านั้น นำไปวางทับบนสิ่งของในชะลอม ใช้ธูป ๓ ดอกจากนั้นนำภาชนะอื่นๆหรือ ชะลอมไปวนรอบตัวเด็ก พร้อมกับพูดว่า
 "ผีเม็งผีมอญ แต่เก่าแต่ก่อนที่ทำกันมา ผีเหย้าผีเรือน ผีปู่ผีย่า ขอเชิญท่านมา รับผีโรงเทอญ" หรือกล่าวอย่างอื่น ๆที่ต้องการให้ผีโรงับรู้ก็ได้ พร้อมทั้งขอพรว่า "ขอให้ช่วยปกปักรักษา อย่ามีโรคาพยาธิใดใด อย่าเจ็บหลายหน่อย อย่าป่วยหลายไข้ อย่าโหยร่ำไห้เวลากลางคืน"
พิธีกรรมในการแก้หรือเช่นผีโรง เตรียมหมูที่เลี้ยงไว้หรือซื้อมา ถ้าลูกผู้ชายใช้หมู ๑ ตัว ลูกผู้หญิงใช้เพียงหัวหมู ๑ หัว แล้วนำมาจัดตั้งกองพิธีกลางแจ้ง เตรียมข้าวสวย ๑ ถ้วย น้ำพริกเผา ๑ ถ้วย เหล้าขาว ๑ ขวด บุหรี่ ๑ ซอง หมาก ๑ คำ น้ำ ๑ ขันจากนั้นเจ้าพิธีจะตั้งนะโม ๓ จบ และสวดบทชุมนุมเทวดาและบทลาว่า
"ผีเม็งผีมอญ แต่เก่าแต่ก่อน เคยทำกันมา ผีเหย้าผีเรือน ผีปูผีย่า ขอเชิญท่านมา กินของบัดพลีขอแก้ผีโรง ฉันเคยประสงค์ ขาดกันบัดนี้ ขอให้ลูกได้ สุขพิพัฒน์สวัสดี ทุกจรลี เป็นเงินเป็นทอง"
เมื่อลาแล้วให้เจ้าบ้านตัดหมูเป็นชิ้น ๆ แจกจ่ายแก่ญาติพี่น้อง หรือบางบ้าน อาจเชิญแขกมารับประทานอาหารร่วมกัน
ปัจจุบันบางบ้านยังรักษาวัฒนธรรม วิญญาณนิยม หรือผีโลงไว้ได้ แต่อาจปรับให้เข้ากับเหตุการณ์ความเขื่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!