จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 25, 2024, 12:07:45 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยทรงดำ ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง”ที่หมู่ ๖บ้านห้วยน้อย ตำบลแม  (อ่าน 3015 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 10:52:08 am »

ไทยทรงดำ
    ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง”ที่หมู่ ๖บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร   มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม สีฉูดฉาดลงบนผืนผ้าพอดูงามตาคติความเชื่อของชาวไทยทรงดำ จะนับถือและให้ความสำคัญกับผีและเทวดา เพราะเชื่อว่าธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเช่นแม่น้ำ ลำคลอง ป่าไม้ ภูเขา จะมีดวงวิญญาณต่างๆสิงสถิตอยู่ และจะให้ความสำคัญสูงสุดกับ “พระยาแถน” ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลและดวงวิญญาณของพ่อแม่ และบรรพชนของตระกูล ในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ จึงมีพิธีกราบไหว้บวงสรวงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรตลอดจนพิธีกรรมที่เกี่ยว ข้องกับดวงวิญญาณต่างๆ ของบรรพชน ซึ่งส่งผลให้สภาพสังคมโดยทั่วไปของชาวไทยทรงดำ มีกรอบของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมช่วยจัดระเบียบสังคม จึงทำให้ชาวไทยทรงดำในดินแดนสิบสองจุไทอยู่ร่วมกันและดำรงความเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์มาเนิ่นนานนับพันปี
    ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยได้อพยพชาวไทยทรงดำจากดินแดนสิบสอง จุไทยมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ณ จังหวัดเพชรบุรี ด้วยเหตุผลทางการปกครอง ครั้นต่อมาในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๒๐)ได้มีไทยทรงดำหลายกลุ่มทยอยอพยพจากจังหวัดเพชรบุรี มาตั้งถิ่นฐานในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี และส่วนหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านดอนมะนาว บ้านบางเลน บ้านหัวโพธิ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มากว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว บางส่วนอพยพ มาอยู่ ที่ชัยนาท นครสวรรค์ และกำแพงเพชร
    วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำมีความเชื่อเรื่อง “ผี” และเรื่อง “ขวัญ” โดยเชื่อว่าสิ่งต่างๆในโลกอยู่ภายใต้อำนาจของผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมต่างๆจึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างใกล้ ชิดกับผีประเภทต่างๆการนับถือผีของไทยโซ่งมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่สามารถบันดาลให้ชีวิต และครอบครัวเป็นไปตามความพอใจของผี จากการนับถือผีและความเชื่อเรื่องขวัญ จึงได้ก่อให้เกิดพิธีกรรมและจารีตประเพณีต่างๆในวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าที่เด่นๆ เช่น “พิธีเสนเรือน” “พิธีหน่องก๊อ” “พิธีป้าดตงข้าวใหม่”
   ไทยโซ่งจะมีการลำดับชั้นทางสังคมโดยใช้วงศ์ตระกูลหรือครอบครัวเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชนชั้น ได้แก่”ชนชั้นผู้ท้าว”หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า “ชนชั้นผู้น้อย”คือคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน วิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ทำไร่
 พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญพิธีหนึ่งของลาวโซ่งซึ่งจะขาด หรือละเลยเสียมิได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว และจะต้องจัดทำอย่าง น้อยปีละครั้งเพราะคำว่า "เสน"ในภาษาลาวโซ่ง หมายถึง การเซ่นหรือสังเวย
     "เสนเรือน" จึงหมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือนของพวกลาวโซ่ง อันได้แก่ การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ ที่บุตรหลานจัดหามาเซ่นไหว้ จะได้ไม่อดยาก และจะได้คุ้มครองบุตรหลานให้มีความสุขความเจริญสืบไป
     การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญผู้ประกอบพิธีคือ"หมอเสน" มาเป็นผู้ประกอบพิธีเสนเรือน พร้อมกับแจ้งญาติพี่น้อง ให้ทราบกำหนดวันทำพิธีไหว้ผีเรือน หรือเสนเรือน และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย ได้แก่ เสื้อฮี-ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ขณะทำพิธีเสนเรือน ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ บรรจุอาหารเครื่อง เซ่นผีเรือน) ปานข้าว(ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้หรือม้านั่ง สำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) 
     และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ อาทิหมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยำ) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซี่โครงหมู ไส้หมู ข้าวต้มผัดใส่กล้วย มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนม ผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่ง ๗ ห่อ ตะเกียบ ๗ คู่ หมากพลูบุหรี่และเหล้าเป็นต้น
     เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า "กะล่อห่อง" ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มเซ่นไหว้ ด้วยการเรียกหรือกล่าวเชิญบรรดาผีเรือน ที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ
     โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อ ที่เจ้าภาพจดร่วมกันไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า "ปั๊บผีเรือน" หรือ "ปั๊บ" จนครบทุกรายชื่อเป็นจำนวน ๓ ครั้ง แต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ ตะเกียบคีบหมู กับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ข้างขวาห้องผีเรือนที่ละครั้ง จึงเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีก ๒ ครั้ง เพราะการเซ่นเหล้าเป็นสิ่งสำคัญอันไม่อาจขาดหรืองดเสียได้ เพื่อ ให้ผีเรือนได้กินอาหารและดื่มเหล้าอย่างอุดมสมบูรณ์
     หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทำพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า "ส่องไก่"ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และจัดทำนาย ในลักษณะดังกล่าวคือหากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดีจะมีเรื่องร้าย เกิดขึ้นอันได้แก่การเจ็บป่วย การตาย หรือการทำมาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ ถ้าตีนไก่เหยียดตรง
     แสดงว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญต่อจากนั้น เจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสนที่มาช่วยทำพิธีเสนเรือน ให้แก่ครอบครัวของตนเรียกว่า "ฟายหมอ" แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธีเสนเรือน

 
พิธีเสนเรือนบ้านวังน้ำ อ.คลองขลุง กำแพงเพชร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!