จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 26, 2024, 12:59:02 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดสำคัญในตำบลแม่ลาด วัดคงคาราม บ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ ๑ ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง  (อ่าน 2888 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 10:50:28 am »

วัดสำคัญในตำบลแม่ลาด
วัดคงคาราม บ้านสุขสมบูรณ์ หมู่ ๑ ตำบลแม่ลาด  อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
   วัดคงคาราม เป็นสำคัญแห่งหนึ่ง ในตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่มีอายุ เกือบร้อยปี มีศาลาเก่า  ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนวัดคงคาราม ยังมีสภาพที่สมบูรณ์
มากวัดคงคารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง เหตุที่ชื่อว่าวัดคงคารามเพราะวัดตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำ จึงอาจเรียกตามลักษณะภูมิประเทศ จีงเรียกว่าวัดคงคาราม ซึ่งหมายถึง วัดแห่งแม่น้ำ ซึ่งมีความเป็นไปได้เช่นกัน เพราะแต่เดิมวัดนี้ ติดลำน้ำปิงเลยทีเดียว ปัจจุบัน มีถนนที่เป็นดังเขี่อนริมน้ำ ไม่ให้น้ำเข้ามาท่วมวัดและ เป็นทางสัญจรสำคัญในหมู่บ้านตั้งชื่อว่าวัดคงคารามเพราะตั้งชื่อตาม ชื่อของท่านผู้บริจาคที่ดินสร้างวัด คือนายคง  ฤมิตร จากคำบอกเล่าของ นางพูน ปราสาทแก้ว   เกิดเมื่อพศ. ๒๔๗๑ อายุ ๘๗ ปี
 
นางพูน ปราสาทแก้ว ลูกสาวนายคงผู้สร้างวัดคงคาราม
ลูกสาวคนสุดท้ายของ นายคง ฤมิตร เล่าให้ฟังว่าพ่อคือนายคง ได้บริจาคที่ดิน เพื่อสร้างวัด ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า คงคาราม เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดคงคาราม  ซึ่งนายคง ฤมิตร  อพยพมาจาก  บ้านวังตะล่อม หนองโสน อำเภอคลองขลุง  จังหวัดกำแพงเพชร  นายคง ฤมิตร ผู้บริจาดที่ดิน และผู้มีส่วนสำคัญในการรวบรวมผุ้คนสร้างวัด ทำหน้าที่ มัคคนายกวัดคงคาราม ตลอดอายุขัย
วัดคงคาราม  มีพระอาจารย์จุ่น จันทรสาโร  อายุ ๗๐ ปี เกิดเมื่อปี ๒๔๘๘  บวชมาแล้ว ๑๖ พรรษา  บิดาชื่อนายจอม สิงห์มณี มารดาชื่อนางเชื้อ พิกุลทอง (สิงห์มณี) ท่านมาอยู่ที่บ้านสุขสมบูรณ์ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๑๐

สถานที่สำคัญของวัดคงคาราม คือ
ศาลาเก่าแก่ ของวัดซึ่ง เดิมเป็นศาลาอเนกประสงค์ ใช้ทำบุญในวันพระ และเป็น โรงเรียน สำหรับเด็กในหมู่บ้าน เป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่สภาพเดิมๆ มีการต่อเติมบ้าง แต่ยังมองเห็นลักษณะและสถาปัตยกรรมที่งดงามอยู่
 
ศาลาการเปรียญวัดคงคาราม

โบสถ์ ขนาดกลาง ซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว  ผู้สร้างคือพระอาจารย์ปลั่ง ภายในมีพระพุทธรูป พุทธลักษณะแบบของชาวบ้านประดิษฐานอยู่ ไม่มีชื่อเรียกกันว่าพระประธานในโบสถ์ บูรณะใหม่เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้สร้างและบูรณะคือหลวงพ่อแซ (พระอธิการวิจิตร ถิรธัมโม)
 
พระประธานในมณฑป

 
พระอธิการจุ่น จันทสาโร  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

เจ้าอาวาส
พระอธิการสุข
หลวงพ่อแซ (พระอธิการวิจิตร ถิรธัมโม)
พระอธิการจุ่น จันทสาโร




ประวัติวัดพรหมประดิษฐ์
   วัดพรหมประดิษฐ์ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนี่ง ที่ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร หมู่ที่ ๓ บ้านแม่ลาดน้อย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน  ๘๐ ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙  ชาวบ้านเรียกว่า วัดแม่ลาดน้อย เริ่มสร้างเมื่อปี ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม ๒๕๒๙  เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นหัวลาดแม่ลาด เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๔๙ ทรงบันทึกไว้ว่า จึงไปจอดหัวหาดแม่ลาด ซึ่งมีต้นไม้ร่ม กินข้าวและแวะถ่ายรูปเล่นในที่นั้น  บริเวณนี้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นบริเวณที่วัดพระพรหมประดิษฐ์ แต่น่าแปลกมาก พระองค์ไม่ได้กล่าวถึงวัดพรหมประดิษฐ์   วัดพรหมประดิษฐ์ อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น อาจเป็นไปได้เช่นกัน จากคำบอกเล่า
 
บริเวณพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น
   
 
ศาลเจ้าพ่อหัวดาล บริเวณริมน้ำ หน้าวัด
 
นายประเสริฐ นามนาค อดีตผู้ใหญ่บ้านแม่ลาดน้อย
ของนายประเสริฐ นามนาค อดีตผู้ใหญ่บ้านแม่ลาดน้อย  ว่า แต่เดิม หมู่บ้านแม่ลาดน้อย และแม่ลาดใหญ่ มีวัดแม่ลาดใหญ่ เป็นศูนย์กลาง ต่อมา ประชากร ตำบลแม่ลาดน้อย มากขึ้น จึง สร้างวัดแม่ลาดน้อยขึ้น และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดพรหมประดิษฐ์ ตามชื่อนายพรหมผู้สร้างวัด
   วัดพรหมประดิษฐ์ เคยมีเจ้าอาวาสเท่าที่สืบได้ มีมาแล้ว  ๑๓ ท่าน  คือ
•   พระอาจารย์พรหม
•   พระอาจารย์ทิน
•   พระอาจารย์พุ่ม
•   พระอาจารย์แดง
•   พระอาจารย์บุญธรรม       พ.ศ. ๒๔๖๘ -๒๔๗๕
•   พระอาจารย์จวน         พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๒
•   พระสมุห์จันทร์ โฆสโก        พ.ศ. ๒๔๘๒- ๒๔๙๔
•   พระอธิการบุญมี อัคควังโส   พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙
•   พระอาจารย์ปาน         พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๓
•   พระอาจารย์สังข์         พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕
•   พระอาจารย์พนม      พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗
•   พระอาจารย์เล็ก         พ.ศ. ๒๕๐๗- ๒๕๑๓
•   พระครูนันทวชิโรดม เจ้าคณะตำบลแม่ลาด พ.ศ. ๒๕๑๓ – ปัจจุบัน
พระครูนันทวชิโรดม  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เกิดเมื่อปีมะเมีย ปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ อายุ ๗๒ ปี ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓ และเป็นเจ้าคณะตำบลแม่ลาด ตั้งแต่ ปี ๒๕๑๓
 
พระครูนันทวชิโรดม เจ้าอาวาส
จากคำสัมภาษณ์ พระครูนันทวชิโรดม เจ้าอาวาส ได้ความว่า   สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบสถ์ เก่า และศาลาเก่า ได้รื้อไปแล้วเพราะผุพังมาก ผู้เขียน ได้เคยเห็น ทั้งโบสถ์เก่า และศาลา เมื่อคราวผู้เขียน ได้มาตามรอยเสด็จประพาสต้นพระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร  เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ และเคยสัมภาษณ์หลวงตาเอม แจ้งดี  อายุ ๖๘ ปี  เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ ว่าวัดนี้ เดิมชื่อวัดแม่ลาด ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดพรหมประดิษฐ์ ท่านเล่าให้ฟังต่อไปว่า หน้าวัดมีหาดทรายที่งดงามมาก เรียกกันว่าหาดแม่ลาด หรือหัวหาดแม่ลาด  สันนิษฐานว่า เป็นบริเวณที่ พระพุทธเจ้าหลวง มาพักเสวยพระกระยาหารกลางวัน ในบริเวณ หน้าวัดพรหมประดิษฐ์นี้
   พระประธานในพระอุโบสถ นามว่าหลวงพ่อพรหมญาณมุนี  ผู้หล่อพระมีนามว่านายหล่อ เมื่อประมาณ ๘๐ ปีมาแล้ว (พ.ศ. ๒๔๗๘)
 
หลวงพ่อพรหมญาณมุนี  พระประธานในพระอุโบสถ

 
นายภาณุพงศ์ (หน่ำ) มณีพราย
   จากการสัมภาษณ์ นายภาณุพงศ์ (หน่ำ) มณีพราย  ชาวบ้าน ในบริเวณนั้น ได้ความสำคัญว่า  บริเวณ วัดพรหมประดิษฐ์ เป็นที่ประดิษฐานของศาลเจ้าพ่อหัวดาน  บริเวณหน้าวัดเป็นหินดาน ขนาดใหญ่ เชื่อว่าในถ้ำดาน มีจระเข้ใหญ่อาศัยอยู่ และมีเรื่องเล่าขานว่า  พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จมาเสวยพระกระยาหารกลางวัน บริเวณนี้
 
  .ใบเสมาโบสถ์โบราณที่รื้อไป
วัดธรรมธาราม (วัดบ้านห้วยน้อย)
 
   วัดธรรมธาราม หรือวัดบ้านห้วยน้อย          ตั้งอยู่เลขที่   ๑  หมู่ที่ ๖     บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด   อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๐๒  ผู้ก่อตั้งคือ ครูสวัสดิ์  อาจหาญ และผู้บริจาคที่ดินคือ พระอธิการปาน  ปิยวรรณโณ
   เดิมวัดบ้านห้วยน้อยเก่า ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้าน  เมื่อประชาชน จะไปทำบุญย่อมไม่สะดวก  เดินทางไปไกล และยากลำบาก ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างวัดใหม่ขึ้นแทนวัดเก่า ครูสวัสดิ์  อาจหาญ และผู้บริจาคที่ดินคือ พระอธิการปาน  ปิยวรรณโณ ได้ร่วมกับประชาชน สร้่างวัดขึ้นในสถานที่ปัจจุบัน
   ในปี ๒๕๐๕ ได้สร้างกุฏิพระขึ้นใหม่
   ในปี ๒๕๐๗ พระครูวชิรธรรโมภาส และชาวบ้านห้วยน้อย ช่วยกันสร้างศาลา ขนาดใหญ่ขั้นเรียกว่า  ศาลา ธรรมโมภาส
   ในปี ๒๕๔๔ ศิลปินแห่งชาติ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชาวบ้านห้วยน้อย  ได้สบทบทุน สร้างศาลาการเปรียญใหม่
 
      ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชาวบ้านห้วยน้อย  ได้สบทบทุน สร้างศาลาการเปรียญใหม่
วัดธรรมธาราม มีเจ้าอาวาส มาแล้ว  ๓รูป ดังนี้
         พระอธิการปาน  ปิยวรรณโณ
         พระอธิการทองใบ ธรรมธโร
         พระครูวชิรธรรมโมภาส พระครูวชิรธรรโมภาส
 
พระครูวชิรธรรโมภาส 

วัดแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
   มีหลักฐานจากการสัมภาษณ์ นายเลิศ นาคทอง  อายุ ๙๕ ปี เกิดเมื่อปี ๒๔๖๒ เป็นชาวบ้าน หมู่ที่ ๒  ตำบลแม่ลาด อ.คลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ว่า วัดแม่ลาดใหญ่ ผู้สร้างวัดแม่ลาดใหญ่ คือนายประสงค์ ลูกศร และชาวบ้าน ร่วมกันสร้าง ราวพ.ศ. ๒๔๘๓  เดิมขึ้นกับตำบลวังแขม เป็นหมู่ ๑ แม่ลาด และนายประสงค์ ลูกศรเป็นทายก วัดแม่ลาดใหญ่คนแรก
 
นายเลิศ นาคทอง ผู้ให้ข้อมูล
      ผู้ดูแลวัดแม่ลาดต่อมา คือ
ทายกสุ่ม เต็มแก้ว   ทายกเต็น และ กำนันสนอง พิมพ์สอน  ทายกดี ขุนศรีสุขา ปัจจุบัน ผู้ดูแลวัดแม่ลาดใหญ่คือ กำนันเฮียง ใจแสน
 มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคิอ  พระไพศาล โชติวโร  นามเดิม นายไพศาล เพชรคุ้ม   ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๘  ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๖ อายุ ๗๒ ปี  เดิมบวชอยู่  วัดดอนแก้ว  อ.แม่สอด จังหวัดตาก เป็นบุตรของนายยอง นางพริ้ง เพชรคุ้ม บ้านเดิมเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
 
พระไพศาล โชติวโร  เจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน
      วัดแม่ลาดใหญ่ มีเจ้าอาวาส ผ่านมาเท่าที่นายเลิศ นาคทอง จำได้ เริ่มจาก นายเลิศ บวชเมื่ออายุ ๒๑ปี ขณะนั้น  พ.ศ. ๒๔๘๓  เป็นปีแรกที่สร้างวัดแม่ลาด มีเจ้าอาวาส ดังมีรายชื่อ ต่อไปนี้
   ๑.พระอาจารย์อ่อน
   ๒.พระอาจารย์เว
   ๓.พระปลัดกษัย
   ๔.พระมหาชัยวัฒน์
   ๕.พระอาจารย์สุก
   ๖.พระอาจารย์ทุย
   ๗.พระสมุห์คำตา
   ๘.หลวงตาเลิศ
   ๙. พระอาจารย์ไพศาล โชติวโร 
 
พระอุโบสถ วัดแม่ลาดใหญ่ สร้างเมื่อปี ๒๕๐๘
แต่เดิมวัดแม่ลาดใหญ่มีน้ำท่วมทุกปี จึงเรียกว่าแม่ลาด หลังจากการสร้างเขื่อนภูมิพล แล้วน้ำจึงไม่ท่วมวัดแม่ลาดอีกต่อไปขณะนี้ วัดแม่ลาดใหญ่ มีพระจำพรรษาอยู่ ๗ รูป เป็นคนพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ เส้นทางที่บิณฑบาตคือ บ้านโคกกระแต กับบ้านโคกสว่าง  ชาวบ้านเป็นลาวครั่งเป็นส่วนใหญ่ ย้ายมาจาก จังหวัดสุพรรณบุรี  จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี  อยู่กันอย่างสงบ และมีความสุข
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!