จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 16, 2024, 08:52:19 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติเมืองคณฑี บรรยายพิเศษ ๒๖ สิงหา ๕๘ ที่ อบต.คณฑี  (อ่าน 3621 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 10:53:32 am »

                    ประวัติเมืองคณฑี

ถิ่นกำเนิดพ่อขุนศรี      ปราสาทเก่าเจ็ดร้อยปี           คณฑี เมืองโบราณ
                                           เล่าขานพระพุทธลีลา          กราบวันทาหลวงพ่อโต

ี           ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจนคือ
ถิ่นกำเนิดพ่อขุนศรี   เมืองคณฑีเมืองคณฑี
ถิ่นกำเนิดพ่อขุนศรี ปราสาทเก่าเจ็ดร้อยปี คณฑี เมืองโบราณ
เล่าขานพระพุทธลีลา กราบวันทาหลวงพ่อโต
ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีต มีคำขวัญประจำตำบล
ที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจนคือ
ถิ่นกำเนิดพ่อขุนศรี มีหลักฐานชัดเจนจากชินกาลมาลีปกรณ์ ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีกำเนิดที่บ้านโคน ยังมีชายคนหนึ่ง(จันทราชา)รูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่ร่วมสังวาสด้วยจึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของทั้งสองคนนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่ง และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้น ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่าพระเจ้าล่วง (ร่วง)
ปราสาทเก่าเจ็ดร้อยปี ซึ่งหมายถึง สิ่งก่อสร้างคล้ายพระเจดีย์ทรงปราสาท ภายในวัดปราสาท เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคณฑี ปราสาท ที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง วันดีคืนดี มีพระพุทธรูปทองคำออกมาจากปราสาท ซึ่งแสดงปาฏิหาริย์ให้ชาวบ้านพบเห็นเนืองๆเป็นที่สักการะของชาวกำแพงเพชรและชาวจังหวัดใกล้เคียง
คณฑีเมืองโบราณ ซึ่งหมายถึง เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่า เมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง
เล่าขานพระพุทธลีลา ที่เมืองคณฑีมีพระพุทธรูปลีลา ปางประทานพร ขนาดใหญ่สูงถึง 1.50เมตรมีพุทธลักษณะที่งดงามมาก เชื่อกันว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานที่ วัดปราสาทมาช้านาน แม้จะถูกโจรกรรมไป ด้วยอภินิหารของพระพุทธลีลา ทรงเสด็จกลับมาประดิษฐานที่วัดปราสาทดังเดิม
กราบวันทาหลวงพ่อโต หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ในวิหารวัดปราสาท ทรงความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธายิ่งแก่ประชาชน เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เมื่อสังเกตดูให้ดีพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ได้มีปูนฉาบไว้ภายนอก องค์จริงน่าจะเป็นทองสัมฤทธิ์ ที่มีพุทธลักษณะงดงามมากประชาชนพากันมากราบไหว้มิได้ขาด
เมืองคณฑี จึงมีคำขวัญที่อธิบายเรื่องราวของบ้านเมืองไว้อย่างชัดเจนยิ่งนัก........เมืองคณฑีมีประวัติความเป็นมาที่พิสดารยิ่ง เกินพรรณนา
เมืองคณฑี เป็นชุมชนโบราณ ที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จมาเมืองกำแพงเพชรครั้งที่ 2 เมื่อปี 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า
คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเชิงเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่อยู่ในบริเวณนี้คือวัดกาทึ้ง มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ อุโบสถก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ถัดจากอุโบสถไปทางทิศตะวันออก เป็น
วิหารที่มีขนาดใหญ่กว่า ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่เช่นเดียวกัน พระประธานภายในวิหารมีพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปหมวดเมืองกำแพงเพชร ตามโคกเนิน พบเศษภาชนะดินเผา แบบธรรมดาและแบบเผาไม่แกร่ง ไม่เคลือบ และเครื่องเคลือบแบบสุโขทัย ชุมชนโบราณบ้านโคนนี้ เชื่อกันว่าน่าจะเป็นเมืองคณฑี ตามที่กล่าวไว้ในจารึกหลักที่ 1 ว่าเมืองหัวนอน รอดคณฑี พระบาง นอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อีกด้วย
ตามตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า ที่บ้านโคน มีชายรูปงาม รูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ได้เป็นที่พอใจของนางเทพธิดา จึงได้ร่วมสังวาสด้วย จึงเกิดบุตรชายที่สง่างาม มีบุญยิ่ง ชื่อโรจราช ได้ไป
เป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงน่าจะมาจากเมืองคณฑี หรือบ้านโคนแห่งนี้
เมืองคณฑี เป็นเมืองใหญ่ มาก่อนเมืองใดๆในลุ่มน้ำปิง ดังจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยว่า ทิศใต้ ได้เมืองคณฑี ดังความว่า
สุโขทัยมีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย
สคา เท้าฝั่งของ เถิงเวียงจันทร์ เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคณฑี พระบาง แพรก สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ศรีรรมราช ฝั่งมหาสมุทรเป็นที่แล้ว…………….
ในจารึกหลักที่ 3 กล่าวถึงเมืองคณฑี ตั้งตนเป็นใหญ่ประกาศอิสรภาพ ตอนที่พญาลิไท เสด็จมาเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 1900 ประกาศตนเป็นเอกราช มีเจ้าผู้ครองนครของตน ความว่า
……….. หาเป็นขุนหนึ่ง เมืองคณฑีพระบาง หาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงทอง หาเป็นขุนหนึ่ง เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง จากนั้นเมืองคณฑี แทบจะหายไป จากประวัติศาสตร์
จากการสำรวจครั้งสุดท้าย ปี 2549 เมืองคณฑี ที่มีที่ตั้งบริเวณวัดกาทึ้ง น่าใช้ลำคลองกาทึ้งเป็นคูเมืองป้องกัน อาจใช้ไม้เป็นระเนียด แทนแนวกำแพงเมือง หรือมีแนวกำแพงเมืองแต่ร้างไปนาน จึงทำให้ กำแพงเมืองซึ่งเป็นกำแพงดิน สลายตัวไปตามสภาพ สภาพวัดกาทึ้งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ถูกรุกที่ ไม่เห็นความสำคัญ ที่เป็นโบราณสถานที่มีอายุนานนับพันปี น่าเสียดายยิ่ง…
นอกจากวัดกาทึ้ง แล้ว ยังมีวัดปราสาท ที่เก่าแก่ใกล้เคียงกัน น่าจะมีอายุราวสมัยทวารวดี
จากการวิเคราะห์ สภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุ พบซากโบราณสถานโบราณวัตถุจำนวนมาก
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่พ.ศ. 2450 มีเจดีย์ทรงปราสาทที่เรียก กันว่าวัดปราสาท
ทำให้วัดนี้น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิพิธภัณฑวัดปราสาท ที่งดงาม และมีโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่มาก
โดยเฉพาะพระปางลีลา ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
……. เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จผ่านวัดปราสาทว่า วันที่ 21 สิงหาคม 2449 ออกเวลา 2โมงเช้า 4โมงขึ้นเรือเหลือง
จนถึงบ้านโคน ซึ่งเดากันว่าเป็นเมืองเทพนคร แต่ไม่มีหลักฐานอันใด บ้านเรือนดี มีวัดใหญ่ เสาหงส์มากเกินปกติ……………
เมืองคณฑี จึงเป็นเมืองที่เก่าแก่ เสมอด้วยนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคลองเมือง อายุกว่าพันปี จึงเป็นเมืองที่น่าศึกษายิ่ง ....3วันที่ศึกษาอยู่ที่เมืองคณฑี ทำให้เห็นภาพเมืองคณฑีชัดเจนกว่าที่เคยเห็นมา...
สันติ อภัยราช..
ประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
                      ตามพงศาวดาร และคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  ได้กล่าวไว้ว่าพ่อขุนศรี  อินทราทิตย์มีพระนามเต็ม  คือ  กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  พระนามเดิม  พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่  “กล่างท่าว”)  ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย  ครองราชย์สมบัติ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1782 - 1822 (30 ปี คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ  ศ.ประเสริฐ  ณ  นครและ  พ.อ.พิเศษ  เอื้อนมณเฑียรทอง) 
                       เมื่อจุลศักราช 536 พระเจ้าสุริยราชา ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ได้ทรงตบแต่งซ่อมแซมแปลงเมืองพิจิตรปราการ(กำแพงเพชร)ขึ้นใหม่ครองราชย์สมบัติต่อไป มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สิริสุธาราชเทวี มีพระราชโอรสองค์หนึ่งด้วยพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่าจันทกุมารพระเจ้าสุริยราชา เมื่อแรกได้ราชสมบัติพระชนม์ได้ 20 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 28 ปี เสด็จสวรรคตพระชนม์ได้ 47 พรรษา พระองค์ประสูติวันจันทร์ จุลศักราช 570 พระจันทกุมารราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่า พระเจ้าจันทรราชาและตามพระราชพงศาวดารโยนก หน้า 80 วรรค 2 กล่าวไว้ว่ายังมีข้อความในหนังสือชินกาลมาลินี กล่าวถึงมูลประวัติของพระเจ้าโรจนราชผู้ได้ พระพุทธสิหิงค์มาจากศรีธรรมนครนั้นว่า บุรุษผู้หนึ่งหลงป่าที่บริเวณ บ้านโคณคาม(เข้าใจว่าบ้านโคนริมเมืองเทพนคร)และได้พบนางเทพธิดาแปลงเป็นมนุษย์(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)มาร่วมสมัครสังวาสเกิดบุตรได้มาเป็นเจ้ากรุงสุโขทัยทรงนามว่า โรจราช
                           ประวัติพระองค์ท่านจากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  หน้า  112-113  ตอนหนึ่งกล่าวถึงการประสูติของพระองค์ ได้ยินว่าที่บ้านโค  (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบัน)  ยังมีชายคนหนึ่ง(จันทราชา)รูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า  มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)เห็นชายคนนั้นแล้ว  ใคร่ร่วมสังวาสด้วยจึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของทั้งสองคนนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่ง  และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม  เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า  โรจราช    ภายหลังปรากฏพระนามว่าพระเจ้าล่วง
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ทั้งหมดเชื่อได้ว่า  เมืองคณฑีโบราณ  หรือตำบลคณฑี 
จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบันนั้นอยู่ในอาณาจักร  สุโขทัย  เนื่องจากพระเจ้าสุริยราชา  (พระอัยกาของ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ )  ครองราชย์สมบัติที่เมืองพิจิตปราการ  (เมืองกำแพงเพชร  ปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็เสด็จสวรรคตและต่อมาพระจันทกุมารราชโอรส  (พระเจ้าจันทรราชา  พระราชบิดา  ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ  ระหว่างนี้เกิดปาฏิหาริย์หลายสิ่งมากมายจนกระทั่งได้มเหสีเป็นเชื้อชาตินางนาคกุมารี  และมีพระราชโอรสคือ  พระร่วง  (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  นั่นเอง  เพราะอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อถือคือ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  ชินกาลมาลีปกรณ์  ว่า  บ้านเดิมของพระองค์อยู่ที่  “บ้านโคน ” ในจังหวัดกำแพงเพชร  พระองค์ทรงนำชนชาติไทยต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ  อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย  ทรงได้ชัยชนะขอมและประกาศอิสรภาพ  ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย  ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง-             เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง  เจ้า  เมืองราด 
แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถมรวมกำลังพลกัน  กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง  โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง  ศรีสัชนาลัย  และเมืองบางขลงได้  และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง  ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้  ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว  พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและยกพระกนิษฐา(นางเสือง)ให้เป็นมเหสีอีกด้วยส่วนพระนาม  “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”  ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม  ภายหลังได้กลายเป็น  ศรีอินทราทิตย์  โดยคำว่า “บดินทร” หายออกไป  เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้  เป็น  บดีแห่งอินทรปัต  คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร  (เมืองอินทรปัต)  อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์  ส่งผลให้  ราชวงศ์พระร่วง  เข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น  และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป  แต่เขตแดนเมืองสลวงสองแคว  ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่ในกลางรัชสมัย  ทรงมีสงครามกับขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด  ทรงชนช้างกับขุนสามชน  แต่ช้างทรงพระองค์  ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า  “หนีญญ่ายพ่ายจแจ” ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก  ทรงมีพระปรีชาสามารถ  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า  รามคำแหงในยุคประวัติพ่อขุน
ศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม  5 พระองค์  ได้แก่
1.       พระราชโอรสองค์โต  (ไม่ปรากฏนาม)  เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2.       พ่อขุนบานเมือง
3.       พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
4.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)
5.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)
วิธีการคิดปั้นรูปหล่อ(จินตนาการ)พ่อขุนศรีฯ
เมื่อเทียบเคียงวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ของหลักฐานที่มีอยู่ จัดแบ่งลำดับขั้นตอนความสำคัญที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ โดยนำมาประมวลออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมขององค์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งกำหนดลักษณะตามแบบอย่างพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องพระอิสริยยศทรงจอมทัพไทย ประทับยืนทรงถือพระแสงขรรค์ชัยศรีด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง พระพักตร์ทอดพระเนตรเบื้องหน้าเสมือนกับทรงดูแลอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขขณะเดียวกันก็ยังคงดูลักษณะการประทับยืนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นท่าประทับยื่นที่สง่างามกว่าทุกพระองค์) ประกอบไปด้วย
                เมื่อได้ลักษณะของรูปแบบจากความคิดแล้วออกแบบเขียนภาพร่าง โดยคัดเลือกคนผู้เป็นหุ่นยืนเป็นแบบเพื่อดูลักษณะการยืน ดูกล้ามเนื้อ ดูโครงสร้างของร่างกายแต่ละส่วน เพื่อพิจารณาถึงรายละเอียดที่จะต้องแสดงให้ปรากฏออกมา ซึ่งจะต้องมีความเป็นพิเศษต่างจากบุคคลทั่วไป เพื่อให้มีภาพลักษณ์เป็นองค์พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ จากนั้นเป็นเรื่องของแบบเครื่องทรง
                  เครื่องทรงของแบบรูปปั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระวรกายตอนบนเป็นลักษณะเครื่องทรงแบบสุโขทัยโบราณ ทรงสวมพระมงกุฎทรงเทริด ยอดพระมงกุฎเป็นลวดลายกลับบัว 3 ชั้น
พระศอมีสร้อยพระศอ และพระกรองศอ สร้อยสังวาลพร้อมทับทรวงพระพาหุตอนบน ประดับ
พาหุรัด ข้อพระหัตถ์เป็นทองกร พระวรกายจากบั้นพระองค์ถึงพระบาททรงฉลองพระภูษายาวกรอบข้อพระบาท พร้อมคาดปั้นเหน่งทับและห้อยพระสุวรรณกันถอบด้านหน้าพระภูษาทรงด้านเปิดชายผ้าชั้นนอกซ้าย-ขวาลักษณะทิ้งชายผ้าให้พลิ้วเคลื่อนไหว ชายผ้าทั้งชั้นนอกและชั้นในเป็น
ลายกรวยเชิงประดับ และข้อพระบาทประดับทองบาท(กำไลเท้า) พร้อมฉลองพระบาท ทั้งนี้เพื่อต้องการให้พระบรมรูปมีลักษณะของฉลองพระองค์เป็นแบบมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยโบราณตามที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า
ตำรายาสมุนไพรไทยโบราณ
    
ยาแผนโบราณ
          คือ ยาที่ได้ใช้กันมาในอดีตเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีที่ใช้อยู่บ้าง ต้นตอของยาแผนโบราณได้จาก พืช (พืชวัตถุ) สัตว์ (สัตววัตถุ) และแร่ธาตุ (ธาตุวัตถุ) ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ได้มีการใช้แบบบอกเล่าต่อๆ กันมา ไม่มีการค้นคว้าวิจัยเหมือนอย่างยาแผนปัจจุบัน
          พืชที่ใช้เป็นยาอาจเป็นพืชยืนต้น  พืชล้มลุก หรือพืชผักสวนครัว รวมทั้งผลไม้โดยใช้พืชทั้งต้นหรือส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เปลือก แก่น ดอก เกสร ใบ ผัก ผล ฯลฯ
          จากตำราวิชาเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ  ในหัวข้อเภสัชวัตถุกล่าวไว้ว่า
          เภสัชวัตถุประเภทพืช  (พืชวัตถุ)  ได้จาก ต้น แก่น ใบ หัว เหง้า ราก  กระพี้ เนื้อไม้ ยางไม้ เปลือกต้น เปลือกลูก เปลือกเมล็ด ดอกเกสร กิ่ง ก้าน ฯลฯ พืชวัตถุแบ่งเป็น
          จำพวกต้น  เช่น  กระเจี๊ยบ  กระถินไทย  กระดังงาไทย กระท่อม กานพลู  ฯลฯ
          จำพวกเถา-เครือ  เช่น  กระทกรก หนอนตายหยาก ชะเอมไทย ตำลึง ฯลฯ
          จำพวกหัว-เหง้า เช่น กระชาย กระเทียม กระวาน กลอย ขิงบ้าน ฯลฯ
          จำพวกผัก เช่น ผักกะเฉด ผักบุ้งจีน ผักหวานบ้าน ผักกาด ผักเบี้ย ฯลฯ
          จำพวกหญ้า เช่น หญ้ากระต่ายจาม หญ้าคา หญ้างวงช้าง หญ้าแห้วหมู ฯลฯ
          จำพวกเห็ด แบ่งเป็น  เห็ดที่เป็นอาหารและประกอบเป็นยาได้ และเห็ดเบื่อเมา
          เห็ดที่เป็นอาหารและเป็นยา เช่น เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดโคน ฯลฯ
          เห็ดที่เบื่อเมา เช่น เห็ดงูเห่า เห็ดตาล เห็ดมะขาม ฯลฯ
          ยาที่ได้จากสัตว์  อาจใช้สัตว์ทั้งตัว  ส่วนหรืออวัยวะของร่างกายสัตว์ รวมทั้งมูล เลือด น้ำดีของสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์พวกนก เช่น ตับ ดี เลือด  เขา นอ กระดูก ฯลฯ

         จากคัมภีร์วิชาเภสัชกรรมไทยแผนโบราณกล่าวไว้ว่า
          เภสัชวัตถุประเภทสัตว์  (สัตววัตถุ) ได้จากสัตว์ทุกชนิด และอวัยวะของสัตว์ทั้งหลาย เช่น ขน หนัง เขา นอ เขี้ยว งา ฟัน กราม ดี หัว เล็บ กีบ กระดูก เนื้อ เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ สัตววัตถุแบ่งออกเป็น
          จำพวกสัตว์บก  เช่น กวาง (เขาแก่ เขาอ่อน) งูเห่า (หัว กระดูก ดี)  แรด  (เลือด  หนัง  นอ กีบเท้า) คางคก (ทั้งตัว) แมลงสาบ (มูล) แมงมุม (ตายซาก) ฯลฯ
          จำพวกสัตว์น้ำ เช่น ปลาช่อน (ดี หาง เกล็ด) ปลาไหล (หาง หัว) ปลาหมึก (กระดอง หรือลิ้นทะเล) ปูม้า (ก้าม กระดอง) ฯลฯ
          จำพวกสัตว์อากาศ  เช่น อีกา หรือ นกกา (หัวกระดูก ขน) นกยูง (กระดูก  แววหาง  ขนหาง)  ผึ้ง(น้ำผึ้ง) นกนางแอ่น (รัง) นกกระจอก (ใช้ทั้งตัวถอนขนออก) ฯลฯ
          จำพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  เช่น  หอยโข่ง(เปลือก) เต่านา (หัว กระดองอก) จระเข้ (ดี) ปูทะเล(ก้าม) ปูนา (ทั้งตัว) กบ (น้ำมัน กระดูก) ฯลฯ
          สำหรับแร่ธาตุที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ดินสอพอง ดีเกลือ จุนสี ฯลฯ

          จากตำราแพทย์แผนโบราณตอนที่ว่าด้วยเรื่องเภสัชวัตถุ กล่าวว่า
          เภสัชวัตถุประเภทธาตุ  (ธาตุวัตถุ) ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่-ธาตุ ธาตุวัตถุแบ่งได้เป็น
          จำพวกสลายตัวง่าย  (หรือสลายตัวอยู่แล้ว)  เช่น กำมะถันเหลือง สารส้ม กำมะถันแดง ดีเกลือ จุนสี พิมเสน ฝรั่ง น้ำซาวข้าว ปรอท การบูร ฯลฯ
          จำพวกสลายตัวยาก เช่น เหล็ก (สนิม) ทองแดง ทองเหลือง ทองคำ เงิน ฯลฯ
          จำพวกที่แตกตัว  เช่น ดินสอพอง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลกรวด ดินเหนียว ฯลฯ

          ยาแผนโบราณ ยังอาจแบ่งเป็น
          ยาตำรับลับ คือ ยาที่มิได้แจ้งส่วนประกอบหรือ มิได้แจ้งปริมาณของส่วนประกอบเป็นการเปิดเผย  มักเป็นยาประจำครอบครัวของแพทย์แผนโบราณ
          ยาผีบอก  คือ ยาที่ได้จากการฝัน หรือ เข้าทรงโดยผู้มาเข้าฝันหรือผู้เข้าทรงบอกตำรับยา เพื่อให้ผู้ใช้หายจากโรคเป็นการเอาบุญ เมื่อหายแล้วผู้ใช้ยาต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของตำรับด้วย
          ยาสำเร็จรูป คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขยอมรับหรือประกาศให้ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้
          ยากลางบ้าน  คือ ยาที่ได้จากสิ่งที่มีอยู่ในบ้าน ในครัวหรือในสวนครัว เช่น ใบพลู หมาก ปูน (ที่กินกับหมาก) ขิง ข่า ตะไคร้ ใบโหระพา มะกรูด มะนาว สับปะรด ฯลฯ
 

          ในตำราวิชาเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ ยังแบ่งประเภทของยาตามรสได้ดังต่อไปนี้
          ยารสฝาด เช่น เปลือกมังคุด เปลือกต้นข่อย ใบฝรั่ง ใบชา ฯลฯ
          ยารสหวาน เช่น น้ำตาลกรวด น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ชะเอมเทศ ข้าวงอก ฯลฯ
          ยารสเบื่อเมา เช่น กัญชา ลำโพง (เมล็ด ราก ดอก) มะเกลือ (ลูก ราก) ฯลฯ
          ยารสขม  เช่น  เถาบอระเพ็ด  รากระย่อม  ลูกมะแว้ง หญ้าใต้ใบ แก่นขี้เหล็ก ฯลฯ
          ยารสเผ็ดร้อน เช่น เมล็ดพริกไทย ดอกกานพลู กะเพรา (ใบ ราก) ฯลฯ
          ยารสมัน  เช่น เมล็ดถั่วลิสง หัวแห้ว ไข่แดง เมล็ดบัวหลวง น้ำมัน เนย ฯลฯ
          ยารสหอมเย็น เช่น ดอกมะลิ ดอกพิกุล เกสรบัวหลวง ใบเตยหอม ฯลฯ
          ยารสเค็ม  เช่น   เกลือสมุทรหรือเกลือทะเล ดีเกลือไทย ดินโป่ง ใบหอม ฯลฯ
          ยารสเปรี้ยว เช่น น้ำในลูกมะนาว ลูกมะดัน ส้มมะขามเปียก สารส้ม มดแดง ฯลฯ
          ยารสจืด เช่น ใบผักบุ้ง ใบตำลึง เถารางจืด ดินสอพอง น้ำฝน  ฯลฯ

          ยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่
          ยานัตถุ์ ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตรายหรือ ยาควบคุมพิเศษผสมอยู่
          ยาหอม ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตรายหรือ ยาควบคุมพิเศษผสมอยู่

          ยาไทยโบราณ ซึ่งใช้ชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีการผสม และคำอธิบายสรรพคุณตรงตามตำรายา  ซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษารวม ๑๖ ขนานคือ
          ยามหานิลแท่งทอง ยาเทพมงคล ยาเขียวหอม ยาประสะกะเพรา ยาเหลืองปิดสมุทร์ ยาอัมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ยาตรีหอม ยาจันทน์ลีลา ยาประสะจันทร์แดง ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมนวโกฏ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู

 
 
















 
ประวัติพระบาทหันตาม
 ท่านไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปถวายพระพร ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลย์เดชรัชกาลที่ 9 ภาพนี้ที่น่าแปลกก็คืน ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้านซ้ายของภาพ พระบาทของท่าน ก็จะหันมาชี้ที่คุณอยู่ คุณมาอยู่ตรงกลางหรือไปทางขวา พระบาทก็จะชี้ตามไปทางนั้น เรียกว่าเราไปทางไหน ก็จะมองเห็นพระบาทชี้ตามไปตลอด และภาพนี้ไม่ใช่ภาพ 3 มิติด้วยครับ เป็นภาพถ่าย เสียดายครับถ้าหากท่านไม่มาชมพระบารมี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีให้ถ่ายรูปได้ จึงขอเชิญท่านร่วมได้ด้วยถวายพระพร ด้วยตนเองครับ
            วัดปราสาท ต.คณฑี อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
 









 

 ประวัติเสาหงษ์และตัวหงษ์
ประเพณีการสร้างเสาหงส์นั้น เป็นประเพณีที่พบเห็นได้ทั่วไปตามชุมชนชาวมอญในเมืองไทย ทุกวันนี้ยังพบว่ามีปรากฏในเมืองมอญ(ประเทศพม่า) บ้างไม่ในบางวัด เช่น วัดเกาะซั่ว วัดธอมแหมะซะ เมืองมะละแหม่ง แต่เดิมชาวมอญมีคติการสร้างเสาธง เป็นการสร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ตามตำนานในพุทธประวัติแต่เดิมที่ว่า มีชาวบ้านป่าที่ยากจนเข็ญใจ ต้องการบูชาพระพุทธคุณ จึงได้กระทำไปตามอัตภาพของตน ด้วยการนำผ้าห่มนอนเก่าๆของตน ผูกและชักขึ้นเหนือยอดเสา และเกิดอานิสงค์ผลบุญ ครั้นสิ้นชีวิตลงได้ไปเกิดเป็นพระราชาผู้มีทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติใน ภพชาติต่อมา จากตำนานดังกล่าวจึงมีประเพณีการสร้างเสาธงสืบมาจนปัจจุบัน“เสา หงส์” สำหรับวัดมอญในเมืองไทยทุกวันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มีกันแทบทุกวัด ถึงแม้บางคนจะกล่าวว่า            “เสาหงส์” มีแต่ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะคนมอญในเมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดี เมื่อต้องจากบ้านทิ้งเมืองไปอยู่เมืองไทย และเพิ่งจะมีขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เอง โดยยกเอาบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ที่ตอบถวายพระ บาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ถึงความเป็นมาของการสร้างเสาหงส์    “หงส์” เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติของชาวฮินดู ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่เดิมเมื่อได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ จึงเอาคติเรื่องหงส์มาผนวกเข้ากับความเชื่อในพุทธศาสนา ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า และ “หงส์” ก็เป็นสัตว์ชั้นสูงของผู้ที่นับถืศาสนาพุทธทุกชนชาติ เช่น ไทย จีน พม่า เขมร ลาว ญวน ไม่เฉพาะมอญเท่านั้น“เสาหงส์” นั้นสืบเนื่องมาจากสมัยก่อนที่มีการสร้างเสาแขวนธงยาวแบบธงจีน เป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทว่าธงนั้นงามเฉพาะเวลากลางวันครั้นยามกลางคืนก็มองไม่เห็น ต่อมาจึงมีคนคิดผนวกโคมไฟขึ้นบนเสานั้นด้วย ออกแบบให้เป็นรูปหงส์คาบโคมไฟห้อยลงมา ไม่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวมอญ อันเป็นต้นกำเนิดของเสาหงส์ในหมู่ชาวมอญเมืองไทย และกลายเป็นประเพณีนิยมและรับรู้กันทั่วไปว่าวัดที่มี “เสาหงส์” แสดงว่าเป็นวัดมอญหากเหตุผลเป็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว แสดงว่าในเมืองมอญก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง “เสาหงส์” เพราะเมืองหงสาวดีก็อยู่ ณ เมืองนั้นแล้ว พบเห็นกันอยู่ได้ง่าย แต่เท่าที่ผู้เขียนได้พบวัดมอญในเมืองพม่ามาหลายวัดก็ปรากฏมีเสาหงส์อยู่มาก มาย หน้าตาผิดแผกแตกต่างกันไป และก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเสาหงส์ในเมืองมอญมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด ถามผู้เฒ่าผู้แก่ก็บอกแต่เพียงว่ามีมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อมูลอ้างอิงได้























 

รายการขอบคุณจาก ธกส
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง และสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัด ทุกจังหวัด ซึ่งนำโดย นายศรายุทธ ยิ้มยวน
ตำนานพระพุทธบาท 4 รอย
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจารึกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจัยตะประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน)จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ ชื่อเขา เวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์ และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขา เวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั้น ก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากุสันธะ ,พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธานเมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่า พระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่าดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพรบาทไว้ ณ ที่นี่ทุกๆ พระองค์ และแม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ และจักประทับรอยพระบาท 4 รอยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือประทับลบรอยทั้ง 4 ให้เหลือรอยเดียว ) เมื่อพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระทาบของพระพุทธเจ้าทั้ง 3พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ จึงเกิดเป็นพระพุทธบาท 4 รอย เมื่อองค์สมเด็จพรสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิษฐานว่าในเมื่อ (เรา) ตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาทที่นี่ ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว 2000 ปี พระพุทธบาท 4 รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปเชตุวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระธาตุของพระพุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธบาท 4 รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงมาแล้วประมาณ 2000 วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาท 4 รอย ปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้ ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ (เหยี่ยว) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพต อันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้เพื่อบินลงไปเอาลูกไก่ของชาวบ้าน ( คนป่า ) ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็คิดตามไปค้นหาดู แต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้น แต่เห็นรอยพระพุทธบาท 4 รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์ พรานป่าผู้นั้นก็ทำการสักการะบูชาเสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก็เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟัง ข้อความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆ กันไปแรกแต่นั้น คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก


 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!