จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 26, 2024, 06:40:31 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต้นฉบับ  (อ่าน 3851 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: เมษายน 22, 2015, 05:18:10 am »

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต้นฉบับ ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร
อ.สันติ อภัยราช
ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่า พันปี  เมืองที่รู้จักกันดี คือ
เมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยาง ถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะ เมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขานบริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่
เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบัน สำรวจล่าสุดปี๒๕๕๖ เดิมเมื่อฝรั่งไปทำเกษตรบริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำ เพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมือง หนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถีงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ – ๑๘๐๐)
เมืองไตรตรึงษ์ อยู่บริเวณบ้านวังพระธาตุ อำเภอเมือง สำรวจล่าสุดปี ๒๕๕๖ยังมีลักษณะเมืองที่สมบูรณ์มีกำแพงสามชั้น  ชั้นในสุดกว้างประมาณ ๘๐๐ เมตร ยาว ๘๔๐ เมตร อยู่คนละฝั่งแม่น้ำปิง กับเมืองเทพนคร  ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ ให้งบประมาณสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์ ตามแบบของกรมศิลปากรแล้ว
เมืองพาน อยู่บริเวณ อำเภอพรานกระต่าย สำรวจล่าสุดปี ๒๕๕๖เป็นเมืองโบราณมีคันดินคูน้ำ สามชั้น เช่นกัน มีลักษณะคล้ายกับ เมืองไตรตรึงษ์ มีการสำรวจและขุดแต่งเป็นบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นคลองบางพาน พบหลักฐานมากมาย เช่นพระเครื่อง พระบูชา และพบ บริเวณที่เป็นตำหนัก ในคูน้ำ ใหญ่มาก พบเสาตำหนักจำนวนมากในบริเวณ วังพาน
เมืองคณฑี อยู่ถัดจากเมืองเทพนคร   อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง จากการลงพื้นที่สำรวจล่าสุดปี ๒๕๕๖ ไม่พบคูน้ำ คันดิน พบวัดโบราณ เก่าแก่คือวัดกาทึ้ง และวัดปราสาท และโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ก่อนสมัยสุโขทัย
เมืองโกสัมพี เป็นเมืองโบราณทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำปิง อยูในเขตอำเภอโกสัมพีนคร ชาวบ้านเรียกกันว่าบ้านคลองเมือง จากการสำรวจล่าสุด ปี ๒๕๕๖ ไม่พบหลักฐานอะไรเหลืออยู่เลย พบเพียง คันดิน และคูน้ำเท่านั้น เป็นเมืองที่อยู่บนเชิงเขา ชัยภูมิงดงามงาม เฉพาะในการดูแลป้องกันตัวเองมาก
เมืองรอ เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนอยู่กับตำบลถ้ำกระต่ายทองในปัจจุบัน จากการสำรวจในล่าสุดปี ๒๕๕๕ พบ คูน้ำ คันดิน เตาถลุงเหล็ก โบราณ วัดโบราณ ประชาชน บริเวณนั้นยังเรียกขานว่าเมืองรอเช่นกัน
หมายเหตุ
ผู้สำรวจ นายสันติ อภัยราช และคณะ ได้บันทึก สารคดีโทรทัศน์ ในรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม  ชมได้ จากยูทูป
หลักฐานที่กล่าวถึงเมืองโบราณในกำแพงเพชร
   จากจารึกหลักที่ ๑(พ่อขุนรามคำแหง) จารึกในปี ๑๘๓๕
กล่าวถึงเมืองคณฑี     ความว่า เบื้องหัวนอน รอดคนที... กล่าวถึงเมืองคณที ในจารึกแสดงว่า เป็นเมืองสำคัญมาก และใหญ่มาก
จากจารึกหลักที่ ๓  (จารึกนครชุม) จารึกในปี ๑๙๐๐
 กล่าวถึงพญาลิไทนำพระบรมธาตุมาประดิษฐานที่ เมืองนครชุม ความว่า  หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุ อันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม..
จากจารึกหลักที่ ๘ (จารึกเขาสุมนกูฏ)  พ.ศ.  ๑๙๑๒
 กล่าวถึงเมือง ต่างๆความว่า มีทั้งชาวสระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว สุพรรณภาวะ  นครพระชุม  ในปีนี้... ชากังราว เกิดขึ้นแล้ว บนฝั่งตะวันออก นครชุมอยู่ฝั่งตะวันตก ส่วนเมืองสุวรรณภาวะ ยังไม่ค้นพบว่าอยู่บริเวณใด
จากจารึกหลักที่  ๓๘ (จารึกวัดมหาธาตุวัดสระศรี)หรือศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร (ราวพ.ศ. ๑๙๐๐-๒๐๐๐) ความว่า
   ....พระนครนี้ สิทธิสมเด็จบพิตร (มหาราชบุตร) ราชศรีบรมจักรพรรดิราช ท่านเสด็จขึ้นเสวยภิรมย์ สมดังราชมโนรถ ทดแทนแดนพระธรรมราชสีมานี้ ดุจตาวตึงสาพระองค์ท่านเสด็จในกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ ด้วยพระราชศฤงคารบริพารพลและจตุรงคนิกรธารลำน้ำ.....
ชากังราว อาจเปลี่ยนชื่อเป็นกำแพงเพชร ในช่วงนี้ ได้เช่นกัน
    จากหลักฐานจากศิลาจารึกที่อ้างถึงทั้งหมดเชื่อได้ว่า กำแพงเพชร เป็นเมืองใหญ่และเป็นเมืองโบราณในลุ่มน้ำปิง นับกว่าพันปีมาแล้วอย่างแน่นอน
(สรุปผลจากการสัมมนา ทบทวน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ๒๗-๒๘ กันยายน ๒๕๕๗ ที่หอสวดมนตร์วัดคูยาง)

 






กำแพงเพชร ยุคหิน
อ.สันติ อภัยราช
 
ขวานหินที่พบในบริเวณเขากะล่อน
ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็นแนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว ๒ กิโลเมตร  จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว ๑๐,๐๐๐ปี

 
สภาพเขากะล่อนในปัจจุบัน
เขากะล่อน แหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ ที่ค้นพบ เมื่อปี ๒๕๒๙ ที่บ้านหาดชะอม อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งโบราณคดี ยุคหินใหม่ จากการที่จังหวัดได้ให้สัมปทานเขากะล่อนให้ผู้รับเหมา สร้างทางหลวงแผ่นดินสายขาณุ เก้าเลี้ยว เมื่อไถหน้าดินลงไป ๑-๒ เมตร ก็พบขวานหินโบราณจำนวนมาก
เขากะล่อนเป็นเขาดินลูกรังต่อกันสามลูก เรียงตัวในทางทิศเหนือ-ใต้ อยู่ห่างจากลำน้ำปิงราว ๒ กิโลเมตร จากการไถขุดบริเวณเชิงเขา ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิขวานหินขัด ขนาดต่างๆ รวมที่ยังทำไม่สำเร็จหลายร้อยอัน หัวธนูหิน กำไลหิน ที่ติดอยู่กับกระดูกท่อนแขน ได้ถูกรถแทรกเตอร์ดันขึ้นมา
เขากะล่อน ตามแผนที่ทหารมีชื่อว่า เขาการ้อง ภูมิประเทศและทำเล เหมาะกับ เป็นที่ตั้งบ้านเรือน คืออยู่บริเวณริมน้ำปิง เชิงเขากะล่อน น้ำจะท่วมไม่ถึง เขากะล่อนเคยได้รับการใส่ใจ จากเจ้าหน้าที่อยู่พักหนึ่ง แต่ไม่นาน ก็ไม่มีคนสนใจ ปัจจุบันกับถูกทอดทิ้ง ไร้คนดูแล ถูกลักลอบขุดลูกรังมาขาย
ชุมชนโบราณแหล่งโบราณคดีเขากะล่อน เป็นแหล่งมนุษย์ยุคหินยุคแรกของกำแพงเพชร คือราว ๑๐,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมา นับว่าน่าสนใจ เป็นอันมาก สมควรที่กรมศิลปากรได้ขุดค้นอย่างจริงจัง เพื่อได้ยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่าเมืองกำแพงเพชร เก่าแก่ถึงขั้น ยุคหิน
เขากะล่อน จึงเป็นสถานที่สำคัญที่แสดงรากฐานความเป็นชุมชนโบราณ ที่ควรขุดค้นเพื่อหาความจริง แห่งความภูมิใจในความเป็นเมืองกำแพงเพชร เราอาจพบอะไรอีกมากมาย ในการขุดค้นอย่างใช้หลักวิชา โดยไม่ใช้ รถขุด หรือแทรกเตอร์ ก่อนที่หลักฐานทุกอย่างจะถูกทำลายไป ด้วยมือของพวกเรา……………….







กำแพงเพชร เมืองก่อนประวัติศาสตร์
อ.สันติ อภัยราช
การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  พบ ตะเกียงดินเผา    แวดินเผา  แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของ คำว่านาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน
ขี้แร่  เศษพาชนะดินเผา จำนวนมาก
การสำรวจ บ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์ มากมายตำนานเมืองโกสัมพี  จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า
         พระพุทธศักราช ๑๐๐๒ ปี จุลศักราช ๑๐ ปีรกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้เสวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร(สันนิษฐานว่าเมืองตาก) จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลลงไปสร้างเมืองลโว้ได้ ๑๙ ปี เมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๐๑๑ พรรษา จุลศักราชได้ ๑๐ ปีรกาสัมฤทธิศก แล้วพระยากาฬวรรณดิศราช ให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง แลขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ แลเมืองอเส   เมืองโกสัมพี   แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว
      จากพงศาวดารเหนือ และประวัติเมืองตาก ทำให้เราสามารถประมวลได้ว่า เมืองโกสัมพีนคร น่าจะสร้างราว พ.ศ.๑๐๑๑ โดยพระยากาฬวรรณดิศ เจ้าเมืองตาก ได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นสี่เมือง  มีนครโกสัมพีด้วย หลังจากนั้น ได้ทิ้งเมืองตากให้ร้าง และเสด็จไปสร้างเมืองละโว้ และครองละโว้ พระราชธิดาคือนางจามเทวี ได้เสด็จ ตามลำน้ำปิง ทำสงครามกับ เจ้าชายแห่งโกสัมพี เป็นศึกแห่งความรัก และเจ้าชายโกสัมพี สิ้นพระชนม์ที่วังเจ้า พระนางได้บูรณะ เมืองตากขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วจึงเสด็จไปครอง เมืองหริภุญชัย (ลำพูน)
                      เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่า เป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหิน ในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญ ก้าวหน้าขึ้นมาเป็น เมืองโกสัมพี ในยุค   ทวาราวดี  และกลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ และร้างมานาน กว่า ๗๐๐ ปี เมื่อไปสำรวจ จึงไม่พบสิ่งก่อสร้างใดๆเลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ อาจจะเป็นหลักเมือง ของเมือง   โกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบัน ยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูป วงรี คล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดิน และคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง  ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมี คลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษา
                       ปัจจุบัน สภาพ เมืองโกสัมพี จึงรกร้าง ขาดผู้ดูแล ครั้งในอดีต เคยเป็นป่าช้า ประจำตำบลโกสัมพี มีเรื่องเล่าที่พิสดารมากมาย จากคำบอกเล่าของ ผู้อาวุโส ในหมู่บ้าน เช่นเล่าว่าเป็นเมืองลับแล เมืองอาถรรพณ์  ทำให้น่าสนใจยิ่งนัก นครโกสัมพี เป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่สมควรได้รับการ ขุดแต่ง และหาหลักฐานให้กระจ่าง ผู้คนอายุต่ำกว่าหกสิบปี ในบริเวณ เมืองเก่าโกสัมพีนี้ ต่าง ไม่ทราบประวัตินครโกสัมพีแล้ว นับว่าเป็นเรื่องเศร้านัก ฝากกรมศิลปากร ได้ มาศึกษา นครโกสัมพี อีกครั้ง ก่อนที่หลักฐานทั้งหมดจะหายไป
เมืองรอ หลักฐานตามพงศาวดารเหนือมีใจความว่า
         พระมหาพุทธสาครเป็นเชื้อสายมา ได้เสวยราชสมบัติอยู่ริม เกาะหนองโสน ที่วัดเดิมกันมีพระมหาเถรไสยลายองค์หนึ่งเป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพได้พระบรมธาตุ ๖๕๐ พระองค์ กับพระศรีมหาโพธิสองต้น จากเมืองลังกาได้พาพระมหาสาครไปเมืองสาวัตถี ถ่ายเอาอย่างวัดเชตวนาราม มาสร้างไว้ต่อเมืองรอ แขวงบางทานนอก เมืองกำแพงเพ็ชร ชื่อวัดสังฆคณาวาศ แล้วเอาพระศรีมหาโพธิใส่อ่างทองคำมาปลูกไว้ริมหนองนากะเล นอกวัดเสมาปากน้ำแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย ๓๖ พระองค์ จึงให้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาโพธิ  แสดงว่า เรื่องเมืองรอ มีเค้าความจริงอยู่
           เราจึงลงมือสำรวจ เมืองรอ  โดยมีแผนที่วังลอ ของ เทศบาลตำบลพรานกระต่ายเป็นแผนที่นำทาง มีอาจารย์นิรันดร์  กระต่ายทองและคณะประกอบด้วย นายเสน่ห์ หมีพรพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ ไพโรจน์  อดีตผู้ใหญ่บ้าน วังลอ  นายปั่ง ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน  นายสว่าง สร้อยพะยอม อดีต ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นางปิ่น  กระต่ายทอง  ผู้อาศัยวังลอ มาช้านาน
 
   
           
                                                คลองวังลอ อาจเป็นคูเมืองรอในอดีต

โดยนัดกัน ที่บ้าน อาจารย์ นิรันดร์ กระต่ายทองวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐น. หลังจากประชุม หาข้อมูล กันประมาณ หนึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือสำรวจ โดยการนำของ ผู้นำทางข้างต้น และมีผู้ติดตาม ไปอีก เกือบ ๒๐ คน สำรวจสายน้ำวังรอ ซึ่งมีความน่าจะเป็น คูเมืองรอในอดีต ปัจจุบัน ได้ถมทำถนน ไป กว่า ร้อยละ ๘๐ เปิดเป็นแนวคูเมืองให้เห็น เป็นที่น่าอัศจรรย์
           ภายใน เขตเมืองรอ ที่คณะของเราค้นหา เต็มไปด้วย เตาถลุงเหล็ก อยากมากมาย อาจเป็นเพราะ ว่า เมืองรอนี้น่าจะสร้าง ราว ปีพุทธศักราช ๑๖๐๐ มีพระมหากษัตริย์ ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ คือ
 

พระวิหาร มีพระพุทธรูปโบราณ

พระมหาพุทธสาคร  ที่นำพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานในเมืองรอ ตามข้อความจากพงศาวดารเหนือ
พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์  ในสมัยอโยธยา 
เริ่มตั้งแต่  จุลศักราช    ๕๐๑   ตรงกับ  พ.ศ.  ๑๖๘๒    มีรายพระนามดังต่อไปนี้
 ๑. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์           ปฐมกษัตริย์   
 ๒. พระเจ้าอินทราชา            โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
 ๓. พระเจ้าจันทราชา             โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์
 ๔. พระร่วง                            โอรสพระจันทราชา   
 ๕. พระเจ้าลือ                 อนุชาพระเจ้าร่วง
 ๖. พระมหาพุทธสาคร        เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น
 ๗. พระยาโคตรบอง           โอรสพระมหาพุทธสาคร
 ๘. พระยาแกรก                  พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
 ๙. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง            พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
๑๐.พระยาธรรมิกราช            โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง   
เราไปพบวัดที่อาจ เชื่อได้ว่า คือ วัดสังฆคณาวาศ ในเมืองรอ     ปัจจุบัน มีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดร้างมีหลักฐานอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญ ที่วัดโพธาราม มีต้นโพ ขนาดใหญ่  อาจจะเป็นต้นโพ ที่ พระมหาพุทธสาคร เจ้าแห่งเมืองบางพาน นำมาประดิษฐาน ไว้ ณ เมืองรอ แห่งนี้อาจจะเป็นไปได้ จากคำบอกเล่า ของภูมิปัญญา ที่นำคณะของเรา มาชม เมืองรอแห่ง นี้
   
 
                                 
                                             ต้นศรีมหาโพธิ์ ในวัดโพธาราม

      เมื่อถามว่า  วังลอแห่งนี้ ใช่เมืองรอ  ในอดีตหรือไม่ คำตอบคือ มีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ต้องค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป  เมื่อมีหลักฐานแน่นอน เราจึงฟันธง ได้ว่า วังลอ ในปัจจุบัน คือ เมืองรอในอดีต   ขอบคุณประชาชน ชาววังลอ ทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้ อย่างดียิ่งเราเริ่มเห็นความเป็นไปได้ ของ เมือง รอ ว่าคือ วังลอ ในปัจจุบันที่เทศบาลตำบลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  อาจเป็นการเริ่มต้น สำรวจอย่างจริงจังต่อไป
กำแพงเพชร สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อ.รุ่งเรือง สอนชู
พระเจ้าพรหมราช   พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน  ๒  กษัตริย์ผู้ร่วมสถาปนาเมืองกำแพงเพชร
                  ในจังหวัดกำแพงเพชร มีหลายแห่งที่มีกลุ่มชนได้มาอาศัยอยู่มานานแล้ว   บางแห่งก็ร้างไป   เมืองกำแพงเพชรนั้น เป็นเมืองที่มีอายุยืนยาวเกินกว่าหนึ่งพันปี 
                 ในหนังสือเรื่อง ตำนานสิงหนวัติกุมาร, ตำนานเมืองเชียงแสน และพงศาวดารโยนก ทั้ง 3 เรืองนี้ กล่าวถึงพระเจ้าพรหมราช และ พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน เป็นผู้ร่วมสถาปนาเมืองกำแพงเพชรขึ้น  จึงขอนำเรื่องราวมาเล่าโดยย่อดังนี้
                  เมื่อมหาศักราช ๑๗ (โบราณศักราช ตรงกับ พ.ศ. ๔๓๑)  สิงหนวติกุมาร โอรสพระเจ้าเทวกาลหรือพระเจ้าขุนเมือง  มหากษัตริย์เมืองราชคฤห์นคร(หรือ นครแถน) ซึ่งอยู่ในประเทศจีน ได้สร้างเมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร(ซึ่งคราวหลังเรียก เมืองโยนก ) และได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ 
             จุลศักราช ๒๗๗  (พ.ศ. ๑๔๕๘ )  พระเจ้าพังคราช อายุได้ ๑๘ ปี ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔๒  แห่งเมืองโยนก
             จุลศักราช ๒๗๙  (พ.ศ. ๑๔๖๐ ) เสียเมืองโยนกให้แก่ขอมดำ และพระเจ้าพังคราชถูกขับไล่ออกจากเมืองโยนก  ไปอยู่ที่เมืองศรีทวง หรือเมืองพานคำ(ปัจจุบันคืออำเภอแม่สาย)  และจะต้องส่งส่วยเป็นทองคำให้แก่ขอมทุกปี
                 จุลศักราช๒๘๒ (พ.ศ. ๑๔๖๓) พระเจ้าพังคราช ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่า ทุกขิตกุมาร
                  จุลศักราช ๒๘๓ (พ.ศ. ๑๔๖๔) พระเจ้าพังคราช ประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พรหมกุมาร  เมื่อเจริญวัยเพียง  ๗ ขวบ  พรหมกุมารก็มีน้ำใจองอาจกล้าหาญ ชอบเครื่องสรรพยุทธ์และวิชาการยุทธ์ทั้งปวง ครั้นชนมายุได้ ๑๓ ขวบ ได้จับช้างพานคำมาไว้เป็นคู่พระองค์  ได้ฝึกซ้อมในการสงครามจนมีความแข็งแกร่ง  ฝึกซ้อมทหารให้ชำนาญในสู้รบ สร้างอาวุธสะสมไว้เป็นจำนวนมาก    แล้วก็ตั้งแข็งเมืองไม่ส่งส่วยแก่ขอม
                  ครั้นพรหมกุมารมีอายุได้ ๑๖ ปี   ขาดส่งส่วยแก่ขอมมา  ๓ ปี  ขอมให้มาเร่งส่งส่วยเนือง ๆ หลายครั้งก็ไม่ได้ พระยาขอมจึงให้เตรียมทหารมาจับพระเจ้าพังคราช ฝ่ายพรหมกุมารก็ประชุมพลตั้งทัพเพื่อสู้รบ     
                จุลศักราช ๒๙๘  (พ.ศ.๑๔๗๙)  ปีวอก เดือน ๕  แรม   ๔ ค่ำ  วันอาทิตย์  พระยาขอมก็ยกรี้พลมาใกล้เมืองพานคำ เจ้าพรหมกุมารได้ทราบก็ขึ้นทรงช้างเผือกพานคำออกไปโจมตีทัพพระยาขอม ก็ได้ชัยชนะโดยง่าย กองทัพพระยาขอมก็แตกตื่นพ่ายหนีไป  พรหมกุมารก็ยกกองทัพตามตีจนถึงเมืองโยนก เข้าล้อมเมืองไว้  แล้วตีหักเข้าเมืองได้  ขอมทั้งหลายก็พากันพ่ายหนีล่องไปทางทิศใต้  พรหมกุมารได้เมืองแล้วพักพล พอหายอิดโรย แล้วก็ยกกองทัพตามตีขอมต่อไป เดินทัพผ่านหมู่บ้านต่าง ๆไปได้เดือนหนึ่งเข้าแดนกำแพงเพชร ถึงสถานที่แห่งหนึ่ง( เมืองแปบ) ก็พักรี้พลนอนอยู่นั่นคืนหนึ่ง 
                     ในคืนนั้น พรหมกุมารนิมิตต์ไปว่า พระอินทร์ไม่ยอมให้พรหมกุมารไล่ฆ่าขอมอีกต่อไป จึงบังคับให้เทวบุตร  ลงมาเนรมิตกำแพงหินกั้นขวางที่พรหมกุมารจะเดินกองทัพต่อไปนั้นไว้  จนทำให้พรหมกุมารไม่สามารถจะนำทหารผ่านไปได้   เมื่อทรงตื่นขึ้นมาจึงหยุดยั้ง  นำทหารกลับคืนเมืองโยนกและให้พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาเป็นกษัตริย์เมืองโยนกอีกครั้ง   พรหมกุมารก็ยังไม่ไว้วางใจเกรงขอมดำจะขึ้นมาทำลายเมืองโยนกอีก  จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่คือ “เมืองไชยปราการ” (ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณอยู่ระหว่างจังหวัดเชียงรายกับแม่น้ำโขง) แล้วขึ้นเป็นกษัตริย์  ได้ปกครองเมืองไชยปราการนานถึง ๕๙ พรรษา ก็ทิวงคตเมื่อจุลศักราช ๓๕๙  (พ.ศ. ๑๕๔๐)    พระเจ้าไชยสิริพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติในเมืองไชยปราการต่อจากพระราชบิดา  ครองได้  ๗  พรรษา ถูกกองทัพของพม่า จากเมืองสุธรรมวดี(เมืองสเทิม) เข้ามายึดเมืองไชยปราการ พระเจ้าไชยศิริไม่สามารถจะป้องกันไว้ได้ 
                ศักราช  ๓๖๖ (พ.ศ. ๑๕๔๗)    ปีมะเส็ง วันพฤหัสบดี เดือน ๘  แรม ๑  ค่ำ  วันพฤหัสบดี  พระเจ้าไชยสิริทรงพาราษฎรอพยพออกจากเมืองไชยปราการ ครั้นจะขึ้นไปทางไชยบุรีเชียงแสน  เป็นทางที่จะผ่านแม่น้ำกก เป็นฤดูฝนน้ำหลากข้ามยาก  จึงเดินทางลงมาทางดอยด้วน แล้วตัดไปทางตะวันออกข้ามแม่น้ำยมในท้องที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา  ล่องลงใต้เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่านอำเภอสอง  อำเภอร้องกวาง  อำเภอสูงเม่น ตัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านดอยผาหมื่นและผาแสน เข้าเขตจังหวัดสุโขทัยผ่านอำเภอศรีสัชนาลัยบ้านหาดเสี้ยว อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย บ้านพุ (ริมเขาหลวงสุโขทัย) อำเภอคีรีมาส เข้าเขตจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านอำเภอพรานกระต่าย เข้าอำเภอเมืองกำแพงเพชร  แล้วพักพลอยู่ที่เมืองแปบ  พอครบ ๓  วัน ถึงวันอังคาร เดือน  ๙  แรม ๔ ค่ำ จึงให้ฝังหลักเมืองตั้งพระนคร ล้อมระเนียดค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทั้งพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ครั้นสำเร็จจึงเสด็จขึ้นครองนครนั้น นามว่า “เมืองกำแพงเพชร” (โดยนำนิมิตต์ของพระราชบิดาคราวที่นำทหารไล่ตามขอมมานอนค้างคืนที่เมืองแปบ) มีพระนามว่า “พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน”   เวลานั้นมีประชากรแสนครัวเรือนอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำปิง
                ในเวลาต่อมา พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน ได้ทรงสร้างเมืองขึ้นมาอีกหนึ่งเมืองคือ เมืองไตรตรึงษ์ 




 “กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี”
                ในหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร  หน้า ๓๑ ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ  เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี  เมืองนครชุม  เมืองชากังราว   เมืองพังคา  เมืองโกสัมพี  เมืองรอ  เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา  และบ้านคลองเมือง  ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น  และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า  ๓๗-๓๘ ได้กล่าวถึงเมือง ๒ เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
                 ผู้เขียนได้สืบค้นถึงกษัตริย์ที่มีความสำคัญเข้ามาครอบครองเมืองต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี ตามหลักฐานพบว่ามีกษัตริย์เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรแล้ว  ๓  พระองค์ (ที่จริงแล้วควรมีมากกว่านี้) ได้แก่  พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน  พระเจ้าสุริยราชา  และพระเจ้าจันทราชา 
๑.พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน    ผู้สถาปนาเมืองกำแพงเพชร
                 พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน  จากตำนานเมืองเชียงแสน ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๗   หน้า  ๑๐๕-๑๐๗   และ  จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับเดียวกัน หน้า  ๔๘๙-๔๙๑   กล่าวข้อความที่ตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหม  (ซึ่งเคยไล่ปราบขอมจากเมืองโยนกถึงเมืองกำแพงเพชร)  และเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒  แห่งเมืองไชยปราการ(ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณอยู่ระหว่างเชียงรายกับแม่น้ำโขง) ครอบครองเมืองไชยปราการได้ ๑๑  พรรษา   ถูกกองทัพของพม่าจาก
เมืองสเทิมเข้ามารุกราน    ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้  พระเจ้าไชยศิริทรงให้โหรตรวจดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาด  พระเจ้าไชยศิริทรงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการแล้วหลบหนีออกมาพร้อมกับทหารและ ครอบครัวราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน  ๘  แรม  ๑  ค่ำ      จุลศักราช  ๓๖๖  (พ.ศ. ๑๕๔๗ )   ปีมะเส็ง มาถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วพักพลได้ ๓ คืน พอถึงวันอังคาร เดือน  ๙   แรม ๔ ค่ำ  จุลศักราช ๓๖๖   (พศ.๑๕๔๗) ปีมะเส็ง   ได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชรและมีพระนามว่า “พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน”
                 จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าพระเจ้าไชยศิริเชียงแสนสร้างเมืองไตรตรึงษ์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมืองหลังจากที่สถาปนาเมืองกำแพงเพชรแล้ว
๒.พระเจ้าสุริยราชา   พระอัยกา(ปู่)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์
               พระเจ้าสุริยราชา  จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑  หน้า  ๑๗๗  กล่าวว่าทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริวงษ์  ได้เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรเมื่อจุลศักราช ๕๓๖   (พ.ศ. ๑๗๑๗)  มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าศิริสุทาราชเทวีมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจันทกุมาร  ครองราชย์เมืองกำแพงเพชรได้ ๒๘ พรรษาสิ้นพระชนม์เมื่อจุลศักราช  ๕๖๔(พ.ศ.๑๗๔๕)
              นอกจากนี้แล้ว เรื่อง ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณ ของกรมศิลปากร ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า”       หน้า ๑๘๐ ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุริยราชาที่ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรไว้ว่า “ พระมหา กษัตริย์ที่สร้างพระนครพิจิตรนั้น เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
             ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” เล่มเดียวกันนี้  ผู้เขียนได้ตรวจชื่อเมืองที่หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้พบในหน้า  ๑๑ มีหลายชื่อ ได้แก่ พิจิตปราการ  วิเชียรปราการ  ในหน้า ๑๘๐ เรียกว่า พระนครพิจิต และพระนครวิเชียรปราการ
             จากข้อความที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร ได้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ขึ้นครองราชย์เมื่อจุลศักราช ๕๓๖ (พ.ศ. ๑๗๑๗) ครองราชย์ได้ ๒๘  พรรษา ก็สิ้นพระชนม์เมื่อจุลศักราช ๕๖๔(พ.ศ. ๑๗๔๕)
๓. พระเจ้าจันทราชา   พระชนก(พ่อ)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์
           จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑หน้า ๑๗๗-๑๘๑ เป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร  เมื่อจุลศักราช ๕๗๐   (พ.ศ. ๑๗๕๑)   
            ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทรงท่องเที่ยวไปพร้อมทหาร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านแห่งหนึ่ง  สาวงามนั้นไม่ยอมที่จะไปอยู่กับพระเจ้าจันทราชาในวัง   จึงต้องจากกัน    ต่อมาสาวนั้นตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาเป็นชายแล้วทิ้งไว้ในป่าอ้อย  ตายายเจ้าของไร่อ้อยมาพบได้นำไปเลี้ยงไว้    เมื่อมีอายุราว  ๑๕ ปี      มีรูปร่างที่สง่างาม  และมีอานุภาพมาก  จะออกปากสั่งสิ่งใดนั้นย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น  ตาและยายมีความรักบุตรบุญธรรมเป็นอย่างมาก และได้ตั้งชื่อว่า   “พระร่วง”   
          พระเจ้าจันทราชาทรงทราบ   จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตา ยาย  พร้อมทั้งพระร่วง เข้าเฝ้า  ตายายทั้งสองจึงกราบบังคมทูลให้ทราบความตามเหตุผลที่ได้กุมารนั้นมา  พระเจ้าจันทราชาทรงฟังดังนั้นทรงเชื่อแน่ว่าเป็นโอรสของพระองค์เองที่ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านที่ผ่านมา  จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสในพระราชวัง
         พระเจ้าจันทราชาได้ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปอยู่สุโขทัย  ในช่วงนั้นขอมแผ่ขยายอำนาจมาถึงกรุงสุโขทัย   พระเจ้าจันทราชา ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส(พระร่วง)ยกกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพเขมร  ฝ่ายกองทัพเขมรสู้ไม่ได้จึงต้องยกทัพถอยกลับไป
         พระเจ้าจันทราชาได้สิ้นพระชนม์  พระร่วงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑
         


           จากหนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า ๑๘๐  ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทราชาอย่างสั้นๆ ไว้ว่า
         “พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครวิเชียรปราการ(คือเมืองกำแพงเพชร) เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชร”
          “พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครสวรรคโลก พระมเหสีเป็นนาค  พระราชโอรสคือพระร่วง”
            จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า พระเจ้าจันทราชาเป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา  ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร  ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้าน (มักเรียกว่า นางนาค)  แล้วมีบุตรชายชื่อพระร่วง  พระเจ้าจันทราชาเชื่อว่าเป็นโอรสของพระองศ์จึงนำไปอยุ่ในวัง  หลังจากขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรแล้วทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปสุโขทัย ได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลก    (ศรีสัชนาลัย) ด้วย 














“ท้าวแสนปม”    ๓  เรื่อง   ๓  ที่มา
อ.รุ่งเรือง สอนชู
             เรื่อง “ท้าวแสนปม”  เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน  กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร             ในระยะแรก  ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจ ที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม  แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนกัน   จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ  จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรืองมาจากหลายแหล่ง    ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้
๑.   “ท้าวแสนปม” จากตำนานพื้นบ้าน
๒.   “ท้าวแสนปม” จากพงศาวดาร
๓.   “ท้าวแสนปม” จากบทละคร 
 “ท้าวแสนปม”  จากตำนานพื้นบ้าน
            ประวัติเมืองไตรตรึงษ์  เป็นเอกสารขององค์การบริหารส่วนตำบลไตรตรึงษ์  ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร  ได้เล่าถึงตำนาน “ท้าวแสนปม” ไว้ว่า
            “นานมาแล้ว  มีชายผู้หนึ่ง  ถูกลอยแพมาติดที่เกาะขี้เหล็ก  ซึ่งอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร  ชายผู้นี้มีรูปร่างน่าเกลียดมีปุ่มปมขึ้นเต็มตัว  ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่า  แสนปม  และเรียกเกาะขี้เหล็กว่า เกาะปม ตามชื่อแสนปม
            แสนปมทำไร่ ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่เกาะปมนี้ และมีมะเขือต้นหนึ่ง อยู่หน้ากระท่อม มีผลใหญ่มาก เพราะแสนปมปัสสาวะรดทุกวัน  วันหนึ่งพระราชธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ เสด็จประพาสที่เกาะปม ทอดพระเนตรเห็นผลมะเขือ ก็นึกอยากเสวย  จึงรับสั่งให้นางสนมไปขอเจ้าของมะเขือ ที่อยู่หน้ากระท่อมให้นางสนมไปถวาย  หลังจากพระราชธิดาเสวยผลมะเขือไปไม่นาน ก็ทรงครรภ์  เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ทรงพิโรธมาก  เพราะพระราชธิดาไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นพ่อ นอกจากเสวยมะเขือของแสนปมเท่านั้น  ต่อมาพระราชธิดาทรงมีประสูติกาลเป็นพระโอรส  จนเจริญวัยน่ารัก  เจ้าเมืองจึงรับสั่งให้เสนา ป่าวประกาศให้ผู้ชายทุกคนมาเสี่ยงทายเป็นบิดาของพระราชโอรส  ว่าถ้าผู้ใดเป็นบิดาขอให้พระราชโอรสคลานเข้าไปหา   บรรดาผู้ชายทุกคนไม่ว่า หนุ่ม แก่  ยาจก  หรือเศรษฐี  ยกเว้นแสนปมคนเดียว  ต่างพากันมาเสี่ยงทายเป็นบิดาของพระราชโอรส  แต่พระราชโอรสไม่ได้คลานเข้าไปหาใครเลย  แม้จะใช้ของล่อใจอย่างไรก็ตาม    เจ้าเมืองแปลกพระทัย  จึงให้เสนาไปตามนายแสนปม ซึ่งยังไม่ได้มาเสี่ยงทายในครั้งนี้ให้มาเข้าเฝ้า  พร้อมทั้งถือข้าวเย็นมา ๑  ก้อน  เมื่อมาถึงจึงอธิษฐาน และยื่นก้อนข้าวเย็นให้  พระราชโอรสก็คลานเข้ามาหา  เจ้าเมืองจึงยกราชธิดาให้แก่แสนปมและให้กลับไปอยู่ที่เกาะปม
              วันหนึ่งแสนปมไปทอดแหที่คลองขมิ้น  แต่ทอดแหครั้งใดก็ได้แต่ขมิ้นจนเต็มลำเรือ  แสนปมแปลกใจมาก  เมือกลับมาถึงบ้าน ขมิ้นก็กลายเป็นทองคำ  แสนปมจึงนำทองคำไปทำเป็นเปลให้ลูก  และตั้งชื่อลูกว่า อู่ทอง”
 “ท้าวแสนปม” จากพงศาวดาร
              จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์  โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส(สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)   ในหนังสือประชุมพงศาวดาร  ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑  หน้า  ๑๘๙-๑๙๑ ได้ทรงเทศนาเรื่อง ท้าวแสนปมไว้ดังนี้
                 “ บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายพระสัทธรรมเทศนา ในจุลยุทธการวงศ์ สำแดงเรื่องลำดับโบราณกษัตริย์ในสยามประเทศนี้  อันบุพพาจารย์รจนาไว้ว่า
                  กาลเมื่อพระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้ยุทธสงครามแต่พระยาสตองเสียพระนคร  พาประชา
ราษฎรชาวเมืองเชียงราย  ปลาสนาการมาสู่แว่นแคว้นสยามประเทศ ถึงราวป่าใกล้เมืองกำแพงเพชร  ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระองค์  สมเด็จอมรินทรทราธิราชนิมิตพระกายเป็นดาบสมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง  ตรัสบอกให้ตั้งพระนครในที่นี้เป็นชัยมงคลสถาน  บรมกษัตริย์ก็ให้สร้างพระนครลงในที่นั้น  จึงให้นามชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์  พระองค์เสวยไอศูริยสมบัติอยู่ในพระนครนั้นตราบเท่าทิวงคต  พระราชโอรสนัดดาครองสมบัติสืบๆ กันมาถึงสี่ชั่วกษัตริย์
                  ครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง เป็นปุ่มปมไปทั้งร่างกาย  ทำไร่ปลูกพริกมะเขืออยู่ในแดนพระนครนั้น  เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต  แลมะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้ห้าง  บุรุษนั้นไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ  มะเขือนั้นออกผล  ผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง    พอพระราชธิดาไตรตรึงษ์มีพระทัยปรารถนาจะเสวยผลมะเขือ  จึงให้ทาสีไปซื้อ  ก็ได้ผลใหญ่นั้นมาเสวย  นางก็ทรงครรภ์  ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถาม  ก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาสกับบุรุษใด  ต่อมาพระธิดาประสูติพระราชกุมาร  พระรูปโฉมงามประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์  พระญาติทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนโตขึ้น  ประมาณพระชนม์สองสามขวบ  สมเด็จพระอัยกาปรารถนาจะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร  จึงให้ตีกลอง     ป่าวร้องบุรุษชาวเมืองทั้งหมด  ให้ถือขนมหรือผลไม้ติดมือมาทุกคน  มาพร้อมกันที่หน้าพระลาน  ทรงพระอธิษฐานว่าถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของทารกนั้น  ขอจงทารกนี้รับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษนั้นมาบริโภค  แล้วให้อุ้มกุมารนั้นออกไปให้ทุกคนรับรู้  บุรุษกายปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง  พระราชกุมารนั้นก็เข้ากอดเอาคอ  แล้วรับเอาก้อนข้าวมาบริโภค  ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียนต่าง ๆ  สมเด็จพระบรมกษัตริย์ก็ละอายพระทัย  ได้ความอัปยศ  จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระนัดดาให้แก่บุรุษแสนปมให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือไกลจากพระนครทางวันหนึ่ง  บุรุษแสนปมก็พาบุตรภริยาขึ้นสู่ไร่อันเป็นที่อยู่  ด้วยอานุภาพแห่งชนทั้งสาม  บันดาลให้สมเด็จอมรินทริราช  นิมิตกายเป็นวานรนำทิพยเภรีมาส่งให้นายแสนปมนั้น  แล้วตรัสบอกว่า  ท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้  อาจให้สำเร็จที่ความปรารถนาทั้งสิ้น  บุรุษแสนปมปรารถนาจะให้รูปงามจึงตีกลองนั้นเข้า อันว่าปุ่มปมทั้งปวงก็อันตรธานหาย  รูปชายนั้นก็งามบริสุทธิ์  จึงนำเอากลองนั้นกลับมาสู่ที่สำนัก  แล้วบอกเหตุแก่ภริยา  ส่วนพระนางนั้นก็กอร์ปด้วยปิติโสมนัส  จึงตีกลองนิมิตทอง ให้ช่างกระทำอู่ทองให้พระราชโอรสไสยาสน์  เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้พระนามปรากฏว่าเจ้าอู่ทองจำเดิมแต่นั้นมา  เมื่อจุลศักราชล่วงได้ ๖๘๑ ปี  บิดาแห่งเจ้าอู่ทองราชกุมาร  จึงประหารซึ่งทิพยเภรีนิมิตเป็นพระนครขึ้นใหม่ที่นั้น  ให้นามชื่อว่าเทพนคร มีมหาชนทั้งปวงชวนกันมาอาศัยอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก  พระองค์ก็ได้เสวยไอศูรียสมบัติเมืองเทพนคร  ทรงพระนามกรชื่อพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน  เมือจุลศักราชล่วงได้ ๗๐๖  ปี  พระเจ้าศิริไชยเชียงแสนเสด็จดับขันธ์ทิวงคต  กลองทิพย์นั้นก็       อันตรฐานหาย  สมเด็จพระเจ้าอู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้  6  พระวัสสา  ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่  จึงให้ราชบุรุษให้เที่ยวแสวงหาภูมาประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ครบทุกสิ่ง  ราชบุรุษเที่ยวหามาโดยทักษิณทิศ ถีงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณมัจฉาชาติพร้อมบริบูรณ์  สมเด็จบรมกษัตริย์ทรงทราบ  จึงยกจตุรงค์โยธาประชาราษฎรทั้งปวง  มาสร้างพระนครลงในประเทศที่นั้นในกาลเมื่อจุลศักราชล่วงได้  ๗๑๒  ปี  ให้นามบัญญัติชื่อว่ากรุงเทพมหานครนามหนึ่ง  ตามนามพระนครเดิมแห่งพระราชบิดา  ให้ชื่อว่าทวาราวดี  นามหนึ่ง  เหตุมีคงคาล้อมรอบเป็นของเขตดุจเมืองทวาราวดี  ให้ชื่อศรีอยุธยานามหนึ่ง  เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง  อันชื่อยายศรีอายุและตาอุทะยาเป็นสามีภริยากัน  อาศัยอยู่ในที่นั้น  ประกอบพร้อมด้วยนามทั้งสามจึงเรียกว่า  กรุงเทพหานคร บวรทวาราวดี  ศรีอยุธยา

                 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษก เสวยสวริยาธิปัตย์ถวัลยราช  ณ  กรุงเทพมหานคร  ทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี  และวันเมื่อราชาภิเษกนั้น  ได้สังข์ทักษิณาวรรต  ณ  ภายใต้ต้นไม้หมันในพระนคร  เมื่อแรกได้ราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้  ๓๗  พระวัสสา  แล้วให้พระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐาธิราชไปปกครองสมบัติ  ณ  เมืองสุพรรณบุรี  ให้พระนามพระราเมศวรกุมารไปผ่านสมบัติ ณ เมืองลพบุรี
                 ครั้งนั้นมีเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงเทพมหานคร ๑๖  เมือง คือ เมืองมะละกา  เมืองชะวา
เมืองตะนาวสี  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองทวาย  เมืองเมาะตะมะ  เมืองเมาะลำเลิง  เมืองสงขลา  เมืองจันทบูร  เมืองพระพิศนุโลกย์  เมืองสุโขทัย  เมืองพิไชย  เมืองพิจิตร  เมืองสวรรคโลก  เมืองกำแพงเพชร  เมืองนครสวรรค์
                 พระองค์ทรงสร้างพุไทยสวรรค์ยาวาศวิหารและรัตนะวนาวาศรีวิหาร คือวัดป่าแก้ว  พระสถิตอยู่ในราชสมบัติ  ๒๐  พระวัสสาก็เสด็จทิวงคต ”
“ท้าวแสนปม” จากบทละคร
                 บทละครเรื่อง “ท้าวแสนปม”  เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นคำกลอนบทละคร  ซึ่งเนื้อเรื่องจากบทละครนั้น ในหนังสือ  วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา กำแพงเพชร  หน้า  160  ได้อธิบายไว้เป็นร้อยแก้วดังข้อความต่อไปนี้
                 “เจ้านครไตรตรึงษ์องค์นี้มีธิดานามว่าอุษา  มีรูปโฉมงดงามร่ำลือไปถึงศิริชัยเชียงแสน  เจ้าชาย ชินเสนซึ่งเป็นโอรสได้ยินข่าวก็หลงรักนาง  แต่เนื่องจากทั้งสองเมืองนี้เป็นอริกันมาก่อน  เจ้าชายชินเสนจึงปลอมตนเป็นชายอัปลักษณ์  เนื้อตัวมีปุ่มปมขึ้นเต็มไปหมด  แล้วเข้าไปขออาศัยอยู่กับตายายที่เฝ้าอุทยานท้ายวังนครไตรตรึงษ์ได้ชื่อเรียกว่า “แสนปม”  วันหนึ่งนางอุษาออกมาชมสวน  แสนปมแอบดูนางแล้วเกิดความรัก  จึงนำผักที่ปลูกไว้ไปถวาย  เมื่อนางอุษาเห็นแสนปมก็นึกรักเช่นเดียวกัน  จึงให้พี่เลี้ยงนำหมากไปให้เป็นของตอบแทน  แสนปมได้สลักมะเขือเป็นสารเกี้ยวพารานาสีนางแล้วส่งไปถวายอีก  นางอุษาก็ตอบสารในที่รับรักใส่ในห่อหมากแล้วฝากมาให้แก่แสนปม  แสนปมจึงทราบว่านางก็รักตนเช่นเดียวกัน  คืนหนึ่งแสนปมลอบเข้าไปหานางในวัง  แล้วทั้งสองก็ได้อยู่ร่วมกันโดยไม่มีใครทราบเรื่องจนกระทั่ง
นางอุษาตั้งครรภ์
                   ต่อมาแสนปมได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าศิริชัยเชียงแสนประชวรหนัก  จึงเดินทางกลับบ้านเมืองโดยไม่ทราบว่านางอุษาตั้งครรภ์  เวลาผ่านไปนางอุษาให้กำเนิดกุมารหน้าตาน่ารัก  ยังความทุกข์ใจมาให้แก่เจ้านครไตรตรึงษ์ยิ่งนัก  เพราะนางอุษาไม่ยอมบอกความจริง  เจ้านครไตรตรึงษ์จึงหาวิธีที่จะให้รู้แน่ว่าใครเป็นบิดาของกุมาร  จงป่าวประกาศให้เจ้าเมืองต่างๆ รวมทั้งทวยราษฎร์มาพร้อมกันที่หน้าพระลานพร้อมทั้งให้นำขนมนมเนยติดมือมาด้วย  ถ้ากุมารรับขนมจากมือผู้ใดก็ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบิดาของกุมารและจะได้อภิเษกกับนางอุษา พระชินเสนได้ข่าวก็เตรียมรี้พลมา  ตั้งพระทัยจะอภิเษกกับนางอุษาให้ได้  แล้วปลอมตัวเป็นแสนปมพร้อมทั้งนำข้าวเย็นมาก้อนหนึ่งเพื่อให้กุมารเลือก  ครั้นถึงเวลาที่กำหนดจึงให้กุมารเลือกขนมจากบรรดาผู้ที่นำมา  ปรากฏว่ากุมารรับข้าวเย็นจากแสนปมไปเคี้ยวกินอย่างเอร็ดอร่อย  ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึก     อับอายอย่างมาก  ด้วยความโกรธจึงขับไล่นางอุษาออกจากเมืองโดยทันที  แสนปมจึงแสดงตนให้รู้ว่าตนเองคือพระชินเสน  แล้วพานางอุษาและกุมารเดินทางกลับอาณาจักรชัยเชียงแสนและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
”ท้าวแสนปม” ได้สร้างกษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา
               “ท้าวแสนปม”  จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์  โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญซึ่งนักประวัติศาสตร์นำไปสืบค้นถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ว่าประสูติที่เมืองไตรตรึงษ์  มีพระราชมารดาเป็นธิดาของเมืองไตรตรึงษ์เชื้อสายกษัตริย์เชียงราย  ส่วนพระราชบิดานั้นมีพระนามว่า “ท้าวแสนปม”หรือ “ศิริไชยเชียงแสน” ซี่งจนบัดนี้นักประวัติศาสตร์ก็ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่ามีเชื้อสายมาจากที่ใด   นอกจากนี้แล้วในเนื้อหาได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่ามีการสร้างเมืองเทพนคร        ภาพถ่ายแสดงที่ตั้งเมืองโบราณไตรตรึงษ์และเมืองโบราณเทพนครตรงข้ามเมืองไตรตรึงษ์






กำแพงเพชรสมัยสุโขทัย
อ.รุ่งเรือง สอนชู
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  :  เจ้าเมืองสุโขทัยเชื้อสายบ้านโคนเมืองกำแพงเพชร
               ข้อความในจารึกหลักที่ ๒  ศิลาจารึกวัดศรีชุม  ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑ หน้าที่       ๓๗-๓๙  ในบรรทัดที่ ๒๑-๔๐  อธิบายโดยสรุป ว่า  พ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน  หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนำถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้   พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม  พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ ที่เมืองบางยางมาสู้รบ  พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้  จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย   จนในที่สุด  ได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืนได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า                       “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”    
                   ข้อความในจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ในหนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ หน้า  ๑๗ ได้กล่าวถึงราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ว่า มีมเหสีชื่อนางเสือง  โอรสองค์โตเสียชีวิตเมื่อยังเล็ก  โอรสองค์ที่  ๒  พ่อขุนบานเมือง โอรสองค์ที่  ๓ พ่อขุนรามคำแหง หรือรามราช  องค์ที่ ๔  และ ๕  เป็นราชธิดา
                    จากจารึกหลักที่ ๒ และ ๑  นั้นไม่ได้กล่าวถึงเชื้อชาติตระกูล หรือถิ่นฐานของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ว่ามาจากที่ใด   
                   ตามหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ของการขึ้นครองราชและสิ้นรัชกาลนั้น พอจะสรุปได้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์เมื่อ  พ.ศ. ๑๗๘๐ -๑๗๙๒  และสิ้นรัชกาลเมื่อ  พ.ศ. ๑๘๒๑ หรือ พ.ศ. ๑๘๒๒(เพราะพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๑ หรือ ๑๘๒๒)
พระร่วงผู้ครอบครองเมืองสุโขทัยมาจากไหนบ้าง
                  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑  กล่าวถึงพระร่วงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุโขทัย มีถึง ๓  ราชวงศ์ ได้แก่

๑.   พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
๒.   พระร่วงจากเมืองละโว้  (จังหวัดลพบุรี)
๓.   พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)

พระร่วงจากเมืองหริภุญไชย  จังหวัดลำพูน
                  จากพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องพระร่วงอรุณราชกุมารเมืองสวรรคโลก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ หน้า  ๘๘-๙๒  มีข้อความที่สรุปได้ว่า พระยาอภัยคามินีราช      เมืองหริภุญไชย(ลำพูน) ได้ออกไปจำศีลอยู่ในเขาใหญ่ ได้เสพเมถุน(สังวาส)กับนางนาค(สาวชาวบ้าน) จนเกิดราชบุตรองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “อรุณราชกุมาร”  เมื่อโตขึ้นพระยาอภัยคามินีราชให้ไปครองเมือง     ศรีสัชนาลัย มีพระนามว่า “พระยาร่วง”
                พระยาร่วง ได้เสด็จไปเมืองจีน มีความชอบทางพนัน ชอบเล่นว่าว มีวาจาสิทธิ์  พระร่วงได้สิ้นพระชนม์ เมื่อคราวที่ทรงเล่นน้ำที่กลางแก่งหลวง แล้วจมหายไป  ไม่สามารถจะตามหาพระศพได้   เมื่อปีพุทธศักราช ๑๒๐๐ จุลศักราช ๑๕๒ ปีชวด  สัปตศก

พระร่วงจากเมืองละโว้  จังหวัดลพบุรี
อ.รุ่งเรือง สอนชู
                จากพระราชพงศาวดารเหนือ  เรื่องพระร่วงเมืองสุโขทัย  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑  หน้า  ๙๙ – ๑๐๒ มีข้อความที่กล่าวไว้ว่า  นายคงเครา  ซึ่งเป็นนายส่วยน้ำดูแลสระน้ำทะเลชุบศรที่เมืองละโว้  เป็นน้ำที่ชาวกัมพูชานำไปเสวย  ทุกๆ ๓ ปีจะมาขน ๑ ครั้ง   นายคงเครามีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ นายร่วง  เป็นคนที่มีวาจาสิทธิ์  หลังจากนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว  ไพร่ทั้งหลายก็ยกนายร่วงเป็นนายกองบังคับไพร่ดูแลสระน้ำทะเลชุบศรต่อไป
                ครั้นเมื่อครบกำหนดมาขนน้ำ  นักคุ้มของกัมพูชาควบคุมไพร่มาขนน้ำที่เมืองละโว้  นำเกวียนมา ๕๐ เล่ม แต่ละเล่มใส่ลุ้งน้ำ(ภาชนะใส่น้ำรูปทรงกระบอกเตี้ยๆ)เล่มละ ๒๕ ใบ   เมื่อถึงเมืองละโว้ ได้เรียกหานายคงเคราให้เปิดประตูเพื่อตักน้ำ  พบแต่นายร่วงซึ่งไพร่ได้อธิบายว่านายร่วงบุตรของนายคงเคราเป็นผู้ควบคุมดูแลแทน   นายร่วงได้บอกนักคุ้มว่าน้ำที่นำมาขนน้ำนั้นจะเสียเวลา ขนน้ำไปได้น้อย   ครั้งนี้ให้สานเป็นชะลอมใส่น้ำไปดีกว่า  จะได้น้ำทีละมากๆใช้ได้นาน ไม่ต้องมาขนบ่อย  นักคุ้มจึงถามว่าชะลอมตาห่างจะใส่น้ำได้หรือ นายร่วงกล่าวว่ากลัวจะไม่มีน้ำมาใส่ชะลอมเสียมากกว่า   ด้วยความกลัว นักคุ้มจึงเกณฑ์ไพร่สานชะลอมเล่มละ ๒๕ ใบ  ครั้นกำหนดจะเดินทางกลับ  จึงเปิดประตูเอาชะลอมจุ่มน้ำแล้วยกขึ้นใส่เกวียน  เดินทางไปกัมพูชา   มาถึงด่านแห่งหนึ่งคนคุมน้ำมาสงสัยในใจอยู่ว่าชะลอมจะขังน้ำได้หรือ  ก็เกิดบันดาลให้มีน้ำไหลล้นออกมาจากชะลอม ทุกคนต่างก็เห็นว่ามีน้ำ   จึงกล่าวสรรเสริญถึงความสักสิทธิ์ของนายร่วง   ในขณะที่กองเกวียนผ่านไปนั้น ผู้คนก็เล่าลือกันว่าชะลอมที่บรรทุกมานั้นมีแต่ชะลอมเปล่า ไม่มีน้ำ  เมือถึงกัมพูชา กษัตริย์กัมพูชาเรียกนักคุ้มผู้คุมเกวียนไปสอบถาม นักคุ้มได้ทูลเรื่องราวทุกประการ  บรรดานายนายทัพนายกองได้ยกชะลอมที่บรรทุกมานั้นเทลงไปในหม้อน้ำ  ก็เกิดมีน้ำเต็มหม้อน้ำและล้นออกมา
               กษัตริย์กัมพูชาทรงตกพระทัยเห็นว่านายร่วงเป็นผู้ที่มีบุญมาเกิด จึงคิดจับตัวมาฆ่าเสีย  นายทัพนายกองจึงเกณฑ์ทหารไปตามจับ  นายร่วงรู้ข่าวก็หนีไปทางเมืองพิจิตร ไปถึงสุโขทัยอาศัยวัดอยู่และได้อุปสมบทเป็นภิกษุ  จึงได้เรียกว่า “พระร่วง” 
              ทหารขอมที่รับอาสามาจับนายร่วงมาถึงเมืองละโว้ ได้ถามหานายร่วง  ชาวบ้านบอกว่าขึ้นไปเมืองเหนือ  ทหารได้แยกกันไป  ไปถึงเมืองสวรรคโลก  ชาวบ้านบอกว่าเขาเล่าลือกันว่าไปอยู่เมืองสุโขทัยบวชเป็นภิกษุอยู่  ครั้นเมื่อตามไปถึงสุโขทัยเห็นพระร่วงกำลังกวาดวัด   ทหารขอมจึงถามว่าพระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงบอกให้คอยอยู่เดี๋ยวจะไปบอก  ขอมก็คอยอยู่จนกลายเป็นหินจนถึงวันนี้
             เมื่อปีพุทธศักราช ๑๕๐๒  กษัตริย์สุโขทัยสิ้นพระชนม์  ไม่มีวงศานุวงศ์  เสนาบดีได้ประชุมเพื่อหาบุคคลมาเป็นเจ้าเมือง ก็เห็นแต่พระร่วงบวชอยู่ที่วัดเหมาะที่จะเป็นเจ้าเมืองได้  ก็พร้อมใจกัน ไปที่วัดเชิญพระร่วงลาผนวช  รับพระร่วงเข้ามาครองเมืองสุโขทัย




พระร่วงจาก เมืองพิจิตรปราการ (จังหวัดกำแพงเพชร)
                   จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑  หน้า  ๑๗๗-๑๘๘  ได้กล่าวถึงพระร่วงองค์หนึ่งซึ่งภายหลังได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเจ้าเมืองสุโขทัย  โดยมี อัยกา(ปู่) และ ชนก (พ่อ) เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร  โดยจะขอนำเรื่องราวโดยย่อมาเสนอดังนี้
                    เมื่อ จุลศักราช  ๕๓๖  (พศ. ๑๗๑๗)พระเจ้าสุริยราชาเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยราชาได้มาครอบครองเมืองกำแพงเพชร   โดยมีพระโอรสทรงพระนามว่า  พระเจ้าจันทรกุมาร
              อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าจันทรกุมาร เสด็จประพาสป่าพร้อมด้วยทหารจำนวนมาก พบหญิงสาวนางหนึ่งมีรูปโฉมงดงาม พระองค์มีความเสน่หา  รักใคร่และได้นางนั้น  จนเกิดโอรสมีพระนามว่า พระร่วง
                    พระเจ้าจันทกุมาร ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรต่อจาก พระเจ้าสุริยราชาเมื่อจุลศักราช ๕๗๐  (พ.ศ.๑๗๕๑)ทรงพระนามว่าพระเจ้าจันทราชา  ในเวลาต่อมาทรงทิ้งเมืองกำแพงเพชรไปครองเมืองสุโขทัย
                   พระเจ้าจันทราชาขึ้นครองราชย์ได้ ๓๐ ปี ก็สิ้นพระชนม์  พระร่วงได้ขึ้นครองราชเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑
                   ในปลายรัชกาลนั้น มีชาวมอญชื่อมะกะโท เข้ามาค้าขายในเมืองสุโขทัย  แล้วเลิก 
เข้าไปฝากตัวอยู่กับนายช้างพระที่นั่งโรงใน ช่วยดูแลรักษาเก็บกวาดมูลช้างทำให้โรงช้างสะอาด
อยู่เสมอ นายช้างให้ความเมตตารักใคร่  นายมะกะโท ทำความดีเรื่อยมาจนเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้า จนได้เลื่อนให้มะกะโท ขึ้นเป็นขุนวัง  ตำแหน่งกรมวัง  มะกะโทมีความรักใคร่พระนางสุพรรณเทวี พระราชธิดาของพระร่วงเจ้า  จึงตัดสินใจพาพระราชธิดานั้นหนีออกจากสุโขทัยไปอยู่ที่บ้านตะเกาะวุนซึ่งเป็นบ้านเดิมของตน ในเวลาต่อมา  ด้วยอำนาจวาสนาของมะกะโท  ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเมาะตะมะ  ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
                           พระร่วงได้ครองราชยสมบัติเป็นเป็นสุขมาช้านาน เมื่อแรกขึ้นครองราชย์สมบัติมีพระชนม์ได้ ๓๕พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้  ๓๕ พรรษา รวมพระชนมายุ ๗๕ พรรษาก็เสด็จสวรรคต


พระร่วงจากกำแพงเพชร  คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
                         เจ้าเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”  จากศิลาจารึก  และ “พระร่วง”  จากประชุมพงศาวดาร ย่อมเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
                           ๑.พระร่วงได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑-๑๘๒๑ ซึ่งตรงกับศักราชที่พ่อขุน     ศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราช ย์ ตามที่นักประวัติศาสตร์ตรวจสอบไว้
                           ๒. พงศาวดารพม่าได้บันทึกว่า มะกะโท เข้ามารับราชการที่กรุงสุโขทัยกับพระร่วง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๑๕  ซี่งเป็นช่วงที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยังครองเมืองสุโขทัยอยู่
                  ๓. จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์   ในหน้า ๑๑๒-๑๑๓ มีข้อความตอนหนึ่งเชื่อว่าพ่อขุน           ศรีอินทราทิตย์  ประสูติที่บ้านโคน กำแพงเพชร ดังข้อความต่อไปนี้
                    “ ได้ยินว่า  ที่ตำบลที่บ้านโค  ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง  เห็นชายคนนั้นแล้ว ใคร่จะร่วมสังวาสด้วย  จึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้น  จึงเกิดบุตรชายหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราช ภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าร่วง”
                       ผู้แปลหนังสือเล่มนี้มีคำอธิบายว่า   บ้านโค  อาจเป็น  บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร   
                       





พญาลิไท กับวัดพระบรมธาตุนครชุม
อ.สันติ อภัยราช
วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง
          เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏในจารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ ๑(ลิไทย) เสด็จฯไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.๑๙๐๐ พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี๓ องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะใน   รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม
                …พระยาลือไทราช ผู้เป็นลูกพระยาเลอไท เป็นหลานแก่พระยารามราช เมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ได้ราชาภิเษกเป็นท้าวพระยาขึ้นชื่อศรีสุริยพงศ์ มหาธรรมราชาธิราช หากเอา   พระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมปีนี้นั้น พระมหาธาตุอันนี้ใช้ธาตุอันสามานต์ คือ พระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดายเอาทั้งพืช พระศรีมหาโพธิ์อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้ามาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอ ดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล…ข้อความจากจารึกนครชุมที่คัดมาได้บอกประวัติความเป็นมาของวัดพระบรมธาตุได้ชัดเจนที่สุด เป็นวัดที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มีอายุเก่าแก่กว่า 642 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ.1900 สมัยพระมหาธรรมราชิลิไทแห่งสุโขทัยวัดพระบรมธาตุเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๘๕๘ ในสมัยต้นกรุงสุโขทัย เมื่อตีความจากจารึกนครชุม วัดพระบรมธาตุควรจะสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจดีย์มหาธาตุเมืองนครชุมเดิมมีสามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง และพญาลิไท สร้างเป็นพุทธเจดีย์ประจำพระองค์วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากว่า ๒๐๐ ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศ ทำให้ความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกคือเมืองกำแพงเพชรได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่          วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า ๓๐๐ ปี จนกระทั่งถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง ใน พ.ศ. ๒๓๔๒ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จ ได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ที่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชร พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชนแผ้วถาง พบเจดีย์ตามจารึกจริงและปฏิสังขรณ์ขึ้น
             จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงบันทึกถึงวัดพระบรมธาตุไว้ว่า……ครั้งแรกที่ได้พบเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุและพระพิมพ์เหล่านี้เดิม ณ ปีระกา เอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ (พ.ศ. ๒๓๔๒) สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง กรุงเทพขึ้นมาเยี่ยมญาติ ณ เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นจารึกอักษรไทย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ อุโบสถวัดเสด็จได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก ตรงข้ามเมืองเก่า ๓ องค์ ขณะนั้นพระยากำแพง (น้อย) ผู้ว่าราชการเมือง ได้จัดการค้นคว้าพบวัดและเจดีย์สมตามอักษรในแผ่นศิลา จึงป่าวร้องบอกบุญราษฎรช่วยกันแผ้วถางและปฏิสังขรณ์ขึ้น เจดีย์ที่พบมี ๓ องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุชำรุดบ้างทั้ง   ๓ องค์…
        จากหลักฐานบันทึกการตรวจการณ์คณะสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๖ ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ว่าเสด็จทอดพระเนตรโบสถ์ โบสถ์เล็กเตี้ย ฝาผนังตึก ในโบสถ์ไม่มีพระประธานเมื่อทรงสักการะแล้ว ดำรัสสั่งให้พระครูเมธีคุณานุรักษ์เชิญพระพุทธรูปที่บ้านโคน องค์ที่ทรงเลือกมาประดิษฐาน ณ อุโบสถนี้จากหลักฐานที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือว่าด้วยระยะทางล่องลำน้ำปิง ดังนี้กลับมาแวะที่วัดมหาธาตุ ถามพระครูถึงเรื่องศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท คือ ศิลาจารึก หลักที่ ๓ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ซึ่งอยู่ในหอสมุดฯ ทราบว่าได้ไปจากเมืองกำแพงเพชรแต่ยังไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ได้ทราบจากพระครูชัดเจนว่า ศิลาจารึกแผ่นนั้นเดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุแห่งนี้เอง ตั้งอยู่ที่มุขเด็จ วิหารหลวง ภายหลังผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชรเอาไปรักษา ที่วัดเสด็จแล้วจึงส่งลงไปกรุงเทพ พระครูได้พาไปดูฐานที่ตั้งศิลาจารึกแผ่นนั้นยังอยู่ที่มุขเด็จ เป็นศิลาแลงแท่งใหญ่ พิเคราะห์ดูช่องพอได้กับขนาดศิลาจารึกแผ่นนั้น พระมหาธรรมราชาลิไททำไว้ที่วัดนี้และเมืองนี้ครั้งสมัยสุโขทัยเรียกว่าเมืองนครชุมไม่มีที่สงสัย วิหารหลวงหลังนี้เป็นวิหารเก้าห้อง ก่อด้วยแลงมีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงทั้งแท่ง พระครูบอกว่าเดิมกำแพงชำรุด หักพัง ก้อนศิลาแลงกองเกลื่อนกลาดอยู่ เมื่อซ่อมพระมหาธาตุ ผู้ซ่อมเอาช้างลากก้อนแลงเหล่านั้นลงไปทิ้งน้ำทำเขื่อนกันน้ำเซาะ ยังปรากฏจนทุกวันนี้ องค์พระมหาธาตุนั้น พระครูบอกว่าฐานล่างเป็นศิลาแลง ส่วนพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐแบบอย่างเจดีย์สุโขทัย ๓ องค์ อยู่กลางตรงศูนย์กลางพระวิหารองค์หนึ่ง ต่อมาทางตะวันออกองค์หนึ่ง ทางตะวันตกวิหารองค์หนึ่งบนฐานใหญ่เดียวกัน อยู่มามีพม่าพ่อค้าไม้คนหนึ่งเรียกกันว่า “พระยาตะก่า” ขออนุญาตปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุ ครั้งได้รับอนุญาตจากกรุงเทพแล้ว พม่าคนนั้นศรัทธาทำพระเจดีย์ใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม จึงรื้อองค์เดิมทิ้งเสียทั้ง ๓ องค์ พระครูได้ทันเห็นแล้วจึงเอาเข้าบรรจุไว้ใน พระเจดีย์ใหม่ ซึ่งพม่าผู้ศรัทธานั้นสร้างตามพระเจดีย์พม่า ก็ไม่เห็นเจ้าเมืองห้ามปราม พระมหาธาตุเมืองกำแพงเพชร จนกลายเป็นพระเจดีย์พม่าอยู่จนบัดนี้ มีงานไหว้พระมหาธาตุเป็นงานประจำปีทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำจนถึง แรม ๑๕ ค่ำ
        หมายเหตุ พระยาตะก่า บูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุยังไม่แล้วเสร็จ พระยาตะก่าเสียชีวิตก่อน พะโป้น้องชายได้บูรณะต่อมา โดยได้ไปนำยอดฉัตรจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่ามาประดิษฐ์ที่ยอดเจดีย์พระธาตุ โดยได้บริจาคเงินสร้างมากกว่าผู้ว่าราชการสมัยนั้น (เป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสคลองสวนหมาก เพราะอยากพบ คหบดีที่บริจาคเงินจำนวนมากสร้างพระเจดีย์วัดพระบรมธาตุ)วัดพระบรมธาตุนครชุม มีหลักฐานจากแหล่งต่างๆ ที่ชัดเจนแสดงให้เห็นเป็นวัดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครชุมอย่างแท้จริง ปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการสถาปนาตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับพระราชทาน             วิสุงคาม สีมา ครั้งหลังเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเป็นศูนย์กลางการศึกษา  พระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุและสามเณร







กำแพงเพชรสมัยอยุธยา
อ.รุ่งเรือง สอนชู
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  กษัตริย์เมืองเทพนคร 
                 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นอาณาจักรที่ แผ่ขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไป จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกถึงภาคใต้ของประเทศไทยและบางส่วนของพม่า มีอายุยืนยาวกว่า ๔๐๐ ปี  แต่พระราชประวัติของพระองค์นั้นมีที่มาจากหลายแหล่งแต่ยังไม่มีหลักฐานที่ยุติได้ว่ามีเชื้อสายหรือพระราชวงศ์มาจากที่ใดแน่  มีผู้ที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์หลายท่านยังเชื่อว่า   มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร     ผู้เขียนจึงขอนำหลักฐานจากพงศาวดาร โบราณคดี ที่ผู้ที่มีความรอบรู้ได้กล่าวไว้นั้น  มานำเสนอให้ผู้สนใจได้รับรู้ถึงพระราชประวัติอีกครั้งหนึ่ง
พระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ฉบับดั้งเดิม
                 จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์  ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารชิ้นสำคัญที่กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ได้อย่างละเอียด โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส(สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)  ในหนังสือประชุมพงศาวดาร  ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑                     หน้า  ๑๘๙-๑๙๑ได้ทรงเทศนาถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ดังนี้
                 “ บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายพระสัทธรรมเทศนา ในจุลยุทธการวงศ์ สำแดงเรื่องลำดับโบราณกษัตริย์ในสยามประเทศนี้  อันบุพพาจารย์รจนาไว้ว่า
                  กาลเมื่อพระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้ยุทธสงครามแต่พระยาสตองเสียพระนคร  พาประชา
ราษฎรชาวเมืองเชียงราย  ปลาสนาการมาสู่แว่นแคว้นสยามประเทศ ถึงราวป่าใกล้เมืองกำแพงเพชร  ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระองค์  สมเด็จอมรินทร์ทราธิราชนิมิตพระกายเป็นดาบสมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง  ตรัสบอกให้ตั้งพระนครในที่นี้เป็นชัยมงคลสถาน  บรมกษัตริย์ก็ให้สร้างพระนครลงในที่นั้น  จึงให้นามชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์  พระองค์เสวยไอศุริยสมบัติอยู่ในพระนครนั้นตราบเท่าทิวงคต  พระราชโอรสนัดดาครองสมบัติสืบๆ กันมาถึงสี่ชั่วกษัตริย์
                 จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์ได้กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑          (พระเจ้าอู่ทอง)นั้น  พอที่จะสรุปเป็นข้อๆได้ว่า
๑.   พระราชวงศ์ทางผ่ายพระชนนีมาจากเชียงราย สร้างเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนพระชนก(บุรุษแสนปม)ทรงพระนามภายหลังว่าพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ยังไม่ทราบว่ามาจากที่ใด
๒.   พระเจ้าศิริไชยเชียงแสนสร้างเมืองเทพนครเมื่อจุลศักราช ๖๘๑ หรือพุทธศักราช ๑๘๖๒
๓.   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเทพนครต่อจากพระเจ้าศิริไชยเชียง-แสน เมื่อจุลศักราช ๗๐๖ หรือปีพุทธศักราช ๑๘๘๗  ครองเมืองเทพนครได้ ๖  พรรษาได้ย้ายไปสร้างเมืองกรุงศรีอยุธยาและสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมือจุลสักราช ๗๑๒ หรือพุทธศักราช ๑๘๙๓
๔.   สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) มีความเกี่ยวข้องกับพระบรมราชาธิราช(หลวงพะงั่ว)  ถือเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ และตรัสเรียกพระเชษฐา
          พระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จากเทศนาจุลยุทธการวงศ์
ข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อ มีหลักฐานจากพงศาวดาร และโบราณคดีที่จะนำมารับรองได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นเชื้อสายชาวกำแพงเพชรจริง ดังนี้
พระราชวงศ์ทางผ่ายพระชนนีมาจากเชียงรายสร้างเมืองไตรตรึงษ์ 
     พงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดาร  ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๗ 
 กล่าวถึง พระเจ้าไชยศิริเจ้าเมืองไชยปราการ  ถูกกองทัพจากเมืองสเทิม(รามัญ)เข้าโจมตี ไม่สามารถป้องกันรักษาเมืองไชยปราการไว้ได้  จึงพาบรรดาข้าราชการและประชากรหลบหนีมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งริมแม่น้ำปิง(เมืองแปบ)เมือครบกำหนด ๓ วัน ได้ฝังหลักเมืองตั้งพระนคร ขนานนามขึ้นเป็น “เมืองกำแพงเพชร”  เมื่อจุลศักราช ๓๖๖วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง (พ.ศ. ๑๕๔๗)  และได้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ในเวลาต่อมา
ดังนั้นจากเทศนาจุลยุทธการวงศ์  กษัตริย์เชียงรายผู้สร้างเมืองไตรตรึงษ์  ตรงตาม
พงศาวดารโยนกคือพระเจ้าไชยศิริ เจ้าเมืองไชยปรากการ  ที่พาประชากรหลบหนีมาถึงเมืองแปบแล้วสถาปนาขึ้นเป็น “เมืองกำแพงเพชร”และสร้างเมือง “ไตรตรึงษ์”ในคราวหลัง


พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน(บุรุษแสนปม)สร้างเมืองเทพนคร
อ.รุ่งเรือง สอนชู
           เทศนาจุลยุทธการวงศ์  พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน(บุรุษแสนปม)ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช ๖๘๑(พุทธศักราช ๑๘๖๒)   ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา  ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี  มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง   ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน  จังหวัดกำแพงเพชร ไว้

 

สถานที่ตั้งและและภาพถ่ายเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนคร






สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร 
                  ตำนานกรุงเก่า ตอน 1 ประวัติกรุงเก่า  พระราชพงศาวดารสังเขป  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม๕  หน้า ๙  ได้กล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร ก่อนไปตั้งกรุงศรีอยุธยา โดยคัดลอกข้อความเป็นบางส่วนมาอธิบายดังนี้
                 “ ครั้นเมื่อจุลศักราช ๗๑๒  ปี  พระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์เชียงราย  ซึ่งเสวยราชสมบัติในเมืองเทพนคร  เมืองนี้ที่จะอยู่ใกล้กับเมืองที่มีอำนาจ  จะเป็นที่คับแคบ  ซึ่งพระเจ้าอู่ทองจะขยายเขตแดนออกไปอีกไม่ได้  หรือกลัวเมืองอื่นจะมาทำอันตรายได้ง่ายในอย่างใด  จึงได้เสด็จลงมาสร้างเมืองหลวงขึ้นที่ตำบลหนองโสนข้างทิศตะวันตกกรุงศรีอยุธยา”
                จากข้อความ สรุปได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง)ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเทพนครต่อจากพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน  แล้วจึงย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาในคราวหลัง

 









สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  กษัตริย์เมืองอู่ทอง  เป็นชาวกำแพงเพชร
อ.รุ่งเรือง สอนชู
    กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จาก พงศาวดารโยนก  ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๗  หน้า  ๔๓๕-๔๓๖    กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ ๖ พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา   ลำดับที่ ๗  อู่ทอง มาแต่เชลียง  ลำดับที่   8๘ ขุนหลวงพงั่ว
               ลำดับที่ 7  อู่ทอง มาแต่เชลียง  ซึ่ง “เชลียง”  ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง
                เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑ หน้า ๓๕๖  ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช(หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ดังนี้
                 “ อธิบาย  เห็นว่าควรจะนับเปนราชวงษ์สุวรรณภูมิ์  เพราะเปนราชโอรสของพระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิ์  ไม่ได้ร่วมวงษ์กับสมเด็จเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นแต่เขยราชวงษ์สุวรรณภูมิ์”
                ชาวเมืองสุพรรณบุรี   ได้กล่าวถึงประวัติของเมืองสุพรรณบุรีที่พบได้ในเอกสารต่าง ๆ กล่าวไว้ดอนหนึ่งมีข้อความว่า
                 “เมื่อพระเจ้ากาแต เชื้อสายมอญได้เสวยราชย์ในเมืองอู่ทอง แล้วย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่เมืองพันธุมบุรี ได้มอบหมายให้มอญน้อย (พระญาติ) สร้างวัดสนามไชยและบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ในบริเวณเมืองพันธุมบุรีเสียใหม่ เมื่อบูรณะวัดแล้วทางราชการได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา และชวนกันออกบวชถึงสองพันคน จึงได้เรียกชื่อเมืองนี้ใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี"
                 เมืองอู่ทอง มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมาหลายพระองค์ เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง" ทั้งสิ้น และพระราชธิดาของพระเจ้าอู่ทอง ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าราม โอรสพระเจ้า
ศิริชัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้ารามขึ้นครองเมืองอู่ทองแทน (พ่อตา) คนทั่วไปก็เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง"   เมื่อขุนหลวงพะงั่ว (พี่มเหสี) ขึ้นครองเมืองสองพันบุรี และได้ย้ายไปครองเมืองอู่ทอง
เมืองอู่ทองต้องกลายเป็นเมืองร้าง เพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดินใหม่และตื้นเขิน ซ้ำร้ายยังเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) อีกด้วย ขุนหลวงพะงั่วจึงย้ายกลับมาประทับที่ เมืองสองพันบุรี และภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองสุพรรณบุรี" เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๐”
                  จากหลักฐานที่นำมากล่าวนั้นพอที่จะสรุปได้ว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง)ได้เป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เมืองอู่ทอง(เป็นน้องเขยหลวงพะงั่ว)  ต่อมา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) ได้ขึ้นครองเมืองอู่ทอง  และในคราวหลังหลวงพะงั่วได้ขึ้นครองเมืองอู่ทองต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
บทสรุป
           หลักฐานต่าง ๆ ที่นำมาอธิบายนั้นสามารถที่จะกล่าวพระราชประวัติของสมเด็จรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)  ได้ว่า เป็นชาวกำแพงเพชร เป็นโอรสของพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน  ผู้สร้างเมืองเทพนคร  ได้เป็นราชบุตรเขยเมืองอู่ทอง( เป็นน้องเขยของหลวงพะงั่ว)   ได้เป็นกษัตริย์เมืองอู่ทอง  ได้เป็นกษัตริย์เมือง     เทพนคร และครั้งสุดท้ายเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
            ดังนั้น  บุคคลผู้เป็นโอรสของพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เป็นกษัตริย์เมืองอู่ทอง  เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร  และเป็นปฐมกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ก็คือบุคคลคนเดียวกันนั่นเอง ที่ทรงพระนามว่า
                                       “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)”








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2015, 05:23:37 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!