จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 20, 2024, 02:13:27 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การแสดง แสงเสียง เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน  (อ่าน 3198 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มกราคม 05, 2015, 11:02:24 pm »

การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
บทนำ
๒ นาที   
ท่านผู้เกียรติที่เคารพทุกท่าน เนื่องในวโรกาส พิเศษ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช?สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ  ๖๐ พระพรรษา  วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
        องค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
ภูมิใจที่นำเสนอ กฤษฎาภินิหารแห่ง สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่  8  พระพุทธเจ้าเสือ            กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ผู้รักและกตัญญูต่อบ้านโพธิ์ประทับช้างแผ่นดินเกิด บันดาลให้เกิดวัดโพธิ์ประทับช้างที่มี สถาปัตยกรรมอันล้ำเลิศ วิจิตรการตา งดงามหาที่เปรียบมิได้ เป็นมรดกล้ำค่า ของชาวพิจิตรและประเทศไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงชาตินิยม มากที่สุด
ทรงปกป้อง มิให้ชาติไทย เปลี่ยนพระพุทธศาสนา และ ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดิน ยังฝังแน่น อยู่ในจิตใจ ของคนไทย ไม่รู้ลืม
         เพื่อแสดงความเคารพ ในพระมหากษัตริยาธิราช และดวงพระวิญญาณของพระมหากษัตริย์ ที่ทรงคุณต่อแผ่นดินไทย  โปรดยืนขึ้น เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ (เพลงสรรเสริญพระบารมี)










   

     
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่ ๑
๕ นาที   กำเนิดพระพุทธเจ้าเสือ (เสภา)
     พระบารมี  ปกเกล้า  ชาวสยาม                         พระบารมี  ก้องนาม  สยามสมัย
พระบารมี  เกริกกษัตริย์  ก้องเกรียงไกร                 พระบารมี  คุ้มภัย ทั้งแผ่นดิน
      พระเจ้าเสือ  รักชาติ  ยิ่งชีวิต                              พระเจ้าเสือ  มีจิต  รักท้องถิ่น
พระเจ้าเสือ  ปกป้อง  ทุกชีวิน                               พระเจ้าเสือ รักแผ่นดิน  ความเป็นไทย
    ทรงปกปัก  รักษา พระศาสนา                            ทรงศักดา  เพื่อแผ่นดิน  ให้ยิ่งใหญ่
ทรงตอบแทน  คุณแผ่นดิน ถิ่นวิไล                         ทรงสร้างวัด ราวเวียงชัย กลางใจเมือง
    บ้านโพธิ์ประทับช้าง ถิ่นกำเนิด                          พระเจ้าเสือ  ทรงประเสริฐ  นามลือเลื่อง
วัดโพธิ์ประทับช้าง ที่ประสูติ นามประเทือง               เป็นอนุสรณ์  คู่เมือง  พิจิตร เรา                
    ลุศักราช ๒๒๐๔ ในแผ่นสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าเสือ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ที่เมืองพิษณุโลก  ขณะถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง พระพันปีหลวง พระนางกุสาวดี พระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่  พระสนมในสมเด็จพระนารายณ์ พระนางพระราชทานแด่พระเพทราชา โดยเสด็จไปด้วย ทรงพระครรภ์แก่ ประสูติพระพุทธเจ้าเสือระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อในเดือนอ้าย ปีขาล  และนำรกใส่ผอบเงินไปฝังใต้ร่มเงาต้นมะเดื่อ จึงขนานนาม พระองค์ว่า เจ้าเดื่อ เพราะเหตุสำคัญนี้   

ไม่มี












พระนางกุสุวดี
พระเพทราชา
ประชาชน   


แสงส่อง จบไปที่ วัด ตามจุดต่างๆ ให้งดงาม
         
   



การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดินเกิด
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
 ๒
๑๒ นาที   หลวงสรศักดิ์ เทพแห่งมวยไทย
เมื่อนายเดื่อ เจริญวัยขึ้น พระเพทราชา  บิดาบุญธรรม นำถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระนารายณ์ เป็นที่โปรดปรานและเสน่หา ของสมเด็จพระนารายณ์ยิ่งนัก ไม่ว่านายเดื่อจะทำผิดสิ่งใด ก็มิเคยได้รับพระอาญาจากพระองค์ เพราะพระนารายณ์ทรงทราบดีว่า นายเดื่อเป็นราชโอรส นอกเศวตฉัตร ของพระองค์ และเป็นธรรมเนียมกษัตริย์แต่โบราณที่พระองค์ใดจะขึ้นเป็นกษัตริย์ จะต้องมีพระมารดา เป็นคนไทย เท่านั้น

           นายเดื่อเป็นหนุ่มรับตำแหน่งที่หลวงสรศักดิ์  แต่งกายแบบชาวบ้าน พายเรือไปจอดที่ตำบลตลาดกรวด แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ซึ่งมีงานมหรสพมีผู้คนไปเที่ยวงานอย่างเนืองแน่น มีการละเล่นมากมายหลายอย่าง  เช่น ชนไก่   กัดปลา  ชกมวย
 หลวงสรศักดิ์  ไปยังสนามมวยและให้นายสนามจัดหาคู่ชกให้ โดยนายสนามประกาศให้ประชาชนทราบว่า หลวงสรศักดิ์ เป็นนักมวยจากเมืองกรุง ประชาชนสนใจมาก เพราะสมัยนั้น นักมวยกรุงศรีอยุธยามีชื่อเสียงมาก นายสนามได้จัดเอานักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญเท่าที่มีอยู่ มาเป็นคู่ชก พระเจ้าเสือได้ชกกับ นักมวยถึงสามคนมี นายกลาง หมัดตาย  นายใหญ่  หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก ซึ่งแต่ละคนมีฝีมือดีเยี่ยม การต่อสู้เป็นไปอย่างน่าดูด้วยฝีมือเก่งพอ ๆ กัน แต่ด้วยพระปรีชาสามารถและความชำนาญในศิลปะมวยไทย ที่พระองค์ได้ทรงฝึกหัดและศึกษาจากสำนักมวยหลายสำนัก จึงทำให้พระองค์สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทั้ง ๓ คนได้ โดยที่คู่ต่อสู้ต่างได้รับความบอบช้ำเป็นอันมาก  และได้รับรางวัลเป็นเงินหนึ่งบาท


   สนามชนไก่

สนามกัดปลา

สนามชกมวย

ประชาชน ชม ประมาณ
๒๐-๒๕ คน   
   

การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
   
นายสนาม  (ประกาศ ) ยอดนักมวยแห่ง วิเศษ ชัยชาญ  ใครจะสู้กับ ไอ้หนุ่มจากกรุงศรีอยุธยาบ้าง นามเจ้าเดื่อ  ยอดฝีมือจากเมืองกรุง

นายกลางหมัดตาย   ข้านายกลางสมญานามว่า นายกลางหมัดตาย ยอดมวยแห่ง วิเศษชัยชาญ ขอประลองฝีมือกับไอ้หนุ่มต่างถิ่นเอง
  การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด  หลวงสรศักดิ์ ได้ใช้แม่ไม้มวยไทย ที่ท่านคิดค้นขึ้น กำหราบ นายกลางหมัดตายเพียง ยกเดียวเท่านั้น
นายสนาม  ขณะนี้ นายเดื่อ ชนะ นายกลางหมัดตาย แล้ว จะมียอดมวยคนใด มาต่อกรกับเจ้าเดื่อแห่งกรุงศรีอยุธยาอีกหรือไม่ ข้าจะชูมือแล้ว

ตาย  นายใหญ่  หมัดเหล็ก   กระโดดเข้าไปในเวที แล้วประกาศว่า  ข้านายตาย  นายใหญ่  หมัดเหล็ก ขอประลองฝีมือกับเจ้าเดื่อเอง
การต่อสู้ระหว่าง  นายใหญ่  หมัดเหล็ก และ หลวงสรศักดิ์ เป็นไปด้วยความดุเดือด  หลวงสรศักดิ์ โดนหมัด นายใหญ่หลายครั้ง ถึงกับซวนเซไป แต่ หลวงสรศักดิ์ ก็ใช้แม่ไม้มวยไทยที่คิดค้นขึ้น ปราบนายนายใหญ่หมัดเหล็ก หมอบคาเวที
นายสนาม    ขณะนี้ นายกลางหมัดตาย นายใหญ่หมัดเหล็ก ต่างแพ้นายเดื่อกันทั้งหมด ใครจะกล้าต่อสู้กับ นายเดื่ออีก เชิญโดดเข้ามา

   
นายสนาม (กรรมการ)

นายเดื่อ

นายกลางหมัดตาย
นายใหม่ หมัดเหล็ก
นายเล็กหมัดหนัก
และนักมวย อีก ๕ คน   
   

การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
   นายเล็ก หมัดหนัก   เพื่อนข้าทั้งสองคนคือ  นายกลางหมัดตาย  นายใหญ่หมัดเหล็ก  ข้านายเล็กหมัดหนัก ขอทดลองอีกคน ถ้าข้าแพ้อีกคน เราทั้งสามคน จะร่วมเป็นสหายติดตาม นายเดื่อ ตลอดไป ข้าสัญญา
นายเดื่อ   ข้ายินดี อย่างมาก ที่จะมีสหาย ที่มีฝีมืออย่างพวกท่าน เชิญ นายเล็กหมัดหนัก เข้ามา
(การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด นายเดื่อ ออมมือให้ ไม่ต่อสู้เต็มฝีมือ นายเล็กหมัดหนัก รู้ดี ว่าถ้านายเดื่อชกจริงๆ แล้วไม่สามารถสู้นายเดื่อได้ จึงเอ่ยขึ้นว่า
นายเล็กหมัดหนัก  นายเดื่อ กรุงศรี  พวกข้าชาววิเศษชัยชาญ  นายกลางหมัดตาย   นายใหญ่  หมัดเล็ก และข้านายเล็ก หมัดหนัก ขอยอมแพ้ ท่าน เรายอมรับนับถือท่านเป็นลูกพี่  พวกข้ามีนักมวยอีกหลายสิบคน เรามาฝึกซ้อมด้วยกัน พวกข้าจะตามท่านไป พระนครศรีอยุธยา
นายเดิ่อ   ข้ายินดีมาก พวกเราจะตั้งกองทัพนักมวย กู้ชาติจาก พวกฝรั่งตาน้ำข้าว ที่ จะบังคับให้เราเข้ารีต พระเจ้าอยู่หัว ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้  พวกเรานี่แหละ จะรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไว้ ข้าขอสาบาน ณ ที่นี้ว่า   ข้าจะไม่ให้ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  เปลี่ยนคนไทยไปนับถือศาสนาอื่นเป็นอันขาด ข้าไม่ยอม

นายกลางหมัดตาย   นายใหญ่  หมัดเล็ก และข้านายเล็ก หมัดหนัก   (พูดพร้อมกัน)
เราสัญญาว่า เรา จะรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต ของพวกเรา ทั้งลานเวทีมวย โห่ร้องพร้อมๆกัน เรา จะรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต ของพวกเรา


      
   

การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง

๑๒ นาที   กำราบ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ฝรั่งคนโปรด
ลุศักราช  ๒๒๓๑ สมเด็จพระนารายณ์ พระองค์มีแต่พระราชธิดา ไม่ราชโอรส คงมีแต่หม่อมปิยะ ราชโอรสบุญธรรม ซึ่งมีพระราชประสงค์จะให้ขึ้นครองราชย์ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ทำหน้าที่สมุหนายก สนับสนุน พระปิยะ ให้นับถือศาสนาหนึ่ง และให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระนารายณ์ ซึ่งพระเพทราชา และหลวงสรศักดิ์ ไม่เห็นด้วย  ท่านทั้งสอง  ถือหลักชาตินิยม และศาสนาพุทธนิยม  อย่างมั่นคง

วิชาเยนทร์    ขณะนี้พระปียะ รัชทายาท เข้ารีต ในศาสนาเราแล้ว  เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ สยามประเทศจะได้เปลี่ยนมา นับถือศาสนาของเรา   พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จะโปรดปรานเรามากกว่านี้  เราเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ที่สมุหนายก จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฮะฮ้าฮ้า

ที่พระราชวังลพบุรี พระนารายณ์ ออกว่าราชการ  (หลวงสรศักดิ์เข้าไปกราบทูล)

หลวงสรศักดิ์   ขอเดชะพระอาญามิพ้นเกล้า  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ สึกเอาภิกษุสามเณรออกมาทำราชการเป็นอันมาก ให้ร้อนในพระพุทธศาสนามากนัก พระองค์ทรงพิจารณาด้วยพระเจ้าข้า
พระนารายณ์      ทรงเงียบมิได้ตรัสว่ากระไร มิได้เอาโทษแก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  
หลวงสรศักดิ์   ไอ้ฝรั่งคนนี้มันเป็นที่โปรดปรานยิ่งนัก จะกระทำผิดสักเท่าใด ก็ทรงพระกรุณามิได้เอาโทษ แลกูจะทำโทษมันเองสักครั้งหนึ่ง
(ครั้นเพลาเช้าเจ้าพระยาสมุหนายกฝรั่ง เข้าไปในพระราชวัง แล้วก็นั่งว่าราชการในที่นั้น หลวงสรศักดิ์เห็นได้ที ก็เข้าชกเอาปากเจ้าพระนาวิชาเยนทร์ ฟันหักสองซี่ แล้วก็หนีออกไปยังบ้าน แลลงเรือเร็วรีบล่องลงไปยังพระนครศรีอยุธยา)   เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
หลวงสรศักดิ์
พระนารายณ์
เจ้าแม่วัดดุสิต
ข้าราชบริพาร ๓ คน
   

การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
   
เมื่อพระนารายณ์เสด็จออกว่าราชการ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ไปกราบบังคมทูลฟ้องว่า
วิชาเยนทร์  อาญาเป็นล้นเกล้า บัดนี้หลวงสรศักดิ์ชกเอาปากข้าพระพุทธเจ้า ฟันหักไปสองซี่ ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นสมปฤดีล้มสลบลงอยู่ ปิ้มประหนึ่งจะถึงแก่ชีวิต ข้าพระพุทธเจ้าได้ความเจ็บอายแก่ข้าราชการทั้งหลายเป็นอันมาก ขอทรงพระกรุณาโปรดลงพระราชอาญาแก่หลวงสรศักดิ์จงหนัก แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งจะสิ้นความเจ็บอาย ?
สมเด็จพระนารายณ์ ? ท่านทะเลาะวิวาทกับมันหรือประการใด ?
วิชาเยนทร์  ?ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ทะเลาะวิวาทถุ้งเถียงกับหลวงสรศักดิ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นหามิได้ ?
สมเด็จพระนารายณ์  ตำรวจหลวง จงไปเอาตัว หลวงสรศักดิ์ มาลงโทษ นะบัดนี้
ที่พระนครศรีอยุธยา
เจ้าแม่วัดดุสิต ( ซึ่งเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน แลเป็นพระนมผู้ใหญ่ของสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้นหลวงสรศักดิ์ ถวายบังคมแล้วก็กราบทูลแถลงการอันเจ้าพระยาวิชเยนทร์กระทำให้ร้อนในพระพุทธศาสนาดั่งนั้น แลได้กราบทูลพระกรุณาแล้วก็มิได้เอาโทษ
หลวงสรศักดิ์   ข้าพเจ้ามีความโทมนัสถึงพระพุทธศาสนา อันเจ้าพระยาวิชเยนทร์จะทำให้พระพุทธศาสนาให้พินาศเสื่อมสูญดั่งนั้น จึ่งชกเอาปากเจ้าพระยาสมุหนายก แล้วก็หนีลงมา แลบัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จะลงพระราชอาญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อัญเชิญเสด็จขึ้นไปขอพระราชทานโทษ ข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเถิด ?
 ( เจ้าแม่ผู้เฒ่าได้ทรงฟังดั่งนั้นก็เห็นโทษ อันเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ทำผิด จึ่งเสด็จด้วยเรือพระที่นั่งขึ้นไปยังเมืองลพบุรี แลเสด็จถึงฉนวนน้ำประจำท่า ก็พาหลวงสรศักดิ์ขึ้นไปยังพระราชวัง แลให้ยับยั้งอยู่นอกลับแลก่อน แล้วก็เสด็จเข้าเฝ้าข้างใน      
   
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
   
พระนารายณ์  พระมารดาเสด็จมาจากอโยธยาถึงพระนครลพบุรี ดูมีเรื่องร้อนพระทัย มีอะไรให้ลูกได้ช่วยเปลื้องทุกข์ ให้พระมารดา โปรดแสดงด้วยพระเจ้าข้า
เจ้าแม่วัดดุสิต  พระมารดา แจ้งว่า เจ้าเดื่อ มันทำผิดร้ายแรงนัก ชกปากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ถึงสลบและฟันหัก ๒ ซี่  แม่จะขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่มันสักครั้ง  มันเล่าให้พระมารดาฟังว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จะนำ ศรีอโยธยา เข้ารีตฝรั่ง  และจะเป็นผู้สำเร็จราชการเองจริงหรือ พระมารดา ยึดมั่น ในบวรพระพุทธศาสนา รับไม่ได้เช่นกัน  เจ้าเดื่อ มันรักชาติและพระพุทธศาสนายิ่งชีพมันจึงกระทำการอุกอาจ พระมารดา ว่า แค่ว่ากล่าวตักเตือน น่าจะพอเพียงกับความผิด เมื่อเทียบกับความผิดของ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ทีจะให้ พวกเราเปลี่ยนพระศาสนา และสึกพระเก่งๆไปรับราชการ จำนวนมาก จนพระพุทธศาสนา เสื่อมถอย  แม่ขอเจ้า นะ
พระนารายณ์    พระเจ้าข้า เสด็จแม่ ข้าจะเรียกเจ้าเดื่อ มาว่ากล่าวตักเตือน ข้าเองก็รักเจ้าเดื่อประดุจเลือดในอก เช่นกัน

ตั้งแต่นั้นมา หลวงสรศักดิ์ เป็นที่หวาดกลัวและเกรงใจของ กองทัพ ต่างชาติ ที่อยู่ในพระนครลพบุรีและ บรรดาข้าราชการทั้งปวง ที่ไม่พอใจ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ มาเข้ากับหลวงสรศักดิ์เป็นอันมาก






      
   
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง

๕นาที   หลวงสรศักดิ์ ขึ้นครองราชย์
สมเด็จพระนารายณ์นั้นทรงประชวรอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์  เมืองลพบุรี  พระเพทราชา  กับ  หลวงสรศักดิ์  เห็นว่า  พระเจ้าเหนือหัวทรงมีพระอาการหนัก  ไม่ทรงหายประชวรแน่แล้ว  จึงสั่งให้ตั้งกองทหารล้อมรักษาพระราชวังอย่างกวดขัน  แล้วทำการล่อเอาตัวพระปีย์  ไปประหารชีวิตเสียแล้วทำการจับเอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาไต่สวนกล่าวโทษว่า  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นเป็นกบฏจะชิงราชสมบัติให้พระปีย์  ด้วยประสงค์จะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเสียเอง  เมื่อสอบสวนแล้วก็ให้เอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปประหารชีวิตเสียที่ทะเลชุบศร
ขณะนั้นพระเพทราชานั้นบิดาหลวงสรศักดิ์ ได้มุ่งที่จะทำการกำจัดพวกฝรั่งเศสที่อยู่ในอาณาจักรสยาม  โดยเฉพาะทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ป้อมเมืองธนบุรีศรีสมุทร  จึงมีเหตุการณ์สู้รบกันขึ้น  ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงประชวรอยู่เมืองลพบุรีนั้นสวรรคตลงเมื่อ  พ.ศ. 2231  เจ้านายฝ่ายราชวงศ์นั้นได้หมดสิ้นลงแล้ว  และเวลานั้นมีเหตุการณ์สู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่  จึงทำให้ข้าราชการทั้งปวงจำต้องเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาต่อมา  เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง  เมื่อพระเพทราชาได้ราชสมบัติ หลวงสรศักดิ์ ก็ได้รับสถาปนาเป็นมหาอุปราช มีฐานะคล้ายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 ของอยุธยา  เมื่อพระเพทราชาสวรรคตแล้ว หลวงสรศักดิ์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่  8  หรือ  สมเด็จพระเจ้าเสือ ตั้งแต่นั้นมา

   คำบรรยาย
พระเจ้าเสือ
พระมเหสี
พระปีย์
พระเพทราชา
ข้าราชบริพาร ๓ คน   
   
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง

๑๒ นาที   สร้างวัดโพธิ์ประทับช้าง
พระเจ้าเสือ
    สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนิน ไป ณ เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมารดา ทรงพระครรภ์แก่ เสด็จขึ้นมาส่ง ตั้งจวนใต้ต้นมะเดื่อประสูติ กู กูจึงสถาปนา พระวิหาร พระอุโบสถ พระสถูป ที่จวนนั้น ตั้ง พระครูธัมรูจีราชมุนี อยู่ปกครองพระอาราม และเรียกขานว่า วัดโพธิ์ประทับช้าง

    ในปีมะเส็ง ตรีศก จึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จด้วยพระชลวิมาน โดยขบวนนาวาพยุหะ ขึ้นไป ณ พระอารามตำบลโพธิ์ประทับช้าง แลท้าวพระยา ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ให้มีการฉลอง แลมีมหรสพ คำรบสามวัน
                        ปางเสด็จประเวศด้าว       ชลาลัย
                      ทรงรัตนพิมานชัย                  กิ่งแก้ว
                       พรั่งพร้อมพวกพลไกร            แหนแห่
                       เรือพระเจ้าเสือเพริศแพร้ว      เห่ก้องชลธาร
           พระเสด็จ  ไปบ้านเกิด          งามเลอเลิศ  กระบวนเรือ
       สมเด็จ พระเจ้าเสือ                  สำราญล้ำ   ยามทรงงาน
           เกษมสุข ทรงเบ็ดปล่อย       ปลาใหญ่น้อย   ทรงสำราญ
ทรงเสวย  น้ำจัณฑ์นาน          แสนสุขล้ำ  ทรงย้ำเตือน
กลับบ้าน ที่ทรงเกิด             ต้นโพธิ์เลิศ มะเดื่อเหมือน
   ฝังรก ฝังรากเยือน                    มะเดื่อนี้   มีความหลัง
           จะสร้างอารามใหญ่             ตรงที่ได้  ประสูติยัง
    อาราม นามทรงพลัง                 โพธิ์ประทับช้าง จงยั่งยืน
        งามเอยงามอุโบสถ               แสนงามงด ไม่ดาษดื่น
   รูปทรง ไทยกลับคืน                    แข่งโบสถ์ฝรั่ง ที่ฝังใจ
          งามเอยสามทวาร             สถาปัตยบ้าน พลูหลวงใส่
    ลายลวด พืชพันธ์ไม้               ช่างอ่อนช้อย ร้อยสัมพันธ์    
                                    
นักแสดง เห่เรือ ประมาณ
       ๒๐ คน
พระเจ้าเสือ
พระมเหสี
ข้าราชการ ตามเสด็จ
๓ คน   


การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
   

    งามองค์  หลวงพ่อโต      ดับความโง่   ธ เสกสรร
ศักดิ์สิทธิ์  ที่พึ่งพลัน           อยู่กลางใจ ของผู้คน          
   งามสุด พุทธาวาส           งามพิลาศ ใจปวงชน
สังฆาวาส ขลังเหลือล้น     สงฆ์พิสุทธิ์ พุทธนิยม
  งามเอย กำแพงแก้ว      งามยิ่งแล้ว สิ่งเหมาะสม
เสมา งามเพราคม          เด่นสง่า   รอบโบสถ์เรา
 ตำหนัก พระเจ้าเสือ        เด่นงามเหลือ สวยไม่เบา
งามปรางค์ งามแสนเสา    แสนงามงด หมดจดใจ
   งามวัด    เจ้าเสือสร้าง   โพธิ์ประทับช้าง  แสนยิ่งใหญ่
ตอบแทน ด้วยจริงใจ      กษัตริย์ไทย  ยอดกตัญญู
พระเอ๋ย  พระจ้าเสือ         ยิ่งใหญ่เหลือ ไทยเชิดชู
พิจิตร   จิตรับรู้               พระเจ้าเสือ  เกื้อนำไทย
นบนอบ  บูชาองค์          พระเจ้าเสือ ผู้ยิ่งใหญ่
คนไทย แผ่นดินไทย       ระลึกล้ำ  ในพระคุณ
ป้องกัน  ไม่เข้ารีต          พระองค์กีด กันเกื้อหนุน
รักษา  พุทธค้ำจุน        พระเจ้าเสือ ของเผ่าไทย

  
      
   
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
องก์ที่   คำบรรยาย   ตัวละคร   ฉาก แสง เสียง
องก์ จบ
๕ นาทร   
เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
นารีรัตนา บทเพลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราช?สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘

A1) พ่อเคยบอกไว้ จะทำเรื่องใดให้เสร็จดังฝัน
เส้นทางเหล่านั้น ไม่เคยลาดโรยด้วยกลีบดอกไม้
แต่แก้วดวงหนึ่งช่างงาม ยังมุ่งเดินตามรอยเท้าพ่อไป
ด้วยพลังที่ล้นดวงใจอันเปี่ยมศรัทธา

A2) มือจับปากกา สมุดทุกหน้า พากเพียรสร้างสรรค์
อุดมการณ์นั้น ยังคงยึดมั่น ไม่หวั่นปัญหา
ป่าเขาลำเนาห่างไกล ความรักรินไปด้วยใจเมตตา
เพื่อแผ่นดินที่กำเนิดมาร่มเย็นสืบไป


***Hook
นารีรัตนา แก้วใจประชาคุณค่าส่องใส
แก้วงามสะท้อนแสงทองส่องใจ
สว่างไสวด้วยหัวใจเพื่อแผ่นดินนี้
นารีรัตนา ผู้ยอมเหนื่อยล้าด้วยแรงที่มี
แก้วที่ควรค่าการสดุดี คือหนึ่งนารีผู้เป็นที่รัก
(ปวงไทยน้อมใจถวายศรัทธา ราชสุดา ผู้เป็นที่รัก...)


 
   
จินตลีลา ชุด นารีรัตนา
โรงเรียน สรรเพชญ์
๙-๑๑ คน   
การแสดงแสงเสียง ประกอบจินตนาการ เรื่อง
 พระพุทธเจ้าเสือ กษัตริย์ยอดกตัญญู ต่อแผ่นดิน
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘  ณ   วัดโพธิ์ประทับช้าง  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
ซ้อม  ๒๙ ?๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘      ซ้อมใหญ่ ๑ เมษา ๓๕๕๘  เวลา  ๑๕.๐๐ น. ? ๒๑.๐๐ น.
แสดงจริง วันที่ ๒ เมษายน  ๒๕๕๘ เวลา ๑๙.๓๐ น. ? ๒๐.๓๐น. ณ วัดโพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
อำนวยการแสดงโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ประทับช้าง

บทและกำกับการแสดง โดย
อาจารย์สันติ อภัยราช  อาจารย์ ๓ ระดับ ๙  
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรม)
โทร ๐๘ ๑๔๗๕  ๕๕๕๗



นักแสดง
๑.พระนางกุสุวดี      แม่พระเจ้าเสือ
๒พระเพทราชา        พ่อพระเจ้าเสือ
๓.ประชาชน   ๒๐-๒๕ คน
๔.ไก่ชน
๕.กัดปลา
 ๖. สนามมวย  กรรมการ
๗.นายเดื่อ
๘ นายกลางหมัดตาย
๙. นายใหม่หมัดเหล็ก
๑๐ นายเล็ก หมัดหนัก  
๑๑. นักมวย ๕ตน

๑๒ พระยาวิชาเยนทร์
๑๓ พระนารายณ์
๑๔.เจ้าแม่วัดดุสิต
๑๕ข้าราชการ ๓ คน
๑๖.พระมเหสี พระเจ้าเสือ
๑๗.พระปีย์
๑๘นักแสดง เห่เรือ  ๒๐ คน
๑๙.จินตลีลา ชุด นารีรัตนา ๙-๑๑ คน
นักแสดง รวม ๗๕ คน
อุปกรณ์
ไก่ชน ๒ ตัว   ปลากัด ๒ ตัว
เรือยาว ๑ ลำ  นั่งประมาณ ๒๐ คน พร้อมพาย
























« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2015, 12:02:07 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!