จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 05:31:29 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสด็จประพาสต้น นายธนศักดิ์ จันสุพรรณ์ 551121523โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์  (อ่าน 3215 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2014, 12:24:29 am »

ประพาสต้นกำแพงเพชร
               ประเด็นหลักๆที่ พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จมากำแพงเพชรคือมีการกล่าวไว้ว่า ใครที่มานครชุมคือพวกเดนตาย (เดนตาย แปลว่า ถ้าจะตายให้เอามาไว้ที่นครชุม) โดยได้ยินข่าวลือว่าถ้าใครว่าอยู่ที่กำแพงเพชรจะต้องตายหมดทุกคนจึงทำให้ไม่มีประชากรอยู่เลย พระพุทธเจ้าหลวงอยากจะเข้ามาให้ชาวประชารู้ว่า พระเจ้าแผ่นดินยังเข้ามาเหยียบได้ทำไมชาวบ้านธรรมดาถึงไม่สามารถเข้ามาได้
               หากย้อนกลับไปในช่วงเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ เพื่อลำดับเหตุการณ์ เราจะทราบว่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรเสมอ ดังนั้นจะสรุปเหตุการณ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสต้นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนี้
                ประพาสต้น หมายถึงการเสด็จโดยไม่ไม่เป็นทางการ พระองค์ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการต้อนรับ เพื่อพระองค์จะได้มีโอกาส ทอดพระเนตรสุขทุกข์ของประชาชนของพระองค์อย่างแท้จริงไม่มีการ เตรียมการไว้ พระพุทธเจ้าหลวงออกจากพระราชวังสวนดุสิต
               ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๔๙ รอนแรมมาทางเรือ ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา ถึงบ้านแดน เขตรอยต่อระหว่างกำแพงเพชรกับนครสวรรค์
              วันที่ ๑๘ สิงหาคม ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชรในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพัก รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งพลับพลานี้ เคยรับเสด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ก็มาประทับที่นี้เช่นกัน ต่อมาพลับพลาแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่เรียนของกุลบุตรกุลธิดา ในจังหวัด เรียกกันว่าโรงเรียนพลับพลา
              วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ผ่านวัดเล็กๆ ทำด้วยแลง ผ่านที่ว่าการเมืองที่สร้างยังไม่เสร็จ ( บริเวณสนามเด็กเล่นเทศบาลซึ่งรื้อไปแล้ว ) เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อย ปัจจุบันรื้อไปแล้วเช่นกัน ได้ทอดพระเนตร สามประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้วตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่อย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา มณฑป ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมาอยู่ที่กำแพงเพชรตามตำนาน ต้องมาอยู่ที่วัดแห่งนี้แน่นอน ทรงตรัสชมว่าพระเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ลอมฟาง ทำได้งามมาก เสด็จต่อไปจนถึงวัดช้างเผือก ไปที่ศาลหลักเมือง แล้วไปที่ สระมน พระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร ราษฎรสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน มีราษฎรมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก มีสำรับกับข้าว มาเลี้ยงหลายสิบสำรับพระพุทธเจ้าหลวงเจ้าประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรรวมทั้งสิ้น ๑๐ วัน       
              วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงลงเรือข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุเลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลหน่อยแต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ พระองค์ทรงขึ้นไปถ่ายรูปบ้านสองหลัง แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือเสวยพระกระยาหารบริเวณหาดกลางน้ำ เสร็จแล้วจึงล่องเรือลงมาขึ้นที่พระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วัดพระธาตุใหญ่องค์หนึ่งโดยพระยาตะก่า แต่ยังไม่เสร็จพระยาตะก่าก็เสียชีวิตลง พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่ง พระเจดีย์ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี
             นอกจากนี้  คนกำแพงเพชรยังได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จกำแพงเพชรถึง ๓ ครั้ง
             ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๐ เสด็จบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและยังทรงเสด็จออกมาปลูกต้นสัก ณ บริเวณหน้าศาลากลาง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงปลูกต้นสักด้านขวาและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงปลูกต้นสักด้านซ้ายของศาลากลาง แล้วเสด็จไปเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์ ภาพที่ชาวกำแพงเพชรประทับใจคือพระองค์ทั้งสองทรงโบกพระหัตถ์ให้แก่ราษฎรชาวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอย่างยิ่ง
            ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง และยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และกรมการศาสนาได้ร่วมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงินจำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท  เพื่อใช้เป็นทุนสร้างวัด นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานหน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระองค์ทรงพระราชทานนาม พระพุทธรูปประธานซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ว่า  พระพุทธวชิรปราการ  เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗
             ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๑ เสด็จพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ของอำเภอ ต่างๆ รวม ๑๑๗ รุ่น  ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร  หลังจากพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านแล้ว ยังทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ลูกเสือชาวบ้านและพสกนิกรที่มารับเสด็จ  เมื่อเสร็จพิธีทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ ขณะนั้นประชาชน บ้านกิโลสอง  กิโลสาม  กิโลหกและชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงได้กราบทูลขอพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการชลประทานท่อทอแดง เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบริเวณหมู่บ้านดังกล่าว
            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอย่างมากซึ่งทำให้ชาวจังหวัดกำแพงเพชรปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างมากที่พระองค์ไม่ทรงละทิ้งราษฎรที่อยู่ห่างไกลแต่ทรงให้ความช่วยเหลือดูแลเป็นราษฎรอย่างดี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้


นายธนศักดิ์ จันสุพรรณ์     551121523  โปรแกรมวิชาภาษาไทย
บันทึกการเข้า
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 12:44:06 pm »

การดำเนิน เรื่องชัดเจน ให้ ๑๐ คะแนน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!