จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 20, 2024, 05:51:37 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นจังหวัดกำแพงเพชร นางสาวสุนิษา แตงบุญรอด  (อ่าน 3311 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 09:13:53 pm »

เรื่อง   พระพุธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น จังหวัดกำแพงเพชร
ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้มีการจัดงานที่วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นงานเกี่ยวกับการเสวนาในหัวข้อ ๑๐๘ ปี พระพุธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น ซึ่งเป็นการย้อนรอยเรื่องราวเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ท่านเสด็จประพาสต้นเยือนเมืองกำแพงเพชร (ประพาสต้น หมายถึง การเสด็จโดยไม่เป็นทางการ)
วันที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระองค์ได้ถ่ายรูปที่วัดอรุณราชศรัทธารามหลังจากที่จอดเรือ แล้วเดินขึ้นเขาหน่อระยะ ๘๗ เส้น และเวลาบ่าย ๔ โมงเย็นได้แวะถ่ายรูปที่ริมหาด แล้วลงเรือชะล่าประพาสเที่ยวต่อที่บ้านตาแสนปม เมื่อทอดพระเนตรแล้ว พระองค์ได้ลงเรือต่อมาจนเวลาจวนค่ำที่หาดบ้านแสนตอ เดินข้ามวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่าแสนตอเป็นชื่อเมืองอำเภอขาณุ
วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระองค์ได้ทอดพระเนตรคนผมแดง คนผมแดงนั้นเมื่อยามแรกเกิดก็จะมีผมสีแดงแต่พออายุมากขึ้นผมก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำหม่นและเมื่อแก่ตัวลงผมก็จะกลายเป็นสีขาว พระองค์ได้ออกเรือ ๓ โมงตรงและเกือบ ๕ โมงจึงได้ขึ้นเรือเหลืองและได้แวะจอดที่หัวหาดแม่ลาด เพื่อพักรับประทานอาหารและถ่ายรูป แล้วจึงเดินทางต่อหมายว่าจะข้ามไปพักที่คลองขลุงแต่ในเวลาเย็นได้ทอดพระเนตรเห็นพลับพลา ตำบลบางแขมเห็นว่าทรงตกแต่งได้สวยงามจึงแวะพัก และพอเวลาบ่าย ๔ โมง ได้อาบน้ำ แล้วมีพวกชาวบ้านลงมาหาเล่าถึงเรื่องที่ไปทัพเงี้ยว เวลาเย็นได้ขึ้นไปเที่ยวชมไร่
วันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ พระองค์ได้ออกเรือตอน ๓ โมงเช้า และประมาณ ๔ โมงครึ่งได้ขึ้นเรือเหลือง และได้แวะพักทางฝั่งตะวันออก ตลิ่งชันและสูงมากแต่ต้นไม้งาม ปีนขึ้นไปรับประทานอาหารบนบกและถ่ายรูป แล้วจึงลงเรือมาถึงที่วังนางร้างเป็นที่พักแรมตอนบ่าย ๓ โมง ครั้นจะเลยไปที่อื่นก็ระยะทางไกลจึงลงเรือเล็กไปถ่ายรูปแม่น้ำฝั่งตะวันออก แล้วข้ามมาฝั่งตะวันตกหมายจะเข้าไปถ่ายรูปในป่า แต่เห็นว่าเป็นทุ่งจึงไม่ได้เข้าไป
วันที่ ๒๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ เวลา เช้า ๒ โมงเศษ พอถึง ๔ โมงครึ่งได้ขึ้นเรือเหลือง ได้แวะพักที่เกาะธำรงซึ่งจัดไว้เป็นที่พักแรมและพักรับประธานอาหาร แล้วออกเรือในเวลาต่อมาได้หยุดพักร้อนที่บ้านขี้เหล็กจนถึงบ่าย ๔ โมงครึ่ง ฝนก็ตกได้ลงมาอยู่กันในเรือเพราะว่าบ้านขี้เหล็กที่พักนั้นไม่ได้มุงหลังคา พอใกล้ค่ำก็มีขบวนเรอใหญ่มา เพราะคิดว่าพระองค์กลัวพายุ แต่แท้จริงแล้วเรือเหลืองไม่ได้โดนพายุเลยเพราะมีตลิ่งบังไว้ เรือโมเตอร์ที่มาถึงก่อนบอกว่าพลับพลากำลังจะพังลงเสียให้ได้
ระหว่างทางที่มาวันนี้ตั้งแต่พลับพลาวังนางร้างมาฝั่งตะวันตกมีบ้านเรือนจำนวนมาก มีเรือจอดจำนวนมาก เพราะเป็นท่าสินค้ามานาน  แต่ทางฝั่งตะวันออกเป็นป่า ล่องเรือมาจนถึงบ้านโคลนซึ่งเดากันว่าเป็นเมืองเทพนคร แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน มาจนถึงบ้านท่าขี้เหล็กอยู่ฝั่งตะวันตก พลับพลาตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก เมื่อคืนฝนตกตลอดคืน พอถึงตอนเช้าก็ยังมีฝนโปรยปรายไดพักรับประทานอาหารที่พลับพลาประทับร้อน ตั้งแต่บ่าย ๔ โมงเศษจนถึง ๒ ทุ่มครึ่งฝนตกและที่พักค่อนข้างกันดาร
   วันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ได้ตื่นนอนประมาณ ๒ โมงครึ่ง ออกเรือจวน ๓ โมง มาจากท่าขี้เหล็ก เลี้ยวเดียวก็มาถึงวังพระธาตุ อยู่ฝั่งตะวันตก มีบ้านเรือนรายตลอดแนวแต่อยู่ฟากตะวันตก ส่วนฟากตะวันออกเป็นป่า ตั้งแต่พ้นคลองขลุงมาก็เป็นป่าไม่สักแต่เป็นไม้เล็กๆ ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม
   ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แต่แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั่นก็คือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น จอดเรือพักร้อนเหนือวังพระธาตุเล็กน้อย พระธาตุมีฐานท่าซ้อน ๓ ชั้น ชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศเรียกว่า ทะนาน ถัดขึ้นไปจึงเป็นบัลลังก์ปล้องไฉน ๗ ปล้อง ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝางที่เห็น เดินจากวังพระธาตุไปตามลำน้ำข้างเหนือ ทาง ๒๖ เส้น ถึงคูด้านใต้ของเมืองไตรตรึงศ์ คูนั้นใหญ่กว้างราว ๑๕ วา ลึกลงเสมอพื้นหาดแต่น้ำแห้ง ยืนเข้าไปจนถึงเชิงเทินหลังเมืองมีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่ทางย่านด้านใต้ แต่ด้านเหนือไม่มีถนน มีแต่ลำคูมาบรรจบด้านใต้
   ได้ลงเรือออกมาเวลาเที่ยงมาถึงที่พลับพลาประทับร้อน แต่ไม่แวะ มาแวะรับประทานอาหารที่บ้านไร่ เป็นบ้านนายเทียนอำแดงแจ่ม ท่วงทีบ้านเรือนสบาย ผิดกันกับบ้านแถบนี้ เจ้าของบ้านก็ไม่ค่อยออกมาทักทายออกจะหลบๆซ้อน ออกจากบ้านไร่มาถูกฝนอีกมาก ถึงกำแพงเพชรจอดหน้าเมืองเก่าเกือบทุ่ม
   วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙  เดินขึ้นบกไปโดยทางเดิม จนถึงถนนเลี้ยวประตูน้ำอ้อย ไม่เลี้ยวตรงไปตามข้างทิศตะวันตกแต่โอนไปทางเหนือ พบวัดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ก่อด้วยอิฐกำมะลอ ๒-๓ วัด แล้วเลี้ยวเข้าประตูดั้นจนถึงทางที่เคยเลี้ยวเข้าวัดที่เรียกไว้ว่าวัดพระแก้ว แล้วจึงเดินเลียบกำแพงต่อไปอีก มีป้อมๆหนึ่งไม่มีชื่อเป็นป้อมสามเหลี่ยมเหมือนกับป้อมอื่นๆ ใกล้ป้อมนั้นมีประตูอีกประตูหนึ่ง เรียกประตูเจ้าอินเจ้าจัน ถัดไปจึงถึงประตูเรียกชื่อว่าประตูหัวเมือง ประตูนี้มงกุฎราชกุมารคะเนว่าน่าจะเป็นประตูชัย แต่เห็นจะไม่ใช่เพราะไม่ใช่ตรงข้างเหนือแท้ เมื่อถึงด้านตะวันออกเริ่มเป็นประตูผีออก ซึ่งยังมีกำแพงอยู่ดีกว่ากำแพงอื่นๆ ถัดไปถึงป้อมพระวิเชียรให้ชื่อว่าป้อมเพชร เพราะเป็นด้านเหนือเขาถือว่าเป็นป้อมสำคัญ ต่อไปจึงถึงเขาเรียกว่าสะพานโคม ซึ่งน่าจะเรียกว่าประตูชัยเพราะเป็นทางไปและมากับเมืองสุโขทัย ประตูนั้นก็เป็นประตูใหญ่
   เมื่อไปพ้นป้อมนั้นจึงขึ้นถนน ขุดดินเป็นร่อง ๒ ข้าง ขึ้นพูนเป็นถนนสูง กว้างประมาณ ๘ วา เป็นแนวตรง เรียกว่าถนนพระร่วง ถัดไปจึงถึงวัดพระนอนซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน วัดเหล่านี้มักจะมีวิหารหรืออุโบสถใหญ่อยู่ข้างหน้า จะว่าด้วยวัดพระนอนนี้ วิหารหน้าใหญ่มาก แต่โทรมไม่มีอะไรอัศจรรย์ ตั้งแต่วัดนี้ไปมีกำแงวัดอีกหลายวัดอยู่ชิดๆกันอย่างวัดกรุงเก่า แต่ไม่มีเวลาจะแวะดู ทางที่ไปเป็นป่าไม้พลวงทางโปร่งๆเมื่อพ้นวัดกำแพงงามจึงถึงวัดเขา ตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู เสาล้วนแต่เป็นสิลาแลงทั้งนั้น วิหารใหญ่ด้านหน้าจะโตกว่าวักสุทัศน์ แต่ไม่มีอะไรหลงเหลือนอกจากพระเศียรเล็กๆน้อยๆ ต่อนั้นจึงไปถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดก็เต็มไปด้วยพระเจดีย์ที่เป็นฐานเดียวกันหลายๆองค์บ้าง องค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวักพระธาตุลพบุรีและวัดมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย
   วันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ เวลา ๔ โมง ได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตก ยังไม่แวะขึ้นวัดพระธาตุแต่เลยไปเมืองสวนหมาก ในคลองมีน้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใสเพราะเป็นลำห้วย คลองสวนหมากนี้ตามลัทธิเก่าถือกันว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องหันหน้าไปฝั่งตะวันออก เพียงแค่มองดูก็ต้องจับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำที่ลงมาจากห้วยในป่าไม้
   เมื่อพักรับประทานอาหารแล้วก็ล่องเรือลงมาที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์ อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่ ๑ องค์ ย่อม ๒ องค์ พญาตะก่าสร้างรวม ๓ องค์ เป็นองค์เดียวที่ทำเป็นเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ พญาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกฉัตรยอดซึ่งทำมาแต่เมืองมอญแห่งหนึ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ เจดีย์นี้ทาสีเหลืองมีลายปูนขาว ถ้ามองในน้ำจะดูงดงามมาก มีพระครูอยู่ในวัดเป็นเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง พระครูเจ้าคณะแขวงอำเภอพรานกระต่ายอยู่อีกพวกหนึ่ง เป็นสองพวก มีโรงเรียนอยู่ในหมู่กุฏิ มีราษฎรเป็นจำนวนมาก
   ขากลับลงเรือชะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลา ที่เมืองใหม่แห่งนี้มีถนน ๒ สาย ยาวขึ้นมาตามลำน้ำเคียงกันขึ้นมา ๑สายอยู่ริมน้ำ ๑ สายอยู่บนดอน แต่ถึงอยู่สายริมน้ำหน้าน้ำก็ไม่ท่วม
   วันที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ เวลา ๒ โมงเศษ รับประทานอาหารแล้วออกไปแจกของให้ผู้ที่มาเลี้ยงทั้งหญิงและชาย แล้วถ่ายรูปพวกตระกูลเมืองกำแพงที่มา ตั้งต้นคือท่านหญิงทรัพย์ภรรยาพระยากำแพง อายุ ๙๓ ปี ยังสบายดีและดูแข็งแรง มากับลูก ๒ คน คือ ผึ้งเป็นภรรยาพระพล ลูกคนสุดท้องภู่ เคยไปทำราชการในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ เป็นภรรยาพระรามรณรงค์ อายุ ๖๔ ปี มีหลานหญิงชื่อหลาบเป็นภรรยาหลวงแพ่ง อายุ ๖๔ ปี หลานหญิงชื่อเพื่อนเป็นภรรยาพระพล อายุ ๔๖ ปี หลานหญิงชื่อพัน ภรรยาหลวงพิพิธอภัย อายุ ๔๔ ปี หลานชายหลวงพิพิธอภัยอายุ ๔๔ ปี เหลนที่มา ๖ คน คือ กระจ่าง ภรรยานายชิด อายุ ๒๔ ปี เปล่งภรรยานายคลอง อายุ ๒๑ ปี ริ้วบุตรตรีพระพล อายุ ๑๗ ปี หวีด อายุ ๑๖บุตรหลวงพิพิธอภัย ละอองบุตรตรีนายจีนอายุ ๑๒ ปี แต่ทั้งนี้มากันไม่ครบ ซึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่รวมกันทั้งหมด ๑๑๑ คน
   ถ่ายรูปเสร็จได้ลงเรือล่องไปขึ้นท่าที่หน้าวัดเสด็จเพื่อจะถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์แต่คำจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพฯแล้ว แล้วจึงเดินไปวัดคูยาง ซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ ผ่านถนนสายใน ถนนสายนี้สวยงามมาก ได้ถ่ายรูปไว้และให้ชื่อถนนราชดำเนิน
   กลับจากวัดหยุดถ่ายรูปบ้าง จนเที่ยงจึงได้ลงเรือเหลือง ล่องลงมาไม่พบกรมหลวงประจักษ์ แวะรับประทานอาหารที่พลับพลาปากอ่าง ล่องเรือลงมาหยุดถ่ายรูปเวลาพบเท่านั้น ขาล่องนี้เรือใช้ตีกรรเชียงแต่ก็เป็นอันสักว่าตี ล่องเรือมาถึงที่พักแรมตำบลวังนางร้าง แต่ที่จริงแล้วเรียกว่าวังอีร้าง
   วันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ออกเรือ ๓ โมง จน ๕ โมงได้ไปขึ้นเรือเหลือง หยุดกินข้าวที่ตลิ่งเป็นป่าฝั่งตะวันออกแล้วมาหยุดที่หาดถ่ายรูปเวลาพระอาทิตย์ตก เลยตีกรรเชียงลงมาจนถึงพลับพลาบ้านแดนเวลาพลบ ไม่มีเรื่องอะไรเลยนอกจากอ้ายกรรเชียงที่ตีง่ายแสนสาหัสขึ้นชื่อว่ากรรเชียงแล้วไม่มีอะไรจะเบาเท่า ถ้าตีทวนน้ำแล้วเป็นอันไม่ขึ้นเด็ดขาด
   วันที่ ๒๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ ออกเรือ ๓  โมงเช้า ต้องรอรับพวกจีนไทยที่มาหา รวมทั้งตาแสนปม แวะรับประทานอาหารที่พลับพลาหัวดง ซึ่งพักแรมจนถึงบ่ายโมงเท่านั้น จนเปลี่ยนเลื่อนลงมายางเอน หยุดถ่ายรูปเขาหน่อครั้งหนึ่ง มาตามทางมีคนรู้จักเรือเหลืองว่าเป็นที่นั่งทั่วทุกแห่ง ที่ไหนเคยแวะที่นั่นคนยิ่งประชุมมาก มีอะไรที่จะตีจะเคาะโห่ร้องได้ ก็ตีเคาะโห่ร้องทุกแห่ง มีลงเรือพายตามเอาของมาให้ก็มาก
   ในหนึ่งรอบทศวรรษที่ผ่านมา ไม่มีประวัติศาสตร์ครั้งใดของจังหวัดกำแพงเพชร จะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนเหตุการณ์ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นการส่วนพระองค์เพื่อทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอย่างแท้จริงด้วยพระองค์เอง พสกนิกรชาวกำแพงเพชรมีโอกาสเฝ้ารับเสด็จชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด ยังความปราบปลื้มปิติและภาคภูมิใจมาจนถึงทุกวันนี้














นางสาวสุนิษา  แตงบุญรอด ๕๕๑๑๒๑๕๒๖ โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
บันทึกการเข้า
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 01:03:22 pm »

เขียนได้ละเอียด ชัดเจน ให้ ๑๐คะแนน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!