จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 25, 2024, 10:54:25 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรครบ ๑๐๘ ปี นางสาวพันธุ์ทิวา จุฬาลักษณ์สิริ  (อ่าน 3191 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 11:37:18 am »

                                        พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรครบ ๑๐๘ ปี
            พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนได้เสด็จประพาสต้นจังหวัดกำแพงเพชรโดยไม่เป็นทางการ ซึ่งพระองค์ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการต้อนรับ เพื่อพระองค์จะได้มีโอกาส ทอดพระเนตรทุกข์สุขของประชาชนชาวจังหวัดกำแพงเพชรอย่างไม่มีการ เตรียมการไว้ก่อน พระพุทธเจ้าหลวงออกจากพระราชวังสวนดุสิต ตั้งแต่วันที่ ๒๗กรกฎาคม ๒๔๔๙ (ผ่านมา๑๐๘ปี)รอนแรมมาทางเรือ ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา ถึงบ้านแดน เขตรอยต่อระหว่างกำแพงเพชรกับนครสวรรค์ ในครั้งนั้น     เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชรวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ วันนี้พระวิเชียรพาคนผมแดงมาให้ดู อันลักษณะผมแดงนั้นเป็นผมม้าแดงอย่างอ่อนฤๅเหลืองอย่างแก่ ผมที่แดงนี้มาข้างพันธุ์พ่อ ถ้าผู้หญิงไปได้ผัวผมดำ ลูกออกมาก็ผมดำไปด้วย ผมแดงนั้นเปลี่ยน 3 อย่าง แรกแดงครั้นอายุมากเข้าก็ดำหม่นลงแก่ก็เลยขาวทีเดียว บอกพืชพันธุ์ว่า ทราบว่าตัวมาแต่เวียงจันทน์ แต่มาก่อนอนุเป็นขบถ จะได้ตั้งอยู่ช้านานเท่าไรไม่ทราบ พูดเป็นไทย ประพฤติอาการกิริยาก็เป็นไทย เฉพาะมีมากอยู่ที่เมืองขาณุ   ที่กำแพงเพชร ๒๑ ส.ค. ๒๔๙๙ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำวัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์ ทรงบันทึกไว้ว่าพระธาตุนี้มีฐานแท่นซ้อนสามชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ เรียกว่าทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉนเจ็ดปล้องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝางองค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ประทับแรมที่ พลับพลาบริเวณริมแม่น้ำปิงใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพักของรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งต่อมาพลับพลาแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่เรียนของกุลบุตรกุลธิดา ในจังหวัด เรียกกันว่าโรงเรียนพลับพลา
           เช้าวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ฝนตกเวลา ๓ โมงเช้า เสด็จไปทั้งฝน ผ่านวัดเล็กๆ ทำด้วยแลง ผ่านที่ว่าการเมืองที่สร้างยังไม่เสร็จ (บริเวณสนามเด็กเล่นเทศบาลซึ่งรื้อไปแล้ว ) เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อย ปัจจุบันรื้อไปแล้วเช่นกัน ได้ทอดพระเนตร สามประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้วตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่อย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา มณฑป ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมาอยู่ที่กำแพงเพชรตามตำนาน ต้องมาอยู่ที่วัดแห่งนี้แน่นอน ทรงตรัสชมว่าพระเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ลอมฟาง ทำได้งามมาก เสด็จต่อไปจนถึงวัดช้างเผือก ไปที่ศาลหลักเมือง แล้วไปที่ สระมน พระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร ราษฎรสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน มีราษฎรมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก มีสำรับกับข้าว มาเลี้ยงหลายสิบสำรับ นายอำเภอพรานกระต่าย คือ หลวงอนุรักรัฐกิจเป็นผู้ออกแบบสร้างถวาย ได้เสวยพระกระยาหารกลางวันที่สระมน แล้วได้ถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเขาจัดหามาให้ ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ทั้งหมู่หน้าตาดีกว่าก็มี ทรงตรัสชมว่า ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ คนงาม 4 คน มี หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัยอายุ 16 ปี คนนี้รู้จักโปสต์ถ่ายรูป จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียว ยังอีกสามคน ชื่อประคอง บุตรหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน  อายุ 17 ปี ริ้ว ลูกพระพล อายุ 17 ปี พิง ลูกพระยารามรณรงค์ อายุ 16 ปี แล้วจึงเสด็จไปที่ศาลพระอิศวร ถ่ายรูป ซากปรักหักพังของศาลพระอิศวรตรัสถึงคนเยอรมันมาลักรูปพระอิศวรไป ปัจจุบันตามกลับมาได้แล้ว พระองค์ส่งรูปไปล้างที่บางกอก ได้หนึ่งส่วน เสียสองส่วน เสียดายมาก จึงเอาห้องอาบน้ำที่พลับพลาเป็นห้องล้างรูป สองยามเศษจึงเสร็จ แล้วจึงเสด็จพักผ่อนอิริยาบถและกรณียกิจส่วนพระองค์                                        
           วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙วันนี้ขึ้นเดินบกไปโดยทางเดิม จนถึงถนนเลี้ยวประตูน้ำอ้อย ไม่เลี้ยวตรงไปตามทางข้างทิศตะวันตกแต่โอนเหนือ พบวัดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ก่อด้วยอิฐกามะลอ 2-3 วัด แล้วเลี้ยวเข้าประตูดั้นซึ่งออกไปดูเมื่อวานนี้เดินเลียบตามในกำแพงต่อไป จนถึงทางที่เคยเลี้ยวเข้าวัดที่เรียกไว้ว่าวัดพระแก้วเมื่อวานนี้นั้นเป็นสุดทางที่ได้ไป แล้วจึงเดินวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๙๙ ได้เสด็จไปทางทิศตะวันตกพระองค์ได้เสด็จไปตามคลองสวนหมาก คลองสวนหมากเป็นคลองที่มีน้ำเชี่ยวมีคำล่ำลือกันมาว่าเมืองนครชุมเป็นเมืองที่น่ากลัวเพราะมีไข้ป่าชุมพระองค์ได้เสด็จไปที่ท่าน้ำแถวบริเวณบ้านของผู้ใหญ่ของบ้านโป้ กระเหรี่ยงที่มาทำสัมปทานป่าไม้มีเมียเป็นคนไทยพระองค์ได้พักรับประธานอาหารกลางวันที่นั่นละได้พูดคุยและถ่ายเก็บไว้รูปไว้จากนั้นพระองค์ได้เสร็จกลับทางเดิมและได้แวะที่ท่าน้ำวัดบรมธาตุท่ามกลางประชาชนชามนครชุมที่มารอรับเสด็จพระองค์อย่างล้นหลามพระองค์ได้ถ่ายภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์เจดีวัดบรมธาตุและได้บันทึกไว้ว่าเจดีวัดพระบรมธาตุนั้นเป็นเจดีตามลักษณะของประเทศพม่าสีเหลืองทองสง่างามยิ่งนักและนี่ก็คือพระมหากรุณาธิคุณที่ท่านมีต่อชาวกำแพงเพชรอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ทำให้ชาวกำแพงรุ่งหลังสามารถรับรู้ประวัติของกำแพงในอดีตได้
           และอีกครั้งหนึ่งที่สำคัญของชาวจังหวัดกำแพงเพชรก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชร เป็นจำนวน ๓ ครั้ง โดยที่ครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลและบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณวังโบราณ     อำเภอเมืองกำแพงเพชร โดยหลักฐานในพงศาวดารระบุว่า ปี พ.ศ. ๒๑๒๖ เป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกรีธาทัพผ่านเมืองกำแพงเพชรและแวะประทับที่วัดยม (ปัจจุบันคือวัดกะโลทัย) ท้ายเมืองกำแพงเพชร วันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงแวะพักทัพชัยที่ตำบลหนองปลิง อยู่สามเพลา
           ในวันที่ ๒๕ มกราคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชร ในวันดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่ว่า วันนี้ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช ๙๕๔ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถ ความกล้าหาญเด็ดขาดและการเป็นผู้นำทัพที่อัจฉริยะ จนเป็นที่ยำเกรงแก่หมู่ปัจฉามิตร เป็นผลให้ประเทศไทยคงความเป็นเอกราชสืบมาจนทุกวันนี้
           ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม เสนอให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทย จากวันที่ ๒๕ มกราคมของทุกปี เป็นวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี นอกจากเสด็จมาเพื่อบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวันดังกล่าวแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นสักบริเวณหน้าศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร ในวันเดียวกัน ซึ่งปัจจุบัน ต้นสักดังกล่าวยังคงแผ่กิ่งก้านสาขาสร้างร่มเงาให้แก่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรทุกคน อันเปรียบเสมือนอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่มีต่อจังหวัดกำแพงเพชรอย่างหาที่เปรียบมิได้  ตราบเท่าทุกวันนี้ ในการเสด็จครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีมาบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในขณะนั้น พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างอุโบสถ ซึ่งกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมถวายเงินโดยเสด็จ    พระราชกุศล เป็นเงินหกหมื่นบาท ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. มาประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓ และพระองค์ทรงพระราชทานนาม พระพุทธรูปประธานซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ว่า พระพุทธวชิรปราการ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ การเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดกำแพงเพชรครั้งที่ ๒ นี้ มีราษฎรมาเข้าเฝ้ารับเสด็จเป็นจำนวนมากพระองค์ได้ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรอย่างใกล้ชิด นำความสุขมาสู่ประชาชนอย่างถ้วนหน้า ทั้งสามพระองค์ทรงเกษมสำราญพระราชหฤทัย และเสด็จนิวัติพระนครในวันเดียวกัน
             และในการเสด็จครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานธงประจำรุ่นแก่ลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๑๗ รุ่น ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร หลังจากพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ลูกเสือชาวบ้าน และพสกนิการที่มารับเสด็จ นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เอง ณ จังหวัดกำแพงเพชรทั้ง ๓ ครั้งแล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรอยู่จากการเสวนาบนเวทีและการได้ชมวิดีทัศน์ทำให้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของจังหวัดกำแพงเพชรที่ได้มีพระเจ้าแผ่นดินทรงเสด็จประพาสต้นและประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆนานับประการ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงหาที่สุดมิได้ของชาวจังหวัดกำแพงเพชร

นางสาวพันธุ์ทิวา จุฬาลักษณ์สิริ
๕๕๑๑๒๑๕๒๙
โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!