จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 01:54:12 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร นางสาวบรรณรักษ์ ท่อนทอง 551121524  (อ่าน 2855 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 11:28:20 am »

                                    เรื่อง พ่อหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
                ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญและได้จัดงานขึ้นคืองานมหกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ไทยกับเมืองกำแพงเพชร ?พลังภูมิปัญญา พลังวิถีกรรม พลังความปรองดอง? ในวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. ได้มีการสนทนาโดยพระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุนครชุมกับอาจารย์สันติ อภัยราช   มีความเชื่อว่า ถ้าขึ้นมาทางเหนือจะต้องหันหน้าตรงไปทางกำแพงเพชรจะไม่หันหน้าเบนไปทางนครชุมเพราะมีความเชื่อว่าจำทำให้เป็นโรคมาลาเรียตายได้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะลบความเชื่อผิดแปลกนี้ จึงได้เดินทางขึ้นมากำแพงโดยหันหน้าไปทางนครชุม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงได้รับอันตรายใดๆ
                 รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ประพาสต้น หมายถึงการเสด็จโดยไม่ไม่เป็นทางการ ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการต้อนรับ เพื่อพระองค์จะได้มีโอกาส ทอดพระเนตรสุขทุกข์ของประชาชนของพระองค์ อย่างไม่มีการ เตรียมการไว้ พระพุทธเจ้าหลวงออกจากพระราชวังสวนดุสิตตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๔๙ รอนแรมมาทางเรือ ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา ถึงบ้านแดน เขตรอยต่อระหว่างกำแพงเพชรกับนครสวรรค์ ในครั้งกระนั้น เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม  ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชรในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพัก รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งพลับพลานี้ เคยรับเสด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาในปี พ.ศ . ๒๔๔๘ ก็มาประทับที่นี้เช่นกัน ต่อมาพลับพลาแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่เรียนของกุลบุตรกุลธิดา ในจังหวัด เรียกกันว่าโรงเรียนพลับพลา
              เช้าวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ฝนตกเวลา ๓ โมงเช้า เสด็จไปทั้งฝน ผ่านวัดเล็กๆ ทำด้วยแลง ผ่านที่ว่าการเมืองที่สร้างยังไม่เสร็จ ( บริเวณสนามเด็กเล่นเทศบาลซึ่งรื้อไปแล้ว ) เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อย ปัจจุบันรื้อไปแล้วเช่นกัน ได้ทอดพระเนตร สามประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้วตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่อย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา มณฑป ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมาอยู่ที่กำแพงเพชรตามตำนานต้องมาอยู่ที่วัดแห่งนี้แน่นอน ทรงตรัสชมว่าพระเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ลอมฟางทำได้งามมาก เสด็จต่อไปจนถึงวัดช้างเผือกไปที่ศาลหลักเมือง แล้วไปที่ สระมน พระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร ราษฎรสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน มีราษฎรมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมากมีสำรับกับข้าวมาเลี้ยงหลายสิบสำรับ  นายอำเภอพรานกระต่าย คือ หลวงอนุรักรัฐกิจเป็นผู้ออกแบบสร้างถวาย ได้เสวยพระกระยาหารกลางวันที่สระมน แล้วได้ถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเขาจัดหามาให้ ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ทั้งหมู่หน้าตาดีกว่าก็มี ทรงตรัสชมว่า ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ คนงาม ๔ คน มี หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัยอายุ ๑๖ ปี คนนี้รู้จักโปสต์ถ่ายรูป จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียว ยังอีกสามคน ชื่อประคอง บุตรหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน อายุ ๑๗ ปี ริ้ว ลูกพระพล อายุ ๑๗ ปี
               พิง ลูกพระยารามรณรงค์ อายุ ๑๖ ปี แล้วจึงเสด็จไปที่ศาลพระอิศวร ถ่ายรูป ซากปรักหักพังของศาลพระอิศวรตรัสถึงคนเยอรมันมาลักรูปพระอิศวรไป ปัจจุบันตามกลับมาได้แล้ว พระองค์ส่งรูปไปล้างที่บางกอก ได้หนึ่งส่วน เสียสองส่วน เสียดายมาก จึงเอาห้องอาบน้ำที่พลับพลาเป็นห้องล้างรูป สองยามเศษจึงเสร็จแล้วจึงเสด็จพักผ่อนอิริยาบถและกรณียกิจ ที่พระองค์มีต่อเมืองกำแพงเพชรนั้นมากมายเหลือคณานับ ถ้าพระองค์ไม่ถ่ายภาพเมืองกำแพงเพชรไว้ เราจะไม่หลักฐานอันใดอ้างอิงเลยพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมจริงๆ 
                  วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ ๒๗ สิงหาคม รวมทั้งสิ้น ๑๐ วัน ทรงบันทึกว่าวันนี้ ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ ๔ โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตก ยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุเลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง ๓ วัน จึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่อ อำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้น ไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำคลองสวนหมากนี้ตามลัทธิเก่าถือว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออก เพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมาแต่ห้วยในป่าไม้แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่า พญาตะก่า พี่พะโป้มาทำป่าไม้ราษฎรที่อยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป
                  พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จในตัวเมืองกำแพงเพชรเป็นวันสุดท้ายสองโมงเศษ เสวยพระกระยาหารแล้ว ออกไปพระราชทานของให้ผู้ที่มาถวายสิ่งของหลวงพิพิธอภัยผู้ช่วย ซึ่งเป็นบุตรพระยากำแพง (อ้น) นำดาบฝักทอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานพระยากำแพง(นุช) เป็นบำเหน็จมือเมื่อไปทัพแขก แล้วตกมาเป็นของพระยากำแพง(นาค) พระยากำแพง(บัว) พระยากำแพง(เถื่อน ) พระยากำแพง (น้อย) พระยากำแพง (เกิด) พระยากำแพง (อ้น) และเป็นของหลวงพิพิธอภัยๆได้ นำมาถวาย พิเคราะห์แล้วเห็นเป็นดาบพระราชทานจริง และทรงเห็นว่ากำแพงเพชรยังไม่มีพระแสงสำหรับเมือง จึงพระราชทานดาบเล่มนี้ไว้เป็นพระแสงสำหรับเมืองให้ผู้ว่าราชการไว้ใช้ในการพระราชพิธี
               ถ่ายรูปตระกูลพระยากำแพงเพชร ท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง(เกิด) อายุ ๙๓ ปี มีลูกหลานรวมทั้งสิ้น ๑๑๑ คน ที่กำแพงนี้ประหลาดว่าเป็นที่มีไข้ชุม แต่ได้พบคนแก่มากกว่าที่ไหนๆคงเป็นเพราะว่ามีพระพิมพ์ป้องกันด้วยนับถือกันมาก ของที่ถวายจัดมาในพานดอกไม้ นั่งรายตามริมถนนทุกวันมิได้ขาด ราษฎรที่กำแพงเพชร มีกิริยาอาการเรียบร้อย
               ถ่ายรูปแล้วเสด็จลงเรือล่องไปที่ท่าน้ำรับเสด็จ เพื่อจะถ่ายรูปวัดเสด็จ ซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์แล้วจึงเดินไปวัดคูยาง ผ่านถนนสายใน ถนนสายนี้งามมาก ได้ถ่ายรูปไว้แล้วให้ชื่อว่า ถนนราชดำเนิน วัดคูยางนี้มีลำคูกว้างประมาณ ๖ วา หรือ ๘ วาหอไตรและกุฏิปลูกอยู่ในน้ำแปลกอยู่ ชมวัดโดยละเอียดจนเที่ยงได้ลงเรือเหลือง แวะเสวยพระกระยาหารที่พลับพลาปากอ่าง ขาล่องนี้เรือใช้ตีกรรเชียง มาพักแรมที่ตำบลวังนางร้าง
                  การเสด็จเมืองกำแพงเพชรของรับกาลที่ ๙                                                       
               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จกำแพงเพชร 3 ครั้ง
               ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๐ เสด็จบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
               ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง
               ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๑ เสด็จพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ของอำเภอ ต่างๆ รวม ๑๑๗ รุ่น

นางสาวบรรณรักษ์ ท่อนทอง 551121524  โปรแกรมวิชาภาษาไทย  คณะครุศาสตร์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!