จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 06:47:46 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ร้อยแปดปีพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร นางสาวจิราภา อินถา 551121533  (อ่าน 2861 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 11:18:44 am »

บทความ
เรื่อง  ร้อยแปดปีพระพุทธเจ้าหลวงประพาสต้นกำแพงเพชร
   ตามรอยพระบาทประพาสต้นพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร  วันที่ 23 เดือนสิงหาคม พ.ศ 2449   ประพาสต้นหมายถึงการเสด็จโดยไม่เป็นทางการ ไม่ประสงค์ที่จะให้มีการต้อนรับเพื่อพระองค์จะได้มีโอกาสทอดพระเนตรเห็นสุข ทุกข์ ของประชาชนของประองค์อย่างไม่มีการเตรียมการไว้พระพุทธเจ้าหลวงออกจากพระราชวังสวนดุสิตตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ 2449 รอนแรมมาทางเรือผ่านทางน้ำเจ้าพระยา ถึงบ้านแดนเขตร้อนระหว่างรอยต่อจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดนครสวรรค์  ในครั้งนั้นเมื่อวันที่  18 สิงหาคม  ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 22 สิงหาคม ประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพัก รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งพลับพลานี้ เคยรับเสด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จมาในปี พ.ศ . 2448 ก็มาประทับที่นี้เช่นกัน   ต่อมาพลับพลาแห่งนี้ ได้ใช้เป็นที่เรียนของกุลบุตรกุลธิดา ในจังหวัด เรียกกันว่าโรงเรียนพลับพลา
       เช้าวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ฝนตกเวลา 3 โมงเช้า เสด็จไปทั้งฝน ผ่านวัดเล็กๆ ทำด้วยแลง ผ่านที่ว่าการเมืองที่สร้างยังไม่เสร็จ บริเวณสนามเด็กเล่นเทศบาลซึ่งรื้อไปแล้ว   เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อย ปัจจุบันรื้อไปแล้วเช่นกัน ได้ทอดพระเนตร สามประตู คือ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้ว  ตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่อย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา มณฑป ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมาอยู่ที่กำแพงเพชรตามตำนาน ต้องมาอยู่ที่วัดแห่งนี้แน่นอน ทรงตรัสชมว่าพระเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นเจดีย์ลอมฟาง ทำได้งามมาก เสด็จต่อไปจนถึงวัดช้างเผือก ไปที่ศาลหลักเมือง แล้วไปที่ สระมน พระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร ราษฎรสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน มีราษฎรมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก มีสำรับกับข้าว มาเลี้ยงหลายสิบสำรับ
       นายอำเภอพรานกระต่าย คือ หลวงอนุรักรัฐกิจเป็นผู้ออกแบบสร้างถวาย ได้เสวยพระกระยาหารกลางวันที่สระมน แล้วได้ถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเขาจัดหามาให้ ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ทั้งหมู่หน้าตาดีกว่าก็มี ทรงตรัสชมว่า ผู้หญิงเมืองนี้นับว่ารูปพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในข้างเหนือ คนงาม 4 คน มี หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัยอายุ 16 ปี คนนี้รู้จักโปสต์ถ่ายรูป จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะคนเดียว ยังอีกสามคน ชื่อประคอง บุตรหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน อายุ 17 ปี ริ้ว ลูกพระพล อายุ 17 ปี  พิง ลูกพระยารามรณรงค์  อายุ 16 ปี แล้วจึงเสด็จไปที่ศาลพระอิศวร ถ่ายรูป ซากปรักหักพังของศาลพระอิศวรตรัสถึงคนเยอรมันมาลักรูปพระอิศวรไป ปัจจุบันตามกลับมาได้แล้ว พระองค์ส่งรูปไปล้างที่บางกอก ได้หนึ่งส่วน เสียสองส่วน เสียดายมาก จึงเอาห้องอาบน้ำที่พลับพลาเป็นห้องล้างรูป สองยามเศษจึงเสร็จแล้วจึงเสด็จพักผ่อนอิริยาบถและกรณียกิจ
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ 2449   เข้าเขตเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่วันที่  18  สิงหาคม  ถึงตัวเมืองกำแพงเพชรในวันที่  22  สิงหาคม  ในวันที่ 23  สิงหาคม  เสด็จไปทอดพระเนตรวัดพระแก้ว  สระมน ศาลพระอิศวร  สำราญพระราชหฤทัยยิ่งนัก  
     ในวันที่  24  สิงหาคม  พ.ศ 2449  เสด็จไปจากพลับพลาวัดชีนางเกาไปทางเดิมคือ ไปทางบริเวณต้นโพธิ์โดยไปเลี้ยวที่ประตูน้ำอ้อยพบวัดมากมายและได้ไปเช้าทางประตูดั้น  เดินเรียบไปทางป้อมประตูเจ้าอินทร์  เจ้าจันทร์  ทรงบันทึกว่ามีกำแพงที่ดีอยู่หลายตอนมีทหารเจาะช่องปืนไว้ใต้เสมา  ผ่านป้อมมุมเมืองไปทางที่ประตูหัวเมืองผ่านไปทางประตูผีออก  ซึ่งมีกำแพงอยู่มากกว่าประตูอื่นๆ  ถัดไปพระวิเชียรปราการได้ซื้อป้อมเพชรผ่านไปทางประตูโคม  ซึ่งพระเจ้าหลวงเรียกว่าประตูชัยมีทางไปกลับสุโขทัย  มีถนนข้างคลูน้ำ  มีป้อมขนาดใหญ่อยู่กลาง  ใหญ่กว่าป้อมเจ้าจันทร์ที่ประตูดั้น  ผ่านไปที่ถนนพระร่วงเป็นถนนกว้าง  8 วา  เป็นเส้นทางสัญจรระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย  ศรีสัชนาลัยเชื่อได้ว่าเป็นถนนพระร่วงจริงๆ  เสด็จพระพระราชดำเนินไปที่วัดโพธิ์  เรียกกันว่าวัดกำแพงงามอยู่ในสภาพเรียบร้อยมาก  เข้าไปทอดพระเนตรวัดพระนอนพระองค์บันทึกว่า  จะว่าด้วยพระนอนนี้วิหารหน้าวัดใหญ่มากด้านหน้าเป็นศรีเบือนเห็นจากมาศคู่   แต่เดี๋ยวนี้เหลือ  2 ตัว มีเสาสี่เหลี่ยมสูงใหญ่  พระนั่ง  พระนอน  ข้างหลังมีพระนั่ง  2 องค์  ข้างหลังเป็นพระเจดีย์ฐาน  8 เหลี่ยม  ระฆังกลมรูปแจ้งงามเป็นวัดใหญ่มากจะเรียกว่า วัดพระนอนเพราะมีพระนอนเป็นสำคัญ   จากนั้นพระองค์เสด็จไปวัดพระยืนเสาล้วนเป็นศิลาแลงทั้งสิ้น  วิหารย่านหน้าวัดจะโตกว่าวัดสุทัศน์ตอนกลางเป็นวิหารย่อย  พระพุทธเจ้าหลวงทรงสันนิษฐานว่าน่าจะมีลำน้ำมาที่ชายเนินแรงเป็นที่ลุ่มน้ำ  พระองค์มาอยู่เสวยพระกายาหารที่ปากสระวัดมหาธาตุกลับมาถึงพลับพลาเกือบ 5โมง  ตอนค่ำล้างรูป  มีละครของมารดาหลวงทิพย์ อภัย  เล่นเรื่องไชยเชษฐ์ ทรงทอดหระเนตรว่าเป็นของเก่าแท้  ทรงได้ลงเรือหลวงข้ามไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุเลยไปคลองสวนหมาก  ต้องขึ้นไปไกลหน่อยคลองนี้น้ำไหลเชี่ยว  น้ำใส  คลองสวนหมากนี้เดิมถือว่าร้ายนับจะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปฝั่งตะวันออก  เพียงแต่แลดูก็จับไข้  ความจริงนั้นเป็นที่ที่มีไข้ชุมจริง  เพราะเป็นน้ำลงมาจากลำห้วยในป่าไม้  แต่ดันไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้
      เมื่อครานั้น ในวันที่  18  สิงหาคม พ.ศ 2449  พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จเข้าเมืองขาณุวรลักษบุรีแขลงเมืองกำแพงเพชร  ล่องตามลำน้ำปิงมาสิ้นสุดที่หน้าเมืองกำแพงเพชร  ตลอกเวลา  10 วัน บนแผ่นดินเมืองกำแพงเพชร  ทรงประทับใจกับสิ่งที่ทอดพระเนตรเห็นทุกอย่าง  เช่น  คนผมแดง  คนงามเมืองกำแพงเพชรและบ้านเมืองที่เป็นมรดกโลกของกำแพงเพชร   ทรงบันทึกไว้อย่างพิสดารเป็นประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง  


นางสาว จิราภา  อินถา  551121533
โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2014, 11:20:33 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!