จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 24, 2024, 03:58:14 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ เรื่อง ๑๐๘ ปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร  (อ่าน 3249 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 09:44:27 am »

บทความ เรื่อง "๑๐๘ ปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร"
   
ในหนึ่งรอบศตวรรษที่ผ่านมา ไม่มีประวัติศาสตร์ใดของจังหวัดกำแพงเพชร จะยิ่งใหญ่เสมอเหมือนเหตุการณ์ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรเป็นการส่วนพระองค์เพื่อทรงทราบความทุกข์สุขของราษฎรอย่างแท้จริงด้วยพระองค์เอง พสกนิกรชาวกำแพงเพชรมีโอกาสเฝ้าเสด็จชื่นชมพระองค์อย่างใกล้ชิด เป็นความปลาบปลื้มและภูมิใจของชาวกำแพงเพชรเป็นอย่างยิ่งจนถึงทุกวันนี้ การเสด็จประพาสต้น หมายถึง การเสด็จที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีพิธีรีตองตามขนบธรรมเนียมประเพณีแต่อย่างใด พระองค์ต้องการเสด็จให้คนทั่วไปได้เห็นว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ยังเสด็จมาที่นี่ได้เพื่อล้างคำสบประมาทที่ว่า ใครที่มาที่นครชุม จังหวัดกำแพงเพชรแล้วต้องตาย และพระองค์ทรงต้องการตรวจเยี่ยมดูและทุกข์สุขของราษฎรด้วยพระองค์เอง
   หากย้อนกลับไปในช่วงเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ เพื่อลำดับเหตุการณ์ เราจะทราบว่าถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรเสมอ ดังนั้นจะสรุปเหตุการณ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสต้นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนี้
๑๘ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเขานอ (เขาหน่อ) พระองค์เดินทาง เวลาเช้า ๑ โมงขึ้นไปถ่ายรูปที่วัดอรุณราชศรัทธาราม หลังที่จอดเรือแล้วเดินขึ้นไปเขานอจังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง ๘๗ เส้น ตอนนอกเป็นป่าไผ่แล้วมีสะพานข้ามบึงตื้นๆ ไปขึ้นชายป่าแล้วกลับลงที่ลุ่ม เมื่อเวลาน้ำมาครั้งก่อนก็ท่วมหนทางยังเป็นโคลน เดินยากจนถึงชานเขา หน้าเขาทางไม่ชัน ๒ ทบ ก็ถึงถ้ำพระนอน ตรงระหว่างทางที่พบมีรูปปั้นเห็นเป็นปูนคล้ายกับศิลาเป็นรูปโพธิสัตว์ ซึ่งเขาสมมุติว่าเป็นรูปพระสังข์ถ้ำเขาพระนอนเป็นเพิงผาคล้ายหน้าเทวดาเกาะสี่เกาะห้า ขึ้นหาดแสนตอเดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลแสนตอ เมืองขาณุนี้พระองค์กล่าวว่ามีตอมากจริงๆ เรือได้โดนครั้งหนึ่ง
๑๙ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จทอดพระเนตรคนผมแดง และประทับแรมตำบลบางแขม วันนี้พระองค์ทรงตื่นสายไปแล้วพระวิเชียรพาคนผมแดงมาไห้ดูลักษณะผมแดงนั้นเป็นผมม้าแดงอย่างอ่อน หรือเหลืองอย่างแก่ ผมแดงนี้มาข้างพันธุกรรมทางพ่อ ถ้าผู้หญิงไปได้ผมหัวดำลูกออกมาก็ผมดำไปด้วยเริ่มแรกจะสีแดงพออายุมากเข้าก็ดำหม่นลงและขาวทีเดียว ทราบว่าคนผมแดงนี้อพยบมาจากเวียงจันทร์ เรือที่ประทับชื่อเรื่อหางแมงป่อง ทรงพักผ่อนและเสวยพระกระยาหารที่วัดหาดแม่ลาด พระองค์ทรงพักผ่อนอย่างง่ายที่บ้านหาดแม่ลาด
 ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระองค์ลงเรื่อ มาถึงวังนางร้างเป็นเวลาบ่าย ๓ โมง ที่นี้เป็นหมู่บ้านหนึ่ง แต่เกือบจะไม่มีบ้านคนเลยอยู่ในระยะทางตั้งแต่เดินทางมาถึงที่นี่เป็นป่าไม้สักมากมาย พอเวลาเย็นลงพระองค์ก็ได้ประทับแรมที่นั่น
   ๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๙ วันนี้พระองค์เดินทางตั้งแต่วังนางร้างมาทิศตะวันตก มีบ้านเรือนมาก มีหีบเสียงเล่นด้วยเพราะเป็นท่าเรือสินค้ามาแต่ดอนต่อต่อขึ้นมามีเรือนเรียงราย ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกเป็นป่าจนถึงบ้านโคน พระองค์เสด็จพักแรมที่ท่าขี้เหล็ก
   ๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙ ที่วังพระธาตุนี้เป็นชื่อของชาวเรือตั้ง วังไม่ได้แปลว่าบ้าน แปลว่าห้วงน้ำ พระธาตุนั้นก็คือพระธาตุซึ่งตั้งอยู่ตรงวังนั้น พระองค์จอดเรือพักร้อนเหนือวังพระธาตุนิดหน่อย ราษฎรได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่เจดีย์วัดวังพระธาตุ องค์พระเจดีย์ชำรุดพังลงมาซีกหนึ่งแล้ว มีรากระเบียงนอกพระวิหาร ๔ ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญ อยู่ที่ทิศตะวันออก ปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล้พระเจดีย์ด้านตะวันงออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่งทั้งยืนหลายองค์ พระองค์บอกพระพุทธรูปหน้าตาดีมากกว่าที่พระองค์เคยเห็น  พระองค์เดินทางเข้าไปในเมืองหน่อยก็พบโคกเห็นจะเป็นวิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลังถัดไปอีกหน่อยเรียกว่าเจดีย์ ๗ ยอด เดินทางจากวังระธาตุไปตามลำน้ำเหนือถึงด้านใต้เมืองไตรตรึงษ์ มีถนนข้ามเข้าเมืองอยู่กลางย่านด้านใต้แม่น้ำปิงมองออกจากเมือไตรตรึงษ์ ขบวนเรือเสด็จล่องไปตามลำน้ำเยี่ยมราษฎรถึงเรือนชาน โรงเหล้าเมืองกำแพงเพชรที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงถ่ายรูปไว้ เพื่อจะให้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ราษฎรได้รอเข้าเฝ้าที่วัดชีนางเกา
   ๒๓ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลวง ประพาสป้อมประตูคูเมืองวัดพระแก้ว และทรงถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัย อายุ ๒๖ ปีคนนี้รู้จักนั่งโพสต์ถ่ายรูปพระองค์จึงได้ถ่ายรูปเฉพาะหวีดคนเดียว จากนั้นประพาสเทวสถานพระอิศวร
   ๒๔ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลวง เสด็จประพาสแนวกำแพงเมือง ประตูเจ้าอินจัน ประตูชัย ป้อมเพชร วัดกำแพงงาม วัดพระนอน วัดพระยืน
   ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสคลองสวนหมาก บ้านพะโป้ วัดพระบรมธาตุ ตำนานลานเงินราษฎรและข้าราชการรอเข้าเฝ้าที่คลองสวนหมากหน้าบ้านพระโป้ หลังจากทานพระกระยาหารแล้วพระองค์ก็ประพาสล่องเรือขึ้นที่วัดพระบรมธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่ มีพระครูอยู่ในวัดเป็นเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง พระครูเจ้าคณะอำเภอพรานกระต่ายอยู่อีกพวกหนึ่ง เป็น ๒ พวก ออกจะลอยกันมีโรงเรียนอยู่ในหมู่กุฏิ มีราษฎรเป็นอันมากชาวคลองสวนหมากรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่วัดพระบรมธาตุนครชุม
   ๒๖ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จถ่ายรูปคนตระกลูกำแพงเพชรเก่า คือท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพงเพชรได้ถ่ายร่วมกัน ๕ คน แต่รูปที่พระองค์ได้ถ่ายได้เสียบ้าง ได้มาไม่ครบหมด เสด็จประพาสวัดเสด็จซึ่งเป็นที่จารึกบอกเรื่องพระพิมพ์ แต่ครั้งจารึกนั้นได้นำไปกรุงเทพแล้ว แล้วเดินทางวัดคูยาง ซึ่งถนนสายนี้สวยงานมากพระองค์จึงถ่ายภาพเก็บไว้ ซึ่งเป็นที่พระครูเจ้าคณะอยู่ ผ่านถนนสายในจากนั้นเสด็จล่องจากกำแพงเพชร พักเสวยพระกระยาหารกลางวันที่ปากอ่าง จากนั้นเสด็จไปประทับแรม ณ วังอีร้างหรือนางร้าง
   ๒๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประทับแรมบ้านแดน เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชร
               สาเหตุที่ ๑ คือ สมัยก่อนกำแพงเพชรมีความเชื่อในเรื่องของการมานครชุมว่า ถ้าใครมาที่นครชุมจะต้องหันหน้าออกไปทางกำแพงเพชร ห้ามหันหน้าเข้าทางนครชุม ไม่งั้นจะมีอันเป็นไปถึงชีวิต พระพุทธเจ้าหลวงจึงเสด็จเพื่อลบคำสบประมาท และความหวาดกลัว ให้ประชาชนรู้ว่านครชุมไม่ได้น่ากลัวดังคำร่ำลือ
              สาเหตุที่ ๒ คือ พระองค์อยากเห็นสภาพบ้านเมืองของกำแพงเพชร สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเมืองกำแพงเพชร จึงเสด็จโดยสามัญชน(ปลอมตัว)
การเสด็จประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของชาวบ้านโดยไม่มีการเติมแต่งเพื่อให้ดูดีแต่อย่างใด พระองค์เข้าถึงประชาชนทุกคน รับรู้สารทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่างดี การเสด็จประพาสต้นครั้งนี้สร้างความสุขให้กับพระองค์ยิ่งนัก และยังสร้างความปลื้มปิติและภาคภูมิใจให้กับราษฎรเมืองกำแพงเพชรมาจนถึงทุกวันนี้
   อ้างอิงเอกสาร
หนังสือเสด็จประพาสต้น ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ ทำโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลนครชุม
    อาจารย์สันติ อภัยราช  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

นางสาวศุภัคษร เอี่ยมสะอาด ๕๕๑๑๒๑๕๓๗ โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2014, 11:31:42 pm โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!