จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 18, 2024, 11:49:35 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นางสาวภริตา เกิดมี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาส ณ เมืองกำแพงเพชร  (อ่าน 3188 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 07:43:11 am »

                                                                                        บทความ
                                                              เรื่อง  ครั้งหนึ่งเมื่อ ร.๕ เสด็จประพาสต้น ณ เมือง กำแพงเพชร

            เหตุใดพระพุทธเจ้าหลวงทรงเลือกที่จะเสด็จมาที่นี่  ที่นี่มีดีอย่างไร สำคัญมากเพียงใด เพราะเหตุใดถึงมิเสด็จไปเมืองอื่นเล่า
เหตุผลที่สำคัญมากที่สุดคือ ใครที่มานครชุมคือพวกเดนตาย (เดนตาย แปลว่า ถ้าจะตายให้เอามาไว้ที่นครชุม) เพราะฉะนั้นถ้าพ่ายพลได้อพยพกันหมดเลย  แม้แต่วัดพระบรมธาตุก็ยังไม่มีพระอยู่ ถ้าจะมาจากทางเหนือให้หันหน้าไปทางกำแพงเพชร ถ้าหันหน้าไปทางนครชุมจะเป็นไข้ป่าตาย  รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จมาที่นี่เห็นว่าที่นี่ แม้กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่กล้ามาแล้วคนธรรมดาอย่างพวกเราจะไม่อยู่ได้อย่างไร เหตุผลคนอื่นไปอยู่ที่อื่นหมดนี่คือสาเหตุสำคัญไม่มีใครกล้ามานครชุม ถ้าจะมารับราชการที่นี่ต้องเอาหม้อใหม่แขวนคอมาเอามาเตรียมใส่กระดูกกลับบ้าน พระองค์จะลบล้างคำสบประมาทนี้จึงเสด็จมาที่กำแพงเพชรตามรอยพระบาทต้น
           วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ทรงรอนแรมมาทางเรือ  โดยผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาถึงบ้านแดนเขตรอยต่อระหว่างกำแพงเพชรกับนครสวรรค์ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมากับโอรสของพระองค์หรือรัชกาลที่ ๖ นั้นเอง เสด็จประพาสครั้งนี้ก็เพื่อให้รัชกาล6 เขียนพระยานิพนธ์เกี่ยวกับเมืองต่างๆของเมืองกำแพงเพชรถวายพระพุทธเจ้าหลวงแต่ก็ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจเท่าไรจึงเป็นเหตุให้พระองค์และรัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรถึง ๓ ครั้ง  เส้นทางการเสด็จของพระองค์
           วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จประพาสเขานอ (เขาหน่อ) ทรงแวะบ้านตาแสนปมและประทับแรม ณ หาดแสนตอ เมืองขาณุวรลักษบุรี
           วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ทรงเสด็จทอดพระเนตรคนผมแดง  จากนั้นเสด็จไปประทับแรม ณ ตำบลวังแขม
           วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคต่อไปยังวังนางร้างและได้พักแรมที่นี่
           วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ประพาสวัดวังพระธาตุ  เมืองไตรตรึงค์  จากนั้นเสด็จไปประทับแรมที่กำแพงเพชร  ทรงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชรประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณใกล้กับวัดชีนางเกา ปัจจุบันเป็นบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เช้าวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระองค์เสด็จผ่านวัดเล็กๆทำด้วยแลง เสด็จเข้าทางประตูน้ำอ้อยในปัจจุบันรื้อไปแล้วได้ทอดพระเนตรสามประตูคือประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น เสด็จเข้าไปในวัดพระแก้วตอนหน้าเป็นวิหารใหญ่ จนถึงวัดช้างเผือก ไปศาลหลักเมืองแล้วไปที่สระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร หลวงอนุรักรัฐกิจเป็นผู้ออกแบบสร้างถวายพระกระยาหารกลางวันให้พระพุทธเจ้าหลวงที่สระมนหลังเสวยพระกระยาหารแล้วพระองค์ได้ถ่ายรูปคนงามเมืองกำแพงเพชร ซึ่งหลวงอนุรักรัฐกิจเป็นคนจัดหามาให้  ความจริงราษฎรที่มานั่งอยู่ที่หมู่บ้านนี้หน้าตาดีกว่าก็มี ทรงตรัสชมผู้หญิงเมืองนี้นับรูปพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในแดนเหนือ คนงามทั้ง ๔ คนมี หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัย อายุ ๑๖ ปี คนนี้รู้จักโพสถ่ายรูปจึงได้ถ่ายรูป 

         วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ประพาสป้อมประตูคูเมืองวัดพระแก้วจากนั้นประพาสเทวสถานพระอิศวร
         วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  เสด็จพระพาสแนวกำแพงเมือง  ประตูเจ้าอินเจ้าจัน  ประตูชัย  ป้อมเพชร  วัดกำแพงงาม วัดพระนอน  วัดพระยืน
         วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  ทรงลงเรือข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลหน่อยแต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า ?แม่พล้อ? พระองค์ทรงขึ้นไปถ่ายรูปบ้านสองหลัง แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือเสวยพระกระยาหารบริเวณ  หาดกลางน้ำ เสร็จแล้วจึงล่องเรือลงมาขึ้นที่หน้าวัดพระบรมธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วัดพระธาตุใหญ่องค์หนึ่งโดยพระยาตะก่า แต่ยังไม่เสร็จพระยาตะก่าก็เสียชีวิตลง พระโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่ง พระเจดีย์ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี
         วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  เสด็จไปทรงถ่ายรูปกับบุคคลในตระกูลกำแพงเก่า  จากนั้นเสด็จประพาสวัดเสด็จและวัดคูยางและเสด็จล่องจากกำแพงไปประทับแรมที่วัดนางร้าง
         วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประทับแรม ณ บ้านแดน ถือว่าสิ้นสุดการประพาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชร  นับว่าพระพุทธเจ้าหลวงเจ้าประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรรวมทั้งสิ้น ๑๐ วัน
นอกจากนี้  คนกำแพงเพชรยังได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จกำแพงเพชรถึง 3 ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๐ เสด็จบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและยังทรงเสด็จออกมาปลูกต้นสัก ณ บริเวณหน้าศาลากลาง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงปลูกต้นสักด้านขวาและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงปลูกต้นสักด้านซ้ายของศาลากลาง แล้วเสด็จไปเยี่ยมพสกนิกรของพระองค์ ภาพที่ชาวกำแพงเพชรประทับใจคือพระองค์ทั้งสองทรงโบกพระหัตถ์ให้แก่ราษฎรชาวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอย่างยิ่ง
                ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง และยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และกรมการศาสนาได้ร่วมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงินจำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท  เพื่อใช้เป็นทุนสร้างวัด นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานหน้าบันพระอุโบสถด้านหน้า และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้านหลัง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระองค์ทรงพระราชทานนาม พระพุทธรูปประธานซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๙ นิ้ว ว่า  พระพุทธวชิรปราการ  เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗
                ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๑ เสด็จพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ของอำเภอ ต่างๆ รวม ๑๑๗ รุ่น  ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร  หลังจากพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านแล้ว ยังทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ลูกเสือชาวบ้านและพสกนิกรที่มารับเสด็จ  เมื่อเสร็จพิธีทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ ขณะนั้นประชาชน บ้านกิโลสอง  กิโลสาม  กิโลหกและชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงได้กราบทูลขอพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการชลประทานท่อทอแดง เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรบริเวณหมู่บ้านดังกล่าว
   จากการที่ได้ศึกษาและรับรู้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมานั้น เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจยิ่งนัก ถ้าพระพุทธเจ้าหลวงไม่เสด็จมาในครานั้น  นครชุมก็คงจะเป็นเมืองร้างเพราะไม่มีใครกล้าเข้ามา  และถ้าไม่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนั้นประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวก็คงต้องเดือดร้อนเรื่อง น้ำ ที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภค  นับว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีบุญคุณแก่ประชาชนชาวเมืองกำแพงเพชรเป็นอย่างยิ่ง  เกิดเป็นคนไทยโชคดีกว่าคนชาติไหนๆในโลก


นางสาวภริตา   เกิดมี
๕๕๑๑๒๑๕๑๑  โปรแกรมวิชาภาษาไทย
คณะครุศาสตร์


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!