จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 10:12:27 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นางสาวหทัยชนก สุรินรัตน์ บทความเรื่อง พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร  (อ่าน 2936 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2014, 12:04:45 am »

บทความ
เรื่อง พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร

คำกล่าวที่ว่า ?ผู้ใดที่มานครชุม  คือ พวกเดนตาย?

   พระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเสด็จประพาสต้นเพื่อเยี่ยมราษฎรของพระองค์  อย่างสามัญชนธรรมดา  โดยมิให้ประชาชนรับรู้และไม่มีการจัดเตรียมการ ต่าง ๆไว้รอรับเสด็จ  เมื่อปี พ.ศ. 2447  ถือเป็นการเสด็จประพาสต้นเป็นครั้งแรกของพระพุทธเจ้าหลวง  และมาในปี พ.ศ.2449  พระพุทธเจ้าหลวงทรงใช้ระยะเวลาแรมเดือนในการเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง และเช่นเดียวกันการเสด็จประพาสต้นทุกครั้งผู้ร่วมขบวนเสด็จจะต้องปิดข่าวให้มิดชิดตามพระราชประสงค์
จากคำกล่าวที่ว่า ?ผู้ใดที่มานครชุม  คือ พวกเดนตาย? คำกล่าวนี้พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชดำริที่จะลบคำสมประมาทของราษฎร    ทั้งแสดงให้เห็นว่า  พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่ยังเสด็จมานครชุมได้  และเสด็จกลับได้อย่างปลอดภัยด้วยเช่นกัน  เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่าผู้ใดที่มานครชุมจะไม่มีชีวิตกลับไปอย่างเด็ดขาด  อาจจะด้วยเป็นไข้ป่าตาย
   ขบวนเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวงใช้เส้นทางชลมารคผ่านเส้นทางภาคเหนือตามลำน้ำเจ้าพระยาจากกรุงเทพมหานครฯ ขึ้นไปยังลำน้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร  พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จออกจากพระราชวังดุสิตตั้งแต่ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2449 ล่องเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงบ้านแดน เขาหน่อ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดนครสวรรค์  ขบวนเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวงเข้าสู่ตัวเมืองกำแพงเพชรในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2449 ทรงประทับแรมที่ พลับพลา บริเวณวัดชีนางเกา  ซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านพักของรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร  พระองค์เสด็จมาถึงอำเภอขาณุวรลักษบุรี  เพื่อทอดพระเนตรวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรและเพื่อเสด็จทอดพระเนตรคนผมแดงเมืองขาณุ  แต่ในการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้พระพุทธเจ้าหลวงทรงทอดพระเนตรชมโบราณสถานต่าง ๆ ของเมืองไตรตรึงษ์อย่างละเอียด  ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2449 พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จประพาสต้นตอนเหนือของกำแพงเพชรเก่า  เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน  วัดวาอาราม และเสด็จเข้าไปในวัดพระแก้ว ต่อไปจนถึงวัดช้างเผือก ไปที่ศาลหลักเมือง แล้วไปที่สระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร เมื่อราษฎรทราบข่าวการเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวง มีการสร้างพลับพลาและปะรำในบริเวณสระมน โดยมีราษฎรเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หลวงอนุรักรัฐกิจได้เสวยพระกระยาหารกลางวันทีบริเวณสระมน  พร้อมทั้งได้จัดเตรียมลูกขุนนางเพื่อเป็นแบบในการการถ่ายภาพกับคนงามเมืองกำแพงเพชรให้กับพระพุทธเจ้าหลวงไว้ 4 คน ได้แก่ หวีด บุตรหลวงพิพิธอภัย อายุ 16 ปี  ประคอง บุตรหลวงพิพิธอภัยเหมือนกัน อายุ 17 ปี  ริ้ว ลูกพระพล อายุ 17 ปี  และ พิง ลูกพระยารามณรงค์ อายุ 16 ปี  สาวงามทั้ง 4 คนนี้  ถือเป็นผู้หญิงที่มีผิวพรรณสันฐานดีกว่าเมืองอื่นในเขตเหนือเลยก็ว่าได้  จากนั้นพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปที่ศาลพระอิศวร เพื่อถ่ายภาพซากปรักหักพังของศาลพระอิศวร
   วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2449 ขบวนเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จผ่านวัดพระบรมธาตุ  แต่ไม่ประสงค์ที่จะแวะวัดพระบรมธาตุก่อน  แต่มีคามประสงค์ที่จะพบกับพระโป้หรือพญาตะก่า  พ่อค้าไม้ผู้มีอิทธิพลต่อชาวกำแพงเพชรในเวลานั้น  พระพุทธเจ้าหลวงร่วมพูดคุยกับพะโป้และถ่ายภาพ  จากนั้นพระพุทธเจ้าหลวงทรงเสด็จกลับและแวะที่วัดพระบรมธาตุเพื่อเยี่ยมชมเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ  โดยเจดีย์ที่ค้นพบก่อนที่พะโป้จะทำการปฏิสังขรณ์เดิมนั้นมี 3 องค์ใหญ่  ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุไว้กลางและมีการรวมเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ให้เป็นเจดีย์เดียวกัน  
   ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระพุทธเจ้าหลวง  ทางชุมชนนครชุม ชาวบ้าน และวัดพระบรมธาตุ  จังหวัดกำแพงเพชร  จึงมีการจัดงานครบรอบการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทอดพระเนตรถึงความสุขทุกข์ของราษฎรในทุก ๆ ด้าน  พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญในหลาย ๆ ด้านและคืนความสุขให้ราษฎรของพระองค์ในขณะเดียวกัน  นับจากนั้นเป็นต้นมานครชุมที่ไม่มีผู้ใดกล้าไปก็กลับมามีชีวิตชีวาและเป็นที่อยู่อาศัยให้กับคนชาวกำแพงเพชรได้อยู่อย่างสุขสบายตราบมาจนถึงทุกวันนี้ 






อ้างอิงเอกสาร
หนังสือเสด็จประพาสต้น ในวาระครบรอบ 100 ปี ในปีพุทธศักราช 2549  ทำโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชรร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลนครชุม
    อาจารย์สันติ อภัยราช  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
 
นางสาวหทัยชนก สุรินรัตน์  รหัสนักศึกษา 551121507
โปรแกรมวิชาภาษาไทย  คณะครุศาสตร์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2014, 12:13:12 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!