จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
มีนาคม 29, 2024, 08:16:29 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มัคคุเทศก์ที่ดี คืออย่างไร  (อ่าน 3034 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1410


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 09:57:38 am »

นิยามอาชีพ
          นำนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มคณะเพื่อชม สถานที่ต่าง ๆ หรือทัศนาจรตามแผนการที่กำหนดไว้ หรือตามความต้องการของนักท่องเที่ยว ดูแลอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบาย   เดินทางไปพร้อมกับนักท่องเที่ยวเพื่อนำชม และศึกษาสถานที่ต่างๆอธิบายเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ อธิบายจุดที่น่าสนใจทั้งหมดและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยว  ตอบคำถามของนักทัศนาจรและให้ข่าวสารหรือความรู้ อื่น ๆ ตามที่ต้องการ
 
ลักษณะของงานที่ทำ
          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยวรวมทั้งความรู้ด้านประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม  วางแผนกำหนดเส้นทาง จัดกำหนดการนำเที่ยวให้เหมาะสมกับฤดูกาล และระยะเวลาติดต่อสถานที่พักแรม หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อการพักแรมในสถานที่ที่จะนำเที่ยว นำนักท่องเที่ยวชมสถานที่  และบรรยายให้นักท่องเที่ยวได้ทราบความเป็นมาของสถานที่   และท้องถิ่นแหล่งธรรมชาติที่น่าชมและน่าสนใจภูมิประเทศ  ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  จารีตประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชน จัดการ พักแรม  และดูแลให้ความสะดวกสบาย  ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างการนำเที่ยวโดยพยายามจัดการให้บริการ ที่ต้องสร้างความพอใจ  และประทับใจให้กับกท่องเที่ยวทุกคนอย่างทั่วถึงและต้องมีจรรยาบรรณทาง วิชาชีพ
          อาชีพมัคคุเทศก์ จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามกลุ่มของนักท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์พาเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ  (Inbound)  นอกจากนี้ยังแบ่งกลุ่มมัคคุเทศก์ตามลักษณะของการ  ท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์เดินป่า  มัคคุเทศก์ทางทะเล   มัคคุเทศก์ศิลป   วัฒนธรรม  เป็นต้น
 
สภาพการจ้างงาน
          ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนประจำ หรือ ค่าจ้างเป็นเที่ยวในการพานักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยว   ซึ่งจะคิดค่าจ้างเป็นรายวันเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500 - 3,000 บาท  และอาจจะได้รับค่าตอบแทนถึง  100,000  บาทเป็นค่านายหน้าจากบริษัท   หรือร้านที่นักทัศนาจรมาซื้อของที่ระลึก หรือเข้าชมการแสดงในสถานที่ท่องเที่ยว  ตามที่แต่ละแห่งได้ตั้งค่านายหน้าไว้
          ผู้ทำงานมัคคุเทศก์มีกำหนดเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับโครงการ และแผนการนำเที่ยวซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละรายการ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จะต้องผ่านการอบรมวิชาชีพมัคคุเทศก์  และมีความรู้ภาษาต่างประเทศซึ่งสามารถใช้งานได้ดี
 
สภาพการทำงาน
          มัคคุเทศก์  จะทำงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยวมีระยะเวลาตั้งแต่  1 วัน ถึงสามหรือสี่สัปดาห์  และในขณะพานักท่องเที่ยวทัศนาจรต้องดูแลนักท่องเที่ยวตลอด    24 ชั่วโมง  นำนักทัศนาจรหรือ นักท่องเที่ยว  ตั้งแต่คนเดียวจนถึงเป็นกลุ่ม  หรือกลุ่มใหญ่ไปชมสถานที่ต่าง ๆ  ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยว การเดิทางอาจจะมีทั้งระยะใกล้  ไกล อาจใช้ยานพาหนะทุกประเภท อาจต้องนำเที่ยวในลักษณะผจญภัย  อย่างเช่น  ทัวร์ป่า  การเดินขึ้นเขา    การล่องแพ  การค้างแรมร่วมกับกลุ่มชนชาวพื้นเมือง  ขึ้นอยู่กับแผนการนำเที่ยว  และรูปแบบของการ ท่องเที่ยว
          มัคคุเทศก์จะต้องวางแผนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ การบริการ การอำนวยความสะดวก  และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวตลอดเส้นทางรวมไปถึงการให้ ข้อมูลที่จำเป็นและให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ออกเดินทาง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของการท่องเที่ยว ตลอดจนตอบข้อซักถามให้คำแนะนำในระหว่างการเดินทางรวมทั้งต้องทำกิจกรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทุกคนได้รับความสนุกสนานประทับใจในบางครั้งอาจจะต้องจัดกิจกรรม หรือให้บริการที่สร้างความพอใจให้กับนักท่องเที่ยวตามจุดประสงค์ที่นักท่อง เที่ยวต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด  และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้ตลอด  24  ชั่วโมง  บางครั้งมัคคุเทศก์จะต้องทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันต้องใช้ความอด ทน  และอดกลั้นสูง ดังนั้น ความพร้อมและความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  และจิตใจจึงมีความสำคัญมาก เพราะนักท่องเที่ยวมีอัธยาศัย  และพื้นฐานความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมื่อมารวมกลุ่มกันจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ด้วยดี อีกทั้งได้รับความสุขความปลอดภัยในชีวิต  และทรัพย์สินด้วย มัคคุเทศก์จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของท้องถิ่น และประเทศนั้น ๆ
 
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้   
1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ
2. มีความรู้ทั่วไป  และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ  ปรับตัวได้  และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกสถานการณ์ 
4. มีความยืดหยุ่น  ประนีประนอม  และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของผู้เดินทางร่วมไปด้วย
5. มีความเป็นผู้นำ  มีความกล้า  มีความรอบคอบและไม่ประมาท
6. ทัศนะคติดี  ร่าเริง  มีความเสียสละซื่อสัตย์  ซื่อตรง  และอดทน
7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
8. มีความคิดสร้างสรรค์   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ 
10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดีทั้งข้อมูลการท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว
 
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ :
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
          เป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า  และได้รับการอบรมเพิ่มเติม  เพื่อรับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.)  เป็นเวลา 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน 
มัคคุเทศก์ภายในประเทศ  และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ
          เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการ อบรม  และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การ รับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว
 
โอกาสในการมีงานทำ
          ตั้งแต่ปี  2539  เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ทำเงินรายได้ให้ประเทศมากที่สุดและในปี2543 จะนำเงินเข้าประเทศได้ประมาณ  3  แสนล้านบาท    โดยได้เปิดตลาดเพื่อส่งเสริมการขายและการท่องเที่ยวของประเทศไทยในต่าง ประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนในประเทศได้เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  และศักยภาพในทุกด้านของทุกจังหวัดเพื่อส่งเสริม  และรองรับคนไทยให้เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นทั้ง ประวัติศาสตร์   โบราณสถานวัฒนธรรมประเพณีของทุกจังหวัด และทัวร์สิ่งแวดล้อมหรืออีโคทัวริสซึ่ม   
          แนวโน้มของคนในยุคปัจจุบันเมื่ออยู่ในสังคมใหม่จะแสวงหาวันหยุดที่ใกล้ชิด ธรรมชาติและความเงียบสงบ  นักท่องเที่ยวต่างประเทศปัจจุบันจะเลือกเที่ยวในประเทศที่มีการจัดการและ รักษาสิ่งแวดล้อม  และสภาพทางนิเวศวิทยาที่ดีเท่านั้น อาจจะจัดเป็นทัวร์สุขภาพธรรมชาติบำบัด หรือรูปแบบการอบรมสัมมนาเนื้อหาทางพุทธศาสนา และทำสมาธิ การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม   ท้องถิ่นของชาวบ้านเป็นต้น   ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะจัดเป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้  ดังนั้น บุคคลผู้สนใจประกอบอาชีพนี้สามารถเปิดการให้บริการ  โดยสามารถจัดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่มของตนเองขึ้นบนเว็บไซต์ออ นไลน์เสนอให้ผู้สนใจทั่วโลกเลือกพิจารณารูปแบบการท่องเที่ยวได้ 
          อนึ่ง   องค์การท่องเที่ยวโลกได้มีการสนับสนุนกำหนดให้  วันที่   27   กันยายนของทุกปีเป็นวันท่องเที่ยวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มี ต่อวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศและโลกโดยรวม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้เพราะเล็งเห็นถึงความ มีศักยภาพในการเป็นประตูไปสู่การท่องเที่ยวอินโดจีน หรือภูมิภาค เข้าสู่จีน พม่า ลาว  เขมร  และเวียดนาม ซึ่งนับว่าอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสำคัญส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ได้มาตรฐาน แล้วเป็นผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย  เนื่องจากผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสนใจที่จะเลือกบริโภคในประเทศที่ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้นโอกาสการมีงานทำเป็นมัคคุเทศก์จึงค่อนข้างมีมากและมีโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรอบรู้   ความสามารถ  และจรรยาบรรณในวิชาชีพของมัคคุเทศก์     
          แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพก็ไม่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล ได้   จึงได้มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนี้ โดยในปี 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีรางวัลพิเศษขึ้น คือ  "มัคคุเทศก์ไทยดีเด่น " ในงานไทยแลนด์ทัวริสซึ่มอวอร์ด   2000  อันถือว่าเป็นงานยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบ ธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์  และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนจัดการบริการให้มีมาตรฐาน
 
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ความก้าวหน้าในอาชีพนี้ไม่ได้วัดกันที่ตำแหน่ง  แต่สามารถวัดได้จากความสามารถทางด้านภาษาความอดทน ความเป็นมืออาชีพ   ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องการประกอบอาชีพนี้สามารถติดต่อได้ที่บริษัทจัดท่องเที่ยว  เมื่อมีประสบการณ์และสร้างเครือข่ายข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวได้มากและสร้างพันธมิตรทาง ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สามารถเปิดบริษัทเองได้ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถ เปิดสำนักงานของตนเองได้แต่จะต้องสำรวจพื้นที่ที่ตนอยู่  และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ   และจัดเป็นรูปแบบการเดินทางได้หรือไม่  จากนั้นก็จัดทำโฮมเพจ เสนอบริการขึ้นเว็บไซต์ตรงสู่ผู้สนใจ โดยปรึกษากับบริษัทที่ปรึกษาการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  ได้  โดยใช้บ้านเป็นสำนักงาน
 
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
          จัดกลุ่มท่องเที่ยวแบบอิสระที่ตนมีความรู้ความชำนาญทั้งภายในประเทศ  และต่างประเทศ   เช่น  ทัวร์ศิลปะวัฒนธรรม   ทัวร์เกษตรกรรม  เป็นต้น เปิด สถานที่ให้คำแนะนำการท่องเที่ยว  จำหน่ายตั๋วเครื่องบิน ให้บริการยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์  รถจักรยานภูเขา เรือเช่า หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  ที่จำเป็นให้กับนักเดินทางและนักท่องเที่ยวจัดหา  เป็นต้น หรือจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกที่น่าสนใจ  หรือหายากในประเทศ จัดศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวท้องถิ่น จัดที่พักแรมเดินทางในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จัดพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยว และพิมพ์ภาพโปสการ์ดแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวสนใจ
 
แหล่งข้อมูลอื่นๆ 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และการท่องเที่ยวประจำจังหวัด 
สมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศไทย
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ
เว็บไซต์ เกี่ยวกับบ้านพัก  โรงแรม
การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)
 
เนื้อหาดีดีจาก กรมการจัดหางาน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!