จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 19, 2024, 09:04:28 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รายละเอียดรายวิชา วรรณกรรมปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ (ภาษาไทย) ปี ๓  (อ่าน 4023 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1413


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2014, 08:25:13 pm »

 
อาจารย์สันติ อภัยราช
ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และ ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ภาษาไทย)วค.พิบูลสงคราม พิษณุโลก
การศึกษาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
นิติศาสตรบัณฑิต (กฎหมายทั่วไป)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์  (วัฒนธรรรมศึกษา) สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร
ประกาศนียบัตร การสอนภาษา จากประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
อาจารย์ ๓ ระดับ ๙ (ภาษาไทย) / ครูเชี่ยวชาญ(ภาษาไทย) / ครูแม่แบบภาษาไทยระดับประเทศ
/ครูต้นแบบแห่งชาติ (ภาษาไทย)
ครูภูมิปัญญาไทย / คนดีศรีกำแพงเพชร  / คนดีแทนคุณแผ่นดิน / คนต้นแบบ / บุคคลดีเด่นระดับชาติ /ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ /ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกำแพงเพชร / ผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงวัฒนธรรม /
จัดรายการวิทยุลั่นเมืองทางอสมท./ รายการรักไทย รักถิ่น ทาง สวท.กำแพงเพชร/ สนทนาประสาคนกำแพง ทางเครือค่ายประชาชนกำแพงเพชร
เจ้าของ เวปไซด์ สันติ อภัยราช
โทรทัศน์วัฒนธรรม   จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร   หนังสือเรียบเรียงโดย อาจารย์สันติ อภัยราช


รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะ/โปรแกรมวิชาวิชา             คณะครุศาสตร์  ภาษาไทย
หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
๑.   รหัสและชื่อรายวิชา
                ( ชื่อวิชาภาษาไทย) วรรณกรรมปัจจุบัน (๑๒๕๓๒๐๔)  
                (ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ). Contemporary  Literature
๒.   จำนวนหน่วยกิต
๓(๓-๐-๖)  เรียน
หมู่เรียน ๕๕๑๑๒๑๕  เรียนที่ ห้อง ๑๔๕๒            วันจันทร์ เริ่ม จันทร์ ๑๘ สิงหา ๕๗
หมู่เรียน ๕๕๑๑๒๑๖ เรียนที่ ห้อง  ๒๑๐๖ อาคาร โปรแกรมวิชา    วันศุกร์ เริ่ม    ศุกร์ ๒๒ สิงหาคม ๕๗
เวลา ๑๓.๐๐ น.- ๑๖.๔๐น. ทั้ง ๒ หมู่เรียน
๓.   หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย
หมวดวิชา        ?   ศึกษาทั่วไป
                    R    เฉพาะด้าน
                         ?    เฉพาะด้านเลือก
๔.   อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน   อ.สันติ อภัยราช
๕.   ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
         ภาคการศึกษาที่ ๑ /๒๕๕๗  / ชั้นปีที่ ๓
๖.   รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites)(ถ้ามี)
ไม่มี
๗.   รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)(ถ้ามี)
ไม่มี
๘.   สถานที่เรียน หมู่เรียน ๕๕๑๑๒๑๕  เรียนที่ ห้อง ๑๔๕๒      วันจันทร์ เริ่ม จันทร์ ๑๘ สิงหา ๕๗
หมู่เรียน ๕๕๑๑๒๑๖ เรียนที่ ห้อง  ๒๑๐๖ อาคาร โปรแกรมวิชา    วันศุกร์ เริ่ม    ศุกร์ ๒๒ สิงหาคม ๕๗
เวลา ๑๓.๐๐ น.- ๑๖.๔๐น. ทั้ง ๒ หมู่เรียน
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
๙.   วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด ๑๖ สิหาคม ๒๕๕๗
หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.   จุดมุ่งหมายของรายวิชา
      ๑.๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณกรรมปัจจุบัน  
      ๑.๒ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบวรรณกรรมปัจจุบันประเภทต่างๆ
       ๑.๓ เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาวรรณกรรมปัจจุบันบางเรื่องบางประเภทอย่างละเอียด
      ๑.๔ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนวรรณกรรม ได้ทั้งประเภท ร้อยแก้วและร้อยกรอง
       ๑.๕ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนอ่านเขียนวรรณกรรมโดยประยุกต์จากเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร
       ๑.๖ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ บันทึก ผลงานของผู้เรียนทางวรรณกรรมปัจจุบันอย่างน้อย ๒ เรื่อง ลงเวปไซด์ ได้อย่าง
              มาตรฐาน

๒.   วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
๒.๑ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมปัจจุบัน ที่เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของกระแสท้องถิ่น กระแสวิชาการ  กระแสสังคม  และกระแสโลก    
๒.๒  เพื่อใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยเน้นการดึงศักยภาพผู้เรียนมาใช้ในทุกรูปแบบ
๒.๓  เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในด้านคุณธรรมจริยธรรม   ด้านความรู้   ด้านทักษะทางปัญญา    ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   และด้านทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๒.๔ เพื่อฝึกให้ผู้เรียน เป็นครูภาษาไทยที่ดีในอนาคต มีคุณภาพ รักในการสอนภาษาไทย

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ
๑.   คำอธิบายรายวิชา
         ศึกษาวรรณกรรมปัจจุบันประเภทต่างๆ โดยเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมปัจจุบันประเภทต่างๆ  โดยเน้นลักษณะเฉพาะ แนวคิดและคุณค่า ทั้งนี้เลือกศึกษาวรรณกรรมปัจจุบันบางเรื่องและบางประเภทอย่างละเอียดโดยฝึกเขียนอ่านและพูด อธิบาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
๒.   จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย   สอนเสริม   การฝึกปฏิบัติ/งาน     ร้อยละ ๘๐
ภาคสนาม/การฝึกงาน   การศึกษาด้วยตนเอง  ร้อยละ ๒๐
บรรยาย ๔๕ ชั่วโมงต่อ ภาคการศึกษา   สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษา    เฉพาะราย    
๓.   จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ ๑ ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
๑.   คุณธรรม จริยธรรม
๑.๑   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ความมีระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา  ความซื่อสัตย์  คุณธรรมจริยธรรม เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม การเป็นครูที่ดี มีจรรยาบรรณ การเสียสละ การอุทิศเวลาให้กับผู้เรียน  
1.2. วิธีการสอน
การบรรยาย  อธิบาย แบ่งกลุ่มผู้เรียน และการนำเสนอความรู้ของผู้เรียน โดยเน้นรูปแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เน้น การดึงศักยภาพของผู้เรียน มา ทำงานเรียนการสอน
๑.๓ วิธีการประเมินผล
ประเมินผลตามเกณฑ์ การให้คะแนนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คะแนนแบ่งออกเป็น ๗๐ : ๓๐ ไม่เข้าเรียนเกิน  ๔ ครั้งหมดสิทธิ์สอบ
๒.   ความรู้
๒.๑   ความรู้ที่ต้องได้รับทราบประเภทของวรรณกรรมปัจจุบันประเภทต่างๆ โดยเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมปัจจุบันประเภทต่างๆ  โดยเน้นลักษณะเฉพาะ แนวคิดและคุณค่า ทั้งนี้เลือกศึกษาวรรณกรรมปัจจุบันบางเรื่องและบางประเภทอย่างละเอียด   โดยฝึกเขียนอ่านและพูด อธิบาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
๒.๒   วิธีการสอน
 การบรรยาย
    การนำเสนอตัวอย่าง
   การค้นคว้านำเสนอของนักศึกษา
    การสร้างผลงานของนักศึกษา  
    การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
    การศึกษานอกสถานที่
๒.๓   วิธีการประเมินผล
     ทดสอบจากแบบทดสอบ
     ประเมินจากผลงานของนักศึกษา
     ประเมินจากทัศนคติของนักศึกษาต่อวิชาชีพครูภาษาไทย
      ประเมินย้อนกลับ จากผู้เรียน
๓.   ทักษะทางปัญญา
๓.๑   ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
   การคิดและวิเคราะห์อย่างมีระบบเป็นเหตุเป็นผล  การเป็นผู้บรรลุนิติภาวะทางอารมณ์  มีสติปัญญาที่จะเป็นครูภาษาไทยที่มีคุณภาพ  
  
๓.๒   วิธีการสอน
   การบรรยาย  การนำเสนอตัวอย่าง  การให้นักศึกษาวิเคราะห์   การศึกษาค้นคว้าและกิจกรรมกลุ่ม ตลอดจนการศึกษานอกสถานที่ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

๓.๓  วิธีการประเมินผล
    การสังเกตการณ์
    แบบทดสอบ
ประเมินผลจาการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินจากคุณภาพของผู้เรียน ในการมีทักษะการเป็นครูภาษาไทย
๔.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
๔.๑   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  ความสัมพันธ์ต่ออาจารย์ผู้สอน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน
พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตัวเอง  และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
 การทำงานกลุ่มและการนำเสนองานกลุ่มในแต่ละครั้ง  การเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาเองหากขาดเกินระเบียบของมหาลัยคือต้องมีเวลามากกว่าร้อยละ ๘๐ถือว่าหมดสิทธิ์สอบ
๔.๒   วิธีการสอน
การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
การนำเสนอผลงานหน้าชั้น
การทำงานกลุ่ม
การศึกษานอกสถานที่ และการศึกษาด้วยตนเอง อย่างมีวินัย
การทำแบบทดสอบ
๔. ๓  วิธีการประเมินผล
การสังเกตการณ์ในการทดสอบแต่ละครั้ง  และคะแนนจากแบบประเมิน การทำงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
ตรวจจากบันทึก การศึกษานอกสถานที่ และการศึกษาด้วยตนเอง
๕.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๕.๑.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
การศึกษาค้นคว้าจาก เว็บไซด์ สื่ออิเล็กทรอนิคส์ และลงพื้นที่ศึกษาจากสถานที่ จริง บันทึกเรื่องราวลงเวปไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.   วิธีการสอน
การบรรยาย การหาข้อมูลจากเว็บไซด์ การนำศึกษานอกสถานที่ การเขียนผลงานวรรณกรรมของตนเอง
5.3.   วิธีการประเมินผล
ปริมาณเนื้อหาและคุณภาพของงานในแต่ละครั้ง
6.   ทักษะพิสัย
6.1.   ทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา-
6.2.วิธีการสอน
-
6.3.วิธีการประเมินผล
-





หมวดที่ ๕  แผนการสอนและการประเมินผล

๑.   แผนการสอน
สัปดาห์ที่   หัวข้อ/รายละเอียด   จำนวนชั่วโมง   กิจกรรมการเรียนการสอน
และสื่อที่ใช้   ผู้สอน
๑   แนะนำรายวิชา  เกณฑ์และข้อตกลงในการสอน    ๓  บรรยายและให้นักศึกษาพูด/เขียนความต้องการและข้อตกลง อย่างเปิดเผย เพื่อปรับกติกาและข้อตกลงร่วมกัน  มอบหมายงาน    อ.สันติ อภัยราช

๒.   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรม    ๓   บรรยาย  PowerPoint  และตัวอย่างวรรณกรรมปัจจุบัน
   อ.สันติ อภัยราช

๓   วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย   ๓   บรรยาย  PowerPoint  มอบหมายงานศึกษาค้นคว้า   รายกลุ่ม
อ.สันติ อภัยราช
๔   ศึกษานอกสถานที่    ๓    พร้อมมีผลงานวรรณกรรมของตนเอง
อ.สันติ อภัยราช
๕   แนวคิด  วิเคราะห์สภาพและแนวโน้มของการสร้างวรรณกรรมปัจจุบันตั้งแต่เริ่มต้น  จนถึงปัจจุบัน   ๓   บรรยาย  มอบหมายงาน
เลือกเรื่องที่สนใจเพื่อนำเสนอ(๑๐คะแนน) คนละ ๑ เรื่อง   อ.สันติ อภัยราช
๖.    แนวทางการวิจารณ์วรรณกรรมและทฤษฎีต่างๆ      บรรยาย  PowerPoint และการวิจารณ์วรรณกรรมโดยความของผู้เรียน  อ.สันติ อภัยราช
๗.    แนวทางการวิจารณ์วรรณแนวพุทธศาสนา     ๓   บรรยายและพูดคุยกับผู้เรียน หาข้อสรุปและ  มอบหมายงาน
เลือกเรื่องที่สนใจเพื่อนำเสนองานกลุ่ม (๑๐คะแนน)   อ.สันติ อภัยราช

๘.   ทดสอบกลางภาค        
๙.   วรรณกรรมเรื่องสั้นวรรณกรรมนวนิยายที่ผู้เรียนชื่นชอบ   ๓  บรรยาย  PowerPoint  และความเห็นของผู้เรียน อ.สันติ อภัยราช
๑๐.   วรรณกรรมเรื่องแปล   ๓   บรรยาย  PowerPoint   อิทธิพลของต่างชาติ ต่อวรรณกรรมไทย
๑๑.   วรรณกรรมร้อยกรองวรรณกรรมการละคร   ๓   บรรยาย  PowerPoint  
๑๒   วรรณกรรมหนังสือพิมพ์
วรรณกรรมการ์ตูน   ๓   บรรยาย  PowerPoint  

๑๓   วรรณกรรมสำหรับเด็ก   ๓  บรรยาย  PowerPoint  
๑๔   วรรณกรรมในแบบเรียน   ๓   ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  
๑๕ วรรณกรรมทางอินเตอร์เนต
๑๖    นำเสนองาน
   ๓   การนำเสนองานของนักศึกษา และการสัมมนากลุ่ม บรรยาย  PowerPoint  

๑๖   สอบปลายภาค        




๒.   แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้   วิธีการประเมินผลการเรียนรู้   สัปดาห์ที่ประเมิน   สัดส่วนของการประเมินผล

   การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ขาด  ได้ไม่เกิน ๔ ครั้ง ขาดหนึ่งครั้งหัก ๒.๕ คะแนน ครบ ๔   ตลอดภาคการศึกษา   ๑๐คะแนน

   ตรวจงานและทดสอบด้วยอัตนัย เรื่องและประวัติวรรณกรรมปัจจุบัน    สัปดาห์ที่ ๔     ๑๐ คะแนน

   สอบกลางภาค  แบบทดสอบ แบบอัตนัย  และ ปรนัย     สัปดาห์ที่ ๘   ๒๐คะแนน
   การนำเสนองาน (งานเดี่ยว/งานกลุ่ม)   สัปดาห์ที่  ๕และ๗ และ ๑๕   ๓๐ คะแนนรวม
๗๐คะแนน
   สอบปลายภาค ข้อสอบอัตนัย   สัปดาห์ที่ ๑๖   ๓๐ คะแนน  ประมาณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๗
   รวม ๑๐๐ คะแนน
การประเมินผล
ระดับคะแนนความหมายของผลการเรียน   ระดับคะแนน  ค่าระดับคะแนน
A   ดีเยี่ยม (Excellent)         80-100      4.00
B+  ดีมาก (Very Good)      75-79      3.50
B   ดี (Good)            70-74      3.00
C+ ดีพอใช้ (Fairly Good)      65-69      2.50
C  พอใช้ (Fairly)         60-64      2.00
D+ อ่อน (Poor)            55-59      1.50
D  อ่อนมาก(Very Poor )      50-54      1.00
E ตก (Fail)            0-49      0.00



หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑.   เอกสารและตำราหลัก
วรรณกรรมปัจจุบัน. ไพรถ  เลิศพิริยกมล. ฝ่ายเอกสารตำรา  สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฎธนบุรี  
เอกสารและข้อมูลสำคัญ (เว็บไซด์ www.googel.com  หนังสือในศูนย์วิทยาบริการ
๒.   เอกสารและข้อมูลแนะนำ
15 ปี ซีไรต์. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ, 2536.
วรรณกรรมปัจจุบัน. ไพรถ  เลิศพิริยกมล. ฝ่ายเอกสารตำรา  สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฎธนบุรี
๓. เอกสาร วรรณกรรมทุกสำนักวิชาการ
๔. การศึกษานอกสถานที่ และศึกษานอกระบบ ศึกษาตามอัธยาศัย

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
๑.   กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
-   ประเมินจากแบบทดสอบ ในการสอบแต่ละครั้งนักศึกษาได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ของคะแนนถือว่าผ่าน  และใช้การประเมินจากการสังเกตการณ์ ความสามารถและความชำนาญของนักศึกษาในแต่ละหัวข้อ
๒.   กลยุทธ์การประเมินการสอน
ใช้กลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดังนี้
สังเกตความสามารถและความชำนาญการของนักศึกษา  ความสนใจและการให้ความร่วมมือของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา  และใช้แบบประเมินนักศึกษาต่อผู้สอน และผลการสอบประมวลความรู้
๓.   การปรับปรุงการสอน
      - การจัดการวิจัยในชั้นเรียน
   - การจัดสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
๔.   การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
-   ก่อนการเรียนในรายวิชาได้มีการแจ้งเกณฑ์และทำการตกลงการให้คะแนนแก่นักศึกษาได้รับทราบและทำข้อตกลงทั้งอาจารย์และนักศึกษา  ตลอดภาคการศึกษามีการรายงานผลคะแนนของนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาทราบและปรับปรุง มีมาตรการในการติดตามงานที่มอบหมายหากไม่ส่งตามกำหนดเวลามีการปรับคะแนน อีกทั้งชี้แจงการให้คะแนนในการทำงานแต่ละชิ้นว่ามีที่มาที่ไปเช่นใดโดยใช้การสังเกต   การสอบถามนักศึกษา  การตรวจงานของนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบ รวมถึงการใช้ใช้การสังเกต              การสอบถามนักศึกษา  การตรวจงานของนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบ
๕.   การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
ในการวางแผนการเรียนในรายวิชานี้มีดังนี้
๑.  กำหนดข้อตกลงและทำการชี้แจงแก่นักศึกษาเรื่องการเรียนการสอนและเกณฑ์การประเมินผล
ที่เป็นการยอมรับระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน
๒. จากผลการเรียนของนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนต้องมาทำการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของเนื้อหาวิชา อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาและสภาพแวดล้อมของการเรียน
๓. ทำการศึกษาวิจัยจากปัญหาที่ได้ในข้อ ๒  เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
 ๔. ปรับปรุงการสอนรายวิชาทุก ๑ปี
            ฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืมฮืม





 












 












 


 

 




 


 


 

 










« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2014, 09:39:37 am โดย apairach » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!