จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
เมษายน 25, 2024, 03:08:09 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร แพทย์แผนไทย การรักษาโรค เป็นสิ่งจำเป็นสิ่งหนึ่งในปัจจั  (อ่าน 3660 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1414


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2014, 10:37:15 pm »

การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร แพทย์แผนไทย

การรักษาโรค เป็นสิ่งจำเป็นสิ่งหนึ่งในปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  คนไทยใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคมาช้านาน อาจมาจากส่วนของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
โดยทั่วไป พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร มีหลายประเภท อาทิ
   ประเภทใบ เก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด เพราะในช่วงนี้ ใบจะมีตัวยามากที่สุด เช่น  กะเพรา  ฝรั่ง  ฟ้าทะลายโจร
   ประเภทหัวหรือราก เก็บในช่วงพืชหยุดการเจริญเติบโต  ใบและดอกร่วงหมด ในช่วงต้นฤดูหนาว ถึงปลายฤดูร้อน เพราะมีการสะสมปริมาณของตัวยาไว้สูง วิธีการเก็บใช้ขุด  เช่น กระทือ กระชาย ข่า
   ประเภทเปลือกต้น หรือเปลือกราก เก็บในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ปริมาณยาจะสูงและเปลือกลอกได้ง่าย  เช่นสัก ขนุน
   ประเภทดอก เก็บในช่วงเริ่มบาน บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่นกานพลู เก็บในช่วงดอกเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง
   ประเภทผลและเมล็ด เก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก เช่นฝรั่งแก้ท้องร่วง ยาที่ปรุงจากสมุนไพรไทยมีหลายประเภท  เช่นยาชง ยาต้ม ยาดอง ยาผง ยาลูกกลอน
ยาลูกกลอน นำส่วนผสมของสมุนไพร  เช่นขมิ้นอ้อย กระชาย ไพล ข่า หน่อกระทือ ยี่หร่า พริกไทย  ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน แก่นทรง ขิง ข่อย กระเพราแดง  ตำลึง ดีปลี  มาหั่นเป็นแว่นบางๆ
ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงละเอียด  ด้วยเครื่องบดยา  ร่อนออกให้ละเอียดที่สุด นำไปผสมกับน้ำผึ้ง
โดยก่อไฟทำให้ร้อนก่อน เพื่อขจัดสิ่งสกปรก  ปั้นเป็นก้อนกลม ผงสมุดไพรที่ผสมน้ำผึ้งแล้วต้องไม่ติดมือ จากนั้นนำไปอบแห้งหรือตากแดดไว้ 1-2 วัน ตัวยาจึงมีประสิทธิภาพมาก
   พืชสมุนไพรปัจจุบัน บางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์  อาทิ ต้นกำลังวัวเถลิง ต้นห้อสะพานควาย
ต้นงวงช้าง ต้นเอื้องเพชรม้า โดยทั่วไปไม่มีใครเคยเห็น เดิมต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะวิเศษนัก
ผู้ปรุงยาสมุนไพร ปัจจุบัน หาได้ยากมากขึ้น ที่บ้านหนองคล้า ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เราพบกับแม่เฒ่าวัย 74 ปี คือแม่ ซ่อนกลิ่น  สมัคร  ปรุงยาสมุนไพร จำหน่ายมากว่า 40 ปี คือครบวงจรในตัวเอง คือไปหาพืชสมุนไพร ด้วยตนเอง  ปรุงเอง
ออกเร่ขายเอง   ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง กับยาแผนโบราณนานาชนิดที่นำเสนอ อาทิ ยาแก้โรคตาลม ตาแดง ยาแก้ผิดสำแดง  ยาแก้ไข้  ยาแก้ลมพิษ ยาแก้โรคกระเพาะ  ยาแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ยาแก้โรคไต  ยาแก้ลมสันนิบาต ยาแก้ลมวิงเวียน ยาอายุวัฒนะ ท่าทางทีกระฉับกระเฉง เป็นกันเอง มีน้ำใจ เสียงดัง พูดตรงไปตรงมา  ย่อมมีเสน่ห์ แก่ผู้พบเห็น
ถ้าท่านมีโอกาส ผ่านไปทาง ตำบลลานดอกไม้ตกที่ บ้านหนองคล้า  แถวนั้นไม่มีใครไม่รู้จัก
แม่ซ่อนกลิ่น สมัคร  หมอสมุนไพร ที่ปรุงยาแพทย์แผนไทย จำหน่ายมากว่า 40 ปี  ช่วยอุดหนุน
ภูมิปัญญาไทย แพทย์แผนไทย พื้นบ้านแท้ๆ ด้วยความยากจนเงินทอง แต่รวยน้ำใจ ชนิดที่เราจะหาไม่ได้อีกแล้วในผู้คนในเมือง เราขอคารวะ แม่ซ่อนกลิ่น  สมัคร แพทย์แผนไทยที่เรายกย่อง?ที่สามารถรักษา สถานภาพ ผู้ปรุงยาแผนโบราณไว้ได้อย่างมีศักดิ์ศรี???

                        สันติ อภัยราช


























สมุนไพรไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง

การรักษาโรค เป็นสิ่งจำเป็นสิ่งหนึ่งในปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  คนไทยใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคมาช้านาน อาจมาจากส่วนของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
โดยทั่วไป พืชที่ใช้เป็นยาสมุนไพร มีหลายประเภท อาทิ
   ประเภทใบ เก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด เพราะในช่วงนี้ ใบจะมีตัวยามากที่สุด เช่น  กะเพรา  ฝรั่ง  ฟ้าทะลายโจร
   ประเภทหัวหรือราก เก็บในช่วงพืชหยุดการเจริญเติบโต  ใบและดอกร่วงหมด ในช่วงต้นฤดูหนาว ถึงปลายฤดูร้อน เพราะมีการสะสมปริมาณของตัวยาไว้สูง วิธีการเก็บใช้ขุด  เช่น กระทือ กระชาย ข่า
   ประเภทเปลือกต้น หรือเปลือกราก เก็บในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ปริมาณยาจะสูงและเปลือกลอกได้ง่าย  เช่นสัก ขนุน
   ประเภทดอก เก็บในช่วงเริ่มบาน บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น  กานพลู เก็บในช่วงดอกเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง
   ประเภทผลและเมล็ด เก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก เช่น  ฝรั่งแก้ท้องร่วง ยาที่ปรุงจากสมุนไพรไทยมีหลายประเภท  เช่น  ยาชง ยาต้ม ยาดอง ยาผง ยาลูกกลอน
ยาลูกกลอน นำส่วนผสมของสมุนไพร  เช่นขมิ้นอ้อย กระชาย ไพล ข่า หน่อกระทือ ยี่หร่า พริกไทย  ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน แก่นทรง ขิง ข่อย กระเพราแดง  ตำลึง ดีปลี  มาหั่นเป็นแว่นบางๆ
ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงละเอียด  ด้วยเครื่องบดยา  ร่อนออกให้ละเอียดที่สุด นำไปผสมกับน้ำผึ้ง
โดยก่อไฟทำให้ร้อนก่อน เพื่อขจัดสิ่งสกปรก  ปั้นเป็นก้อนกลม ผงสมุดไพรที่ผสมน้ำผึ้งแล้วต้องไม่ติดมือ จากนั้นนำไปอบแห้งหรือตากแดดไว้ 1-2 วัน ตัวยาจึงมีประสิทธิภาพมาก
   พืชสมุนไพรปัจจุบัน บางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์  อาทิ ต้นกำลังวัวเถลิง ต้นห้อสะพานควาย
ต้นงวงช้าง ต้นเอื้องเพชรม้า โดยทั่วไปไม่มีใครเคยเห็น เดิมต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะวิเศษนัก

   แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่  9  เน้นการแก้ปัญหาความยากจน  ตามแนวพระราชดำริ  เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ  คือ  พอมีพอกิน  หมายถึง  การปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์ให้พอกินในครอบครัว  ถ้าเหลือก็ให้ขายหรือที่เรียกว่า  เกษตรทฤษฎีใหม่  พืชที่ปลูกนั้นรวมถึงสมุนไพร  เช่น  สีเสียดแก่น  ไม้สารพัดประโยชน์  นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่เยาวชนควรศึกษา  อนุรักษ์และสืบสานต่อไป


เรื่อง  ต้นไม้ในพุทธประวัติ

   จากการศึกษาพุทธประวัติ  มีการกล่าวถึงต้นไม้นานาชนิด  ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าตั้งประสูติจนถึงปรินิพพาน  ต้นไม้เหล่านี้มีความผูกพันกับชาวพุทธตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  มีส่วนสำคัญที่ทำให้ จดจำเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า  หรือพุทธประวัติได้แม่นยำยิ่งขึ้น  เช่น
ต้นสละะ   พระองค์ประสูติใต้ต้นสาระ  เดินได้เจ็ดก้าว  โดยมีดอกบัวรองรับ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับใต้ต้น  มีต้นหญ้าคารองประทับ  ทรงตรัสรู้อริยสัจ  4  ใต้ต้นโพธิ์
จารึกนครชุมกล่าวว่า  พญาลิไทกษัตริย์องค์ที่  5  แห่งกรุงสุโขทัย  ทรงสร้างเมืองนครชุมทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐ์ไว้ที่เจดีย์  และพระศรีมหาโพธิ์  2  ต้น  มาปลูก  ณ  วัดพระบรมธาตุ  กลางเมืองนครชุม  ในวันเพ็ญเดือน  3  ของทุกปี  พระองค์เสด็จพร้อมเจ้าเมืองใหญ่น้อย  มานบพระ  และต้องค้างคืนเนื่องจากการเดินทางไม่สะดวก  ตกกลางคืนจึงมีการประกวดประขันการแสดงเพลงพื้นบ้านของชาวบ้านเพื่อความสนุกสนาน  ต่อมาประเพณีของหลวงคงจะเลือนหายไปเมื่อสิ้นกรุงสุโขทัย  แต่ชาวบ้านยังคงสืบสานต่อกันมามิได้ขาดหายไปทางราชการกลับมาฟื้นฟูประเพณีขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน เรียกว่า  ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง  สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
   ต้นสีเสียดแก่น  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้  8  พรรษา  พระองค์
   

                        
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!