นครชุมเมืองโบราณพันปี ที่ควรศึกษา
เช้าวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ ได้มีโอกาส ถ่ายทอด ความรู้สึก ที่ทำให้เยาวชนได้มีความรักชาติมากขึ้น รู้จักรากเหง้าของตนเองมากขึ้น เป็นงานที่เราอยากทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนครชุม
ขบวนนักเรียน จากโรงเรียนคลองลานวิทยา เกือบสามร้อยคน พร้อมทั้งคณาจารย์อีกกว่า ๒๐คน ได้เดินทางมาเพื่อรับรู้ความเป็นไทย และเข้าใจในความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น จึงพร้อมทุกอย่าง ที่จะบอกเล่า สิ่งดีๆให้แก่เยาวชน พร้อมกับ ศิษย์รัก เยาวลักษณ์ สิงห์สำราญ พี่ฟ้าของเยาวชน
ตอนที่ ๑ วัดพระบรมธาตุนครชุม ตำนานแห่งประเพณี นบพระเล่นเพลง เมื่อเยาวชนพร้อม จึงเล่าประวัติและความสำคัญของ พระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ ที่พญาลิไท กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย นำสองสิ่งสำคัญ มาจากลังกาทวีป มาประดิษฐาน ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้
ว่า พระเจดีย์แห่งวัดพระบรมธาตุนี้ แต่เดิมเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ตามความเชื่อ น่าจะเป็นเจดีย์ประจำรัชกาล ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหงและ พญาลิไท ซึ่งเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ พญาลิไท นำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์มาประดิษฐาน ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ ตามจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุมกล่าวไว้ว่า
ผู้ใด ได้ไหว้กระทำบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มีอานิสงส์ เหมือนกับได้ไหว้ พระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงทำให้เกิด ประเพณี นบพระเล่นเพลง มาจนถีงปัจจุบัน
หลังจากนครชุมรุ่งเรือง ราว ๒๐๐ ปี ความเจริญได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่ ฝั่งกำแพงเพชร ทำให้นครชุมเป็นเมืองร้าง มาช้านาน เกือบสามร้อยปี จากนครใหญ่กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ไม่มีผู้คนสนใจ อีกเลย กลายเป็นเมืองแห่งหายนะและความตาย ที่เต็มไปด้วยไข้ป่า โรคระบาด และทุพภิกภัย
ราวสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนสินทร์ เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จ มาเยี่ยมญาติ ที่กำแพงเพชร ได้ประทับพักที่วัดเสด็จ และได้อ่านจารึกนครชุม พบว่า ที่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงเพชร มีวัดใหญ่โต ที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ นามว่าวัดมหาธาตุ จึงให้พระยากำแพงน้อย ผู้เป็นหลานไปค้นหา ได้พบเจดีย์ดังกล่าวสมดังจารึก จึงแผ้วถางบูรณะปฏิสังขรขึ้นสำเร็จ พระพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในสำเภาเงิน ๙ องค์ นำไปประดิษฐานไว้ที่เดิม แล้วได้ นิมนต์พระมาประจำที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แซพอ หรือพญาตะก่า ชาวกะเหรี่ยงเข้ามาทำไม้ขอนสัก ในเมืองนครชุม ได้กไรจำนวนมาก ได้ขออนุญาตสร้างพระเจดีย์ใหญ่ ใหม่ เป็นเจดีย์ทรงมอญ ครอบพระเจดีย์โบราณทั้งสามองค์ไว้ ต่อมาพญาตะก่าถึงแก่กรรม พระโป้น้องชาย จีงมาสร้างต่อ เสร็จก่อนพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร เพียงสามเดือน พระพุทธเจ้าหลวงทรงบันทึกไว้ ว่า
เจดีย์นี้ ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว มองดูในแม่น้ำงามดี
ตอนที่ ๒ ภูมิปัญญาสำคัญ ในเมืองนครชุม เช้าวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ ได้มีโอกาส ถ่ายทอด ความรู้สึก ที่ทำให้เยาวชนได้มีความรักชาติมากขึ้น รู้จักรากเหง้าของตนเองมากขึ้น เป็นงานที่เราอยากทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนครชุม
ขบวนนักเรียน จากโรงเรียนคลองลานวิทยา เกือบสามร้อยคน พร้อมทั้งคณาจารย์อีกกว่า ๒๐คน ได้เดินทางมาเพื่อรับรู้ความเป็นไทย และเข้าใจในความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น จึงพร้อมทุกอย่าง ที่จะบอกเล่า สิ่งดีๆให้แก่เยาวชน พร้อมกับ ศิษย์รัก เยาวลักษณ์ สิงห์สำราญ พี่ฟ้าของเยาวชน
หลังจากชมวัดพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ได้นำเยาวชนจากคลองลานวิทยาไปชมท่าน้ำ ประพาสต้น ของพระพุทธเจ้าหลวงเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ เมื่อคราที่พระองค์เสด็จประพาสต้น กำแพงเพชร เยาวชนตื่นเต้นกันมาก หลังจากนั้น นำไปชมศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ที่เก็บเรื่องราว ของเมืองนครชุมไว้อย่างละเอียดพิสดาร มีทุกเรื่องราวของเมืองนครชุม
หลังจากลงจากศาลาศูนย์วัฒนธรรมไทยสายชุมชนแล้ว มาชม ต้นพระศรีมหาโพธิ์อายุเกือบเจ็ดร้อยปี เยาวชนทึ่งในความยิ่งใหญ่ ของพระศรีมหาโพธิ์กันทั่วทุกคน
ออกจากวัด ไปชม การทำเมี่ยงแบบโบราณของเมืองนครชุม สาธิตและอธิบาย โดยแม่กรองทองจากนั้น ได้ร้องเพลงในการแสดงพื้นบ้านให้เยาวชนได้ฟัง เยาวชนสนุกสนาน และได้รับความรู้อย่างทั่งถึงกัน
จากร้านเมี่ยงแม่กรองทอง ไปชมบ้านของ ครูมาลัย ชูพินิจ นักประพันธ์ มือทอง ของกำแพงเพชร ผู้ประพันธ์ ล่องไพร ทุ่งมหาราช ตลอดจน ชั่วฟ้าดินสลาย อันนำฉาก ของกำแพงเพชร นครชุม ไปนำเสนอในนวนิยาย ของครูมาลัย ชูพินิจ
จากนั้นไปชมเอกลักษณ์ สำคัญ ของเมืองกำแพงเพชร คือไปชมการสร้างพระเครื่อง ของเมืองนครชุม ที่ศูนย์การเรียนรู้ บ้านของนายสมหมาย พะยอม ภูมิปัญญาคนสำคัญ ในการสร้างพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร ได้รับความสนใจ จากเยาวชนอย่างมากมาย ทุกคนสนุกกับกิจกรรมนอกพื้นที่ในวันนี้อย่างทรงคุณค่าที่สุด
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่เยาวชนอีกรุ่นหนึ่ง ได้มีโอกาสเรียนรู้ ภูมิปัญญาสำคัญของเมืองนครชุม ซึ่งเขาเหล่านี้ได้เรียนรู้จะได้ถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่น ต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด นั่นซึ่งหมายถึง การสืบทอดวัฒนธรรมไทย ไม่ให้สูญหาย ไปจากบ้านเมืองของเรา
ตอนที่ ๓ สถานที่สำคัญและโบราณสถาน ในเมืองนครชุม เช้าวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ ได้มีโอกาส ถ่ายทอด ความรู้สึก ที่ทำให้เยาวชนได้มีความรักชาติมากขึ้น รู้จักรากเหง้าของตนเองมากขึ้น เป็นงานที่เราอยากทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนครชุม
ขบวนนักเรียน จากโรงเรียนคลองลานวิทยา เกือบสามร้อยคน พร้อมทั้งคณาจารย์อีกกว่า ๒๐คน ได้เดินทางมาเพื่อรับรู้ความเป็นไทย และเข้าใจในความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น จึงพร้อมทุกอย่าง ที่จะบอกเล่า สิ่งดีๆให้แก่เยาวชน พร้อมกับ ศิษย์รัก เยาวลักษณ์ สิงห์สำราญ พี่ฟ้าของเยาวชน
ภาคบ่ายเดินทางไปวัดสว่างอารมณ์
วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดสำคัญ วัดหนึ่งของเมืองนครชุม สิ่งสำคัญ ประกอบไปด้วแหย่ง ที่นั่งบนหลังช้าง ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าหลวงทรง ประทับ พระที่นั่ง องค์นี้ หลังจากนั้น ได้ตกทอดไปหลายท่าน จนกระทั่งทายาทของพะโป้ นำมาถวายวัด สว่างอารมณ์ เนื่องจากมีอาถรรพน์
ไปกราบหลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปเชียงแสน ที่ใหญ่โตที่สุด ในภาคเหนือตอนหลัง มีปริศนาสำคัญที่ท้าทาย ว่ามาประดิษฐานที่วัดสว่างอารมณ์ได้อย่างไร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปที่คนนครชุม และกำแพงเพชร ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
กราบหลวงพ่อยักษ์ พระพุทธรูปสำคัญ ในเมืองนครชุม ซึ่งมีการเล่าลือว่า ท่านกินเด็ก ได้แก่เณรและเด็กวัด คงขู่เด็กๆ ไม่ให้ซนเกินไป
ไปชมบ้านพะโป้ บ้านที่เรียกว่าบ้านผีสิง บ้าน ร.๕ เยาวชนตื่นเต้นมาก มีความเชื่อว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าหลวง เคยเสด็จประพาสต้นที่กำแพงเพชร มาบ้านแห่งนี้ หรือบริเวณนี้ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ นำว่าเป็นบ้านประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของเมืองนครชุม
ตอนบ่าย ไปชมโบราณสถานป้อมทุ่งเศรษฐี ซึ่งเป็นป้อมที่งดงาม และยิ่งใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย เล่าประวัติที่พิสดารให้ฟัง เยาวชน ให้ความสนใจอย่างดีมาก
ต้องยอมรับว่าหนึ่งวันเต็มๆ ที่นำเยาวชน จากคลองลานวิทยา ชมความสำคัญของเมืองนครชุม เด็กๆให้ความสำคัญอย่างน่ายกย่อง โดยสนใจและตั้งใจเรียนรู้ ขอบคุณ คณาจารย์โรงเรียน คลองลานวิทยา อ.สมานชัย และอาจารย์ลำดวน ที่ตั้งใจ นำเยาวชนมาแสนไกล เพื่อศึกษารากเหง้าของตนเอง สมควรได้รับการยกย่อง อย่างที่สุด ทั้งครู และนักเรียน
สันติ อภัยราช