จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
พฤศจิกายน 01, 2024, 07:30:29 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช
ยินดีต้อนรับสมาชิก และผู้เยื่ยมชมทุกๆท่าน
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มรดกไทย ที่ควรดูแลรักษา ในวันอนุรักษ์มรดกไทย มรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสด  (อ่าน 8208 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
apairach
Administrator
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1439


ดูรายละเอียด อีเมล์
| |
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2016, 11:26:31 am »

มรดกไทย ที่ควรดูแลรักษา ในวันอนุรักษ์มรดกไทย
มรดกไทย  คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่
๑. โบราณวัตถุ 
 โบราณวัตถุและศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ อาทิเช่น ศิลปทวารวดี ศิลปะลพบุรี  สุโขทัย  อยุธยา  และศิลปรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุส่วนมากเป็นลวดลายปูนปั้นและลวดลายดินเผา เศียรพระพุทธรูป เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ หรือติดตั้งวิหาร นอกจากนั้นยังมีเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ถูกลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ เมื่อ พ.ศ. 2429 พระเครื่อง พระบูชา อาทิพระซุ้มกอ พระกำแพงสามขา
๒.ศิลปวัตถุ
วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายครามเครื่องถม  สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลปะ.
๓. โบราณสถาน
   โบราณสถาน เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดีแหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วยโบราณสถานโดยทั่วไป หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่มีความเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาที่เป็นประโยชนทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือ โบราณคดี และยังรวมถึงสถานที่หรือเนินดินที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ หรือมีร่องรอย กิจกรรมของมนุษย์ปรากฏอยู่
๔.วรรณกรรม
วรรณกรรม หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก   ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
๕.ศิลปหัตถกรรม
ประเภทของงานศิลปหัตถกรรม การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมนั้นมีการจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆได้หลาย ลักษณะ เช่น การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามประโยชน์ใช้สอย เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องมือประกอบอาชีพและอาวุธ เครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะและวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามวัสดุและกรรมวิธีการผลิต เช่น การปั้นและหล่อ การทอและเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การก่อสร้าง การเขียนหรือการวาด การจักสาน การทำเครื่องกระดาษ และกรรมวิธีอื่น ๆ
การจัดประเภทของงานศิลปหัตถกรรมไทยตามสถานภาพของช่าง เช่น ศิลปหัตถกรรมฝีมือช่างหลวง ศิลปหัตถกรรมฝีมือชาวบ้าน
๖. นาฏศิลป์และดนตรี
นาฏศิลป์” หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ด้วยความประณีต งดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น
 “ดนตรีไทย” สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่างๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้านศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี และยังถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติไทยอีกด้วย ลักษณะของเครื่องดนตรีไทยสามารถจำแนกเป็น 4 ประเภทคือ
เครื่องดีด       เครื่องดนตรีที่เล่นโดยการใช้นิ้วหรือดีดเพื่อให้เกิดเสียง
เครื่องสี        เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้คันชักสีไปมาที่สาย
เครื่องตี         เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้มือหรือไม้ตี
เครื่องเป่า        เครื่องดนตรีที่เล่นด้วยการใช้ปากเป่าให้เกิดเสียง
๗.ประเพณีต่างๆ
ประเพณีไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ประเพณีส่วนบุคล ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีทำบุญอายุ เป็นต้น
2. ประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่างๆ เช่นประเพณีการทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทง ประเพณีเทศกาลสงกรานต์ และประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!